ในคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศาสตรา แต่อาชญา ศาสตรา มันมีอยู่ในโลก ที่การกำหนดบทลงโทษ ใช้ทั้งอาชญาและใช้ศาสตรา ใช้กฎหมายบังคับให้บ้านเมืองเกิดความสงบเรียบร้อย แต่นี้เป็นการแก้ไขป้องกันในระยะสั้น 

ในธรรมวินัยนี้ไม่ใช่จะใช้อาชญาหรือศาสตราในการลงโทษ แต่ใช้หลักที่ว่า สิ่งใดที่เป็นกุศลหรืออกุศล เป็นความเชื่อที่ถูกต้องในเรื่องของกรรม ผลของกรรม และการปฏิบัติตามทางมรรค 8 เป็นการแก้ไขป้องกันในระยะยาว 

“หิริโอตตัปปะ” เป็นธรรมะที่ใช้คุ้มครองใจ ที่บุคคลจะเกิดความละอาย และความเกรงกลัวต่อบาป ต่อการกระทำไม่ดี ที่เมื่อเรากระทำแล้ว จะมีความกลัวต่อการติเตียนตนด้วยตน, มีความกลัวต่อการติเตียนจากผู้อื่น, มีความกลัวต่ออาชญา และมีความกลัวต่อทุคติ 

ความกลัวความละอายที่เกิดขึ้น จะทำให้เราจะสามารถแก้ไขปรับปรุงตัวของเราเองได้โดยไม่ต้องไปถึงจุดที่ต้องใช้อาชญา ใช้ศาสตรา 

คนที่มาปฏิบัติธรรมได้จะไม่ใช่ด้วยการบังคับ แต่เกิดจากการสมัครใจ เกิดจากหิริโอตตัปปะที่มีอยู่ในใจ จึงสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ 


Timeline
[00:01] เริ่มการปฏิบัติด้วยการพิจารณาเข้ามาในกายของตนเอง ตั้งสติไว้ในกาย คือ กายคตาสติ เห็นกายโดยความเป็นจริง โดยเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นอนัตตา จะมีความหน่าย มีความคลายกำหนัด ปล่อยวางได้ ละความยึดถือได้ 
[13:07] แผ่เมตตา 
[16:00] พุทธภาษิต เรื่อง “การปรินิพพานทำให้มหาชนเดือดร้อน” 
[19:54] ใต้ร่มโพธิบท เรื่องของ “อาชญาและศาสตรา” เปรียบเทียบให้เห็นว่าในคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศาสตรา แต่อาชญา ศาสตรา มันมีอยู่ในโลก 
[21:02] ความกลัวต่ออาชญา ความกลัวต่อศาสตรา จึงไม่ทำบาป 
[22:55] พุทธพจน์ “เทวทูตสูตร” (การสั่งลงโทษของพระราชา) 
[29:33] ความกลัวต่อคำด่าว่าของคนอื่น 
[30:00] ความกลัวต่อการติเตียนตน 
[34:58] ความกลัวต่อนรก มหานรก 
[48:22] หิริโตตัปปะ 
[53:06] สรุป กรรมดีมีความชั่วมี กฏแห่งกรรมยุติธรรมเสมอ แก้ไขปรับปรุงชีวิตเราให้ดีด้วยปฏิบัติตามมรรค อาชญาก็ไม่ต้องใช้ ศาสตราก็ไม่ต้องกลัว