ตามใจท่านกับ 4 คำถามหลัก ในเรื่องที่เกี่ยวกับ อตัมมยตา, โทษของศรัทธา, คฤหัสบรรลุธรรมต้องมีสถานะตามควรอย่างไร และเรื่องของบุญในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งนี้ยังมีการแสดงความเห็นในคำกล่าวที่ว่า “คนที่มีลูกคือคนที่ไม่ต้องการไปนิพพาน” 

พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบไว้กับ ดอกบัวหรือใบบัว ดอกบัวหรือใบบัวอาศัยน้ำ อาศัยเกิด แต่พอมันเป็นดอกเป็นใบโตขึ้นพ้นน้ำแล้ว น้ำหรือขี้ตมโดนมัน มันก็ไม่เปื้อนกัน แยกกัน ผ่องแผ้วกัน ไม่โดนกัน นี้เป็นลักษณะหนึ่งที่เราปฏิบัติไปด้วยมรรคจนกระทั่งเข้าถึงนิพพานแล้ว แต่ว่าเราไม่ได้ยึดถือนิพพานนั้น ไม่ได้ไปเกาะเกี่นวในนิพพานนั้น เพราะว่านิพพานนั้นเป็นสิ่งที่เรารู้รอบแล้ว 

นี้คือความมหัศจรรย์ของมรรคที่ทำให้เกิดผล จึงเรียกว่า มรรคผลนิพพาน นิพพานแล้วก็จึงเป็น “อตัมมยตา” คือ สภาวะที่ไม่เนื่องด้วยสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น 

ภิกษุแม้นั้น  ก็ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งนิพพาน โดยความเป็นนิพพาน; เมื่อรู้ชัดแจ้งซึ่งนิพพาน โดยสักแต่ว่าเป็นนิพพานแล้ว, ย่อมไม่เป็นผู้หมายมั่นซึ่งนิพพาน; ไม่หมายมั่น ในนิพพาน; ไม่หมายมั่น โดยความเป็นนิพพาน; ไม่หมายมั่นว่า ‘นิพพานเป็นของเรา’ ดังนี้; จึงไม่เป็นผู้เพลิดเพลิน ซึ่งนิพพาน.  ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? เราขอตอบว่า “เพราะว่า นิพพานเป็นสิ่งที่ภิกษุผู้อรหันต์ขีณาสพนั้นได้รู้รอบแล้ว” ดังนี้แล…มูลปริยายสูตร ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรม 

แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต S02E01 , S02E07 , ใต้ร่มโพธิบท S07E16 , ตามใจท่าน S09E61 , #ตั้งความเลื่อมใสให้ถูกต้อง    


Timeline
[06:07] จากพุทธพจน์ที่ว่า “ตถาตตมีธรรมที่ผ่องแผ้วนั่นแหละเป็นหนทาง(ปถ), มีธรรมอันผ่องแผ้วนั่นแหละเป็นที่เที่ยว(โคจร); แต่ว่าตถาคตมิได้เป็น ตมฺมโย(ผู้ที่ธรรมอันผ่องแผ้วนั้นสร้างขึ้น) ด้วยเหตุนั้น” ต้องการทราบว่า คำว่า “ตมฺมโย” คือพระพุทธเจ้าไม่ได้เกิดจากธรรมอันผ่องแผ้วนั้น แต่ธรรมนั้นผุดขึ้นมาจากใจของท่าน จึงชื่อว่ามิได้เป็น ตมฺมโย ควรทำเข้าใจอย่างไรจึงจะถูกต้อง
[08:52] อตัมมยตา แปลว่า ภาวะที่ไม่เนื่องด้วยสิ่งนั้น ความไม่เกาะเกี่ยวกับมัน หรือความเป็นอิสระ ไม่ติดไม่ข้องไม่ค้างใจกับสิ่งใดๆ ไม่มีอะไรยึดถือผูกพัน ที่จะได้จะมีจะเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด
[13:57] เมื่อเราหมดศรัทธากับครูบาอาจารย์ เพราะตอนแรกกับตอนหลังพฤติกรรมเขาเปลี่ยนไป แล้วเราควรทำอย่างไร
[14:55] โทษของศรัทธา อ้างอิงจาก “ปุคคลปสาทสูตร”
[25:57] รักษาศรัทธาให้ได้ โดยต้องมีศรัทธาด้วยตนเองอย่างลงมั่นไม่หวั่นไหวแบบโสดาปัตติผล เพราะศรัทธาเป็นสิ่งที่เราต้องสร้างขึ้นด้วยตัวของเราเอง และทำให้เจริญเพื่อผลิตผลที่ดีในภายภาคหน้า อนึ่งศรัทธาเป็นธรรมที่มีทุกข์เข้าไปตั้งอาศัย ดังนั้นศรัทธาจะเกิดขึ้นได้ก็เพราะมีทุกข์นั่นเอง และต้องมีอินทรีย์อันแก่กล้าซึ่งก็คือ ปัญญา ต้องค่อยๆปลูกฝังให้เกิดขึ้นและมากขึ้น
[30:48] เมื่อผู้ใดบรรลุอรหัตผลแล้ว ควรจะสละเพศฆราวาสและบวชเป็นพระภิกษุหรือภิกษุณีภายในวันนั้นหรือไม่เกิน 7 วัน มิฉะนั้นแล้วท่านจะนิพพาน เนื่องจากเพศคฤหัสถ์ไม่เหมาะสมที่จะรองรับความเป็นพระอรหันต์ได้ คำกล่าวเช่นนี้เป็นจริงหรือไม่
[42:39] การทำบุญในรูปแบบต่างๆ ซึ่งต้องทำประกอบกันไปทั้งสามรูปแบบอย่างสมดุล ทั้งนี้การภาวนาคือ การทำบุญสูงสุด เพราะทานที่ทำไว้ดีนั่นคือจิตตั้งไว้ดี ศึลที่ตั้งไว้ดีนั่นคือจิตที่ตั้งไว้ดี และภาวนาที่ตั้งไว้ดีก็เพราะได้จิตที่ตั้งไว้ดีเช่นกัน
[54:54] คนที่มีลูกคือ คนที่ไม่ต้องการไปนิพพานใช่หรือไม่