ในเอพิโสดนี้ เป็นเรื่องของ ผลแห่งจิตชั่วลัดนิ้วมือเดียว ที่มาใน อปรอัจฉราสังฆาตวรรค ข้อที่ 473-475 ว่าด้วยเรื่อง “อนุสติ 10” ในหัวข้อ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ (พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 12 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต) 

“อนุสติ” คือ ความระลึกถึง ในที่นี้ ให้เรามาเจริญพุทธานุสสติ คือ การตามระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า กล่าวถึงพุทธคุณ 9 อย่าง หรือแจกแจงได้เป็น 108 อย่าง หรือยิ่งกว่านั้น โดยรวมลงที่ “พุทโธ” ซึ่งหมายถึง เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม 

เพราะฉะนั้น การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ก็คือ ระลึกถึงคุณธรรม สิ่งที่พระองค์ได้สร้างบารมีมา พูดง่าย ๆ คือ ทาน ศีล ภาวนา ปฏิบัติตามมรรค 8 มาก ๆ ตามเหตุอย่างนี้มาก ๆ ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงได้มาเป็นพุทโธ 

ให้เรามาเจริญธัมมานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณของพระธรรม  กล่าวถึง “ธัมโม” ที่เป็นสวากขาตธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษา และปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า เชิญผู้อื่นเข้ามาพิสูจน์ได้ เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว และเป็นสิ่งที่ผู้รู้ ก็รู้ได้เฉพาะตน ซึ่งมีแต่เฉพาะวิญญูชน (คนดี) เท่านั้น จึงจะรู้ได้ว่าสวากขาตธรรมเป็นของดี 

และให้เรามาเจริญสังฆานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ กล่าวถึง สังฆคุณ 9 อย่าง ของหมู่แห่งผู้ฟังคำสอนของพระผู้มีพระภาค ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบด้วย จึงเป็น “สังโฆ” เพราะฉะนั้น สังโฆ เน้นมาในเรื่องการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ  

“ธัมโม คือ คุณธรรม ไม่ใช่หมายถึงว่า หนังสือ หรือสิ่งที่เราจำได้อยู่ในหัว แต่ยังไม่เข้าสู่จิตใจ ต้องเป็น สวากขาตธรรมจริง ๆ ที่คุณรู้ได้เฉพาะตน นี่แหละ สังโฆ หมายถึง การปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ คือ ปฏิบัติที่ใจ อยู่ที่ใจ และ พุทโธ ไม่ใช่ หมายถึง ตัว รูปเคารพ แต่หมายถึงการตรัสรู้ 

พุทโธ ธัมโม สังโฆ เป็นอย่างเดียวกัน รวมเป็นหนึ่งอยู่ในใจเรา จึงเป็นรัตนะ 3 ขึ้นมา 

แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S07E48 , S07E46 , #พุทโธอยู่ที่ไหน , #ทำพุทโธให้เป็นบริกรรม , #พุทโธ ธัมโม สังโฆ คือที่พึ่งอันสูงสุด  , #สามคำที่มีค่ามาก                           


Timeline
[04:54] หัวข้อวันนี้ อนุสสติ
[11:50] 473-พุทธานุสสติ
[14:21] คือ บท อิติปิโส นั่นเอง พุทธคุณ
[16:43] พุทโธ 3 ระดับ
[21:36] พุทโธ คือ การตรัสรู้ ไม่ใช่ ธาตุ 4 ของท่าน
[34:43] 474- ธัมมานุสสติ
[52:48] 475-สังฆานุสสติ
[54:54] สังฆคุณ 9
[58:12] สรุป