ในเอพิโสดนี้ เป็นเรื่องของ ธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี และ กล่าวไว้ไม่ดี มาใน เอกธัมมบาลี ตติยวรรค หมวดที่ 3 ข้อที่ 312-321 จบ (พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 12 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต) 

ได้เปรียบเทียบไว้ในส่วนต่างของ “ธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี และ กล่าวไว้ไม่ดี” เปรียบเทียบมาเป็นคู่ ๆ ในส่วนที่เหมือนกัน แต่มีการให้ผลที่ต่างกัน คือ การถูกชักชวน แล้วเราทำตามคำชักชวนนั้น ย่อมเกิดผลในสิ่งที่เป็นบุญ หรือ ไม่ใช่บุญ, การรู้ประมาณ กับ การไม่รู้ประมาณของผู้รับและผู้ให้ เปรียบเทียบไว้กับเมล็ดพันธ์ุและแปลงนา,  การให้ผลเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ของการปรารภความเพียรและความเกียจคร้าน 

และในตอนท้ายจบด้วย พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “ภพแม้เพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียว เราก็ไม่สรรเสริญ” 

“ภพ” เป็นที่ที่ให้เกิดขึ้นของความทุกข์  ในสายปฏิจจสมุปบาทเพราะอะไรมี ภพจึงมี?  เพราะมีอุปทาน (ความยึดถือ) จึงมีภพ ฉะนั้น ความยึดถือที่เป็นเหตุให้เกิดภพนั้น แม้เพียงนิดเดียว มันก็ไม่ดี จึงต้องละเสีย 

เอกธัมมบาลี ตติยวรรค หมวดที่ ๓ 

[๓๒๐] คูถ (อุจจาระ) แม้เพียงเล็กน้อยก็มีกลิ่นเหม็น แม้ฉันใด ภพแม้เพียงเล็กน้อย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่สรรเสริญโดยที่สุดแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว (๑๓) 

[๓๒๑] มูตร (ปัสสาวะ) แม้เพียงเล็กน้อยก็มีกลิ่นเหม็น … น้ำลายแม้เพียงเล็กน้อยก็มีกลิ่นเหม็น … น้ำหนองแม้เพียงเล็กน้อยก็มีกลิ่นเหม็น … เลือดแม้เพียงเล็กน้อยก็มีกลิ่นเหม็นแม้ฉันใด ภพแม้เพียงเล็กน้อยก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่สรรเสริญโดยที่สุดแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว (๑๔) 

แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ขุดเพชรในพระไตรปิฎก S01E07 , คลังพระสูตร S09E16 , #สากัจฉาธรรม-ภพ ภูมิ  


Timeline
[06:47] ส่วนต่าง คือ ธรรมะที่ดี หรือ ไม่ดี
[10:50] การชักชวน แล้วทำตาม
[16:03] การรู้ประมาณ ของผู้ให้ / ผู้รับ
[18:47] การไม่รู้ประมาณ ของผู้ให้ / ผู้รับ
[22:06] เปรียบเทียบ เมล็ดพันธ์ุ และ แปลงนา
[23:36] การปรารภความเพียร / เกียจคร้าน ให้ผลเป็นทุกข์
[32:38] ให้ผลเป็นสุข
[39:18] ภพ เปรียบเทียบกับ
[45:06] เกี่ยวกับตัณหา ซึ่งเป็น สมุทัย