พระธรรมอันพระพุทธเจ้าทรงที่บอกสอนไว้ดีแล้ว ด้วยความรู้ยิ่ง มีเหตุผล และน่าอัศจรรรย์ ทิ้งไว้เป็นมรดกให้เรารักษาปฏิบัติทำให้ดี ซึ่งนั่นจะเป็นความรุ่งเรือง เป็นความดีงาม เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่ใช่แค่แก่มนุษย์เท่านั้น แต่ยังแก่เทวดาทั้งหลายด้วย ไม่ใช่แก่กลุ่มเดียวนี้เท่านั้น แต่ยังกับกลุ่มอื่น ๆ ทั้งหลายด้วย ดังนั้นเราในฐานะพุทธบริษัทผู้เป็นธรรมทายาท จึงมีหน้าที่ช่วยกันดูแลรักษาธรรมวินัยให้ถูกต้องสืบต่อไป 

โดยในเอพิโสดนี้ จึงได้ยกหัวข้อในเรื่อง “การข่มขี่ปรัปวาทโดยธรรม” จาก ทิฏฐิสูตร [๙๓] ขึ้นมาเป็นตัวอย่าง ปรารภท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีกล่าวข่มขี่ถ้อยคำอันเป็นข้าศึกให้ราบคาบไปโดยธรรม พร้อมแสดงธรรมที่มีความน่าอัศจรรย์แก่เหล่าอัญญเดียรถีย์ปริพาชกในเรื่องของทิฐิได้ และอย่างไรที่เรียกว่า วิธีข่มขี่ถ้อยคำอันเป็นข้าศึกให้ราบคาบไปโดยธรรม 

“ภิกษุใดแลเป็นผู้มีธรรมอันไม่หวั่นไหวในธรรมวินัยตลอดกาลนาน ภิกษุ แม้นั้นพึงข่มขี่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ให้เป็นการข่มขี่ด้วยดีโดยชอบธรรมอย่างนี้ เหมือนท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีข่มขี่แล้ว ฉะนั้น”…ทิฏฐิสูตร [๙๓] 

แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S07E21 , คลังพระสูตร S08E32 , #อาการที่แสดงธรรม 3 อย่าง


Timeline
[00:45] เริ่มด้วยการนั่งสมาธิชนิดที่เป็นรูปแบบ ด้วยการเจริญพุทธานุสสติ
[15:36] การที่เราจะทำความเข้าใจในธรรมได้ จิตต้องเป็นสมาธิ
[17:47] ช่วงใต้ร่มโพธิบท “การข่มขี่โดยธรรม” โดยยกตัวอย่างท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ซึ่งมีคุณสมบัติที่จะข่มขี่ปรัปวาทอันเป็นข้าศึกให้ราบคาบไปโดยธรรมแล้วแสดงธรรมพร้อมทั้งความน่าอัศจรรย์ได้
[25:54] ว่าด้วย ทิฏฐิสูตร มาใน อังคุตรนิกาย
[35:30] ปรัปวาทที่เกิดขึ้น และความยึดถือในทิฏฐินั้น
[40:39] วิธีข่มขี่ปรัปวาท
[44:07] แทรกเรื่องการปฏิบัติ การเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริง
[52:13] ด้วยมรรค 8 ด้วยรู้ยิ่ง มีเหตุผล อัศจรรย์
[56:56] สรุป