พระพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นอุปมาอุปมัยใน เทวทหสูตร ปรารภเหล่าปริพาชกที่ทำความเพียรชนิดที่ไร้ผล ยกตัวอย่างของบุรุษผู้หนึ่ง ที่กล่าวถึง “ความบากบั่น ความพากเพียร จะมีผลขึ้นมาได้” 

จิตของเราที่ตกอยู่

พระพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นอุปมาอุปมัยใน เทวทหสูตร ปรารภเหล่าปริพาชกที่ทำความเพียรชนิดที่ไร้ผล ยกตัวอย่างของบุรุษผู้หนึ่ง ที่กล่าวถึง “ความบากบั่น ความพากเพียร จะมีผลขึ้นมาได้”

ถ้าเราตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งเหตุแห่งทุกข์ใดเป็นอารมณ์อยู่ วิราคะคือความคลายกำหนัดย่อมมีขึ้นได้

พระพุทธเจ้าเปรียบสติไว้เป็นเครื่องตรวจหาหัวลูกศร

ผู้ประกอบด้วยธรรม 7 ประการนี้ ย่อมทำจิตให้อยู่ในอำนาจของตนได้

ผู้ฉลาดในการเข้าสู่สมาธิ จะต้องเป็นผู้ที่มีความอดทนต่อผัสสะทั้งหลาย

เหตุแห่งทุกข์อยู่ตรงไหน พิจารณาให้ถูกต้อง เพราะว่าถ้าเราทำการพิจารณาโดยไม่แยบคาย เป็นอโยนิโสมนสิการ นั่นเป็นอาหารของอวิชชา

พระพุทธเจ้ากล่าวว่า กิเลสเป็นเจ้าเหนือหัวของสัตว์โลกมานานแล้ว ถูกยึดครองทั้งหมดไว้ด้วยกิเลสมาร อย่าตกเป็นตัวประกันของจิต เราจะปลอดแอกจากมันได้ ต้องให้จิตของเราอยู่ในอำนาจ เราจะไม่ย่อมตามเป็นพวกเดียวกับกิเลส

เราต้องมีความกล้า กล้าที่จะเผชิญหน้ากับกิเลส ไม่ย่อมเป็นไปตามอำนาจของมัน ความกล้าในที่นี้คือ “วิริยะ”

ช่วงปกิณกะธรรม : ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์

บทคัดย่อ

“…ภิกษุนั้น เมื่อตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งเหตุแห่งทุกข์ใดเป็นอารมณ์อยู่ วิราคะย่อมมีขึ้นได้เพราะการตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งนั้นเป็นเหตุ ดังนี้แล้ว เธอก็ตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งในเหตุแห่งทุกข์นั้นเป็นอารมณ์ (ยิ่งขึ้นไป) ; และเมื่อเธอเข้าไปเพ่งซึ่งตัวเหตุแห่งทุกข์ใด ทำความเพ่งให้เจริญยิ่งอยู่ วิราคะย่อมมีขึ้นได้ ดังนี้แล้ว เธอก็เจริญความเพ่งในเหตุแห่งทุกข์นั้น (ยิ่งขึ้นไป). เมื่อเธอตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งเหตุแห่งทุกข์นั้นๆ เป็นอารมณ์อยู่วิราคะก็มีขึ้นเพราะการตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่นั้นเป็นเหตุ ; เมื่อเป็นดังนี้ ความทุกข์นั้นของเธอ ก็สูญสิ้นไป ; เมื่อเธอเข้าไปเพ่งอยู่ซึ่งตัวเหตุแห่งทุกข์นั้น ๆ ทำความเพ่งให้เจริญยิ่ง อยู่ วิราคะก็มีขึ้น เมื่อเป็นดังนี้ ความทุกข์นั้นของเธอก็สูญสิ้นไป. (นี้คืออาการที่ความบากบั่น ความพากเพียร เกิดมีผล).”

– อุปริ. ม. ๑๔/๑๓/๑๒-๑๓.

พระพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นอุปมาอุปมัยใน เทวทหสูตร ปรารภเหล่าปริพาชกที่ทำความเพียรชนิดที่ไร้ผล จึงได้ยกตัวอย่างของบุรุษผู้หนึ่ง กล่าวถึง “ความบากบั่น ความพากเพียร จะมีผลขึ้นมาได้”

เป็นเรื่องราวของที่ผู้ชายคนนี้ไปรักชอบพอผู้หญิงอยู่คนหนึ่ง ทั้งคู่มีความสุขที่ได้ความรักใคร่ชอบพอกัน ทุกอย่างมันดูความหวานซึ้งหวานชื่นไปหมด นี้เป็นลักษณะของกาม คือ เป็นเมถุนธรรม เป็น กามตัณหา ซึ่งพระพุทธเจ้าเปรียบเทียบไว้กับ เป็นลูกศร และไม่ใช่ลูกศรธรรมดา ๆ เป็นลูกศรอาบยาพิษ ยาพิษของมัน คือ อวิชชา ชายคนนี้ที่ไปรักใคร่ชอบพอผู้หญิงคนนี้ จากสถานการณ์นี้เปรียบเหมือนกับเขาถูกลูกศร (ตัณหา) ที่มีพิษอาบไว้ (อวิชชา) แทงเข้าให้แล้ว ตอนที่ถูกแทงมันยังไม่เจ็บ เพราะว่าพิษของอวิชชามันเคลือบแผลเอาไว้อยู่ ถูกแทงที่ตา ถูกแทงที่หู ด้วยอำนาจของกามตัณหาพิษที่อาบไว้ของอวิชชานั้นทำให้เราไม่รู้ว่าเราถูกแทงแล้ว ทุกครั้งที่คิดถึงเขา ทุกครั้งที่ได้พูดเล่นหยอกล้อกัน จับมือถือแขวนกัน ทุกครั้ง ๆ เป็นผัสสะ ๆ ทุกผัสสะ ๆ ถูกแทงแล้ว ๆ แต่มันไม่เจ็บ เพราะว่าอวิชชามันหลอกเราอยู่ อวิชชาทำให้การรับรู้นั้นมันผิดเพี้ยนเปลี่ยนแปลงไม่ตรงกัน…ก็เหมือนกับจิตใจของเรา ในช่องทางคือใจของเรา ถ้าเผื่อว่ามีสิ่งที่มันจะมาให้ขัดข้อง มาทำให้ความรับรู้ของเราผิดเพี้ยนไป ถ้าในใจมีราคะ มีโลภะอยู่มาก การรับรู้อะไรในช่องทางทั้งหมดมันก็จะเป็นไปตามอำนาจของความอยาก ของความหิวโหย ของความกระหาย ของความรักใคร่กำหนัดยินดี หรือถ้าในช่องทางใจมีสิ่งเครื่องข้องที่เป็นลักษณะของโทสะอยู่มาก มันก็จะทำให้ในช่องทางคือใจ การรับรู้ทั้งหมดนั้นจะเป็นมีความเร้าร้อน เป็นความไม่สบาย เป็นความโกรธ เป็นความฟุ้งซ่านไปในลักษณะที่เป็นโทสะ หรือถ้ามีอาการทำให้ช่องทางคือใจการรับรู้ที่มันมึนงง มืดตึ๊บ ไม่ค่อยชัดเจน ไม่ค่อยเข้าใจ เราเรียกเครื่องข้องเครื่องเศร้าหมองนั้นว่า โมหะ

ในช่องทางคือใจ ถ้ามีกิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ อยู่ ก็ทำให้การรับรู้นั้นมันไม่ถูกต้อง ผิดเพี้ยนไปตามความหิว ความร้อน หรือความมืด ตามอำนาจของกิเลส

กิเลสมาจากไหน?

กิเลสมาจาก “จิต” นั่นเอง จิตเวลามีอะไรมากระทบ สิ่งที่มากระทบก็คือผัสสะ ชายคนนี้เห็นหญิงคนนั้นเกิดความรักใคร่ชอบพอ นี้เป็นผัสสะแล้ว. ถ้าผัสสะนั้นเป็นที่น่าพอใจ เมื่อมากระทบจิตที่ไม่มีเครื่องป้องกัน เขาก็จะมีราคะเกิดขึ้น “ราคะเกิดขึ้นที่จิตเมื่อไร จิตนั้นไม่เป็นตัวของมันเอง”

จิตจะเป็นไปตามอำนาจของราคะ ทำให้เขามีความลุ่มหลงเพลิดเพลินพอใจ ทุกครั้งที่เขามีความกำหนัดยินดีลุ่มหลงเพลิดเพลินพอใจเกิดขึ้น อนุสัยคือ ราคะ ก็เกิดขึ้นเป็นอาสวะ ยิ่งทำให้จิตของเขามีความเศร้าหมองลง ๆ เศร้าหมองลงตามอำนาจของจิตที่มีราคะเป็นที่ตั้งแล้ว จิตของเขานั้นไม่เป็นตัวของตัวเอง…ถ้าจิตเป็นอย่างนี้ แล้วเราไม่รู้วิธีป้องกัน ก้จะตกไตามอำนาจของจิต เหมือนอย่างกรณีชายหนุ่มหญิงสาวคู่นี้ ที่ไปตามอำนาจของจิตที่มีราคะเป็นที่ตั้ง การกระทำอะไรต่อเนื่อง ต่อเนื่องต่อไป การปรุงแต่งสังขาร หรือการกระทำใด ๆ ก็ตาม ก็จะเป็นไปตามอำนาจของราคะ เหมือนเป็นอย่างนี้ ราคานุสัยก็ยิ่งพอกพูน ๆ ยิ่งเหมือนถูกลูกศรแทงมากขึ้น ๆ ทุกผัสสะทุกการกระทำ แทงแล้วแทงอีก แทงจนพรุน แผลนี้เหวอะหวะ แต่ตัวเองก็ไม่รู้สึก จึงมีคำพูดที่ว่า “ความรักทำให้คนตาบอด”…เพราะอวิชชามันบังเอาไว้ เพราะความที่ตกอยู่ในอำนาจของกิเลส ถ้าเราปล่อยให้จิตที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลสมามีอำนาจเหนือชีวิตของเรา การดำเนินตามทางนั้นก็เป็นทางของกิเลสที่ราคะไป

สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

มีอยู่วันหนึ่งผู้ชายคนนี้เขาไปเห็นผู้หญิงที่เขารักใคร่ชอบพอไปพูดคุยหลอกล้ออยู่กับชายอื่น ๆ ชนิดที่ว่ารักใคร่ชอบพอกัน เมื่อเห็นอย่างนี้แล้ว ผู้ชายคนนี้เขาเกิดความทุกข์หนักอึ้งขึ้นไม่ไช่ที่หูหรือตา แต่ที่ท่ามกลางอก…ในสถานการณ์นี้ลูกศรที่แทงไว้จนพรุนแล้ว ไม่รู้สึกตัว เพราะว่ายาพิษคืออวิชชาทำให้เราไม่รู้สึก ณ ตอนที่ถูแทง แต่เมื่อไรก็ตามที่ความจริงเปิดเผยตัวออกมาว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา” เปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่มันเคยเป็นอยู่ จิตใจของผู้หญิงคนนั้นเขาไม่ได้รักคุณคนเดียว เขาก็ไปรักคนอื่นด้วย หรือจากที่เขาทำให้คุณดูอย่างหนึ่ง จริง ๆ แล้วมันไม่ได้เป็นอย่างนั้น หรือที่เราคิดไว้อย่างหนึ่ง มันจะต้องเป็นไปอีกอย่างหนึ่ง หรือที่คิดไว้อย่างนั้นแต่มันเกิดเปลี่ยนแปลงเพราะว่าเหตุปัจจัยมันเปลี่ยนแปลงไป ความจริงปรากฎขึ้น ความจริงในที่นี้ คือ ความที่มันเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นจากที่เราหวัง พอวิชชา (ความจริง) เกิดขึ้นให้เห็นว่า “มันไม่ใช่อย่างที่เราคิด” วิชชาที่เกิดขึ้นเราจะเห็นเจ้าตัวอวิชชานี้ มันจะอึ๊กขึ้นเลย เหมือนพิษที่อาบมากับลูกศรมันแผ่กระจายวิ่งเข้าสู่หัวใจแล้ว พิษเข้าสู่กระแสเลือด วิ่งเข้าสู่หัวใจ ทำให้เวลามันเจ็บ มันเจ็บที่ใจ บริเวณท่ามกลางอก แล้วก็น้ำตาไหลโดยไม่รู้ตัว…ด้วยความที่เห็นความจริงอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตามที่ปรารภกาม

…ไม่ต่างอะไรกับคนที่ตกอยู่ในอำนาจของจิต ด้วยราคะนี้ที่เเปรียบกับป่า สัตว์ป่าวิ่งนี้เข้าป่าบางทีเกิดถูกภัยอันตรายจากความรกของป่าทิ่มตำเอา ได้รับทุกข์เจียนตายก็มี อันตรายจากป่ามีมากมาย กามคือป่า จิตที่มันไม่เชื่องเหมือนสัตว์ป่า มีวิสัยของสัตว์ป่าก็วิ่งหนีเข้าป่า วิ่งหนีเข้าป่า คุณได้รับทุกข์เพราะราคะอยู่เนือง ๆ ราคานุสัยเกิดขึ้นแล้ว พอได้รับความทุกข์ระทมอย่างใดอย่างหนึ่ง มีความไม่พอใจเกิดขึ้นเป็นความขัดเคือง เป็นปฏิฆะ ปฏิฆานุสัยก็เกิดขึ้นฝังลงไปในจิตด้วย ฝังลงไปก็ยิ่งขัดเคืองยิ่งไม่พอใจ ทำให้ทำร้ายกันก็มี ด่าว่ากันก็มี ปฏิฆานุสัย ทำให้จิตนั้นเร่าร้อน เป็นโทสะ เป็นกิเลสอย่างหนึ่ง.

เมื่อมีสติระลึกได้

“กิเลส” มันเกิดมาเพื่อทำลายจิต ทำให้จิตอ่อนกำลังลง ถ้าเราตกอยู่นอำนาจของจิตแล้ว จิตมีราคะ โทสะ โมหะครอบงำ มันไม่ได้เรื่อง ยิ่งจะทำให้จิตนั้นอ่อนกำลัง แล้วแผลที่ถูกแทงด้วยลูกศรตั้งแต่นานมาแล้ว มียาพิษคืออวิชชา ซึมซาบอยู่ในกระแสเลือดแล้ว แล้วก็ไม่ได้รักษา มันจะเกิดอาการขึ้นมาอย่างหนึ่งที่เรียกว่า “การอักเสบ” จะมีหนอง เป็นแผลที่เป็นหนอง ในสถานการณ์นี้ ผู้ชายคนนี้ที่มีความทุกข์อันเกิดจากความรักใคร่พอใจอย่างแรงกล้าในหญิงสาวคนนี้ที่เปลี่ยนแปลงไปรักคนอื่น ได้ใคร่ครวญพิจารณาว่า ที่เรามีทุกข์เห็นปานนี้ เพราะอาศัยผู้หญิงคนนี้เป็นเหตุ เพราะเราไปรักเขานั่นเอง ทำให้เราทุกข์ถึงปานนี้ เขาระลึกตรงนี้ขึ้นได้ ความระลึกได้นี้ เรียกว่า “สติ”

ดังนั้นเขาจึงตัดใจ จะละความรักใคร่พอใจ ละฉันทะราคะในหญิงคนนี้เสีย จุดที่เขาคิดได้ ระลึกได้ นั่นคือ “สติ” พระพุทธเจ้าเปรียบสติไว้เป็นเครื่องตรวจหาหัวลูกศร เราถูกแทงตรงไหน ชายคนนี้จำได้ว่าเขาถูกแทงตรงที่ไปรักหญิงคนนั้น นั่นแหละคือ ลูกศร คือ กามตัณหา ที่แทงเราอยู่ ตรงที่ไปรักเขา พอตรวจหาด้วยสติเจอแล้ว คนที่เป็นเป็นแผลมีหัวลูกศรอยู่ข้างใน หนองเหวอะหวะออกมา ตรวจดูแล้วว่าตรงนี้มันเป็นหนอง หมอทุกคนที่เขาเจอแผลเป็นหนอง วิธีการแรกเขาจะต้องกำจัดเอาหนองออก และถ้าแผลยังมีหัวลูกศรฝังอยู้ข้างใน เขาก็ต้องเอามีดผ่าลงไป เปิดปากแผลออก รู้แล้วเห็นแล้วว่าหัวลูกศรมันอยู่ตรงนี้ ผ่าเปิดลงไปหาหัวลูกศรให้เจอ แล้วก็หยิบหัวลูกศรนั้นทิ้งไป ในระหว่างที่กำลังเปิดปากแผล เพื่อที่จะหาหัวลูกศร เอามีดเฉือนลงไปโดนเนื้อมันต้องเจ็บแน่นอน เจ็บมากด้วย

จิตของเราที่ตกอยู่ในอำนาจราคะ โทสะ หรือโมหะ ไปตามอำนาจของจิตแล้ว พาเราไปทุกข์ได้ พาเราไปลงนรก เปตรวิสัย กำเนิดเดรัจฉานก็ได้ พาไปได้หมด เพราะไปตามอำนาจของจิตแล้ว จะทำอย่างไรให้เราทำจิตให้อยู่ในอำนาจ ไม่ให้เราตกไปตามอำนาจของจิต

พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ใน “ธรรมที่ทำความเป็นผู้มีอำนาจเหนือจิต” 7 ประการ คือ

ต้องเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ

ต้องเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสู่สมาธิ

ต้องเป็นผู้ฉลาดในการดำรงอยู่ในสมาธิ

ต้องเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ

ต้องเป็นผู้ฉลาดในความเหมาะสมแห่งสมาธิ

ต้องเป็นผู้ฉลาดในธรรมเป็นโคจรแห่งสมาธิ

ต้องเป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ

ยกมาในข้อที่จะ ต้องเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสู่สมาธิ คุณจะต้องเป็นคนที่ต้องอดทน อดทนต่อผัสสะที่ไม่น่าพอใจ อดทนต่อความร้อนความหนาว มีความกระหาย เหลือบยุงลมแดด อดทนต่อเวทนาที่เกิดขึ้นทางกาย หรืออดทนต่อคำด่าคำว่า อดทนต่อสิ่งที่มันจะชักจูงเราให้ไปทางกาม เราต้องอดทน เราต้องไม่ตามกระแสนั้นไป ต้องฝืน ต้องกล้า ความกล้าคือ ความเพียร “ความเพียรเป็นตบะอย่างยิ่ง”

“ถ้าเราตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งเหตุแห่งทุกข์ใดเป็นอารมณ์อยู่ วิราคะคือความคลายกำหนัดย่อมมีขึ้นได้”

การตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งเหตุแห่งทุกข์เป็นอารมณ์ หมายความว่า อะไรที่ทำให้เราเป็นทุกข์ เราพิจารณามันตรงนั้น, เหตุของทุกข์ในที่นี้คือ สมุทัย เหตุของทุกข์ในที่นี้คือ ตัณหา, ตัณหาเกิดตรงไหน เราจะละตัณหาได้ ต้องละมันตรงนั้น, สมุทัยอยู่ตรงไหน เราจะกำจัดมันได้ ต้องกำจัดตรงนั้น ความรักคือราคะอยู่ที่ไหน จะทำความคลายจากความรัก คือ วิราคะให้เกิดขึ้นได้ ก็ต้องทำให้มันเกิดตรงนั้น…เราช้ำ เราเจ็บ เราทุกข์ตรงไหน พิจารณาลงไปตรงนั้น…เหตุแห่งทุกข์อยู่ตรงไหน พิจารณาให้ถูกต้อง เพราะว่าถ้าเราทำการพิจารณาโดยไม่แยบคาย เป็นอโยนิโสมนสิการ นั่นเป็นอาหารของอวิชชา อวิชชายิ่งเจริญ พิษนี้ยิ่งร้ายแรงมากกว่าเดิม

เช่น ถ้าผู้ชายคนนี้เขารักษาไม่ถูกจุด พิจารณาไม่แยบคาย เขาก็จะชี้ไปที่ว่า เพราะเป็นที่ผู้ชายคนนั้น หรือว่าเพราะเหตุนั้นเหตุนี้ กล่าวโทษไปทั่ว ก็ยิ่งจะมีปฏิฆะความขัดเคือง เป็นโทสะมากยิ่งขึ้น ๆ มีการแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย ราคะก็ยิ่งมากขึ้น อวิชชาคือ โมหะ ยิ่งมีความแข็งแรงมากขึ้น เพราะทำในใจโดยไม่แยบคาย รักษาไม่ถูกวิธี ยาที่ไม่ถูก คือ มิจฉามรรค…จะแก้เรื่องกาม ไม่ใช่ยิ่งเอากามไปใส่มากขึ้น ถ้ายิ่งทำอย่างนั้น คือ การรักษาไม่ถูกจุด มีปัญหาอะไรแทนที่จะเดินตามมรรคแปด แต่ดันไปตามมิจฉามรรค เกี่ยวข้องด้วยกาม พูดด่ากันว่ากัน สาปแช่งกัน คนที่ตกอยู่ในอำนาจของจิตแล้ว แล้วจิตมีราคะ โทสะ หรือโมหะ ยิ่งปล่อยให้มันวิ่งเตลิดหนีเข้าไปอีก ยิ่งหนักเข้าไปอีก ตามตัวยากด้วย ยิ่งตามอำนาจของจิตไปอีก…เราคิดตริตรึกไปทางไหน จิตก็น้อมไปทางนั้น จิตยิ่งน้อมไปทางไหน สิ่งนั้นยิ่งมีพลัง

ถ้าเรายิ่งกลับให้กำลังกับ ราคะ โทสะ โมหะ จิตยิ่งไปตามอำนาจของสิ่งนั้นมากยิ่งขึ้น มันยิ่งมีอนาตมากยิ่งขึ้น พระพุทธเจ้าบอกว่า กิเลสเป็นเจ้าเหนือหัวของสัตว์โลกมานานแล้ว มายึดครองสัตว์โลกนี้ไว้ทั้งหมด เป็นเครือข่าย เป็นตัณหาคืบคลายไป เปรียบไว้เหมือนกับน้ำฝนที่มันหยดรดลงบนหญ้าคา รากของมันก็ยิ่งหยั่งลงลึก หน่อใบของมันก็ยิ่งแตกก้านออกไป รากของมันเปรียบเหมือนกับอวิชชา หน่อใบที่แตกซ่านออกไป คือ ตัณหา มีตัณหาคืบคลานไปที่ไหน กิเลสก็ตามไปด้วย ยึดครองยึดโยง ผูกรัดหัวใจของสตว์โลกไว้ทั้งหมด ด้วยอวิชชาเป็นเครื่องกลางกั้้น ด้วยตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ทำให้เราท่องเที่ยวไปมาอยู่ในป่าของสังสาววัฏนี้มานมนานมากแล้ว

ผู้ชายคนนี้ที่เขาเข้าไปเพ่งอยู่ซึ่งเหตุแห่งทุกข์ ทำความเพ่งให้เจริญขึ้น ด้วยตามระบบแห่งการใคร่ครวญ คือ โยนิโสมนสิการที่ถูกต้อง เพื่อที่จะให้มรรคเกิดขึ้นได้ เพื่อที่จะให้วิราคะเกิดขึ้นมีได้ บางทีกิเลสมันไม่ย่อมตายง่าย ๆ เขาก็ต้องยิ่งตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งในเหตุแห่งทุกข์ให้เป็นอารมณ์ให้ยิ่งขึ้นไปอีก บางทีเชื้อมันไม่หมดง่าย ๆ เราล้างแผลแล้ว มันไม่ได้หายเลย พอหมอตรวจหาหัวลูกศรเจอด้วยสติแล้ว เรามีดคือ ปัญญา ปาดลงไปแล้ว เปิดปากแผลออก หยิบสิ่งที่เป็นของโสโครก คือ ตัณหา นั่นออก รีดเอาหนองออกให้หมด กำจัดสิ่งที่ไม่ดีออกจากจิตใจของเรา ใส่ยาลงไป มันแสบแน่ ยาที่ใส่ลงไปนี้คือ มรรคแปด

มรรคแปด เป็นเหมือนยาสำรอกพิษต่าง ๆ ดูดเจ้าพิษคือ อวิชชาออกมาให้หมด แล้วก็ปิดแผลเอาไว้ หมอเขาก็เตือนคนที่เพิ่งทำแผลมาใหม่ว่าอย่าไปกินของแสลง คุณยังเป็นคนไข้อยู่ คนยังเป็น patient (อดทน) อยู่ คุณต้องอดทน อย่าไปกินของแสลง อย่าให้ถูกลมถูกแดด อย่าให้เลือดเกรอะกรังปากแผล อย่าให้กระทบกระเทือนกระแทกด้วยสิ่งต่าง ๆ ถ้าเลือดเกรอะกรังมีทรายมีฝุ่นก็ต้องชำระล้างแผล กินยาตามเวลา ล้างแผลตามเวลา ขอให้มีเรื่องบาดแผล เป็นเรื่องสำคัญ

…เป็นเพราะกิเลส ที่มันละเอียกแล้วก็ยังมีละเอียดอีก มันมาหลอกเราได้อีก มันฟุ้งกลับขึ้นได้อีก เวลามันจะตาย มันไม่ย่อมตายง่าย ๆ มันจะมีลีลาการเยื้องกายของมัน บางทีมันจับเอาตัวเราไปเป็นตัวประกันให้เราเจ็บตรงนั้น ให้เราปวดตรงนี้ ให้เราหวนคิดหาอยู่เรื่อย เพราะกิเลสมันมีอำนาจ มันยึดครองสัตว์โลกมานานแล้ว กิเลสมันเป็นเจ้าเหนือหัวของเรา เราทำตามอำนาจกิเลสมากี่ปีแล้ว ลองพิจารณาดู วันนี้เราจะอยู่เหนืออำนาจของมัน เราจะไม่ให้มันมาเป็นใหญ่ในจิตใจของเรา ระหว่างที่เรากำจัดมันออกไปต้องใช้ความอดทน บางทีก็ต้องอยู่ลำบากบ้าง บางทีต้องใช้ความเพียรเป็นตบะอย่างยิ่ง

…เราตริตรึกทางทางไหน จิตของเราจะน้อมไปทางนั้น จิตของเราน้อมไปทางไหน สิ่งนั้นก็มีพลัง ถ้าเราตามเสียงตามอำนาจของกิเลสไป กิเลสก็ยิ่งมีพลัง มันก็ได้ทั้งตัวเราด้วย ทั้งหัวใจของเราด้วย มันได้หมดเลย…ในที่นี้เราถึงต้องมีความกล้า กล้าที่จะเผชิญหน้ากับกิเลส ไม่ย่อมเป็นไปตามอำนาจของมัน ความกล้าในที่นี้คือ “วิริยะ” (ความกล้า/ความเพียร) กล้าที่จะเผชิญกับสิ่งที่ทั้งหน้าพอใจและไม่น่าพอใจว่าจริง ๆ มันเป็นอย่างไร ความหิวความร้อน ความกระหาย ด้วยสติที่เราตั้งเอาไว้ ไม่ย่อมเป็นไปตามอำนาจของความคิดต่าง ๆ ไม่ย่อมเป็นไปตามอำนาจของจิต

สัตว์โลกทั้งหมดชุ่มแฉะไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ เป็นไปตามอำนาจของจิต สัตว์โลกทั้งหมดถูกครอบงำไว้ด้วยกิเลสมาร ยึดครองโลกเอาไว้ เราจะปลอดแอกจากมันได้ ให้จิตใจของเราเป็นอิสระจาก ราคะ โทสะ โมหะ ต้องให้จิตของเราอยู่ในอำนาจ เราจะไม่ย่อมตามเป็นพวกเดียวกับมัน

…ให้ฉลาดในธรรมอันเป็นโคจรแก่สมาธิ สมาธิเราจะเพ่งจดจ่อลงไปให้มันดีได้ ให้มันเข้าถึงเหตุผลที่แท้จริงเป็นโยนิโสมนสิการได้ ต้องมีการคบเพื่อนดี ต้องมีการรู้ประมาณในการบริโภค ต้องมีการอยู่หลีกเร้น ต้องมีการสำรวมอินทรีย์ ต้องมีการอยู่ง่าย กินง่าย สันโดษในบริขารแห่งชีวิต ประกอบอยู่ในธรรมอันเป็นเครื่องตื่น ฟังธรรมอยู่เนืองนิตย์ พวกนี้จะเป็นธรรมะที่เหมาะสมแก่สมาธิ จะทำให้เราทำจิตให้อยู่เหนืออำนาจได้

“ปัญญาไม่ได้ประโยชน์เอาไว้เพื่อการแกงกิน แต่ปัญญาต้องมีประโยชน์ เพื่อการพิจารณา” นี้เป็นคำกล่าวของกุณฑลเกสีเถรี เราพิจารณาไปตรงที่เราทุกข์นั่นแหละ ทุกข์ตรงไหน เจ็บตรงไหน ช้ำตรงไหน ก็ต้องพิจารณาลงไปตรงนั้น ลูกศรแทงอยู่ตรงไหน ก็ต้องดึงมันออกอยู่ตรงนั้น จิตมันไปตรงไหน จะจับจิตให้ได้ ก็ต้องไปจับมันตรงนั้น ..จิตเราจับได้เลยต้องพามาตามมรรคแปด แผลเราใส่ยาแล้วต้องอย่ากินของแสลง ผู้ชายที่เขาสามารถที่จะละฉันทะราคะในหญิงนั้นเสีย เขาจะสบายใจได้

มันนานแล้วที่เราถูกเบียดเบียนด้วยกิเลส ทำให้เราร้อน ทำให้เราหิว ทำให้เรามืด มาเป็นเจ้าเหนือหัวของเรามานานแล้ว เราทำตามอำนาจกิเลสมากี่ปีแล้ว ถึงเวลารึยังที่เราจะปลดแอกตัวเราเองจากเจ้ากิเลสนี้ ให้เราระลึกถึง ตั้งสติให้ได้ เหมือนอย่างชายคนนี้ เห็นหญิงคนนั้นจะไปทำอย่างไร หรือว่าย้อนกลับมาดูตั้งแต่แรกอีก ชายคนนี้เขาก็สบายใจแล้ว นี่แหละท่านเรียกว่า “ความบากบั่น ความพากเพียรย่อมมีผลขึ้นมาได้ ด้วยอาการอย่างนี้” …ก็เมื่อใดที่เราทำจิตให้อยู่ในอำนาจแล้ว นั่นจะดีมากๆ เลยทีเดียว เราจะไม่ตกอยู่ในอำนาจของจิต มรสติรักษาไว้ มีวิมุตติเป็นที่แล่นไปสู่ มีนิพพานเป็นสุดจบได้

พระสูตร / เรื่องที่เกี่ยวข้อง

อ่าน “เทวทหสูตร” พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

อ่าน นี้คืออาการที่ความบากบั่น ความพากเพียร เกิดมีผล อุปริ. ม. ๑๔/๑๓/๑๒-๑๓.

ภิกษุ ท. ! ความบากบั่น ความพากเพียร จะมีผลขึ้นมาได้อย่างไร ?

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม ไม่นำความทุกข์มาทับถมตน ซึ่งไม่มีทุกข์ทับถม ไม่ต้องสละความสุขอันประกอบด้วยธรรมที่มีอยู่ด้วย และก็ไม่มัวเมาอยู่ในความสุขนั้นด้วย

ภิกษุนั้นรู้ชัดอยู่อย่างนี้ว่า “เมื่อเรากำลังตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งเหตุแห่งทุกข์อยู่เป็นอารมณ์ วิราคะก็เกิดมีได้จากการตั้งไว้ซึ่งความปรุงแต่งนั้นเป็นเหตุ ; และเมื่อเราเข้าไปเพ่งอยู่ซึ่งตัวเหตุแห่งทุกข์นั้นทำความเพ่งให้เจริญยิ่งอยู่ วิราคะก็เกิดมีได้” ดังนี้. ภิกษุนั้น เมื่อตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งเหตุแห่งทุกข์ใดเป็นอารมณ์อยู่ วิราคะย่อมมีขึ้นได้เพราะการตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งนั้นเป็นเหตุ ดังนี้แล้ว เธอก็ตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งในเหตุแห่งทุกข์นั้นเป็นอารมณ์ (ยิ่งขึ้นไป) ; และเมื่อเธอเข้าไปเพ่งซึ่งตัวเหตุแห่งทุกข์ใด ทำความเพ่งให้เจริญยิ่งอยู่ วิราคะย่อมมีขึ้นได้ ดังนี้แล้ว เธอก็เจริญความเพ่งในเหตุแห่งทุกข์นั้น (ยิ่งขึ้นไป). เมื่อเธอตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งเหตุแห่งทุกข์นั้นๆ เป็นอารมณ์อยู่วิราคะก็มีขึ้นเพราะการตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่นั้นเป็นเหตุ ; เมื่อเป็นดังนี้ ความทุกข์นั้นของเธอ ก็สูญสิ้นไป ; เมื่อเธอเข้าไปเพ่งอยู่ซึ่งตัวเหตุแห่งทุกข์นั้น ๆ ทำความเพ่งให้เจริญยิ่ง อยู่ วิราคะก็มีขึ้น เมื่อเป็นดังนี้ ความทุกข์นั้นของเธอ

ก็สูญสิ้นไป. (นี้คืออาการที่ความบากบั่น ความพากเพียร เกิดมีผล).

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษมีจิตกำหนัดปฏิพัทธ์ พอใจมุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงคนหนึ่ง, เขาเห็นหญิงนั้นยืนอยู่ พูดอยู่ ระริกซิกซี้อยู่กับบุรุษอื่น. โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส จะพึงเกิดขึ้นแก่เขาใช่ไหม ?

“อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะว่าบุรุษนั้นมีจิตกำหนัดปฏิพัทธ์ พอใจมุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงคนนั้นพระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. ! ต่อมาบุรุษคนนั้นคิดว่า “โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส เกิดขึ้นแก่เรา เพราะเรามีจิตกำหนัดปฏิพัทธ์ พอใจ มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงนั้น ; ถ้ากระไร เราจะละฉันทราคะในหญิงนั้นเสีย” ดังนี้ ; แล้วเขาก็ละเสีย, ต่อมาเขาก็เห็นหญิงคนนั้น ยืนอยู่ พูดอยู่ ระริกซิกซี้อยู่กับบุรุษอื่น. โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส จะเกิดขึ้นแก่เขาอีกหรือไม่หนอ ?

“หามิได้ พระเจ้าข้า !”

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่าบุรุษนั้นไม่มีราคะในหญิงนั้นเสียแล้ว”

ภิกษุ ท. ! ความบากบั่น ความพากเพียร จะมีผลขึ้นมาได้ แม้ด้วยอาการอย่างนี้แล.

อ่าน “ธรรมที่ทำความเป็นผู้มีอำนาจเหนือจิต” สตฺตก. อํ. ๒๓/๓๕/๓๗

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการแล้ว ย่อมทำจิตให้อยู่ในอำนาจ (ของตน) ได้ และภิกษุนั้นก็ ไม่ตกอยู่ในอำนาจของจิต. เจ็ดประการอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เจ็ดประการ ในกรณีนี้คือ :-

๑) ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ;

๒) ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสู่สมาธิ;

๓) ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในการดำรงอยู่ในสมาธิ;

๔) ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ;

๕) ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในความเหมาะสมแห่งสมาธิ;

๖) ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในธรรมเป็นโคจรแห่งสมาธิ;

๗) ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในอภินิหารสมาธิ;

ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบแล้วด้วยธรรมเจ็ดประการเหล่านี้แล ย่อมทำให้จิตอยู่ในอำนาจ (ของตน) ได้ และภิกษุนั้นก็ไม่ตกอยู่ในอำนาจของจิต.

ในอำนาจราคะ โทสะ หรือโมหะ ไปตามอำนาจของจิตแล้ว พาเราไปทุกข์ได้ พาเราไปลงนรก เปตรวิสัย กำเนิดเดรัจฉานก็ได้ พาไปได้หมด เพราะไปตามอำนาจของจิตแล้ว จะทำอย่างไรให้เราทำจิตให้อยู่ในอำนาจ ไม่ให้เราตกไปตามอำนาจของจิต 

พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ใน “ธรรมที่ทำความเป็นผู้มีอำนาจเหนือจิต” 7 ประการ คือต้องเป็นผู้ฉลาดในสมาธิต้องเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสู่สมาธิต้องเป็นผู้ฉลาดในการดำรงอยู่ในสมาธิต้องเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิต้องเป็นผู้ฉลาดในความเหมาะสมแห่งสมาธิต้องเป็นผู้ฉลาดในธรรมเป็นโคจรแห่งสมาธิต้องเป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ 

ให้ฉลาดในธรรมอันเป็นโคจรแก่สมาธิ สมาธิเราจะเพ่งจดจ่อลงไปให้มันดีได้ ให้มันเข้าถึงเหตุผลที่แท้จริงเป็นโยนิโสมนสิการได้ ต้องมีการคบเพื่อนดี ต้องมีการรู้ประมาณในการบริโภค ต้องมีการอยู่หลีกเร้น ต้องมีการสำรวมอินทรีย์ ต้องมีการอยู่ง่าย กินง่าย สันโดษในบริขารแห่งชีวิต ประกอบอยู่ในธรรมอันเป็นเครื่องตื่น ฟังธรรมอยู่เนืองนิตย์ พวกนี้จะเป็นธรรมะที่เหมาะสมแก่สมาธิ จะทำให้เราทำจิตให้อยู่เหนืออำนาจได้


ฟัง “การฝึกควบคุมใจ” ออกอากาศทาง FM92.5 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ฟัง “ปัญญามิได้สร้างมาเพื่อแกงกิน” ออกอากาศทาง FM92.5 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ฟัง “อย่าตกเป็นเครื่องมือมาร” ออกอากาศทาง FM92.5 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ฟัง “ฝึกจิตให้อยู่ในอำนาจของเรา” ออกอากาศทาง FM92.5 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ฟัง “เทวทหสูตร” ออกอากาศทาง FM92.5 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ฟัง “การทำความเพียรที่ไม่มีทุกข์ทับถม” ออกอากาศทาง FM92.5 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ฟัง “ปรุงแต่งเหตุแห่งทุกข์เพื่อคลายทุกข์” ออกอากาศทาง FM92.5 เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2560 ฟัง “ทำจิตให้อยู่ในอำนาจ” ออกอากาศทาง FM92.5 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560 ฟัง “กิเลสทำลายจิต” ออกอากาศทาง FM92.5 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ฟัง “บัญฑิตสามเณรบรรลุพระอรหัต” ออกอากาศทาง FM106 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ฟัง “สนิมในใจ” ออกอากาศทาง FM106 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ฟัง “สากัจฉาธรรม-ผู้มีอำนาจเหนือจิต” ออกอากาศทาง FM106 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ชม “อัตตมนา ผู้มีใจเป็นของตน” เผยแพร่ทาง YouTube Channel เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ฟัง “เครือข่ายครอบคลุมโลก” ออกอากาศเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2557