พอมีคำสอนมากขึ้น คนศึกษากันมากขึ้น ๆ แล้ว ก็มีอาสวะมากขึ้น พอมีอาสวะมากขึ้นแล้ว ก็ต้องมีการบัญญัติพระวินัยขึ้นมาแก้ พอมีสิกขาวินัยมากขึ้น คนก็ศึกษามากขึ้น พอศึกษามากขึ้น อาสวัฏฐานิยธรรม คือ ธรรมที่จะทำให้อาสวะเกิดขึ้นได้ ทำให้มีข้อที่ไม่ดีอะไรบางอย่างเกิดขึ้น เมื่อมันเกิดมีมากขึ้น ก็เลยต้องยิ่งบัญญัติมากขึ้น จึงทำให้มันก็มีแต่เสื่อมลง ๆ  

อาสวัฏฐานิยธรรมทั้ง 5 ข้อนี้ ถ้าเราดูผิวเผิน มีหมู่ใหญ่ มีลาภสักการะ มียศ เป็นพหูสูต รู้ราตรีนาน ก็จะไม่ได้เป็นปัญหาอะไร แต่เพราะสิ่งเหล่านี้ มันเนื่องอยู่ในขันธ์ 5 อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ เขาจึงเรียกอุปาทานขันธ์ มันสามาถทำให้เกิดความยึดถือได้ เศร้าหมองได้ ทำให้เกิดความเสื่อมได้ 

วิธีป้องกัน 6 อย่างที่ไม่ให้ไปตามอำนาจกิเลส โดยหัวข้อ คือ ด้วยการเสพ, การอดทน, การสำรวมอินทรีย์, การภาวนา, การงดเว้นในสิ่งที่เป็นอโคจร, การละมิจฉาสังกัปปะ และจะอธิบายโดยรายละเอียดต่อไปในตอนหน้า


อ่าน “อาสวัฏฐานิยธรรม” พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

ฟัง “ภัททาลิสูตร” ออกอากาศทาง FM92.5 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2562


Timeline
[01:25] ปฏิบัติมรณสติ คือ การพิจารณานึกถึงเหตุแห่งความตายนั้นมีอยู่มาก นึกถึงตรงนี้จะทำให้เกิดความไม่ประมาท
[14:00] พุทธภาษิตเรื่อง “ทรงเป็นแสงสว่างสูงสุด”(มาใน ปัตโชตสูตร ที่ ๖ และ มาคธสูตร)
[15:17] เริ่มช่วงใต้ร่มโพธิบทด้วยเรื่อง “ความเสื่อม” ทรงตรัสไว้ใน ภัททาลิสูตร
[25:04] อาสวัฏฐานิยธรรม 5 ได้แก่ มีหมู่ใหญ่, เลิศด้วยลาภ, เลิศด้วยยศ, รู้การศึกษา (พหูสูต), รู้ราตรีนาน
[29:07] ช่วงต้นในการประกาศธรรมของพระพุทธเจ้า
[29:54] ตัวอย่างการมีธรรม 5 อย่างในธรรมวินัยนี้
[32:46] อาสวะเกิดได้เพราะสิ่งเหล่านี้เนื่องอยู่ในขันธ์ 5 อันเป็นที่ตั้งแห่งการยึดถือ มันสามารถทำให้เกิดความยึดถือได้ เศร้าหมองได้
[34:07] ถ้าเผลอไม่เดินตามมรรค จะทำให้เกิดการติเตียนขึ้น
[34:46] ตัวอย่าง ลาภทำให้เสื่อมได้ เช่น กรณีท่านพระสุทินน์ หรือ กรณีภิกษุท่านมีเมตตาเอาปัจจัย 4 ไปให้พวกอเจลกะ
[37:29] ตัวอย่าง หมู่มาก…หมู่มากบางทีก็ทำให้ที่นั่งที่นอนมีความจำกัด ทำให้มีการนอน การนั่งร่วมกัน การที่จะมาทำในใจโดยแยบคายในคำสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้นไม่ง่าย
[40:53] ตัวอย่าง มียศ…พระพุทธเจ้าทรงแต่งตั้งยกย่องให้ภิกษุเป็น เอตทัคคะในด้านต่าง ๆ ก็เพราะความสามารถของแต่ละท่านแต่ละองค์ที่ได้ตั้งความปรารถนาไว้และทำเหตุมาสร้างเหตุมาเอง
[44:20] ตัวอย่าง เป็นพหูสูต…ศึกษามากบางทีก็เป็นพิษ พระพุทธเจ้าท่านใช้คำว่า การศึกษานี้เป็นเหมือนงูพิษ
[49:14] ตัวอย่าง รู้ราตรีนาน คือ บวชนาน
[52:02] เราจะเปลี่ยนไปไหม? ถ้ามีอาสวัฏฐานิยธรรมเกิดขึ้น…หันเข้ามาหาตัวเรา เราจะทำอย่างไรไม่ให้เปลี่ยนแปลงไปเป็นคนไม่ดี
[55:15] วิธีป้องกัน 6 อย่างที่ไม่ให้ไปตามอำนาจกิเลส โดยหัวข้อ คือ ด้วยการเสพ, การอดทน, การสำรวมอินทรีย์, การภาวนา, การงดเว้นในสิ่งที่เป็นอโคจร, การละมิจฉาสังกัปปะ และจะอธิบายโดยรายละเอียดต่อไปในสัปดาห์หน้า