บาป เป็นการกระทำที่เป็นไปในทางกาม พยาบาท เบียดเบียน มีความโกรธเกลียด และเป็นมิจฉาทิฏฐิ 

ใจ เป็นช่องทางที่จะทำให้เกิด กิเลส ราคะ โทสะ โมหะ มากขึ้นหรือเบาบาง กล่าวคือ หากกิเลสมากก็จะทำให้ล้นออกมาทางกายและวาจา ทำให้เห็นเป็นความไม่ดีหรืออกุศลกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ดังนั้นหากเรามีศีล ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติที่สามารถควบคุมกายและวาจาได้ ใจก็จะได้รับการรักษาไปด้วย และทำให้กิเลสเบาบางลงได้เช่นกัน 

การรักษาที่รากเหง้าของการเกิดกิเลส คือ จิตและใจ จะทำให้กายและวาจาได้รับการรักษาไปด้วย โดยการทำดีในทุกรูปแบบถือว่า เป็นการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นการปฏิบัติบูชาตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด ซึ่งล้วนเป็นการกระทำตอบ (ปฏิการะ) และเป็นเครื่องวัดคุณธรรมที่สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป ทั้งนี้การทำดีไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ปากหรือความคิดผู้อื่น แต่ขึ้นอยู่ที่การกระทำและความคิดของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด


Timeline
[02:39] คำถาม: ศีลของภิกษุสงฆ์ตามพระวินัยมี 227 ข้อ แล้วมีศีลในส่วนอื่นๆ อีกบ้างหรือไม่
[04:04] ศีลแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ อาทิพรหมจริยกศีล, ปาฏิโมกข์ และอภิสมาจาร
[09:21] พระพุทธเจ้าทรงเน้นย้ำที่การรักษาจิตเพียงอย่างเดียว
[09:45] หลวงปู่มั่นก็ได้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยอ้างอิงตามประวัติขององค์หลวงปู่มั่นเอง “รักษาศีลเพียงข้อเดียว ด้วยการรักษาที่จิตหรือใจ”
[11:48] คำถาม: พระภิกษุเดินทางไปกับคณะทัวร์ ได้พักโรงแรมตลอดและร่วมโปรแกรมทัวร์ทุกรายการ ถือว่าเป็นธุดงค์หรือไม่, เมื่อไปในที่อโคจรถือเป็นอาบัติหรือ, คนออกค่าใช้จ่ายบาปหรือไม่ และผู้ถามบาปหรือไม่ที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของพระรูปนี้ 
[14:24] การที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำผู้อื่นไม่จัดว่าเป็นบาป
[15:27] อโคจรคือ สถานที่ไม่ควรไป อาจก่อให้เกิดปัญหาหรือความเสื่อมเสีย แต่ไม่ถือเป็นอาบัติ
[20:09] ธุดงควัตรคือ ข้อปฏิบัติที่บุคคลอื่นทำได้ยาก เป็นไปเพื่อการขูดเกลากิเลส สามารถทำได้เองแม้อยู่ในบ้าน
[23:22] คำถาม: เพราะเหตุใดอัครอุปัฏฐากคือจิตตคฤหบดีและหัตถอาฬวกะ ไม่ใช่ท่านอนาถบิณฑิก และอัครอุปัฏฐายิกาคือนันทมารดาและอุตตรา ไม่ใช่นางวิสาขา ด้วยสองท่านนี้ล้วนอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าและสาวกอย่างยิ่งยวดเช่นกัน
[25:37] การกระทำตอบ(ปฏิการะ) ต้องดูที่คุณธรรมไม่ได้ดูที่ปัจจัยสี่ จำนวนเงิน หรือมูลค่าของสิ่งของ
[31:47] คำถาม: นั่งสมาธิแล้วไม่อยากขยับร่างกาย ไม่สามารถบังคับกายได้ ต้องเรียกสติดึงให้ตัวเองออกมาจากสมาธินั้น ต้องการทราบว่าต้องทำอย่างไรและที่ทำมานั้นถูกต้องหรือไม่
[34:41] สิ่งที่ต้องทำกับนิมิตแบบแรก
[38:47] วิธีดูว่ามาถูกทางแล้วหรือไม่
[40:37] หานิมิตเครื่องหมายของความไม่เที่ยง ต้องเห็นตั้งแต่ตอนที่เกิดแล้ว ก่อนเกิดด้วย
[44:01] ไม่ช้าไปหรอก เห็นเมื่อไรดีเมื่อนั้น
[45:15] คำถาม: “No pain No gain” จะเชื่อมโยงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างไร จำเป็นต้องเจ็บปวดก่อนหรือไม่ จึงจะเติบโตทางจิตวิญญาณได้
[46:45] สุขไม่ได้มาด้วยสุข แต่สุขได้มาด้วยทุกข์
[49:07] เห็นทุกข์คือ เห็นธรรม
[51:09] ทำความเพียรแต่พอดี อย่างเหมาะสมและเป็นเหตุเป็นผล นั่นคือสัมมาวายามะ