00:00
1X
Sorry, no results.
Please try another keyword
- 5 นิทานพรรณนาพระนางสีลวดีมเหสีของพระเจ้าโอกกากราชได้ประสูติโอรส ชื่อว่า กุสติณราชกุมาร และชยัมบดีราชกุมาร พระเจ้ากุสราชนั้นทรงมีความสามารถและสติปัญญามาก ครั้นชันษาได้ 16 ปี พระบิดาทรงจะมอบราชสมบัติให้ จึงปรึกษากับพระนางสีลวดีจะจัดหาธิดากษัตริย์ต่างเมืองให้เป็นชายา พระเจ้ากุสราชรู้ว่าตนนั้นรูปร่างไม่งาม คงไม่มีหญิงใดสนใจ จึงปฏิเสธที่จะมีคู่ครอง และให้นางกำนัลไปทูลว่าตนไม่ต้องการราชสมบัติ เมื่อพระบิดามารดาสิ้นพระชนม์ตนก็จะออกบวช พระองค์จึงทำอุบายนำทองคำไปปั้นเป็นรูปหญิงงาม แล้วให้คนนำไปถวายพระมารดาและฝากทูลว่าหากได้หญิงงามเช่นรูปทองก็จะยอมอภิเษกด้วย พระมารดาจึงสั่งให้เหล่าอำมาตย์นำรูปทองนั้นไปยังเมืองต่างๆ เพื่อเสาะหาหญิงงามผู้นั้น จนได้พบกับพระนางประภาวดี หากแต่รักนั้นกลับต้องทนทุกข์ เหตุเพราะบุพกรรมในอดีตชาติของทั้งสอง #กุสชาดก
- 5 นิทานพรรณนาพระนางวาสภขัตติยาทรงประสูติพระราชโอรสพระนามว่า “วิฑูฑภะ” พระกุมารเสด็จไปกบิลพัสดุ์เพื่อเยี่ยมพระญาติ เมื่อเสด็จกลับทาสีคนหนึ่งของเจ้าศากยะ ล้างแผ่นกระดานที่วิฑูฑภะนั่ง นางล้างพลางบ่นว่า แผ่นกระดานนี้ลูกของทาสีนั่ง บังเอิญนายทหารคนหนึ่งลืมอาวุธไว้ จึงกลับไปเอาอาวุธและได้ยินเสียงด่านั้น เมื่อทราบความทั้งปวงแล้ว ข่าวแพร่ออกไปจนเจ้าชายวิฑูฑภะทรงทราบ จึงทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ว่าเมื่อใดได้เป็นกษัตริย์ เมื่อนั้นจะเอาพระโลหิตล้างแผ่นกระดานที่เคยนั่ง เวลาต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบเรื่อง ได้ทรงถอดทั้งมารดาและบุตรออกจากมเหสีและราชกุมารให้เป็นคนสามัญ แล้วเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงปลอบว่าฝ่ายมารดานั้นไม่สำคัญ ที่สำคัญคือฝ่ายบิดา พระองค์ทรงเชื่อพระศาสดาจึงสถาปนาพระนางวาสภขัตติยาและเจ้าชายวิฑูฑภะไว้ในตำแหน่งอย่างเดิม เจ้าชายวิฑูฑภะทรงระลึกถึงการดูหมิ่นของเจ้าศากยะอยู่เสมอ ต่อมาได้สมคบกับทีฆการายนะมหาอมาตย์ผู้ซึ่งเป็นหลานพันธุลเสนาบดี ทำการแย่งราชสมบัติจากพระบิดา เมื่อวิฑูฑภะได้อำนาจแล้วทรงยกทัพไปทำลายเจ้าศากยะเสียเกือบหมดสิ้น เจ้าศากยะถึงความพินาศเพราะมานะ และเพราะสกุล โดยแท้ #พระเจ้าวิฑูฑภะ
- 5 นิทานพรรณนาพระเจ้าปเสนทิโกศลจอมราชา มีพระประสงค์จะเป็นพระญาติสนิทของพระพุทธเจ้า จึงได้ส่งราชทูตไปสู่ขอเจ้าหญิงศากยะเพื่อมาเป็นพระมเหสี แต่เหล่าศากยะทรงดำริว่าพระราชาเป็นฝักฝ่ายอื่น โดยสกุลแล้วพระองค์ไม่เสมอด้วยเจ้าแห่งศากยะ จึงได้ส่งธิดาของท้าวมหานาม ซึ่งประสูติจากทาสีผู้หนึ่ง ธิดานั้นชื่อ วาสภขัตติยา แม้พระนางวาสภขัตติยาจะมีพระบิดาเป็นกษัตริย์ แต่มารดาเป็นหญิงทาส พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ทรงทราบ จึงทรงดูแลพระนางด้วยความรักอย่างที่สุด สมฐานะเป็นมเหสีองค์หนึ่งของพระองค์ เหตุเพราะความเข้าใจผิดของพระเจ้าปเสนทิโกศลในการสร้างความคุ้นเคยกับหมู่ภิกษุสงฆ์ #พระเจ้าวิฑูฑภะ #เกสวชาดก
- 5 นิทานพรรณนาในกรุงพาราณสี มีชายชาวนาถากถางที่ดินเพื่อเป็นที่นาของตน ซึ่งในอดีตที่ดินแห่งนี้ เคยเป็นที่ตั้งของบ้านเศรษฐีมาก่อน ชาวนาหนุ่มได้ออกไปไถนาตามปกติของทุกวัน ขณะที่กำลังไถนาอยู่นั้นก็ไปสะดุดติดอยู่กับของแข็งท่อนหนึ่ง เขาคิดว่าเป็นรากไม้จึงเอามือขุดคุ้ยก้อนดินดู แต่กลับเป็นแท่งทองคำขนาดใหญ่ฝังอยู่ในดิน ซึ่งทองคำแท่งนี้ เศรษฐีเจ้าของบ้านคนเดิมได้ฝังซ่อนไว้ ชาวนาผู้มีปัญญาจึงคิดที่จะแบ่งแท่งทองนี้ออกเป็นสี่ส่วน ส่วนที่หนึ่ง ขายนำทรัพย์มาเลี้ยงชีพ ส่วนที่สอง เก็บไว้ยามขัดสน ส่วนที่สาม เป็นทุนค้าขาย ส่วนที่สี่ ทำบุญให้ทาน เพราะเหตุนี้แท่งทองของหนักจึงเป็นเหมือนของเบา #กัญจนขันธชาดก #วลาหกัสสชาดก #ครหิตชาดก #สัตติคุมพชาดก
- 5 นิทานพรรณนาเศรษฐีเมืองราชคฤห์ กลึงบาตรด้วยแก่นไม้จันทน์ซึ่งเป็นของที่มีค่า แล้วใส่ตระกร้าแขวนที่ปลายไม้ และป่าวประกาศว่าสมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดเป็นพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ จงปลดบาตรลงมาจะยกบาตรไม้พร้อมด้วยของมีค่าถวายให้ เหล่าพราหมณ์และเจ้าสำนักต่างก็อยากได้ จึงมาขอกับท่านเศรษฐี แต่ไม่มีผู้ใดเหาะขึ้นไปเอาบาตรลงมาได้ ขณะนั้นพระโมคคัลลานะและพระปิณโฑลภารทวาชะ อรหันต์ผู้มีฤทธิ์กำลังบิณฑบาตอยู่ ท่านภารทวาชะจึงเหาะขึ้นสู่อากาศเพื่อไปปลดบาตรแล้วถือบาตรเวียนรอบเมืองราชคฤห์ เป็นเหตุให้พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงติเตียนในการกระทำอันไม่ใช่กิจของสมณะเพียงเพราะบาตรไม้ที่มีค่าดุจซากศพ #ยมกปาฏิหาริย์
- 5 นิทานพรรณนาพระโพธิสัตว์ได้มาเกิดเป็นพระโอรสของพระราชาผู้ปกครองกรุงพาราณสี กุมารน้อยทรงมีนามว่าพระเตมีย์ เมื่อพระองค์เจริญวัยขึ้นเห็นพระบิดาสั่งลงโทษโจรอย่างทารุณ จึงทรงรำลึกชาติได้ว่าครั้งหนึ่งพระองค์ทรงเคยเป็นกษัตริย์ครองราชย์ ครั้นเมื่อตายแล้วต้องไปหมกไหม้อยู่ในนรก จึงรู้สึกหวาดกลัวที่จะต้องเป็นกษัตริย์ต่อจากพระบิดา และต้องสั่งลงโทษผู้คนจนตนต้องตกนรกอีก จึงได้ทรงทำการลวงแกล้งเป็นคนง่อยเปลี้ย หูหนวก และเป็นใบ้ ทำให้ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนกาลกิณี เมื่อมีอายุได้ 16 ปี นายสุนันทสารถีนำขึ้นรถเพื่อไปฝังในป่า พระองค์จึงแสดงตนแก่นายสุนันทว่าไม่ได้เป็นคนง่อยเปลี้ย และได้บวชรักษาศีลอยู่ในป่า พระราชบิดา พระราชมารดาและราษฎรทราบข่าวต่างติดตามมา เมื่อได้ฟังธรรมแล้วก็เกิดจิตเลื่อมใสจึงขอออกบวชตามพระองค์ #เตมิยชาดก
- 5 นิทานพรรณนาพระโพธิสัตว์เกิดเป็นเศรษฐีผู้มีสมบัติมาก อาศัยอยู่ในเมืองพาราณสี เขามีโคอยู่ฝูงหนึ่ง ถึงฤดูทำนาได้มอบให้คนเลี้ยงโค ต้อนฝูงโคไปตั้งคอกอยู่ในป่า และให้นำน้ำนมโคมามอบให้ตนตามเวลา ไม่ไกลจากคอกโคนั้น มีราชสีห์อาศัยอยู่ ด้วยความกลัวราชสีห์ ฝูงโคจึงซูบผอมและน้ำนมก็ไม่เข้มข้นเหมือนเดิม เพราะเจ้าราชสีห์มันติดพันแม่โคตัวหนึ่งที่อาศัยอยู่ในฝูง ท่านเศรษฐีจึงให้จับแม่โคทายาพิษที่ขนของมันแล้วค่อยปล่อยไป เจ้าราชสีห์เห็นแม่โค ด้วยความคิดถึงก็เลียตามตัวแม่โคและได้ถึงความสิ้นชีวิตจากยาพิษในที่สุด เหตุเพราะความสิเนหาที่เกิดขึ้นในจิตใจของตน #วิสสาสโภชนชาดก #สันถวชาดก #นังคุฏฐชาดก #คุมพิยชาดก #อสาตรูปชาดก
- 5 นิทานพรรณนาพระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลเศรษฐี และเมื่อเจริญวัยมีครอบครัวพร้อมด้วยบุตรธิดา จึงได้สู่ขอธิดาของเศรษฐีกรุงพาราณสีให้แก่บุตรชายของตน เมื่อถึงวันที่กำหนดแล้ว ธิดาเศรษฐีได้เห็นเครื่องสักการะของโค นางจึงถามพี่เลี้ยงว่าด้วยเหตุใดจึงประดับโคตัวนี้ถึงเพียงนี้ พี่เลี้ยงจึงได้บอกไปว่าเขาเรียกโคอุสภราช นั้นคือ โคที่เป็นใหญ่กว่าโคทั้งหลาย นางจึงคิดว่าโคที่ได้รับยกย่องว่าเป็นใหญ่ จะมีโหนกที่หลัง ถ้าเช่นนั้นชายผู้เป็นใหญ่ ก็คงจะมีโหนกขึ้นกลางหลังเช่นกัน วันหนึ่งเมื่อเห็นชายหลังค่อมจึงเข้าใจว่าชายคนนี้เป็นบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ จึงใช้พี่เลี้ยงไปบอกเขาให้ไปรออยู่ปากทาง และลูกสาวเศรษฐีได้หนีตามชายค่อมนั้นไป เหตุเพราะด้วยรักคนผิด #กามนีตชาดก #กามชาดก #วีณาถูณชาดก #สาธุสีลชาดก
- 5 นิทานพรรณนา“นกกาตัวนึง มันบินถลามาเกาะที่ไหล่ของบุรุษผู้ถูกขึงตรึงพืดเสียบหลาวอยู่ ณ กลางลาน บุรุษนั้นเสวยทุกข์เวทนาแสนสาหัส เหล่านกกาพากันไปเกาะที่ศีรษะบ้าง ไหล่บ้าง เพื่อรุมยื้อแย่งจิกนัยน์ตาของเขาด้วยจะงอยปากอันคมเหมือนปลายคีม ยังความตายมาสู่บุรุษนั้น” การประกอบตนให้ พัวพัน หมกมุ่น ลุ่มหลงในสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ แม้ทุกข์ทางกายทางใจอันถูกหอกและดาบทิ่มแทงเป็นปัจจัยนี้ก็ดี ทุกข์ที่ถูกคบเพลิงเผาอยู่เนือง ๆ ก็ดี แม้ทั้งหมดนี้ก็หาใช่ความทุกข์ไม่ ความมืดบอดย่อมบังเกิดขึ้นเหตุเพราะกลลวงแห่งกาม บุคคลผู้มีจักษุดี ย่อมเห็นเช่นนี้ว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน เป็นของหลอกลวง เหมือนของที่ยืมเขามา เปรียบด้วยหอกและหลาว เป็นความทุกข์ยาก เป็นความลำบาก เป็นรากเหง้าแห่งความทุกข์ เป็นภัยทั้งปวง #อาสังกชาดก #บุปผรัตตชาดก #กามวิลาปชาดก #จุลลนารทกัสสปชาดก #อุทัญจนีชาดก
- 5 นิทานพรรณนาพราหมณ์ปุโรหิตประจำราชสำนักผู้ช่างเจรจา หากเมื่อใดที่เขาได้พูดแล้ว ผู้อื่นจะไม่มีโอกาสได้พูดเลย การกระทำนี้สร้างความรำคาญใจให้แก่ผู้คนเป็นอย่างมากรวมทั้งพระราชา พระองค์จึงหาวิธีเพื่อไม่ให้ปุโรหิตนั้นได้อ้าปากพูดมากนัก เมื่อพระองค์เสด็จอุทยานได้ทอดพระเนตรเห็นเด็ก ๆ กำลังยืนมุงดูชายง่อยผู้หนึ่งแสดงการดีดก้อนกรวดซัดใส่ใบไม้ พระองค์จึงรับสั่งให้นำชายง่อยผู้นั้นเข้าวังด้วย เมื่อใดที่ปุโรหิตอ้าปากพูด บุรุษง่อยก็ดีดขี้แพะเข้าปากเขาในทันที #โภชาชานียชาดก #อาชัญญชาดก #สาลิตตกชาดก
- 5 นิทานพรรณนาพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดในท้องนางพราหมณีของปุโรหิต และคลอดในวันเดียวกันกับพระโอรส พระราชาจึงทรงสั่งเอาบุตรของปุโรหิตนั้นมอบให้แม่นม เพื่อเลี้ยงร่วมกันกับพระราชโอรส เมื่อทั้งสองเจริญวัยขึ้นต่างคุ้นเคยกันและกัน ในกาลต่อมา เมื่อพระบิดาสวรรคต พระราชโอรสได้ดำรงอยู่ในราชสมบัติ พระโพธิสัตว์คิดว่า เมื่อสหายได้ครองราชย์คงจักพระราชทานตำแหน่งปุโรหิตแก่เรา จักมีประโยชน์อะไรด้วยการครองเรือน จึงออกบวชและหลีกเร้นไป พระราชาหวนระลึกถึงพระโพธิสัตว์จึงเดินทางไปยังสถานที่อยู่ของพระโพธิสัตว์และมีประสงค์จะพระราชทานตำแหน่งปุโรหิตให้ และทรงหวังให้โพธิสัตว์กลับมา หากแต่บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่กลับถือเอากิเลสทั้งหลาย ซึ่งละแล้ว เพราะสิ่งที่ละทิ้งไปแล้วเป็นเช่นกับก้อนเขฬะที่ถ่มไปแล้ว หาใช่สิ่งประเสริฐ #สัยหชาดก #โลมหังสชาดก #มหาสุทัสสนชาดก
- 5 นิทานพรรณนาโชติปาลกุมารนายขมังธนูผู้เชี่ยวชาญในศิลปะสามารถยิงธนูได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ ว่องไว แม้แผ่นไม้สะแกที่หนา หรือแผ่นทองแดงและเหล็กกล้าที่มีความหนามาก นายขมังธนูผู้นี้ก็สามารถยิงลูกศรให้ทะลุได้อย่างง่ายดาย ในกาลต่อมานายขมังธนูผู้นี้ได้ออกบวชโดยมีชื่อว่าสรภังคดาบส และมีศิษย์ชื่อสาลิสสระดาบส ผู้ชาญฉลาดรู้คุณอันวิเศษแห่งอาจารย์ #สรภังคชาดก
- 5 นิทานพรรณนาพระโพธิสัตว์เกิดเป็นอำมาตย์ของพระเจ้าพรหมทัต ต่อมามีกบฎเกิดขึ้นที่ชายแดน พระราชาทรงยกทัพไปปราบปราม พระโพธิสัตว์ได้เข้าเฝ้าเพื่อคัดค้านแต่ยังหาโอกาสไม่ได้ ขณะนั้นเหล่าทหารได้นำถั่วดำมาใส่ไว้ในรางเพื่อเป็นอาหารให้แก่ม้าศึก มีลิงตัวหนึ่งลงมาจากต้นไม้ฉวยเอาถั่วดำจากรางนั้นใส่จนเต็มปาก แล้วยังคว้าติดมือมาอีกกำหนึ่งกระโดดขึ้นต้นไม้หวังจะนั่งกินอย่างสบายใจ แต่บังเอิญมีถั่วดำเม็ดหนึ่งหลุดจากมือล่วงลงบนพื้นดิน มันได้ทิ้งถั่วดำทั้งหมดที่อยู่ในปากและมือ ลงจากต้นไม้มาหาถั่วดำเม็ดนั้น เมื่อไม่เห็นก็กระโดดขึ้นต้นไม้นั่งซึมเศร้าเสียใจ พระราชาทอดพระเนตรเห็นลิงจึงตรัสถามพระโพธิสัตว์ ท่านจึงตอบว่าเจ้าลิงโง่ตัวนี้หากินตามกิ่งไม้ ปัญญาของมันไม่มี สาดถั่วดำทั้งหมดทิ้งเพื่อถั่วดำเม็ดเดียว เปรียบผู้โง่เขลาไร้ปัญญาไม่มองเห็นประโยชน์ส่วนมาก มองเห็นแต่ประโยชน์ส่วนน้อยจึงเป็นเช่นนี้ เหตุเกิดจากความโลภ จึงเสื่อมจากประโยชน์แห่งตน #กฬายมุฏฐิชาดก #กุกกุฏชาดก #สังคามาวจรชาดก
- 5 นิทานพรรณนาหญิงสาวผู้หนึ่ง อาศัยอยู่ในหมู่บ้านชาวประมงได้เกิดตั้งครรภ์ขึ้น นับตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านทั้งหมู่บ้านเกิดความอดอยากขัดสน จึงขับไล่นางและครอบครัวออกจากหมู่บ้าน เมื่อนางคลอดบุตรและเลี้ยงจนเดินได้ก็ทิ้งเด็กชายไว้หากินเพียงลำพัง เด็กชายร่อนเร่เที่ยวเก็บเศษอาหารกินเพื่อประทังชีวิต ต่อมาได้อุปสมบทฉายาว่า “โลสกติสสะ” เพราะเศษแห่งผลของกรรมที่เคยกระทำไว้ในอดีต ส่งผลให้ไม่เคยได้กินอาหารจนอิ่มเต็มท้องเลยตลอดชีวิต #โลสกชาดก #ชัมพุกาชีวก
- 5 นิทานพรรณนาพระโพธิสัตว์กำเนิดในตระกูลช่างหม้อ ในหมู่บ้านใกล้นครพาราณสี เมื่อเจริญวัยแล้วได้แต่งงานเลี้ยงบุตรและภรรยาโดยอาศัยการทำหม้อขาย อยู่มาวันหนึ่งพระโพธิสัตว์ได้เห็นพระปัจเจกทั้ง 4 เกิดความดีใจ จึงนิมนต์ท่านและทูลถามว่า พระองค์ทรงเห็นอารมณ์อะไรหนอ จึงทรงเข้าถึงการบรรพชา ท่านทั้ง 4 ได้ตรัสบอกเรื่องการออกบวชแก่พระโพธิสัตว์ เมื่อได้ฟังพระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวแล้ว เห็นว่าแต่ละพระองค์ทรงเป็นผู้ไม่มีเยื่อใยในฆราวาส ท่านได้เรียกภรรยามาและกล่าวว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า 4 องค์นี้สละราชสมบัติออกผนวช ไม่มีกังวล ไม่มีห่วงใย ให้กาลเวลาล่วงไปด้วยความสุขเกิดจากการบรรพชา ส่วนเราเลี้ยงชีพด้วยค่าจ้าง เราจะประโยชน์อะไรด้วยการครองเรือน เธอจงสงเคราะห์ คือเลี้ยงดูลูกอยู่ในบ้านเกิด หากแต่ผู้เป็นภรรยามีใจออกห่างจากเพศฆราวาส จึงประสงค์จะลวงพระโพธิสัตว์แล้วบวชก่อน เหตุเพราะจะหาประโยชน์อะไรด้วยการครองเรือน จงให้กาลเวลาล่วงไปด้วยความสุขที่เกิดจากการบรรพชา เมื่อคิดเช่นนั้นนางจึงหลีกจากการครองเรือนเป็นผู้ไม่มีเยื่อใยในฆราวาส #กุมภการชาดก #มัจฉชาดก
- 5 นิทานพรรณนาในเขตเขาจิตตกูฏ เต็มไปด้วยต้นไม้เขียวขจี มีสัตว์หลากหลายอาศัยอยู่รวมถึงพญาหงส์สีทอง ในทุกๆวันพญาหงส์ทองมักเที่ยวออกหาอาหาร และได้พบกับรุกขเทวดาที่อาศัยต้นทองหลางเป็นวิมานสถิต รุกขเทวดาได้เล่าให้พญาหงส์ทองฟังว่า เมื่อสามเดือนที่แล้วมีแม่นกที่อยู่ไม่ไกลจากแถวนี้กินลูกไทรแก่จากป่าฟากโน้น ก่อนจะบินมาถ่ายมูลที่นี่และแล้วมูลที่นางถ่ายก็กลายเป็นต้นไทรเล็กต้นนี้ พญาหงส์นิ่งไปชั่วครู่ก่อนที่จะเอ่ยกับรุกเทวดาให้ถอนต้นกล้านี้ออกเถิดเพราะเมื่อต้นไทรโตชึ้น รากของต้นไม้นี้มักจะแผ่ขยายออกจนกลืนรากของต้นไม้อื่นๆ แต่รุกขเทวดามิได้ใส่ใจในคำเตือน ด้วยเห็นว่าต้นไทรต้นน้อยนี้ไม่อาจจะทำลายวิมานของตนได้ แต่ในที่สุดความพินาศก็มาถึง เหตุเพราะแม้เป็นสิ่งเล็กน้อยแต่เมื่อสะสมจนมากก็สามารถก่อภัยแก่ตนได้ #ปลาสชาดก #โกฏสิมพลิชาดก #ปุจิมันทชาดก
- 5 นิทานพรรณนาชายผู้หนึ่งร่วมเดินทางไปกับคณะพ่อค้า กลุ่มเกวียนบรรทุกสินค้าเริ่มเคลื่อนออกจากเมืองมุ่งสู่อีกเมืองเพื่อค้าขาย เมื่อตะวันลับขอบฟ้า กลุ่มพ่อค้าต่างพากันหยุดพัก ส่วนชายหนุ่มผู้ร่วมเดินทางมาด้วยนั้นหยิบท่อนไม้มาจุดไฟ และเดินจงกรมไปรอบๆ เกวียน ในขณะนั้น มีโจรแอบซุ่มอยู่หลังพุ่มไม้เพื่อปล้นคณะพ่อค้า เหล่าโจรป่ายังคงเฝ้ารอคอยรอบแล้วรอบเล่า แต่ชายหนุ่มผู้นั้นไม่มีทีท่าว่าจะหยุดพักหรือเดินไปทางอื่นแม้แต่น้อย จนเวลาล่วงผ่านไปใกล้เช้าหัวหน้าโจรจึงตัดสินใจยุติการปล้น เหตุเพราะเห็นว่าบุรุษผู้นี้ คือ ผู้ที่ดำรงตนในความไม่ประมาท #ชาครชาดก #นันทชาดก #ภัททสาลชาดก
- 5 นิทานพรรณนาพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์อยู่ในเมืองตักกสิลา ขัตติยมาณพและพราหมณ์มาณพในพื้นชมพูทวีปต่างพากันมาเรียนศิลปะในสำนักของพระโพธิสัตว์ รวมทั้งโอรสของพระเจ้าพาราณสี นามว่าพรหมทัตกุมาร ซึ่งปกติเป็นผู้กักขฬะ หยาบช้า ทารุณ ในกาลต่อมาพรหมทัตกุมารได้เสวยราชสมบัติ มีปุโรหิตชื่อว่าปิงคิยะ เป็นคนกระด้างหยาบช้า เพราะความโลภในยศ เขายุให้พระราชาจับราชาทุกองค์ในชมพูทวีป เพื่อที่พระราชานี้จักเป็นพระราชาแต่เพียงพระองค์เดียว แม้ตัวเขาก็จะได้เป็นปุโรหิตแต่ผู้เดียว พระราชาเชื่อในถ้อยคำจึงได้ทำร้ายทำลายพระราชาทั่วชมพูทวีป แต่พระองค์กลับได้รับทุกขเวทนาอันยิ่ง เหตุเพราะการกระทำของพระองค์เอง #เวนสาขชาดก
- 5 นิทานพรรณนาในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นเศรษฐีนามว่าวิสัยหะ เป็นผู้มีทรัพย์มากและถึงพร้อมด้วยศีล พระโพธิสัตว์ให้สร้างโรงทานไว้ท่ามกลางพระนครและที่ประตูนิเวศน์ของตน เพื่อบริจาคทรัพย์ทำทานเป็นประจำทุกวัน ด้วยทานบารมีนี้ส่งผลให้ภพของของท้าวสักกะหวั่นไหวด้วยอานุภาพของการให้ทาน ท่านจึงได้ทำลายทรัพย์ของเศรษฐีผู้นั้น หากแต่เศรษฐีมิได้หวั่นไหวแม้มีทรัพย์เหลือน้อยแต่ยังเป็นผู้ยินดีในการให้ทาน เหตุเพราะปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณ #วิสัยหชาดก #พิลารโกสิยชาดก
- 5 นิทานพรรณนาพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี โดยมีพระโพธิสัตว์เป็นอำมาตย์ พระราชานั้นปกติมีความละโมบในทรัพย์ ทรงมีม้าโกงชื่อมหาโสณะ เมื่อพวกพ่อค้าม้านำม้ามาค้าขาย พระราชาจึงตรัสเรียกอำมาตย์คนอื่นมาแล้วให้ตีราคาม้า และเมื่อจะตีราคาจงปล่อยม้ามหาโสณะเข้าไปในระหว่างม้าเหล่านั้นก่อน แล้วให้กัดม้าทำให้เป็นแผล ในเมื่อม้าพิการจงต่อราคาให้ลดลง พ่อค้าม้าทั้งหลายจึงเล่าถึงกิริยาที่อำมาตย์คนนั้นทำ ให้พระโพธิสัตว์ทราบ ในกาลต่อมาพวกพ่อค้าม้าเห็นม้ามหาโสณะมา ก็ปล่อยม้าโกงสุหนุไป เมื่อม้าทั้งสองประจัญหน้ากันต่างก็เลียร่างกายกันด้วยความชื่นชม เหตุเพราะม้าเหล่านี้มีปกติเสมอกัน มีธาตุสมกัน #สุหนุชาดก #กิงฉันทชาดก
- 5 นิทานพรรณนาณ กรุงพาราณสี ชาวเมืองมักจะแขวนกระเช้าหญ้าไว้ตามที่ต่างๆเพื่อเป็นที่อาศัยของนกทั้งหลาย มีนกพิราบตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในกระเช้าหญ้าที่อยู่ในโรงครัว อยู่มาวันหนึ่งเจ้ากาบินผ่านโรงครัวได้กลิ่นหอมอบอวลของอาหารคาวหวาน จึงนึกอยากลิ้มลองรสชาติของอาหารนั้น มันจึงหาอุบายเพื่อมาอยู่ใกล้ชิดกับนกพิราบ ในโรงครัวพ่อครัวกำลังนำปลาและเนื้อมาวางไว้บนกระชอนส่งกลิ่นหอมอบอวลไปทั่ว เจ้ากาได้กลิ่นจึงคิดวางแผนเพื่อจะกินเนื้อนั้น จึงแกล้งทำเป็นปวดท้องบินไม่ไหว ในที่สุดเจ้ากาผู้โลเลกลับได้รับทุกข์ใหญ่หลวงเหตุจากความโลภของมัน #กโปตกชาดก #จักกวากชาดก #สุวรรณมิคชาดก
- 5 นิทานพรรณนาณ กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ออกบวชเป็นฤาษีได้มาบิณฑบาตที่บ้านของนายหัตถาจารย์คนเลี้ยงช้าง นายคนเลี้ยงช้างเห็นฤาษีมีความสงบสำรวมก็เกิดศรัทธาจึงอุปัฏฐากตลอดมา ในชายป่ามีชายผู้หนึ่งเข้าไปหาฟืนเเต่กลับเข้าเมืองไม่ทันจึงต้องไปอาศัยนอนที่ศาลา บนกิ่งไม้ที่ศาลามีไก่มาเกาะคอนนอนอยู่ เขานอนฟังมันคุยกันได้ความว่า ไก่ตัวบนปล่อยอึรดไก่ตัวล่าง ไก่ตัวล่างเลยอวดบารมีว่าใครเอาเนื้อฉันไปกินจะได้ทรัพย์ทุกวัน เจ้าไก่ตัวบนอวดตัวว่า ใครได้กินเนื้อของฉันคนนั้นจะได้เป็นพระราชา ส่วนใครที่กินเนื้อติดกระดูก ถ้าเป็นผู้ชายจะได้เป็นขุนคลัง ถ้าเป็นนักบวชจะได้เป็นพระประจำตระกูลของพระราชา ชายตัดฝืนได้ยินดังนั้นจึงปีนขึ้นไปจับไก่ตัวบน เมื่อถึงบ้านให้ภรรยาปรุงเนื้อไก่เตรียมจะรับประทาน ด้วยเหตุใดกันสองสามีภรรยาผู้ปรุงอาหารกลับไม่ได้กินเนื้อไก่ ส่วนนายคนเลี้ยงช้าง และฤาษีนั้นไม่ได้แป็นคนปรุงแต่กลับได้กินเนื้อนั้น เหตุเกิดจากโภคะนั้นเกิดแก่ผู้มีบุญ #สิริชาดก #ขทิรังคารชาดก
- 5 นิทานพรรณนาพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เป็นครูผู้สอนมนต์มาณพทั้งหลาย โดยมีหัวหน้ามาณพชื่อว่า เสตเกตุ เป็นมาณพเกิดในสกุลพราหมณ์ เป็นผู้มีมานะมาก อยู่มาวันหนึ่งเขาออกจากพระนครไปพร้อมกับมาณพอื่นๆ ได้เห็นจัณฑาลคนหนึ่งกำลังเข้าพระนคร เขารีบบอกจัณฑาลผู้นั้นให้ไปใต้ลม เพราะกลัวลมที่พัดผ่านตัวของเขาจะมากระทบร่างของตน จัณฑาลผู้นั้นจึงถามปัญหาว่าธรรมดาทิศมีเท่าไร แต่มาณพผู้เกิดในสกุลพราหมณ์กลับตอบไม่ได้ เหตุเพราะลูกคนจัณฑาลเป็นบัณฑิต ไม่ได้ถามถึงทิศต่างๆ แต่ถามถึงทิศที่มาณพยังไม่เห็น ไม่ได้ยินและยังไม่รู้ #เสตเกตุชาดก #อุททาลกชาดก
- 5 นิทานพรรณนานำนิทานธรรมบทมาเล่าให้ฟังทั้งหมด 5 เรื่องด้วยกัน โดยในแต่ละเรื่องนั้นจะมีเนื้อหาความหมายที่แตกต่างกันไป มีทั้งเรื่องที่เราจะไม่สามารถค้นเจอในพระไตรปิฎกในจุดอื่นได้เลยนอกจากในเรื่องนี้ที่จะได้เห็นพระพุทธเจ้าทรงจัดแจงเรื่องอาหารการกินเพื่อให้กายระงับจากทุกขเวทนาเพราะความหิวจนพร้อมที่จะฟังธรรมในบทอนุปุพิกถาได้ต่อไป หรือเรื่องที่ทุกคนในครอบครัวได้มีโอกาสบรรพชาบวชห่างออกจากบ้านแล้ว แต่กลับไม่อาศัยโอกาสนี้ในการหลีกเร้นเพื่อพัฒนาตน ยังคงคลุกคลีกันเหมือนกับอยู่ที่บ้าน ความดีก็จะเสื่อมลงไปได้ ยังมีเรื่องที่ท่านพระโมคคัลลานะไปเทวโลก ถามกับเหล่าเทวดาถึงเหตุที่ได้มาเกิดอยู่บนสวรรค์ทั้งที่ระลึกถึงกุศลกรรมเพียงเล็กน้อยต่าง ๆ กันรวมไปถึงการกล่าวคำสัตย์ การละความโกรธ ทำทานเพียงเล็กน้อย เป็นต้น
- 5 นิทานพรรณนาพระโพธิสัตว์ได้ถือกำเนิดในตระกูลพ่อค้าในกรุงพาราณสี เมื่อถึงวัยทำงานได้นำสินค้าบรรทุกเกวียนไปขายยังต่างถิ่นเป็นประจำ มีบุตรพ่อค้าเกวียนอีกคนหนึ่ง ซึ่งเป็นคนหูเบาเขาจึงมักตัดสินใจผิดพลาดเป็นประจำ วันหนึ่งพ่อค้าเกวียนผู้หูเบาคิดว่าตนควรจะออกเดินทางไปก่อนพระโพธิสัตว์ ในขณะเดินทางได้พบกับยักษ์กลุ่มหนึ่งที่ได้จำแลงแปลงกายเป็นคนและเดินทางสวนมา ต่างพากันเคี้ยวกินเหง้าบัวอย่างเอร็ดอร่อย ทำทีว่าหนทางที่พวกตนผ่านมานั้นมีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ พ่อค้าผู้หูเบาไม่คิดหน้าคิดหลังให้รอบคอบ จึงสั่งบริวารให้เทน้ำในตุ่มทิ้งเสียหวังจะได้พบน้ำบ่อหน้าแต่เดินทางไปตลอดวันหาน้ำสักหยดก็ไม่มี จึงรู้ว่าถูกหลอกจากพวกยักษ์เสียแล้ว เพียงเพราะความเขลาของตน #อปัณณกชาดก
- 5 นิทานพรรณนาพระเจ้ามหากัปปินะกษัตริย์แห่งพระนครกุกกุฏวดี ทรงมีรับสั่งให้เหล่าอำมาตย์เที่ยวสืบข่าวเกี่ยวกับการบังเกิดขึ้นของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่มาวันหนึ่งพระองค์ และเหล่าบริวารได้พบพ่อค้าซึ่งเดินทางมาจากนครสาวัตถี ทรงตรัสถามจึงทราบความว่า พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า ได้บังเกิดขึ้นแล้วในโลก พระองค์ทรงบังเกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้า จึงรีบเดินทางเข้าพบพระพุทธองค์ เมื่อได้สดับพระธรรมเทศนาแล้ว ท่านพระมหากัปปินะมักเที่ยวเปล่งอุทานว่า “สุขหนอ สุขหนอ” อยู่เสมอๆ เหล่าภิกษุต่างสำคัญว่าท่านเปล่งวาจาเช่นนั้น เหตุเพราะยังระลึกถึงความสุขในราชสมบัติของพระราชา #พระภัททิยะ #พระมหากัปปินะ
- 5 นิทานพรรณนามีพราหมณ์ผู้หนึ่งได้สมาทานศีลเพื่อปรารถนาบุตร ไม่นานนักนางพราหมณีภรรยาของเขาได้ตั้งครรภ์ จึงตั้งชื่อบุตรว่า กัณหกุมาร เมื่อมารดาบิดาล่วงลับไปแล้ว เขาเป็นผู้ครองทรัพย์สมบัติทั้งหมด กัณหกุมารได้ตรวจเรือนคลังเมื่อเขาเห็นอักษรที่จารึกไว้ จึงคิดขึ้นว่าผู้ที่ทำทรัพย์นี้ให้เกิดขึ้นตายไปหมดแล้ว ปรากฏอยู่แต่ทรัพย์อย่างเดียว ผู้ที่จะถือเอาทรัพย์นี้ไปด้วยแม้คนเดียวก็ไม่มี ไม่มีใครขนเอาทรัพย์ติดตัวไปปรโลกได้ คิดได้ดังนี้ เขาจึงได้ออกบวชเป็นฤๅษี ได้เห็นโทษจากความโกรธ โลภ โทสะ และสิเนหา เหตุจาก มีชายคนซื่อนำกระต่ายจากป่ามาวางไว้ที่ฝั่งแม่น้ำแล้วลงอาบน้ำ คนโกงผู้หนึ่งจึงจับเอากระต่ายตัวนั้นวางไว้บนศีรษะของเขาแล้วลงอาบน้ำ ชายคนซื่อขึ้นมาจากน้ำแล้วไม่เห็นกระต่าย คนโกงจึงรีบบอกว่า กระต่ายที่วางไว้ที่ฝั่งหนีไปแล้ว ตัวเขาเองยังต้องเอากระต่ายวางไว้บนศีรษะอาบน้ำด้วยเลย ชายคนซื่อเข้าใจว่าเป็นอย่างนั้น จึงหลีกไป #กัณหชาดก #อกิตติชาดก #มหามังคลชาดก
- 5 นิทานพรรณนามารผู้มีใจบาป เมื่อได้ล่วงรู้พระวิตกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เจ้ามารจึงคิดว่าหากพระองค์ทรงดำริว่า “เราอาจเพื่อครอบครองราชสมบัติหรือหนอ ” และหากพระองค์นั้นเสด็จกลับไปเพื่อครอบครองราชสมบัติ ก็ย่อมได้ชื่อว่าราชสมบัติเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เมื่อนั้นโอกาสย่อมเกิดแก่เราผู้เป็นมาร “บุคคลผู้เกิดมา ได้เห็นทุกข์ว่า มีกามใดเป็นเหตุ ไฉนผู้ที่เกิดมาคนนั้น จะพึงน้อมไปในกามนั้นได้เล่า” #ธรรมบทแปลเรื่องมารภาคที่7 #ธรรมบทแปลเรื่องมารภาคที่8 #ธรรมบทแปลเรื่องพระเจ้าสุทโธทนะ #ธรรมบทแปลเรื่องท้าวสักกะ
- 5 นิทานพรรณนาพระโพธิสัตว์เกิดเป็นนกหัวขวานชื่อว่า ขทิรวนิยะ เที่ยวหากินอาหารอยู่ในป่าไม้ตะเคียน มีเพื่อนชื่อ กันทคลกะ ผู้เที่ยวหากินอยู่ในป่าไม้ทองหลาง ในวันหนึ่งนกกันทคลกะมาหานกขทิรวนิยะที่ป่าไม้ตะเคียน เจ้านกขทิรวนิยะดีใจที่เพื่อนมาเยี่ยมจึงพาเพื่อนไปที่ต้นตะเคียนต้นหนึ่ง ใช้จะงอยปากเคาะต้นตะเคียนคาบตัวหนอนให้พื่อนกินอย่างอร่อย นกกันทคลกะเห็นเพื่อนส่งอาหารมาให้กิน ก็คิดอยากจะลองหากินแบบเพื่อนดูบ้าง เพื่อนจึงได้พูดห้ามเพราะนกกันทคลกะไม่เคยหากินในป่าไม้ตะเคียนที่มีแก่น แต่เจ้านกกลับไม่ฟังเสียงห้ามนั้น แล้วก็ผลุนผันไปเอาจะงอยปากเคาะต้นตะเคียนสุดแรงเกิด ทำให้งอยปากของมันหัก หัวแตกและสิ้นใจในที่สุด เหตุเพราะไม่ฟังเสียงทัดทานของคนอื่น อวดตนในสิ่งที่ตนไม่ชำนาญ #วีรกชาดก #กันทคลกชาดก #คิริทัตตชาดก #อุปาลิสูตร #นาคสูตร
- 5 นิทานพรรณนาสุปารกบัณฑิตผู้เป็นต้นหนแห่งเรือในขณะนั้น ได้นำเรือแล่นมาถึงท้องทะเลที่ชื่อว่า พลวามุข น้ำทะเลนั้นก็เดือดพล่าน พุ่งขึ้นปรากฏเป็นเหมือนเหวใหญ่ เมื่อคลื่นพุ่งทะยานขึ้น ท้องทะเลก็เป็นเหมือนเหวติดต่อกันไป ส่งเสียงดังน่าสะพรึงกลัวเป็นอย่างยิ่ง เหล่าลูกเรือต่างพากันกลัวต่อมรณภัยที่กำลังมาถึงตน พากันโอดครวญร่ำไห้หวาดหวั่นด้วยความกลัว ต้นหนแห่งเรือจึงได้กระทำสัจจกิริยาด้วยอำนาจแห่งศีล 5 ครั้นกระทำสัจจกิริยาแล้ว ก็รดน้ำในถาดที่เต็มลงที่แอกเรือนั้น เรือที่แล่นไปผิดทิศ ก็บ่ายหัวกลับด้วยอานุภาพแห่งสัจจะ ประหนึ่งท่านผู้มีฤทธิ์บันดาล “ชาติกำเนิด พวกพ้อง นำสุขมาให้ในสัมปรายภพไม่ได้ ส่วนศีลของตนที่บริสุทธิ์ดีแล้ว จึงนำสุขมาให้ในสัมปรายภพได้” #สุปปารกชาดก #วัฏฏกชาดก #โมรชาดก
- 5 นิทานพรรณนา
- 5 นิทานพรรณนาพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ณ นครพาราณสี พระองค์ทรงแสวงหาโทษของพระองค์แต่มิได้เห็นผู้กล่าวถึงโทษของพระองค์ทั้งในพระราชวังและพระนคร จึงดำริว่าจักต้องแสวงหาในชนบท ทรงมอบให้อำมาตย์ ปลอมเป็นพระองค์เที่ยวจาริกไปยังหมู่บ้านต่างๆ พร้อมกับปุโรหิต ในขณะนั้นมีฎุมพีผู้มีสมบัติมาก เห็นพระราชาผู้มีผิวดังทองคำ จึงกลับไปเรือนจัดแจงโภชนะมีรสเลิศต่างๆ ให้บริวารถือภาชนะใส่ภัตไปยังศาลาที่พระราชาพัก ในศาลานั้นมีดาบสนั่งอยู่ด้วย และยังมีพระปัจเจกพุทธเจ้า นั่ง ณ ศาลานั้นอีกองค์หนึ่ง กุฎุมพีถวายน้ำชำระพระหัตถ์แก่พระราชา เตรียมถาดใส่ภัตพร้อมแกงและกับมีรสเลิศต่างๆ พลางน้อมเข้าไปถวาย พระราชาทรงรับภัตนั้นแล้ว พระราชทานแก่ปุโรหิต พราหมณ์รับถาดภัตนั้นแล้ว ถวายแด่ดาบส ส่วนดาบสรับถาดภัตนั้นแล้วนำไปสู่สำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้า ถวายทักษิโณทกแล้ว ใส่ภัตลงในบาตร เหตุเพราะดาบสนั้นคิดว่า เมื่อเรายังมีความถือมั่น ก็ควรถวายโภชนะแก่ท่านผู้ไม่มีความถือมั่น #ภิกขาปรัมปรชาดก #มุณิกชาดก #พาโลวาทชาดก #กิงสุโกปมชาดก
- 5 นิทานพรรณนาพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดในตระกูลช่างเหล็กในแคว้นกาสี เติบใหญ่แล้วได้เป็นผู้สำเร็จศิลปะ ไม่ไกลมากนักมีหมู่บ้านช่างเหล็ก ชึ่งหัวหน้าช่างเหล็กมีธิดาที่มีรูปโฉมสวยงดงาม พระโพธิสัตว์จึงคิดว่าจักเอานางนั้นมาเป็นภริยา จึงได้เอาเหล็กเนื้อดีที่สุดทำให้เป็นเข็มเล็กเล่มหนึ่ง เจาะห่วงก้นเข็มแล้วได้ทำกลักเข็มถึง 7 ชั้น จึงนำไปเร่ขายในหมู่บ้านช่างเหล็ก ลูกสาวช่างเหล็กเกิดความสงสัยเหตุใดจึงมาเร่ขายเข็มในบ้านช่างเหล็กที่ชำนาญ พระโพธิสัตว์ได้ยินคำของนางแล้ว จึงกล่าวว่า ผู้ฉลาดจะต้องขายเข็มในหมู่บ้านช่างเหล็ก อาจารย์ช่างทั้งหลายจึงจะเข้าใจงานว่า ทำดีหรือไม่ดี เพราะเข็มเล่มนี้ แหลมคมด้วยปัญญา #สูจิชาดก #สุชาตาชาดก #ชนสันธชาดก
- 5 นิทานพรรณนาปริพาชกผู้นุ่งห่มน้อยได้ออกจากอารามที่อยู่ของตน มุ่งหน้าไปยังนครสาวัตถีเพื่อเที่ยวขออาหารเลี้ยงชีพ จนเดินมาถึงสถานที่พวกแพะชนกัน เชามองเห็นแพะตัวหนึ่งย่อตัวลง หากแต่เชาไม่ได้หลีกหนีด้วยสำคัญว่าเจ้าแพะที่กำลังย่อตัวอยู่นั้น ทำความเคารพด้วยสักการะในคุณธรรมความดีของตน โดยไม่ระวังตัวว่าภัยกำลังมาถึงเพราะเจ้าแพะรีบวิ่งตรงรี่เข้ามาอย่างรวดเร็ว ปริพาชกผู้นั้นจึงถูกเจ้าแพะขวิดได้รับทุกข์เวทนายิ่ง เหตุเพราะวางใจในผู้ไม่ควรวางใจ สรรเสริญยกย่องในคนที่ไม่ควรบูชา #จัมมสาฏกชาดก #จตุมัฏฐชาดก #ปานียชาดก
- 5 นิทานพรรณนานกหัวขวานตัวนึง เข้าไปในปากของพระยาราชสีห์ แล้วมันก็จิกและจิก ที่ในปากของพระยาราชสีห์ตัวนั้น การรู้คุณและตอบแทนคุณ เป็นคุณธรรมพื้นฐานของคนดี ผู้ไม่รู้อุปการะคุณที่ผู้อื่นได้กระทำแล้ว ผู้ที่ไม่ตอบแทนอุปการะคุณที่ผู้อื่นทำให้แล้ว ความกตัญญูย่อมไม่มีในบุคคลผู้นั้น ดั่งนกหัวขวาน ผู้เปี่ยมด้วยความกรุณาสงสารราชสีห์จึงรับคำช่วยเหลือ “ความกตัญญูไม่มีในผู้ใด การคบหาผู้นั้น ก็ไร้ประโยชน์” #พาเวรุชาดก #ชัมพุขาทกชาดก #ชวสกุณชาดก #มหาสุวราชชาดก #สกุณชาดก #สุกชาดก
- 5 นิทานพรรณนานกยูงตัวนึงมีขนที่งดงามมาก แผงคอของมันแดงราวกับทับทิม ส่วนหางของมันนั้นสวยงามดั่งแก้วมณีประดับ มันกำลังรำแพนหางอยู่ท่ามกลางที่ประชุมของเหล่านกทั้งหลายอย่างงดงามอลังการเป็นอย่างยิ่ง ความเกรงกลัวและละอายต่อบาปนั้น เป็นธรรมอันคุ้มครองเพื่อไม่ให้บุคคลกระทำความชั่ว มีความขาวสะอาด ทั้งกาย วาจาและจิตใจ หากบุคคลขาดความเกรงกลัวและละอายต่อบาป ย่อมถูกชักจูง ชักชวนไปในหนทางที่ผิดได้โดยง่าย เหมือนดัง นกยูงทำลายหิริโอตตัปปะ แล้วรำแพนอยู่ #สกุณัคฆิชาดก #เทวธรรมชาดก
- 5 นิทานพรรณนาพราหมณ์ผู้หนึ่งถือหม้อดินไว้ในมือ แล้วเดินไปตามทางที่มืดมิด พระโพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติเป็นพระเจ้าชุณหะในขณะนั้น ได้ชนเข้ากับพราหมณ์ชราผู้นี้ จนทำให้หม้อดินที่พราหมณ์ถืออยู่นั้นหล่นแตกเสียหาย ในกาลต่อมาพระเจ้าชุณหะ ทรงทำการสงเคราะห์พราหมณ์ชราด้วยเหตุเพียงเล็กน้อย แต่พระองค์ทรงยึดมั่นในสัจจะวาจาที่เคยให้ไว้กับพราหมณ์ “นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมไม่ทำคุณที่เขาทำไว้ในกาลก่อนให้เสื่อมสูญไป คุณที่ทำไว้ในนักปราชญ์ทั้งหลาย ถึงจะน้อยก็ย่อมไม่เสื่อมหายไป เพราะว่านักปราชญ์ทั้งหลายเป็นผู้มีความกตัญญู” #ชุณหชาดก #มหิฬามุขชาดก
- สุนัขจิ้งจอก 3 ตัว ตัวนึงมันเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในถ้ำแก้วผลึกที่สามารถมองเห็นจากภายนอกได้ อีกตัวนึงมันก็เข้าไปหากินอยู่ที่ป่าช้า ส่วนตัวสุดท้ายเข้าไปในซากศพของช้างที่ตายแล้ว ในบรรดา 3 ตัวนี้ มีอยู่ 1 ตัวที่ไม่สามารถเอาชีวิตรอดได้ บุคคลใดประสงค์จะทำการงานโดย มิได้พิจารณา คือมิได้สอบสวนโทษในการงานนั้น รีบร้อนตกลง ผลุนผลันปฏิบัติ เพื่อรีบทำการงานนั้น การงานทั้งหลายเช่นนั้น ย่อมเผาผลาญบุคคลผู้นั้น ผู้มิได้พิจารณา ดังขาดตาปัญญาเสียแล้ว ก็เหมือนคนตาบอด เหยียบลงไปได้ แม้กระทั่งไฟที่ส่องทาง #สิคาลชาดก
- สังขปาลนาคราชมีความเบื่อหน่ายต่อความเป็นนาค ปรารถนาความเป็นมนุษย์ จึงออกจากนาคพิภพมายังแดนมนุษย์ เพื่อรักษาอุโบสถศีล โดยอธิษฐานว่า “หากบุคคลใดต้องการหนัง เอ็น กระดูก เนื้อ และเลือดก็เชิญเถิด เราได้สละแล้ว แต่จะไม่ยอมประพฤติล่วงศีล แม้ต้องสละชีวิต” แล้วจึงลงนอนขดตัวที่จอมปลวก ครั้นเมื่อเหล่านายพรานถืออาวุธทั้งหอกและหลาวเข้าไปจับสังขปาลนาคราชเพื่อเป็นอาหาร หากแต่สังขปาลนาคราชยังคงรักษาอุโบสถศีลด้วยใจที่ตั้งมั่น จึงยอมรับเอาหอก และหลาวที่นายพรานทิ่มแทงตามร่างกายด้วยความอดทน การรักษาศีลในระดับ "ปรมัตถบารมี" นับว่ายากยิ่ง เพราะหมายถึงการยอมสละด้วยชีวิต คือ รักศีลยิ่งกว่าชีวิตของตน หากรักษาศีลได้บริบูรณ์แล้ว ศีลย่อมรักษาผู้นั้นอย่างดี เหมือนดั่ง พระโพธิสัตว์สังขปาลนาคราช ผู้รักษาศีลยิ่งกว่าชีวิตของตน #สังขปาลชาดก
- ครุฑกับนาคนั้นไม่ค่อยจะลงรอยกันนัก ด้วยเหตุนี้ ครุฑจึงจับนาคเป็นอาหาร ประกาศศึกล้างผลาญกันเรื่อยมา เหล่านาคเมื่อถูกครุฑนำไปเป็นอาหารอยู่เนือง ๆ จึงหาวิธีป้องกันตัวโดยกลืนกินก้อนหินใหญ่เข้าไปไว้ในท้อง เพื่อถ่วงตัวให้หนัก เมื่อครุฑโฉบมาก็ยื่นหน้าแยกเขี้ยวคอยขบกัดครุฑที่จ้องจะจับศีรษะของตน ครุฑนั้นพยายามฉุดนาคขึ้นให้พ้นน้ำ แต่เนื่องจากความหนักของก้อนหินที่ถ่วงไว้กว่าครุฑจะฉุดนาคขึ้นไปได้ก็ถูกคลื่นซัดจมน้ำเสียมาก การประกาศความลับที่ตนควรจะรักษาแก่คนชั่ว เพราะความหลง ภัยย่อมตามถึงนรชนนั้น ผู้แพร่งพรายความลับแล้ว เหมือนพญาครุฑผู้ล่วงรู้ความลับของนาคราช ฉะนั้น #ปัณฑรกชาดก #สังขปาลชาดก
- พราหมณ์คนหนึ่งมีลูกสาวทั้งหมด 4 คน ลูกสาวของพราหมณ์นั้นล้วนสวยงามน่ารักและเป็นที่หมายปองของหนุ่ม ๆ พราหมณ์นั้นไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะยกลูกสาวให้แก่ชายใด ระหว่างคนที่มีรูปงาม คนที่มากด้วยปัญญา คนอุดมด้วยทรัพย์และชาติตระกูล หรือคนที่สมบูรณ์ด้วยศีล พราหมณ์คิดหนักว่าจะเลือกชายใดเป็นลูกเขยดี เพราะแต่ละคนก็มีความดีแตกต่างกันไป เขาจึงตัดสินใจเดินทางไปปรึกษาอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เพื่อเลือกคู่ครองที่ดีให้กับลูกสาว #สาธุสีลชาดก #สุลสาชาดก #สมิทธิชาดก #อโยฆรชาดก
- พญาช้างฉัททันต์ ได้สละงาให้กับพรานป่าผู้มีใจคอและลักษณะแห่งความโหดร้าย ซึ่งลวงหลอกด้วยการนำผ้ากาสาวพัสตร์มาห่มพันกาย เพื่อให้เข้าใจว่าเป็นพระภิกษุ พญาช้างฉัททันต์เมื่อเห็นเช่นนั้นจึงตระหนักว่า "ผ้ากาสาวพัสตร์ นี้คือ ธงชัยแห่งพระอรหันต์ บัณฑิตไม่ควรทำลาย ควรทำการสักการะอย่างเคารพโดยแท้" หากแต่เมื่อได้ทราบความประสงค์ของนายพราน จึงได้มอบงาให้แก่พรานผู้นั้น แล้วตั้งจิตอธิษฐานให้ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ และล้มลงขาดใจ ณ.ที่ตรงนั้น. #ฉัททันตชาดก
- พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์เมืองพาราณสี เมื่อเติบโตขึ้นได้ไปเรียนศิลปวิทยาในสำนักอาจารย์คนหนึ่ง อาจารย์นั้นมีลูกสาวแสนสวยและต้องการอยากได้ลูกเขยเป็นผู้มีศีล จึงเรียกประชุมเหล่าลูกศิษย์และประกาศให้ทราบว่า ต้องการให้ลูกแต่งงานแต่ยังขาดผ้าประดับอยู่อีกมาก ขอให้ลูกศิษย์เอาผ้าประดับมา แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องไม่มีใครเห็น ส่วนผ้าที่มีคนเห็นจะไม่รับ นับตั้งแต่วันนั้นมาเหล่าศิษย์ต่างพากันนำผ้าประดับที่แอบขโมยมามอบให้อาจารย์ มีเพียงพระโพธิสัตว์เท่านั้นที่ไม่มีผ้าอะไรมามอบให้ แต่อาจารย์กลับเลื่อมใสในตัวเขามากและยกลูกสาวให้ ด้วยเหตุว่าความลับไม่มีในโลก #สีลวีมังสนชาดก #ขันติวรรณนชาดก
- พระราชาผู้พรั่งพร้อมไปด้วยราชบริวารได้เสด็จเลียบพระนคร เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นฤๅษีก็ทรงจำได้ จึงทรงพระดำริว่า “ฤๅษีตนนี้คงปรารถนาจะเข้ามาอยู่กับเรา เราจะตัดศีรษะเสียก่อนเพื่อไม่ให้ประกาศคุณที่ทำแก่เราให้ผู้คนได้ล่วงรู้” ครั้นทรงพระดำริอย่างนี้แล้ว จึงตรัสสั่งแก่เหล่าทหารเพื่อให้ไปจับฤๅษีนั้น โดยมัดมือไพล่หลังโบยในที่ ๔ แห่ง คือ ข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา แล้วนำไปตัดศีรษะเสีย เหล่าทหารต่างไปจับฤๅษีตนนั้นแล้วมัดโบยตีและนำไปสู่ตะแลงแกง เมื่อฤๅษีได้ถูกพระราชอาญาเช่นนั้น จึงได้กล่าวถ้อยคำ ดังนี้ “บางคนในโลกนี้กล่าวไว้ว่า ยกเอาท่อนไม้ขึ้นจากน้ำยังดีกว่ายกคนบางคนขึ้นจากน้ำ” ฤาษีตนนั้นได้กล่าววาจาเช่นนี้เรื่อยไป #ทสัณณกชาดก #สัจจังกิรชาดก
- ณ นิคมของชาวกาสี มีพราหมณ์คนหนึ่งเป็นผู้มั่งคั่งแต่ไม่มีบุตร พระโพธิสัตว์ได้มาบังเกิดเป็นบุตร จึงตั้งชื่อว่า “โพธิกุมาร” เมื่อเติบโตขึ้นเหล่าญาติก็จัดงานวิวาหมงคลให้ แต่ทั้งสองหนุ่มสาวนั้นไม่เคยมีความฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งราคะ เมื่อบิดามารดาเสียชีวิต เขาทั้งสองได้ให้ทานเป็นมหาทาน แล้วออกบวช อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปยังอุทยาน ได้ทอดพระเนตรเห็นนางปริพาชิกา เกิดมีใจปฏิพัทธ์ พระองค์ทรงสะท้านด้วยอำนาจแห่งราคะ ไม่อาจจะห้ามใจของตนได้ จึงนำนางผู้ร้องไห้คร่ำครวญไปยังพระราชวัง นางเอาแต่พรรณนาโทษของยศและคุณของการบรรพชา จึงทรงดำริว่า นางผู้นี้มีศีล ไม่ปรารถนาในลาภยศ แม้แต่ดาบสนั้น เมื่อตนพานางมา ก็มิได้มีความโกรธชัง เหตุเพราะพระโพธิสัตว์ดาบส ทรงสละสิ่งที่ตนรัก เพื่อสิ่งที่ตนรักยิ่ง #อกิตติชาดก #จุลลโพธิชาดก
- พระผู้มีพระภาคตรัสเล่าอดีตชาติของพระองค์ เมื่อครั้งเป็นโชติปาลมาณพ ซึ่งมีชาติกำเนิดเป็นพราหมณ์ และสหายรักชื่อฆฏิการะ นายช่างปั้นหม้อ ผู้เป็นอริยสาวกในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ วันหนึ่งฆฏิการะชวนโชติปาลมาณพเดินทางเพื่อไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เขาชวนอยู่หลายครั้งสหายรักก็ไม่ยอมไป กลับกล่าวคำดูหมิ่นว่า “จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเห็นพระสมณะศีรษะโล้นองค์นั้น” จนในที่สุดนายช่างปั้นหม้อซึ่งมีชาติกำเนิดต่ำกว่าถึงกับจับมวยผมของโชติปาลมาณพ เขาจึงเฉลียวใจขึ้นว่า การที่เพื่อนทำความพยายามชักชวนนั้น ก็เพื่อจะชวนไปยังสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าคงต้องมีอะไรสักอย่างเป็นแน่ การชักชวนของสหายในครั้งนี้ทำให้เขามีโอกาสได้ฟังธรรมเทศนาจากพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อได้ฟังจบเขาก็ตัดสินใจออกบวช หากแต่วิบากกรรมที่เคยกล่าวคำดูหมิ่นต่อพระพุทธเจ้าในครั้งนั้น ส่งผลทำให้ในพระชาติสุดท้ายของพระองค์ต้องบำเพ็ญทุกรกิริยา #ฆฏิการสูตร #นฬปานชาดก
- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จไปรับภัตตาหารยังบ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เหล่าพระมหาสาวกผู้มีอภิญญาสามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ต่างเหาะเหินบนอากาศเพื่อติดตามพระพุทธองค์ ขณะนั้นพญานาคชื่อนันโทปนันทะกำลังเสวยทิพยสมบัติด้วยความสำราญใจ ครั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าและเหล่าพระมหาสาวกจำนวนมากเหาะมา ก็เกิดความโกรธขึ้นในใจตามประสาผู้มีมิจฉาทิฏฐิ จึงแปลงกายให้ตัวใหญ่ขึ้น เอาหางรัดเขาพระสุเนรุ ใช้พังพานปิดภพดาวดึงส์และบันดาลให้เกิดหมอกควันตลบไปทั่วพิภพเพื่อให้เหล่าสาวกไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ เพียงเพราะทิฏฐิที่หลงผิด
- พระโพธิสัตว์เกิดในสกุลพราหมณ์ ครั้นมารดาบิดาล่วงลับไป ก็บวชเป็นฤๅษีพำนักอยู่ในป่าหิมพานต์ วันหนึ่งดาบสเดินทางเข้าสู่พระนคร พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็น เกิดเลื่อมใสในอิริยาบถ ทรงรับสั่งให้อำมาตย์ไปนิมนต์ดาบสนั้นมาและสั่งให้สร้างบรรณศาลาถวาย พระราชาทรงมีพระโอรสพระนามว่า ทุฏฐกุมาร เป็นผู้มีนิสัยดุร้าย พระราชาไม่สามารถจะฝึกหัดอบรมได้ ทรงมอบพระกุมารให้ดาบสโพธิสัตว์ฝึกฝน ดาบสจึงชวนพระกุมารเที่ยวไปในอุทยานเห็นหน่อต้นสะเดาต้นหนึ่ง จึงกล่าวว่า กุมาร เธอจงเคี้ยวกินใบของหน่อสะเดานี้แล้วทราบรสไว้เถิด พระกุมารทรงเคี้ยวใบสะเดาใบหนึ่ง เมื่อดาบสถามถึงรสชาติ กุมารกล่าวว่า ต้นไม้นี้เปรียบเสมือนยาพิษชนิดร้ายแรง ถ้าเจริญเติบโตขึ้นคงฆ่ามนุษย์เสียเป็นอันมาก พลางทรงถอนหน่อสะเดานั้นแล้วขยี้จนแหลก พระโพธิสัตว์จึงกล่าวว่า หน่อสะเดานี้ มันขมถึงเพียงนี้ เมื่อมันโตจักเป็นอย่างไร อาศัยมันแล้วจะมีความเจริญมาแต่ไหน แล้วถอนขยี้ทิ้งไป เธอปฏิบัติในหน่อสะเดานี้ฉันใด แม้ชาวแว่นแคว้นของเธอก็คงทำกับเธอฉันนั้น ด้วยเหตุว่าพระกุมารนี้ยังเป็นเด็กอยู่ทีเดียว ยังดุร้ายอย่างนี้ จักถอดถอนเสียเหมือนหน่อสะเดา แล้วทำการขับไล่ออกไปเสียจากนคร เพราะฉะนั้นเธอจงละเว้นความเป็นผู้ตนเปรียบเหมือนต้นสะเดาเสีย จงถึงพร้อมด้วยความอดทน ความเมตตาและความเอื้อเฟื้อ ตั้งแต่บัดนี้ไปเถิด #เอกปัณณชาดก
- พระเจ้าพรหมทัตผู้ครองนครพาราณสี ทรงส่งพระโอรสไปเรียนศิลปะยังเมืองตักศิลา พรหมทัตตกุมารตั้งใจศึกษาเล่าเรียนในศิลปะทุกแขนงวิชา อยู่มาวันหนึ่งขณะที่ไปอาบน้ำ ในบริเวณนั้นมีหญิงชรานั่งขัดสีเมล็ดงาแล้วนำมาแผ่ตากไว้และคอยนั่งเฝ้าดูอยู่ใกล้ ๆ เมื่อพระกุมารเห็นเมล็ดงาเหล่านั้นก็อยากจะเสวย จึงหยิบเมล็ดงามาหนึ่งกำมือเคี้ยวเสวยโดยมิได้ขอ ฝ่ายหญิงชรานั้นเห็นอยู่ก็คิดว่าหนุ่มคนนี้คงอยากจะกินจึงนิ่งเฉยเสียมิได้ตำหนิหรือว่ากล่าวแต่ประการใด หากแต่พระกุมารก็ทรงทำเช่นนี้เรื่อยมา หญิงชราจึงเดินทางไปหาท่านอาจารย์บอกเล่าเหตุการณ์ให้ฟัง เมื่ออาจารย์ได้ฟังแล้วจึงลงโทษพรหมทัตตกุมารด้วยการเฆื่ยน หากแต่การลงโทษในครั้งนึ้มาจากความรัก #ติลมุฏฐิชาดก #ทัททรชาดก
- พระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ ครั้นเจริญวัยสำเร็จวิชาเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ สอนมนต์แก่มาณพทั้งหลาย เมื่อเรียนจบเหล่ามาณพเกิดความทะนงว่าตนรู้เท่าอาจารย์ จึงดูหมิ่นในอาจารย์ของตน โดยกล่าวประสงค์จะดูหมิ่นอาจารย์จึงพูดว่า ต้นไม้นี้ไม่มีแก่น อาจารย์จึงได้สอบถามคำถามแก่มาณพทั้งหลายว่า กาลย่อมกินสัตว์ทั้งปวงกับทั้งตัวเองด้วย ก็ผู้ใดกินกาล หากแต่เหล่ามาณพกลับไม่สามารถตอบคำถามได้ว่าใครกันคือผู้ที่สามารถกินกาลเวลาได้ #มูลปริยายชาดก #ติรีติวัจฉชาดก
- พระโพธิสัตว์ได้เกิดเป็นราชกุมารของพระราชาผู้ครองเมืองพาราณสี เมื่อมีอายุได้ 7 ขวบ พระบิดาก็สวรรคต เหล่าอำมาตย์ต่างเห็นว่าราชาองค์น้อยยังไม่สามารถปกครองเมืองได้ จึงพากันทดสอบภูมิปัญญาและได้ทราบถึงอัจฉริยะของพระกุมารจึงได้อภิเษกให้ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่บัดนั้น ส่วนทาสผู้เคยรับใช้พระราชาองค์ก่อนเช่นนายคามณิจันท์ เมื่อสิ้นรัชกาลของพระองค์แล้ว เขาได้ปลีกตัวออกไปประกอบอาชีพกสิกรรมที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง เขานั้นไม่มีโคในการทำนาจึงได้ไปยืมโคจากเพื่อนบ้านเพื่อมาไถนา ตกเย็นจึงได้นำโคไปคืน เห็นเจ้าของโคกำลังนั่งกินข้าวอยู่ก็เกิดความเกรงใจจึงปล่อยโคเข้าคอกไป ตกดึกมีโจรมาลักโคเหล่านั้นไปหมด เจ้าของโคถึงแม้รู้อยู่ว่าโคถูกขโมยไปก็ไปทวงโคกับนายคามณีจันท์พร้อมกับปรับสินไหมและนำความไปแจ้งยังเมืองหลวง เหตุเพราะต้องการหาผู้รับผิดในครั้งนี้ #คามณิจันทชาดก
- พระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดเป็นโอรสของพระองค์ เมื่อพระชนกล่วงลับไปแล้ว พระโพธิสัตว์ได้ดำรงอยู่ในราชสมบัติและเสวยโภชนะอันบริสุทธิ์ ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงมีพระนามว่า พระเจ้าโภชนสุทธิกราช พระองค์เสวยกระยาหารอย่างสิ้นเปลือง เมื่อเสวยมีพระประสงค์ให้มหาชนได้เห็นวิธีการเสวยของพระองค์ จึงให้สร้างรัตนมณฑปที่ประตูพระราชวัง วันหนึ่งมีบุรุษโลเลได้เห็นวิธีเสวยกระยาหารของพระราชา จึงอยากจะบริโภคอาหารนั้น ได้คิดอุบายขึ้นว่า เขาเป็นทูตและไปเข้าเฝ้าพระราชา ด้วยความหิวโหยเขาได้คว้าก้อนข้าวจากภาชนะทองของพระราชาใส่ปาก พระองค์จึงตรัสถามว่า เจ้าเป็นทูตของใคร เขาได้ตอบกลับไปว่า ข้าพระองค์เป็นทูตของตัณหา ด้วยเหตุนี้ตัณหาจึงบังคับส่งมา #ทูตชาดก #จักกวากชาดก #วัฑฒกีสูกรชาดก #ตัจฉกสูกรชาดก #เอกปทชาดก
- มีกษัตริย์ทรงพระนามว่าพระเจ้ากาลิงคราช ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นปุโรหิตชื่อภารทวาชะ เมื่อพระราชาขึ้นครองราชย์พระองค์ทรงช้างเผือกเพื่อเหาะไปหาพระชนกและพระชนนีในป่า เมื่อไปถึงมณฑลต้นศรีมหาโพธิที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ช้างพระที่นั่งไม่สามารถเหาะผ่านมณฑลนั้นได้ ปุโรหิตเห็นดังนั้นก็สงสัยว่าไม่มีสิ่งกีดขวางใด ๆ ในอากาศ เหตุใดช้างจึงไม่สามารถผ่านไปได้ จึงลงไปสำรวจดูก็เห็นโพธิมณฑลอันเป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธองค์ จึงเข้าใจว่าชนทั้งหลายแม้แต่ท้าวสักกเทวราชก็ไม่สามารถเหาะเหนือโพธิมณฑลได้ พระราชามีประสงค์จะพิสูจน์ถ้อยคำของปุโรหิต พระองค์ทรงเสด็จลงจากอากาศและทอดพระเนตรเห็นโพธิมณฑล ทรงสรรเสริญปุโรหิตว่าเป็นผู้รู้ผู้เห็นเหตุทั้งปวง แต่ปุโรหิตทูลว่าตนเป็นผู้รู้เหตุทั้งปวงเพราะอาคม แต่พระพุทธองค์ตรัสรู้เหตุทั้งปวงด้วยพระสัพพัญญุตญาณ #กาลิงคโพธิชาดก #คุณชาดก
- พระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี เป็นผู้ไม่มีพระโอรสจึงปรารถนาเพื่อให้ได้บุตร เมื่อกาลล่วงไปพระโพธิสัตว์จึงจุติจากพรหมโลกบังเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสี เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นประสูติมีเพียงบุรุษที่สามารถอุ้มดูแลได้เท่านั้น พระกุมารไม่ปรารถนาบริโภคกาม แม้ราชสมบัติก็ไม่ปรารถนา พระบิดาจึงจัดส่งหญิงนักฟ้อนสาวสวย ซึ่งเป็นผู้ฉลาดในการเล้าโลมบุรุษให้ตกอยู่ในอำนาจของตน คอยบรรเลงเพลงขับกล่อมพระกุมาร ไม่นานนักพระองค์ทรงหลงใหลในตัวหญิงสาว จึงทำให้พระองค์ประสบกับภัยต้องถูกขับออกจากเมืองด้วยอำนาจแห่งกาม
- ในกรุงราชคฤห์มีพราหมณ์ชื่ออุปสาฬหกะ พราหมณ์นั้นได้บอกกับบุตรว่า เมื่อพ่อจบชีวิตลงอย่าเอาศพพ่อไปเผาปะปนกับคนอื่น พราหมณ์ และบุตรจึงออกเดินทางแสวงหาดินแดนแห่งนั้น ทั้งสองได้พบกับพระโพธิสัตว์ เมื่อโพธิสัตว์ได้ฟังบุตรของพราหมณ์กล่าวว่า ระหว่างภูเขาสามลูกนี้แหละ เป็นที่ไม่ปะปน จึงกล่าวแก่บุตรของพราหมณ์ว่า ในที่นี้แหละบิดาของเจ้าถูกเผาในระหว่างภูเขานี้มาแล้วถึงหมื่นสี่พันชาติ อันที่จริง สถานที่ที่ไม่ถูกเผาก็ดี สถานที่ที่ไม่ใช่ป่าช้าก็ดี สถานที่ที่ศีรษะไม่ทอดลงก็ดี ไม่อาจหาได้ในแผ่นดินนี้ #อุปสาฬหกชาดก #มหาปนาทชาดก #สุรุจิชาดก
- ปุโรหิตแห่งเมืองพาราณสีเป็นผู้ชำนาญในมนต์วิเศษ คือ มนต์กลับใจให้หลง วันหนึ่งเจ้าสุนัขจิ้งจอก ได้ยินปุโรหิตท่องมนต์จึงจำมนต์ได้ และนำไปร่ายมนต์ให้ราชสีห์ ช้าง และสัตว์ทั้งหลายให้ตกอยู่ใต้อำนาจของตน ด้วยความโลภ และหลงในอำนาจ สุนัขจิ้งจอกคิดจะชิงสมบัติจากพระราชา โดยร่ายมนต์ให้ราชสีห์เปล่งสีหนาทจนชาวเมืองทนเสียงไม่ไหว และสิ้นชีวิต ฝ่ายปุโรหิตจึงออกอุบายให้ชาวเมืองนำแป้งมาอุดหู เมื่อราชสีห์เปล่งสีหนาท ชาวเมืองต่างก็ไม่ได้ยิน แต่เหล่าบริวารของสุนัขจิ้งจอกต่างตกใจกลัว และแตกตื่นวิ่งหนี ทำให้สุนัขจิ้งจอกตกจากหลังช้างในที่สุด #สัพพทาฐิชาดก #ถุสชาดก
- พระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ในป่า วันหนึ่งในฤดูฝน เกิดฝนตกหนักตลอด 7 สัปดาห์ มีลิงเล็กหน้าแดงตัวหนึ่งหลบฝนอยู่ในซอกเขา ส่วนเจ้าลิงใหญ่หน้าดํานั่นเปียกฝนหนาวเหน็บ มันมองเห็นลิงเล็กนั่งหลบฝนอยู่จึงอยากเข้าไปนั่งแทนที่ เจ้าลิงใหญ่แกล้งทำเป็นท้องย้อยยานแสดงอาการอิ่มเหลือล้น ไปยืนอยู่ข้างหน้าลิงเล็กนั้น และกล่าวคำลวง ฝ่ายเจ้าลิงเล็กได้ฟังจึงหลงเชื่อคำลวงของเจ้าลิงใหญ่หน้าดำ จนตนนั้นต้องเดือดร้อนในภายหลัง
- ครั้งอดีตกาล มีอาจารย์ช่างไม้คนหนึ่ง และลูกศิษย์ ได้เข้ายึดครองเมืองทำการอภิเษกตนขึ้นเป็นราชาพระนามว่า พระเจ้ากัฏฐวาหนะ แม้นครนั้นก็ได้ชื่อว่ากัฏฐวาหนนคร พระราชาทรงดำรงตนอยู่ในธรรม และสงเคราะห์เหล่าศิษย์ด้วยสังคหวัตถุ 4 จึงเป็นแคว้นที่มีความมั่งคั่งสมบูรณ์ อยู่มาวันหนึ่ง เหล่าพ่อค้าจากกรุงพาราณสีเดินทางมาค้าขาย เมื่อพระราชาทราบจึงพระราชทานเสบียงแก่พ่อค้าเหล่านั้น เหล่าพ่อค้ากลับไปยังกรุงพาราณสีได้กราบทูลให้พระราชาของตนทราบ ทั้งสองเมืองจึงเป็นมิตรที่ดีต่อกันเรื่อยมา ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า “กัสสปะ” ประทับอยู่ ณ กรุงพาราณสี พระเจ้าพาราณสีทรงดำริว่าสิ่งอื่นจะสูงสุดยิ่งกว่าพระรัตนตรัยไม่มี เราจะส่งข่าวแก่สหายของเรา พระราชากัฏฐวาหนะได้ทรงทราบความว่าสหายของท่านทรงส่งรัตนบรรณาการ ซึ่งหาได้ยากยิ่งตลอดแสนกัป พระองค์ทรงได้ฟังสิ่งที่ไม่เคยฟังว่าพระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้วในโลกดังนี้ ทรงดำริว่าควรจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและฟังพระธรรม จึงออกเดินทางไปยังนครพาราณสี เมื่อยังไปไม่ถึงที่หมายพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานเสียแล้ว ต่างพากันร้องไห้คร่ำครวญ จึงกล่าวถามว่าพระโอวาทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานไว้ยังมีอยู่หรือไม่ พระสาวกกล่าวว่า มีอยู่อุบาสก “คือ พึงตั้งอยู่ในพระรัตนตรัย พึงสมาทานศีล 5 พึงเข้าอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ 8 พึงให้ทาน และพึงปฏิบัติธรรม”
- พระราชาผู้ปกครองเมืองพาราณสี มีพระโอรส 100 พระองค์ ในบรรดาพระโอรสทั้งหมดมีพระโอรสองค์สุดท้อง สังวรกุมาร เพียงพระองค์เดียวที่ทรงยึดเหนี่ยวผูกน้ำใจฝูงชนไว้ ทรงเป็นที่รักของคนทั้งปวง เมื่อพระเจ้ากรุงพาราณสีทรงประชวรหนัก เหล่าอำมาตย์ต่างเห็นตรงกันให้พระเจ้าสังวรมหาราชขึ้นครองราชย์ และทรงปกครองบ้านเมืองโดยธรรม ประชาชนล้วนอยู่ดีมีสุขกันทั่วหน้า แต่พระกุมารทั้ง 99 พระองค์ต่างไม่พอใจ จึงได้ส่งสารให้คืนราชสมบัติไม่เช่นนั้นทุกพระองค์จะพากันยกทัพมาล้อมพระนครไว้ พระเจ้าสังวรมหาราชทรงวิตกกังวลแต่ในที่สุดก็หาทางแก้ไขได้ เหตุเพราะพระองค์ทรงฟังคำแนะนำของบัณฑิต #สังวรชาดก #สังกิจจชาดก
- พระโพธิสัตว์ได้เกิดในตระกลูพ่อค้าขายข้าว อยู่มาวันหนึ่งมีหมองูจูงลิงตัวน้อย และถือกระบอกใส่งูมาด้วย ชายผู้นั้นนำลิงผูกไว้ ก่อนที่เขาจะนำงูเที่ยวออกตระเวณเล่นมหรสพในนครพาราณสี ซึ่งตลอดเวลาหมองูเมาสุราไม่ได้สนใจเจ้าลิงน้อยเลย จนพ่อค้าขายข้าวรู้สึกสงสารจึงได้ให้อาหารแก่ลิงตัวนั้นอยู่เป็นประจำ เมื่อหมองูเดินทางกลับมาหาลิงที่ตนผูกเอาไว้ ด้วยความรำคาญใจจึงหยิบไม้ขึ้นมาตีเจ้าลิงอย่างเต็มแรง ท่าที่ดุร้ายของหมองูส่งผลให้เจ้าลิงน้อยเงียบลงในทันที ในวันต่อมาเขาจูงลิงน้อยไปยังอุทยาน ก่อนจะผูกไว้กับต้นไม้แล้วหลับไป ระหว่างนั้นเจ้าลิงแก้เชือกที่ผูกไว้กับคอแล้วปีนขึ้นไปบนต้นมะม่วง และหยิบผลกินอย่างสบายใจ หมองูอยากกินมะม่วงบ้าง เฝ้าอ้อนวอนเจ้าลิง แต่ลิงน้อยไม่สนใจหมองูอีกต่อไป เหตุเพราะหมองูผู้นี้ไม่มีความดีให้ตาตรึงใจ #อหิตุณฑิกชาดก #สาลกชาดก #อุปาหนชาดก #คุณชาดก #มหาอัสสาโรหชาดก
- พระโพธิสัตว์เสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี วันหนึ่งประพาสอุทยานเสด็จไปถึงฝั่งสระโบกขรณี เหล่าพนักงานฟ้อนรำขับร้องถวาย ปลาและเต่าทั้งหลายที่สระโบกขรณี ต่างก็มารวมกันเพราะได้ยินเสียงขับร้อง ต่างว่ายน้ำตามพระราชาไป พระองค์ทอดพระเนตรเห็นฝูงปลา จึงสั่งให้เจ้าหน้าที่หุงข้าวสารเพื่อมาเป็นอาหารแก่ปลาทั้งหลาย และให้ตีกลองเวลาให้อาหาร เมื่อพวกปลามารวมกันตามเสียงกลองแล้วจึงให้อาหาร ในขณะที่ฝูงปลามารวมกันกินอาหารอยู่นั้น มีจระเข้ตัวหนึ่งว่ายมากินปลาทั้งฝูง พระราชาจึงสั่งให้เอาชะนักแทงจระเข้ที่เข้ามากินปลา ชะนักนั้นเสียบติดหลังจระเข้ ทำให้ได้รับทุกขเวทนาอย่างมาก เหตุเพราะความโลภในลาภอันเบียนเบียดผู้อื่น #วิกัณณกชาดก #วินีลกชาดก #อุทยชาดก
- พระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นคฤหบดีผู้มั่งคั่งมีทรัพย์สินมาก และสร้างศาลาทานขึ้นถึง 6 แห่ง แม้บุตรของเศรษฐีนั้นก็ให้ทานเหมือนบิดา ส่วนบุตรชายคนที่ 6 มีนามว่า มัจฉริยโกสิยะ มีทรัพย์สมบัติมากมายแต่เศรษฐีมัจฉริยโกสิยะนั้นเป็นคนตระหนี่ จึงให้รื้อโรงทานที่บิดาสร้างขึ้นเสีย เหล่ายาจกต่างขอร้องเศรษฐี ขอท่านเศรษฐีจงอย่ากระทำทานวงศ์แห่งบิดา และปู่ของตนให้ฉิบหายเสียเลยโปรดให้ทานเถิด มหาชนต่างก็พากันติเตียน ส่วนเศรษฐีนั้นตั้งคนคอยรักษาเพื่อคอยห้ามยาจกผู้มาที่ประตูเรือน นับแต่นั้นมา เขาก็รวบรวมทรัพย์ ไม่บริโภคด้วยตนเอง ทั้งไม่ให้บุตร และภรรยาบริโภคอีกด้วย เหตุเพราะความตระหนี่ถี่เหนียวแห่งตน
- พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพ่อค้าตระกูลหนึ่ง เดินทางค้าขายด้วยเกวียนห้าร้อยเล่ม ครั้งเมื่อต้องเดินทางค้าขายผ่านทะเลทรายอันร้อนระอุ และกันดาร แต่ก็หาย่อท้อไม่ คิดวางแผนเพื่อเดินทางให้ข้ามผ่านทางอันกันดารนี้ จึงพักผ่อนในกลางวัน แล้วออกเดินทางในเวลากลางคืน มีต้นหนคอยดูดาวนำทาง แต่ต้นหนเผลอหลับไป กองคาราวานจึงหลงทางกลับไปยังทางเดิม บริวารทั้งหลายเกิดความท้อแท้สิ้นหวัง แต่นายสัตถวาหะผู้เป็นพ่อค้าไม่ย่อท้อ ออกหาแหล่งน้ำเพื่อใช้ดื่มกินจนพบ พาบริวารรอดตายมาได้ และค้าขายได้กำไรอย่างงดงามด้วยความเพียรพยายาม #วัณณุปถชาดก #อปัณณกชาดก
- พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ หลังจากเรียนจบศิลปวิทยาได้ออกบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญเพียรอยู่ในป่า วันหนึ่งได้สัญจรไปที่ชายแดนหมู่บ้านหนึ่ง ชาวบ้านได้สร้างอาศรมถวายจึงได้อาศัยอยู่ที่นั้นเรื่อยมา ในหมู่บ้านมีนายพรานนกคนหนึ่ง เลี้ยงนกกระทาไว้เพื่อเป็นนกต่อ ทุกวันเขาจะพานกกระทาเข้าไปในป่าอาศัยเสียงร้อง เพื่อจับเหล่านกกระทาซึ่งพากันมาเพราะเสียงของนกกระทาต่อตัวนั้น นกกระทาจึงคิดว่าได้ทำให้นกตัวอื่นตายไปเป็นจำนวนมาก เป็นบาปกรรมของตน หากแต่เจ้านกนั้นไม่ได้มีเจตนากระทำเช่นนั้น พระโพธิสัตว์จึงกล่าวแก่นกกระทาว่า บาปกรรมย่อมไม่แปดเปื้อนผู้มีใจบริสุทธิ์ ผู้ไม่ขวนขวายกระทำบาปกรรม เหตุเพราะสำคัญที่ตั้งเจตนา #ติตติรชาดก
- ในสมัยพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้ถือกำเนิดในตระกูลเศรษฐี เมื่อพ่อและแม่ได้จากไป ผู้เป็นพี่ชายจึงรับช่วงต่อกิจการทั้งหมด และคอยดูแลน้องชายเป็นอย่างดี เมื่อพี่ชายได้เสียชีวิตลงจากอาการป่วย เหล่าญาติที่ทราบข่าวต่างพากันร้องไห้คร่ำครวญดังระงมไปทั่ว ด้านพระโพธิสัตว์กลับยืนนิ่ง ญาติ ๆ ต่างกล่าวติเตียนอย่างเดือดดาล เมื่อพระโพธิสัตว์ได้ฟังคำของญาติ จึงกล่าวว่า "ท่านทั้งหลายไม่รู้จักโลกธรรม 8 ประการ เพราะความที่ตนเป็นคนบอดเขลา จึงพากันร้องไห้ว่า พี่ชายของเราตาย แม้เราเองก็จักตาย เพราะเหตุไรท่านทั้งหลายจึงไม่ร้องไห้ถึงเราบ้างว่า ผู้นี้ก็จักตาย แม้ท่านทั้งหลายก็จักตาย เพราะเหตุไรจึงไม่ร้องให้ถึงตนเองบ้างว่า แม้เราทั้งหลายก็จักตาย ๆ สังขารทั้งปวงย่อมเป็นของไม่เที่ยง แม้สังขารอย่างหนึ่งซึ่งสามารถดำรงอยู่ตามสภาวะนั้นนั่นแหละย่อมไม่มี ท่านทั้งหลายเป็นผู้บอดเขลา ไม่รู้จักโลกธรรม 8 ประการจึงพากันร้องไห้ เพราะความไม่รู้ เราจักร้องไห้เพื่ออะไรกัน.” #ปัญจุโปสถิกชาดก #มตโรทนชาดก
- ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ณ พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดละมั่งอาศัยอยู่ในป่า พระราชาทรงพอพระหฤทัยในการล่าเนื้อทรงเห็นตัวละมั่งตัวหนึ่ง และหมายมั่นที่จะล่าเอาให้ได้ ทรงวิ่งติดตามไปถึงในป่า ณ หนทางที่ละมั่งวิ่งไป มีบ่อลึกเป็นเหว ในบ่อนั้นมีน้ำ และหญ้าคลุมปกปิดมิดชิด พระเจ้าพรหมทัตไม่ทราบว่ามีบ่อลึกอยู่ข้างหน้า พระองค์วิ่งมาอย่างเร็วไม่ทันได้หลบจึงตกลงไปในหลุมนั้น หากแต่ละมั่งผู้มีจิตอารีกลับช่วยพระองค์ให้พ้นภัย แม้พระองค์นั้นคือผู้ล่าที่ต้องการชีวิตของตน #สรภชาดก
- เมื่อพระโพธิสัตว์เป็นพราหมณ์ชื่อว่าสังขะ เป็นผู้มั่งคั่ง และมีโภคทรัพย์มาก จึงได้สร้างโรงทาน 6 แห่ง รวมถึงการสละทรัพย์วันละ 6 แสนให้ทานแก่คนกำพร้าและคนเดินทางทุกวัน ในขณะที่ทรัพย์ยังไม่สิ้นไป จึงวางแผนที่จะเดินเรือไปค้าขายที่สุวรรณภูมิ ในระหว่างนั้นได้พบพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงคิดยินดีว่าบุญเขตนี้มาถึงตนผู้ต้องการบุญแล้ว และได้ถวายร่มและรองเท้าแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อสังขพราหมณ์กำลังเดินเรืออยู่กลางมหาสมุทร ก็พบกับภัยพิบัติทำให้เรือแตก แต่ด้วยอานิสงส์แห่งการถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า จึงทำให้ปลอดภัยจากภัยพิบัตินั้นได้ #สังขชาดก #อยกูฏชาดก
- เมื่อครั้ง พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว บิดามารดาได้ทำการมงคลสมรสให้แก่พระโพธิสัตว์ และนางสัมมิลลหา แม้คนทั้งสองจะนอนอยู่บนที่นอนเดียวกันก็เหมือนพรหม 2 องค์อยู่ในที่เดียวกัน เมื่อกาลล่วงมาบิดามารดาได้ทำกาลกิริยาตายลง พระโพธิสัตว์นั้นกระทำการฌาปนกิจสรีระของบิดามารดาแล้ว คนทั้งสองนั้นจึงสละทรัพย์ทั้งหมดเข้าไปยังหิมวันตประเทศเพื่อบวชเป็นฤาษี วันหนึ่งนางปริพาชิกาเกิดอาพาธ และอ่อนกำลังลง พระโพธิสัตว์ได้พยุงนางนำไปยังประตูพระนคร แล้วให้นอนบนแผ่นกระดาน ณ ศาลาหลังหนึ่ง นางได้ทำกาลกิริยาตายไป พระโพธิสัตว์เที่ยวภิกขาแล้วกลับมารู้ว่านางตายจึงดำริว่า “สิ่งที่มีอันจะแตกไปเป็นธรรมดา ย่อมแตกไป สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงหนอ” #อนนุโสจิยชาดก #เสคคุชาดก #ปัณณิกชาดก
- เมื่อพระโพธิสัตว์เกิดเป็นนกพิราบ ห้อมล้อมด้วยนกพิราบบริวารจำนวนมาก พากันอาศัยอยู่ในถ้ำ มีชฎิลโกงคนหนึ่งได้มาอาศัยอยู่ใกล้ที่อยู่ของนกพิราบ ฝ่ายพระโพธิสัตว์นกพิราบเห็นชฎิลผู้นั้นก็เข้าไปทำการไหว้แล้วปฏิสันถาร ในวันหนึ่ง ชาวบ้านได้ปรุงเนื้อนกพิราบถวายชฎิลโกงนั้น เขาติดใจด้วยตัณหาความอยากในรสแห่งเนื้อของนกพิราบ จึงคิดว่านกพิราบจำนวนมากมายังอาศรมบทของเรา เราจะฆ่านกพิราบเหล่านั้นเพื่อกินเนื้อ ชฎิลผู้ทรงศีลแต่กลับมีจิตคิดเบียดเบียน คิดหากลวิธีต่าง ๆ เพื่อประทุษร้ายผู้อื่น เหตุเพราะกิเลสบังใจ #โรมชาดก #มูสิกชาดก #สันธิเภทชาดก
- พระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดเป็นนก มีฝูงนกห้อมล้อมมากมาย โดยอาศัยอยู่ที่เกาะกลางมหาสมุทร เมื่อพ่อค้าชาวกาสิกรัฐพากันแล่นเรือมายังมหาสมุทร โดยเอากาบอกทิศติดเรือไปด้วย เมื่อเรือแตกกลางมหาสมุทรเจ้ากาบอกทิศบินไปถึงเกาะที่ฝูงนกอาศัยอยู่ กาเจ้าเล่ห์คิดว่าจักทำการโกหกแล้วกินไข่ และลูกอ่อนของนกฝูงนี้ มันจึงรีบบินร่อนลงแล้วยืนขาเดียวอ้าปากอยู่ที่พื้นดินท่ามกลางฝูงนก นกทั้งหลายต่างถามว่าท่านเป็นใคร เจ้ากาจึงรีบโกหกไปว่าฉันเป็นผู้ประพฤติธรรม เจ้ากาแสร้งเป็นผู้มีวาจาอันอ่อนหวานหากแต่หวังประทุษร้ายต่อฝูงนกนั้น #ธัมมัทธชชาดก
- พระเจ้าพรหมทัตผู้ปกครองนครพาราณสี มีอัครมเหสีผู้สวยงามชวนหลงไหลยิ่ง เมื่อถึงคราวสวามีจะต้องออกทัพไปปราบศึก นางจึงขอให้พระสวามีส่งคนมารายงานทุกข์สุขของพระองค์เป็นระยะมิให้ขาด เมื่อพระราชาเดินทัพทางไกล ก็รีบส่งม้าเร็วนำข่าวมาส่งแก่อัครมเหสีตามที่ให้สัญญาไว้ ในทุก ๆ โยชน์ที่ทัพกษัตริย์เดินทางไปก็จะมีทหารมาส่งข่าวแก่พระมเหสี 1 คน ซึ่งพระนางนั้นกลับทำการนอกใจพระราชาทุกครั้งไป ในวันที่รอรับเสด็จพระราชานั้น ปุโรหิตต้องเข้าไปตรวจตราความเรียบร้อย พระนางต้องการปุโรหิตผู้นั้น หากแต่ปุโรหิตผู้มีปัญญาจักไม่กระทำกรรมอันเลวร้ายเพียงเพราะกิเลสนำไป #พันธนโมกขชาดก #อุทปานทูสกชาดก
- พระเจ้าทัฬหธรรมแห่งนครพาราณสี มีช้างคู่กายชื่อว่า โอฏฐิพยาธิ มีความสามารถ และรับใช้พระองค์มานาน พระองค์จึงทรงเลี้ยงดูช้างนั้นเป็นอย่างดี ไม่นานพระราชาก็เริ่มไม่สนใจในช้างตัวนี้ โอฏฐิพยาธิรู้สึกเสียใจมาก อยู่มาวันหนึ่งขณะที่มันออกจากพระนครได้พบกับท่านอำมาตย์ โอฏฐิพยาธิจึงหมอบลงแทบเท้าของท่าน ด้วยความสงสารท่านอำมาตย์จึงรับปากจะช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ไม่นานท่านได้เข้ากราบทูลแก่พระราชา พระองค์ตรัสว่าได้ให้ช่างปั้นหม้อไปแล้ว ท่านอำมาตย์จึงทูลว่าพระราชาจะพระราชทานอะไรก็ได้ไม่ผิด แต่ไม่ควรพระราชทาน ช้างที่มีบุญคุณต่อพระองค์มหาศาลเช่นนี้ เหตุเพราะควรจะรู้คุณ #ทัฬหธรรมชาดก #สีลวนาคชาดก #พยัคฆชาดก
- พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ มีเหล่าลูกศิษย์ 500 คน เล่าเรียนศิลปะอยู่ในเมืองตักกสิลา แคว้นคันธาระ วันหนึ่งเหล่าลูกศิษย์พากันเข้าป่าไปหาฟืน แต่มีมานพผู้เกียจคร้านอยู่คนหนึ่ง เขาถือโอกาสที่เพื่อนๆ เข้าป่าหักฟืนไปหลับอยู่ใต้ต้นไม้ เมื่อเพื่อนๆ มัดฟืนแล้ว ก็ต่างหาบฟืนเดินผ่านไป และใช้เท้าเตะปลุกเขาเพื่อให้ตื่น เมื่อตื่นขึ้นด้วยความรีบร้อน เขาจึงปีนขึ้นต้นกุ่มเหนี่ยวกิ่งตรงหน้า ได้กิ่งไม้สดกิ่งหนึ่งก็เหนี่ยวลงมาหักเพราะนึกว่าเป็นกิ่งไม้แห้ง กิ่งไม้นั้นก็ดีดตาข้างหนึ่งของเขา เหตุเพราะความรีบร้อนในกิจที่ควรกระทำก่อนกลับทำภายหลัง จนนำโทษมาสู่ตน #วรุณชาดก #คชกุมภชาดก #ปูฏทูสกชาดก #มหิสชาดก #รถลัฏฐิชาดก #อสังกิยชาดก
- พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลเศรษฐี และเมื่อเจริญวัยมีครอบครัวพร้อมด้วยบุตรธิดา จึงได้สู่ขอธิดาของเศรษฐีกรุงพาราณสีให้แก่บุตรชายของตน เมื่อถึงวันที่กำหนดแล้ว ธิดาเศรษฐีได้เห็นเครื่องสักการะของโค นางจึงถามพี่เลี้ยงว่าด้วยเหตุใดจึงประดับโคตัวนี้ถึงเพียงนี้ พี่เลี้ยงจึงได้บอกไปว่าเขาเรียกโคอุสภราช นั้นคือ โคที่เป็นใหญ่กว่าโคทั้งหลาย นางจึงคิดว่าโคที่ได้รับยกย่องว่าเป็นใหญ่ จะมีโหนกที่หลัง ถ้าเช่นนั้นชายผู้เป็นใหญ่ ก็คงจะมีโหนกขึ้นกลางหลังเช่นกัน วันหนึ่งเมื่อเห็นชายหลังค่อมจึงเข้าใจว่าชายคนนี้เป็นบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ จึงใช้พี่เลี้ยงไปบอกเขาให้ไปรออยู่ปากทาง และลูกสาวเศรษฐีได้หนีตามชายค่อมนั้นไป เหตุเพราะด้วยรักคนผิด
- เมื่อกาลนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาไก่ป่า มีไก่เป็นบริวารหลายร้อยตัว พากันอาศัยอยู่ในป่าลึกแห่งหนึ่ง ใกล้กันนั้นมีนางแมวตัวหนึ่งอาศัยอยู่ นางแมวป่ามันเที่ยวใช้อุบายล่อลวงจับไก่ป่ากินเป็นอาหารเกือบหมด เมื่อพญาไก่ป่าทราบว่าบริวารถูกนางแมวจับกินก็ไม่ไปใกล้บริเวณนั้น นางแมวป่าจอมมายาจึงต้องดั้นด้นมาหาพญาไก่ป่าเสียเอง มันเดินย่องเข้าไปใต้คอนไม้ที่พญาไก่ป่าจับอยู่ กล่าววาจาหว่านล้อมต่างๆ เพื่อหลอกล่อให้พญาไก่ป่าเข้ามาใกล้ หากแต่พญาไก่ป่ารู้ทันเล่ห์เหลี่ยมของมัน เมื่อมันรู้ว่าพญาไก่ป่าไม่หลงกล ก็รีบวิ่งหนีกลับไปอย่างผู้ผิดหวัง และไม่กลับไปหากินที่นั่นอีกเลย
- ในกรุงพาราณสี มีชายชาวนาถากถางที่ดินเพื่อเป็นที่นาของตน ซึ่งในอดีตที่ดินแห่งนี้ เคยเป็นที่ตั้งของบ้านเศรษฐีมาก่อน ชาวนาหนุ่มได้ออกไปไถนาตามปกติของทุกวัน ขณะที่กำลังไถนาอยู่นั้นก็ไปสะดุดติดอยู่กับของแข็งท่อนหนึ่ง เขาคิดว่าเป็นรากไม้จึงเอามือขุดคุ้ยก้อนดินดู แต่กลับเป็นแท่งทองคำขนาดใหญ่ฝังอยู่ในดิน ซึ่งทองคำแท่งนี้ เศรษฐีเจ้าของบ้านคนเดิมได้ฝังซ่อนไว้ ชาวนาผู้มีปัญญาจึงคิดที่จะแบ่งแท่งทองนี้ออกเป็นสี่ส่วน ส่วนที่หนึ่ง ขายนำทรัพย์มาเลี้ยงชีพ ส่วนที่สอง เก็บไว้ยามขัดสน ส่วนที่สาม เป็นทุนค้าขาย ส่วนที่สี่ ทำบุญให้ทาน เพราะเหตุนี้แท่งทองของหนักจึงเป็นเหมือนของเบา
- ในอดีตมีพระราชาพระนามว่า ธนัญชยโกรัพยะ ครองราชสมบัติในอินทปัตตนคร มีปุโรหิตชื่อสุจีรตพราหมณ์ เป็นผู้กล่าวสอนอรรถธรรมแก่พระองค์ วันหนึ่งพระองค์ทรงถามปัญหาชื่อธัมมยาคะ จึงเชิญสุจีรตพราหมณ์มาตรัสถามคาถาดังกล่าว สุจีรตพราหมณ์ไม่อาจตอบปัญหานี้ได้จึงเชิญพระองค์เสด็จไปพบราชปุโรหิตของพระเจ้าพาราณสี หากแต่ราชปุโรหิตก็ไปอาจตอบปัญหานี้แก่พระองค์ได้ พระองค์จึงถูกเชิญเสด็จไปยังนิเวศน์ของภัทรการมาณพ ปัญหานั้นก็ไม่อาจถูกถกให้หายข้องใจได้ พระราชาผู้มีธรรมทรงเสด็จจากตำบลหนึ่งสู่ตำบลหนึ่งเพียงเพราะต้องการพบบัณฑิตผู้มีปัญญา
- พระโพธิสัตว์ได้เกิดเป็นชายชาวนา อาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งของกรุงพาราณสี มีพ่อค้าบรรทุกสินค้าบนหลังลาเดินทางมายังหมู่บ้านเพื่อค้าขาย พ่อค้าได้เอาหนังราชสีห์คลุมหลังลาไว้แล้วปล่อยให้ไปกินข้าวในทุ่งของชาวนา ส่วนตนเองออกขายสินค้าในหมู่บ้านนั้น เมื่อชาวนาเห็นเจ้าลากินข้าวก็ไม่กล้าเข้าไปไล่ เพราะนึกว่าเป็นราชสีห์ จึงรีบเร่งไปบอกญาติพี่น้องให้มาช่วยไล่ราชสีห์ที่ทุ่งนาของตน ชาวนาต่างพากันถืออาวุธ รัวกลอง โห่ร้องไล่ เมื่อเจ้าลาได้ยินเสียงนั้นเกิดความหวาดกลัวจึงร้องออกมาเป็นเสียงลา ชาวนาต่างได้รู้ว่าราชสีห์ที่พวกตนเกรงกลัว ที่แท้นั้นคือ ลา
- ในกาลเมื่อพระโพธิสัตว์บังเกิดในพระครรภ์อัครมเหสีของพระเจ้าพรหมทัตแห่งเมืองพาราณสี เมื่อพระบิดาสิ้นชีวิตแล้วก็ดำรงอยู่ในราชสมบัติ ปกครองเมืองด้วยทศพิธราชธรรม บำเพ็ญทาน รักษาศีลอุโบสถสม่ำเสมอ มีอำมาตย์ผู้หนึ่งก่อการประทุษร้ายขึ้นภายในพระราชวัง เหล่าข้าราชบริพารจึงกราบทูลแก่พระราชา เมื่อสืบสวนแล้วทรงดำริให้อำมาตย์นั้นไปอยู่ยังเมืองอื่น อำมาตย์ผู้นั้นด้วยความคับแค้นใจจึงเข้าร่วมกับพระราชาโจร ยกทัพมาจับพระราชาผู้มีศีลไว้ในเรือนจำ และจองจำพระองค์ด้วยโซ่ตรวน หากแต่องค์ราชากลับถือเอาประโยชน์จากสิ่งที่หาประโยชน์มิได้ในเรือนจำนั้น ยังความเร่าร้อนให้เกิดขึ้นในกายของพระราชาโจรผู้นั้น ด้วยอำนาจแห่งเมตตาภาวนา
- พระเจ้ากุสราชลุ่มหลงรูปโฉมของนางประภาวดี ด้วยว่าพระนางนั้นทรงมีพระรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระสรีระคล้ายแสงดวงอาทิตย์ หากแต่พระนางประภาวดีนั้นมิได้มีใจปรารถนาในพระเจ้ากุสราชเลย พระองค์จึงปลอมตนเป็นเจ้าพนักงานหาบกระเช้าเครื่องเสวยและเสด็จขึ้นไปยังปราสาทที่ประทับของพระนางประภาวดี แต่พระนางกลับไม่สนใจใดๆ อาหารที่พระเจ้ากุสราชปรุงมานั้นก็ให้นางค่อมบริโภคแทนพระองค์ พระเจ้ากุสราชทรงกระทำทุกวิธีเพื่อให้พระนางรับรัก หากแต่ด้วยแรงอธิฐานในอดีตส่งผลให้พระเจ้ากุสราชทรงสู้ยอมทนทุกข์เพราะความรัก
- พระนางสีลวดีมเหสีของพระเจ้าโอกกากราชได้ประสูติโอรส ชื่อว่า กุสติณราชกุมาร และชยัมบดีราชกุมาร พระเจ้ากุสราชนั้นทรงมีความสามารถและสติปัญญามาก ครั้นชันษาได้ 16 ปี พระบิดาทรงจะมอบราชสมบัติให้ จึงปรึกษากับพระนางสีลวดีจะจัดหาธิดากษัตริย์ต่างเมืองให้เป็นชายา พระเจ้ากุสราชรู้ว่าตนนั้นรูปร่างไม่งาม คงไม่มีหญิงใดสนใจ จึงปฏิเสธที่จะมีคู่ครอง และให้นางกำนัลไปทูลว่าตนไม่ต้องการราชสมบัติ เมื่อพระบิดามารดาสิ้นพระชนม์ตนก็จะออกบวช พระองค์จึงทำอุบายนำทองคำไปปั้นเป็นรูปหญิงงาม แล้วให้คนนำไปถวายพระมารดาและฝากทูลว่าหากได้หญิงงามเช่นรูปทองก็จะยอมอภิเษกด้วย พระมารดาจึงสั่งให้เหล่าอำมาตย์นำรูปทองนั้นไปยังเมืองต่างๆ เพื่อเสาะหาหญิงงามผู้นั้น จนได้พบกับพระนางประภาวดี หากแต่รักนั้นกลับต้องทนทุกข์เหตุ เพราะบุพกรรมในอดีตชาติของทั้งสอง
- ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์กำเนิดในตระกูลตัวเงินตัวทอง มีบริวารหลายร้อยตัวคอยรับใช้ พากันอาศัยอยู่ในโพรงใหญ่ใกล้ฝั่งแม่น้ำ บุตรของพระโพธิสัตว์นั้นชื่อว่า “โคธปิลลิกะ” เป็นเพื่อนเกลอกันกับกิ้งก่าตัวหนึ่ง จึงขึ้นทับเจ้ากิ้งก้าด้วยคิดว่าจักกอดกิ้งก่าตัวนั้น ฝูงตัวเงินตัวทองนำความไปบอกแก่หัวหน้าฝูงถึงความสนิทสนมระหว่างโคธปิลลิกะกับกิ้งก่า ท่านจึงเรียกบุตรมาหา และตักเตือนด้วยความรักว่า ธรรมดากิ้งก่าทั้งหลายมีกำเนิดต่ำไม่ควรทำความสนิทสนมมากนัก หากขืนทำความสนิทสนมกับกิ้งก่าอยู่จักต้องพินาศ เพราะกิ้งก่าแน่นอน หากแต่โคธปิลลิกะก็ยังคงไม่สนใจยังให้ความสนิทสนมเช่นเคย เจ้ากิ้งก่าเมื่อนานวันเข้ากลับคิดว่า ถ้าโคธปิลลิกะยังกอดทับอยู่อย่างนี้ ตนต้องได้รับความลำบากถึงตายเป็นแน่ จึงร่วมมือกับนายพรานคนหนึ่งเพื่อล้างตระกูลนี้ให้สิ้น
- ในอดีตกาลพระเจ้าพรหมทัตปกครองนครพาราณสี มีพระโอรสพระนามว่า “ชนสันธกุมาร” เมื่อพระกุมารทรงเจริญวัยขึ้น ได้ศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาทั้งหลายจนสำเร็จ ในกาลต่อมาเมื่อพระเจ้าพรหมทัตราชบิดาสวรรคตแล้ว พระเจ้าชนสันธราชจึงได้ขึ้นครองราชย์ และทรงรับสั่งให้สร้างโรงทานหกแห่ง ทรงบำเพ็ญมหาทานจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วชมพูทวีป พระองค์ทรงรับสั่งให้เปิดเรือนจำ เพื่อให้นักโทษได้มาฟังธรรม ทรงสงเคราะห์โลกด้วยสังคหวัตถุสี่ รักษาศีลห้า อยู่จำอุโบสถ ครองราชสมบัติโดยธรรม เมื่อชาวเมืองมาประชุมกัน ทรงแสดงธรรมแก่ชาวเมือง ว่า “ท่านทั้งหลายจงให้ทาน จงสมาทานศีล จงประพฤติธรรม จงประกอบการงานและการค้าขายโดยธรรม ทรงแสดงธรรมสำหรับเด็กว่า จงเรียนศิลปวิทยา จงแสวงหาทรัพย์ อย่าคดโกง อย่าทำความส่อเสียด อย่าเป็นคนดุร้ายหยาบช้า จงบำรุงมารดาบิดา มีความเคารพอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล” นครพาราณสีจึงเป็นนครแห่งธรรม เหตุเพราะพระองค์ได้ทำมหาชนให้ตั้งอยู่ในสุจริตธรรม
- มโหสถได้โยกสลักยนต์ เพื่อปิดประตูอุโมงค์ลับ ทันใดนั้นประตูทุกบานต่างถูกปิดลงพร้อมกัน เหล่าพระราชาผู้ตามเสด็จต่างตระหนกตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สะดุ้งหวาดกลัวต่อมรณภัยที่มาถึงด้วยกันทั้งสิ้น ด้วยสติปัญญาอันชาญฉลาดของมโหสถบัณฑิต จึงสามารถแก้ไขวิกฤตการณ์จากร้ายให้กลายเป็นดี เปลี่ยนศัตรูผู้จ้องผลาญกลายเป็นมิตรแท้ผู้เกื้อกูลได้ นอกจากมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดแล้ว ยังประกอบด้วยคุณธรรมอันประเสริฐ มิได้ลุ่มหลงในลาภยศสรรเสริญ จึงได้รับยกย่องสรรเสริญว่าเป็นบัณฑิตผู้มีปัญญา
- เหล่าทหารของมโหสถนำเสด็จกษัตริย์ทั้งสี่พระองค์มาถึงเชิงบันได แล้วช่วยกันเปิดปากประตูอุโมงค์ลับ หลังจากนั้นจึงทูลเชิญให้เสด็จพระราชดำเนินไปตามทาง เพื่อนำไปเป็นตัวประกัน ธรรมดาของมนุษย์ผู้ที่ยังหลงใหลติดอยู่ในกามคุณ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เมื่อพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ย่อมโศกเศร้า เสียใจ ทุกข์ทรมานแสนสาหัส เมื่อลุ่มหลงพันผูกอยู่กับความสุข ย่อมทุกข์ทรมานไม่แตกต่างกัน เปรียบเหมือนกับปลาติดแหของชาวประมง ที่เขาเอาเหยื่อมาหลอก มาล่อ ย่อมมีความทุกข์อยู่ตลอดเวลา วิสัยของบัณฑิตย่อมปลดเปลื้องความล่อลวงด้วยปัญญา
- มโหสถเปิดเรือนจำถอดโซ่ตรวนให้กับเหล่านักโทษ เพื่อระดมไปสร้างอุโมงค์ลับ และรวบรวมเหล่าช่างแขนงต่างๆ ที่มีความสามารถเชี่ยวชาญในศิลปะนั้นๆ ส่วนผู้ที่ชำนาญในการสู้รบก็คัดเลือกเข้าไว้ในกองทัพ เมื่อเดินทางถึงแผ่นดินของศัตรู มโหสถได้วางแผนในการสร้างอุโมงค์ลับที่ใหญ่โตมโหฬาร เพียบพร้อมไปด้วยกลไกควบคุม บัณฑิตย่อมตั้งอยู่ในความไม่ประมาทในการงาน มีสติเตือนตนอยู่เสมอ ไม่ท้อถอย ตระหนักถึงสิ่งที่ต้องกระทำ ใส่ใจอยู่ในหน้าที่ ไม่ปล่อยปละละเลย กระทำอย่างจริงจัง นั่นคือ วิสัยของผู้เป็นบัณฑิต
- มโหสถส่งนกแก้วแสนรู้ไปสืบความลับจากนางนกสาริกา ด้วยเหตุว่า พระเจ้าจุลนีทรงมุ่งหมายจะปลงพระชนม์ชีพของพระเจ้าวิเทหราช จึงนำพระราชธิดามาหลอกล่อเหมือนพรานผู้นำเหยื่อมาล่อลวง เปรียบดังปลาที่อยู่ในน้ำลึก อยากกินของสดซึ่งเขาทำเป็นเหยื่อติดไว้ที่เบ็ด มันย่อมไม่รู้จักความตายของมันฉันใด ความปรารถนาในกามทำให้พระองค์ไม่ทรงทราบว่า พระราชธิดาของพระเจ้าจุลนีเป็นเหมือนเหยื่อล่อปลาฉันนั้น ปลาผู้หลงในกามปรารถนาเหยื่อย่อมไม่ระวังภัยที่จะมาถึงตน
- “มีพราหมณ์ผู้นึง เขานั้นเอาศีรษะของตนถูไปถูมากับพื้นดิน ไถไปไถมาจนเลือดไหลนองเต็มศรีษะ” ปัญญาอันเลิศล้ำย่อมทำคุณให้แก่บุคคล ยิ่งกว่าทรัพย์มหาสมบัติ ผู้ที่มีสติปัญญา คิดวางแผนไตร่ตรองอย่างรอบคอบ มีความไม่ประมาทในชีวิต ย่อมรักษาตนและคุ้มครองผู้อื่นได้ด้วยอนุภาพแห่งสติปัญญานั้น
- “นกแก้วแสนรู้ตัวหนึ่ง แฝงตัวจับอยู่ที่กิ่งต้นรังในอุทยานของพระราชา ณ ใต้ต้นรังนั้นมีแผ่นศิลาที่พระองค์ทรงประทับตั้งอยู่ เจ้านกแก้วเฝ้าแอบฟังบทสนทนาอย่างตั้งใจ” การรู้เท่าทันถึงมหันตภัยที่จะมาถึงตนอย่างไม่ประมาท หาทางป้องกันภัยนั้นมิให้เกิดขึ้นกับตนได้ นั้นเป็นวิสัยของบัณฑิต เปรียบเหมือนบุคคลผู้เห็นสัตว์ร้ายมาแต่ไกล ย่อมหาหนทางที่จะขับไล่สัตว์ร้ายนั้นด้วยก้อนดินหรือท่อนไม้ ผู้ที่ฉลาดย่อมมองเห็นภัยนั้นแต่ไกล
- “ถังข้าวสารใบใหญ่ใบนึง ตั้งอยู่ที่มุมห้องในท้องพระโรงของพระราชวัง มีชายหนุ่มผู้นึงแอบเข้าไปซ่อนตัวอยู่ในถังข้าวสารใบนั้น ทั้งอับ ทั้งร้อน แต่เพื่อที่เขาจะได้ทราบเบาะแสอะไรบางอย่าง ชายหนุ่มจึงแอบอยู่ข้างในนั้น” การปกปิดความลับไว้นั่นแหละเป็นการดี การเปิดเผยความลับแก่ผู้อื่น โดยเฉพาะแก่บุคคลผู้ที่มิใช่มิตรนั้น บัณฑิตไม่สรรเสริญเลย บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อประโยชน์ที่มุ่งหมายยังไม่สำเร็จตามที่ตนปรารถนา ก็พึงอดทนกลั้นไว้ไม่พึงเปิดเผยความลับนั้นเป็นอันขาด ต่อเมื่อประโยชน์ที่ตนมุ่งหมายสำเร็จเรียบร้อยแล้ว จึงพึงเปิดเผยแก่คนทั้งปวง นั้นเรียกว่า ผู้มีปัญญา
- “นายช่างปั้นหม้อผู้นึง ตามเนื้อตัวของเขาเปรอะเปื้อนไปด้วยดินเหนียวแลดูมอมแมมนัก ครั้นเมื่อเสร็จภาระการงานแล้ว ก็กลับมานั่งบริโภคอาหารที่มีเพียงข้าวเหนียวไม่มีแกง ทำกิจการงานไปก็รอคอยราชทูตนำข่าวสารมาส่งให้” อานุภาพแห่งปัญญานั้น ย่อมทำให้บุคคลผู้มีปัญญาไม่กระทำชั่ว เพื่อให้ได้ความสุข ย่อมไม่สละธัมม์ด้วยความรักหรือความชัง เปรียบดังบุคคลที่ได้รับการเกื้อหนุนอุปการะจากผู้ใด ย่อมไม่ทำให้ไมตรีนั้นเสียไปด้วย ความโง่เขลา หรือความหลงในยศอำนาจ อิสริยยศแม้จะวิเศษเพียงไร ก็ไม่อาจนำมาเปรียบกับแสงสว่างของปัญญาได้
- เจ้าแพะตัวนึงเดินหลังแอ่น คอตกมาตามทาง ระะหว่างทางเจ้าแพะผู้โชคร้ายเจอเข้ากับสุนัขซึ่งก็เดินคอตก หลังแอ่น เพราะถูกเอาท่อนไม้ตีลงที่หลังมาเหมือนกันกับตน ทั้งสองจึงปรับทุกข์แก่กันและกัน อัญมณีทั้งปวงเป็นสิ่งที่มนุษย์ให้คุณค่ามาก บุคคลใดมีไว้ในครอบครองย่อมถือว่าเป็นศิริแก่ตน เหตุเพราะบุคคลที่มีอัญมณีไว้ในครอบครองนั้น ย่อมได้รับการสรรเสริญว่าเป็นผู้ที่มีฐานะ หากแต่บัณฑิตทั้งหลายนั้นสรรเสริญผู้มีปัญญาว่า มีทรัพย์อันประเสริฐล้ำเลิศกว่าอัญมณีใดๆ ในโลก เหตุเพราะปัญญาเป็นดั่งรัตนะของนรชน คือ ผู้มีปัญญาเป็นผู้มีแก้วประเสริฐสารพัดนึก ผู้มีปัญญาย่อมขวนขวายหาทรัพย์ได้ หากแม้ตกอยู่ในภัยพิบัติ ก็สามารถพลิกผันชีวิตให้ประสบความสุขสำเร็จได้ทุกเมื่อ ปัญญานั้นย่อมประเสริฐกว่ารัตนะทั้งปวง
- มีฬาตัวหนึ่งเที่ยวเดินไปเดินมาอยู่ที่ริมคูในเมืองมิถิลา เด็กน้อยต่างช่วยกันผูกฬาตัวนั้นที่ปาก เพื่อไม่ให้มันร้องแล้วห่อด้วยเสื่อลำแพนป้องกันไม่ให้ใครเห็น เด็กน้อยกลุ่มนั้นก็พากันแบกเจ้าฬาไปทูลถวายแด่พระราชา เหตุจากพระราชาต้องการม้าอัสดร หากแต่ฬานั้นประเสริฐกว่าม้าอัสดร ปัญญาเป็นแสงสว่างอันประเสริฐ แม้แสงอาทิตย์ส่องสว่างในเวลากลางวัน แสงจันทร์นั้นสว่างในเวลากลางคืน หากแต่แสงสว่างแห่งปัญญาเป็นแสงสว่างที่ไม่มีวันดับหรือหรี่ลงได้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วสามารถนำไปใช้ได้ตลอดทั้งกลางวัน และกลางคืน กล่าวได้ว่า แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี
- “สตรี 2 นาง กำลังยื้อแย้งทารกน้อยกันอยู่ คนนึงดึงเท้าอีกคนดึงส่วนหัวของทารกอย่างสุดกำลัง ครั้นทารกน้อยถูกชักเย่อไปมาเช่นนั้น ก็เหมือนดั่งตุ๊กตาที่ขาและลำตัวกำลังจะหลุดขาดออกจากกัน จึงส่งเสียงร้องไห้เพราะความเจ็บปวดทรมาน” ปัญญาเปรียบดั่งแสงสว่างอันประเสริฐ บุคคลผู้ดำรงชีวิตโดยใช้ปัญญานำทาง ย่อมไม่ต่างกับการเดินทางในตอนกลางคืนแต่มีคบไฟส่องสว่าง ย่อมมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ในทางตรงกันข้ามหากบุคคลดำเนินชีวิตไร้ซึ่งสติและปัญญาแล้ว ย่อมไม่ต่างกับการเดินทางบนถนนอันมืดมิด อันตรายย่อมเกิดแก่ชีวิตตน
- ทารกน้อยกำเนิดมาพร้อมกับถือรากไม้ออกมาด้วย ผู้เป็นมารดาเห็นดังนั้นจึงรำพึงขึ้นว่า “ลูกเพิ่งคลอดออกจากครรภ์แม่ เจ้าถืออะไรมาด้วย” ทารกน้อยคนนั้นตอบผู้เป็นมารดาว่า “รากไม้นี้ คือ โอสถจ๊ะแม่” แท่งโอสถนั้นสามารถนำมารักษาโรคต่างๆ ได้ บิดาจึงตั้งชื่อให้ทารกว่า มโหสถกุมาร เมื่อมโหสถเติบโตขึ้นมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดกว่าเด็กในวัยเดียวกัน ครั้งหนึ่งมโหสถเห็นว่าในเวลาฝนตก ตน และเพื่อนทั้งหลายต้องหลบฝนเล่นไม่สนุก จึงขอให้เพื่อนทุกคนนำเงินมารวมกันเพื่อสร้างสถานที่เล่น มโหสถจัดการออกแบบอาคารนั้นอย่างวิจิตรงดงาม นอกจากจะเป็นที่เล่น ที่กิน และที่พักสำหรับคนที่ผ่านไปมาแล้ว ยังจัดสร้างห้องวินิจฉัยคดีด้วยความที่มโหสถเป็นเด็กฉลาดเกินวัย จึงมักมีผู้คนมาขอให้ตัดสินปัญหาข้อพิพาทอยู่เสมอ ทำให้ชื่อเสียงของมโหสถเลื่องลือไปทั่วกรุงมิถิลา จนพระราชาแห่งมิถิลานครปรารถนาจะรับไปอยู่ในราชสำนัก เหตุเพราะเป็นผู้มีปัญญามาก
- มีกาสามีภรรยาคู่หนึ่งที่มีความรักใคร่กลมเกลียวกันมาก สามีภรรยาต่างช่วยกันปกครองฝูงกาเป็นอย่างดี วันหนึ่งนางกาสุปัสสาภรรยาบินไปใกล้โรงครัว ได้กลิ่นอาหารหอมหวานชวนชิมเกิดอยากกินประกอบกับการที่ตนแพ้ท้องอยู่ จึงบอกสามีพญากาสุปัตต์ว่า หากตนไม่ได้กินอาหารวันนี้อาจตายก็เป็นได้ พญากาสุปัตต์จึงส่งเสนาบดีชื่อ กาสุมุขะ ไปยังโรงครัว เมื่อถึงเวลาพ่อครัวนำอาหารไปถวายพระราชา กาสุมุขะได้ให้สัญญาณกับเหล่ากาเพื่อบินลงไปทำร้าย จิกตี จมูกของพ่อครัวให้เป็นแผลเพื่อนำอาหารไปให้นางกาสุปัสสา พระราชาทรงเห็นเหตุการณ์จึงตรัสชื่นชมกาสุมุขะ และได้จัดให้เมืองพาราณสีเป็นเขตอภัยทานแก่สัตว์ทุกชนิด ส่วนพระองค์ดำรงตนรักษาศีลเป็นประจำ
- พระโพธิสัตว์ได้มาเกิดเป็นพระโอรสของพระราชาผู้ปกครองกรุงพาราณสี กุมารน้อยทรงมีนามว่าพระเตมีย์ เมื่อพระองค์เจริญวัยขึ้นเห็นพระบิดาสั่งลงโทษโจรอย่างทารุณ จึงทรงรำลึกชาติได้ว่าครั้งหนึ่งพระองค์ทรงเคยเป็นกษัตริย์ครองราชย์ ครั้นเมื่อตายแล้วต้องไปหมกไหม้อยู่ในนรก จึงรู้สึกหวาดกลัวที่จะต้องเป็นกษัตริย์ต่อจากพระบิดา และต้องสั่งลงโทษผู้คนจนตนต้องตกนรกอีก จึงได้ทรงทำการลวงแกล้งเป็นคนง่อยเปลี้ย หูหนวก และเป็นใบ้ ทำให้ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนกาลกิณี เมื่อมีอายุได้ 16 ปี นายสุนันทสารถีนำขึ้นรถเพื่อไปฝังในป่า พระองค์จึงแสดงตนแก่นายสุนันทว่าไม่ได้เป็นคนง่อยเปลี้ย และได้บวชรักษาศีลอยู่ในป่า พระราชบิดา พระราชมารดา และราษฎรทราบข่าวต่างติดตามมา เมื่อได้ฟังธรรมแล้วก็เกิดจิตเลื่อมใสจึงขอออกบวชตามพระองค์
- เตมิยราชกุมาร พระราชโอรสของพระราชาผู้ครองนครพาราณสี เมื่อพระกุมารถือกำเนิดก็แสร้งทำเป็นคนง่อย เป็นคนหูหนวก และเป็นใบ้ แม้จะถูกทดสอบอย่างไรก็ไม่แสดงอาการให้ปรากฏ เหล่าพราหมณ์ต่างทูลทำนายว่าพระกุมารเป็นคนกาลกิณี หากให้อยู่ในพระราชวังจะมีภัยเกิดขึ้น พระราชาจึงตรัสสั่งให้นำพระกุมารไปฝังเสียที่ป่า โดยมอบให้นายสุนันทสารถีรถม้าบรรทุกพระกุมารไป ในขณะที่กำลังขุดหลุมเพื่อฝังพระกุมารในป่า พระองค์ทรงแสดงให้นายสารถีที่กำลังเร่งขุดหลุมฝังพระองค์เห็นว่า พระองค์ไม่ได้พิการแต่อย่างใดเลย และทรงกล่าวกับนายสุนันทว่า “หากท่านฝังเราเสียในป่า ท่านก็ทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม บุคคลนั่ง หรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่พึงหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนลามก พระราชาเป็นเหมือนต้นไม้ เราเป็นเหมือนกิ่งไม้ ตัวท่านเป็นเหมือนคนอาศัยร่มเงา ถ้าท่านฝังเราเสียในป่า ท่านก็ทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม”
- พระเจ้าพรหมทัตมีมเหสีที่ประพฤตินอกใจ แต่นางไม่ยอมรับจึงสาบานว่าหากนอกใจพระราชา ขอให้เกิดเป็นยักษิณีที่มีหน้าเหมือนม้า หลังจากสิ้นพระชนม์นางได้ไปเกิดเป็นยักษิณีที่มีหน้าเหมือนม้า อาศัยอยู่ที่เชิงเขาเพื่อคอยจับมนุษย์กินเป็นอาหาร วันหนึ่งมีพราหมณ์รูปงามพลัดหลงเข้ามาในเขตของนางยักษิณี เมื่อได้เห็นความงามของพราหมณ์หนุ่ม ก็เกิดความรักใคร่จึงนำตัวไปอยู่ด้วยในถ้ำ ต่อมาพระโพธิสัตว์ได้ถือกำเนิดในครรภ์ของนาง เมื่อเติบใหญ่เด็กน้อยสังเกตเห็นว่าใบหน้าของพ่อต่างกับแม่ เมื่อรู้ความจริงจึงพาบิดาหนี นางยักษิณีรีบตามหาและอ้อนวอนลูกน้อยให้กลับมา ก่อนนางจะสิ้นใจได้สอนมนต์ชื่อ จินดามณี ให้แก่ลูกน้อยเป็นวิชาสังเกตรอยเท้า เป็นความสามารถพิเศษที่ติดตัวไป
- มีพญาวานรตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในป่าลึก มันเที่ยวหากินอยู่ในชายป่าใกล้กับแม่น้ำใหญ่ ซึ่งมีเกาะกลางน้ำที่อุดมสมบูรณ์ ในแม่น้ำนั้นมีจระเข้ผัวเมียอาศัยอยู่ วันหนึ่งนางเห็นพญาวานรกระโจนข้ามแม่น้ำไปหากินที่เกาะ นางปรารถนาอยากกินหัวใจวานรมาก รบเร้าสามีเพื่อให้นำวานรมาเป็นอาหาร หลังจากหาอาหารพญาวานรก็มุ่งหน้ากลับที่อยู่ของตน สังเกตเห็นแผ่นหินที่ผิดไปจากเดิม จึงวางอุบายแกล้งตะโกนเรียกแผ่นหิน เจ้าจระเข้หลงกลจึงขานรับ พญาวานรรู้ได้ว่าเป็นจระเข้นอนอยู่ จึงวางอุบายให้จระเข้อ้าปากรอเพื่อที่ตนจะโดดเข้าไปในปาก ทันทีที่อ้าปากพญาวานรก็รีบเหยียบหัวจระเข้ แล้วถีบตัวข้ามไปยังฝั่งในชั่วพริบตา พญาวานรรอดพ้นจากความตายมาได้เพราะสติปัญญาอันฉลาดหลักแหลม
- ในอดีตกาล มีมาณพน้อยนักฟ้อนชื่อ ปาฏลี อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไม่ไกลจากนครพาราณสีมากนัก วันหนึ่งมีมหรสพในเมือง เขา และภรรยาต่างขับร้องฟ้อนรำเป็นที่ถูกใจของผู้ชม จึงได้ทรัพย์มามากมาย เขานำเงินไปซื้อสุรา และอาหารเป็นจำนวนมาก เมื่อเดินมาถึงริมฝั่งแม่น้ำเห็นน้ำไหลเย็น เขาจึงนั่งกินอาหาร และดื่มสุราจนเมามาย เขาเอาพิณผูกคอแล้วลงน้ำเพื่อจะว่ายข้ามแม่น้ำ น้ำได้เข้าไปตามช่องพิณ และได้ถ่วงเขาจนจมลงใป ภรรยาของเขาจึงคิดว่า สามีของเราจักตายแล้ว เราควรขอเพลงไว้สักบทหนึ่ง เพื่อเอาไว้ขับร้องในการเลี้ยงชีพ ปาฏลีได้กล่าวกับภรรยาว่า “ชนทั้งหลายย่อมรดผู้ที่ได้รับความทุกข์ด้วยน้ำใด ชนทั้งหลายย่อมรดผู้ที่เร่าร้อนด้วยน้ำใด เราจักตายในท่ามกลางน้ำนั้น ภัยเกิดแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว”
- พระเจ้าพรหมทัตผู้ครองนครพาราณสีทรงไม่มีโอรส และธิดาที่จะสืบราชสมบัติ วันหนึ่งพระราชาทรงพบไข่นก 3 ฟอง เป็นไข่ของนกฮูก นกสาลิกา และนกแขกเต้า จึงรับสั่งให้นำลงมาจากต้นไม้ แล้วมอบหมายให้อำมาตย์รับผิดชอบดูแลไข่นกทั้ง 3 ฟองนั้น เมื่อไข่นกฟักออกมาพระองค์ก็ได้ทรงรับลูกนกทั้งสามตัวเป็นโอรส และธิดา ทรงได้ตั้งชื่อนกตัวแรกที่ออกมาจากไข่เป็นตัวผู้ว่า เวสสันดร นกตัวที่สองที่ออกจากไข่เป็นตัวเมียว่า กุณฑลินี และนกตัวที่สามที่ออกจากไข่เป็นตัวผู้ว่า ชัมพุกะ นกทั้งสามได้รับการเลี้ยงดูจนเติบโตอยู่ในบ้านของอำมาตย์ อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาได้เรียกนกทั้งสามเพื่อไปแสดงวาทะข้อแนะนำในการปกครองแก่พระราชา หลังจากที่ได้ฟังแล้วพระราชาทรงตั้งตนอยู่ในโอวาทของมหาสัตว์ ทรงบำเพ็ญบุญกุศล ทานบารมี เป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า เหตุเพราะทรงตั้งมั่นอยู่ในศีล
- มีพรานป่าชื่อ สุระ เที่ยวออกหาของป่าเพื่อนำไปขาย เขาพบต้นไม้ใหญ่ตรงกลางมีโพรงที่เต็มไปด้วยน้ำ และลูกไม้ รวมทั้งข้าวสาลีที่นกทำหล่นไว้ เมื่อฝูงนกกระหายน้ำมักบินมากินน้ำที่โพรงไม้นี้ แล้วมีอาการมึนเมา พรานสุระเห็นก็เกิดสงสัย จึงลองดื่มกินน้ำนั้น เขานำน้ำนั้นไปถวายพระราชา เมื่อทรงเสวยก็เกิดติดใจในรส ราชา ข้าราชการ และชาวเมือง ต่างพากันดื่มกินสุราจนมัวเมาไม่ใยดีในการงาน เมื่อเห็นว่าชาวเมืองไม่มีกำลังทรัพย์ที่จะซื้อสุราของตน พรานป่าจึงนำไปขายที่เมืองอื่น ไม่นานเมืองที่สุราไปถึงก็พังพินาศ จนมาถึงเมืองสาวัตถี ท้าวสักกะเทวาราชจึงจำแลงกายเป็นพราหมณ์ ถือหม้อที่เต็มไปด้วยสุรา และแสดงโทษของการดื่มสุรา เมื่อได้ยินดังนั้นราชา และประชาชนต่างสมาทานศีล บริจาคทาน เป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า เหตุจากรู้โทษของสุราเมรัยที่เป็นประตูสู่อบาย
- ในสมัยพระพุทธเจ้าวิปัสสี มีชายขอทานผู้หนึ่งเที่ยวป่าวร้องชักชวนมหาชนทั้งหลาย ว่า “พวกท่านจงทำบุญ จงสมาทานอุโบสถ ในวันอุโบสถ จงถวายทาน จงฟังธรรม ชื่อว่ารัตนะอย่างอื่นเช่นกับพุทธรัตนะไม่มี พวกท่านทั้งหลายจงทำสักการะรัตนะทั้ง 3 เถิด” เมื่อพระราชาได้สดับ ทรงพระราชทาน ม้า รถ ช้าง และเครื่องประดับให้แก่ชายขอทานผู้นั้น เหตุจากชายผู้นี้ได้กระทำการงานอันไม่มีโทษ และเป็นประโยชน์ต่อมหาชน ผลของการประกาศคุณแห่งรัตนะทั้ง 3 ส่งผลให้ชายขอทานเกิดมาพร้อมกลิ่นกาย และกลิ่นปากที่หอมฟุ้ง
- พระผู้มีพระภาคตรัสเล่าอดีตชาติของพระองค์ เมื่อครั้งเป็นโชติปาลมาณพ ซึ่งมีชาติกำเนิดเป็นพราหมณ์ และสหายรักชื่อฆฏิการะ นายช่างปั้นหม้อ ผู้เป็นอริยสาวกในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ วันหนึ่งฆฏิการะชวนโชติปาลมาณพเดินทางเพื่อไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เขาชวนอยู่หลายครั้งสหายรักก็ไม่ยอมไป กลับกล่าวคำดูหมิ่นว่า “จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเห็นพระสมณะศีรษะโล้นองค์นั้น” จนในที่สุดนายช่างปั้นหม้อซึ่งมีชาติกำเนิดต่ำกว่าถึงกับจับมวยผมของโชติปาลมาณพ เขาจึงเฉลียวใจขึ้นว่า การที่เพื่อนทำความพยายามชักชวนนั้น ก็เพื่อจะชวนไปยังสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าคงต้องมีอะไรสักอย่างเป็นแน่ การชักชวนของสหายในครั้งนี้ทำให้เขามีโอกาสได้ฟังธรรมเทศนาจากพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อได้ฟังจบเขาก็ตัดสินใจออกบวช หากแต่วิบากกรรมที่เคยกล่าวคำดูหมิ่นต่อพระพุทธเจ้าในครั้งนั้น ส่งผลทำให้ในพระชาติสุดท้ายของพระองค์ต้องบำเพ็ญทุกรกิริยา
- พระโพธิสัตว์ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์แห่งเมืองพาราณสี มีชื่อว่า “ธรรมปาลกุมาร” คนในตระกูลนี้ต่างรักษาศีลอุโบสถเป็นประจำ เมื่อเติบโตได้ไปเรียนศิลปวิทยากับอาจารย์ทิศาปาโมกข์ วันหนึ่งลูกชายของอาจารย์ได้เสียชีวิตลง อาจารย์และลูกศิษย์คนอื่นๆ ต่างร้องไห้คร่ำครวญ มีเพียงธรรมปาลกุมาร ผู้เดียวเท่านั้นที่ไม่ร้องไห้ เหล่าลูกศิษย์ต่างสนทนากันว่าเหตุใด ลูกชายของอาจารย์ต้องมาตายเมื่อยังหนุ่ม ธรรมปาลกุมารจึงเล่าว่าในหมู่บ้านของเขามีแต่คนตายในวัยแก่ ตายในวัยหนุ่มนั้นไม่มี เมื่ออาจารย์ได้ฟังจึงต้องการพิสูจน์ความจริง เขาได้นำกระดูกแพะมาเผาแล้วล้างอย่างดีถือติดตัวไปด้วย เมื่อถึงบ้านของธรรมปาลกุมาร ก็เข้าไปพูดคุยกับบิดาแล้วนำกระดูกแพะออกมาพร้อมแจ้งว่าธรรมปาลกุมารได้ตายเสียแล้ว เมื่อบิดาได้ฟังดังนั้นก็ตบมือหัวเราะลั่น กล่าวว่าพวกเราประพฤติธรรม งดเว้นกรรมชั่ว ฟังธรรมของสัตบุรุษ เพราะประพฤติธรรมอย่างนี้พวกเราจึงไม่ตายเมื่อยังหนุ่ม
- มีนางเปรตตนหนึ่ง เวลาเช้าคลอดบุตร 7 ตน เวลาเย็นคลอดอีก 7 ตน แล้วนางก็กลืนกินบุตรของตนเองทั้งหมด แต่ก็ไม่อาจบรรเทาความหิวของนางได้ หัวใจของนางมีแต่ความเร่าร้อนเพราะความโหยหิว เหมือนถูกเผาด้วยไฟอันร้อนหาความเย็นใจไม่มีเลย เหตุจากวิบากแห่งกรรมที่นางนั้นกระทำบาปไว้ ด้วยมีใจประทุษร้ายต่อผู้อื่น และกล่าวมุสาวาทอย่างแรง
- พรานป่าคนหนึ่งกำลังเคี้ยวกินเนื้อปิ้งอย่างอร่อย ด้วยความเค็มของเนื้อทำให้เขากระหายน้ำมาก จึงเดินไปสู่วิหารของพระเถระรูปหนึ่ง เมื่อเปิดหม้อน้ำดื่มกับไม่มีน้ำสักหยด ด้วยความโกรธจึงกล่าววาจาล่วงเกินภิกษุ พระเถระรูปนั้นนำสังข์ใส่น้ำดื่มจนเต็มให้เขาดื่มจนหมด เมื่อดื่มน้ำหมดแล้วเขาเกิดมีจิตสลดกล่าวขอบวช เมื่อบวชแล้วก็มีจิตเร่าร้อนถูกความไม่ยินดีบีบคั้นอยากลากลับไปครองเรือน พระเถระจึงให้ไปตัดไม้สดที่มียางเหนียวทำเป็นกอง และนำไฟจากนรกประมาณเท่าแสงหิ่งห้อยใส่เข้าในกองไม้นั้น ไม้ทั้งกองไหม้โดยฉับพลันเหมือนเผาใบไม้แห้ง พระเถระจึงกล่าวว่า หากสึกไป เธอจักไหม้เหมือนดังไม้นี้ ได้ยินดังนั้นมิลกสามเณรเร่งทำควรเพียรอย่างมาก เพียรพยายามทำสมณธรรมบำเพ็ญปฏิบัติ แม้เมื่อถูกความหลับบีบคั้น เขานำฟางที่ชุ่มน้ำวางไว้บนศีรษะ เพียรพยายามเพื่อให้พ้นจากภัยแห่งไฟนรก
- ในอดีตมีหมู่บ้านช่างไม้ซึ่งมีผู้คนอาศัยอยู่พันครอบครัว พวกเขาพากันไปกู้เงินเพื่อลงทุนทำการค้าแต่ไม่สำเร็จ ทำให้เป็นหนี้มหาศาล ถูกเจ้าหนี้เร่งรัดหนักจึงคิดกันว่าจะพากันไปอยู่ที่อื่น เมื่อตกกลางคืนพากันมารับลูกเมียขึ้นเรือแล้วรีบแล่นสู่มหาสมุทร จนพากันมาถึงเกาะแห่งหนึ่ง บนเกาะนั้นอุดมไปด้วยผลไม้ต่างๆ และมีชายคนหนึ่งอาศัยอยู่ เขาได้เล่าเรื่องทั้งหมดแก่เหล่าช่างไม้ฟัง และบอกว่าภัยอย่างอื่นน่ะไม่มีในเกาะนี้ แต่ว่าเกาะนี้มีเทวดาครอบครอง หากเหล่าเทวดาเห็นอุจจาระ และปัสสาวะของพวกท่านจักพึงโกรธได้ เมื่อจะถ่ายอุจจาระปัสสาวะพึงขุดทรายแล้วก็กลบเสีย ภัยในเกาะนี้มีเพียงเท่านี้อย่างอื่นไม่มี ในวันหนึ่งเหล่าเทวดาโกรธช่างไม้ ได้บันดาลให้คลื่นซัดมาสู่เกาะ มีเหล่าช่างไม้ที่รอดชีวิต และเหล่าช่างไม้ที่ถึงซึ่งความพินาศ เหตุเพราะช่างไม้ผู้ฉลาดได้ทำกิจที่ควรทำก่อน
- มีกษัตริย์ทรงพระนามว่าพระเจ้ากาลิงคราช ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นปุโรหิตชื่อภารทวาชะ เมื่อพระราชาขึ้นครองราชย์พระองค์ทรงช้างเผือกเพื่อเหาะไปหาพระชนกและพระชนนีในป่า เมื่อไปถึงมณฑลต้นศรีมหาโพธิที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ช้างพระที่นั่งไม่สามารถเหาะผ่านมณฑลนั้นได้ ปุโรหิตเห็นดังนั้นก็สงสัยว่าไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ ในอากาศ เหตุใดช้างจึงไม่สามารถผ่านไปได้ จึงลงไปสำรวจดูก็เห็นโพธิมณฑลอันเป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธองค์ จึงเข้าใจว่าชนทั้งหลายแม้แต่ท้าวสักกเทวราชก็ไม่สามารถเหาะเหนือโพธิมณฑลได้ พระราชามีประสงค์จะพิสูจน์ถ้อยคำของปุโรหิต พระองค์ทรงเสด็จลงจากอากาศและทอดพระเนตรเห็นโพธิมณฑล ทรงสรรเสริญปุโรหิตว่าเป็นผู้รู้ผู้เห็นเหตุทั้งปวง แต่ปุโรหิตทูลว่าตนเป็นผู้รู้เหตุทั้งปวงเพราะอาคม แต่พระพุทธองค์ตรัสรู้เหตุทั้งปวงด้วยพระสัพพัญญุตญาณ
- มีราชานามว่า พระเจ้ากาลิงคะ พระองค์ทรงมีกองทหารที่แข็งแกร่ง เป็นที่ยำเกรงของเหล่าราชาทั้งหลาย พระองค์มีประสงค์จะสู้รบ จึงให้พระราชธิดาทั้ง 4 ผู้มีรูปงาม ประทับในราชรถส่งไปตามเมืองต่างๆ และประกาศว่า หากราชาพระองค์ใดปรารถนาราชธิดาของตน ก็ขอให้ประกาศท้ารบ เมื่อมาถึงแคว้นอัสสกรัฐ มีอำมาตย์ผู้มีปัญญา ชื่อ นันทเสน นันทเสนคิดว่าสามารถเอาชนะราชากาลิงคะได้ จึงสั่งให้เปิดประตูรับพระธิดา และนำถวายแด่เจ้าเมือง โดยตนจะขอบัญชาการรบครั้งนี้เอง ฝ่ายราชากาลิงคะใคร่อยากรู้ว่าศึกครั้งนี้จะเป็นเช่นใด จึงปลอมพระองค์เพื่อเข้าไปถามดาบสผู้ทรงศีลว่า หากทำการศึกท่านดาบสคิดว่าผู้ใดจะเป็นผู้ชนะ เมื่อได้ยินคำทำนายก็เกิดความประมาทในใจ แต่เหตุใดกันแม้แต่เทวดายังไม่อาจกีดกันความพยายามของมนุษย์ ผู้มีความตั้งใจแน่วแน่ ให้ได้รับชัยชนะในศึกครั้งนี้
- ในกาลก่อน พระโพธิสัตว์ได้ถือกำเกิดเป็นโค ชื่อ นันทิวิสาล อาศัยอยู่กับพราหมณ์ผู้ที่รักและเอ็นดูโคนันทิวิสาลเหมือนลูก วันหนึ่งนันทิวิสาลต้องการตอบแทนพระคุณของพราหมณ์ โดยให้ไปท้าพนันกับท่านเศรษฐีในการลากเกวียณด้วยเงินเดิมพันหลายกหาปณะ แต่การลากเกวียณในครั้งนี้พราหมณ์เป็นผู้แพ้พนัน เพราะก่อนแข่งได้พูดกับนันทิวิสาลด้วยวาจาหยาบกระด้าง นันทิวิสาลได้ยินดังนั้นจึงไม่ยอมลากเกวียณ แต่เมื่อท้าพนันครั้งที่ 2 ได้มีการเพิ่มเงินเดิมพันเป็น 2 เท่า แต่ครั้งนี้พราหมณ์ได้พูดจาไพเราะกับนันทิวิสาล เมื่อนันทิวิสาลได้ยินดังนั้นจึงเกิดพลังในการลากเกวียณ และเป็นผู้ที่ชนะในการเดิมพัน เหตุจากวาจาอันปราณีของพราหมณ์
- ในอดีตมีดาบสผู้หนึ่งอาศัยอยู่ในป่า เหล่าสัตว์ทั้งหลายต่างเข้ามาสู่บรรณศาลาเพื่อฟังธรรมตามโอกาส มีนกพิราบสามีภรรยาคู่หนึ่งบินออกหาอาหารในป่า ฝ่ายภรรยาถูกนกเหยี่ยวโฉบจับไปต่อหน้านกผู้เป็นสามี นกสามีนั้นโศกเศร้าอาลัยอย่างยิ่งเพราะไม่ปรารถนาจะพลัดพรากจากนางอันเป็นที่รัก แต่จำต้องพลัดพรากจากไป จึงคิดได้ว่าเพราะการพลัดพรากจากคนรัก ทำให้ได้เสวยเวทนาทางใจอย่างยิ่ง หากยังข่มความรักไม่ได้จะไม่ออกมาหากินอีก เจ้านกนั้นได้สมาทานอุโบสถศีล อดทนต่อความหิวกระหาย เพื่อรักษาศีลข่มราคะ เหตุเพราะเห็นโทษจากกาม
- ครั้งอดีตกาล มีอาจารย์ช่างไม้คนหนึ่งชาวกรุงพาราณสีและลูกศิษย์ ได้เข้ายึดครองเมือง ทำการอภิเษกตนขึ้นเป็นราชาพระนามว่า พระเจ้ากัฏฐวาหนะ พระราชาทรงดำรงตนอยู่ในธรรมและสงเคราะห์เหล่าศิษย์ด้วยสังคหวัตถุ 4 จึงเป็นแคว้นที่มีความมั่งคั่งสมบูรณ์ อยู่มาวันหนึ่ง เหล่าพ่อค้าจากกรุงพาราณสีเดินทางมาค้าขาย เมื่อพระราชาทราบจึงพระราชทานเสบียงแก่พ่อค้าเหล่านั้น เหล่าพ่อค้ากลับไปยังกรุงพาราณสีได้กราบทูลให้พระราชาของตนทราบ ทั้งสองเมืองจึงเป็นมิตรที่ดีต่อกันเรื่อยมา ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า “กัสสปะ” ประทับอยู่ ณ กรุงพาราณสี ครั้งนั้น พระราชาได้มีดำริว่า สิ่งอื่นจะสูงสุดยิ่งกว่าพระรัตนตรัยไม่มี เราจะส่งข่าวแก่สหายของเรา พระราชากัฏฐวาหนะได้ทรงทราบความว่า สหายของท่านทรงส่งรัตนบรรณาการ ซึ่งหาได้ยากยิ่งตลอดแสนกัป พุทฺโธ โลเก อุปปนฺโน พระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้วในโลกดังนี้ ทรงดำริว่าควรจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและฟังพระธรรม พวกเขาออกเดินทางพักเพียงราตรีเดียว ก็ถึงนครพาราณสี เมื่อยังไปไม่ถึงที่หมาย พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานเสียแล้ว ต่างพากันร้องไห้คร่ำครวญว่า เรามาไกล แต่ไม่ได้แม้เพียงเห็น พระโอวาทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานไว้ยังมีอยู่หรือไม่ พระสาวกกล่าวว่า มีอยู่อุบาสก “คือ พึงตั้งอยู่ในพระรัตนตรัย พึงสมาทานศีล 5 พึงเข้าอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ 8 พึงให้ทานและพึงปฏิบัติธรรม”
- พระมหาโมคคัลลานะเดินลงจากเขาคิชฌกูฏ ท่านเห็นสัฏฐิกูฏเปรต มีค้อนเหล็กติดไฟลุกโพลงทุบลงบนหัวแตกกระจายแล้วกลับเป็นดังเดิมอีก เป็นอย่างนี้เรื่อยมา เปรตผู้นี้เคยเป็นบุรุษผู้เรียนวิชาการดีดก้อนกรวดจากชายเปลี้ยผู้หนึ่ง ชายเปลี้ยนั้นสามารถดีดกรวดใส่ใบไม้บนต้นไม้ทะลุเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ได้ เมื่อพระราชาทรงทราบจึงขอให้ไปแอบดีดขี้แพะใส่ปากอามาตที่ชอบพูดมาก ทำให้อามาตนั้นไม่กล้าพูดมากต่อหน้าพระราชาอีก ชายเปลี้ยได้รับของพระราชทานจำนวนมาก มีชายหนุ่มผู้หนึ่งรู้ถึงความสามารถของชายเปลี้ย จึงขอมาปรนนิบัติจนชายเปลี้ยยอมสอนศิลปะให้ เมื่อชายผู้นั้นชำนาญในศิลปะแล้ว เขาได้แอบดีดกรวดใส่พระปัจเจกพุทธเจ้าระหว่างเดินบิณฑบาต ก้อนกรวดได้เข้าช่องหูทำให้ช่องหูทะลุ พระปัจเจกทรงปรินิพพาน ชายหนุ่มขาดีผู้นั้นเกิดในนรก เศษอกุศลกรรมนั้นทำให้มาเกิดเป็น “สัฏฐิกูฏเปรต”
- 5 นิทานพรรณนาชายผู้หนึ่งเมื่อบิดาตายไป ได้ทิ้งเรือกสวนไร่นาไว้ให้จำนวนมาก เขาทำกิจการงานอย่างขยัน และปฏิบัติต่อมารดาด้วยดี ต่อมามารดาคิดจะหาภรรยาให้เพื่อช่วยกิจการงาน มารดาจึงไปสู่ขอผู้หญิงมาให้ แต่ปรากฏว่าหญิงนั้นเป็นหมัน มารดาจึงรบเร้าให้เขามีภรรยาอีกคนหนึ่ง เมื่อหญิงสะใภ้ได้ยินจึงคิดว่าจะหาภรรยาให้เอง จึงไปนําหญิงที่คุ้นเคยกันผู้หนึ่งมาเป็นภรรยาอีกคน เมื่อนานวันเข้านางก็มีจิตริษยาจึงบอกภรรยาใหม่ว่า ถ้าตั้งครรภ์ขอให้บอกนาง เมื่อภรรยาใหม่ตั้งครรภ์ก็แจ้งข่าวแก่นาง นางจึงแอบใส่ยาในอาหาร เป็นผลให้ภรรยาใหม่แท้งลูกไปถึงสองครั้ง ก่อนสิ้นใจนางได้ผูกอาฆาตและปรารถนาว่า ขอให้ตนได้เกิดเป็นยักษิณีจะได้กินลูกนางคืน ด้วยอำนาจของเวรกรรมที่ผูกพันกันมา ภรรยาใหม่นั้นได้เกิดเป็นนางยักษิณี ส่วนภรรยาเก่าได้เกิดเป็นหญิงสาว ในเมืองสาวัตถี เมื่อนางมีบุตร นางยักษิณีต้องการจะกินบุตรนาง นางจึงรีบอุ้มบุตรน้อยวิ่งไปสู่วิหารเชตวันด้วยความกลัว นางขอเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรม นางยักษิณีได้ส่งจิตไปตามกระแสพระธรรม ครั้นเมื่อพระธรรมเทศนาจบลง นางยักษิณีนั้นก็ได้บรรลุมรรคผล เหตุจากการเลิกจองเวร
- 5 นิทานพรรณนามีชายคนหนึ่งถูกไล่ออกจากเรือน เพราะมีนิสัยเกียจคร้าน เขาจึงไปที่ท่าเรือเพื่อสมัครเป็นคนงาน และโดยสารเรือไป ครั้นเมื่อเรืออับปางกลางทะเล เขาอาศัยนอนบนแผ่นกระดานจนไปถึงเกาะแห่งหนึ่ง บนเกาะมีหมูนอนหลับอยู่ และมีแก้วมณีอยู่ข้างกาย เขาจึงย่องเข้าไปลักเอาแก้วมณีนั้น แล้วเหาะขึ้นไปบนอากาศด้วยอานุภาพของแก้วมณี เขาคิดขึ้นว่าเราควรฆ่าหมูตัวนี้เพื่อกินเสีย ชายผู้นี้ไม่เพียงแต่ฆ่าหมูเขาได้ฆ่าดาบสสามพี่น้องเพื่อชิงของวิเศษ เมื่อได้ของวิเศษสมใจ เขาส่งสาส์นถึงพระราชาเพื่อท้ารบ พระราชาออกไปสู้รบกับชายคนนั้น เขาสั่งพร้าโต้ของวิเศษที่มีไปตัดเศียรของพระราชามาวางไว้แทบเท้าของเขา เขาได้เป็นพระราชามีนามว่า “ทธิวาหนะ” ทรงครองราชย์โดยธรรมมาตลอดสมัย เหตุจากมะม่วงหวานเปลี่ยนเป็นเปรี้ยว และเปรี้ยวกลับเป็นหวาน ที่ทำให้ราชามีธรรม
- 5 นิทานพรรณนาณ กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ออกบวชเป็นฤาษีได้มาบิณฑบาตที่บ้านของนายหัตถาจารย์คนเลี้ยงช้าง นายคนเลี้ยงช้างเห็นฤาษีมีความสงบสำรวมก็เกิดศรัทธาจึงอุปัฏฐากตลอดมา ในชายป่ามีชายผู้หนึ่งเข้าไปหาฟืนเเต่กลับเข้าเมืองไม่ทันจึงต้องไปอาศัยนอนที่ศาลา บนกิ่งไม้ที่ศาลามีไก่มาเกาะคอนนอนอยู่ เขานอนฟังมันคุยกันได้ความว่า ไก่ตัวบนปล่อยอึรดไก่ตัวล่าง ไก่ตัวล่างเลยอวดบารมีว่าใครเอาเนื้อฉันไปกินจะได้ทรัพย์ทุกวัน เจ้าไก่ตัวบนอวดตัวว่า ใครได้กินเนื้อของฉันคนนั้นจะได้เป็นพระราชา ส่วนใครที่กินเนื้อติดกระดูก ถ้าเป็นผู้ชายจะได้เป็นขุนคลัง ถ้าเป็นนักบวชจะได้เป็นพระประจำตระกูลของพระราชา ชายตัดฝืนได้ยินดังนั้นจึงปีนขึ้นไปจับไก่ตัวบน เมื่อถึงบ้านให้ภรรยาปรุงเนื้อไก่เตรียมจะรับประทาน ด้วยเหตุใดกันสองสามีภรรยาผู้ปรุงอาหารกลับไม่ได้กินเนื้อไก่ ส่วนนายคนเลี้ยงช้าง และฤาษีนั้นไม่ได้แป็นคนปรุงแต่กลับได้กินเนื้อนั้น เหตุเกิดจากโภคะนั้นเกิดแก่ผู้มีบุญ
- 5 นิทานพรรณนาเมื่อสุวรรณสามทราบว่าพระราชาเป็นผู้ยิงลูกศรใส่ตน ก็ไม่ได้มีความโกรธเคืองยังคงมีจิตเมตตาต่อพระราชา ก่อนที่สุวรรณสามจะสิ้นสติไปพระราชาทรงรับปากจะดูแลบิดามารดาของสุวรรณสามเป็นอย่างดี บิดาและมารดาของสุวรรณสามได้ทราบว่า พระราชาเป็นผู้ยิงลูกศรใส่บุตรของตนก็มิได้โกรธเคืองแต่กลับขอร้องให้พระราชานำพวกตนไปหาร่างของบุตร เมื่อไปถึงทั้งคู่ต่างร้องไห้คร่ำครวญอยู่กับร่างอันไร้สติของบุตรอย่างน่าเวทนา ทั้งสองได้ตั้งสัจอธิษฐานถึงคุณความดีแห่งการกตัญญูของสุวรรณสาม รวมกับแรงอธิษฐานของเทพธิดาพสุนธรี ผู้เป็นมารดาในอดีตชาติของสุวรรณสาม ด้วยแรงอธิษฐานทำให้สุวรรณสามฟื้นขึ้นมามีสติอีกครั้งและส่งผลให้ดวงตาของฤๅษีและฤๅษิณีกลับมามองเห็นได้ดังเดิม
- 5 นิทานพรรณนาฤาษีสองสามีภรรยา อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมิคสัมมตา ทั้งสองเจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำจึงเป็นที่รักของเหล่าสัตว์ทั้งหลาย เมื่อสุวรรณสามกุมารซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ได้เสด็จมาอุบัติ จึงกำเนิดอยู่ท่ามกลางฝูงสัตว์ที่รักใคร่ เหล่าสัตว์ต่างคอยติดตามสุวรรณสามไปทุกที่เป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่งบิดาและมารดาของสุวรรณสาม ถูกพิษงูจึงทำให้ตาบอด นับตั้งแต่นั้นมาสุวรรณสามก็ได้เลี้ยงดูบิดาและมารดา มาตลอด มีราชาชื่อว่า ปิลยักขราช เป็นผู้ที่ชอบล่าสัตว์ป่ามาก เมื่อมาถึงท่าน้ำได้ทอดพระเนตรเห็นรอยเท้าของสัตว์ป่ามากมาย จึงทรงซ่อนพระองค์เพื่อดักยิงสัตว์เหล่านั้น ได้เห็นชายหนุ่มเดินถือหม้อดินมา และแวดล้อมไปด้วยหมู่กวางที่กำลังเดินมุ่งสู่ท่าน้ำ ชายหนุ่มคนนั้นตักน้ำจนเต็มหม้อแล้วเดินแบกน้ำเพื่อกลับบ้าน พระราชาทรงยิงชายผู้นั้นด้วยลูกศรอาบยาพิษ ชายผู้นั้นได้รับความเจ็บปวดทรมานมาก แต่กลับพยายามประคองหม้อน้ำและวางลงอย่างระมัดระวัง เหตุเพราะกลัวว่าบิดาและมารดาที่ตาบอด จะไม่มีน้ำไว้เพื่อดื่มกิน
- 5 นิทานพรรณนาในอดีตกาลเมื่อพระโพธิสัตว์กำเนิดเป็นหนู มีร่างกายอวบอ้วนเหมือนลูกสุกรและมีเหล่าหนูหลายร้อยตัวเป็นบริวาร เจ้าหมาจิ้งจอกผ่านมาหวังจะลวงกินหนูอ้วนเหล่านี้ จึงทำทีเป็นแหงนหน้าจ้องดวงอาทิตย์ อ้าปากกินลมและยืนเท้าเดียวเหมือนผู้ทรงศีล พระโพธิสัตว์เห็นก็เข้าใจไปว่าเป็นนักพรตผู้มีศีล อยู่มาวันหนึ่งพวกหนูเกิดความสงสัยเพราะเหตุใดจำนวนหนูถึงลดลงอย่างมาก จึงนำความมาเล่าให้พระโพธิสัตว์ฟัง เพราะเหตุใดหนอ บริวารหนูของตนจึงลดจำนวนลง หรือจะเป็นเหตุจากผู้ทรงศีลหมาจิ้งจอกแอบอ้างเอาธรรมเป็นธง เอาความดีบังหน้า เพื่อเบียดเบียนสัตว์อื่น
- 5 นิทานพรรณนาพระโพธิสัตว์ได้เกิดในตระกูลที่ร่ำรวยตระกูลหนึ่งในแคว้นกาสี เลี้ยงชีพด้วยการค้า พระองค์เลี้ยงสุนัขไว้ตัวหนึ่งจนตัวอ้วนพี น่ารัก เจ้าสุนัขน้อยเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนที่พบเห็น วันหนึ่งมีพ่อค้าผ่านมาเห็นสุนัขตัวนี้แล้วชอบใจ จึงให้เงินเพื่อแลกกับสุนัขแสนน่ารักตัวนี้ เขาเอาเชือกหนังมาล่ามมันไว้แล้วเดินถือปลายเชือกจูงสุนัขไปยังศาลา และผูกสุนัขไว้ ตัวเขาก็เอนนอนเพื่อพักผ่อน สุนัขนี้คิดว่าความปรารถนาของตนนั้น คือ การหนี ด้วยเหตุนี้ จึงอดทนรอเพื่อให้พ่อค้าหลับสนิท แล้วกัดเชือกที่ผูกมัดมันไว้ และรีบหนีไปยังเรือนของเจ้าของเดิม
- 5 นิทานพรรณนาณ นิคมของชาวกาสี มีพราหมณ์คนหนึ่งเป็นผู้มั่งคั่งแต่ไม่มีบุตร พระโพธิสัตว์ได้มาบังเกิดเป็นบุตร จึงตั้งชื่อว่า “โพธิกุมาร” เมื่อเติบโตขึ้นเหล่าญาติก็จัดงานวิวาหมงคลให้ แต่ทั้งสองหนุ่มสาวนั้นไม่เคยมีความฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งราคะ เมื่อบิดามารดาเสียชีวิต เขาทั้งสองได้ให้ทานเป็นมหาทาน แล้วออกบวช อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปยังอุทยาน ได้ทอดพระเนตรเห็นนางปริพาชิกา เกิดมีใจปฏิพัทธ์ พระองค์ทรงสะท้านด้วยอำนาจแห่งราคะ ไม่อาจจะห้ามใจของตนได้ จึงนำนางผู้ร้องไห้คร่ำครวญไปยังพระราชวัง นางเอาแต่พรรณนาโทษของยศและคุณของการบรรพชา จึงทรงดำริว่า นางผู้นี้มีศีล ไม่ปรารถนาในลาภยศ แม้แต่ดาบสนั้น เมื่อตนพานางมา ก็มิได้มีความโกรธชัง เหตุเพราะพระโพธิสัตว์ดาบส ทรงสละสิ่งที่ตนรัก เพื่อสิ่งที่ตนรักยิ่ง
- 5 นิทานพรรณนามีพราหมณ์ผู้หนึ่งได้สมาทานศีลเพื่อปรารถนาบุตร ไม่นานนักนางพราหมณีภรรยาของเขาได้ตั้งครรภ์ จึงตั้งชื่อบุตรว่า กัณหกุมาร เมื่อมารดาบิดาล่วงลับไปแล้ว เขาเป็นผู้ครองทรัพย์สมบัติทั้งหมด กัณหกุมารได้ตรวจเรือนคลังเมื่อเขาเห็นอักษรที่จารึกไว้ จึงคิดขึ้นว่าผู้ที่ทำทรัพย์นี้ให้เกิดขึ้นตายไปหมดแล้ว ปรากฏอยู่แต่ทรัพย์อย่างเดียว ผู้ที่จะถือเอาทรัพย์นี้ไปด้วยแม้คนเดียวก็ไม่มี ไม่มีใครขนเอาทรัพย์ติดตัวไปปรโลกได้ คิดได้ดังนี้ เขาจึงได้ออกบวชเป็นฤๅษี ได้เห็นโทษจากความโกรธ โลภ โทสะ และสิเนหา เหตุจาก มีชายคนซื่อนำกระต่ายจากป่ามาวางไว้ที่ฝั่งแม่น้ำแล้วลงอาบน้ำ คนโกงผู้หนึ่งจึงจับเอากระต่ายตัวนั้นวางไว้บนศีรษะของเขาแล้วลงอาบน้ำ ชายคนซื่อขึ้นมาจากน้ำแล้วไม่เห็นกระต่าย คนโกงจึงรีบบอกว่า กระต่ายที่วางไว้ที่ฝั่งหนีไปแล้ว ตัวเขาเองยังต้องเอากระต่ายวางไว้บนศีรษะอาบน้ำด้วยเลย ชายคนซื่อเข้าใจว่าเป็นอย่างนั้น จึงหลีกไป
- 5 นิทานพรรณนาพ่อค้าชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่งบรรทุกสินค้านานาชนิดไปขายยังต่างเมืองเป็นประจำ วันหนึ่งพ่อค้าผู้นี้ต้องนำกองขบวนสินค้าข้ามทะเลทรายเพื่อนำสินค้าไปขาย ในการเดินทางครั้งนี้ต้องเดินทางผ่านผืนทรายอันร้อนจัด จึงต้องหยุดพักในเวลากลางวัน และออกเดินทางในเวลากลางคืน เขาจึงหยุดให้คนและโคได้พักผ่อนเช่นนี้เสมอๆ เมื่อเดินทางใกล้จะพ้นเขตทะเลทราย ทุกคนต่างชะล่าใจจึงดื่มน้ำ และกินอาหารจนหมดเกลี้ยง พ่อค้าผู้เป็นหัวหน้ากองจึงต้องออกสำรวจหาแหล่งน้ำกลางทะเลทราย ด้วยความดีใจที่พบแหล่งน้ำต่างระดมพลังกันขุดหาน้ำที่อยู่ใต้ผืนทรายนี้ ยิ่งออกแรงขุดมากยิ่งท้อแท้ เหตุเพราะลงแรงไปกลับเจอแต่แผ่นหินปกคลุม
- 5 นิทานพรรณนาในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ เมื่อเจริญวัยแล้วได้ออกบวชเป็นฤๅษี ที่เชิงจอมปลวกใกล้อาศรมมีนกกระทาตัวหนึ่งอาศัยอยู่ ในทุกๆ วันมันมักจะยืนอยู่บนยอดจอมปลวกแล้วส่งเสียงขันดังลั่น ไม่ไกลมากนักมีนายพรานคนหนึ่งเที่ยวล่าสัตว์อยู่ในป่า ได้ยินเสียงนกกระทาจึงต้องการนำมาเป็นนกต่อ เขาล้อมจับนกนั้นนำมาใส่กรงเลี้ยงไว้อย่างดี นายพรานนำนกกระทาตัวนี้เข้าไปในป่าแล้วล้อมจับเหล่านกกระทาได้อีกมากมาย เหตุเพราะเหล่านกพากันมาเพราะเสียงร้องของนกกระทาต่อตัวนั้น
- 5 นิทานพรรณนาพระเจ้ามหากัปปินะกษัตริย์แห่งพระนครกุกกุฏวดี ทรงมีรับสั่งให้เหล่าอำมาตย์เที่ยวสืบข่าวเกี่ยวกับการบังเกิดขึ้นของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่มาวันหนึ่งพระองค์ และเหล่าบริวารได้พบพ่อค้าซึ่งเดินทางมาจากนครสาวัตถี ทรงตรัสถามจึงทราบความว่า พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า ได้บังเกิดขึ้นแล้วในโลก พระองค์ทรงบังเกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้า จึงรีบเดินทางเข้าพบพระพุทธองค์ เมื่อได้สดับพระธรรมเทศนาแล้ว ท่านพระมหากัปปินะมักเที่ยวเปล่งอุทานว่า "สุขหนอ สุขหนอ" อยู่เสมอๆ เหล่าภิกษุต่างสำคัญว่าท่านเปล่งวาจาเช่นนั้น เหตุเพราะยังระลึกถึงความสุขในราชสมบัติของพระราชา
- 5 นิทานพรรณนาทีฆาวุราชกุมารเจ้าชายผู้ผลัดจากถิ่นกำเนิด ทรงคิดจะแก้แค้นแทนพระบิดาพระมารดาที่ถูกประหารชีวิตโดยพระเจ้าพรหมทัตกาสีราช ด้วยความโศกเศร้า และอาลัยในพระบิดาพระมารดา ทีฆาวุราชกุมารทรงขับร้อง และดีดพิณคลอเสียงขับขานที่ทุกข์ระทมอยู่ที่โรงเลี้ยงช้างในยามค่ำคืน พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชทรงสดับเสียงพิณนั้น จึงทรงให้นำตัวมาเข้าเฝ้าเพื่อให้อยู่รับใช้พระองค์ และทรงแต่งตั้งให้เป็นอำมาตย์คนสนิท ในที่สุดเจ้าชายทีฆาวุราชกุมารก็สบโอกาสที่จะลงมือสังหารศัตรู แต่ด้วยระลึกถึงคำพระบิดาจึงระงับความโกรธและอภัยให้ศัตรู ปราศจากการผูกเวรต่อกันและกัน
- 5 นิทานพรรณนาพระโพธิสัตว์ได้ถือกำเนิดในตระกูลพ่อค้าในกรุงพาราณสี เมื่อถึงวัยทำงานได้นำสินค้าบรรทุกเกวียนไปขายยังต่างถิ่นเป็นประจำ มีบุตรพ่อค้าเกวียนอีกคนหนึ่ง ซึ่งเป็นคนหูเบาเขาจึงมักตัดสินใจผิดพลาดเป็นประจำ วันหนึ่งพ่อค้าเกวียนผู้หูเบาคิดว่าตนควรจะออกเดินทางไปก่อนพระโพธิสัตว์ ในขณะเดินทางได้พบกับยักษ์กลุ่มหนึ่งที่ได้จำแลงแปลงกายเป็นคนและเดินทางสวนมา ต่างพากันเคี้ยวกินเหง้าบัวอย่างเอร็ดอร่อย ทำทีว่าหนทางที่พวกตนผ่านมานั้นมีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ พ่อค้าผู้หูเบาไม่คิดหน้าคิดหลังให้รอบคอบ จึงสั่งบริวารให้เทน้ำในตุ่มทิ้งเสียหวังจะได้พบน้ำบ่อหน้าแต่เดินทางไปตลอดวันหาน้ำสักหยดก็ไม่มี จึงรู้ว่าถูกหลอกจากพวกยักษ์เสียแล้ว เพียงเพราะความเขลาของตน
- 5 นิทานพรรณนากลางป่าใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์รายล้อมไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ เจ้านกน้อยทำรังอยู่บนตันไม้ ในบึงที่กว้างขวางเป็นที่อาศัยของเต่า และป่าอันอุดมมีกวางอาศัยอยู่ สัตว์ทั้งสามต่างรักใคร่และดูแลกันตลอดมา จนวันหนึ่งเจ้ากวางโชคร้ายถูกบ่วงเชือกของนายพราน มันจึงร้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนรักทั้งสอง เมื่อนกและเต่าได้ยินต่างรีบรุดเข้าช่วย เจ้าเต่ารีบกัดเชือกอย่างสุดกำลังแม้ฟันทุกซี่ของมันจะโยกคลอนจนเลือดไหลเต็มปากแล้วก็ตาม เพียงเพื่ออยากช่วยเพื่อนรักให้พ้นภัย
- 5 นิทานพรรณนาชายผู้หนึ่งร่วมเดินทางไปกับคณะพ่อค้า กลุ่มเกวียนบรรทุกสินค้าเริ่มเคลื่อนออกจากเมืองมุ่งสู่อีกเมืองเพื่อค้าขาย เมื่อตะวันลับขอบฟ้า กลุ่มพ่อค้าต่างพากันหยุดพัก ส่วนชายหนุ่มผู้ร่วมเดินทางมาด้วยนั้นหยิบท่อนไม้มาจุดไฟ และเดินจงกรมไปรอบ ๆ เกวียน ในขณะนั้น มีโจรแอบซุ่มอยู่หลังพุ่มไม้เพื่อปล้นคณะพ่อค้า เหล่าโจรป่ายังคงเฝ้ารอคอยรอบแล้วรอบเล่า แต่ชายหนุ่มผู้นั้นไม่มีทีท่าว่าจะหยุดพักหรือเดินไปทางอื่นแม้แต่น้อย จนเวลาล่วงผ่านไปใกล้เช้าหัวหน้าโจรจึงตัดสินใจยุติการปล้น เหตุเพราะเห็นว่าบุรุษผู้นี้ คือ ผู้ที่ดำรงตนในความไม่ประมาท
- 5 นิทานพรรณนาในอดีตกาล พระโพธิสัตว์ได้เกิดในตระกูลที่มีโภคะมาก ครั้นเจริญวัยแล้วได้ออกบวชเป็นฤาษีอาศัยอยู่ในบรรณศาลาที่ซอกเขาแห่งหนึ่ง เหล่าคนเลี้ยงแพะได้ปล่อยฝูงแพะเที่ยวหากินอยู่ในซอกเขาแห่งนี้เรื่อยมา วันหนึ่งมีเสือเหลืองผู้หิวโซได้เห็นแม่แพะออกไปหากินไกลฝูง เดินรั้งท้ายอยู่ตัวเดียว จึงคิดว่าจะจับแม่แพะนั้นกินเสียจึงยืนขวางแม่แพะอยู่ เมื่อแม่แพะเห็นดังนั้นก็มีน้ำใจปราศรัยด้วยวาจาอ่อนหวานกับเสือเหลืองตัวนี้ ด้วยอุบายเพื่อรักษาชีวิตของตนไว้
- 5 นิทานพรรณนาพระโพธิสัตว์ได้เกิดเป็นราชกุมารของพระราชาผู้ครองเมืองพาราณสี เมื่อมีอายุได้ 7 ขวบ พระบิดาก็สวรรคต เหล่าอำมาตย์ต่างเห็นว่าราชาองค์น้อยยังไม่สามารถปกครองเมืองได้ จึงพากันทดสอบภูมิปัญญาและได้ทราบถึงอัจฉริยะของพระกุมารจึงได้อภิเษกให้ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่บัดนั้น ส่วนทาสผู้เคยรับใช้พระราชาองค์ก่อนเช่นนายคามณิจันท์ เมื่อสิ้นรัชกาลของพระองค์แล้ว เขาได้ปลีกตัวออกไปประกอบอาชีพกสิกรรมที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง เขานั้นไม่มีโคในการทำนาจึงได้ไปยืมโคจากเพื่อนบ้านเพื่อมาไถนา ตกเย็นจึงได้นำโคไปคืน เห็นเจ้าของโคกำลังนั่งกินข้าวอยู่ก็เกิดความเกรงใจจึงปล่อยโคเข้าคอกไป ตกดึกมีโจรมาลักโคเหล่านั้นไปหมด เจ้าของโคถึงแม้รู้อยู่ว่าโคถูกขโมยไปก็ไปทวงโคกับนายคามณีจันท์พร้อมกับปรับสินไหมและนำความไปแจ้งยังเมืองหลวง เหตุเพราะต้องการหาผู้รับผิดในครั้งนี้
- 5 นิทานพรรณนาพราหมณ์ตระกูลหนึ่งได้ให้กำเนิดลูกน้อยเป็นทายาท สองสามีภรรยาต่างเลี้ยงดูลูกน้อยอย่างมีความสุข จนกระทั่งวันหนึ่งนางพราหมณ์มณีผู้เป็นภรรยาได้มาจากไป พราหมณ์จึงอุ้มลูกน้อยเข้าสู่ป่าและบวชเป็นฤาษี ส่วนบุตรน้อยบวชเป็นดาบสกุมาร ครั้นเข้าสู่ฤดูฝน มีลิงตัวหนึ่งถูกความหนาวจากฝนเบียดเบียนเดินหนาวจนตัวสั่น ลิงนั้นได้นุ่งห่มผ้าของดาบสที่ตายไปแล้วปลอมตัวมายืนหลอกลวงอยู่ที่ประตูบรรณศาลาของดาบสสองพ่อลูก ดาบสกุมารเห็นลิงนั้น จึงกล่าวกับบิดาว่า “มีดาบสผู้หนึ่งยืนหนาวสั่นอยู่ พ่อเรียกดาบสนั้นเข้ามา ที่นี้เถิด” เหตุเพราะถูกเจ้าลิงลวงหลอกให้เข้าใจว่านั้นคือ ดาบส
- 5 นิทานพรรณนาฤๅษีตนหนึ่งได้ใช้บริการเรือจ้างของนายอาวาริยปิตาเพื่อข้ามฝาก เขารีบถามขึ้นทันทีว่าจะให้ค่าจ้างเรือเท่าไร ฤๅษีตนนั้นตอบกลับไปว่าจะให้ของดีที่ทำให้ร่ำรวยทรัพย์สิน เมื่อถึงที่หมายฤๅษีจึงให้คาถาความเจริญแห่งอรรถและธรรมแก่เขาพร้อมกล่าวกับคนแจวเรือว่านอกจากโอวาทนี้แล้วก็ไม่มีสิ่งใดจะให้ ทำให้คนแจวเรือโกรธมากและผลักฤๅษีให้ล้มลงแล้วนั่งทับอกตบปากฤาษีตนนั้นทันที
- 5 นิทานพรรณนาพระโพธิสัตว์ได้กำเนิดในตระกูลพ่อค้าพาณิชย์ในเมืองพาราณสี มีชื่อว่า สุชาตกุมาร วันหนึ่งปู่ของเขาได้เสียชีวิตลง ผู้เป็นบิดาตกอยู่ในอาการเศร้าโศกตลอดมา เทียวไปไหว้กระดูกนั้นแล้วนั่งร้องไห้คร่ำครวญเป็นประจำ สุชาตกุมารเห็นบิดาตกอยู่ในอาการเช่นนี้ทุกวันจึงคิดหาวิธีเตือนสติ วันหนึ่งเขาเดินไปนอกบ้านเห็นวัวตาย จึงนำหญ้าและน้ำมาวางไว้ข้างหน้าแล้วพูดว่ากับซากวัวว่า จงกินหญ้า จงดื่มน้ำ ผู้คนต่างกล่าวกันไปว่าสุชาตกุมารเป็นบ้าแล้ว นั่งป้อนอาหารวัวที่ตาย เพียงเพื่อต้องการเตือนสติบิดา
- 5 นิทานพรรณนาณ กรุงพาราณสี ชาวเมืองมักจะแขวนกระเช้าหญ้าไว้ตามที่ต่างๆเพื่อเป็นที่อาศัยของนกทั้งหลาย มีนกพิราบตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในกระเช้าหญ้าที่อยู่ในโรงครัว อยู่มาวันหนึ่งเจ้ากาบินผ่านโรงครัวได้กลิ่นหอมอบอวลของอาหารคาวหวาน จึงนึกอยากลิ้มลองรสชาติของอาหารนั้น มันจึงหาอุบายเพื่อมาอยู่ใกล้ชิดกับนกพิราบ ในโรงครัวพ่อครัวกำลังนำปลาและเนื้อมาวางไว้บนกระชอนส่งกลิ่นหอมอบอวลไปทั่ว เจ้ากาได้กลิ่นจึงคิดวางแผนเพื่อจะกินเนื้อนั้น จึงแกล้งทำเป็นปวดท้องบินไม่ไหว ในที่สุดเจ้ากาผู้โลเลกลับได้รับทุกข์ใหญ่หลวงเหตุจากความโลภของมัน
- 5 นิทานพรรณนาพระโพธิสัตว์ถือกำเนิดในพระอัครมเหสีของพระเจ้าพรหมทัตราชาผู้ครองนครพาราณสี เมื่อพระโพธิสัตว์เจริญวัยขึ้นทรงศึกษาศิลปทุกชนิด ทรงเรียนมนต์รู้เสียงทุกอย่าง อยู่มาวันหนึ่งแม่สุนัขจิ้งจอกพาลูกน้อย 2 ตัวเข้ามาทางช่องระบายน้ำ เพื่อจะแอบเข้าไปอาศัยยังข้างห้องบรรทมของพระโพธิสัตว์ ในขณะนั้นที่ศาลามีชายเข็ญใจถอดรองเท้าวางไว้ที่พื้นและนอนอยู่ พระโพธิสัตว์ได้ยินสิ่งที่แม่จิ้งจอกพูดกับลูกน้อย พระองค์ทรงเสด็จออกไปเพื่อเตือนให้ชายเข็ญใจเก็บรองเท้านั้นเสีย สร้างความโกรธแค้นให้แก่แม่สุนัขจิ้งจอกเป็นอย่างมากร้องขู่พระโพธิสัตว์ว่า เมื่อพระเจ้าสมันตราชเสด็จมาล้อมพระนคร พระราชบิดาของท่านจักส่งท่านไปเพื่อต้องการให้พระเจ้าสมันตราชจตัดศีรษะของท่าน ณ ที่นั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นเราจักดื่มเลือดในลำคอของท่านเสีย
- 5 นิทานพรรณนาณ คุ้งน้ำกรุงพาราณสีมีปลาหนุ่มตัวหนึ่งหลงใหลรักใคร่ในนางปลาสาวจึงพยายามว่ายวนเวียนอยู่ไม่ห่าง เจ้าปลาหนุ่มมีความรักมอบให้แก่ปลาสาวเพียงตัวเดียวเท่านั้น และแล้วคราวเคราะห์ร้ายก็มาเยือนเมื่อมีชาวบ้านพายเรือมาทอดแหในบริเวณที่ปลาสองตัวนี้ว่ายวนอยู่ ปลาหนุ่มผู้ตกอยู่ในความประมาทเพลิดเพลินยินดีไปกับการเกี้ยวพาราสีจึงติดแหชาวประมงไป แต่เจ้าปลาหนุ่มมิได้รู้สึกกลัวความตายที่อยู่ตรงหน้าเอาแต่คร่ำครวญถึงนางปลาสาวที่ตนจากมา เหตุเพราะความลุ่มหลงที่มีต่อนาง
- 5 นิทานพรรณนาหญิงสาวผู้นึงอาศัยอยู่ในหมู่บ้านชาวประมงได้เกิดตั้งครรภ์ขึ้น นับตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านทั้งหมู่บ้านเกิดความอดอยากขัดสน จึงขับไล่นางและครอบครัวออกจากหมู่บ้าน เมื่อนางคลอดบุตรและเลี้ยงจนเดินได้ก็ทิ้งเด็กชายไว้หากินเพียงลำพัง เด็กชายร่อนเร่เที่ยวเก็บเศษอาหารกินเพื่อประทังชีวิต ต่อมาได้อุปสมบทฉายาว่า “โลสกติสสะ” เพราะเศษแห่งผลของกรรมที่เคยกระทำไว้ในอดีต ส่งผลให้ไม่เคยได้กินอาหารจนอิ่มเต็มท้องเลยตลอดชีวิต
- 5 นิทานพรรณนาพระเจ้ากรุงพาราณสีมีอำมาตย์ 5 คนช่วยในการบริหารบ้านเมือง อำมาตย์คนที่ 1 เชื่อว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย บุญบาปไม่มี การฆ่าสัตว์ไม่ใช่บาปกรรม อำมาตย์คนที่ 2 เชื่อว่า ผู้เป็นใหญ่สร้างโลก สร้างชีวิต สร้างกรรมดีกรรมชั่ว อำมาตย์คนที่ 3 เชื่อว่า สุข ทุกข์เพราะกรรมเก่า อำมาตย์คนที่ 4 เชื่อว่า โลกหน้าไม่มี โลกนี้เป็นอันขาดสูญและอำมาตย์คนที่ 5 เชื่อว่า การฆ่าพ่อแม่พี่น้อง ถ้าเป็นประโยชน์ ก็ควรทำ ด้วยความเชื่อที่แตกต่างกันนั้น ทำให้เมื่อต้องตัดสินคดีต่างตัดสินไปตามอำเภอใจของตน ประชาชนจึงได้รับความเดือดร้อนและไม่เป็นธรรม ต่างเรียกร้องให้พระเจ้ากรุงพาราณสีนิมนต์โพธิกุมารช่วยในการตัดสินคดีความ
- 5 นิทานพรรณนาในหมู่บ้านจัณฑาลแห่งหนึ่ง มีเด็กชายจัณฑาลชื่อจิตตกุมาร และคนหนึ่งชื่อสัมภูตกุมาร ครั้นเมื่อทั้งสองเติบโตขึ้นได้เรียนศิลปศาสตร์ที่ชื่อว่า จัณฑาลวังสโธวนะ วันหนึ่งทั้งสองก็ชักชวนกันไปแสดงศิลปะใกล้กับประตูเมือง โดยคนหนึ่งแสดงศิลปะที่ประตูด้านทิศเหนือ อีกคนหนึ่งแสดงศิลปะที่ประตูด้านทิศใต้ ในขณะนั้น ธิดาของท่านเศรษฐี และธิดาของท่านปุโรหิตาจารย์มีความประสงค์จะเดินทางไปยังอุทยานเพื่อพักผ่อน เมื่อนางกุมารีพบเห็นจัณฑาลทั้งสองแสดงศิลปะอยู่ ก็เกิดความไม่พอใจอย่างมากสั่งเหล่าคนรับใช้โบยตีเด็กทั้งสองให้ถึงความบอบช้ำย่อยยับ เพียงเพราะชาติกำเนิดแห่งจัณฑาล
- 5 นิทานพรรณนาสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จไปรับภัตตาหารยังบ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เหล่าพระมหาสาวกผู้มีอภิญญาสามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ต่างเหาะเหินบนอากาศเพื่อติดตามพระพุทธองค์ ขณะนั้นพญานาคชื่อนันโทปนันทะกำลังเสวยทิพยสมบัติด้วยความสำราญใจ ครั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าและเหล่าพระมหาสาวกจำนวนมากเหาะมา ก็เกิดความโกรธขึ้นในใจตามประสาผู้มีมิจฉาทิฏฐิ จึงแปลงกายให้ตัวใหญ่ขึ้น เอาหางรัดเขาพระสุเนรุ ใช้พังพานปิดภพดาวดึงส์และบันดาลให้เกิดหมอกควันตลบไปทั่วพิภพเพื่อให้เหล่าสาวกไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ เพียงเพราะทิฏฐิที่หลงผิด
- 5 นิทานพรรณนาพระเจ้ามันธาตุราชทรงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ประกอบด้วยรัตนะ 7 และอิทธิฤทธิ์ 4 เมื่อใดก็ตามที่พระองค์ทรงคู้พระหัตถ์ซ้ายปรบด้วยพระหัตถ์ขวาฝนก็ตกลงมาดุจฝนทิพย์ในอากาศ และรัตนะ 7 ประการของพระองค์นั้นประกอบไปด้วย ช้างแก้ว ม้าแก้ว ขุนพลแก้ว ขุนคลังแก้ว กระทั่งจักรแก้ว หากพระองค์ต้องการสิ่งใดก็ได้ดังใจปรารถนา พระเจ้ามันธาตุราชทรงเป็นมนุษย์ที่อัศจรรย์ถึงปานนี้ แต่พระองค์ก็ทรงเบื่อหน่าย ปรารถนาที่จะอยากได้สมบัติในเทวโลกของเทวดา เหตุเพราะตัณหาที่ไม่มีวันเต็ม
- 5 นิทานพรรณนาพราหมณ์คนหนึ่งมีลูกสาวทั้งหมด 4 คน ลูกสาวของพราหมณ์นั้นล้วนสวยงามน่ารัก และเป็นที่หมายปองของหนุ่ม ๆ พราหมณ์นั้นไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะยกลูกสาวให้แก่ชายใด ระหว่างคนที่มีรูปงาม คนที่มากด้วยปัญญา คนอุดมด้วยทรัพย์ และชาติตระกูล หรือคนที่สมบูรณ์ด้วยศีล พราหมณ์คิดหนักว่าจะเลือกชายใดเป็นลูกเขยดี เพราะแต่ละคนก็มีความดีแตกต่างกันไป เขาจึงตัดสินใจเดินทางไปปรึกษาอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เพื่อเลือกคู่ครองให้กับลูกสาว
- 5 นิทานพรรณนาพระเจ้าสีวิชราชทรงมีดำริในการทำทานที่ทำได้ยากยิ่ง โดยทรงดำริว่าเมื่อไหร่ก็ตามเมื่อมีใครมาเอ่ยปากขอหัวใจ จะควักให้ดุจเด็ดบัวขึ้นจากสระ หากใครมาขอเนื้อจะเฉือนเนื้อไม่ลังเล หรือผู้ใดขอเพียงโลหิต จะรีบวิ่งเข้าเครื่องบดเพื่อสละเลือดให้ แม้ขอให้ไปช่วยรับใช้ทำงานบ้าน ก็เต็มใจสละราชสมบัติทันที ทว่าหากขอดวงตา จะควักให้ทั้งหมดโดยไม่ลังเล ครั้นเมื่อมีบุรุษชรามาขอดวงตาของพระองค์ ทรงรับสั่งให้หมอหลวงบดยาใส่เบ้าพระเนตรโดยไม่ลังเล ในพริบตาความเจ็บปวดแสนสาหัสเกิดแก่พระองค์ ทุกขเวทนารุมเร้าเหลือประมาณ หากแต่ในพระหฤทัยกลับปิติเบิกบานในทานนั้น เพราะในพระทัยของพระองค์มีแต่ความปรารถนาพระสัพพัญุตญาณเพียงเท่านั้น
- 5 นิทานพรรณนาพระโพธิสัตว์ได้ขึ้นครองราชสมบัติในนครอินทปัฏฏ์ แคว้นกุรุ ทรงประพฤติตนอยู่ในศีล 5 ชื่อว่ากุรุธรรม ทรงรักษาศีลให้มีความบริสุทธิ์ แม้แต่พระมารดา พระอัครมเหสี พระอุปราช พราหมณ์ปุโรหิต อำมาตย์ผู้รังวัดนา สารถีผู้ขับยาน เศรษฐี นายประตู นางวัณณทาสีผู้เป็นนครโสเภณี ล้วนรักษาศีล 5 ชนทั้งหลายนี้รักษาศีลเหมือนดังพระโพธิสัตว์ วันหนึ่งอำมาตย์ฝ่ายรังวัด ได้ออกไปวัดที่นาในชนบท เขาจึงเอาเชือกผูกที่ไม้ ให้เจ้าของนาจับปลายข้างหนึ่ง ตนเองจับปลายอีกข้างไว้ ไม้ที่ผูกปลายเชือกซึ่งอำมาตย์ถือไปจรดตรงกลางรูปูเข้าพอดี เขาได้ปักท่อนไม้นั้นลงในรูปู เจ้าปูตัวน้อยก็ส่งเสียงร้องกริ๊ก ๆ อำมาตย์ผู้นั้นจีงคิดว่า ท่อนไม้ปักลงบนหลังปู เจ้าปูก็จักตาย เพราะเหตุนั้นเองศีลของเขาคงจะแตกและถูกทำลายเสียแล้ว “บัณฑิตทั้งหลาย แม้ครองเรือนอยู่ยังกระทำความรังเกียจในการผิดศีล แม้มีประมาณน้อย”
- 5 นิทานพรรณนาในหมู่บ้านแห่งหนึ่งได้เตรียมประกอบยัญญพิธี โดยเอาโคผู้ 700 ตัว ลูกโคผู้ 700 ตัว ลูกโคเมีย 700 ตัว แพะ และแกะ อย่างละ 700 ตัว นำผูกติดไว้กับเสาเพื่อเตรียมนำมาบูชายัญ กูฏทันตพราหมณ์ผู้ปกครองหมู่บ้านแห่งนี้ได้เกิดมีจิตเลื่อมใสในพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า และประกาศตนเป็นอุบาสกถึงซึ่งพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต จึงปล่อยสัตว์ทั้งหลายให้เป็นอิสระ เว้นขาดจากการเบียดเบียนชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลาย การให้ทานนั้นเป็นบาทฐานเบื้องต้นของการบรรลุธรรม เหตุเพราะผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ
- 5 นิทานพรรณนาพ่อค้าหนุ่มผู้เดินทางมาจากเมืองพาราณสี ทุกครั้งที่เขานั้นรับประทานอาหารอิ่มแล้ว มักจะให้อาหารที่เหลือแก่ปลาในแม่น้ำ แล้วอุทิศส่วนบุญกุศลให้สรรพสัตว์ รวมถึงเทวดาที่สถิต ณ แม่น้ำแห่งนั้น เหล่าเทวดาต่างร่วมอนุโมทนาในส่วนแห่งบุญที่เขาอุทิศให้ ส่วนเจ้าน้องชายตัวร้ายของเขา มักมีนิสัยขี้ขโมยมาตั้งแต่เด็ก น้องชายจอมขโมยกำลังคิดวางแผนจะฉกเอาทรัพย์ในห่อเงินมาเป็นของตนแต่เพียงผู้เดียว โดยวางอุบายทำทีเป็นเสียหลัก และโยนถุงเงินถุงหนึ่งลงน้ำไป เทวดาได้เห็นเหตุการณ์นั้นโดยตลอดจึงดลบันดาลให้ปลาปากกว้างตัวหนึ่งมากลืนกินถุงเงินนั้นเสีย บุคคลทำกรรมชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์สมบัติของพี่น้อง และบิดามารดา ผู้นั้นจัดว่าเป็นผู้มีจิตชั่ว ย่อมไม่มีความเจริญ แม้เทวดาก็ไม่สรรเสริญ บุคคลผู้มีจิตไม่ประทุษร้าย แม้เทวดาก็สรรเสริญยกย่องบุคคลผู้นั้น
- 5 นิทานพรรณนาในกรุงพาราณสีมีพราหมณ์ผู้หนึ่งเชี่ยวชาญในมนต์วิเศษ ชื่อ เวทัพพะ หากคราใดถึงคราวฤกษ์ดี คือ ดวงอาทิตย์ ดวงดาว และดวงจันทร์เรียงบรรจบในทิศทางที่เหมาะสม พราหมณ์ผู้นี้จะสามารถร่ายมนต์วิเศษเพื่อให้เพชรนิลจินดา และทรัพย์สินทั้งปวงไหลหลั่งลงมาจากท้องฟ้าราวกับสายฝนที่โปรยปราย หากแต่ทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ที่ต้องคำสาปนำมหาภัยมาสู่ผู้ครอบครอง “ผู้ใดปรารถนาประโยชน์ โดยเหตุมิใช่อุบาย ผู้นั้นย่อมเดือดร้อน โจรชาวเจติรัฐฆ่าพราหมณ์เวทัพพะเสียแล้ว คนเหล่านั้นก็พลอยถึงความย่อยยับหมดสิ้น”
- 5 นิทานพรรณนาพราหมณ์ปุโรหิตประจำราชสำนักผู้ช่างเจรจา หากเมื่อใดที่เขาได้พูดแล้ว ผู้อื่นจะไม่มีโอกาสได้พูดเลย การกระทำนี้สร้างความรำคาญใจให้แก่ผู้คนเป็นอย่างมาก รวมทั้งพระราชา พระองค์จึงหาวิธีเพื่อไม่ให้ปุโรหิตนั้นได้อ้าปากพูดมากนัก เมื่อพระองค์เสด็จอุทยานได้ทอดพระเนตรเห็นเด็ก ๆ กำลังยืนมุงดูชายง่อยผู้หนึ่งแสดงการดีดก้อนกรวดซัดใส่ใบไม้ พระองค์จึงรับสั่งให้นำชายง่อยผู้นั้นเข้าวังด้วย เมื่อใดที่ปุโรหิตอ้าปากพูด บุรุษง่อยก็ดีดขี้แพะเข้าปากเขาในทันที “ผู้มีภูมิปัญญา ย่อมไม่พูดพล่อย ๆ เพราะเหตุแห่งคนอื่นหรือตนเอง ผู้นั้นย่อมมีผู้บูชาในท่ามกลางชุมชน แม้ภายหลังเขาย่อมไปสู่สุคติ”
- 5 นิทานพรรณนาพระราชาแห่งเมืองพาราณสีได้เสด็จประภาสอุทยาน ทรงรับสั่งให้เหล่าสตรีเปลื้องอาภรณ์ และเครื่องประดับฝากไว้กับหญิงรับใช้แล้วจึงลงเล่นน้ำในสระ ในขณะนั้นมีนางลิงตัวหนึ่งลงมาจากต้นไม้ และเห็นหญิงรับใช้กำลังหลับ นางลิงตัวนั้นได้ขโมยเอาสร้อยมุกดาแล้วกระโดดขึ้นต้นไม้ นำสร้อยไปซ่อนไว้ในโพรงไม้แห่งหนึ่ง เมื่อหญิงรับใช้ตื่นขึ้น เห็นเครื่องประดับหายไปก็ร้องโวยวาย พระราชาจึงมีพระราชดำรัสให้เร่งตามจับผู้ร้ายมาให้ได้ มหาอำมาตย์ผู้มีปัญญาสามารถตามจับคนร้ายมาได้ในที่สุด กล่าวได้ว่า “คนทั้งหลายย่อมต้องการนักปราชญ์ ในเวลามีเหตุอันลึกซึ้งเกิดขึ้น”
- 5 นิทานพรรณนานักเลงสุรากลุ่มหนึ่ง นั่งตั้งวงดื่มจนสุรานั้นหมดลง พวกเขาต่างปรึกษากันว่าเงินซื้อสุราหมดแล้วจะทำเช่นไร เหล่าคนขี้เมาในวงเหล้านั้นจึงเสนอขึ้นว่า ให้หลอกมอมเหล้าที่ผสมยาพิษนี้ให้แก่ท่านเศรษฐี เพราะเมื่อท่านดื่มสุราแล้วพวกเขาจะปล้นทรัพย์เสีย แต่เศรษฐีผู้มีปัญญากลับรู้เท่าทันคำลวงของเหล่าคนขี้เมานั้น “พึงเปล่งวาจางามเท่านั้น ไม่พึงเปล่งวาจาชั่วเลย การเปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ คนเปล่งวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน”
- 5 นิทานพรรณนาพระราชาผู้พรั่งพร้อมไปด้วยราชบริวารได้เสด็จเลียบพระนคร เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นฤๅษีก็ทรงจำได้ จึงทรงพระดำริว่า “ฤๅษีตนนี้คงปรารถนาจะเข้ามาอยู่กับเรา เราจะตัดศีรษะเสียก่อนเพื่อไม่ให้ประกาศคุณที่ทำแก่เราให้ผู้คนได้ล่วงรู้” ครั้นทรงพระดำริอย่างนี้แล้ว จึงตรัสสั่งแก่เหล่าทหารเพื่อให้ไปจับฤๅษีนั้น โดยมัดมือไพล่หลังโบยในที่ ๔ แห่ง คือ ข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา แล้วนำไปตัดศีรษะเสีย เหล่าทหารต่างไปจับฤๅษีตนนั้นแล้วมัดโบยตีและนำไปสู่ตะแลงแกง เมื่อฤๅษีได้ถูกพระราชอาญาเช่นนั้น จึงได้กล่าวถ้อยคำ ดังนี้ “บางคนในโลกนี้กล่าวไว้ว่า ยกเอาท่อนไม้ขึ้นจากน้ำยังดีกว่ายกคนบางคนขึ้นจากน้ำ” ฤาษีตนนั้นได้กล่าววาจาเช่นนี้เรื่อยไป
- 5 นิทานพรรณนาพญาช้างฉัททันต์ ได้สละงาให้กับพรานป่าผู้มีใจคอ และลักษณะแห่งความโหดร้าย ซึ่งลวงหลอกด้วยการนำผ้ากาสาวพัสตร์มาห่มพันกาย เพื่อให้เข้าใจว่าเป็นพระภิกษุ พญาช้างฉัททันต์เมื่อเห็นเช่นนั้นจึงตระหนักว่า "ผ้ากาสาวพัสตร์ นี้คือ ธงชัยแห่งพระอรหันต์ บัณฑิตไม่ควรทำลาย ควรทำการสักการะอย่างเคารพโดยแท้" หากแต่เมื่อได้ทราบความประสงค์ของนายพราน จึงได้มอบงาให้แก่พรานผู้นั้น แล้วตั้งจิตอธิษฐานให้ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ และล้มลงขาดใจ ณ.ที่ตรงนั้น “ผู้ใดยังไม่หมดกิเลส ปราศจากทมะ และสัจจะ ผู้นั้นไม่ควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดคลายกิเลสได้แล้ว ตั้งมั่นอยู่ในศีล ประกอบด้วยทมะ และสัจจะ ผู้นั้นแลควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ”
- 5 นิทานพรรณนามารผู้มีใจบาป เมื่อได้ล่วงรู้พระวิตกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เจ้ามารจึงคิดว่าหากพระองค์ทรงดำริว่า “เราอาจเพื่อครอบครองราชสมบัติหรือหนอ ?” และหากพระองค์นั้นเสด็จกลับไปเพื่อครอบครองราชสมบัติ ก็ย่อมได้ชื่อว่าราชสมบัติเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เมื่อนั้นโอกาสย่อมเกิดแก่เราผู้เป็นมาร บุคคลผู้เกิดมา ได้เห็นทุกข์ว่า มีกามใดเป็นเหตุ ไฉนผู้ที่เกิดมาคนนั้น จะพึงน้อมไปในกามนั้นได้เล่า?
- 5 นิทานพรรณนาพราหมณ์ผู้หนึ่งถือหม้อดินไว้ในมือ แล้วเดินไปตามทางที่มืดมิด พระโพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติเป็นพระเจ้าชุณหะในขณะนั้น ได้ชนเข้ากับพราหมณ์ชราผู้นี้ จนทำให้หม้อดินที่พราหมณ์ถืออยู่นั้นหล่นแตกเสียหาย ในกาลต่อมาพระเจ้าชุณหะ ทรงทำการสงเคราะห์พราหมณ์ชราด้วยเหตุเพียงเล็กน้อย แต่พระองค์ทรงยึดมั่นในสัจจะวาจาที่เคยให้ไว้กับพราหมณ์ “นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมไม่ทำคุณที่เขาทำไว้ในกาลก่อนให้เสื่อมสูญไป คุณที่ทำไว้ในนักปราชญ์ทั้งหลาย ถึงจะน้อยก็ย่อมไม่เสื่อมหายไป เพราะว่านักปราชญ์ทั้งหลายเป็นผู้มีความกตัญญู”
- 5 นิทานพรรณนาโชติปาลกุมารนายขมังธนูผู้เชี่ยวชาญในศิลปะสามารถยิงธนูได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ ว่องไว แม้แผ่นไม้สะแกที่หนา หรือแผ่นทองแดง และเหล็กกล้าที่มีความหนามาก นายขมังธนูผู้นี้ก็สามารถยิงลูกศรให้ทะลุได้อย่างง่ายดาย ในกาลต่อมานายขมังธนูผู้นี้ได้ออกบวชโดยมีชื่อว่าสรภังคดาบส และมีศิษย์ชื่อสาลิสสระดาบส ผู้ชาญฉลาดรู้คุณอันวิเศษแห่งอาจารย์ “ ท่านผู้ฉลาดย่อมกล่าวว่า ปัญญานั่นแหละประเสริฐสุด ดุจพระจันทร์ประเสริฐกว่าดวงดาวทั้งหลาย ฉะนั้น ศีล ศิริ และธรรมของสัตบุรุษย่อมเป็นไปตามบุคคลผู้มีปัญญา ”
- 5 นิทานพรรณนาสุปารกบัณฑิตผู้เป็นต้นหนแห่งเรือในขณะนั้น ได้นำเรือแล่นมาถึงท้องทะเลที่ชื่อว่า พลวามุข น้ำทะเลนั้นก็เดือดพล่าน พุ่งขึ้นปรากฏเป็นเหมือนเหวใหญ่ เมื่อคลื่นพุ่งทะยานขึ้น ท้องทะเลก็เป็นเหมือนเหวติดต่อกันไป ส่งเสียงดังน่าสะพรึงกลัวเป็นอย่างยิ่ง เหล่าลูกเรือต่างพากันกลัวต่อมรณภัยที่กำลังมาถึงตน พากันโอดครวญร่ำไห้หวาดหวั่นด้วยความกลัว ต้นหนแห่งเรือจึงได้กระทำสัจจกิริยาด้วยอำนาจแห่งศีล 5 ครั้นกระทำสัจจกิริยาแล้ว ก็รดน้ำในถาดที่เต็มลงที่แอกเรือนั้น “ชาติกำเนิด พวกพ้อง นำสุขมาให้ในสัมปรายภพไม่ได้ ส่วนศีลของตนที่บริสุทธิ์ดีแล้ว จึงนำสุขมาให้ในสัมปรายภพได้”
- 5 นิทานพรรณนาปุณณกยักษ์นำตัววิธุรบัณฑิตไป เหตุเพราะเป็นฝ่ายชนะสกา ระหว่างเดินทางเจ้ายักษ์นั้นพยายามลงมือฆ่าวิธุรบัณฑิตหลายครั้งเพื่อเอาหัวใจ ด้วยบุญบารมีของวิธุรบัณฑิตไม่ว่ายักษ์จะทำอย่างไรก็ไม่สามารถทำอันตรายท่านได้ วิธุรบัณฑิตได้โอกาสจึงแสดงธรรมแก่ปุณณกยักษ์ จนยักษ์นั้นเกิดความเลื่อมใส และพาไปยังนาคพิภพเพื่อแสดงธรรมแก่พญานาค และนางวิมลาเทวี ซึ่งในตอนนี้นางวิมลาทรงนอนป่วยไข้ ซูบผอม ไม่ยอมเสวยอาหารใด ๆ ครั้นเมื่อนางนาคเทวีได้ฟังธรรมจากวิธุรบัณฑิต ก็หายจากอาการป่วยไข้ มีกำลังในทันที “ปัญญาเป็นดังหัวใจของบัณฑิตทั้งหลาย ผู้รู้ย่อมสรรเสริญคนมีปัญญา พูดจริง ตั้งมั่นในศีล ประกอบความสงบใจนั่นแล”
- ปุณณกยักษ์ขอเข้าเฝ้าพระเจ้าธนัญชัยโกรพยราช เพื่อท้าแข่งสกา หากพระราชาชนะจะได้แก้วมณี และม้าวิเศษ แต่หากแพ้จะต้องให้วิธุรบัณฑิตแก่ตน ระหว่างทอดสกาพระเจ้าธนัญชัยโกรพยราชก็เริ่มท่องมนต์เพื่อขอให้มารดา ผู้ซึ่งเป็นอารักขเทวดาช่วยพลิกลูกสกาให้มีแต้มชนะ ปุณณกยักษ์เอะใจ จึงถลึงตาใส่นางเทพธิดา จนเกิดความกลัว เพราะอานุภาพของปุณณกยักษ์ นางจึงหลบหนีออกไปอย่างอกสั่นขวัญแขวน ทำให้พระเจ้าธนัญชัยโกรพยราชพ่ายแพ้ ปุณณกยักษ์จึงขอวิธุรบัณฑิต และพยายามฆ่าเพื่อเอาหัวใจ “การรักษาสัจจะ คือ การรักษาความสัตย์ซื่อจริงใจที่ตนเองมีแก่คนอื่น ดังเช่นวิธุรบัณฑิตได้ปฏิบัติตามคําพูดที่ได้รับปากกับปุณณกยักษ์ผู้มุ่งหวังที่จะฆ่าตนเองเพื่อจะเอาหัวใจ”
- 5 นิทานพรรณนาปุณณกยักษ์ผู้เป็นหลานของท้าวเวสวัณมหาราชมาพบเข้ากับนางอิรันทตีผู้เป็นธิดาแห่งนาคราช จึงเกิดความเสน่หาขึ้น แล้วรับอาสาว่าจะไปนำหัวใจของวิธุรบัณฑิตมาให้นางผู้เป็นที่รัก จึงคิดว่าจะนำแก้วมณีอันมีค่ามาโลมล่อพระเจ้าธนัญชัยโกรพยราช หากแต่แก้วมณีนั้นมียักษ์กุมภัณฑ์รักษาอยู่ ปุณณกยักษ์เพียงแค่ทำท่าโกรธถลึงตาเท่านั้น เหล่ายักษ์ทั้งหลายก็สะดุ้งกลัวตัวสั่นและหนีไป ปุณณกยักษ์จึงถือเอาแก้วมณีแล้วเหาะไป ศีลตั้งมั่นอยู่ในนรชนใด บัณฑิตเรียกนรชนผู้ประกอบพร้อมด้วยศีล นั้นแล ว่าเป็นผู้ปกติสุข
- 5 นิทานพรรณนาอุบาสกสิริคุตต์ผู้มีศรัทธาในพุทธศาสนาเข้าไปทูลนิมนต์พระศาสดา เพื่อเสวยภัตตาหารยังบ้านของครหทินน์ผู้เป็นสหายแห่งตน ครหทินน์ด้วยความโกรธที่มีต่อสิริคุตต์ จึงสั่งให้คนรับใช้ขุดหลุมลึก แล้วเอาถ่านไฟจากไม้ตะเคียนร้อน ๆ ใส่ไว้ แล้วปูทับด้วยเสื่อลำแพนเพื่อไม่ให้มองเห็น เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึงก็กราบทูลให้เข้าไป ทันทีที่พระบาทประทับลงบนเสื่อลำแพน ดอกบัวดอกใหญ่ก็ผุดขึ้นท่ามกลางเพลิงไม้ตะเคียน เพื่อรองรับพระบาททุกย่างก้าวที่เสด็จ “ดอกบัวมีกลิ่นดี พึงเกิดในกองหยากเยื่อ อันบุคคลทิ้งแล้วใกล้หนทางใหญ่ ดอกบัวนั้น พึงเป็นที่ชอบใจ ฉันใด ในหมู่ปุถุชนผู้เกิดเป็นดังกองหยากเยื่อ สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมไพโรจน์ ล่วงซึ่งปุถุชนผู้มืดทั้งหลาย ด้วยปัญญา ฉันนั้น”
- 5 นิทานพรรณนาบุรุษชาวเมืองอาฬวีผู้เข็ญใจได้ยินข่าวว่าพระศาสดาเสด็จมา เขาได้ตั้งใจไว้ว่าจะไปฟังธรรมของพระศาสดา ในวันนั้นเอง โคตัวหนึ่งของเขาได้หายไป เขาจึงคิดว่า "เราจักค้นหาโค หรือจะฟังธรรม" บุรุษผู้นั้นจึงคิดว่าเขาจะเที่ยวตามหาโคก่อน และต้อนโคนั้นให้เข้าไปสู่ฝูง แล้วจึงจะไปฟังธรรมในภายหลัง บุรุษผู้มีปัญญาย่อมเห็นว่า สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง เมื่อทราบเนื้อความตามความเป็นจริงแล้ว พึงกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เพราะนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
- 5 นิทานพรรณนาสังขปาลนาคราชมีความเบื่อหน่ายต่อความเป็นนาค ปรารถนาความเป็นมนุษย์ จึงออกจากนาคพิภพมายังแดนมนุษย์ เพื่อรักษาอุโบสถศีล โดยอธิษฐานว่า “หากบุคคลใดต้องการหนัง เอ็น กระดูก เนื้อ และเลือดก็เชิญเถิด เราได้สละแล้ว แต่จะไม่ยอมประพฤติล่วงศีล แม้ต้องสละชีวิต” แล้วจึงลงนอนขดตัวที่จอมปลวก ครั้นเมื่อเหล่านายพรานถืออาวุธทั้งหอก และหลาวเข้าไปจับสังขปาลนาคราชเพื่อเป็นอาหาร หากแต่สังขปาลนาคราชยังคงรักษาอุโบสถศีลด้วยใจที่ตั้งมั่น จึงยอมรับเอาหอก และหลาวที่นายพรานทิ่มแทงตามร่างกายด้วยความอดทน การรักษาศีลในระดับ "ปรมัตถบารมี" นับว่ายากยิ่ง เพราะหมายถึงการยอมสละด้วยชีวิต คือ รักศีลยิ่งกว่าชีวิตของตน หากรักษาศีลได้บริบูรณ์แล้ว ศีลย่อมรักษาผู้นั้นอย่างดี เหมือนดั่ง พระโพธิสัตว์สังขปาลนาคราช ผู้รักษาศีลยิ่งกว่าชีวิตของตน
- 5 นิทานพรรณนาครุฑกับนาคนั้นไม่ค่อยจะลงรอยกันนัก ด้วยเหตุนี้ ครุฑจึงจับนาคเป็นอาหาร ประกาศศึกล้างผลาญกันเรื่อยมา เหล่านาคเมื่อถูกครุฑนำไปเป็นอาหารอยู่เนือง ๆ จึงหาวิธีป้องกันตัวโดยกลืนกินก้อนหินใหญ่เข้าไปไว้ในท้อง เพื่อถ่วงตัวให้หนัก เมื่อครุฑโฉบมาก็ยื่นหน้าแยกเขี้ยวคอยขบกัดครุฑที่จ้องจะจับศีรษะของตน ครุฑนั้นพยายามฉุดนาคขึ้นให้พ้นน้ำ แต่เนื่องจากความหนักของก้อนหินที่ถ่วงไว้กว่าครุฑจะฉุดนาคขึ้นไปได้ก็ถูกคลื่นซัดจมน้ำเสียมาก “การประกาศความลับที่ตนควรจะรักษาแก่คนชั่ว เพราะความหลง ภัยย่อมตามถึงนรชนนั้น ผู้แพร่งพรายความลับแล้ว เหมือนพญาครุฑผู้ล่วงรู้ความลับของนาคราช ฉะนั้น.”
- 5 นิทานพรรณนาวันหนึ่ง นางเภรีปริพาชิกาได้ถามปัญหามโหสถด้วยเครื่องหมายแห่งมือ เพื่อทดสอบความเป็นบัณฑิต หรือไม่ใช่บัณฑิต ด้วยการแบมือออกบ้าง ยกมือขึ้นลูบศีรษะตนเองบ้าง มโหสถผู้เป็นนักปราชญ์สามารถทราบความแห่งปัญหานี้โดยแจ่มแจ้ง ปัญญามีประโยชน์ใหญ่หลวงยิ่ง เป็นสิ่งละเอียด เป็นเหตุให้บุคคลเกิดสัมมาทิฐิ ย่อมเกิดประโยชน์เกื้อกูลทั้งในปัจจุบัน และความสุขสงบในภายภาคหน้า มโหสถชาดก ตอนที่ 13 ปัญหาผีเสื้อสมุทร
- 5 นิทานพรรณนามโหสถได้โยกสลักยนต์ เพื่อปิดประตูอุโมงค์ลับ ทันใดนั้นประตูทุกบานต่างถูกปิดลงพร้อม เหล่าพระราชาผู้ตามเสด็จต่าง ตระหนกตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สะดุ้งหวาดกลัวต่อมรณภัยที่มาถึงด้วยกันทั้งสิ้น ด้วยสติปัญญาอันชาญฉลาดของมโหสถบัณฑิต จึงสามารถแก้ไขวิกฤตการณ์จากร้ายให้กลายเป็นดี เปลี่ยนศัตรูผู้จ้องผลาญกลายเป็นมิตรแท้ผู้เกื้อกูลได้ นอกจากมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดแล้ว ยังประกอบด้วยคุณธรรมอันประเสริฐ มิได้ลุ่มหลงในลาภยศสรรเสริญ จึงได้รับยกย่องสรรเสริญว่าเป็นบัณฑิตผู้มีปัญญา
- 5 นิทานพรรณนาเหล่าทหารของมโหสถนำเสด็จกษัตริย์ทั้งสี่พระองค์มาถึงเชิงบันได แล้วช่วยกันเปิดปากประตูอุโมงค์ลับ หลังจากนั้นจึงทูลเชิญให้เสด็จพระราชดำเนินไปตามทาง เพื่อนำไปเป็นตัวประกัน ธรรมดาของมนุษย์ผู้ที่ยังหลงใหลติดอยู่ในกามคุณ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เมื่อพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ย่อมโศกเศร้า เสียใจ ทุกข์ทรมานแสนสาหัส เมื่อลุ่มหลงพันผูกอยู่กับความสุข ย่อมทุกข์ทรมานไม่แตกต่างกัน เปรียบเหมือนกับปลาติดแหของชาวประมง ที่เขาเอาเหยื่อมาหลอก มาล่อ ย่อมมีความทุกข์อยู่ตลอดเวลา วิสัยของบัณฑิตย่อมปลดเปลื้องความล่อลวงด้วยปัญญา มโหสถชาดก ตอนที่ 11 ตัวประกัน
- 5 นิทานพรรณนามโหสถเปิดเรือนจำถอดโซ่ตรวนให้กับเหล่านักโทษ เพื่อระดมไปสร้างอุโมงค์ลับ และรวบรวมเหล่าช่างแขนงต่าง ๆ ที่มีความสามารถเชี่ยวชาญในศิลปะนั้น ๆ ส่วนผู้ที่ชำนาญในการสู้รบก็คัดเลือกเข้าไว้ในกองทัพ เมื่อเดินทางถึงแผ่นดินของศัตรู มโหสถได้วางแผนในการสร้างอุโมงค์ลับที่ใหญ่โตมโหฬาร เพียบพร้อมไปด้วยกลไกควบคุม บัณฑิตย่อมตั้งอยู่ในความไม่ประมาทในการงาน มีสติเตือนตนอยู่เสมอ ไม่ท้อถอย ตระหนักถึงสิ่งที่ต้องกระทำ ใส่ใจอยู่ในหน้าที่ ไม่ปล่อยปละละเลย กระทำอย่างจริงจัง นั่นคือ วิสัยของผู้เป็นบัณฑิต มโหสถชาดก ตอนที่ 10 กลอุโมงค์ลับ
- 5 นิทานพรรณนามโหสถส่งนกแก้วแสนรู้ไปสืบความลับจากนางนกสาริกา ด้วยเหตุว่า พระเจ้าจุลนีทรงมุ่งหมายจะปลงพระชนม์ชีพของพระเจ้าวิเทหราชเหมือนพรานผู้นำเหยื่อมาล่อลวง เปรียบดังปลาที่อยู่ในน้ำลึก อยากกินของสดซึ่งเขาทำเป็นเหยื่อติดไว้ที่เบ็ด มันย่อมไม่รู้จักความตายของมัน ฉันใด ความปรารถนาในกามไม่ทรงทราบว่าพระราชธิดาของพระเจ้าจุลนีเป็นเหมือนเหยื่อล่อปลา ปลาผู้หลงในกามปรารถนาเหยื่อย่อมไม่ระวังภัยที่จะมาถึงตน มโหสถชาดก ตอนที่ 9 หลุมพลางแห่งกาม
- 5 นิทานพรรณนา“พราหมณ์ผู้นึงเอาศีรษะของเขาถูไปมากับพื้นดิน ไถไปไถมาจนเลือดไหลนองเต็มศรีษะ” ปัญญาอันเลิศล้ำย่อมทำคุณให้แก่บุคคล ยิ่งกว่าทรัพย์มหาสมบัติ ผู้ที่มีสติปัญญา คิดวางแผนไตร่ตรองอย่างรอบคอบ มีความไม่ประมาทในชีวิต ย่อมรักษาตนและคุ้มครองผู้อื่นได้ด้วยอนุภาพแห่งสติปัญญา
- 5 นิทานพรรณนา“นกแก้วแสนรู้ตัวหนึ่ง แฝงตัวจับอยู่ที่กิ่งต้นรังในอุทยานของพระราชา ณ ใต้ต้นรังนั้นมีแผ่นศิลาที่พระองค์ทรงประทับตั้งอยู่ เจ้านกแก้วเฝ้าแอบฟังบทสนทนาอย่างตั้งใจ” การรู้เท่าทันถึงมหันตภัยที่จะมาถึงตนอย่างไม่ประมาท หาทางป้องกันภัยนั้นมิให้เกิดขึ้นกับตนได้ นั้นเป็นวิสัยของบัณฑิต เปรียบเหมือนบุคคลผู้เห็นสัตว์ร้ายมาแต่ไกล ย่อมหาหนทางที่จะขับไล่สัตว์ร้ายนั้นด้วยก้อนดินหรือท่อนไม้ ผู้ที่ฉลาดย่อมมองเห็นภัยนั้นแต่ไกล
- 5 นิทานพรรณนา“สุนัขฝูงนึงกัดกินแทะเล็มล้อรถที่ทำมาจากหนัง ฝูงสุนัขนั้นรุมกัดกินล้อรถทั้ง 4 ล้อของรถคันนั้นจนพังพินาศ แล้วพวกมันก็วิ่งหนีไป” ความอดทนอดกลั้นต่อคำหยาบ คำส่อเสียด อดกลั้นต่อเวทนาทั้งหลาย เช่น ความทุกข์ ความไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ ซึ่งเมื่อไม่อดกลั้นอยู่ อาสวะ และความเร่าร้อนบีบคั้นก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่ออดกลั้นอยู่ อาสวะความเร่าร้อน และความบีบคั้นย่อมไม่มี กล่าวได้ว่า ขันติความอดทนอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง
- 5 นิทานพรรณนา“ถังข้าวสารใบใหญ่ใบนึง ตั้งอยู่ที่มุมห้องในท้องพระโรงของพระราชวัง มีชายหนุ่มผู้นึงแอบเข้าไปซ่อนตัวอยู่ในถังข้าวสารใบนั้น ทั้งอับ ทั้งร้อน แต่เพื่อที่เขาจะได้ทราบเบาะแสอะไรบางอย่าง ชายหนุ่มจึงแอบอยู่ข้างในนั้น” การปกปิดความลับไว้นั่นแหละเป็นการดี การเปิดเผยความลับแก่ผู้อื่น โดยเฉพาะแก่บุคคลผู้ที่มิใช่มิตรนั้น บัณฑิตไม่สรรเสริญเลย บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อประโยชน์ที่มุ่งหมายยังไม่สำเร็จตามที่ตนปรารถนา ก็พึงอดทนกลั้นไว้ไม่พึงเปิดเผยความลับนั้นเป็นอันขาด ต่อเมื่อประโยชน์ที่ตนมุ่งหมายสำเร็จเรียบร้อยแล้ว จึงพึงเปิดเผยแก่คนทั้งปวง นั้นเรียกว่า ผู้มีปัญญา
- “นายช่างปั้นหม้อผู้นึง ตามเนื้อตัวของเขาเปรอะเปื้อนไปด้วยดินเหนียวแลดูมอมแมมนัก ครั้นเมื่อเสร็จภาระการงานแล้ว ก็กลับมานั่งบริโภคอาหารที่มีเพียงข้าวเหนียวไม่มีแกง ทำกิจการงานไปก็รอคอยราชทูตนำข่าวสารมาส่งให้” อานุภาพแห่งปัญญานั้น ย่อมทำให้บุคคลผู้มีปัญญาไม่กระทำชั่ว เพื่อให้ได้ความสุข ย่อมไม่สละธัมม์ด้วยความรัก หรือความชัง เปรียบดังบุคคลที่ได้รับการเกื้อหนุนอุปการะจากผู้ใด ย่อมไม่ทำให้ไมตรีนั้นเสียไปด้วย ความโง่เขลา หรือความหลงในยศอำนาจ อิสริยยศแม้จะวิเศษเพียงไร ก็ไม่อาจนำมาเปรียบกับแสงสว่างของปัญญาได้
- 5 นิทานพรรณนา“เจ้าแพะตัวนึงเดินหลังแอ่น คอตกมาตามทาง ระะหว่างทางเจ้าแพะผู้โชคร้ายเจอเข้ากับสุนัขซึ่งก็เดินคอตก หลังแอ่นเพราะถูกเอาท่อนไม้ตีลงที่หลังมาเหมือนกันกับตน ทั้งสองจึงปรับทุกข์แก่กันและกัน” อัญมณีทั้งปวง เป็นสิ่งที่มนุษย์ให้คุณค่ามาก บุคคลใดมีไว้ในครอบครอง ย่อมถือว่าเป็นศิริแก่ตน เหตุเพราะบุคคลที่มีอัญมณีไว้ในครอบครองนั้น ย่อมได้รับการสรรเสริญว่าเป็นผู้ที่มีฐานะ หากแต่บัณฑิตทั้งหลายนั้นสรรเสริญผู้มีปัญญาว่า มีทรัพย์อันประเสริฐล้ำเลิศกว่าอัญมณีใด ๆ ในโลก เหตุเพราะปัญญาเป็นดั่งรัตนะของนรชน คือ ผู้มีปัญญาเป็นผู้มีแก้วประเสริฐสารพัดนึก ผู้มีปัญญาย่อมขวนขวายหาทรัพย์ได้ หากแม้ตกอยู่ในภัยพิบัติ ก็สามารถพลิกผันชีวิตให้ประสบความสุขสำเร็จได้ทุกเมื่อ ปัญญานั้นย่อมประเสริฐกว่ารัตนะทั้งปวง
- 5 นิทานพรรณนา“ฬาตัวหนึ่งเที่ยวเดินไปเดินมาอยู่ที่ริมคูในเมืองมิถิลา เด็กกลุ่มหนึ่งที่มีกำลังต่างช่วยกันผูกฬาตัวนั้นที่ปาก เพื่อไม่ให้ร้องได้ แล้วห่อด้วยเสื่อลำแพนป้องกันไม่ให้ใครเห็น เด็กกลุ่มนั้นก็แบกเจ้าฬาไป” ปัญญาเป็นแสงสว่างอันประเสริฐ แม้แสงอาทิตย์ส่องสว่างในเวลากลางวัน แสงจันทร์นั้นสว่างในเวลากลางคืน หากแต่แสงสว่างแห่งปัญญาเป็นแสงสว่างที่ไม่มีวันดับหรือหรี่ลงได้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วสามารถนำไปใช้ได้ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน กล่าวได้ว่า แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี
- “สตรี 2 นาง กำลังยื้อแย้งทารกน้อยกันอยู่ คนนึงดึงเท้าอีกคนดึงส่วนหัวของทารกอย่างสุดกำลัง ครั้นทารกน้อยถูกชักเย่อไปมาเช่นนั้น ก็เหมือนดั่งตุ๊กตาที่ขาและลำตัวกำลังจะหลุดขาดออกจากกัน จึงส่งเสียงร้องไห้เพราะความเจ็บปวด ทรมาน” ปัญญาเปรียบดั่งแสงสว่างอันประเสริฐ บุคคลผู้ดำรงชีวิตโดยใช้ปัญญานำทาง ย่อมไม่ต่างกับการเดินทางในตอนกลางคืนแต่มีคบไฟส่องสว่าง ย่อมมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ในทางตรงกันข้าม หากบุคคลดำเนินชีวิตไร้ซึ่งสติและปัญญาแล้ว ย่อมไม่ต่างกับการเดินทางบนถนนอันมืดมิด อันตรายย่อมเกิดแก่ชีวิตตน
- 5 นิทานพรรณนาทารกน้อยคนนึง ถือกำเนิดมาพร้อมกับในมือที่ถือรากไม้ออกมาด้วย ผู้เป็นมารดาเห็นดังนั้นจึงรำพึงขึ้นว่า “ลูกเพิ่งคลอดออกจากครรภ์แม่ เจ้าถืออะไรมาด้วย” ทารกน้อยคนนั้นตอบผู้เป็นมารดาว่า “รากไม้นี้ คือ โอสถจ๊ะแม่” ความรู้ทั่ว ความเข้าใจชัดเจน รู้คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ของบุคคล คือ ปัญญา อันเปรียบดั่งแสงสว่างที่จะนำพาตนเอง และผู้อื่นข้ามพ้นจากความมืด ดำเนินไปตามทางแห่งความสว่าง ความเจริญและเป็นสุข เปรียบประหนึ่งบุรุษผู้มีแผนที่ชี้ทาง หนทางใดประพฤติแล้วเป็นสุขพึงกระทำ หนทางใดประพฤติแล้วทุกข์ก็ควรละเสีย ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญา
- 5 นิทานพรรณนา“นกกาตัวนึง มันบินถลามาเกาะที่ไหล่ของบุรุษผู้ถูกขึงตรึงพืดเสียบหลาวอยู่ ณ กลางลาน บุรุษนั้นเสวยทุกข์เวทนาแสนสาหัส เหล่านกกาพากันไปเกาะที่ศีรษะบ้าง ไหล่บ้าง เพื่อรุมยื้อแย่งจิกนัยน์ตาของเขาด้วยจะงอยปากอันคมเหมือนปลายคีม ยังความตายมาสู่บุรุษนั้น” การประกอบตนให้ พัวพัน หมกมุ่น ลุ่มหลงในสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ แม้ทุกข์ทางกายทางใจอันถูกหอก และดาบทิ่มแทงเป็นปัจจัยนี้ก็ดี ทุกข์ที่ถูกคบเพลิงเผาอยู่เนือง ๆ ก็ดี แม้ทั้งหมดนี้ก็หาใช่ความทุกข์ไม่ ความมืดบอดย่อมบังเกิดขึ้นเหตุเพราะกลลวงแห่งกาม บุคคลผู้มีจักษุดี ย่อมเห็นเช่นนี้ว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน เป็นของหลอกลวง เหมือนของที่ยืมเขามา เปรียบด้วยหอกและหลาว เป็นความทุกข์ยาก เป็นความลำบาก เป็นรากเหง้าแห่งความทุกข์ เป็นภัยทั้งปวง
- 5 นิทานพรรณนา“บุตรเศรษฐีคนนึง มีใจเสน่หาหลงใหลในนางโสเภณี ในทุก ๆ วัน เขาจะนำทรัพย์มากมายไปให้เธอ วันละหลาย 1,000 กหาปณะ ด้วยความบำรุงบำเรอของบุตรเศรษฐีผู้นั้น เขาจึงถูกนางลวงหลอกไปฆ่าเสีย” ความปรารถนาแห่งกามไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อหลงใหลเสน่หาในรูปแล้ว ย่อมให้กำเนิดเกิดความปรารถนาสืบต่อเนื่องขึ้นไป เช่น ความปรารถนาในความเป็นอยู่ ความปรารถนาในเครื่องอุปโภคทั้งหลาย ความปรารถนาในกามนั้น เมื่อพอกพูนเข้าอย่างนี้ จักไม่ยอมให้บุคคลยกศีรษะขึ้นได้จากอบาย บุคคลผู้มีปัญญาดีย่อมเห็นว่า กามทั้งหลายเป็นของเผ็ดร้อน เหมือนดั่งงูพิษ
- 5 นิทานพรรณนา“นายพรานคนนึง อยู่ ๆ มือเท้าของเขาก็เกิดหงิกงอขึ้นมา เขาไม่อาจเดิน และจับถืออะไรได้ พรานผู้นั้นได้แต่อาศัยดื่มกินน้ำในรอยเท้าโคประทังชีวิต ร่างกายของเขานั้นก็ผอมซูบ ผิวหนังค่อย ๆ แตกปริเป็นร่องริ้ว กลายเป็นสีดำคล้ำดูเหมือนเปรต เป็นเปรตทั้งที่ยังเป็นมนุษย์ เสวยทุกข์ใหญ่หลวง” รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสต กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ โผฏฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่ารัก น่าใคร่ น่าพอใจ ประกอบด้วยกามอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด บุคคลผู้ถูกราคะเข้าครอบงำ ย่อมถลำลงสู่กระแสแห่งตัณหา เหมือนดั่งแมงมุมตกลงไปยังใยที่ตนถักไว้ บุคคลผู้มีปัญญาจึงทำลายเครื่องจองจำนี้ เพื่อละทุกข์ทั้งปวง
- 5 นิทานพรรณนาม้าตัวนึงมีปากสองปาก เมื่อเจ้าม้าตัวนั้นต้องการจะกินหญ้าและอาหาร มันก็ใช้ทั้งสองปากของมันนั้น กินหญ้าและอาหารอย่างเต็มที่ ดูแล้วช่างน่าประหลาดจริงหนอ ราคะ โทสะ โมหะ ไฟอันเร่าร้อนย่อมเผาบุคคลผู้อยู่ใต้อำนาจของมันให้รุ่มร้อนกระวนกระวาย ไฟทั้ง 3 กองนี้ ย่อมตามเผาผลาญบุคคลผู้ไม่รู้สึกว่าเป็นไฟ หากบุคคลผู้ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท ดำรงตนในศีลย่อมไม่ถูกไฟนั้นแผดเผา เหตุพราะศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้น ควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
- 5 นิทานพรรณนานกหัวขวานตัวนึง เข้าไปในปากของพระยาราชสีห์ แล้วมันก็จิกและจิก ที่ในปากของพระยาราชสีห์ตัวนั้น การรู้คุณ และตอบแทนคุณ เป็นคุณธรรมพื้นฐานของคนดี ผู้ไม่รู้อุปการะคุณที่ผู้อื่นได้กระทำแล้ว ผู้ที่ไม่ตอบแทนอุปการะคุณที่ผู้อื่นทำให้แล้ว ดั่งนกหัวขวาน ผู้เปี่ยมด้วยความกรุณาสงสารราชสีห์จึงรับคำช่วยเหลือ “ความกตัญญูไม่มีในผู้ใด การคบหาผู้นั้น ก็ไร้ประโยชน์”
- 5 นิทานพรรณนานกยูงตัวนึงมีขนที่งดงามมาก แผงคอของมันแดงราวกับทับทิม ส่วนหางของมันนั้นสวยงามดั่งแก้วมณีประดับ มันกำลังรำแพนหางอยู่ท่ามกลางที่ประชุมของเหล่านกทั้งหลายอย่างงดงามอลังการเป็นอย่างยิ่ง ความเกรงกลัวและละอายต่อบาปนั้น เป็นธรรมอันคุ้มครองเพื่อไม่ให้บุคคลกระทำความชั่ว มีความขาวสะอาด ทั้งกาย วาจา และจิตใจ หากบุคคลขาดความเกรงกลัวและละอายต่อบาป ย่อมถูกชักจูง ชักชวนไปในหนทางที่ผิดได้โดยง่าย เหมือนดัง นกยูงทำลายหิริโอตตัปปะ แล้วรำแพนอยู่
- 5 นิทานพรรณนาหงส์ตัวนึง สามารถบินได้อย่างรวดเร็ว ความเร็วของมันนั้น เร็วยิ่งกว่าแสงเสียอีก บุคคลเมื่อเล็งเห็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ตน ก็ไม่ควรตกอยู่ในอำนาจของความโลภ เพราะเมื่อมีความโลภมาก แทนที่จะเป็นประโยชน์ตนกลับจะเป็นการเสียประโยชน์นั้น พึงปฏิบัติตนดังผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน ไม่พึงลุอำนาจของโลภะ พึงกำจัดน้ำใจที่ละโมบเสีย
- 5 นิทานพรรณนาสุนัขจิ้งจอก 3 ตัว ตัวนึงมันเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในถ้ำแก้วผลึกที่สามารถมองเห็นจากภายนอกได้ อีกตัวนึงมันก็เข้าไปหากินอยู่ที่ป่าช้า ตัวสุดท้ายเข้าไปในซากศพของช้างที่ตายแล้ว ในบรรดา 3 ตัวนี้ มีอยู่ 1 ตัวที่ไม่สามารถเอาชีวิตรอดได้ บุคคลใดประสงค์จะทำการงานโดยมิได้พิจารณา คือ มิได้สอบสวนโทษในการงานนั้น รีบร้อนตกลง ผลุนผลันปฏิบัติ เพื่อรีบทำการงานนั้น การงานทั้งหลายเช่นนั้น ย่อมเผาผลาญบุคคลผู้นั้น ผู้มิได้พิจารณา ดังขาดตาปัญญาเสียแล้ว ก็เหมือนคนตาบอด เหยียบลงไปได้ แม้กระทั่งไฟที่ส่องทาง
- 5 นิทานพรรณนากบตัวนึงอาศัยอยู่ในสระน้ำที่เหือดแห้ง เหล่านกกาต่างก็มารุมจิกกินเจ้ากบตัวนี้ด้วยความหิวโหย นักปกครองที่ดีนั้น หมายถึง บุคคลที่ทรงธรรม และทำให้ประชาชนเกิดความสงบสุขด้วยธรรม ไม่ใช้อาชญา หรือศาสตราเข้าแย่งชิง เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครอง โดยพึงชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้ พึงชนะคนพูดเหลาะแหละด้วยคำสัตย์ ผู้ปกครองในลักษณะนี้ชื่อว่า “ธรรมราชา”
- 5 นิทานพรรณนานักโทษประหารคนนึง ถือหม้อซึ่งเต็มเปี่ยมไปด้วยน้ำมันงา แม้จะเติมน้ำมันงาลงไปอีกเพียงหยดเดียว หม้อนั้นคงล้นปริ่ม เพชรฆาตผู้เดินตามหลังนักโทษคนนี้ ตะโกนบอกกับเขาว่า จะตัดคอให้ขาด จะตัดคอนั้นให้ขาด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนให้พึงสำรวมอินทรีย์ คือ สำรวมตา สำรวมหู สำรวมจมูก สำรวมลิ้น สำรวมกาย สำรวมใจ ความสำรวม คือ ความระมัดระวังด้วยสติ ในทุกเวลา ประดุจดั่งนักโทษผู้สำรวมระวังในการถือหม้อน้ำมันอันล้นปริ่ม เพื่อให้รอดพ้นจากมรณภัย ทรงอุปมาเทียบเคียง “หม้อน้ำมันกับกายคตาสติ”
- 5 นิทานพรรณนานกอินทรีย์ตัวนึง อยู่ ๆ ก็พุ่งบินลงไปในบ่อน้ำ มันพยายามกินน้ำให้เต็มท้องมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ปีกเจ้านกอินทรีย์ชุ่มโชกไปด้วยน้ำแล้วเจ้านกอินทรีย์ก็เอาน้ำนั้นหล่ะ รีบเร่งไปดับไฟ มิตรที่ดีย่อมนำปัญญามาสู่ผู้เป็นสหาย ดังนักปราชญ์มีการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นสุข นำความดีงามมาสู่ชีวิตผู้เป็นสหาย เหมือนกับสัตว์ 4 สหายใน มหาอุกกุสชาดกนี้
- 5 นิทานพรรณนาปลาตัวนึงว่ายวนเวียนอยู่ในน้ำ อยู่ ๆ ก็มีถุงร่วงหล่นลงมา เห็นดังนั้น มันก็ว่ายตรงเข้าไปที่ถุงใบนั้น แล้วก็อ้าปากกว้าง ๆ ของมัน กินถุงทั้งใบ ถุงใบนั้นเข้าไปอยู่ในท้องของเจ้าปลา โดยหารู้ไม่ว่า ในถุงนั้นมีเงินอยู่เป็นแสนเลย ในบางครั้งที่เราต้องติดต่อกับผู้คนซึ่งเกี่ยวเนื่องด้วยเงินทอง และการค้าขาย เราอาจเจอกับคนที่มีจิตใจเป็นอกุศล มีบาป เจอกับการเอารัดเอาเปรียบ หรือการโกง เราสามารถเลือกวิธีแก้ปัญหาแก้สถานการณ์นั้นด้วยปัญญาได้ในหลายรูปแบบ เช่นเดียวกับพ่อค้าในนิทานชาดกทั้ง 3 เรื่องในวันนี้ และในช่วงท้ายยังมีเรื่องที่ 4 ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญญาในการช่วยปลาให้มีชีวิตรอดอยู่ต่อไปได้
- 5 นิทานพรรณนา“พราหมณ์คนนึง นำใบไม้ ผลไม้ หลากหลายชนิดมาโขลกผสมรวมกันใส่ลงไปในหม้อ แล้วใส่ปัสสาวะ และอุจจาระของโค ลงไปผสมในหม้อนั้นด้วย จากนั้นก็ต้มเคี่ยวให้เหนียวข้นจนเป็นยาขึ้นมา” ศรัทธาต้องเป็นไปเพื่อปัญญา ศรัทธา และปัญญาเป็นปัจจัยเกื้อกูลต่อกัน เหตุเพราะ 'ศรัทธา' จะมั่นคงแน่นแฟ้นได้ ก็เพราะการคิดพิจารณาแยกแยะอย่างรอบครอบ ด้วยเห็นเหตุและผลจนมั่นใจ หมดความเคลือบแคลงสงสัยใด ๆ โดยนัยนี้ ศรัทธาและปัญญา อันประกอบด้วยโยนิโสมนสิการ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติตามหลักอริยมรรค
- 5 นิทานพรรณนาสัตว์ป่าจำนวนหนึ่งขาดแคลนน้ำ เพราะเหตุว่าปีนั้นเป็นปีที่แล้งมาก หมู่สัตว์ทั้งหลายต้องการน้ำดื่มเพื่อประทังชีวิต จึงพากันนำผลไม้อาทิ มะม่วง ชมพู่ ผลไม้ที่พอจะหาได้ในป่ามาแลกน้ำดื่มกับดาบสรูปหนึ่ง หนทางแห่งการรอดพ้นจากภัย ก็ด้วยความเพียร องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ ดังนี้ “บัณฑิตพึงพยายามเรื่อยไป ไม่ควรท้อถอยเสีย ในการงานมีการบำเพ็ญวัตรเป็นต้นของตน เพราะเหตุไร เพราะความพยายามที่ไร้ผล ไม่มีเลย”
- “ยักษ์ตนหนึ่ง ทั้งกายปกคลุมไปด้วยขนหนาและเหนียว ขนอันแข็งและเหนียวของมันนั้นเป็นดังเกราะป้องกันตน เพราะไม่มีอาวุธชนิดใดสามารถทะลุทะลวง ทิ่มแทง ทำร้าย เจ้ายักษ์กินคนตนนี้ได้” ปัญญา คือ อาวุธอันประเสริฐ บุคคลผู้มีปัญญาถึงแม้ตกอยู่ในห้วงแห่งภัย ยังหยั่งเห็นหนทางแห่งการพ้นภัย บุรุษผู้ไร้ปัญญาถึงจะมียศสูงก็หาประเสริฐไม่
- 5 นิทานพรรณนาหนูตัวหนึ่งแอบปีนป่ายลอดเข้าไปในหีบของพราหมณ์ หีบใบนั้นบรรจุผ้าสาฎกเนื้อดีราคาแพง เจ้าหนูตัวน้อยกัดกินผ้าผืนนั้นอย่างเพลิดเพลิน จุดนั้นบ้าง จุดนี้บ้าง จนผืนผ้าเต็มไปด้วยรอยแหว่งรอยโหว่ พราหมณ์ผู้เป็นเจ้าของผ้านั้น ถือเหตุที่เกิดขึ้นนี้เป็นอวมงคลแก่ครอบครัว ผู้ใดไม่ถือมงคลตื่นข่าว ไม่ถืออุกกาบาต ไม่ถือความฝัน ไม่ถือลักษณะดีหรือชั่ว ผู้นั้นชื่อว่า ล่วงพ้นโทษแห่งการถือมงคลตื่นข่าว ครอบงำกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพที่เป็นคูกั้น ย่อมไม่กลับมาเกิดอีก ดังนี้ - อรรถกถา มังคลชาดก ว่าด้วยถือมงคลตื่นข่าว
- “งูตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในจอมปลวก มันเกรี้ยวกราดด้วยควันไฟกระทบนัยย์ตาของมัน เจ้างูจอมโกรธเลื้อยออกมาพลางคิดว่า ใครกันนะมาเผาไฟทำควันให้เกิดขึ้น ด้วยความโมโหอย่างสุดกำลัง ทันทีที่เห็นบุรุษผู้นั้นแล้ว เจ้างูจึงจมเขี้ยวอันมีพิษร้ายไปที่ขาของเขา บุรุษผู้นั้นล้มลง และเสียชีวิตทันทีด้วยพิษของงู” ผู้มีปัญญาย่อมพิจารณาถึงความโศกจากการพลัดพรากด้วยปัญญาว่า "ความรำพันเศร้าโศกถึงคนที่จากไปแล้วไม่มีประโยชน์ ยิ่งกว่าเด็กน้อยผู้ร้องไห้อยากได้พระจันทร์ที่ลอยเด่นอยู่กลางอากาศ เพราะถึงอย่างไร พระจันทร์ยังมีอยู่ ส่วนบุคคลที่จากไปแล้ว บัดนี้ไม่มีปรากฎอยู่" เพราะเหตุนี้ผู้มีปัญญาย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่เสียไปแล้ว
- 5 นิทานพรรณนา“จระเข้ตัวหนึ่ง นอนเอาศรีษะพักพาดไว้ที่หินดาดก้อนใหญ่ซึ่งอยู่กลางลำน้ำ พาดศรีษะไว้แล้วก็ทำทีนิ่งสนิทเหมือนก้อนหิน รอลิงโพธิสัตว์ตัวนั้น” ปัญญาเป็นดังเครื่องวินิจฉัย พิจารณา เรื่องราวตลอดสายให้ถึงเหตุถึงต้นตอได้ ผู้มีปัญญาย่อมสามารถคุ้มครองคุ้มภัยตนให้รอดพ้นจากศัตรูผู้ปองร้าย
- 5 นิทานพรรณนางูตัวหนึ่งมีพิษแสนร้ายกาจ ด้วยความหิวโหย เมื่อได้กลิ่นขนมหอมลอยตามลมมา เจ้างูตัวร้ายจึงเลื้อยไปตามกลิ่นนั้น แล้วเข้าไปซ่อนตัว และกินขนมนั้นด้วยความเอร็ดอร่อย ปัญญาเท่านั้นเป็นสิ่งประเสริฐที่สุด ธรรมทั้งหลายที่เหลือเป็นเพียงบริวารของปัญญา เหตุดังนั้น พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า “ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวว่า ปัญญาแลประเสริฐที่สุด เหมือนดวงจันทร์ประเสริฐกว่าดวงดาวทั้งหลาย ฉะนั้น ศีลก็ดี แม้สิริก็ดี ธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายก็ดี เป็นสิ่งคล้อยตามผู้มีปัญญา”
- 5 นิทานพรรณนา“ปูตัวหนึ่งเอาก้ามอันแข็งแรงทั้งสองของมัน คีบหนีบคอนกกระยางไว้ จนนกกระยางนั้นปากอ้า น้ำตาไหล และไม่อาจทำอันตรายใด ๆ แก่ปูเจ้าปัญญาได้อีกต่อไป” บุคคลผู้ใช้ปัญญาลวงหลอกมีความสุขบนความทุกข์ของผู้อื่น ในท้ายที่สุดย่อมประสพมหัตภัยจากการกระทำของตน เหมือนดั่งนกกระยางต้องจบชีวิตด้วยการถูกปูหนีบคอ เหตุเพราะความเจ้าเล่ห์หลอกลวง
- “ลิงฝูงหนึ่ง ช่วยกันถอนต้นไม้ทั้งต้นเล็ก ต้นใหญ่ ถอนต้นไม้ไปก็ดูรากของต้นไม้ไปด้วย ถอนแล้วก็ดูราก ดูรากแล้วก็ปักลงดิน ทำแบบนี้ซำ้ไปซำ้มา ช่างน่าประหลาดใจจริง” บุคคลผู้ไม่มีปัญญาไม่เพียงแต่จะนำภัยมาสู่ตน ย่อมนำพาภัยตลอดถึงผู้อื่นด้วย เหตุดั้งนั้น บัณฑิตย่อมไม่สรรเสริญชีวิตของผู้ไม่มีปัญญาว่าประเสริฐ ดังเช่น ฝูงวานรผู้เฝ้าอุทยานนี้
- 5 นิทานพรรณนานกกระไนตัวหนึ่ง ส่งเสียงร้องเจื้อยแจ้ว ฟังแล้วช่างไพเราะ แต่เสียงที่แสนไพเราะนี้กลับกลายเป็นเสียงแห่งมหันตภัย ที่นำอันตรายมาสู่ชีวิต เพียงเพราะความสำคัญผิด "ปัญญา" ทำให้เข้าใจอะไรได้ถูกต้อง ความสำคัญที่ถูกต้องนำพาความสุข ความเกษมและความดีงามมาสู่ชีวิต “เริ่มต้นปีใหม่ด้วยการนำธรรมะเข้าสู่จิตใจ ให้มีปัญญาเกิดขึ้น” ติดตามรับฟังได้ในนิทานพรรณนา ตอน ความสำคัญผิด
- 5 นิทานพรรณนามีหนอนตัวหนึ่ง เมื่อครั้งอดีตเคยเกิดเป็นมเหสีของพระราชาแห่งแคว้นกาสี หนอนมเหสีตัวนี้พบรักใหม่กับหนอนโคมัย ลืมความรักจากพระราชาผู้เป็นพระสวามีจนหมดสิ้น เพียงเพราะความสุขใหม่ปกปิดความสุขและทุกข์เก่าเอาไว้ …เหตุเกิดจากความไม่รู้… สุขเก่า ทุกข์เก่า ที่ถูกปกปิดด้วยของใหม่ นำมาสู่ทุกข์อันไม่รู้จักจบสิ้น หนทางแห่งการอยู่เหนือสุข และทุกข์ นั้นมีอยู่จริง… ติดตามได้ใน นิทานพรรณนา ตอน หนอนท้าช้างสู้
- 5 นิทานพรรณนาปรารภเรื่องการเลี้ยงดูบิดามารดา ซึ่งเป็นคุณธรรมอันเป็นมงคลอย่างยิ่ง เป็นความดีความงามที่เกิดขึ้น แล้วเราระลึกนึกถึงได้ จะเป็นนิมิตเป็นเครื่องหมายที่ทำให้เราดำเนินไปตามธรรมะที่ไม่ตาย เป็นความดีที่ไม่สูญหาย ไม่ว่าในกาลไหน ๆ ก็ตาม จึงได้ยก "กัจจานิชาดก" ซึ่งเป็นเรื่องราวที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าแก่ครอบครัว ๆ หนึ่งในเมืองสาวัตถี
- 5 นิทานพรรณนาเป็นเรื่องราวที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระเจ้าปเสนทิโกศลว่าควรปกครองด้วยธรรมราชาไม่ควรปกครองด้วยอคติทั้ง 4 โดยยกชาดกเมื่อครั้งเป็นโพธิสัตว์ถึง 2 เรื่อง เรื่องแรกราโชวาทชาดก ดาบสโพธิสัตว์กล่าวสอนพระราชาผ่านรสชาดของผลนิโครธ ถ้าปกครองดีรสชาดจะหอมหวาน ถ้าไม่ตั้งในธรรมรสชาดจะขม พระราชาได้ทำการทดลองเห็นผลตามนั้น และยังได้อุปมาเปรียบเทียบโคผู้นำฝูงที่ดีจะพาข้ามแม่น้ำได้พ้นภัย ราชาที่ดีก็เช่นกัน เรื่องที่สองเตสกุณชาดก จะเห็นถึงปัญญาในการตอบปัญหาของนกทั้งสามตัว สองตัวแรกตอบเรื่องการปกครองการคลัง ส่วนนกชัมพุกะโพธิสัตว์ตอบเรื่องกำลังที่เป็นเลิศในกำลังทั้ง 5 นั่นคือ ปัญญา
- 5 นิทานพรรณนาเด็กชายคนหนึ่งถูกขังอยู่ในกรงเหล็ก ถูกขังไม่ให้ออกไปข้างนอกตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 16 ปี ถึงได้ออกไปนอกกรงเหล็กอันนี้ เรื่องราวนี้มาในอโยฆรชาดก เรื่องราวที่มีการผูกเวรกันระหว่างพระราชเทวีกับนางยักษิณีตนหนึ่ง จึงทำให้พระราชบิดาสร้างกรงเหล็กไว้ เพื่อป้องกันอโยฆรกุมารไม่ให้ถูกนางยักษิณีจับกิน ครั้นออกมาจากกรงเหล็กจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ส่วนจุลลสุตโสมชาดก เป็นเรื่องราวของพระพุทธเจ้าในครั้งที่เสวยชาติเป็นพระเจ้าจุลลสุตโสม ภายหลังได้ออกบวช เพราะเข้าใจอานิสงส์ของการหลีกออกจากกาม แต่กว่าจะออกบวชได้นั้น ต้องแก้ปัญหาต่าง ๆ มากมาย สองเรื่องเกี่ยวกับมหาภิเนษกรมณ์ การบำเพ็ญเนกขัมมะบารมี ฟังเอพิโสดนี้แล้วให้เราได้เห็นโทษของการครองเรือน ให้เห็นประโยชน์ของการหลีกออกจากเรือน จะเป็นความงดงามในที่สุด ความงดงามในเบื้องต้น ความงดงามในท่ามกลาง ด้วยบทพยัญชนะด้วยนิมิตด้วยข้อมูล จบสวยได้ตรงออกบวชนี่แหละ
- 5 นิทานพรรณนาในเอพิโสดนี้นำเสนอเรื่องการออกมหาภิเนษกรมณ์ คือ การออกบวช โดยหยิบยกเรื่องหัตถิปาลชาดก ในครั้งที่พระพุทธเจ้าเป็นโพธิสัตว์ออกบวชสร้างบารมีที่เรียกว่า เนกขัมมะบารมี ซึ่งเนกขัมมะเท่านั้นที่จะเป็นทางออกในการเริ่มต้นอะไรดี ๆ เดินตามมาท่ามกลางก็สวยงาม และจบลงได้อย่างงดงามนุ่มนวล ในครั้งนั้นพระพุทธเจ้าทรงเสวยชาติเป็นบุตรของพราหมณ์ปุโรหิต ชื่อหัตถิปาลกุมาร แม้ว่าบิดาและพระราชาต้องการให้ขึ้นครองราชย์ แต่หัตถิปาลกุมารได้ปฏิเสธ รวมทั้งน้องชายอีกสามคน จนกระทั่งสุดท้ายบิดามารดา พราหมณ์ปุโรหิตและนางพราหมณ์มณี พระราชาพระมเหสี อีกทั้งประชาชนในเมือง พร้อมทั้งพระราชาของในเมืองอื่นได้บวชตามทั้งหมด จึงนับเป็นการออกบวชที่ยิ่งใหญ่อลังการ ซึ่งการที่จะหลีกออกจากเรือน หลีกออกจากกามไม่ใช่ทำได้ง่าย ๆ เนกขัมมะจึงเป็นหนึ่งในบารมีสิบอย่างที่โพธิสัตว์ต้องสร้างต้องทำ เพื่อให้ได้มีบารมีในการเป็นพระพุทธเจ้า
- 5 นิทานพรรณนาในเอพิโสดนี้นำเสนอเรื่องเวมานิกเปรต ที่ได้รับโทษของกามที่มีความต่ำทรามเศร้าหมอง ทำให้ตายแล้วบังเกิดในนรกเดรัจฉานเปรตวิสัยได้ ซึ่งเวมานิกเปรตเป็นหนึ่งในภพของเปรต เรื่องแรกเป็นเรื่องของปุโรหิตคนหนึ่งที่ทำหน้าที่โดยไม่ชอบฉกฉวยเอาประโยชน์ ขูดเลือดขูดเนื้อ รับสินบน วินิจฉัยคดีไม่เป็นธรรม แต่ด้วยเคยรักษาอุโบสถศีลเพียงครึ่งวัน และเคยให้ทานมะม่วงกับหญิงผู้ถือศีลอุโบสถ เมื่อตายไป ด้วยผลบุญจึงเป็นเทวดาตอนกลางคืน และด้วยผลกรรมจึงเป็นเวมานิกเปรตตอนกลางวัน ใช้เล็บกรีดกินเนื้อของตนเองเป็นอาหาร “บุญอย่าคิดว่าเล็กน้อยแล้วจะไม่ทำ บาปคิดว่าทำแล้วจะไม่ให้ผล อย่าคิดอย่างนั้น ทำน้อยหรือมาก ไม่ว่าจะบุญหรือบาปให้ผลแน่นอน เป็นคนละบัญชีที่เกี่ยวเนื่องกัน เพราะฉะนั้นให้อยู่ด้วยความไม่ประมาท พยายามทำความดีอยู่อย่างต่อเนื่อง ความดีบางครั้งไม่ได้ทำได้ง่าย ทำได้ยาก แต่สิ่งที่ทำได้ยากแล้ว มันดี เราควรทำ”
- 5 นิทานพรรณนาในเอพิโสดนี้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรื่องตักการิยชาดก ปรารภพระโกกาลิกะ ที่ในอดีตชาติเป็นปุโรหิต ส่วนพระพุทธเจ้าตอนเป็นพระโพธิสัตว์ ชื่อตักการิยมาณพ เป็นลูกศิษย์ของปุโรหิต โดยปุโรหิตได้สร้างปัญหาให้ตัวเองด้วยว่าวาจาของตัวเอง เกือบจะถูกฆ่าพลีกรรม โชคดีที่ตักการิยมาณพช่วยไว้ได้ แต่ในสมัยพุทธกาลนั้น พระโกกาลิกะได้ผูกอาฆาตว่าร้ายต่อพระอัครสาวกทั้งสอง แม้พระพุทธเจ้าทรงตรัสห้ามแล้วถึงสามครั้ง ทำให้ต่อมาผิวหนังของพระโกกาลิกะเกิดเป็นตุ่มโตเท่าผลมะตูม เมื่อแตกน้ำเหลืองและเลือดไหลโทรมกาย ตายแล้วบังเกิดในนรก ชาดกเรื่องนี้ เป็นคติสอนใจว่า การพูดต้องรู้จักเวลาที่เหมาะสม เรื่องจริงบางทีก็ไม่ควรพูด ถ้าพูดแล้วทำให้เกิดการกระทบกระทั่งเสียดสีกัน ในเรื่องของสัมมาวาจานั้น เราต้องมีความละเอียดลึกซึ้งรอบคอบ จะทำให้ชีวิตดีงาม พ้นจากภัยมีความสุขขึ้นมาได้
- 5 นิทานพรรณนา"กรรมทุกอย่างที่นรชนสั่งสมไว้แล้ว ย่อมมีผลเสมอไป ขึ้นชื่อว่ากรรมแม้จะเล็กน้อยที่จะไม่ให้ผลเป็นไม่มี" ในวันนี้เป็นเรื่องของเด็กจัณฑาล 2 คนที่สนิทกันอย่างมาก คือ ไปไหนก็ไปด้วยกัน เล่นก็เล่นด้วยกัน ทำอะไร ๆ ก็ทำแบบเดียวกัน แม้แต่เวลาคิด ก็คิดเหมือนกัน แต่ด้วยความที่มีเป็นคนนอกวรรณะ เป็นจัณฑาล จึงถูกทำร้าย ชีวิตเกิดปัญหาต่าง ๆ เรื่องราวนี้มาในชาดกที่ชื่อว่า จิตตสัมภูตชาดก
- 5 นิทานพรรณนานิทานพรรณาวันนี้มาในชาดกที่ชื่อว่า "ฆตบัณฑิตชาดก" เป็นเรื่องราวปรารภความที่ว่า…เมื่อลูกตาย แล้วเกิดความเสียใจ จะชำระกำจัดความเสียใจนั้นได้อย่างไร ? และจะทำใจอย่างไร ? ซึ่งถ้าเราได้ฟังเรื่องราวของชาดกนี้ จะพบได้เลยว่ามีแง่มุม มีข้อคิดอยู่หลายอย่างทีเดียว ที่พระพุทธองค์ต้องการสอนให้เราได้รู้วิธีว่าอะไรเป็นหนทางที่ว่าด้วย ความดับความโศก
- 5 นิทานพรรณนาในวันนี้เป็นเรื่องราวในอดีตชาติสมัยที่พระพุทธเจ้าทรงเสวยชาติเป็นสุกร มาในชาดกชื่อว่า ตุณฑิลชาดก พระโพธิสัตว์ และสุกรน้องชายกำลังจะถูกนักเลงสุราจับไปประหาร แต่พระองค์ทรงพระปรีชาตรัสคำสอนจนทำให้เกิดศรัทธาขึ้นในจิตใจของมหาชน สอนให้ตั้งอยู่ในศีลห้าได้ "ห้วงน้ำ คือ พระธรรมไม่มีโคลนตม บาปเรียกว่าเหงื่อไคล และศีลเรียกว่าเครื่องลูบไล้ใหม่ แต่ไหนแต่ไรมา กลิ่นของศีลนั้นไม่ขาดหายไป เหล่าชนผู้ไม่รู้ ผู้ฆ่าสัตว์กินเป็นปกติ จะเพลิดเพลินใจ ส่วนผู้รักษาชีวิตสัตว์ ไม่ฆ่าสัตว์เป็นปกติ จะไม่เพลิดเพลินใจ เมื่อวันเดือนเพ็ญมีพระจันทร์เต็มดวงแล้ว เหล่าชนผู้รื่นเริงใจอยู่เท่านั้น จึงจะสละชีพได้" - อรรถกถาตุณฑิลชาดกที่ ๓
- 5 นิทานพรรณนานิทานธรรมบทในวันนี้ มีมาทั้งหมด 5 เรื่องด้วยกัน เริ่มตั้งแต่เรื่องของอุบาสก-อุบาสิกาคู่หนึ่งที่บรรลุอรหันตผลได้ในเพศฆราวาสนี้เลย ท่านทั้งสองเมื่อพบพระพุทธเจ้าแต่กลับเรียกพระองค์ว่าลูก ยังมีเรื่องของภิกษุฉัพพัคคีย์ที่เป็นต้นบทของพระวินัย เรื่องพระวักกลิเถระผู้ติดในรูปโฉมสรีระของพระพุทธเจ้า เรื่องอุปกาชีวกที่ได้พบพระพุทธเจ้าเป็นคนแรกหลังการตรัสรู้แต่ก็ไม่มีศรัทธาในพระองค์ และสุดท้ายเป็นเรื่องของแม่ไก่ที่ผูกอาฆาตในเด็กหญิง เพราะได้กินไข่ไก่ของตนไป ขอเชิญรับฟัง
- 5 นิทานพรรณนาวันนี้เป็นตอนสุดท้ายของกุณาลชาดก ที่นกดุเหว่าโพธิสัตว์จะได้เล่าย้อนต่อเนื่องไปในอดีตชาติ ในวันนี้ก็มีมา 2 เรื่องด้วยกันคือ เรื่อง นางปัญจปาปี และนางปิงคิยานี โดยมีใจความสำคัญเพื่อชี้ให้เห็นถึงโทษของกาม ที่ถ้าเมื่อเรามีความยินดีในกามแล้ว ความทุกข์ย่อมจะเป็นผลที่พึงหวังได้อย่างแน่นอน ในช่วงท้ายก็ยังมีบทสรุปโทษของกาม และอานิสงค์ของศีลเพิ่มเติมให้อีกด้วย
- 5 นิทานพรรณนา"ผู้ใดเสพกามเพราะไม่รู้จักโทษ กามก็ย่อมฆ่าผู้นั้นเสีย เหมือนบริโภคผลไม้ที่มีพิษ ฉะนั้น" วันนี้เป็นตอนที่ 3 ของกุณาลชาดก ที่นกดุเหว่าโพธิสัตว์จะได้เล่าย้อนต่อเนื่องไปในอดีตชาติ วันนี้มีมาหลายเรื่องด้วยกันคือ เรื่อง นางกุรุงคเทวี เรื่อง พระมารดาของพระเจ้าพาราณสี และเรื่อง พระเจ้ากินนร-พระเทวีกินรี โดยมีใจความสำคัญเพื่อชี้ให้เห็นถึงโทษของกาม ที่ถ้าเมื่อเรามีความยินดีในกามแล้ว ความทุกข์ย่อมจะเป็นผลที่พึงหวังได้อย่างแน่นอน
- 5 นิทานพรรณนาสัปดาห์นี้เป็นตอนที่ 2 ของกุณาลชาดก ที่นกดุเหว่าโพธิสัตว์จะได้เล่าย้อนต่อเนื่องไปในอดีตชาติ เล่ามาในหลายเรื่องด้วยกันคือ เรื่องนางกัณหา 3 พ่อ 5 ผัว เรื่องปัญจตปาวี และเรื่องนางกากีในกากวันตีชาดก โดยมีใจความสำคัญเพื่อชี้ให้เห็นถึงโทษของกาม ที่ถ้าเมื่อเรามีความยินดีในกามแล้ว ความทุกข์ย่อมจะเป็นผลที่พึงหวังได้อย่างแน่นอน
- 5 นิทานพรรณนานิทานพรรณนาในวันนี้ เป็นเรื่องราวชาดกที่พระพุทธเจ้าทรงเล่าย้อนถึงเหตุการณ์ในสมัยที่พระองค์เสวยชาติเป็นนกดุเหว่า และนกดุเหว่าโพธิสัตว์ก็ได้เล่าเรื่องในอดีตชาติให้ฟังอีกที โดยเราจะนำมาเล่าแบ่งเป็นตอน ๆ จำนวนทั้งหมด 4 ตอนด้วยกัน ในตอนแรกนี้ เป็นเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าทรงเสด็จเทศน์โปรดพระญาติทั้ง 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายศากยะและฝ่ายโกลิยะ ที่กำลังทะเลาะกันเรื่องการแบ่งน้ำในช่วงที่เกิดภัยแล้งขึ้น โดยได้ทรงยกตัวอย่างนิทานเรื่อง "กระต่ายตื่นตูม" มาให้ฟังในลักษณะที่ว่า "…คนเราไม่ควรไปเชื่อตามเสียงของคนอื่น โดยที่ยังไม่เห็นร่องรอยที่มาของเรื่องราวต่าง ๆ" เป็นต้น ทั้งยังทรงยกเรื่อง "การไม่ผูกเวร" ในลฏุกิกชาดก ทรงยกประเด็นเรื่อง "อานิสงค์ของความสามัคคี" มาในรุกธรรมชาดกอีกเรื่องคือ เรื่องนกกระจาบ หมู่พระญาติได้ฟังพระธรรมเทศนาก็เกิดศรัทธาจึงออกบวช และยังได้เทศน์โปรดพระญาติในช่วงที่บรรพชาเป็นพระภิกษุแล้ว แต่เกิดความเบื่อหน่ายในเพศบรรชิต จึงทรงยกประเด็นเรื่อง "โทษของกาม" มาให้ฟังอีกหลายเรื่องหลายเหตุการณ์ด้วยกัน ขอเชิญทุกท่านรับฟัง
- 5 นิทานพรรณนาในวันนี้จะได้นำเอานิทานธรรมบทมาเล่าให้ฟังทั้งหมด 5 เรื่องด้วยกัน โดยในแต่ละเรื่องนั้นจะมีเนื้อหาความหมายที่แตกต่างกันไป มีทั้งเรื่องที่เราจะไม่สามารถค้นเจอในพระไตรปิฎกในจุดอื่นได้เลยนอกจากในเรื่องนี้ที่จะได้เห็นพระพุทธเจ้าทรงจัดแจงเรื่องอาหารการกินเพื่อให้กายระงับจากทุกขเวทนาเพราะความหิวจนพร้อมที่จะฟังธรรมในบทอนุปุพิกถาได้ต่อไป มีทั้งเรื่องที่ทุกคนในครอบครัวได้มีโอกาสบรรพชาบวชห่างออกจากบ้านแล้ว แต่กลับไม่อาศัยโอกาสนี้ในการหลีกเร้นเพื่อพัฒนาตน ยังคงคลุกคลีกันเหมือนกับอยู่ที่บ้าน ความดีก็จะเสื่อมลงไปได้ มีทั้งเรื่องที่ท่านพระโมคคัลลานะไปเทวโลก ถามกับเหล่าเทวดาถึงเหตุที่ได้มาเกิดอยู่บนสวรรค์ทั้งที่ระลึกถึงกุศลกรรมเพียงเล็กน้อยต่าง ๆ กันรวมไปถึงการกล่าวคำสัตย์ การละความโกรธ ทำทานเพียงเล็กน้อย เป็นต้น
- 5 นิทานพรรณนานิทานพรรณนาในวันนี้เป็นเรื่องของกรรม กรรมในลักษณะเป็นรูปแบบ เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นในจุดหนึ่ง มีทั้งผลของการให้ทาน ผลจากความประมาท จะไปถึงผลของการที่เป็นผู้ว่ายาก ซึ่งจะมาในทั้งนิทานสูตรและนิทานชาดกอีกหลายเรื่องด้วยกัน ขอเชิญรับฟัง
- 5 นิทานพรรณนาในวันนี้ได้นำเสนอชาดก ที่เกี่ยวเรื่องของดอกบัวที่บานอยู่บนหลุมถ่านเพลิง หลุมเพลิงที่เต็มไปด้วยถ่านของไม้ตะเคียน อันเป็นถ่านไม้ที่ไม่มีเปลวเพลิงแต่กลับมีอันตรายมาก เพราะว่าเราไม่สามารถที่จะเห็นเปลวไฟหรือควันไฟได้เลย แต่ทำไมดอกบัวถึงกลับไปปรากฏอยู่ในที่นี้ได้ และด้วยเหตุผลอะไร? ติดตามรับฟังคำตอบได้ในนิทานพรรณนา ตอน "จิตที่มั่นคงในความดี" "แม้บุคคลผู้ลามกย่อมเห็นกรรมอันเจริญ ตราบเท่าที่กรรมอันลามกยังไม่ให้ผล ก็ในกาลใด กรรมอันลามกย่อมให้ผล ในกาลนั้น บุคคลผู้ลามกนั้น ย่อมเห็นกรรมอันลามกทั้งหลาย" - ขทิรังคารชาดก อรรถกถา กุลาวกวรรค.
- 5 นิทานพรรณนานิทานพรรณนาวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความเคารพอ่อนน้อม ที่แม้แต่สัตว์เดียรัจฉานก็ยังรู้จักที่จะมีเคารพต่อกันและกัน มาเล่าให้ฟังในเรื่องของนกกระทาและผองเพื่อน สมัยที่พระพุทธเจ้าของเราเคยเกิดเป็นนกกระทา เรื่องราวในตอนนี้มีมาให้ไดรับฟังด้วยกัน 4 เรื่อง ทั้งที่พระองค์เคยเกิดเป็นนกกระทาใน 3 ชาติ และยังมีเรื่องเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับท่านพระราหุลอีกเรื่องหนึ่ง
- 5 นิทานพรรณนาสืบเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว เราได้รับฟังเรื่องราวเกี่ยวกับปัญญาของท่านพระสารีบุตร ในวันนี้จะนำนิทานเรื่องต่าง ๆ มาเล่าให้ฟังทั้งหมด 6 เรื่องด้วยกัน เพื่อเพิ่มเติมความรู้ความเข้าใจว่า นอกจากความฉลาดล้ำของท่านแล้ว ก็ยังมีคุณธรรมในส่วนอื่น ๆ ที่น่าศึกษาเพิ่มเติมให้แจ่มแจ้งยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: นิทานพรรณนา S02E42
- 5 นิทานพรรณนาในวันนี้จะได้นำเสนอเรื่องราวความสามารถของท่านพระสารีบุตร ที่ท่านนั้นเป็นผู้ที่มีปัญญามาก พระพุทธเจ้าเคยยกย่องท่านพระสารีบุตรเอาไว้ถึงความสามารถในการตอบปัญหาเงื่อนปมต่าง ๆ ที่สาวกในระดับอื่นไม่สามารถทำให้ชัดเจนแจ่มแจ้งได้ ท่านได้ปรารภเอาไว้ในชาดก 2 เรื่องด้วยกัน คือ สรภังคชาดก และปโรสหัสสชาดก ในตอนนี้ขอเชิญชวนรับฟังสรภังคชาดกก่อน แล้วมาติดตามรับฟัง ปโรสหัสสชาดกได้ในตอนต่อไป
- 5 นิทานพรรณนาเรื่องราวของนางอุมมาทันตีกับพระราชาอันเป็นพระโพธิสัตว์ผู้หลงในความงามของนาง แต่ก็สามารถข่มใจตนเอง ไม่ยอมทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แม้จะมีอำนาจมากพอที่จะสามารถยึดครองนางนั้นมาได้ด้วยการบังคับมาก็ตาม ขอเชิญรับฟังชาดกเรื่อง อุมมาทันตีชาดก ได้ในตอนนี้
- 5 นิทานพรรณนาในสัปดาห์นี้เรามาฟังชาดกอันเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับโทษของการครองเรือนกัน "…อวิชชาเป็นมลทินอย่างยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละมลทินนั้นเสีย จงเป็นผู้อยู่อย่างไม่มีมลทินเถิด…"
- 5 นิทานพรรณนาสัปดาห์นี้ได้หยิบยกเรื่องราวในอดีตชาติของพระองคุลิมาลที่ท่านเคยเกิดเป็นมนุษย์กินคน ถึงขนาดยอมสละราชสมบัติไปอยู่ในป่าตามลำพัง เพื่อจะได้กินเนื้อมนุษย์ จนได้รับฉายาว่า “โปริสาท มนุษย์กินคน” แต่สุดท้ายด้วยเหตุใดจึงกลับใจเลิกกินเนื้อมนุษย์ และดำรงมั่นในทศพิธราชธรรม สามารถค้นหาคำตอบกันได้ที่นี่
- 5 นิทานพรรณนาในเอพิโสดนี้ ได้ยก 2 เรื่องราวในการสั่งสมบารมีของพระโพธิสัตว์ ที่พระพุทธเจ้าทรงนำอดีตนิทานมาสาธกแก่เหล่าภิกษุทั้งหลาย คือ "ชัยทิศชาดก" ว่าด้วยโปริสาทกับพระเจ้าชัยทิศ เป็นเรื่องราวการรักษาสัจจบารมี ที่ทำให้มนุษย์กินคนกลับใจ และ "สสปัณฑิตชาดก" ว่าด้วยผู้สละชีวิตเป็นทาน ปรารภเมื่อครั้งพระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นพญากระต่าย มีใจแนวแน่ในการบำเพ็ญทานบารมี และยังสอนให้รู้ว่าการรักษาศีลเป็นสิ่งสำคัญ เพราะผู้มีศีลเทวดาย่อมคุ้มครอง
- 5 นิทานพรรณนาในเอพิโสดนี้ เป็นเรื่องราวในช่วงวาระสุดท้ายของพระเจ้าปเสนทิโกศล ซึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้นเป็นผู้ที่ตั้งความปรารถนาไว้จะเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไปในอนาคต แต่ด้วยผลกรรมจึงถูกแย่งชิงราชสมบัติ และได้สิ้นพระชนม์อยู่นอกประตูเมืองราชคฤห์ เพียงเพราะเหตุแห่ง "จตุกัณณมนต์" แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร S09E35 , นิทานพรรณนา S02E01
- 5 นิทานพรรณนาในเอพิโสดนี้ ได้นำนิทานชาดก 2 เรื่องราว ที่พระพุทธเจ้าตรัสเล่าแก่หมู่ภิกษุสงฆ์ ได้แก่ "ตัจฉกสูกรชาดก" ว่าด้วยความสามัคคีของหมูที่พร้อมใจกันสู้กับเสือจนชนะ และ "มหิฬามุขชาดก" ว่าด้วยการเสี้ยมสอน ปรารภช้างมหิฬามุขที่แต่เดิมเป็นช้างดี มีศีล ไม่เบียดเบียนใครๆ แต่เพราะได้ฟังคำของพวกโจร จึงกลายเป็นช้างดุร้ายเที่ยวทำร้ายผู้คน ต่อมาภายหลังได้ฟังคำของเหล่าผู้ทรงศีลอยู่เป็นประจำ ก็กลับมาเป็นช้างที่ดี มีศีล มีมารยาท สงบเสงี่ยมเรียบร้อย และมีความเมตตาเอ็นดูดังเดิม นอกจากนี้ ได้นำเรื่อง "ภิกษุคบภิกษุผู้เป็นฝักฝ่ายผิดรูปใดรูปหนึ่ง" และเรื่อง "การปราชัยของพระเจ้าโกศล" มาประกอบขยายความเพิ่มเติมเพื่อเชื่อมโยงที่มาที่ไปของเรื่องราว
- 5 นิทานพรรณนาในเอพิโสดนนี้ ได้ยกนิทานชาดกที่น่าสนใจเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับหมู คือ "สูกรชาดก" ว่าด้วยหมูผู้หลงตัวเอง ไปท้าต่อสู้กับราชสีห์ และ "มณิสูกรชาดก" ว่าด้วยของดีที่ใครทำลายไม่ได้ เป็นเรื่องราวของหมูต้องการขจัดแก้วมณีอันสุกใสให้หม่นหมองเศร้าหมอง นอกจากนี้ ได้รวมอีกหลายเรื่องราวขึ้นมาประกอบเพิ่มเติม ให้เห็นถึงการที่เรามีคุณธรรมความดีทรงอยู่ในตัวแล้ว แม้คนอื่นจะมาใส่ร้ายป้ายสีอย่างไร ก็ตาม เรายังคงรักษาความดีนั้นไว้ได้ ไม่หยุดไม่เลิกทำความดี ได้แก่ "วรรณาโรหชาดก" ว่าด้วยผู้มีใจคอหนักแน่น เป็นเรื่องราวของสุนัขจิ้งจอกช่างยุ ออกอุบายยุแหย่ให้ราชสีห์กับเสือโคร่งผิดใจกัน และยังมีเรื่องราวที่มาในธรรมบทแปลเรื่อง "สัมพหุลภิกษุ" ว่าด้วยการเที่ยวไปคนเดียวดีกว่าไปกับเพื่อนชั่ว และ "นางปริพาชิกาชื่อสุนทรี" ว่าด้วยผู้มักพูดคำไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรกฯ
- 5 นิทานพรรณนาในเอพิโสดนี้ เป็นเรื่องราวการสั่งสมบารมีของพระพุทธเจ้า ที่ปรารภภิกษุณีสาวรูปหนึ่ง เมื่อขณะฟังพระธรรมเทศนาอยู่ เกิดระลึกถึงอดีตชาติได้ ก็แสดงอาการหัวเราะออกมาดัง ๆ แต่เดี๋ยวกลับเป็นร้องไห้สะอึกสะอื้นด้วยเสียงอันดังเช่นกัน พระพุทธองค์จึงได้ยกอดีตนิทานชาดกขึ้นมาสาธก “สหายพราน เราให้งาเหล่านี้แก่ท่าน ใช่ว่าเราจะไม่รักของเราก็หามิได้ ทั้งเรามิได้ปรารถนาความเป็นท้าวสักกะ เป็นมาร เป็นพรหมเลย แต่เพราะงา คือพระสัพพัญญุตญาณนั้น เรารักกว่างาคู่นี้ ตั้งร้อยเท่าพันเท่า ขอบุญนี้จงเป็นปัจจัยแห่งการได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ” “ฉัททันตชาดก” เป็นเรื่องราวเมื่อครั้งพระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นพญาช้างฉัททันต์ ได้สละงาอันงดงามของตนให้แก่พรานป่าโสณุดร ที่แอบดักยิงพญาช้างเพื่อหมายจะตัดเอางาไปถวายแก่พระนางสุภัททามเหสีของพระเจ้ากาสีกราช ด้วยการนำผ้ากาสาวพัสตร์มาห่มคลุมตัวให้เข้าใจว่าเป็นพระภิกษุ จะได้ไม่ถูกฝูงช้างทำร้าย “ผู้ใดยังไม่หมดกิเลส ปราศจากทมะและสัจจะ ผู้นั้นไม่ควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดคลายกิเลสได้แล้ว ตั้งมั่นอยู่ในศีล ประกอบด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นแลควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ”
- 5 นิทานพรรณนากุรุธรรมชาดก เป็นเรื่องราวการรักษาศีลอย่างยิ่งยวดของพระโพธิสัตว์ และบริวาร เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระราชาแคว้นกุรุ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงนำมาเล่าเพื่อเตือนสติแก่พระภิกษุผู้ฆ่าหงส์ ให้ตั้งมั่นอยู่ในศีล มีเรื่องราวที่น่าสนใจอย่างไรเชิญติดตามรับฟังได้ที่นี่
- 5 นิทานพรรณนาในเอพิโสดนี้ ได้นำเรื่องราววิธีการแก้ไขปัญหาด้วยปัญญาอันแยบคาย โดยยกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน 2 วาระ คือ เมื่อครั้งที่พระอานนท์ได้ใช้ปัญญาช่วยพระเจ้าโกศลค้นหาดวงแก้วจุฬามณีที่หายไป ด้วยวิธีการแก้ไขปัญหาที่ละมุนละม่อม โดยไม่ต้องมีการเบียดเบียนทำร้ายกันเกิดขึ้น เรียกว่า "บิณฑทาน" ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าว พระพุทธเจ้าจึงได้ยกเรื่อง "มหาสารชาดก" มาเล่าให้ภิกษุได้ฟังกัน เป็นเรื่องเมื่อครั้งที่พระโพธิสัตว์เกิดเป็นบัณฑิต ได้ใช้ปัญญาช่วยพระเจ้าพรหมทัตหาสร้อยไข่มุกที่หายไปเช่นกัน นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงเรื่องของกิเลส เปรียบไว้กับเครื่องจองจำ ที่ทำให้เราลุ่มหลงเพลิดเพลินวนเวียนกันอยู่ในวัฏสงสารนี้ พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสั่งสอนภิกษุ 500 รูป ถึงวิธีที่จะหลุดพ้นจากเครื่องจองจำคือกิเลสนี้ได้ ดุจมะลิเครือ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: นิทานพรรณนา S02E26
- 5 นิทานพรรณนา“ความประมาทย่อมครอบงำ บุคคลผู้ติดอยู่ในความยินดียินร้าย ในความรักความชัง ในทุกข์และสุข” นี้เป็นพระคาถาที่พระพุทธเจ้าตรัสกับหญิงสะใภ้นางหนึ่งที่กล่าวกล่อมบุตรน้อย ด้วยเนื้อความที่กล่าวถึง ผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเองและผลของความข่มใจความสำรวม ในเอพิโสดนี้ ได้ยกเรื่องราวของเปรต 2 ตน ที่จิตดวงสุดท้ายก่อนตายยังคงมีความหวงแหนและยึดถือในทรัพย์ของตน จึงเป็นเหตุให้ไปเกิดเป็นเปรต โดยเปรตตนแรกเป็นเปรตเจ้าของสวนมะม่วง และเปรตตนที่ 2 นางเปรตแม่ของพระสารีบุตร เมื่อ 5 ชาติที่แล้ว ซึ่งภายหลังเปรตทั้งสองตนได้รับอัตภาพที่เหมาะสมตามส่วนแห่งบุญที่เกิดจากบุตรได้กระทำทักษิณาทานและวิหารทานอุทิศให้ ประเด็นในที่นี้ คือ ทำอย่างไรให้ไม่ไปเกิดเป็นเปรต ฝึกวางจิตดวงสุดท้ายอย่างไรให้บรรลุธรรม และการทำทักษิณาทานเป็นสิ่งที่ควรกระทำ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต S02E31 , ใต้ร่มโพธิบท S07E53 , ตามใจท่าน S09E47
- 5 นิทานพรรณนาในเอพิโสดนี้ ยังเป็นเรื่องราวที่ต่อมาจากการปรารภเหล่าภิกษุผู้ใคร่จะสึก จึงเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าตรัสสอนถึงเรื่องของกาม ที่มีความสุขน้อย แต่มีทุกข์มาก แล้วยกชาดกขึ้นมาแสดง จากเอพิโสดที่แล้ว ได้กล่าวอ้างอิงถึง "มันธาตุราชชาดก" ไว้ จึงยกขึ้นมาให้ได้ฟังกันโดยในเนื้อหารายละเอียด เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงเสวยพระชาติเป็นพระเจ้ามันธาตุราช ทรงเพรียบพร้อมไปด้วยองค์ประกอบของพระเจ้าจักรพรรดิ ครองราชสมบัติปกครองในมหาทวีปทั้ง 4 ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ไปจนถึงชั้นดาวดึงส์ แต่ก็ยังพ่ายแพ้ให้แก่กามตัณหา เนื่องจากความที่ไม่รู้จักพอ และด้วยการพ่ายแพ้นี้เอง จึงเป็นเหตุให้ทรงรู้โทษและวิธีละออกจากกามได้ แล้วหันมาสั่งสมบารมีเพื่อการบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณต่อไป และเรื่องที่ 2 ที่ได้ยกมาประกอบ ก็คือ "กามชาดก" ว่าด้วยกามและโทษของกาม ปรารภพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่เสวยพระชาติเป็นมาณพบัณฑิต ได้มาถวายการรักษาพระราชาผู้ทรงตกอยู่ในอำนาจตัณหาจนล้มป่วย ให้หายรอดพ้นได้ด้วยปัญญา อรรถกถา กามชาดก "…บรรดาความอิ่มทั้งหลาย ความอิ่มด้วยปัญญาประเสริฐ เพราะผู้อิ่มด้วยปัญญานั้น ย่อมไม่เดือดร้อนด้วยกามทั้งหลาย คนผู้อิ่มด้วยปัญญา ตัณหาย่อมกระทำให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ ไม่พึงสั่งสมกามทั้งหลาย พึงเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่มีความละโมบ บุรุษผู้มีปัญญาเปรียบด้วยมหาสมุทร ย่อมไม่เดือดร้อนเพราะกามทั้งหลาย …พิจารณาด้วยปัญญาแล้ว ละทิ้งส่วนแห่งกามเสีย ย่อมถึงความสุข ถ้าพึงปรารถนาความสุขทั้งปวงก็พึงละกามทั้งปวงเสีย" แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: นิทานพรรณนา S02E29
- 5 นิทานพรรณนาเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนแก่ภิกษุผู้มีความกระสันอยากจะสึกทั้งหลาย ให้เห็นถึงโทษของกาม ให้มีการสำรวมระวังในตา หู จมูก ลิ้น และกาย จะทรงยกนิทานชาดกหรือนิทานธรรมบทขึ้นมาสาธกเพิ่มเติม จนเหล่าภิกษุนั้นต่างก็บรรลุธรรม สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ต่อไปได้ ในเอพิโสดนี้ จึงได้ยกเรื่องราวของพระโพธิ์สัตว์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็น "นกยูงทอง" ที่แม้จะเจริญพระปริตรเพื่อป้องกันรักษาคุ้มกันตนให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้งปวงแล้ว แต่ก็ยังพลาดท่าเสียทีหลงกลจนถูกจับตัวได้ ก็เพราะเหตุแห่งกาม ซึ่งมีเนื้อหาในตอนจบ 2 แบบ ที่มาใน โมรชาดก และ มหาโมรชาดก "นายพรานถือบ่วงเที่ยวไปในราวป่า เพื่อดักพญานกยูงตัวเรืองยศ ครั้นดักพญานกยูงตัวเรืองยศได้แล้ว ก็ได้พ้นจากทุกข์เหมือนเราพ้นแล้วฉะนั้น"…มหาโมรชาดก "ข้าแต่มหาราช ธรรมที่ปรุงแต่งทั้งหมด ที่เหลือนอกจาก พระอมตมหานิพพานแล้ว ชื่อว่าไม่เที่ยง มีความสิ้นและความเสื่อมเป็นธรรมดา เพราะมีแล้วกลับไม่มี ดังนี้"…โมรชาดก นอกจากนี้ ได้ยก คุมพิยชาดก และ ธรรมบทเรื่อง ภิกษุผู้ไม่ยินดี ขึ้นมาประกอบเสริม ให้เห็นถึง โทษของกาม เห็นวัตถุกามเป็นดั่งยาพิษ เหมือนกับที่ยักษ์ชื่อคุมพิยะเที่ยวหาเหยื่อของตน ด้วยการวางยาพิษอันมีสี กลิ่น และรสเหมือนน้ำผึ้งไว้ตามหนทาง และให้เห็นว่า ความอยากนั้นทำให้เต็มได้ยาก แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S07E39[...]
- 5 นิทานพรรณนาความมหัศจรรย์ของธรรมะใน การสร้างทานบารมี ที่จะเห็นได้จากการสั่งสมทานบารมีของพระพุทธเจ้าในแต่ละชาติเมื่อครั้งทรงเป็นพระโพธิสัตว์อย่างมากมาย เช่น เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีวิชราช ได้ทรงทำทานที่ทำได้ยาก คือ สละดวงตาทั้ง 2 ข้าง ให้เป็นทาน และก็ทรงสละปัญจมหาบริจาค 5 อันได้แก่ สละทรัพย์สมบัติ สละร่างกาย สละชีวิต สละลูก สละภรรยา ให้เป็นทาน เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร ในเอพิโสดนี้ จึงยกทั้ง 2 เรื่องราวมาประกอบ เพื่อแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบและเงื่อนไขในการสร้างทานบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น มีความแตกต่างกับการให้ทานทั่ว ๆ ไป อย่างไร? แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท S07E53
- 5 นิทานพรรณนา"มาร" ผู้ที่จะคอยเข้ามาทดสอบเราอยู่ตลอดเวลาในหลายรูปแบบ เพื่อล่อหลอกบีบคั้นให้เราทำความชั่วความบาปอกุศล และคอยขัดขวางไม่ให้ความดีความงามกุศลทั้งหลายเจริญ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าหลงกลของมารหรือยัง? ในเอพิโสดนี้ จึงนำเรื่องของ วิธีการรับมือมารอย่างรู้เท่าทันด้วยมรรควิธี โดยสามารถตรวจสอบว่าสิ่งที่ทำนั้นถูกต้องหรือไม่ กล่าวคือ ให้พิจารณาว่าสิ่งที่ทำ พูด และคิดอยู่นั้น เป็นไปตามมรรคหรือไม่ ถ้ายังอยู่ในมรรค นั่นแสดงว่าเรามาถูกทางแล้ว เช่นตัวอย่างเรื่องราวเมื่อครั้งที่มารทูลเชิญให้พระพุทธเจ้าทรงครองราชสมบัติ และอีกครั้งที่มารแปลงเป็นช้างเอางวงมารัดกระหม่อมพระราหุล นอกจากนี้ได้ยกเรื่องของ พระเจ้าสุทโธทนะ และ ท้าวสักกะ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรัก มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธเจ้าเป็นอันมาก มาเป็นเรื่องเสริมเพิ่มเติมให้เห็นว่า ความเลื่อมใสศรัทธานั้นเป็นสิ่งที่ต้องมี เพราะเป็นส่วนของมรรค แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S07E27 , #อย่าให้มารได้ช่อง , #ตั้งความเลื่อมใสให้ถูกต้อง
- 5 นิทานพรรณนาเอพิโสดนี้ ได้ยกธรรมบทขึ้นมาประกอบในเรื่องของ "ธรรมะเพื่อบรรลุธรรม" ด้วยกันถึง 3 เรื่อง ซึ่งในเรื่องแรก เป็นเรื่องราวของภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนา 500 รูป เมื่อไปทำความเพียรอยู่ป่า จิตไม่สงบเพราะถูกรุกขเทวดา ณ ที่นั่น แปลงกายเป็นผีมาหลอก พระพุทธเจ้าจึงแนะนำภิกษุให้สาธยายเมตตาสูตร เมื่อรุกขเทวดาได้ฟังแล้ว ก็กลับมีจิตเมตตา ได้ให้การต้อนรับและป้องกันอันตรายแก่เหล่าภิกษุนั้น เมื่อจิตสงบมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว จึงพิจารณาถึงความเสื่อมสิ้นไปของร่างกาย เป็นดังเช่นหม้อดินเผาที่เป็นของไม่เที่ยง สามารถแตกสลายได้ และเหล่าภิกษุนั้นต่างก็ได้บรรลุพระอรหัต เรื่องที่ 2 ปรารภเรื่องของ ฉัตตปาณิอุบาสก พระพุทธเจ้าได้เปรียบเทียบการปฏิบัติธรรมเป็นดังเช่นดอกไม้งาม ทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า "ธรรมดาธรรมที่เราผู้ตถาคตกล่าวแล้ว ย่อมไม่มีผลแก่ผู้ไม่ฟัง ไม่เรียน ไม่ท่อง ไม่แสดง โดยเคารพ ดุจว่าดอกไม้สมบูรณ์ด้วยสี แต่ไม่มีกลิ่นหอม ฉะนั้น. แต่ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มากแก่ผู้ทำกิจทั้งหลายมีการฟังโดยเคารพ เป็นต้น" และในเรื่องที่ 3 นั้น เป็นเรื่องราวที่พระพุทธเจ้าทรงไขปัญหา 4 ข้อ ให้แก่ท้าวสักกะและเหล่าเทวดาไว้อย่างแยบคาย ดังนี้ "บรรดาทานทุกชนิด ธรรมทานเป็นเยี่ยม, บรรดารสทุกชนิด รสแห่งพระธรรมเป็นยอด, บรรดาความยินดีทุกชนิด[...]
- 5 นิทานพรรณนาจุลลธนุคคหชาดก เป็นเรื่องแรกที่ได้ยกขึ้นมาในเอพิโสนี้ ซึ่งเป็นเรื่องราวเมื่อครั้งที่พระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นท้าวสักกะ ปรารภภิกษุรูปหนึ่งถูกภรรยาเก่าประเล้าประโลม จึงมีความกระสันอยากจะสึก ข้อคิดที่ได้คือ การมีสติในชีวิตประจำวัน และพึงระวังความคิดที่เป็นไปในทางกาม พยาบาท เบียดเบียน อันจะทำให้เสื่อมจากคุณธรรมต่าง ๆ ได้ ดังเช่นภิกษุผู้กระสันอยากจะสึกรูปนี้ และในเรื่องที่สอง วรุณชาดก เป็นเรื่องราวเมื่อครั้งที่พระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ มีลูกศิษย์ผู้เกียจคร้าน ทำงานไม่ถูกเวล่ำเวลา ไม่ถูกขั้นตอน จนทำให้เกิดความเดือดร้อนเสียหาย ข้อคิดที่ได้คือ ให้เรามีความไม่ประมาท ตั้งตนอยู่ในธรรม มีความเพียรให้ถูกเวลา ขยันในทางที่ถูกวิธี จึงจะเรียกได้ว่าเป็นบุตรของพระพุทธเจ้า แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: นิทานพรรณนา S02E23
- 5 นิทานพรรณนา“ธรรมของพระพุทธเจ้าไม่จำกัดกาล สามารถใช้ได้กับโลกทุกยุคสมัย” จากคำกล่าวนี้ จะเห็นกันได้ในเรื่องราวปัจจุบันที่ทั่วโลกกำลังประสบกับภัยจากเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และในสมัยพุทธกาลก็เคยเกิดเหตุการณ์คล้าย ๆ กันนี้ ขึ้นที่เมืองไวสาลี ในเอพิโสดนี้ จึงได้ยกเอา “รัตนสูตร” ซึ่งเป็นพระสูตรที่พระอานนท์ได้เรียนจากพระพุทธเจ้าโดยตรง มีเนื้อหาหลักกล่าวถึง คุณแห่งพระรัตนตรัย (พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์) และการกระทำสัจกิริยา (การตั้งสัจอธิษฐาน) ให้เกิดเป็นอานุภาพขจัดปัดเป่าภัยพิบัติทั้งหลายได้ และนำมาซึ่งความสุขสวัสดีให้เกิดขึ้นแก่ชาวเมืองไวสาลี
- 5 นิทานพรรณนาทำอย่างไรจึงได้ชื่อว่าเป็นบุตรของพระพุทธเจ้า ในเอพิโสดนี้จึงได้ยกตัวอย่างเรื่องราวที่เกี่ยวข้องขึ้นมาประกอบถึง 5 เรื่อง ดังนี้ 1) ภิกษุต้นบัญญัติสิกขาบท "ห้ามภิกษุตัดต้นไม้" 2) พระเอกวิหารี ซึ่งเป็นแบบอย่างการปฏิบัติหลีกเร้น 3) เหล่าภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา โดยการพิจารณาขันธ์ 5 เป็นของไม่เที่ยง เป็นเช่นพยับแดด จนได้บรรลุธรรม 4) พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงการดำรงตนอยู่ด้วยความไม่ประมาทของพระมหากัสสปเถระ และ 5) พระอานนท์ได้ทูลถามปัญหาในเรื่อง "กลิ่นของคันธชาตใด ฟุ้งไปทวนลมได้" พระพุทธเจ้าตรัสถึงกลิ่นศีลของสัตบุรุษ (อานิสงส์ของการรักษาศีล) เป็นกลิ่นหอมที่ฟุ้งไปตามลมก็ได้, ฟุ้งไปทวนลมก็ได้, ฟุ้งไปตามลมและทวนลมก็ได้ ซึ่งส่วนที่เหมือนกันของทั้ง 5 เรื่องนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงอาศัยเหตุปัจจัยจากเรื่องราวเหล่านี้ ในการบอกสอนอบรมเหล่าภิกษุทั้งหลาย ทั้งที่ทำผิดก็อบรมสั่งสอนให้ถูก ทั้งที่ทำถูกแล้วก็ทรงยกย่องสรรเสริญ ให้เป็นตัวอย่างแก่บุคคลอื่นได้ทำตามปฏิบัติตาม สั่งสอนให้เป็นผู้พิจารณาเห็นขันธ์ 5 โดยความเป็นของไม่เที่ยง มีการเจริญสังฆานุสสติตรัสถึงการดำรงตนอยู่ด้วยความไม่ประมาทของพระมหากัสสปะ และทรงบอกสอนทำความเข้าใจในข้อธรรมต่าง ๆ ขยายความให้แจ่มแจ้งชัดเจนยิ่งขึ้น
- 5 นิทานพรรณนานิทานธรรมบทที่ยกมาในเอพิโสดนี้ประกอบด้วย เรื่องการผูกเวรของหมีและไม้ตะคร้อ, ความพินาศเพราะทะเลาะกันของฝูงนกกระจาบ, การเบาะแว้งกันของภิกษุชาวโกสัมพี, นางนกไส้ (นกต้อยตีวิด) กับช้างเกเร ทั้ง 4 เรื่องได้แจกแจงให้เห็นถึงความย่อยยับ เสียหาย หากเกิดการขัดแย้ง ทะเลาะต่อกัน เพราะนำมาซึ่งการผูกเวรต่อกันอย่างเรื่องของนางนกไส้ (นกต้อยตีวิด) การขัดแย้ง การทำความแตกร้าวกัน ย่อมนำมาซึ่งความเดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น ในเรื่องของนางนกไส้ กับ ช้างเกเร จะเห็นได้ว่าเมื่อสัตว์ตัวเล็ก ๆ 4 ตัว อย่างกา นางนกไส้ กบ และแมลงวันหัวเขียว มีความกลมเกลียวกันก็สามารถร่วมใจกันฆ่าช้างเกเรตัวใหญ่ได้ #encore 6214-5p
- 5 นิทานพรรณนาการฟังธรรม นอกจากผู้ฟังจะได้รับมงคลชีวิตแล้ว ก็ยังได้ข้อคิดในการดำเนินชีวิตด้วย ซึ่งในเอพิโสดนี้จะได้กล่าวถึง วิธีก้าวล่วงพ้นจากความทุกข์ โดยยกนิทานธรรมบทมาให้ฟังกันถึง 4 เรื่อง ซึ่งในแต่ละเรื่องมีรายละเอียดเบื้องต้นที่น่าสนใจ ดังนี้ ในเรื่องแรก ปรารภเมื่อครั้งที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเกิดมาเป็นตัวเงินตัวทอง และได้ถูกกุหกพราหมณ์ โกหกหลอกลวง หมายจะเอาชีวิตเพื่อจะได้กินเนื้อเป็นอาหาร, เรื่องที่ 2 กล่าวถึงบุรพกรรมของเศรษฐีขี้เหนียวผู้ไร้บุตร, เรื่องที่ 3 การมีพระพุทธเจ้าเป็นกัลยาณมิตร เป็นมงคลอันประเสริฐ และในเรื่องสุดท้าย ปรารภถึงธรรมะที่ได้ในขณะที่หมอชีวกโกมารภัจจ์ได้ดำเนินการรักษาบาดแผลพระโลหิตห้อที่พระบาทของพระพุทธเจ้า ที่เกิดจากสะเก็ดหินกระเด็นกระทบ ซึ่งเป็นแผนลอบทำร้ายของพระเทวทัต คนที่พ้นจากความทุกข์แล้ว เขาก็จะไม่มีความเร้าร้อนที่เกิดขึ้นในกายหรือในใจเลย จิตใจจัมีความสบาย มีความนุ่มเย็น ต่อให้ทางกายมีปัญญาเจ็บป่วยนั่นนี่ อันนี้เป็นธรรมดา ดังที่ตัดไว้กับหมอชีวกว่า "ความเร่าร้อน ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว หาความเศร้าโศกมิได้ หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ผู้ละกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงได้แล้ว"
- 5 นิทานพรรณนานิทานชาดกในเอพิโสดนี้ ได้ยกเรื่องราวที่เกี่ยวกับกาขึ้นมาใน 2 วาระ ซึ่งได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการกำจัดกิเลส โดยในวาระแรก ปรารภเหล่าพระเถระแก่ผู้สหายที่พากันกอดคอร่ำไห้คร่ำครวญถึงอุบาสิกา ผู้มีรสมืออันอร่อย และมีอุปการะต่อตนได้ตายลง พระพุทธเจ้าจึงนำอดีตนิทาน "กากชาดก" มาเล่า แล้วตรัสสอนว่า “ท่านทั้งหลาย จงตัดกิเลสดุจป่า อย่าตัดต้นไม้” ในวาระที่ 2 เป็นเรื่องของการผูกอาฆาตระหว่างพราหมณ์ปุโรหิตกับกา โดยพราหมณ์ปุโรหิตได้คิดอุบายใช้พระราชาเป็นเครื่องมือในการแก้แค้น แต่ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพญากา ได้มาเตือนสติพระราชาให้สามารถปรับปรุงแก้ไขตนให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลในธรรมได้ และเรื่องสุดท้ายที่ได้ยกมาประกอบกัน ปรารภเหล่าภิกษุได้สนทนากันถึงความที่พระเทวทัตกระทำมุสาวาทจึงถูกแผ่นดินสูบ พระพุทธองค์จึงทรงนำเอา "เจติยราชชาดก" ขึ้นมาสาธก ยกตัวอย่างเสริมเพื่ออธิบายให้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น ธรรมบทแปล เรื่อง พระเถระแก่ ภาคที่ 7 เรื่องที่ 209 "ท่านทั้งหลายจงตัดกิเลสดุจป่า อย่าตัดต้นไม้, ภัยย่อมเกิดแต่กิเลสดุจป่า, ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงตัดกิเลสดุจป่า และดุจหมู่ไม้ตั้งอยู่ในป่าแล้ว เป็นผู้ไม่มีกิเลสดุจป่าเถิด; เพราะกิเลสดุจหมู่ไม้ตั้งอยู่ในป่า ถึงมีประมาณนิดหน่อยของนรชนยังไม่ขาดในนารีทั้งหลายเพียงใด, เขาเป็นเหมือนลูกโคที่ยังดื่มน้ำนม มีใจปฏิพัทธ์ในมารดาเพียงนั้น." แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร E08S21
- 5 นิทานพรรณนาในเอพิโสดนี้ ได้ยกนิทานธรรมบทที่มีความหลากหลายด้วยกันมานำเสนอถึง 4 เรื่อง ซึ่ง เรื่องแรก เป็นเหตุการณ์ที่มีนายช่างแก้ว พระเถระ และนกกระเรียน ได้กระทำกรรมโดยมีเหตุเกิดจากแก้วมณี ได้สอนถึงการมีสติในการตัดสินใจ การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และความที่มีมิตรดี, เรื่องที่ 2 เป็นเรื่องของ "พระจันทาภเถระ" ได้ให้ข้อคิดในเรื่องของการประกอบสัมมาอาชีพในทางที่ถูกต้อง ส่วนเรื่องที่ 3 เกี่ยวกับการลดละความโลภในการสะสมทรัพย์หรือสิ่งของ อันจะเป็นสิ่งกีดขวางการบรรลุธรรม ดังเช่นเรื่องของ "พระอุปนันทศากยบุตร" และในเรื่องสุดท้าย ปรารภปัญหาของพระอานนท์ ในเรื่อง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งแม้กาลแห่งพระพุทธเจ้าต่างกัน แต่คำสอนเหมือนกัน เป็นแก่นของธรรมะที่พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ได้ทรงสอนไว้เหมือนกัน อันจะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่การปฏิบัติธรรม เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ [๑๕๑] ความไม่ทำบาปทั้งสิ้น ความยังกุศลให้ถึงพร้อม ความทำจิตของตนให้ผ่องใส นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ความอดทนคือความอดกลั้น เป็นธรรมเผาบาปอย่างยิ่ง ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ย่อมกล่าวพระนิพพานว่าเป็นเยี่ยม, ผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าบรรพชิต ผู้เบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ. ความไม่กล่าวร้าย ๑ ความไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมในพระปาติโมกข์[...]
- 5 นิทานพรรณนาได้หยิบยกเรื่องราวที่น่าสนใจขึ้นมานำเสนอถึง 3 เรื่องด้วยกัน ในเรื่องแรก เป็นเรื่องของนางหนูที่ออกอุบายจนสามารถทำให้แมวตายได้ ปรารภเรื่องของนางกาณา ที่ต้องเดินทางเพื่อไปแต่งงาน แต่ไม่สำเร็จ ติดขัดเพราะภิกษุ 4 รูป จึงเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงอนุเคราะห์แสดงอนุบุพพีกถา จนนางได้มีดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาปัตติผล ในเรื่องที่ 2 เป็นเรื่องของ พระสัมมัชชนเถระ ผู้เที่ยวกวาดเนือง ๆ อยู่ตลอดเวลา และ เรื่องที่ 3 เป็นเรื่องบุตรชายของคนฆ่าโค ซึ่งทั้ง 2 เรื่องนี้ ได้นำมาเสริมเพิ่มเติมประกอบกัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความที่ในกาลก่อนได้ตั้งอยู่ในความประมาท แต่ภายหลังได้แก้ไขดำรงตนอยู่ด้วยความไม่ประมาท ซึ่งต้องมีการทำความเพียรที่ถูกต้อง และหมั่นสะสมบุญกุศลไว้สำหรับเป็นเสบียงเพื่อใช้ในโลกหน้า เรื่องราวจะมีรายละเอียดเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างไร รับฟังกันได้ในเอพิโสดนี้ "บัณฑิตทั้งหลาย ฟังธรรมแล้ว ย่อมผ่องใส เหมือนห้วงน้ำลึก ใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัวฉะนั้น"…เรื่องมารดาของนางกาณา "ก็ผู้ใดประมาทในก่อน ภายหลังไม่ประมาท, ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่างได้ เหมือนดวงจันทร์พ้นแล้วจากหมอกฉะนั้น"…เรื่องพระสัมมัชชนเถระ "บัดนี้ ท่านเป็นดุจใบไม้เหลือง, อนึ่ง บุรุษแห่งพระยายม (คือความตาย) ปรากฏแก่ท่านแล้ว ท่านตั้งอยู่ใกล้ปากแห่งความเสื่อม, อนึ่ง แม้เสบียงทางของท่าน ก็ยังไม่มี[...]
- 5 นิทานพรรณนาในยุคปลายสุดแห่งพุทธสมัยของพระกัสสปะพุทธเจ้า ศาสนาเริ่มเสื่อมถอยลง ภิกษุทั้งหลายเลี้ยงชีพด้วยการแสวงหาอันไม่สมควร ทำการเกี่ยวข้องกับพวกภิกษุณีจนมีบุตรธิดา ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และพราหมณ์คฤหบดี ไม่ได้ดำรงตนอยู่ในธรรม ส่งผลให้ไม่มีเทวดาไปเกิดในสวรรค์ มีแต่คนตกนรก และในขณะนั้นพระโพธิสัตว์ได้เสวยพระชาติเป็นท้าวสักกเทวราช ได้ทรงทำคุณูปการอันใหญ่หลวงในการช่วยยืดอายุพระพุทธศาสนา ซึ่งเรื่องราวที่น่าสนใจนี้ได้นำเสนอไว้ใน "มหากัณหชาดก" นอกจากนี้ยังได้หยิบยกเอาเรื่องราวของท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย มาเป็นเรื่องเสริมเพิ่มเติมขยายความ
- 5 นิทานพรรณนาพุทธชัยมงคลคาถา (ตอนจบ) ในบทที่ 7 ว่าด้วยชัยชนะที่มีต่อนันโทปนันทนาคราช ผู้มีเล่ห์เหลี่ยมมาก และ บทที่ 8 ว่าด้วยชัยชนะที่มีต่อพกพรหม ผู้มีทิฏฐิมานะสูง พระพุทธองค์ทรงใช้วิธีการใดในการรับมือจนเปลี่ยนผู้ที่มีมิจฉาทิฐให้กลับเป็นผู้มีสัมมาทิฐิ และตั้งมั่นอยู่ในพระรัตนตรัยได้นั้น เป็นเรื่องที่ได้นำเสนอไว้อย่างน่าสนใจ ผู้ฟังสามารถนำหลักธรรมและวิธีการที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เป็นแบบอย่าง ที่ได้นำเสนอไล่เรียงมาตั้งแต่บทที่ 1 ถึง 8 นี้ เป็นแนวทางในการปฏิบัติและรับมือเมื่อต้องเผชิญกับบุคคลประเภทต่าง ๆ อันจะทำให้ตั้งอยู่ในกุศลธรรม และกระแสแห่งธรรมได้
- 5 นิทานพรรณนา"พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง)" ใน บทที่ 5 ว่าด้วยเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะนางจิญจมาณวิกาที่มากล่าวร้ายใส่โทษว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์กับพระพุทธเจ้า และ บทที่ 6 ว่าด้วยเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะสัจจกนิครนถ์ ผู้เป็นนักโต้วาที ที่ฉลาดหลักแหลม มีชื่อเสียงโด่งดังหาผู้มาโต้ตอบได้ยาก แต่เป็นคนมืดบอด ไม่ยอมรับความจริง มีจิตใจยกตนข่ม จึงมาพบพระพุทธเจ้าเพื่อตอบโต้วาทะ "ผู้ฟังจะได้เห็นถึงพุทธลีลาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงเอาชนะทั้งนางจิญจมาณวิกาและสัจจกนิครนถ์ ผู้ที่คิดจะมาทำลายทำร้าย ทำความเสื่อมเสียให้เกิดขึ้นแก่พระพุทธองค์ แต่ก็ทรงเอาชนะด้วยการใช้สันติวิธี สงบนิ่ง และปัญญาญาณ ซึ่งเราสามารถนำเอาวิธีการดังกล่าว ไปแก้ไขปัญหาที่ต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน เป็นแนวทางในการเสริมสร้างบารมีให้กับตนเอง" ชัยชนะของพระพุทธเจ้า ใน 2 บทนี้ เป็นความสวยงามของการไล่เรียงอธิบายลงไปในตัวบท ที่ยกเรื่องราวขึ้นมาประกอบได้สอดคล้องกัน จะเป็นอย่างไรนั้น รับฟังกันได้ในเอพิโสดนี้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: นิทานพรรณนา S02E14 , S02E13 , คลังพระสุตร S08E41
- 5 นิทานพรรณนา"พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง)" ใน บทที่ 3 ว่าด้วยเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าทรงมีชัยชนะเหนือพพญาช้างชื่อ นาฬาคิรี ที่กำลังตกมันและเมา มีความดุร้ายเหมือนไฟไหม้ป่า มีกำลังเหมือนจักราวุธ ถูกปล่อยให้วิ่งเข้ามาเพื่อหวังทำร้ายพระพุทธเจ้า ซึ่งมีพระเทวทัตเป็นผู้วางแผนลอบปลงพระชนม์อยู่เบื้องหลังจากหลายวาระ และ บทที่ 4 ว่าด้วยเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าทรงปราบมหาโจรองคุลิมาล ผู้หยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ปักใจมั่นในการฆ่าตี ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ฆ่าผู้คนแล้วตัดนิ้วมือนำมาร้อยเป็นพวงมาลัยคล้องคอ ให้กลับใจ ด้วยอมตะวาจาที่เราได้ยินกันอย่างคุ้นเคยที่ว่า "เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด" "นี้เป็นชัยชนะที่ท่านว่า โดยไม่ใช้อาชญา เป็นการด่าว่าทำร้าย โดยไม่ใช้ศาสตรา เป็นอาวุธเป็นตะขอเกี่ยวช้าง ไม่มี แต่ใช้ธรรมะล้วน ๆ ในกรณีของช้างนาฬาคิรี ก็ใช้เมตตา กรณีของโจรองคุลิมาล ก็ใช้อิทธิวิธี และในชัยชนะนี้ก็เป็นชัยชนะที่ราบคาบด้วย" และอย่างไรเรียกว่า "ชัยชนะที่ราบคาบ" รับฟังกันได้ในเอพิโสดนี้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: นิทานพรรณนา S02E13 , ขุดเพชรในพระไตรปิฎก S02E13 , อังคุลิมาลสูตร ,
- 5 นิทานพรรณนาในเอพิโสดนี้ เริ่มต้นซีรีส์ "พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง)" ในบทแรกว่าด้วยเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าทรงมีชัยชนะเหนือพญามารที่ยกกองพลใหญ่มาผจญในคืนก่อนการตรัสรู้ และ บทที่ 2 ว่าด้วยเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าทรงปราบทิฏฐิของอาฬวกยักษ์ที่มีจิตใจดุร้ายหยาบกระด้างให้พ่ายแพ้ลงได้ "ชัยชนะได้ด้วยธรรมะล้วน ๆ…ไม่ว่าจะเอาชนะท้าววสวัตตี พญามาร ที่คอยจะหาช่องอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเอาชนะอาฬวกยักษ์ผู้มีจิตกระด้าง ก็ได้ด้วยธรรมะ ไม่มีคราวไหนเลยที่เราจะเอาชนะอกุศลธรรม เอาชนะอธรรม ได้ด้วยอกุศลธรรมที่มากกว่า หรือได้ด้วยอธรรมที่ยิ่งไปกว่า นั่นไม่มีเลย…แต่ถ้าเราเอาชนะด้วยธรรมะ เอาชนะด้วยกุศลธรรม นี่แหละเป็นชัยชนะที่ยิ่งกว่าชัยชนะใด ๆ "พุทธชัยมงคลคาถา" คาถาว่าด้วยชัยชนะ 8 ประการ อันเป็นมงคลของพระพุทธเจ้า ที่เรียกกันติดปากว่า “บทสวดพาหุง” โดยมีหลักธรรมที่พระองค์ได้สั่งสอนและทรงกระทำเป็นแบบอย่างให้เราปฏิบัติตามเพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละบท ๆ โดยจะนำมาให้รับฟังกันเป็นคู่ ๆ ในเอพิโสดต่อไป แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: นิทานพรรณนา S02E02
- 5 นิทานพรรณนา"มหากปิชาดก" เป็นนิทานชาดกที่เป็นเรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีเสวยพระชาติเป็นพญาลิง จึงยกมาใน 2 วาระ ที่ได้ช่วยฝูงลิงบริวารให้พ้นภัย ด้วยความที่เป็นหัวหน้าที่มีจิตใจหนักแน่น เปี่ยมล้นด้วยความเสียสละ ประกอบด้วยปัญญา ได้ใช้ร่างกายของตนต่อเป็นสะพาน โดยใช้เถาวัลย์ที่ผูกไว้ที่เอวตนเอง เพื่อให้ฝูงลิงบริวารทั้ง 80,000 ตัว เหยียบข้ามแม่น้ำ จนหนีจากการถูกไล่ล่าไปได้อย่างปลอดภัยทุกตัว เพราะด้วยจิตใจที่มีความสงเคราะห์ต่อฝูงลิงบริวาร และในอีกวาระหนึ่ง ด้วยจิตที่มีความเมตตากรุณาแม้ถูกทำร้ายก็ไม่ถือโกรธ ซึ่งในครั้งนั้นได้ช่วยเหลือพราหมณ์ที่เดินหลงป่าเข้ามา แล้วพลัดตกเหวไว้ แต่ด้วยความที่พราหมณ์มีจิตอันเป็นบาปธรรมจึงเป็นเหตุให้คิดชั่ว ทำร้ายได้แม้แต่กับผู้มีคุณแก่ตน พราหมณ์นั้นจึงได้รับทุกขเวทนาเป็นอย่างมาก ด้วยบาปกรรมที่ตนได้กระทำส่งผล ทั้งนี้ได้นำเป็นเรื่องราวของ พระเจ้าวิฑูฑภะ มาประกอบเพิ่มเติม โดยปรารภเรื่องการสงเคราะห์ญาติจากการที่จะถูกพระเจ้าวิฑูฑภะมาทำร้ายล้าง แต่ห้ามทัพได้เพียงแค่ 3 ครั้ง เพราะกรรมในกาลก่อนของเหล่าศากยวงศ์ได้ส่งผล แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: นิทานพรรณา E02S01
- 5 นิทานพรรณนาให้ทานอย่างไรจึงได้อานิสงส์มาก เอพิโสดนี้จึงได้หยิบยกเรื่องการให้ทาน ซึ่งเป็นบาทฐานเบื้องต้นของการบรรลุธรรม การให้ทานที่ให้อานิสงส์มากต้องประกอบด้วยองค์ 3 คือ (1) การตระเตรียม (2) เจตนา และ (3) ผู้รับ ซึ่งมีรายละเอียดอย่างไรนั้น สามารถรับฟังกันได้ที่นี่ ทั้งนี้ได้หยิบยกตัวอย่างการให้ทานของบุคคลในสมัยพุทธกาล ที่รู้จักกันดีคือ พระสีวลี ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในทางผู้มีลาภมาก ซึ่งเป็นผลมาจากกุศลทาน เพื่อให้ผู้ฟังมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร S09E10 , S09E11 , S07E53 , นิทานพรรณา S01E26 , บัณฑิตสามเณร , ธรรมบท-เรื่องสุขสามเณร , เมณฑกเศรษฐี , กรรมของติสสะภิกษุ และ สุมนมาลาการ ,
- 5 นิทานพรรณนาในเอพิโสดนี้ ได้คัดสรรเรื่องราวจาก หนังสือนิทานกตัญญู 100 เรื่อง ที่รวบรวมจากพระไตรปิฎก และคัมภร์อรรถกถา ซึ่งมีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับความกตัญญู กล่าวถึงบุคคลในสมัยพุทธกาล ที่ได้แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที เป็นการแสดงออกถึงความดีงาม เป็นเครื่องหมายของคนดี มานำเสนอให้ได้ฟังกันถึง 3 เรื่อง เริ่มด้วย… "มัจฉทานชาดก" ว่าด้วยบุญที่ให้ทานแก่ปลา และผลบุญจากการอุทิศบุญให้กับเทวดา "ธรรมเทวปุตตชาดก" ว่าด้วยธรรมเทพบุตร | ธรรมชนะอธรรม "ภิกษุมีภัณฑะมาก" ธรรมบทแปลภาคที่ 5 เรื่องที่ 114 (สั่งสมสิ่งของ) และในทั้ง 3 เรื่องนี้ มีประเด็นที่น่าสนใจซึ่งจะมาสรุปเป็นข้อคิดข้อปฏิบัติให้แก่ท่านผู้ฟัง เพื่อนำมาประยุกต์ใช้งานให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันของเราได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่: #ธรรมย่อมชนะอธรรม , #สากัจฉาธรรม - การตอบแทนบุญคุณบิดามารดา , #สากัจฉาธรรม-สุปฺปฏิการ การกระทำตอบ [...]
- 5 นิทานพรรณนาสามเณรน้อยชื่อว่า "ติสสะ" (พระวนวาสีติสสเถระ) เกิดในตระกูลอุปัฏฐากของพระสารีบุตรเถระ ได้ชื่อตามพระเถระเมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์มีชื่อว่า อุปติสสมาณพ ขณะแม่แพ้ท้องคิดว่า เราพึงนิมนต์ภิกษุ 500 รูป มีพระสารีบุตรเถระเป็นประธาน ให้นั่งในเรือนถวายข้าวปายาส แล้วบริโภคข้าวปายาสอันเป็นเดนของภิกษุ นางได้ตามประสงค์นั้น และเมื่อเด็กน้อยมีอายุ 7 ปี ก็ได้ขอออกบวชเพื่อเพื่อศึกษาเล่าเรียนและปฏิบัติธรรม โดยมีพระสารีบุตรเป็นอุปัชฌายะและเป็นผู้ให้ตจปัญจกกัมมัฏฐาน จึงขออนุญาตออกป่าไปปฏิบัติสมณธรรม 3 เดือนได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. ประเด็นที่น่าสนใจในที่นี้คือ เมื่อสามเณรนั้นออกป่าทำสมณธรรม ได้เข้าไปบิณฑบาต เมื่อมีผู้ถวายภิกษา ไหว้แล้ว สามเณรก็กล่าวว่า "ขอท่านทั้งหลายจงถึงซึ่งความสุข, จงพ้นจากทุกข์เถิด." แต่ไม่ได้อธิบายความหมายว่าเป็นอย่างไร จนเมื่ออุปัชฌายะมาเยี่ยมบอกสอนแล้ว สามเณรได้บรรลุธรรมขั้นสูง จึงสามารถแสดงให้เห็นถึง "เหตุให้ถึงสุขและพ้นจากทุกข์" ได้ เรื่องราวต่อไปจะเป็นอย่างไรมาติดตามรับฟังกันได้ในเอพิโสดนี้ “ก็ข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้ได้ลาภเป็นอย่างหนึ่ง ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงพระนิพพานเป็นอย่างหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า รู้ชัดข้อปฏิบัติทั้งสองนี้แล้วไม่พึงยินดีสักการะ แต่พึงเพิ่มพูนวิเวก”…เรื่องพระวนวาสีติสสเถระ [๕๙] แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร S08E23 ,ขุดเพชรในพระไตรปิฎก S01E25
- 5 นิทานพรรณนาในเอพิโสดที่แล้ว ได้นำเสนอเรื่องของ สัญชัยปริพาชก ในส่วนของเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงแต่งตั้งพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้ายและขวา เอพิโสดนี้จึงเป็นตอนต่อในเรื่องบุรพกรรมของผู้บวชก่อน และบุรพกรรมของพระอัครสาวกคู่เลิศ และเป็นตอนจบที่เชื่อมโยงพระอัครสาวกต่อเข้ากับสัญชัยปริพาชก ที่แสดงให้ถึงความเป็นผู้เห็นผิดกับผู้เห็นถูกนั้นได้รับผลต่างกัน “ภิกษุทั้งหลาย สญชัยถือสิ่งที่ไม่มีสาระว่า ‘มีสาระ’ และสิ่งที่มีสาระว่า ‘ไม่มีสาระ’ เพราะความที่ตนเป็นมิจฉาทิฏฐิ. ส่วนเธอทั้งสองรู้สิ่งเป็นสาระโดยความเป็นสาระ และสิ่งอันไม่เป็นสาระโดยความไม่เป็นสาระ ละสิ่งที่ไม่เป็นสาระเสีย ถือเอาแต่สิ่งที่เป็นสาระเท่านั้น เพราะความที่ตนเป็นบัณฑิต”…ธรรมบทแปลเรื่องสญชัย แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: นิทานพรรณนา E02S07
- 5 นิทานพรรณนาจากเอพิโสดที่ผ่านมา ได้นำเสนอเรื่องราวของพระมหาสาวกผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศในด้านต่าง ๆ กันไปแล้วนั้น ด้วยเห็นว่ายังมีเรื่องราวเพิ่มเติมที่น่าสนใจ ที่มาในส่วนของอรรถกถา เพื่อประกอบการศึกษาให้ได้เห็นข้อมูลชัดเจนมากยิ่งขึ้น จึงยก ธรรมบทแปลเรื่อง "สญชัย" ขึ้นมานำเสนอ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ตอน ซึ่งในเอพิโสดแรกนี้ ได้กล่าวถึงความเป็นมาของ พระอัครสาวกคู่เลิศ คือ พระโมคคัลลานะ (พระอัครสาวกเบิ้องซ้าย) และ พระสารีบุตร (พระอัครสาวกเบิ้องขวา) ว่ามีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันกับสัญชัยปริพาชกอย่างไร และเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงทรงประทานตำแหน่งนี้ให้แก่ท่านทั้งสอง ประเด็นน่าสนใจเพิ่มเติมให้ในที่นี้ ตรงจุดที่ว่า ทำไมไม่ทรงประทานแก่พระมหาสาวกรูปอื่นที่บวชมาก่อน แต่กลับประทานให้แก่ผู้บวชภายหลัง จนเป็นเหตุให้เกิดการติเตียน พระพุทธเจ้าจึงทรงยกบุรพกรรมของพระอัญญาโกณฑัญญะ บุรพกรรมของเหล่าภิกษุ 55 รูป โดยมีพระยสเถระ เป็นต้น และบุรพกรรมของเหล่าพระภัทรวัคคีย์ 30 คน ขึ้นมากล่าวให้ได้ทราบว่า พระองค์ไม่ได้ทรงประทานเพราะเลือกหน้า แต่ทรงประทานตำแหน่งให้ตามแต่ละคน ๆ ที่ได้ตั้งความปรารถนามา แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ขุดเพชรในพระไตรปิฎก E01S08 , E01S09 , E01S10 , คลังพระสูตร[...]
- 5 นิทานพรรณนาเรื่องราวของเศรษฐีขี้เหนียว ผู้มีความตระหนี่ 2 คน ซึ่งคนแรกนั้น หลังตายไปด้วยความโลภในทรัพย์จึงได้รับวิบากกรรมกลับมาเกิดเป็นลูกสุนัขในบ้านตนเอง เป็นเรื่องราวของโตเทยยพราหมณ์ ผู้เป็นบิดาของสุภมาณพ เป็นต้นเรื่องที่มาของ จูฬกัมมวิภังคสูตร และ สุภสูตร ที่ทำให้สุภมาณพได้มาฟังธรรมและได้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธเจ้า ส่วนคนที่สอง เป็นเรื่องของ อานนทเศรษฐี สั่งสอนบุตรให้เป็นผู้ตระหนี่ หลังตายไปได้รับวิบากกรรมกลับมาเกิดเป็นลูกของหญิงขอทาน มีรูปร่างอัปลักษณ์ เป็นกาลกิณี ซึ่งในทั้ง 2 เรื่องนี้ เราจะได้เห็นถึงเรื่องของกรรมและผลของกรรม ความเป็นเหตุปัจจัย ในที่นี้คือเรื่องของความตระหนี่ และตอนท้ายของเอพิโสดก็ได้นำเอาเรื่องของ อิลลีสเศรษฐี ยกขึ้นมาประกอบเพิ่มเติมให้ได้รับฟังกัน คนพาล ย่อมเดือดร้อนว่า ‘บุตรทั้งหลายของเรามีอยู่, ทรัพย์ (ของเรา) มีอยู่’, ตนแลย่อมไม่มีแก่ตน, บุตรทั้งหลายจักมีแต่ที่ไหน? ทรัพย์จักมีแต่ที่ไหน? (อธิบายคความ: "คนพาลย่อมเดือดร้อนด้วยความอยากในบุตร และด้วยความอยากในทรัพย์ว่า ‘บุตรทั้งหลายของเรามีอยู่, ทรัพย์ของเรามีอยู่’, คือย่อมลำบาก ย่อมถึงทุกข์, คือย่อมเดือดร้อนว่า ‘บุตรทั้งหลายของเราฉิบหายแล้ว’, ย่อมเดือดร้อนว่า ‘ฉิบหายอยู่’, ย่อมเดือดร้อนว่า ‘จักฉิบหาย."…ก็เมื่อเขาเดือดร้อนอยู่อย่างนี้ ตนแลชื่อว่าย่อมไม่มีแก่ตน) แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร[...]
- 5 นิทานพรรณนาเรายังคงอยู่ในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับนางวิสาขามหาอุบาสิกากันอยู่ ซึ่งในเอพิโสดนี้ ได้นำเสนอเรื่องราวว่าด้วยโทษและกำเนิดสุรา อ้างอิงมาใน "อรรถกถา กุมภชาดก" โดยหยิบยกเรื่องราวประกอบที่เชื่อมโยงกันขึ้นมาเพิ่มเติมอีก 2 เรื่อง เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอีนกว้างขวางยิ่งขึ้น เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น ติดตามรับฟังกันได้ที่นี่ เรื่องแรก เป็นเรื่องของพวกหญิงสหายของนางวิสาขา ที่ชื่นชอบการดื่มสุรา เกิดความคึกคะนองจนเป็นเหตุให้ทะเลาะวิวาทกันในขณะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม แต่สุดท้ายพวกหญิงสหายนั้นจะสร่างเมา และบรรลุโสดาบันได้อย่างไรนั้น มาติดตามรับฟังกันได้ “ท่านทั้งหลายจะมัวร่าเริง บันเทิงกันอยู่ทำไม ในเมื่อโลกกำลังลุกเป็นไฟอยู่เนืองนิตย์ ท่านทั้งหลายอันความมืดมิดหุ้มห่อแล้ว ยังไม่พากันแสวงหาประทีป คือที่พึ่ง (อีกหรือ?)” ส่วนในเรื่องที่ 2 เป็นเรื่องของภิกษุหนุ่ม ผู้มีเหตุให้ทะเลาะกับหลานของนางวิสาขา แต่หลังจากได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ก็ได้บรรลุโสดาบัน “บุคคลไม่พึงเสพธรรมอันเลว, ไม่พึงอยู่ร่วมด้วยความประมาท, ไม่พึงเสพความเห็นผิด, ไม่พึงเป็นคนรกโลก” แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร S09E04 , นิทานพรรณนา S02E04 , S02E03 , ขุดเพชรในพระไตรปิฏก S02E07 , S02E06
- 5 นิทานพรรณนาสืบเนื่องจากเอพิโสดที่แล้ว ได้นำเสนอประวัติความเป็นมาของนางวิสาขามหาอุบาสิกา มาถึงเมื่อนางได้แต่งงานเข้ามาอยู่ในเรือนของสามี เกิดมีปัญหากับพ่อสามีจนถูกไล่ออกจากเรือน ลูกสะใภ้จะชนะใจพ่อสามีโดยธรรมได้อย่างไร และจะมีเรื่องราวใดเกิดขึ้นต่อจากนี้ รับฟังกันได้ในเอพิโสดนี้ นางวิสาขาชนะความพ่อผัว เศรษฐี. ท่านทั้งหลาย แม้ในเรื่องนี้จะไม่มีโทษ ก็ช่างเถอะ, แต่ว่า บิดาของนางวิสาขานี้ เมื่อกล่าวสอนนางวิสาขานี้ ในเวลาจะมาที่นี้ ได้ให้โอวาท ๑๐ ข้อ ซึ่งลี้ลับปิดบัง, เราไม่ทราบเนื้อความแห่งโอวาทนั้น, นางจงบอกเนื้อความแห่งโอวาทนั้นแก่เรา; ก็บิดาของนางนี้ได้บอกว่า ‘ไฟใน ไม่พึงนำออกไปภายนอก’ พวกเราอาจหรือหนอ? เพื่อจะไม่ให้ไฟแก่เรือนคุ้นเคยทั้งสองฝ่ายแล้วอยู่ได้ กุฎุมพี. ทราบว่าอย่างนั้นหรือ? แม่. วิสาขา. พ่อทั้งหลาย คุณพ่อของดิฉันมิได้พูดหมายความดังนั้น, แต่ได้พูดหมายความดังนี้ว่า ‘แม่ เจ้าเห็นโทษของแม่ผัว พ่อผัว และสามีของเจ้าแล้ว อย่าเฝ้ากล่าว ณ ภายนอก คือในเรือนนั้นๆ, เพราะว่า ขึ้นชื่อว่าไฟ เช่นกับไฟชนิดนี้ ย่อมไม่มี. เศรษฐี. ท่านทั้งหลาย ข้อนั้นยกไว้ก่อน, ก็บิดาของนางวิสาขานี้กล่าวว่า ‘ไฟแต่ภายนอก ไม่พึงให้เข้าไปภายใน’, พวกเราอาจเพื่อจะไม่ไปนำไฟมาจากภายนอกหรือ? ในเมื่อไฟใน (เรือน)[...]
- 5 นิทานพรรณนาเครื่องประดับชื่อ "มหาลดาปสาธน์" ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นของสำหรับผู้มีบุญ เป็นเครื่องประดับกึ่งอาภรณ์ประจำตัวของสตรีผู้เป็นบุตรีของอภิมหาเศรษฐีอินเดียโบราณมีเพียง 3 คนเท่านั้นที่ได้เป็นผู้ครอบครอง คือ นางวิสาขามหาอุบาสิกา พระนางมัลลิกาภรรยาของพันธุลเสนาบดี และธิดาเศรษฐีภรรยาท่านเทวปานิยสาระ ในที่นี้ขอหยิบยกเรื่องราวของ นางวิสาขามหาอุบาสิกา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายิกา (ถวายทาน) ซึ่งเศรษฐีบิดาของนางได้สร้างมหาลดาปสาธน์นี้ให้เพื่อเป็นชุดแต่งงาน มาให้ได้รับฟังกัน และเรื่องราวหลังจากที่นางวิสาขาได้แต่งงานเข้าไปในเรือนของสามี เกิดมีการปากเสียงกับพ่อสามี จนถูกไล่ออกจากเรือน นางจะมีวิธีการแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดหน้า "ก็ถ้าดอกไม้มีน้อย และนายมาลาการฉลาด ก็ย่อมไม่อาจทำพวงดอกไม้ให้มากได้เลย, ส่วนนายมาลาการผู้ไม่ฉลาด เมื่อดอกไม้จะมีน้อยก็ตาม มากก็ตาม ย่อมไม่อาจโดยแท้, แต่เมื่อดอกไม้มีมาก นายมาลาการผู้ฉลาด ขยัน เฉียบแหลม ย่อมทำพวงดอกไม้ให้มาก ฉันใด; ถ้าศรัทธาของคนบางคนมีน้อย ส่วนโภคะมีมาก ผู้นั้นย่อมไม่อาจทำกุศลให้มากได้, ก็แล เมื่อศรัทธามีน้อยทั้งโภคะก็น้อย, เขาก็ย่อมไม่อาจ, ก็แล เมื่อศรัทธาโอฬาร แต่โภคะน้อย เขาก็ย่อมไม่อาจเหมือนกัน, ก็แต่เมื่อมีศรัทธาโอฬาร และโภคะก็โอฬาร เขาย่อมอาจทำกุศลให้มากได้ ฉันนั้น, นางวิสาขาอุบาสิกาเป็นผู้เช่นนั้นแล, พระศาสดาทรงหมายนางวิสาขานั้น จึงตรัสคำเป็นพระคาถาดังนี้ว่า "นายมาลาการพึงทำพวงดอกไม้ให้มาก จากกองดอกไม้ แม้ฉันใด, มัจจสัตว์ผู้มีอันจะพึงตายเป็นสภาพ[...]
- 5 นิทานพรรณนาสืบเนื่องจากได้นำเสนอเรื่องของหัตถอาฬวกอุบาสกไปในช่วงคลังพระสูตรและขุดเพชรในพระไตรปิฎกที่ผ่านมา จึงได้ยกเรื่องของ "อาฬวกยักษ์" ขึ้นมาเป็นส่วนประกอบเสริมเพิ่มเติมให้ จะมีเรื่องราวเชื่อมโยงกันอย่างไรนั้นมาติดตามรับฟังกันได้ และในประเด็นที่น่าสนใจก็คือ เหตุอันใดที่ทำให้อาฬวกยักษ์เปลี่ยนจากยักษ์อันธพาลที่ดุร้าย ใจคอเหี้ยมโหด เต็มไปด้วยโทสะ และโมหะ มามีดวงตาเห็นธรรม จนบรรลุเป็นโสดาบันได้ อาฬวกสูตรที่ ๑๐ ว่าด้วยเรื่องอาฬวกยักษ์ทูลถามปัญหา ลำดับนั้น อาฬวกยักษ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า[๓๑๑] อะไรเล่าเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันประเสริฐที่สุดของบุรุษในโลกนี้ อะไรเล่าที่บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้ อะไรเล่าเป็นรสยังประโยชน์ให้สำเร็จกว่ารสทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลาย ได้กล่าวชีวิตของบุคคลผู้เป็นอยู่อย่างไรว่าประเสริฐที่สุด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า ศรัทธาเป็นทรัพย์ เครื่องปลื้มใจอันประเสริฐที่สุดของบุรุษในโลกนี้ ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้สัจจะแลเป็นรสยังประโยชน์ให้สำเร็จกว่ารสทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตของบุคคลผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่าประเสริฐที่สุด ฯ อ. บุคคลย่อมข้ามโอฆะได้อย่างไร บุคคลย่อมข้ามอรรณพได้อย่างไร บุคคลย่อมล่วงทุกข์ได้อย่างไร ย่อมบริสุทธิ์ได้อย่างไร ฯ พ. บุคคลย่อมข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา ย่อมข้ามอรรณพได้ด้วยความไม่ประมาท ย่อมล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ฯ อ. บุคคลย่อมได้ปัญญาอย่างไร[...]
- 5 นิทานพรรณนาเหตุใดตระกูลศากยะซึ่งได้ชื่อว่าเป็นตระกูลที่เป็นสัมมาทิฐิจึงต้องถูกฆ่าล้างตระกูล มารับฟังเรื่องราวความเป็นมาของพระเจ้าวิฑูฑภะ ผู้ฆ่าล้างศากยะวงศ์ "มัจจุ ย่อมพานระผู้มีใจข้องในอารมณ์ต่าง ๆ ผู้เลือกเก็บดอกไม้อยู่เที่ยวไป เหมือนห้วงน้ำใหญ่พัดชาวบ้านอันหลับแล้วไปฉะนั้น."
- 5 นิทานพรรณนาปุถุชนคนธรรมดา อยู่ครองเรือนและมีครอบครัว ก็สามารถบรรลุธรรมได้ ยกตัวอย่าง ท่านจิตตคหบดี เป็นอุบาสกคนสำคัญผู้ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงยกย่องให้เป็นเลิศกว่าอุบาสกทั้งหลายในทางเป็นธรรมกถึก และ นางจูฬสุภัททา ลูกสาวท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ซึ่งเป็นผู้มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างหยั่งลงมั่น ไม่คลอนแคลน ผู้ที่เป็นกำลังสำคัญในการช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนา และยังยกมาประกอบเพิ่มเติมด้วยตัวอย่างอีก 2 เรื่อง ซึ่งเป็นตัวอย่างวิธีสั่งสอนลูกหลานที่เกเรให้กลับกลายเป็นคนดีของอนาถบิณฑิกเศรษฐี โดยการมอบนิพพานสมบัติอันเป็นสมบัติที่ประเสริฐยิ่งให้ ธรรมบทแปลเรื่อง จิตตคฤหบดี ภาคที่ 7 เรื่องที่ 220 จิตตคฤหบดี อุบาสกผู้เป็นเลิศทางธรรมกถึก พระพุทธเจ้าได้เทศนาเกี่ยวกับจิตตคฤหบดีผู้มีลาภสักการะ เนื่องจากเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส และสมบูรณ์ด้วยศีล ธรรมบทแปลเรื่อง นางจูฬสุภัททา ภาคที่ 7 เรื่องที่ 221 นางจูฬสุภัททา ลูกสาวของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ผู้ที่เป็นกำลังสำคัญในการช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนา ธรรมบทแปลเรื่อง นายกาละบุตรของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ภาคที่ 4 เรื่องที่ 147 นายกาละ เป็นคนเกเร พ่อจึงออกอุบายด้วยการจ้างไปฟังธรรม ภายหลังบรรลุเป็นพระโสดาบัน ธรรมบทแปลเรื่อง บุตรเศรษฐีชื่อเขมกะ ภาคที่ 7 เรื่องที่ 226 นายเขมกะ เป็นคนเจ้าชู้[...]
- 5 นิทานพรรณนาอุบาสกก็บรรลุธรรมได้ ดังตัวอย่างของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นผู้ที่ยึดมั่นในพระรัตนตรัย มีสัมมาทิฐิ น้อมนำหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเป็นแนวทางในการประกอบสัมมาอาชีพ การคบเพื่อน การให้ทาน โดยนำเสนอผ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับในรูปแบบของนิทานชาดก 4 เรื่อง ประกอบด้วย สิริชาดก, วารุณิทูสกชาดก, อกตัญญูชาดก และกาฬกัณณิชาดก ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังมีความรู้ความเข้าใจในหัวข้อธรรมะต่าง ๆ ได้มากขึ้น สามารถนำมาปรับใช้ชีวิตในทางโลกไปพร้อมกับการปฏิบัติธรรม จนสามารถถึงขั้นบรรลุเป็นพระโสดาบันเหมือนกับท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต Ep.26 , ใต้ร่มโพธิบท Ep.67, คลังพระสูตร Ep.65
- 5 นิทานพรรณนาคนเราถ้ามีความอยากมาก มีความรักมาก ก็ยิ่งทุกข์มาก เมื่อเห็นทุกข์มากจะเปลี่ยนทุกข์ให้เป็นการเห็นธรรมได้ ก็ต้องมีศรัทธามากด้วยเช่นกัน เพราะศรัทธามากนี้เอง จะทำให้เกิดความเพียรและมีความแน่วแน่ในการปฏิบัติ ดังเช่นตัวอย่างของภิกษุณีที่ได้พบกับความทุกข์มาก คือ พระกีสาโคตมีเถรี พระพหุปุตติกาเถรี นอกจากนี้ได้ยกเรื่องของพระอุบลวรรณาเถรี อัครสาวกเบื้องซ้าย และพระอุตตราเถรี ผู้ซึ่งบวชเมื่อแก่ แต่ก็มีศรัทธาในคำสอน ขึ้นมาประกอบเพิ่มเติม เชิญรับฟังธรรมะที่พวกท่านได้สดับจนบรรลุธรรม แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: นิทานพรรณ Ep.42 , ขุดพชรในพระไตรปิฏก Ep.38, Ep.34
- 5 นิทานพรรณนา"ความทุกข์เป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องเจอ แต่จะทำอย่างไรให้สามารถรับมือกับความทุกข์และผ่านพ้นไปได้" ตัวอย่างของภิกษุณี 2 รูป คือ พระกุณฑลเกสีเถรี และ พระปฏาจาราเถรี ซึ่งทั้งสองได้เจอความทุกข์อย่างแสนสาหัส แต่ด้วยได้ตั้งความปรารถนาสั่งสมบารมีมายาวนานในอดีตชาติ จวบจนชาติสุดท้ายที่เมื่อต้องเผชิญกับความทุกข์อย่างมาก ด้วยสัมมาสติพร้อมบารมีที่สั่งสมมาส่งผลให้สามารถปฏิบัติธรรมจนบรรลุพระอรหันต์ได้ อีกทั้งได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ธรรมบทแปลเรื่อง พระกุณฑลเกสีเถรี ภาคที่ 4 เรื่องที่ 83 เอตทัคคะในฝ่ายผู้ตรัสรู้เร็วพลัน | ลูกสาวเศรษฐีผู้หลงรักโจร ถูกสามีลวงไปฆ่า แต่ก็รอดพ้นมาได้ด้วยปัญญา จากนั้นนางได้บวชเป็นปริพาชิกา เรียนจบวิชาพันวาทะอาจารย์ก็ตัดกิ่งหว้ายื่นใส่มือ บอกว่า ถ้าเจอคฤหัสถ์โต้วาทีเอาชนะ ก็ขอให้นางยอมเป็นเมีย ถ้าเจอบรรพชิต ก็ขอให้ยอมบวชในสำนักนั้น นับแต่นั้นปริพาชิกาถือกิ่งหว้า ประกาศท้าโต้วาที เอาชนะผู้รู้หลายสำนักได้ ชื่อเสียงเลื่องลือไปไกล จนถูกเรียกว่า "ชัมพุปริพาชิกา" (ปริพาชิกากิ่งหว้า) ภายหลังได้โต้วาทะกับพระสารีบุตรี เกิดความเสื่อมใส ได้เข้าเฝ้าฯ และฟังพระธรรมเทศนาแค่เพียง 4 บทจากพระพุทธเจ้า นางซึ่งกำลังยืนอยู่ ยังไม่ทันจะนั่งลงก็ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย จึงขอบวชแล้ว ได้ชื่อว่า “กุณฑลเกสาเถรี” "ก็ผู้ใดพึงกล่าวคาถาตั้งร้อย ซึ่งไม่ประกอบด้วยบทเป็นประโยชน์, บทแห่งธรรมบทเดียวที่บุคคลฟังแล้วสงบระงับได้ ประเสริฐกว่า (การกล่าวคาถาตั้ง[...]
- 5 นิทานพรรณนาความชราของร่างกายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถเตรียมตัวแก่อย่างมีประโยชน์ โดยการหมั่นฝึกฝนตน มีความเพียรในการปฏิบัติธรรม ตลอดจนมีสติในการดำรงชีวิต พระพุทธเจ้าได้ทรงเปรียบเทียบร่างกายที่ต้องชราภาพ กับราชรถที่ชำรุดทรุดโทรม แต่ธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสอนไว้นั้นไม่มีความชราภาพ อีกทั้งยังไม่เกี่ยวเนื่องด้วยเวลา (อกาลิโก) จึงได้ยก 4 เรื่องราวที่มาในธรรมบทแปลที่มาในหมวด "ชราวรรค" นำเสนอเรื่องราวของบุคคลที่เป็นคติสอนใจเกี่ยวกับความแก่ชราเพื่อประกอบหัวข้อธรรม ดังนี้ เรื่อง พระนางรูปนันทาเถรี พระนางรูปนันทา ผู้เลิศด้านเพ่งด้วยญาณ น้องสาวของพระพุทธเจ้าผู้หลงในรูปงามของตน ออกบวชตามพระญาติโดยไม่มีศรัทธา แต่เมื่อพระพุทธเจ้าได้แสดง "กายคตาสติ" พระนาง จึงบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน สุดท้ายได้เป็นบรรลุพระอรหันต์ด้วยเพ่งพิจารณาตามไปในพระคาถาที่ว่า "สรีระอันกรรมทำให้เป็นนครแห่งกระดูกทั้งหลาย ฉาบด้วยเนื้อและโลหิต เป็นที่ตั้งลงแห่งชรา มรณะ มานะและมักขะ." เรื่อง พระนางมัลลิกาเทวี พระพุทธเจ้าทรงเทศน์สอนเกี่ยวกับการตายของนางพระนางมัลลิกา เปรียบเทียบกับราชรถยังชำรุดทรุดโทรมได้ จะกล่าวอะไรแม้ร่างกายนี้ก็เช่นกัน แต่ธรรมของสัตบุรุษหาหาได้เข้าถึงชราไม่ สัตบุรุษกับสัตบุรุษรู้กันได้อย่างนี้ "ราชรถที่วิจิตรดี ยังคร่ำคร่าได้แล, อนึ่ง ถึงสรีระก็ย่อมถึงความคร่ำคร่า, ธรรมของสัตบุรุษหาเข้าถึงความคร่ำคร่าไม่, สัตบุรุษทั้งหลายแล ย่อมปราศรัยกับด้วยสัตบุรุษ." เรื่อง พระโลฬุทายีเถระ พระโลฬุทายีเถระ ผู้ไม่ใฝ่เรียนรู้ ฝึกฝนจนแก่ไป ย่อมเหมือนโคถึก ปัญญาย่อมไม่เจริญ "คนมีสุตะน้อยนี้ ย่อมแก่เหมือนโคถึก,[...]
- 5 นิทานพรรณนาการที่เราจะเข้าถึงธรรมะได้ต้องรู้จักการปฏิบัติ ตอนนี้จึงเป็นโอกาสที่ดีที่คำสอนยังคงดำรงอยู่ มีโอกาสให้ได้ยินได้ฟังธรรมกัน จึงควรน้อมนำธรรมะนั้นมาปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แล้วเราจะเป็นผู้ที่ได้รับผลของธรรมนั้น…ได้ยกเรื่องราว 4 เรื่องเข้ามาประกอบการอธิบายเพื่อความเข้าใจที่กว้างขว้างมากยิ่งขึ้น "จงอย่าได้ทำตัวเหมือนทัพพีที่ไม่รู้รสแกง" พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในเรื่องราวของ พระอุทายี ว่า “คนพาล เข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตอยู่ แม้จนตลอดชีวิต เขาย่อมไม่รู้ธรรม” นอกจากนี้ในเรื่องของการปฏิบัติ ให้เราเป็นผู้ที่บอกง่าย ไม่ผูกโกรธ และมีความเพียรในการปฏิบัติ ได้ยกเรื่องของพระติสสะและภิกษุ 2 สหาย ที่ภิกษุรูปหนึ่งไม่ปฏิบัติ ส่วนอีกรูปมีความเพียรในการปฏิบัติ พูดมากแต่ไม่ปฏิบัติก็ไร้ประโยชน์ “หากว่า นรชนกล่าวพระพุทธพจน์อันมีประโยชน์เกื้อกูลแม้มาก แต่เป็นผู้ประมาทแล้วไม่ทำตาม พระพุทธพจน์นั้นไซร้, เขาย่อมไม่เป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล เหมือนคนเลี้ยงโคนับโคทั้งหลายของชนเหล่าอื่น ย่อมเป็นผู้ไม่มีส่วนแห่งปัญจโครสฉะนั้น, หากว่า นรชนกล่าวพระพุทธพจน์อันมีประโยชน์เกื้อกูล แม้น้อย แต่เป็นผู้มีปกติประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมไซร้, เขาละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว รู้ชอบ มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว หมดความยึดถือในโลกนี้หรือในโลกหน้า, เขาย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล”…เรื่องภิกษุ 2 สหาย และในเรื่องสุดท้าย พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “ผู้มีปกติประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมไซร้ เขาละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว รู้ชอบ มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว หมดความยึดถือในโลกนี้หรือในโลกหน้า เขาย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล” ปรารภเรื่องของพระธรรมทินนาเถรี[...]
- 5 นิทานพรรณนา6 เรื่องราว ที่น่าสนใจที่เมื่อกำลังจะตาย ได้มีนิมิตแห่งความไม่ดี หรือคนที่เคยทำไม่ดีเคยทำผิดพลาด คนรอบข้างคิดว่าจะตายไปไม่ดี แต่เนื่องจากทุกท่านมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งทำให้ไปดีได้ ซึ่งข้อคิดจากเรื่องราวเหล่านี้ เป็นเครื่องเตือนสติว่า "ความตายไม่ยกเว้นแก่ใคร ไม่เลือกเพศ ไม่เลือกวัย ดังนั้นเราควรดำรงตนอยู่ในความไม่ประมาท ให้เรามีที่พึ่ง มีสรณะเป็นของตัวเราเอง เมื่อความตายมาเยือน เราจะยังเป็นผู้ที่ผาสุกอยู่ได้" ธรรมบทแปลเรื่อง นางสุมนาเทวี (ภาคที่ 1 เรื่องที่ 13) | บุตรสาวคนสุดท้องของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ก่อนตายได้เรียกบิดาว่าพี่ เนื่องจากนางได้บรรลุพระสกทาคามี ซึ่งสูงกว่าบิดาผู้บรรลุพระโสดาบัน ธรรมบทแปลเรื่อง นันทโคปาลกะ (ภาคที่ 2 เรื่องที่ 31) | คนเลี้ยงโคชื่อ นันทะ แม้ว่าเขาจะเป็นแค่คนเลี้ยงโคแต่ก็มีทรัพย์มาก ได้ถวายภัตตาหารเป็นเวลา 7 วัน และในวันที่ 7 ได้ฟังธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าจนบรรลุโสดาปัตติผล นายนันทะได้ถือบาตรตามส่งเสด็จพระองค์แล้ว ขากลับได้ถูกคู่อริฆ่าตาย ธรรมบทแปลเรื่อง นางวิสาขาอุบาสิกา (ภาคที่ 6 เรื่องที่ 167) | เป็นเรื่องของนางสุทัตตีหลานสาวของนางวิสาขาได้เสียชีวิตลง นางวิสาขาเศร้าเสียใจเป็นอันมากที่สูญเสียหลานสาวอันเป็นที่รัก [...]
- 5 นิทานพรรณนานำเสนอเรื่องราวของเปรต 5 ตน ที่แต่ละตน ๆ มีลักษณะที่แตกต่างกันไป ตามที่พระมหาโมคคัลลานะเถระได้พบเห็นในระหว่างลงจากเขาคิชฌกูฏ จึงได้ไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงรับรองและตรัสปรารภถึงบุพกรรมต่าง ๆ ที่ได้กระทำไว้ ดังนี้ "…ธรรมดาคนพาลทำกรรมอันลามกอยู่ ย่อมไม่รู้ แต่ภายหลัง เร่าร้อนอยู่เพราะกรรมอันตนทำแล้ว ย่อมเป็นเช่นกับไฟไหม้ป่า ด้วยตนของตนเอง"…พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนภิกษุทั้งหลาย มาในธรรมบทแปลเรื่องอชครเปรต เรื่องของเปรตตนแรกที่ชื่อ อชครเปรต | มีรูปร่างเหมือนกับงูเหลือม ถูกไฟเผาอยู่ตลอดเวลา เสวยผลกรรมจากการเป็นคนพาลมีจิตโกรธแค้น การผูกพยาบาทอาฆาตมาดร้ายในบุคคลที่ไม่มีจิตคิดร้ายต่อตัวเอง เนื่องจากโจรนี้ที่มีความแค้นเคืองต่อสุมงคลเศรษฐี ที่เป็นคนใจบุญ ชอบใจในการบริจาค จนไปกระทำกรรมหนักเผากุฏิพระพุทธเจ้าที่สุมงคลเศรษฐีได้สร้างถวาย "…ชื่อว่าบาปกรรมนั้น เป็นเช่นกับน้ำนม, น้ำนมอันบุคคลกำลังรีดแล ย่อมไม่แปรไปฉันใด กรรมอันบุคคลกำลังกระทำเทียวก็ยังไม่ทันให้ผลฉันนั้น แต่ในกาลใด กรรมให้ผล, ในกาลนั้น ผู้กระทำย่อมประกอบด้วยทุกข์เห็นปานนั้น"…พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบผลกรรมไว้ มาในธรรมบทแปลเรื่องอหิเปรต เปรตตนที่ 2 ชื่อ อหิเปรต | มีศีรษะเป็นมนุษย์ ร่างที่เหลือเป็นงู และถูกไฟเผาอยู่ตลอดเวลา เสวยผลกรรมจากการเผากุฎิของพระปัจเจกพุทธเจ้า เนื่องจากชาวนานั้นด้วยความที่มีสติปัญญาน้อย เมื่อได้รับความเดือดร้อนจากการที่มหาชนเหยียบย่ำข้าวกล้าที่ตนปลูกไว้ เขาจึงหาทางป้องกัน จึงคิดได้อย่างนั้น ในที่สุดก็ต้องถูกทุบตีจนตาย และเปรตตนที่[...]
- 5 นิทานพรรณนาความเดิมจากตอนที่แล้ว หลังจากพระนางมาคันทิยาได้กลั่นแกล้งใส่ความพระนางสามาวดีพร้อมหญิงบริวารในหลายครั้ง แต่พระนางก็พ้นภัยเหล่านั้นมาด้วยอำนาจของเมตตา และยังพระเจ้าอุเทนให้มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ยิ่งทำให้พระนางมาคันทิยาเพิ่มความโกรธแค้นมากขึ้นเป็นทวีคูณ มาถึงเรื่องราวในตอนจบนี้ เมื่อทำการสิ่งใดก็ไม่เป็นผลสำเร็จ พระนางมาคันทิยาจึงคิดหาอุบายสุดท้ายวางแผนก่อเพลิงเผาตำหนักของพระนางสามาวดี โดยที่พระนางสามาวดีพร้อมหญิงบริวารทั้ง 500 ถูกขังอยู่ภายใน แล้วเผาทั้งเป็น แม้จะเห็นเปลวเพลิงกำลังลุกลามเข้ามาใกล้พระนางสามาวดีก็มิได้ทรงหวั่นไหว กลับรับสั่งให้เหล่าหญิงบริวารตั้งจิตเจริญเมตตา มีสติ ไม่ประมาท มีจิตตั้งมั่นในเวทนาปริคคหกัมมัฏฐาน (กำหนดเวทนาเป็นอารมณ์) อย่างมั่นคง และท้ายที่สุดแม้ทั้งหมดจะจบชีวิตลงในกองไฟก็ไม่สูญเปล่า เพราะต่างก็บรรลุธรรมไปตามลำดับขั้นของตน ๆ บังเกิดแล้วในสุคติโลกสวรรค์ด้วยกันทั้งหมด เหตุแห่งการตายนี้สืบเนื่องจากกรรมเก่าเมื่อครั้งอดีตชาติที่พระนางและเหล่าหญิงบริวารทั้ง 500 ได้พากันสุมไฟขึ้นเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ครั้นพอไฟมอดลงจึงทราบว่าพวกนางได้เผาพระปัจเจกพุทธะองค์หนึ่งซึ่งกำลังเข้าสมาธิอยู่ในพงหญ้าไปด้วย เพราะความหวาดกลัวในความผิดนั้น พวกนางจึงช่วยกันสุมไฟอีกครั้งให้แรงยิ่งขึ้นเพื่อจะได้ทำลายหลักฐานก่อนจะพากันกลับเข้าเมือง ผลกรรมในครั้งนั้นทำให้พระนางสามาวดีและเหล่าหญิงบริวารทั้ง 500 ต้องถูกไฟนรกเผาไหม้อยู่หลายพันปีและเมื่อพ้นจากนรกก็ยังต้องถูกเผาทั้งเป็นอีก 100 ชาติ และในชาติปัจจุบันก็ได้ถูกเผาทั้งเป็นด้วยน้ำมือของพระนางมาคันทิยานี่เอง พระเจ้าอุเทนเมื่อทราบข่าว ทรงเกิดความสลดพระทัยเป็นอย่างยิ่งที่พระนางสามาวดีประสบชะตากรรมเช่นนี้ และทรงทราบความที่พระนางมาคันทิยาเป็นผู้กระทำกรรมหนักถึงเพียงนี้ จึงวางอุบายจับและลงโทษพระนางมาคันทิยากับพวก ให้ได้รับผลแห่งกรรมในอัตภาพที่เหมาะสมเช่นกัน และด้วยเหตุเหล่านี้ พระพุทธเจ้าจึงได้ยกย่องพระนางสามาวดีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่ายผู้อยู่ด้วยเมตตา บทสรุปของซีรีย์ทั้ง 5 ตอน เรื่องของพระนางสามาวดี จะเห็นถึงเรื่องของกรรมและผลของกรรมไม่ว่าจะเป็นกรรมในอดีตชาติหรือกรรมในปัจจุบันย่อมให้ผล และเมื่อฟังเรื่องราวเหล่านี้ให้เรามีปัญญาที่พิจารณาใคร่ครวญเจาะจงมาตรงพระคาถา (พุทธพจน์) ที่ยกขึ้นอธิบายในแต่ละจุด ๆ ของเรื่องที่รับฟัง[...]
- 5 นิทานพรรณนาจากความเดิมที่นางขุชชุตตราผู้เป็นหญิงรับใช้ของพระนางสมาวดี ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า บรรลุโสดาปัตติผล และได้กลับมาแสดงธรรมให้แก่พระนางสามาวดีและเหล่าหญิงบริวารได้ฟัง จนเกิดความศรัทธาเลื่อมใส ตั้งตนอยู่ในศีลและมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง จึงนำเรื่องราวความเป็นมาของนางขุชชุตตรามาให้ได้ฟัง เมื่อพระนางมาคันทิยาได้ทราบถึงการที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมายังกรุงโกสัมพี และพระนางสามาวดีมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธเจ้า ก็เกิดความไม่พอใจ เพราะด้วยมีความอาฆาตแค้นในพระพุทธองค์มาก่อน จึงคิดหาอุบายกำจัดพระนางสามาวดีโดยใส่ความกลั่นแกล้งในหลายวาระ แต่พระนางก็พ้นภัยเหล่านั้นมาด้วยอานุภาพแห่งเมตตา และยังทำให้พระเจ้าอุเทนตั้งตนเป็นอุบาสก มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง และท้ายที่สุดของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไรติดตามรับฟังได้ในสัปดาห์หน้า แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: นิทานพรรณนา Ep.35 , Ep.34 , Ep.33 , ขุดเพชรในพระไตรปิฎก Ep.29
- 5 นิทานพรรณนาหลังจากได้ฟังเรื่องราวของผู้ที่เกี่ยวข้องกับพระนางสามาวดีกันไปบ้างแล้ว ในครั้งนี้ก็จะให้ได้ทราบถึงเรื่องราวความเป็นมาของพระนางสามาวดีเอง ซึ่งมีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร เหตุใดโฆสกเศรษฐีจึงได้รับนางมาเป็นบุตรบุญธรรม มาเป็นอัครมเหสีแห่งพระเจ้าอุเทนได้อย่างไร รวมถึงในเรื่องราวของพระนางมาคันทิยาก็เช่นเดียวกัน และเพราะเหตุใดที่เป็นจุดเริ่มของความเกลียดชังที่พระนางมาคันทิยามีต่อพระนางสามาวดี "พระนางสามาวดี" พระนางเป็นบุตรสาวของภัททวติยเศรษฐี ในเมืองภัททวดี เมื่อครั้งมีโรคอหิวาต์ระบาดอย่างหนัก ทำให้พระนางและครอบครัวตัดสินใจเดินทางมาเพื่อขอพักพิงกับโฆสกเศรษฐีแห่งเมืองโกสัมพีผู้เป็นสหาย แต่ในระหว่างทางนั้น บิดาและมารดาได้เสียชีวิตทิ้งบุตรสาวให้กลายเป็นกำพร้า ภายหลังเมื่อโฆสกเศรษฐีทราบเรื่องที่เกิดขึ้น ด้วยความสงสารและเอ็นดู จึงขอรับนางสามาวดีมาเป็นบุตรบุญธรรม พร้อมทั้งมอบหญิงบริวารให้อีก 500 คน เมื่อพระเจ้าอุเทนได้พบนางสมาวดีในงานเทศกาลรื่นเริงของเมืองโกสัมพี ความงามของนางทำให้พระองค์ถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับด้วยความเสน่หา เพียงรุ่งเช้าจึงมีพระราชสาสน์ไปสู่ขอนางกับโฆสกเศรษฐี ซึ่งนางก็มิได้ขัดข้อง ด้วยถือเป็นการแทนคุณบิดาบุญธรรม ด้วยเหตุนี้พระเจ้าอุเทนจึงแต่งตั้งให้นางเป็นพระนางสามาวดี เป็นอัครมเหสีองค์แรกแห่งนครโกสัมพี ส่วน "พระนางมาคันทิยา" พระนางเป็นบุตรสาวของมาคันทิยพราหมณ์ เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดพราหมณ์และพราหมณี เพราะเล็งเห็นถึงอุปนิสัยที่สามารถจะบรรลุอนาคามิผลได้ เมื่อพราหมณ์ทั้งสองเห็นพระพุทธเจ้า คิดว่าบุรุษนี้คู่ควรกับบุตรสาวของตน จึงจะยกนางให้ แต่พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธ และได้ตรัสว่า “เรามิได้มีความพอใจในเมถุน เพราะเห็นนางตัณหา นางอรดี และนางราคา, ไฉนเล่า? จักมีความพอใจเพราะเห็นธิดาของท่านนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยมูตรและกรีส, เราไม่ปรารถนาจะถูกต้องธิดาของท่านนี้ แม้ด้วยเท้า.” ทำให้นางมาคันทิยารู้สึกโกรธแค้นผูกอาฆาตจองเวรต่อพระพุทธเจ้าตั้งแต่นั้นมา เมื่อพราหมณ์และพราหมณีออกบวช จึงฝากบุตรสาวไว้กับจูฬมาคันทิยะ ผู้เป็นน้องชาย และนางมาคันทิยาก็ได้ถูกนำตัวไปถวายให้แก่พระเจ้าอุเทน ได้รับตำแหน่งเป็นอัครมเหสีองค์ที่ 3 ณ เมืองโกสัมพี[...]
- 5 นิทานพรรณนาในตอนที่ 2 ของซีรีย์ "เรื่องของพระนางสามาวดี " นี้ ได้นำเรื่องราวความเป็นมาของ พระเจ้าอุเทน ผู้เป็นพระสวามี พร้อมทั้งเรื่องของอัครมเหสีองค์ที่ 2 คือ พระนางวาสุลทัตตา พระราชธิดาของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ซึ่งเป็น 1 ใน 3 อัครมเหสีของพระเจ้าอุเทนมานำเสนอเพิ่มเติมขึ้นมาด้วย เจ้าชายอุเทน เป็นโอรสของพระเจ้าปลันตาปะแห่งกรุงโกสัมพี เมื่อยังอยู่ในพระครรภ์ นกหัสดีลิงค์ได้โฉบเอาพระราชมารดาไปด้วยคิดว่าเป็นชิ้นเนื้อนำไปยังป่าหิมวันต์ แล้วปล่อยเหยื่อไว้ที่ระหว่างค่าคบไม้ ณ ต้นไทรใหญ่ หลังจากพระมารดาไล่นกไปแล้ว และได้มีพระประสูติกาลเมื่อยามรุ่งอรุณ จึงตั้งพระนามกุมารนั้นว่า "อุเทน" แปลว่า รุ่งอรุณที่ปราศจากเมฆหมอก ต่อมา อัลลกัปปดาบส (ผู้ได้รับพิณและเรียนมนต์หัสดีกันต์จาก เวฏฐทีปกดาบส ผู้เป็นสหายที่ทำกาละแล้วเกิดเป็นเทพเทวดา ระลึกถึงสหายที่ได้รับความลำบากจากช้าง) ได้ช่วยเหลือสองแม่ลูกไว้ และได้มอบพิณพร้อมกับสอนมนต์หัสดีกันต์ให้แก่เจ้าชายอุเทน จนสามารถดีดพิณไปสาธยายมนต์ไป ทำให้ช้างหนีไปก็ได้จะจับเอาก็ได้ เมื่อทราบว่าพระราชบิดาสวรรคตแล้ว เจ้าชายอุเทน จึงได้ใช้วิชามนต์บังคับช้างนี้ สั่งให้ช้างทั้งป่ามาเป็นกองทัพบุกยึดกรุงโกสัมพี ได้แสดงผ้ากัมพลแดงและพระธำมรงค์แสดงความเป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยสืบเชื้อสาย และได้รับอภิเษกขึ้นครองราชย์สมบัติตั้งแต่นั้นสืบต่อมา พระเจ้าจัณฑปัชโชต แห่งเมืองอุชเชนี มีความต้องการจะจับตัวพระเจ้าอุเทน แต่เมื่อทราบความว่า พระเจ้าอุเทนนั้นมีมนต์หัสดีกันต์ สามารถบังคับช้้างได้ จึงได้วางอุบายจับตัวมาเพื่อจะเรียนมนต์นั้นเสียเอง[...]
- 5 นิทานพรรณนา“ผู้ประทุษร้ายในท่านผู้ไม่ประทุษร้าย หาอาชญามิได้ ด้วยอาชญา ย่อมพลันถึงฐานะ 10 อย่างใดอย่างหนึ่งทีเดียว คือ พึงถึงเวทนาอันหยาบ, ความเสื่อม, ความแตกแห่งสรีระ, ความเจ็บไข้อย่างหนัก, ความฟุ้งซ่านแห่งจิต, ความขัดข้องแต่พระราชา, ความกล่าวตู่อย่างทารุณ, ความเสื่อมรอบแห่งหมู่ญาติ, ความย่อยยับแห่งโภคะ, อีกประการหนึ่ง ไฟป่าย่อมไหม้เรือนของผู้นั้น, เพราะความแตกแห่งกาย เขาผู้มีปัญญาทราม ย่อมเข้าถึงนรก.”…เรื่องพระนางสามาวดี (ทำร้ายผู้ไม่ทำร้ายตอบย่อมถึงฐานะ 10) สืบเนื่องจากจะได้นำเรื่อง “พระนางสามาวดี” มาให้ได้ฟัง เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจมาก แต่ด้วยความที่มีเนื้อหาค่อนข้างยาว ยังต่อไปอีกในหลายตอน จึงได้นำเรื่องของ “โฆสกเศรษฐี” ผู้เป็นบิดาของพระนางสามาวดี ยกขึ้นมาให้ได้ฟังก่อนเป็นตอนแรก ซึ่งเป็นเรื่องราวของชะตาชีวิตที่ผลิกผันเพราะกรรมที่ตนได้สร้างไว้ในอดีตชาติ ตั้งแต่เกิดเป็น โกตุหลิกะผู้ทิ้งลูก, ด้วยมีจิตอกุศลก่อนตายได้อิจฉาความเป็นอยู่ของสุนัข จึงไปเกิดเป็นสุนัข, จากสุนัขได้ไปเกิดเป็นโฆสกเทพบุตร, เสวยสมบัติอยู่ในเทวโลกไม่นาน ด้วยมัวเพลิดเพลินบริโภคกามคุณ หมดบุญจึงได้จุติไปเกิดเป็นบุตรหญิงงามเมืองในกรุงโกสัมพี, ถูกรับเลี้ยงโดยเศรษฐีผู้คอยที่จะฆ่าทำร้ายตน, ได้แต่งงานกับธิดาเศรษฐีที่เมื่อครั้งอดีชาติคือนางกาลีผู้เป็นภรรยาของนายโกตุหลิกะ จนกระทั่งไปถึงเหตุการณ์ได้รับตำแหน่งเศรษฐี และเมื่อได้ทราบความที่ตนถูกทิ้งถูกฆ่าถึง 7 ครั้ง เพราะผลของกรรมเก่าที่เคยกระทำไว้ จึงเกิดความสังเวช ไม่ประมาท ได้ตั้งโรงทานขึ้นเพื่อคนกำพร้าและเพื่อคนเดินทางไกล จึงเป็นเหตุให้ได้รับพระนางสามาวดีมาเป็นบุตรบุญธรรมของตน และในตอนหน้าจะได้ยกเอาเรื่อง "ความเป็นมาของพระนางสามาวดี"[...]
- 5 นิทานพรรณนาเพื่อนที่ดีเปรียบดั่งกัลยาณมิตร ที่จะคอยชักนำเราให้ไปสู่ความเจริญ ซึ่งในการปฏิบัติธรรมเราก็จำเป็นที่จะต้องมีกัลยาณมิตร ที่คอยเตือน แนะนำแนวทางที่ถูกต้องในการปฏิบัติ เพื่อให้เราบรรลุซึ่งเป้าหมายที่วางไว้คือพระนิพพาน ดังเช่นเรื่องของสิริคุตต์และครหทินน์ ซึ่งเป็นเพื่อนกันแต่เลื่อมใสในศาสนาที่ต่างกัน สิริคุตต์เป็นอุบาสกเลื่อมใสในพระศาสนา ส่วนครหทินน์เป็นสาวกของนิครนถ์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) ภายหลังสิริคุตต์ ได้ชักนำให้ครหทินน์ ได้พบพระศาสดา หลังจากได้ฟังเทศนาจากพระศาสดา ทั้ง 2 คนจึงได้บรรลุโสดาปัตติผล เรื่องที่ 2 เป็นเรื่องของนางยักษิณี ชื่อ กาลี ผู้บรรลุโสดาปัตติผลได้ด้วยการเลิกจองเวร ที่เมืองสาวัตถีมีครอบครัวหนึ่ง ภรรยาหลวงเป็นหมันไม่สามารถมีลูกได้จึงหาภรรยาน้อยให้สามี แต่ก็กลัวว่าเมื่อภรรยาน้อยมีลูกกับสามี แล้วนางจะตกต่ำไปเป็นคนรับใช้ จึงทำให้ภรรยาน้อยแท้งลูก ถึง 2 ครั้ง ภายหลังภรรยาน้อยทราบสาเหตุการแท้ง และตายเนื่องจากการคลอดลูก ส่วนภรรยาหลวงตายลงเนื่องจากถูกสามีทำโทษจากการทำให้ภรรยาน้อยแท้งลูก ซึ่งนี่เป็นต้นเหตุให้นางทั้ง 2 ผูกเวรกรรมข้ามพบข้ามชาติ ภายหลังภรรยาน้อยมาเกิดเป็นนางยักษิณี ตามไปกินลูกของภรรยาหลวงซึ่งมาเกิดเป็นหญิงชาวบ้าน สุดท้ายได้พบกับพระศาสดาและได้ฟังเทศนา นางยักษ์จึงได้บรรลุโสดาปัตติผล
- 5 นิทานพรรณนาตัณหาเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง ต้องคอยรักษาจิตด้วยองค์แห่งมรรค อีกทั้ง พึงตักเตือนตนด้วยตน เป็นสิ่งที่เราควรต้องทำอยู่เป็นประจำ พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า “ท่านทั้งหลายจงมีความเพียร มีความสลดใจ เหมือนม้าดีถูกเขาตีด้วยแส้แล้ว มีความบากบั่น ฉะนั้น. ท่านทั้งหลายเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล วิริยะ สมาธิ และด้วยคุณเครื่องวินิจฉัยธรรม มีวิชชาและจรณะถึงพร้อม มีสติมั่นคง จักละทุกข์อันมีประมาณไม่น้อยนี้ได้” ตัวอย่างที่มาในนิทานพรรณนานี้ ได้ยกเอาเรื่องของผู้ที่มีความเพียร คอยตักเตือนตนด้วยตน เพื่อละซึ่งตัณหาขึ้นมา 3 คน ได้แก่ เรื่องของมาคันทิยะพราหมณ์, พระปิโลติกเถระ และพระนังคลกูฏเถระ ซึ่งในเรื่องของภิกษุทั้ง 2 รูป มีความเหมือนกันตรงที่หลังจากบวชแล้ว ก็มีความต้องการที่อาจจะสึกเป็นอย่างมาก แต่ด้วยมีความเพียรที่จะปรับปรุงพัฒนาจิตใจด้วยการตักเตือนตนด้วยตน จึงได้บรรลุพระอรหัตผลในที่สุด ในตอนท้ายยังได้ยกตัวอย่างในคู่ตรงข้าม ให้เห็นถึงโทษของการเตือนตนด้วยตนไม่ได้ อย่างในเรื่องของ นายจุนทสูกริก (คนฆ่าหมู) ที่ได้รับความทุขเวทนาแม้ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ และหลังตายก็ได้ไปเกิดในอเวจีมหานรก รับผลกรรมตามก่อไว้
- 5 นิทานพรรณนาสืบเนื่องมาจากในรายการ ช่วงใต้ร่มโพธิบท Ep.53 ที่ได้กล่าวในเรื่องเกี่ยวกับทาน จึงได้ยกนิทานธรรมบท 2 เรื่องและนิทานชาดกที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน มาเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า ความตระหนี่เป็นเครื่องกางกั้นไม่ให้บรรลุธรรม ธรรมบทแปลเรื่อง "โกสิยเศรษฐี" โกสิยะเศรษฐี อยากกินขนมเบื้องแต่กลัวต้องเสียทรัพย์เพราะมีคนอื่นจะมาขอกินด้วย จึงแอบไปทอดขนมบนยอดปราสาท 7 ชั้น พระพุทธเจ้าทรงให้พระโมคคัลลานะไปทรมานเศรษฐีเพื่อให้มีดวงตาเห็นธรรม สุดท้ายเศรษฐีและภรรยา ก็ละซึ่งความตระหนี่เสียได้ และบรรลุโสดาปัตติผล นิทานชาดกเรื่อง "อิลลีสชาดก" ว่าคนมีรูปร่างเหมือนกัน อิลลีสเศรษฐี ทำบาปด้วยการเผาโรงทาน ขับไล่พวกยาจก เอาแต่สั่งสมทรัพย์ ไม่ทำบุญให้ทาน แต่บิดาของเศรษฐีนั้นได้เกิดเป็นท้าวสักกะในเทวโลก เพราะทำบุญให้ทานเป็นอันมาก ท้าวสักกะต้องการจะสั่งสอนอิลลีสะให้รู้ผลแห่งกรรม จึงเนรมิตกายเป็นอิลลีสะอีกคนหนึ่งนำทรัพย์สมบัติออกแจกจ่ายเป็นทานให้กับชาวบ้านเป็นอันมาก หลังจากอิลลีสเศรษฐีได้ฟังคำสั่งสอนของท้าวสักกะ จึงละซึ่งความตระหนี่ได้ เและป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในภายหน้า และสุดท้ายเป็นธรรมบทแปลเรื่อง "เศรษฐีชื่อพิฬาลปทกะ"หรือ เศรษฐีตีนแมว พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมแก่พิฬาลปทกะเศรษฐี ในเรื่องของทาน (ให้ทานเองและชักชวนคนอื่นด้วย) ตรัสไว้ว่า "บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่า ‘บุญมีประมาณน้อยจักไม่มาถึง’ แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมา ทีละหยาดๆ ได้ฉันใด, ธีรชน ผู้มีปัญญา สั่งสมบุญแม้ทีละน้อย ๆ ย่อมเต็มด้วยบุญได้ฉันนั้น" และเมื่อฟังธรรมจบเศรษฐีได้บรรลุโสดาปัตติผล แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่[...]
- 5 นิทานพรรณนา"อาสวะทั้งหลายของบุคคลใด สิ้นแล้ว, บุคคลใดไม่ถูกตัณหา ทิฎฐิ นิสัย ในอาหารแอบอิงแล้ว, และสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ เป็นโคจรของบุคคลใด, ร่องรอยของบุคคลนั้น ๆ รู้ได้ยาก เหมือนรอยของนกทั้งหลายในอากาศฉะนั้น."… ธรรมบทแปลเรื่อง พระอนุรุทธเถระ "บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นเถระ เพียงเพราะมีผมหงอกบนศีรษะ ผู้แก่ง่อมตามวัยนั้น เราเรียกว่า ‘คนแก่เปล่า’ ส่วนผู้ใดมีสัจจะ อหิงสา ธรรมะ สัญญมะ และทมะ, ผู้นั้นแลคายมลทินได้ ผู้มีปัญญา, เรากล่าวว่า ‘เถระ’ "… ธรรมบทแปลเรื่อง พระลกุณฏกภัททิยเถระ "…เพราะอย่างนี้แล เราจึงกล่าวข้อปฏิบัติอันเปรียบด้วยพระจันทร์และข้อปฏิบัติแห่งวงศ์ของพระอริยะ อ้างเอากัสสปบุตรของเรา เป็นต้น. ชื่อว่าความข้องในปัจจัยก็ดี ตระกูลก็ดี วิหารก็ดี บริเวณก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุตรของเรา. บุตรของเราไม่ข้องในอะไร ๆ เลย เหมือนพระยาหงส์ ร่อนลงในเปือกตม เที่ยวไปในเปือกตมนั้นแล้ว ก็บินไป ฉะนั้น"… ธรรมบทแปลเรื่อง พระมหากัสสปะเถระ เพื่อเป็นความรู้ประกอบการศึกษาในช่วงขุดเพชรจากพระไตรปิฎกที่กำลังไล่เรียงเนื้อหากันไปตามละข้อ ๆ ในอังคุตตรนิกาย หมวดเอตทัคควรรค[...]
- 5 นิทานพรรณนา“เธออย่าได้กล่าวคำหยาบกับใคร ๆ, ชนเหล่าอื่นถูกเธอว่าแล้ว จะพึงว่าตอบเธอ, เพราะว่าถ้อยคำแข่งดีเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ การทำร้ายตอบพึงถูกต้องเธอ, ถ้าเธอไม่ยังตนให้หวั่นไหวดุจกังสดาลถูกตัดขอบปากแล้ว เธอนี้จะเป็นผู้ถึงพระนิพพาน, ความแข่งดีย่อมไม่มีแก่เธอ”…พระคาถาจากนิทานธรรมบทเรื่อง พระโกณฑธานเถระ (ผู้มีรูปสตรีติดตามไปทุกแห่ง) “ผู้ใดรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายโดยประการทั้งปวง เราเรียกผู้นั้น ซึ่งไม่ติดข้อง เป็นผู้ไปดี เป็นผู้รู้แล้วว่าเป็นพราหมณ์ เทวดา คนธรรพ์ และหมู่มนุษย์ไม่รู้คติของผู้ใด เราเรียกผู้นั้น ซึ่งมีอาสวะสิ้นแล้ว ผู้ไกลกิเลสว่า เป็นพราหมณ์”…พระคาถาจากนิทานธรรมบทเรื่อง พระวังคีสะเถระ (ผู้บวชเพื่อเรียนพุทธมนต์) เพิ่มเติมส่วนความรู้ประกอบในเรื่องของ การออกบวชของพระนันทะและพระราหุล ที่มาในนิทานธรรมบทเรื่อง พระนันทเถระ (ผู้มีอัตภาพเป็นเช่นเรือนที่เขามุงดีแล้ว) จากนิทานธรรมบททั้ง 3 เรื่องนี้ ได้ยกประวัติความเป็นมา บุพกรรมในอดีต และการบรรลุธรรมของภิกษุ 3 รูปที่ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศในคุณนั้น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้จะนำไปเป็นความรู้ประกอบการศึกษาในช่วงขุดเพชรจากพระไตรปิฎกที่กำลังไล่เรียงเนื้อหาไปตามข้อ ในอังคุตตรนิกาย เอตทัคควรรค ประเด็นในที่นี้คือ เรื่องราวนิทานธรรมบทแบบนี้ เป็นเรื่องราวประกอบ เมื่อฟังแล้วให้นำมาเปรียบเทียบส่วนเหมือนส่วนต่าง ทำความเข้าใจ นำมาเชื่อมโยงประกอบกันเข้าตรงจุดนั้นจุดนี้ ความรู้ของเราจะมีความกว้างขวางออกไป ความเข้าใจก็จะมีมากขึ้นลึกซึ้งลงไป สามารถที่จะเข้าใจถึงบริบทหรือในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้มากขึ้น
- 5 นิทานพรรณนาเป็นเรื่องราวของสามเณรที่มีความสามารถ 2 รูป ถึงแม้จะมีอายุเพียง 7 ปี ก็สามารถบรรลุพระอรหันต์ได้ด้วยความที่เป็นผู้สอนง่าย มีความเพียรในการฝึกฝนตนอย่างยิ่งยวด และบุพกรรมในชาติก่อน ๆ นั้นได้มีการบำเพ็ญบุญบารมีมาเป็นอย่างมาก ส่งผลให้มีปาฏิหาริย์เกิดขึ้น สุขสามเณร เป็นผู้สอนง่าย ในวันที่เห็นคนไขน้ำเข้าเหมือง ช่างศรดัดศรให้ตรง ได้พากเพียรฝึกตนจนบรรลุพระอรหัต และด้วยเดชแห่งบุญในเวลาทำสมณธรรมย่อมมีเทพเทวดามาอารักขาอยู่ สุมนสามเณร เป็นผู้ที่มีฤทธิ์มาก ปราบพญานาคเพื่อนำน้ำในสระอโนดาตมารักษาพระอุปัชฌาย์ และเมื่อตอนบวชเพียงเวลาโกนผมเสร็จก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ทันที "บุคคลแม้เป็นเด็ก เมื่อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบด้วยความเพียรแล้ว ย่อมถึงซึ่งอรหัตผลได้เหมือนกัน"
- 5 นิทานพรรณนา"คนตระหนี่จะไปสู่เทวโลกไม่ได้เลย คนพาลแลย่อมไม่สรรเสริญทาน ส่วนนักปราชญ์อนุโมทนาทาน ด้วยเหตุนั้นนักปราชญ์จึงเป็นผู้มีสุขในโลกหน้า" นิทานพรรณนาที่ยกมาในคราวนี้ 2 เรื่อง เป็นเรื่องของทาน โดยเรื่องแรกเป็นเรื่อง “อสทิสทาน” เป็นทานชนิดที่ไม่มีใครเหมือนไม่มีใครเปรียบได้ อานิสงส์ของการทำทานทำให้เลิศด้วยลาภ ครั้งเมื่อในอดีตกาลพระนางมัลลิกาได้เป็นผู้จัดแจงอสทิสทานนี้ อันประกอบด้วย ทรัพย์ 14 โกฏิ ซึ่งพระราชาทรงบริจาคภายในวันเดียว พร้อมด้วยของ 4 อย่างคือ เศตรฉัตร บัลลังค์สำหรับนั่ง เชิงบาตร ตั่งสำหรับพระศาสดา ซึ่งเป็นของที่หาค่าไม่ได้ถวายทานแด่พระพุทธเจ้า อสทิสทานนี้จะมีได้แด่พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์เพียงครั้งเดียวเท่านั้น โดยสตรีเท่านั้นเป็นผู้จัดแจงทาน ส่วนเรื่องที่ 2 เป็นเรื่อง "พระสุธรรมเถระ"…จิตตคฤหบดี เป็นอุบาสกผู้มีศรัทธา เลื่อมใส มีศีลสมบูรณ์ ได้ถวายสวนเป็นสังฆาราม บรรลุอนาคามี และได้บำเพ็ญบุญกุศลอย่างมาก จึงมีลาภสักการะมากมายเกิดขึ้นแก่ท่าน ไม่ว่าจะไปในที่แห่งใด
- 5 นิทานพรรณนานิทานพรรณนาที่ยกมาในคราวนี้กล่าวถึงตอนที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่พระเชตวัน ได้ปรารภเรื่องสามเณรน้อย 4 รูป ประกอบด้วยสังกิจจสามเณร , บัณฑิตสามเณร , โสปากสามเณร และเรวตสามเณร ที่ทั้งหมดอายุเพียง 7 ขวบเท่านั้น แต่บรรลุเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ
- 5 นิทานพรรณนาพึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้ พึงชนะคนพูดเหลวไหล ด้วยคำจริง – จากนิทานธรรมบท “เรื่องนางอุตตรา” พระศาสดาจึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงดูมาตุคามซึ่งเป็นที่รักของมหาชน ในกาลก่อน ชนทั้งหลายในพระนครนี้แล ให้ทรัพย์พันหนึ่งแล้ว ได้ (อภิรมย์) วันหนึ่ง บัดนี้ แม้ผู้ที่จะรับเอาเปล่าๆ ก็ไม่มี, รูปเห็นปานนี้ ถึงความสิ้นและความเสื่อมแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงดูอัตภาพอันอาดูร” – จากนิทานธรรมบท “เรื่องนางสิริมา”
- 5 นิทานพรรณนาเรวตกุมารน้องชายของพระสารีบุตรผู้มีอายุ 7 ขวบ ได้หนีจากการแต่งงานไปบวชเป็นสามเณร แต่เกรงว่าญาติจะมาตามตัวกลับไป จึงเรียนกัมมัฏฐานจนบรรลุพระอรหันต์ แล้วถือบาตรแลจีวร เที่ยวจาริกไปถึงป่าไม้สะแก… ที่อยู่ของพระเรวตเถระ เป็นป่ารกด้วยไม้สะแก บางพวกกล่าวว่า เป็นสถานที่รื่นรมย์ ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า พระอรหันต์ทั้งหลายอยู่ในที่ใด เป็นบ้านก็ตาม เป็นป่าก็ตาม ที่ลุ่มก็ตาม ที่ดอนก็ตาม, ที่นั้นเป็นภูมิสถานน่ารื่นรมย์ ในสุภูติสูตร ปรารภท่านพระสุภูติซึ่งเป็นน้องชายท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ซึ่งเต็มเปี่ยมไปด้วยศรัทธา
- 5 นิทานพรรณนาความเดิมจากตอนที่แล้ว คือ นายพรานยอมปล่อยพญาหงส์ ในตอนที่ 2 นี้ เป็นตอนที่สุมุขะหงส์ได้ให้นายพรานพาไปหาพระราชา ประโยชน์ทั้งปวงของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยกัลยาณมิตร ย่อมให้สำเร็จความสุขความเจริญเหมือนพญาหงส์ธตรฐและสุมุขหงส์ สมบูรณ์ด้วยกัลยาณมิตร เกิดประโยชน์ให้สำเร็จความสุขความเจริญ กลับมายังหมู่ญาติ ฉะนั้น
- 5 นิทานพรรณนาพระพุทธเจ้าทรงปรารภเรื่อง หงส์ชื่อสุมุขะไม่ละทิ้งพระยาหงส์ผู้ติดบ่วง เมื่อท่านพระอานนท์เอาตัวเข้าปกป้องพระพุทธเจ้าไม่ให้ถูกช้างนาฬาคีรี ความสุขทางตา ทางหูที่เราได้รับนั้น คือ กับดักของมาร ทำให้ใจเราชุ่มด้วยกาม การใช้ความดี ความจริงใจ สามารถปกป้องตัวเองให้พ้นภัยได้ เอาชนะเล่ห์เหลี่ยมต่างๆ ได้
- 5 นิทานพรรณนาท้าวสักกะฯ หรือว่า พระอินทร์ คือตำแหน่งของจอมเทพผู้ปกครองเหล่าเทวดาอาศัยอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ชื่อ มฆมาณพได้บำเพ็ญ วัตตบท 7 ประการ คือ 1. บำรุงมารดาบิดา, 2. ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้เจริญในตระกูล, 3. พูดคำสัตย์, 4. ไม่พูดคำหยาบ, 5. ไม่พูดส่อเสียด, 6. กำจัดความตระหนี่, 7. ไม่โกรธ การที่จะมาเป็นมหาเทพได้ก็ต้องอาศัยการให้ทาน บำเพ็ญบารมีมาอย่างมากมายและต้องมีความเมตตา ท้าวสักกะฯ เป็นตัวอย่างของความเป็นผู้ไม่ประมาทในการทำความดีและสร้างบุญบารมี ทั้งยังเป็นผู้ที่มีขันติ (ความอดทน) โสรัจจะ (ความสงบเสงี่ยม) เป็นเทวดาที่มีคุณธรรมสูงมาก
- 5 นิทานพรรณนาการทำความดีต้องอาศัย “เวลา” ที่ความดีนั้นจะปรากฎผลเหมือนกับต้นไม้ที่กว่าจะออกผลก็ต้องอาศัย “เวลา” เช่นกัน การทำความดี ถ้าเรามี “ความมั่นใจ” ในกฎแห่งกรรม ว่าความดีมีผล ความชั่วมีผล จัดเป็นสัมมาทิฐิเบื้องต้น โดยอาศัย “ศรัทธา” เป็นที่ตั้ง บุคคลทำกรรมสิ่งใด ย่อมได้รับผลจากกรรมนั้น แต่บางครั้งก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกรรม แต่เกิดจากปัจจัยแวดล้อม อย่างเรื่องของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ที่ประสบเคราะห์จากสภาพแวดล้อม เพราะฉะนั้นต้องมีความแยบคายในการแยกแยะ
- 5 นิทานพรรณนาการรู้จักเลือกคบคนที่ดี มีเมตตาก็เหมือนกับเราได้อาศัยอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงา ทำให้ชีวิตเราอยู่ร่มเย็นเป็นสุขได้ เหมือนในนิทานธรรมบท และ นิทานชาดก ที่ยกมาในคราวนี้
- 5 นิทานพรรณนานิทานธรรมบทที่ยกมาในเอพิโสดนี้ประกอบด้วย เรื่องการผูกเวรของหมีและไม้ตะคร้อ, ความพินาศเพราะทะเลาะกันของฝูงนกกระจาบ, การเบาะแว้งกันของภิกษุชาวโกสัมพี, นางนกไส้(นกต้อยตีวิด) กับช้างเกเร ทั้ง 4 เรื่องได้แจกแจงให้เห็นถึงความย่อยยับ เสียหาย หากเกิดการขัดแย้ง ทะเลาะต่อกัน เพราะนำมาซึ่งการผูกเวรต่อกันอย่างเรื่องของนางนกไส้ (นกต้อยตีวิด) การขัดแย้ง การทำความแตกร้าวกัน ย่อมนำมาซึ่งความเดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น ในเรื่องของนางนกไส้ กับ ช้างเกเร จะเห็นได้ว่าเมื่อสัตว์ตัวเล็ก ๆ 4 ตัว อย่างกา นางนกไส้ กบ และแมลงวันหัวเขียว มีความกลมเกลียวกันก็สามารถร่วมใจกันฆ่าช้างเกเรตัวใหญ่ได้
- 5 นิทานพรรณนาถ้าเรามีคำสอนที่ดีที่ทำให้เราเกรงกลัวต่อบาป (หิริโอตตัปปะ) ก็จะทำให้มีเกรงใจต่อกัน ไม่ด่ากัน เมื่อเรามีศรัทธา เชื่อมั่นในคำสอนเราก็จะเกิดหิริโอตตัปปะ บุคคลผู้ฆ่าความโกรธได้ย่อมอยู่เป็นสุข จัดเป็นผู้มีขันติอดทนอย่างยิ่ง คนเราสมัยนี้ต้องมีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจเพื่อให้จิตใจมั่นคงตั้งอยู่ได้ ไม่อย่างนั้นก็จะต้องทิ่มแทงกันด้วยหอกคือปาก ไม่มีใครเกรงกลัวอะไร อย่างนี้สังคมไม่ดีแน่ แต่ถ้าเรามีคำสอนที่สอนให้เรามีความเกรงกลัวต่อบาปแล้ว พอจะด่าเค้าก็เปลี่ยนเป็นไม่ด่า ตักเตือนกันด้วยถ้อยคำสุภาพ สังคมก็จะไปได้ดี รู้จักเกรงใจ จะเกรงใจกันได้ต้องมีหิริโอตตัปปะ การที่มีหิริโอตตัปปะก็ต้องมีศรัทธา ความเลื่อมใส ความลงใจ …อย่างพระพุทธเจ้าเวลามีคนมาด่ามาว่า ท่านรักษาจิตอย่างไร…โดยจะเริ่มจากเรื่องขันติคือความอดทน …เริ่มจากนิทานธรรมบทเรื่องของธนัญชานีพราหมณ์
- 5 นิทานพรรณนาพระราธะ ภิกษุผู้ว่าง่าย เป็นภิกษุรูปแรกที่บวชด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรม และเป็นอสีติมหาสาวก 1 ใน 80 รูป ที่มีความคุณธรรมที่เลิศในด้านความเป็นผู้มีปฏิภาณแจ่มแจ้ง ความเป็นมาของท่านพระราธะ ทำไมจึงเป็นผู้ว่าง่าย เกี่ยวข้องอย่างไรกับท่านพระสารีบุตร ที่มีความกตัญญูกตเวที และคุณธรรมในความเป็นเลิศในเรื่องปฏิภาณ พระราธะเป็นผู้ที่รับฟังคำตักเตือนด้วยความเคารพหนักแน่น บอกอย่างไรทำอย่างนั้น ไม่เกี่ยงงอน เป็นผู้ที่บอกง่ายสอนง่าย เป็นผู้ที่มีปฏิภาณ คือ ความสามารถในการที่โต้ตอบได้ทันทีทันควัน เป็นปัญญาที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีความคิดทันการ คือ มีปฏิสัมภิทา มีความแตกฉาน ถ้ามีภิกษุอย่างพระราธะมากๆ ศาสนาของเราเจริญแน่นอน พระอุปัชฌาย์ ครูบาอาจารย์ที่บวชให้ สามารถรับพระได้ไม่จำกัด และสามารถที่จะให้ศาสนาดำรงอยู่ ตั้งอยู่ได้ตลอดกาลนานทีเดียว
- 5 นิทานพรรณนานิทานธรรมบทแปลเรื่องของ พหุปุตติการเถรี ผู้มีลูกมากแบ่งเป็นชาย 7 คน หญิง 7 คน แต่ไม่มีลูกคนใดอุปถัมภ์ดูแล ภายหลังจึงบวชและได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ผู้ใดพึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี แต่ไม่เห็นธรรมอันยอดเยี่ยม ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้เห็นธรรมอันยอดเยี่ยมประเสริฐกว่า นิทานเรื่องที่ 2 เป็นเรื่องของพราหมณ์เฒ่าที่บุตรก็ไม่ดูแล แต่ได้รับการช่วยเหลือ ภายหลังพราหมณ์ท่านนี้ก็บรรลุเป็นโสดาบัน และลูกก็รับกลับไปอยู่ด้วย เรื่องที่ 3 เป็นเรื่องของภิกษุผู้ว่ายาก
- 5 นิทานพรรณนาบางคนบางครั้งบางทีไม่ได้จะเห็นทุกข์ ไม่ได้จะคิดถึงว่าต้องมาแก้ปัญหาอะไร เวลาอยู่บ้านมีความสุขดี ไม่ได้คิดจะมาวัด ไม่ได้คิดจะทำบุญให้ทาน ชั้นก็มีความสุขของชั้นดีพอวันหนึ่งมีความทุกข์มากเลย จะถูกแย่งเมียไปจึงค่อยคิดจะมาวัด ชายคนนั้น จะถูกพระเจ้าปเสนทิโกศลหาเรื่องใส่ให้จะถึงที่ตาย เพราะต้องการภรรยาของเขา แต่เรื่องพลิกเพราะบุญญาธิการของพระเจ้าปเสนทิโกศล ยังรักษาเอาไว้ด้วยความที่ท่านมีกัลยาณมิตร คือ พระนางมัลลิกา และพระพุทธเจ้าที่เทศน์เรื่องเสียงของสัตว์นรกประเภทหนึ่งที่อยู่ในโลหกุมภีนรกผู้กล่าวอักษร ‘ทุ. สะ. นะ. โส.’ ชายคนนี้จึงโชคดีพ้นจากความทุกข์ มีปัญญารักษาตัวได้ Time index [03.34] ธรรมบทแปล “บุรุษคนใดคนหนึ่ง” [05.28] อำนาจความรัก [15.55] เรื่องของเปรตผู้กล่าวอักษร ทุ. สะ. นะ. โส. [17.53] พราหมณ์โง่ให้พระราชาบูชายัญ [21.40] พระนางมัลลิกาทรงเปลื้องทุกข์ของสัตว์ [26.39] พระศาสดาทรงแสดงโทษปรทาริกกรรม [40.52] “ภิกษุทั้งหลาย สังสารวัฎนี้ที่สุดมีเบื้องต้นและเบื้องปลาย อันใคร ๆ ไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้นเบื้องปลาย ย่อมไม่ปรากฎแก่คนพาลทั้งหลาย ผู้ไม่สามารถทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ย่อมยาวแท้ทีเดียว” [42.48] พระนางมัลลิกาเคยช่วยทุกข์คนในชาติปางก่อน [56.13] “ถ้าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้อย่างนี้ว่า ‘ชาติสมบัตินี้เป็นทุกข์, สัตว์ไม่พึงฆ่าสัตว์เพราะว่าผู้ฆ่าสัตว์เป็นปกติย่อมเศร้าโศก.”
- 5 นิทานพรรณนาเรื่องราวที่ปรารภการฝึกจิตของบัณฑิตสามเณร “บัณฑิต” คือผู้ฉลาด ผู้ที่พยายามฝึกจิตฝึกใจของตนเอง เห็นว่าลูกศรไม่มีจิตไม่มีใจ ยังดัดได้ น้ำไม่มีจิตไม่มีใจ ยังสามารถลำเลียงไปที่สูงกว่าได้ ไม้ไม่มีจิตไม่มีใจ ยังสามารถทำให้มันโค้งให้มันงอได้ แล้วคนมีจิตมีใจ ทำไมจะฝึกไม่ได้ เมื่ออดีตชาติสามเณรบัณฑิตเคยเกิดเป็นมหาทุคตะคนเข็ญใจ แล้วได้ทำการบำรุงพระพุทธเจ้า เมื่อเสียชีวิตแล้วก็ได้มาเกิดเป็นเด็กชายบัณฑิต
- 5 นิทานพรรณนาบุคคลทำกรรมใดไว้ย่อมต้องได้รับผลของกรรมนั้นไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมไม่ดี อรรถกถาที่ยกมาครั้งนี้กล่าวถึงเรื่องของ “กรรม” โดยยกเรื่องของพระติสสเถระผู้มีกายเน่า และ นายสุมนมาลาการ นายช่างดอกไม้ที่ยอมถวายชีวิตเพื่อพระพุทธเจ้า ทั้งสองทำกรรมอย่างไรบ้าง ? ยกนิทานธรรมบท 2 เรื่องขึ้นมาเป็นเรื่องของ “กรรม” โดยเรื่องแรกเป็นเรื่องของพระติสสะเถระผู้มีกายเน่า ด้วยโรคแผลพุพองได้รับความทรมานเพราะกรรมที่เคยทำมา จนภิกษุอีก 2 รูปต้องเข้ามาช่วยดูแลแต่ก็ดูแลไม่ไหวจนพระพุทธเจ้าต้องลงมาดูแลพระติสสสะเถระด้วยพระองค์เองและทรงเทศน์ให้ฟังจนพระติสสะบรรลุธรรม … ส่วนเรื่องที่ 2 เป็นเรื่องของนายช่างดอกไม้ที่มีจิตใจดี เขาจึงตั้งชื่อว่า “สุมน” คือผู้มีจิตใจดี จิตใจงดงาม …นายช่างร้อยดอกไม้ของพระเจ้าพิมพิสารจะต้องนำดอกไม้มาถวายพระราชาทุกวัน แต่วันนั้นเห็นพระพุทธเจ้าและเกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าโดยไม่เกรงกลัวต่ออาญายอมสละชีิวิตตรงนั้น เพราะตั้งใจจะถวายดอกไม้เป็นพุทธบูชาแก่พระพุทธเจ้า ซึ่งการเอาชีวิตเข้าแลกเพื่อกระทำสิ่งนี้ให้ได้ (การยอมตายเพื่อความดีเพื่อรักษาศีล) บุญที่เกิดจากการตั้งมั่นอย่างแรงกล้านี้ทำให้มีบุญบารมีอย่างมาก
- 5 นิทานพรรณนายกนิทานชาดกเรื่อง นกขมิ้นกับลิงพาล พระพุทธเจ้าทรงตรัสปรารภ สัทธิวิหาริกของพระมหากัสสปเถระ ผู้รับฟัง;ต้องมีจิตใจที่มีความหนักแน่น มั่นคง ไม่หวั่นไหวไปในทั้งคำชม คำด่า คำว่า, ผู้พูด; พูดชี้ชวน ตักเตือนอย่างใด ๆ ต้องอยู่ในสัมมาวาจา ยกนิทานธรรมบทเรื่องราวของ นายสุปปพุทธะ ผู้ที่เป็นโรคเรื้อน แต่เป็นผู้ไม่ขัดสนในอริยทรัพย์ บุคคคลผู้มีอริยทรัพย์ 7 เป็นผู้ไม่ขัดสน… “ความร่ำรวย การมีทรัพย์ เราไม่ได้ดูแค่ภายนอกเท่านั้น ต้องดูภายในด้วย” เราอย่าให้ตกเป็นเครื่องมือของมาร อย่าให้เป็นฝักฝ่ายเดียวกับมาร ด้วยการอย่าไปใช้เครื่องมือมาร แต่ให้ใช้เครื่องมือของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า …ใช้มรรค 8 นี่แหละเป็นเครื่องมือ
- 5 นิทานพรรณนาพระศาสดา เมื่อทรงอาศัยภัททิยนครประทับอยู่ในชาติยาวัน (ป่ามะลิ) ทรงปรารภเมณฑกเศรษฐี, บุรพกรรมของท่านเศรษฐี โทษของคนอื่นเห็นได้ง่าย แต่โทษของตนเห็นได้ยากและคอยปกปิดโทษของตนเองไว้ การเป็นเศรษฐีไม่ได้เป็นด้วยการอ้อนวอนขอร้อง แต่มีเหตุปัจจัยมาจากการให้ทาน การรักษาศีล และ การภาวนา เมื่อพราหมณ์มาขโมยแก้วมณีในกุฏิที่สร้างถวายพระเจ้าวิปัสสีไว้ โชติกเศรษฐีก็ได้ตั้งจิตอธิษฐาน (ตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้า) ที่จะละวางความขัดข้องนี้ และส่งผลในชาติถัดมาว่า ไม่มีใครสามารถนำทรัพย์ของท่านไปได้ เมณฑกเศรษฐีเจอภัยแล้งทั่วชมพูทวีป ในจังหวะที่จะกินข้าวหม้อสุดท้ายก็ได้พบปัจเจกพระพุทธเจ้าออกจากสมาบัติในวันนั้นพอดี เมณฑกเศรษฐีเลยตั้งใจสละออกและอธิษฐานว่าอย่าได้เจอภัยแล้งเช่นนี้อีก…การที่คนเราจะมีกำลังใจสูงได้ ต้องตั้งใจอธิษฐานด้วยใจมั่นอย่างแรงกล้า ทำในสิ่งที่ทำได้ยากในอันที่จะทำให้เกิดความสำเร็จขึ้นและทำให้เรามีกำลังใจสูงขึ้น
- 5 นิทานพรรณนาพระโชติกเถระ เดิมเป็นเศรษฐีที่มั่งคั่งด้วยทรัพย์สมบัติมากจนพระเจ้าอชาตศัตรูคิดจะยึดปราสาท ต่อมาเมื่อออกบวชจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ ทรัพย์สมบัติของท่านก็อันตรธานหายไป ไม่มีใครสามารถล่วงล้ำเอาทรัพย์ของท่านมาได้ เหตุใดจึงไม่มีใครสามารถแย่งชิงสมบัติของโชติกเศรษฐีได้ ติดตามรับฟังได้ในเอพิโสดนี้ "ผู้ใดละตัณหาในโลกนี้แล้ว เป็นผู้ไม่มีเรือน, ผู้นั้นมีตัณหาและภพอันสิ้นแล้ว เรียกว่าเป็นพราหมณ์"
- 5 นิทานพรรณนาพาหิยทารุจีริยะ (ผู้นุ่งผ้าเปลือกไม้) เป็นผู้สำคัญว่าตนได้เป็นอรหันต์ แต่ด้วยความช่วยเหลืออของพรหมผู้เป็นสหายกันมาในกาลก่อน ได้มาแก้ความเห็นผิด และแนะนำบอกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นพระอรหันต์ ทรงแสดงธรรมเพื่อความเป็นพระอรหันต์ด้วย เมื่อพาหิยะฯ ได้ฟังเช่นนั้น เกิดสลดสังเวชขึ้นในใจ ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท รีบเดินทางอย่างเร็วพลันโดยไม่หยุดพัก เพื่อจะไปขอฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า และเพียงแค่คาถาบทเดียวที่พระพุทธองค์ตรัสแก่พาหิยะฯ ในระหว่างทรงบิณฑบาต พาหิยะฯ ได้ทำอาสวะทั้งปวงให้หมดสิ้นไปแล้ว บรรลุพระอรหัต ด้วยบทแห่งคาถาที่ว่า “พาหิยะ! เมื่อใดเธอเห็นรูปแล้ว สักว่าเห็น, ได้ฟังเสียงแล้วสักว่าฟัง, ได้กลิ่น, ลิ้มรส, สัมผัสทางผิวกาย, ก็สักว่า ดม ลิ้ม สัมผัส, ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ ก็สักว่าได้รู้แจ้ง แล้ว ; เมื่อนั้น “เธอ” จักไม่มี. เมื่อใด “เธอ” ไม่มี ; เมื่อนั้นเธอก็ไม่ปรากฏในโลกนี้, ไม่ปรากฏในโลกอื่น, ไม่ปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง : นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ ละ.” ท่านพาหิยทารุจีริยะเป็นตัวอย่างของการตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท เมื่อทราบถึงความที่ตนมีความสำคัญผิดไป ได้รีบแก้ไข และรีบเดินทางไปขอฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าโดยไม่หยุดพัก เพราะเกรงถึงอันตรายแห่งชีวิตของพระพุทธองค์หรือของตนเอง ก่อนที่จะได้ฟังธรรม
- 5 นิทานพรรณนาเรื่องราวของ “มัฏฐกุณฑลี” หรือ เด็กชายตุ้มหูเกลี้ยง แม้ตนป่วยหนักอยู่ เพียงได้ทำใจให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเท่านั้น เมื่อทำกาละแล้ว ก็ไปเกิดในเทวโลก ในศาสนานี้พระพุทธเจ้าฝึกคนที่สามารถฝึกได้อย่างที่ไม่มีใครยิ่งกว่า, ความมั่นใจ ไม่เหมือนกับความยึดถือ เพราะความยึดถือเป็นอำนาจของตัณหา, ศรัทธาคือ ความมั่นใจที่มาจากปัญญา เป็นอินทรีย์ทำให้เรารื้อถอนตัวตนออกจากภพได้ ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ ใจสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับตามความหนักหน่วง เปรียบดังรอยขีดหรือกรีดลงบนน้ำ , รอยขีดรอยกรีดบนแผ่นดิน , รอยขีดบนแผ่นหิน
- 5 นิทานพรรณนาพระพุทธเจ้าทรงปรารภพระจักขุปาลเถระ ดังนี้ว่า “ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจร้ายแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ทุกข์ย่อมไปตามเขา เพราะเหตุนั้นดุจล้ออันหมุนไปตามรอยเท้าโค ผู้นำแอกไปอยู่ฉะนั้น.” บาปกรรมนั้นย่อมตามผู้กระทำไป เหมือนล้ออันหมุนตามรอยเท้าโคพลิพัท ทุกข์ย่อมไปตามดุจล้อหมุนไปตามรอยเท้าโค
- 5 นิทานพรรณนาพระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภเรื่องของพระเทวทัตและบุรพกรรมของท่าน กรรมดีคนดีทำได้ง่าย กรรมดีคนชั่วทำได้ยาก ,กรรมชั่วคนชั่วทำได้ง่าย กรรมชั่วพระอริยเจ้าทั้งหลาย ทำได้ยาก คือ กรรมทั้งหลายที่ไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตนทำได้ง่าย กรรมใดแลเป็นประโยชน์ด้วยดีด้วย กรรมนั้นแลทำได้ยากอย่างยิ่ง. ความจำเริญ ย่อมมีแก่ผู้มีศีลทั้งหลาย
- 5 นิทานพรรณนาเครื่องรังควานต่าง ๆ นั้นเหมือนกิเลส พอไม่สำรวมอินทรีย์ ทำผิดเล็กน้อย ไม่รีบแก้ไข ดัดตัดให้ตรง ขยายเป็นความผิดที่มากขึ้น ๆ สุดท้ายรากคว่ำชี้ฟ้า พระมหากาลเปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีรากมั่นคง เหมือนภูเขาหินทั้งแท่ง ไม่มีช่องว่างในภายใน ไม่สั่นสะเทือนสะท้าน จะฝึกจิตให้มีสมาธิดั่งภูเขาหิน ให้มีปัญญาดั่งยอดเพชร เริ่มจากเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ รักษาศีลให้ดี รู้จักสำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะอยู่เสมอ ไม่เกียจคร้าน มีความเพียรปรารภ ด้วยการเสพเสนาสนะอันสงัดอยู่อย่างต่อเนื่อง รู้จักสันโดษในบริขาลตามมีตามได้ พอทำให้ดีขึ้น จะได้สมาธิที่มั่นคง ชนิดที่เหมือนภูเขาหิน ปัญญาเราจะมีความคมมากทีเดียว Time index [00.56] ธรรมบทแปลเรื่องจุลกาลและมหากาล [04.49] มหากาลฟังธรรมแล้วลาน้องชายไปบวช [13.36] พระมหากาลพิจารณาศพกุลธิดา [15.46] พระมหากาลบรรลุพระอรหัต [23.32] พระมหากาลเป็นผู้ไม่หวั่นไหว [33.40] พระมหากาลเหาะหนีภรรยา [42.11] บทที่พระมหากาลบรรลุธรรม [47.12] การรู้ประมาณ กามมันละเอียดไม่ใช่แค่การแสวงหา การรับ การบริโภค ยังรวมการเก็บและการสละออก [55.00] ฝึกจิตให้มีสมาธิ ดั่งภูเขาหิน ให้มีปัญญา ดั่งยอดเพชร เริ่มจากเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เรารักษาศีล ศีลจะรักษาเรา รักษาศีลให้ดี เป็นพื้นฐานให้มั่นคง พยายามก่อให้เกิดศีลอันเป็นไปเพื่อสมาธิ
- 5 นิทานพรรณนาธรรมบทแปลเรื่องพระจูฬปันถกเถระ เป็นเรื่องราวและบุรพกรรมของพระเถระชื่อ พระจูฬปันถก ที่เมื่อกาลก่อนมีความเชี่ยวชาญในปิฎกทั้ง 3 ได้ไปดูถูกเยาะเย้ยภิกษุอื่นที่เขาพยายามจะท่องจำปิฎกอยู่ ด้วยความประมาทนี้ เป็นวิบากกรรมทำให้เกิดเป็นคนโง่ จำอะไรก็ไม่ได้ ท่านจะมีวิธีพลิกแพลงแก้สถานการณ์ให้สามารถมีความจดจำเชี่ยวชาญในปิฎกทั้ง 3 คืนมาได้อย่างไร สิ่งที่น่าขยะแขยงน่าเกลียดน่าชัง มันคือ ราคะ โทสะ โมหะ ถ้ามีใครคนใดคนหนึ่งสามารถนำรูปราคะ โทสะ โมหะออกมาให้ดูได้ มันจะน่าเกลียดน่าขยะแขยงมากที่สุดในโลก เป็นธุลี (เศษขยะน่าขยะแขยง) ที่ยิ่งกว่าเศษธุลี ราคะ โทสะ โมหะ ถ้าเข้าไปครอบงำจิตใจของใครคนใดคนหนึ่งเข้าแล้ว แม้คน ๆ นั้นจะฉลาด ก็กลายเป็นคนโง่ได้ ต่อให้เก่งก็กลายเป็นคนบื้อได้ เพราะราคะ โทสะ โมหะที่มันคอยรัดรึง
- 5 นิทานพรรณนาพระพุทธเจ้าทรงบอกไว้สอนไว้ถึงวิธีการจัดการกับคนไม่ดีคนเจ้าปัญหาที่ดีมาก ๆ จัดการตามธรรม โดยไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองด้วย,ไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วย และการไม่เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายด้วย..พึงจัดการกับคนที่เจ้าปัญหา โดยจัดการตามธรรม ให้มีความงดงาม ให้มีขันติให้มีโสรัจจะ จะพึงมีความงามในธรรมะวินัยนี้ได้แน่ ได้ตรัสไว้ในธรรมบทเรื่อง ปาฏิกาชีวก ว่า ไม่ควรใส่ใจกับคำเสียดสีของคนอื่น เขาจะทำอะไร เป็นอย่างไร ก็เรื่องของเขา แต่ควรพิจารณาดูการงานของตัวเรานี้ว่า เราทำแล้วหรือยัง