ในเอพิโสดนี้ เป็นเนื้อหาที่มาในทุกนิบาต หมวดธรรมที่มีหัวข้อธรรมจำนวน 2 ข้อ ใน พาลวรรค หมวดว่าด้วยเรื่องของคนพาล (พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 12 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต)   

พาลคือคนโง่ บัณฑิตคือฉลาด เปรียบเทียบส่วนเหมือนส่วนต่างระหว่างคนพาลและบัณฑิต ในเรื่องของการเห็นโทษโดยความเป็นโทษ การยอมรับตามความเป็นจริงเมื่อบุคคลอื่นแสดงโทษ การกล่าวตู่และไม่กล่าวตู่พระพุทธเจ้า คติและฐานะ 2 อย่างของผู้มีการงานปกปิดและไม่ปกปิด ของผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ และของผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ สถานที่รองรับคนทุศีลและคนมีศีล ประโยชน์ของการอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด และธรรม 2 ประการ คือ สมถะและวิปัสสนา อันเป็นฝ่ายแห่งวิชชา 

“…เพราะโง่ จึงทำให้ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ไม่เห็นคุณของศีล ไม่เห็นโทษของการผิดศีล ไม่ยอมรับตามความเป็นจริงเมื่อผู้อื่นแสดงโทษให้เห็น ซึ่งในความที่คนพาลมีลักษณะเช่นนี้ ทำให้เขามักจะประพฤติผิดทางกาย วาจา ใจ เพราะเป็นคนประมาท เผลอสติไปตามเรื่องของกามบ้าง ไปตามสิ่งที่มายั่วยวนบ้าง ไม่ยอมรับโทษนั้นตามความเป็นจริง” 

แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท S07E35 , คลังพระสูตร S09E05, #ธรรมบท-เรื่องพระลกุณฏกภัททิยเถระ


Timeline
[01:39] เกริ่น
[04:43] 22 คนพาล/บัณฑิต
[10:13] บัณฑิตคือฉลาด
[13:08] 23 กล่าวตู่
[20:22] 24 กล่าวตู่และไม่กล่าวตู่
[26:01] 25/26 กล่าวตู่ไม่กล่าวตู่
[31:10] 27 คติ/ฐานะปิดปิดไม่ปกปิด
[34:38] 28 คติ/ฐานะมิจฉาสัมมา
[37:37] 30 ทุศีลมีศีล
[47:01] 31 เสนาสนะสงัด
[51:43] 32 สมถวิปัสสนาให้เกิดวิชชา