ในเอพิโสดนี้ เป็นการเริ่มของซีซั่นที่ 4 ทุกนิบาต หมวดที่มีหัวข้อธรรมจำนวน 2 ข้อ โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนต้น ส่วนกลาง ส่วนปลาย และเบ็ดเตล็ด ซึ่งในแต่ละส่วนก็จะแบ่งเป็นวรรค 

มาเริ่มต้นกันในวรรคแรก คือ กัมมกรณวรรค หมวดว่าด้วยวิธีการลงโทษ ซึ่งดูตามชื่อของวรรคนี้แล้ว มีเนื้อหาที่เป็นไปในเชิงลักษณะของอกุศล ที่เราพึงต้องระวัง ไม่กระทำให้เกิดขึ้น เพราะมันจะมีโทษ เป็นผลร้าย ผลไม่ดี เป็นทุกข์ ซึ่งจะให้ผลในภพนี้หรือให้ผลในภพหน้าหน้าแน่นอน 

เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักกลัวโทษที่ให้ผลในภพนี้ จักกลัวโทษที่ให้ผลในภพหน้า จักเป็นคนขลาดต่อโทษ มีปกติเห็นโทษโดยความเป็นของน่ากลัว” เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล บุคคลผู้ขลาดต่อโทษ มีปกติเห็นโทษโดยความเป็นของน่ากลัว พึงหวังเหตุแห่งความหลุดพ้นจากโทษทั้งมวลได้ 

ทั้งนี้ ได้รวมเนื้อหาจำนวน 10 พระสูตรที่มีอยู่ในวรรคนี้ ได้แก่ 1) วัชชสูตร ว่าด้วยโทษ 2) ปธานสูตร ว่าด้วยความเพียรที่เกิดได้ยาก 3) ตปนียสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน 4) อตปนียสูตร ว่าด้วยธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน 5) อุปัญญาตสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ทรงรู้สัพพัญญุตญาณ 6) สัญโญชนสูตร ว่าด้วยกิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ 7) กัณหสูตร ว่าด้วยธรรมฝ่ายดำ 8) สุกกสูตร ว่าด้วยธรรมฝ่ายขาว 9) จริยสูตร ว่าด้วยจริยธรรมคุ้มครองโลก และ 10) วัสสูปนายิกสูตร ว่าด้วยการเข้าพรรษา มาอธิบายขยายความให้ได้เข้าใจกันอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น 

*พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 12 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต   

แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ขุดเพชรในพระไตรปิฎก S03E20 


Timeline
[09:20] ทุกนิบาต
[14:16] 1 วัชชสูตร ว่าด้วยโทษ
[27:00] 2 ปธานสูตร
[29:39] 3 เดือดร้อน
[30:47] 4 ไม่เดือดร้อน
[32:16] 5 เหตุให้ทรงรู้สัพพัญญุตญาณ
[39:39] 6 สังโยชน์ เกิด ด้วย พอใจ / ดับ ด้วย เบื่อหน่าย
[43:21] 7 8 9 ธรรมฝ่ายดำ ชาว คุ้มครองโลก 
[47:58] 10 ว่าด้วยการเข้าพรรษา
[49:54] สรุป