“เธอพึงปฏิบัติสติปัฏฐานด้วยคิดว่า เราจักรักษาตน พึงปฏิบัติสติปัฏฐานด้วยคิดว่า เราจักรักษาผู้อื่น บุคคลผู้รักษาตน ย่อมชื่อว่ารักษาผู้อื่น บุคคลผู้รักษาผู้อื่น ย่อมชื่อว่ารักษาตน”…เสทกสูตรที่ ๑ 

บุคคลผู้รักษาตน ย่อมชื่อว่ารักษาผู้อื่น เป็นอย่างไร? รักษาผู้อื่นด้วยการซ่องเสพ ด้วยการเจริญ ด้วยการกระทำให้มาก  

บุคคลผู้รักษาผู้อื่น ย่อมชื่อว่ารักษาตน เป็นอย่างไร? รักษาตนด้วยความอดทน ด้วยความไม่เบียดเบียน ด้วยความมีจิตประกอบด้วยเมตตา ด้วยความเอ็นดู  

คนที่ปฏิบัติธรรมนั้นไม่ใช่ว่า ชีวิตจะราบรื่นไม่มีอุปสรรคอะไรเลย ผัสสะที่ไม่น่าพอใจ มันก็มีเป็นธรรมดา แต่พอมีแล้วเราจะรักษาสติของเราได้หรือไม่ ถ้าเรารักษาสติไม่ได้ มันจะเหมือนถูกยิงด้วยลูกศร 2 ดอก ถูกกายด้วย ถูกใจด้วย แต่ถ้ารักษาสติอยู่ได้ ก็เหมือนถูกยิงด้วยลูกศรดอกเดียว คือทางกาย ไม่ถูกยิงในทางใจ  

การที่เรารักษาตนเอง จะมีผลเป็นการรักษาผู้อื่น หรือ จะเอาผู้อื่นเป็นหลัก ก็จะมีผลเป็นการรักษาตนเองด้วย ไม่ใช่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น แต่ยังทั้ง 2 ฝ่ายให้เกิดประโยชน์ทั้ง 2 ด้าน เปรียบเหมือนนักแสดงกายกรรม ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นในชีวิตของเราแล้ว จะสามารถรักษาทั้ง 2 ฝ่ายได้ จะต้องเจริญสติปัฏฐานทั้ง 4 

แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ตามใจท่าน Ep.37  ,



Timeline
[00:50] เริ่มปฏิบัติสมาธิ ด้วยการเจริญกายคตาสติ
[15:15] เปรียบเทียบความสุข ความทุกข์ระหว่างนรกและสวรรค์ และ ระหว่าง เทวดา สัตว์นรก และมนุษย์
[20:40] พระสูตร ชื่อ เสทกะสูตร
[25:20] ลูกศร สองดอก
[29:05] รักษาตน/รักษาผู้อื่น
[34:33] รายละเอียด รักษาตน
[37:30] รายละเอียด รักษาผู้อื่น
[43:45] ทั้ง 2 ทาง คือ เอาตัวเองเป็นหลักก็ชื่อว่า รักษาคนอื่น และ เอาคนอื่นเป็นหลักก็ชื่อว่า รักษาตัวเอง
[44:55] การเจริญสติปัฏฐาน4
[52:59] สรุป