เมื่อมีผัสสะใด ๆ มากระทบ แล้วเกิดมีเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น ต้องรู้จักแยกแยะให้ออกด้วยสติระหว่าง กุศลธรรม กับ อกุศลธรรม ทำความเข้าใจเปรียบเทียบในสิ่งนั้น ๆ กลับมาว่า สอดคล้องเชื่อมโยง เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือไม่ เพื่อที่จะใช้เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติตาม ซึ่งในบางเรื่องนั้นอาจทำได้ยาก แต่ถ้าทำแล้วกุศลธรรมเกิดได้ ก็ให้เราทำ เปรียบไว้กับลูกศรที่ถ้ามันตรงแล้ว ก็ไม่ต้องดัด แต่ถ้ามันงออยู่ก็ต้องดัด ดัดในลักษณะที่ให้มันตรง ไม่ใช่ดัดให้มันหัก
ดังนั้น คำสอนของพระพุทธเจ้าจึงรวมลงที่หลักของอริยมรรคมีองค์แปด ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องทำด้วยวิธีการที่ถูกต้อง ถึงพร้อม มุ่งเน้นไปเพื่อความหน่ายคลายกำหนัด เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม และเพื่อนิพพาน
แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S07E43 , ใต้ร่มโพธิบท S08E31 , #กัลยาณมิตร 3 ระดับ
Timeline
[01:17] เกริ่นนำ
[04:54] คำถาม: อ้างอิงจากพระสูตรที่ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเห็นซึ่งจักษุว่าไม่เที่ยง ย่อมเห็นซึ่งรูปทั้งหลายว่าไม่เที่ยง ย่อมเห็นซึ่งจักขุวิญญาณว่าไม่เที่ยง ย่อมเห็นซึ่งจักขุสัมผัสว่าไม่เที่ยง ย่อมเห็นซึ่งเวทนาอันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยว่าไม่เที่ยง…นี้แลคือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพานนั้น.” นอกจากจะเห็นความไม่เที่ยงแล้ว เราจะเห็นปฏิจจสมุปบาทในนี้ด้วย ซึ่งอยู่ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรด้วยใช่หรือไม่
[06:49] ทุกเรื่องราวที่พระพุทธเจ้าทรงสอนจะเชื่อมโยงเข้าหากันหมด เพื่อการพ้นทุกข์และมุ่งเน้นที่การบรรลุพระนิพพาน
[07:58] ทุกสิ่งล้วนเป็นของไม่เที่ยง แม้แต่อนัตตา
[11:04] ทำความเป็นที่สบายและเหมาะสม(สัปปายะ) ในการเห็นความดับไป(นิพพาน)
[12:57] พระพุทธเจ้าทรงแยกแยะแจกแจง เพื่อให้เห็นการทำงานที่มีลักษณะเดียวกับการเกิดตัณหา
[18:19] พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้หลายครั้ง ต่างเวลา ต่างสถานที่ และต่างกลุ่มผู้ฟังซึ่งมีปัญญา(ธุลีในดวงตา) ที่ไม่เท่ากัน
[26:01] คำถาม: “รู้อะไรแล้วเสียใจก็อย่าไปรู้ ดูอะไรแล้วเสียใจก็อย่าไปดู ฟังอะไรแล้วเศร้าใจก็อย่าไปฟัง อย่าทำให้ตัวเองเป็นทุกข์” ถือเป็นการหนีปัญหาหรือไม่ และมีวิธีแก้ไขจิตที่เพลิดเพลินไปกับสิ่งที่มากระทบเหล่านี้ได้อย่างไร
[28:52] ต้องรู้จักแยกแยะให้ออกระหว่างกุศลธรรม กับ อกุศลธรรม บางเรื่องอาจทำได้ยากแต่ทำให้เกิดกุศลธรรม เราก็ต้องทำ
[34:27] คำถาม: “ฉันก็เป็นของฉันอย่างนี้แหละ” มีวิธีอย่างไรไม่ให้หลงไปตามตัวตนหรือไปตามอารมณ์ที่ปรุงแต่งขึ้น
[39:13] ต้องหาช่องด้วยอินทรีย์ห้าเพื่อเปลี่ยนแปลงไม่ให้เกิดการหลงผิด
[42:11] พร้อมด้วยกัลยาณมิตรที่จะชี้ช่องแห่งความดี ซึ่งกัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์
[47:58] คำถาม: วิธีการรักษา “สะกดจิตบำบัด” มีกระบวนที่แตกต่างกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ให้เรามีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา แล้วการสะกดจิตจะสามารถวิเคราะห์จิตใจได้อย่างไร แตกต่างจากการข่มจิตด้วยจิตอย่างที่พระพุทธเจ้าเคยใช้วิธีนี้เมื่อครั้งที่บำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างไร
[50:07] จุดมุ่งหมายเดียวของการบำเพ็ญทุกรกิริยาของพระพุทธเจ้าคือ การบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ แต่เป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง
[52:37] คำสอนของพระพุทธเจ้าที่สำคัญที่สุดคือ มุ่งเน้นไปที่การบรรลุพระนิพพาน