ในเอพิโสดนี้ มาพูดคุยกันต่อในเรื่อง ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดสัมมาทิฏฐิและมิจฉาทิฏฐิ มาใน เอกธัมมบาลี บาลีว่าด้วยธรรมอันเป็นเอก ทุติยวรรค (จบ) หมวดที่ 2 ข้อที่ 302-307 (พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 12 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต) 

เปรียบเทียบ อโยนิโสมนสิการ (การทำในใจโดยไม่แยบคาย ไม่รอบคอบ) กับ โยนิโสมนสิการ (การทำในใจโดยแยบคาย รอบคอบ) โดยนัยที่จะทำให้เกิดมิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิ มีคติเป็นผลให้ไปสู่ โดยยกตัวอย่างมาประกอบการอธิบายขยายความ ดังเช่น ตัวอย่างการโฆษณาชวนเชื่อที่ดีและไม่ดี, แม้ยังไม่ตายไป ก็มีจิตแบบสัตว์เดรัจฉานได้ , การมนสิการด้วยเหตุผล โดยนัยยะอริยสัจ 4, เปรียบทิฏฐิเหมือนเมล็ดพันธ์ุดีหรือชั่วจะให้ผลอย่างไร ไม่ได้อยู่ที่น้ำและดิน เป็นต้น  

อย่าลืม ในโลกมนุษย์ สุขหรือทุกข์ มีพอๆ กัน ก็อยู่ที่เราจะดำรงอยู่ในมรรค 8 ได้หรือไม่ ในใจเรานี้มีทั้ง 2 ต้น ก็อยู่ที่จะมีสติเอาน้ำรดต้นไหนให้เจริญงอกงาม  

เอกธัมมบาลี บาลีว่าด้วยธรรมอันเป็นเอก ทุติยวรรค (จบ) 

[๓๐๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้มิจฉาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญยิ่งขึ้นเหมือนอโยนิโสมนสิการ เมื่อมนสิการโดยไม่ แยบคาย มิจฉาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญยิ่งขึ้น (๕) 

[๓๐๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญยิ่งขึ้นเหมือนโยนิโสมนสิการ เมื่อมนสิการโดย แยบคาย สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญยิ่งขึ้น (๖) 

[๓๐๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้เหล่าสัตว์ หลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เหมือนมิจฉาทิฏฐินี้ เหล่าสัตว์ที่ประกอบ ด้วยมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก (๗) 

[๓๐๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้เหล่าสัตว์ หลังจากตาย แล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์เหมือนสัมมาทิฏฐินี้ เหล่าสัตว์ที่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ (๘) 

[๓๐๖] กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรมที่ถือ ปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควร แก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารทั้งหลาย ของบุคคลผู้เป็น มิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่า พอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความเห็นเลวทราม กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ … ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความเห็นเลวทราม เปรียบเหมือนเมล็ดสะเดา เมล็ดบวบขม หรือเมล็ดน้ำ เต้าขมที่บุคคลเพาะไว้ในดินชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซับเอาไว้ทั้งหมด ย่อม เป็นไปเพื่อความเป็นของขม เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมล็ด สะเดาเป็นต้นนั้นเลว ฉะนั้น (๙) 

[๓๐๗] กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรมที่ถือ ปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควร แก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็น สัมมาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เกื้อกูล เป็นสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความเห็นดี 

แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ขุดเพชรในพระไตรปิฎก E03S05 


Timeline
[01:20] วันเด็ก
[07:37] เปรียบเทียบส่วนเหมือนส่วนต่าง
[08:17] สัมมา / โยนิโส, มิจฉา / อโยนิโส
[10:16] อโยนิโส การทำในใจโดยไม่แยบคาย ไม่รอบคอบ
[11:12] ดูที่ผลว่า เกิดเป็น มิจฉาทิฏฐิ หรือ สัมมาทิฏฐิ
[12:18] มนสิการด้วยเหตุผล โดยนัยยะอริยสัจ 4
[21:30] ถึงแม้ยังไม่ตาย ก็จะมีจิตแบบสัตว์เดรัจฉานได้
[23:36] โยนิโส ก็มี สัมมาทิฏฐิ เป็นที่ไปสู่สวรรค์ สุคติ
[33:18] ทิฏฐิอยู่ลึก เหมือนเมล็ดพันธ์ุ ดี หรือ ชั่ว
[34:10] ต้นมะตูม และต้นสะเดา
[50:39] สรุป