ฟังตอนนี้แล้วต้องตอบได้ว่าความคิดนึกที่เกิดขึ้นในช่องทางคือใจ นี่มันไม่ใช่ของฉัน คือมันเป็นสัญญา เป็นความหมายรู้ที่เกิดขึ้นภายนอก ความคิดไม่ดีนี้เป็นกามสัญญา เป็นพยาบาทสัญญา ไม่ใช่เป็นการปรุงแต่งที่เกิดขึ้นจากในจิตของเรา ไม่ใช่จิตตสังขาร แต่เป็นแค่ธรรมารมณ์ แต่ต่างก็เกิดขึ้นในช่องทางคือใจ เข้าใจว่ามันเป็นสัญญาตรงนี้แหละเราจะหยุดมันได้


Timeline
[00:00] เข้าใจธรรมด้วยการปฏิบัติ เริ่มด้วยการตั้งสติ
[06:23] สติปัฏฐาน4 เห็นกายในกายคือเห็นโดยความเป็นจริงเป็นของไม่สวยงาม,เห็นเวทนาในเวทนาคือเห็นความระงับลงไปของเวทนา,เห็นจิตในจิต ไม่ใช่เห็นความคิด แต่เห็นความเป็นประภัสสร,เห็นธรรมในธรรมคือเห็นธรรมะที่พระผู้มีพระภาคประกาศไว้ดีแล้ว
[11:27] สัมมาสติเป็นการระลึกที่จะทำให้จิตของเราออกจากเครื่องรัดคือกิเลส
[13:36] อนุสติ10
[16:30] ฝึกแบบอานาปานสติ ตั้งสติอยู่กับลม ไม่ใช่การฝึกการหายใจแต่มาฝึกจิต
[17:50] เริ่มเรื่องความคิดนึก
[20:34] ในช่องทางคือใจมีหลายอย่าง จัดหมวดหมู่ออกเป็น2ส่วน คือกุศลธรรมส่วนนึงมี 3 ข้อ อกุศลธรรมก็อีกส่วนนึงมี 3 ข้อเช่นกัน
[21:16] อกุศลที่เป็นกามวิตก
[22:08] อกุศลที่เป็นพยาบาทวิตก
[22:25] อกุศลที่เป็นในทางเบียดเบียน วิหิงสาวิตก
[23:22] ในส่วนกุศล เริ่มด้วยการหลีกออกจากกาม เนกขัมมวิตก
[24:42] อัพ์ยาปาทวิตก
[25:22] อวิหิงสาวิตก
[25:55] แบ่งออกโดยลักษณะของ 2 ส่วน จัดเป็นหมวดหมู่ตามเรื่องของกาม พยาบาท เบียดเบียน
[27:18] ในช่องทางคือใจมีหลายอย่างแล้วเราจะแยกแยะได้มั้ยว่าอะไรคือกุศล อะไรคืออกุศล
[27:35] จะแยกแยะได้ต้องแบ่งมันได้ก่อน แบ่งแล้วรู้คุณสมบัติของมัน
[30:03] ทำไมมีความคิดดีหรือไม่ดีเกิดขึ้น
[31:06] ทุกอย่างมีเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น เข้าใจอย่างนี้แล้วจะเข้าใจสภาวะจิตตน ในแต่ละอย่าง ๆใน 6 ข้อจะเกิดขึ้นได้ต้องมีเหตุปัจจัย
[32:44] ธาตุ ในแต่ละธาตุประกอบกันขึ้นเป็นสิ่งต่างๆ ความคิดนึกก็เช่นกันมีธาตุ
[34:04] ทั้งฝ่ายกุศลหรืออกุศลล้วนมีธาตุของมัน
[35:39] เพราะมีธาตุจึงมีความหมายรู้คือสัญญา หมายรู้ว่ามีอยู่ในโลก
[37:30] หมายรู้ไม่ใช่เป็นการปรุงแต่ง ไม่ใช่กรรมของเรา ยกตัวอย่างพระพุทธเจ้า/การทราบข่าวสาร
[38:50] สิ่งที่รับรู้นั้น คือ ธรรมารมณ์ ไม่ใช่จิตตสังขาร
[39:18] จากสัญญาอาจเปลี่ยนเป็นสังกัปปะ เพราะอาศัยกามสัญญาจึงเกิดมีกามสังกัปปะ
[41:48] จากสังกัปปะก็จะมีฉันทะ กามฉันทะ เป็นความเร่าร้อน แล้วจึงเกิดการแสวงหากาม/พยาบาท/เบียดเบียน แสวงหาด้วยกาย วาจา ใจ
[43:59] การแสวงหาเริ่มจากในใจก่อนแล้วมาทางวาจา กาย คืบคลานเนียนๆ ไล่จากกามธาตุ มาเป็นกามสัญญา กามสังกัปปะ ฉันทะ แสวงหา
[44:43] พยาบาทก็เช่นกัน
[46:13] ความเบียดเบียน วิหิงสาก็เช่นกัน
[48:05] รู้เขารู้เรา พอเข้าใจในเรื่องโครงสร้างฝ่ายไม่ดีแล้วจะแก้ไขได้ เหมือนกับหมอที่เรียนรู้เรื่อง anatomy มารักษาคน
[49:06] ถ้ารู้ว่าเป็นแค่สัญญา เราจะหยุดมันได้
[49:40] เพราะตริตรึกไปทางไหน จะทำให้สิ่งนั้นมีพลัง เราจะให้กำลังแก่ฝ่ายไหน
[51:22] ในทางกุศล ทำการพัฒนาให้เกิดกุศลธรรมขึ้น เนกขัมมธาตุมีอยู่ เป็นเนกขัมสัญญา เป็นเนกขัมมสังกัปปะ จะมีความร้อนใจในการทำความดีดุจคนจะดับไฟที่ผม แสวงหาในความคิด เนกขัมมจิต วาจากายก็ตามมา
[54:10] ความไม่พยาบาทก็เช่นกัน
[56:39] เช่นเดียวกันในทางไม่เบียดเบียน พัฒนาได้
[58:21] สรุปธรรมารมณ์กับสังขารแยกกันได้ ไม่ใช่ตัวเดียวกัน
[59:39] ปิด เข้าใจธรรมะด้วยการปฏิบัติ