00:00
1X
Sorry, no results.
Please try another keyword
- พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุ ขณะประทับอยู่ที่เทวทหะนิคม ทรงปรารภหลักคำสอนของพวกนิครนถ์ในเรื่องกรรมเก่า และการสิ้นกรรม ซึ่งพวกนิครนถ์เชื่อว่า กรรมเก่าให้ผลแน่นอนไม่มีข้อยกเว้น การหมดทุกข์จะมีได้ด้วยการบำเพ็ญเพียรอย่างแรงกล้า และการไม่ทำกรรมใหม่เพิ่มเติม ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด และทรงแสดงความเชื่อเรื่องกฏแห่งกรรม และผลแห่งความเพียร ตามหลักคำสอนในศาสนาพุทธ โดยทรงยกอุปมาอุปไมยเปรียบเทียบไว้ 3 อย่าง คือ บุรุษถูกยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษ ขายหนุ่มหลงรักหญิงสาว และช่างศรดัดลูกศรที่คดงอให้ตรง ที่เมื่อใคร่ครวญแล้วจะทำให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาในพระสูตรนี้
- เป็นตอนจบของพระสูตรนี้ เป็นตอนที่ปาฏิกบุตร หลอกลวงประชาชน ในลักษณะที่โอ้อวดว่าสามารถแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ได้มากกว่าพระพุทธเจ้าเป็นทวีคูณ แต่พอจะให้เกิดการพิสูจน์ ก็ไม่สามารถที่จะทำความชัดแจ้ง ให้ถึงการตรวจสอบที่ถูกต้องได้ ท่านเปรียบเหมือนสุนัขจิ้งจอกที่เห็นราชสีห์มีความสามารถ มีกำลัง มีการคำราม ตัวเองก็เอาอย่างบ้าง แต่ก็ไม่สามารถคำรามให้เสียงเป็นเหมือนอย่างราชสีห์ได้ เนื้อหาที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ เรื่องกำเนิดของโลก ที่ไม่ได้เกิดจากพรหม หรือพระพุทธเจ้าเป็นผู้สร้างโลก ที่ถ้ามีความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว จะไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้น ๆ รู้ถึงความดับ และไม่ดำเนินไปสู่ความเสื่อมได้นั่นเอง
- พระสูตรว่าด้วยนักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร ซึ่งเป็นนักบวชเปลือย 1 ใน 3 คน ที่ปรากฏในพระสูตรนี้ เป็นเรื่องราวที่พระผู้มีพระภาคทรงปรารถแก่ ภัคควโคตรปริพาชก ได้กราบทูลถามเรื่อง เจ้าสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตรลาสิกขา จึงทรงเล่าสาเหตุที่ เจ้าสุนักขัตตะ ลาสิกขาโดยอ้างเหตุผล 2 ประการ คือ (1) ไม่ทรงแสดงปาฏิหาริย์ให้ดู (2) ไม่ทรงประกาศทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลก ซึ่งในตอนท้ายของพระสูตรได้ทรงตรัสเล่าเรื่องทฤษฏีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลกในตอนนี้ เป็นตอนที่พระพุทธเจ้า ตรัสเล่าย้อน ตอนที่อบรมภิกษุสุนักขัตตะ ที่ไปเคารพนักบวชเปลือย 3 คน โดยปรารภว่าในเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์นั้น ทรงแสดงให้เจ้าสุนักขัตตะ ขณะนั้นยังเป็นภิกษุทำหน้าที่อุปัฏฐากพระองค์ ดูถึง 3 ครั้ง และเจ้าสุนักขัตตะก็ยอมรับว่าทรงแสดงแล้ว แต่ก็ยังมีความคิดผิดเพี้ยนไป
- อัคคัญญสูตร ทรงแสดงแก่สามเณรชื่อ วาเสฏฐะและภารทวาชะ ทรงชี้แจงให้เข้าใจถึงความเป็นมาของวรรณะ 4 ที่พวกพราหมณ์เข้าใจเรื่องระบบวรรณะผิดพลาดคลาดเคลื่อนไป ไม่รู้เรื่องความเป็นมาของวรรณะตามความเป็นจริง และทรงแสดงการกำเนิดหรือวิวัฒนาการของโลก ตั้งแต่ตอนต้นแห่งวิวัฏฏกัปที่โลกก่อตัวขึ้นใหม่ จนมีมนุษย์เกิดขึ้นและวิวัฒนาการของระบบสังคม เศรษฐกิจและการเมืองไว้อย่างน่าสนใจ และทรงสรุปเน้นย้ำในเรื่อง การประพฤติสุจริต ตรัสสอนให้เจริญโพธิปักขิยธรรม เป็นธรรมที่จะให้เกิดการบรรลุธรรม และหลุดพ้นได้
- มหานิทานสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เป็นต้นเหตุใหญ่ พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระอานนท์ ขณะประทับอยู่ ณ นิคมของชาวกุรุ ปรารภธรรมในหมวดธรรมที่ชื่อ ปฏิจจสมุปบาท เพื่อทรงแก้ความเข้าใจผิดของพระอานนท์ ที่กราบทูลว่า น่าแปลกที่ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมที่ลึกซึ้งสุดคาดคะเน แต่สำหรับท่านกลับเป็นธรรมง่ายๆ พระพุทธเจ้าทรงห้ามมิให้พูดเช่นนี้ แล้วทรงอธิบายไล่เรียงในรายละเอียดให้ฟัง
- สูตร#1 อนุมานสูตร พระมหาโมคคัลลานะแสดงแก่ภิกษุจำนวนหนึ่ง ขณะพักอยู่เภสกฬาวัน เขตเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ โดยปรารภปวารณากรรมของภิกษุบางรูปที่เป็นผู้ว่ายาก โดยยกเรื่องธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก 16 ประการ และธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย 16 ประการ มาตั้งเป็นข้ออนุมานตน ได้แก่บุคคลอื่นผู้มีธรรมให้เป็นผู้ว่ายาก ไม่เป็นที่รักที่พอใจของเรา ฉันใด ถ้าตนเองมีคุณธรรมให้เป็นผู้ว่ายากบ้าง คนอื่นก็ไม่รักไม่พอใจฉันนั้นเหมือนกัน ดังนั้นให้ปฏิบัติธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย และได้ยกข้อธรรมทั้ง 2 ประการนั้น มาตั้งเป็นหัวข้อพิจารณาตนเองแต่ละประการอีกว่า ตนมีธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายากหรือไม่ ถ้ามีก็ควรพยายามละเสีย แต่ถ้าไม่มีในตน ก็ควรศึกษาและปฏิบัติตามกุศลธรรมทั้งหลายอย่างต่อเนื่องต่อไป สูตร#2 จูฬตัณหาสังขยสูตร ทรงแสดงแก่ท้าวสักกะ ณ บุพพาราม กรุงสาวัตถี เพื่อตอบปัญหาของท้าวสักกะ ที่ได้ทูลถามว่า กล่าวโดยย่อ ข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุจึงชื่อว่า ผู้หลุดพ้นด้วยธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ฯลฯ เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงตรัสตอบและอธิบายถึงข้อปฏิบัติ ที่ว่า “ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น “ ท้าวสักกะชื่นชมพระภาษิตและทูลากลับ ขณะนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ นั่งฟังอยู่ไม่ไกล คิดว่า ท้าวสักกะจะไม่เข้าใจจริง จึงตามไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อถามว่า[...]
- มหาปทานสูตร (3) พระพุทธเจ้าทรงเล่าถึงตอนพระปัสสีโพธิสัตว์ตรัสรู้ ทรงแสดงธรรมแก่คู่พระอัครสาวกและมหาชน ซึ่งในการแสดงธรรมนั้นมีผู้บรรลุธรรมตามเป็นจำนวนหลายแสนคน และได้ทรงส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา ทรงดำริว่า เมื่อเวลาล่วงไปทุกๆ6ปี ภิกษุทั้งหลายควรกลับมายังกรุงพันธุมดี เพื่อแสดงปาฏิโมกข์ ซึ่งท้าวมหาพรหมได้กราบทูลว่าจะหาวิธีให้ภิกษุกลับมา ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงไปหาเหล่าเทพชั้นสุธาวาส และเหล่าเทพชั้นต่างๆ มีเทวดามากมายมาเข้าเฝ้า เทวดาได้เล่าเรื่องราวของพระพุทธเจ้าในสมัยนั้นๆที่ตนประพฤติพรหมจรรย์ แล้วจึงมาเกิดในที่นี้ ๆ และทรงสรุปพระธรรมเทศนานี้ว่า ที่ทรงทราบพระประวัติของพระพุทธเจ้าในอดีต 6 พระองค์ ที่มีในกัปนี้และกัปก่อนๆและพระประวัติของพระองค์เอง เป็นเพราะพระองค์มีปัญญาทราบได้เองถึงพระพุทธเจ้าในอดีตและเพราะเหล่าเทวดาบอกเรื่องนั้นให้ทราบ
- มหาปทานสูตร(2) ตอนการออกผนวช การตรัสรู้ และการแสดงธรรม เมื่อพระวิปัสสีพุทธเจ้าได้ทรงเห็นเทวฑูตทั้ง 4 เป็นนิมิต ทรงเสด็จออกผนวช มหาชนทราบข่าวได้ออกบวชตามเสด็จ ต่อมาทรงหลีกออกจากหมู่อยู่เพียงลำพัง ประทับหลีกเร้นในที่สงัด ได้ทรงใคร่ครวญเรื่องปฏิจจสมุปบาทแล้วทรงบรรลุธรรม ท้าวมหาพรหมได้ทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม ทรงแสดงธรรมแก่คู่พระอัครสาวก และแก่มหาชน ซึ่งได้บรรลุธรรมตามที่ทรงตรัสรู้แจ้งนั้น ตามลำดับ
- มหาปทานสูตร (1) พระประวัติของพระพุทธเจ้า 7 พระองค์ พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะประทับอยู่ ณ พระเชตวัน ทรงปรารภเรื่อง ปุพเพนิวาสญาณของพระองค์ โดยตรัสเล่าพระประวัติโดยสังเขปของพระพุทธเจ้าในอดีต 6 พระองค์ ที่มีในกัปนี้และกัปก่อนๆและพระประวัติของพระองค์เอง แต่เนื่องจากภิกษุยังมีข้อสงสัยอยู่จึงได้เสด็จกลับมาและตรัสเล่าต่อ เฉพาะพระประวัติของพระวิปัสสีพุทธเจ้า ซึ่งในตอนนี้ เป็นตอนประสูติ ประกอบด้วยเรื่อง กฎธรรมดาของพระโพธิสัตว์ 16 ประการ , ลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงมีเหมือนกัน และ การเห็นเทวฑูต
- สูตร#1 จูฬมาลุงกยสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระมาลุงกยบุตร ณ พระเชตวัน ทรงปรารภเรื่อง ปัญหาเกี่ยวกับทิฏฐิ 10 ประการ คือจะทรงตอบรับหรือตอบปฏิเสธ ผู้ฟังก็ไม่สามารถเข้าใจ และไม่มีประโยชน์ พระมาลุงกยบุตรรู้สึกไม่พอใจ ที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบอัพยากตปัญหา 10 ประการ จึงเข้าไปถามอีกครั้งหนึ่ง แต่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงตอบปัญหาเหล่านี้ เพราะไม่มีประโยชน์ ไม่ได้ช่วยให้พ้นทุกข์ได้ แต่ปัญหาที่จะทรงตอบ คือ ปัญหาเรื่องอริยสัจ 4 เพราะมีประโยชน์ และจะช่วยให้พ้นทุกข์ได้ เมื่อทรงตรัสจบ ท่านพระมาลุงกยบุตรมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตนั้น สูตร#2 มหามาลุงกยสูตร ทรงแสดงแก่พระมาลุงกยบุตรพร้อมกับภิกษุหลายรูป ทรงปรารภเรื่อง โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการ (เครื่องร้อยรัดที่ยึดจิตให้อยู่ในภพ) ทรงตรัสถามภิกษุเรื่องสังโยชน์ 5 ประการ ท่านพระมาลุงกยบุตรมีคำตอบที่ถูกต้อง แต่บทพยัญชนะนั้นไม่แยบคาย จะทำให้อัญเดียรถีย์ปริพาชก นำเรื่องเด็กอ่อนที่นอนหงายมาโต้กลับได้ และ เพื่อปรับทิฏฐิของท่านมาลุงกยบุตรให้ละเอียดยิ่งขึ้นไป จึงทรงอธิบายขยายความถึงอุบายในการนำออกและข้อปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์ และทรงแสดงว่า รูปฌาณ 4 และอรูปฌาณ 4 เป็นมรรคและปฏิปทาที่ทำให้ละสังโยชน์ทั้ง 5 ประการได้
- มหาสุทัสสนสูตร (ตอนที่ 2) พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงดำริว่า เหตุที่ทรงมีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ในเวลานี้ เป็นผลเป็นวิบากแห่งกรรม 3 อย่าง คือ (1) การให้ (2) การข่มใจ (3) การสำรวม จึงทรงบำเพ็ญฌาน ได้บรรลุฌานที่ 1 ถึงฌานที่ 4 , ทรงเจริญพรหมวิหาร 4 จากนั้นเวลาล่วงไปหลายพันปี พระนางสุภัทราเทวีเป็นนางแก้ว ได้เสด็จมาเฝ้า ทรงเห็นว่าพระสวามีจะทรงสวรรคต จึงทรงขอร้องให้อยู่ต่อเพื่อเห็นแก่สมบัติ เห็นแก่ชีวิต แต่กลับตรัสตอบขอให้พระเทวีทรงขอร้องใหม่ในทางตรงกันข้าม เพราะการพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นของธรรมดา การตายของผู้มีความกังวล ห่วงใย เป็นทุกข์ และถูกติเตียน พระเทวีก็ทรงกรรเเสง และทรงตรัสขอร้องใหม่ ตามที่พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงแนะนำนั้น และต่อมาไม่นาน พระเจ้ามหาสุทัสสนะก็สวรรคต เพราะทรงเจริญพรหมวิหาร 4 ประการ หลังจากสวรรคตแล้วจึงไปเกิดในพรหมโลก พระพุทธเจ้าทรงสรุปว่าพระเจ้ามหาสุทัสสนะสมัยนั้น คือพระองค์เอง และทรงชี้ให้เห็นสัจธรรมว่า แม้ทรงพรั่งพร้อมสมบูรณ์ด้วยสมบัตินานาประการ แต่ก็ทรงใช้สอยเพียงบางส่วนเท่านั้น และทรงตรัสว่า สังขารเหล่านั้นทั้งปวงล่วงลับดับไป ผันแปรไปแล้ว สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่ยั่งยืน[...]
- มหาสุทัสสนสูตร (ตอนที 1) ทรงแสดงแก่ท่านพระอานนท์ ขณะประทับใต้ควงไม้สาละคู่ในวันปรินิพพาน ทรงปรารภคำกราบทูลพระอานนท์ว่า อย่าได้ทรงปรินิพพานที่กุสินารา ซึ่งเป็นเมืองเล็กนี้ ขอเสด็จไปในเมืองใหญ่ ทรงตรัสห้ามไม่ให้พูดอย่างนั้น แล้วทรงเล่าเรื่องในอดีตของกรุงกุสินารา เคยเป็นราชธานีของพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า มหาสุทัสสนะ ผู้ครอบครองมหาอาณาจักรอันกว้างใหญ่ไพศาล และมีกรุงกุสาวดี คือกรุงกุสินาราในบัดนี้เป็นเมืองหลวง มีประชากรหนาแน่น เจริญรุ่งเรืองมาก พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ทรงมีรัตนะหรือแก้ว 7 ประการ ,ทรงมีสมบัติ 10 ประการ และทรงสมบูรณ์ด้วยพระฤทธิ์ (ความสำเร็จ 4 ประการ) ทรงเพียบพร้อมบริบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และทรัพย์สมบัติเหล่านี้ เพราะกรรมดีของพระองค์ คือ ทาน ,การข่มใจ และการสำรวม จากนั้นทรงเจริญฌานสมาบัติ และพรหมวิหาร …(ยังมีต่อ)
- สูตร1 # โปตลิยสูตร ทรงแสดงแก่โปตลิยคหบดี ณ นิคมของชาวอังคุตตราปะชื่ออาปณะ แคว้นอังคุตตราปะ โดยทรงปรารภคำกล่าวของโปตลิยคหบดีเรื่องที่ได้ตัดขาดโวหารทุกอย่างแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามถึงการตัดขาดโวหารของเขา แล้วทรงแสดงธรรม 8 ประการที่เป็นไปเพื่อการตัดขาดโวหารในอริยวินัย ทรงอธิบายถึงโทษแห่งกาม (กามาทีนวกถา) 7 ประการ พร้อมทั้งการพิจารณาให้เห็นโทษแห่งกาม ซึ่งจะทำให้บรรลุฌาน 4 และวิชชา 3 เมื่อทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบลง โปตลิยคหบดีได้แสดงตนเป็นอุบาสกตลอดชีวิต สูตร#2 นิพเพธิกสูตร ว่าด้วยธรรมบรรยายที่เป็นเหตุชำแรกกิเลส คือ ทรงสอนให้ภิกษุทั้งหลายทราบสภาวธรรมต่าง ๆ รวม 6 ประการดังนี้ (1) กาม เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างกันแห่งกาม ความดับแห่งกาม ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกาม (2) เวทนา… (3) สัญญา… (4) อาสวะ… (5) กรรม… (6) ทุกข์… ทรงอธิบายขยายความแต่ละประการอย่างพิสดาร
- พระผู้มีพระภาคตรัสแก่มาณพ 2 คน คือ วาเสฏฐะ และภารัทวาชะ ขณะประทับอยู่ ณ อัมพวัน แคว้นโกศล ที่หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อมนสากฏะใกล้ฝั่งแม่น้ำอจิรวดี ปรารภเหตุที่มาณพทั้ง 2 ถกเถียงกัน และตกลงกันไม่ได้ว่าทางที่ไปสู่พรหมโลก ทางไหนเป็นทางตรง ซึ่งมาณพทั้ง 2 ต่างอ้างถึงพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทบอกไว้ จึงทูลขอพระพุทธเจ้าให้ทรงตัดสินว่าผู้ใดกล่าวถูก จึงทรงซักถาม ไล่เรียง ซึ่งพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทไม่เคยเห็นพรหม และทรงอธิบายสรุปให้ฟังว่า เป็นไปไม่ได้ว่าผู้ที่ไม่เคยเห็นพรหมจะบอกว่าทางนี้เป็นทางไปสู่พรหมโลก เป็นวาทะที่เลื่อนลอยไม่มีหลักฐาน และตรัสถึงคุณสมบัติของพรหมกับของพราหมณ์ที่ต่างกัน และเปรียบเทียบกันไม่ได้ เมื่อตายแล้วจะอยู่ร่วมกับพรหมได้อย่างไร แต่พระองค์ทรงรู้จักพรหม และทางไปสู่พรหมโลก ทรงอธิบายวิธีการที่จะไปอยู่กับพรหม เริ่มตั้งแต่การประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย จนถึงการที่สามารถละนิวรณ์ได้ จนจิตเป็นสมาธิแล้ว และให้อยู่ในพรหมวิหาร 4 ซึ่งจะเป็นเครื่องที่ทำให้ไปอยู่กับพรหมได้ มาณพทั้ง 2 เกิดความเลื่อมใส ประกาศตัวเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
- สูตร 1 # วิตักกสัณฐานสูตร สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ได้รับตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า วีธีการละอกุศล 5 ประการ โดยการยกตัวอย่างเปรียบเทียบเพื่อกำจัดอกุศล ที่เมื่อละได้แล้ว จะทำให้จิตตั้งมั่นสงบ เกิดสมาธิขึ้น ตัดตัณหา ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ สูตร 2 # เทวธาวิตักกสูตร วิธีการแบ่งความคิดออกเป็น 2 ประเภท คือ อกุศลวิติก และกุศลวิตก ด้วยการมีสติแยกแยะความคิดที่เป็นอกุศลว่าเกิดขึ้นแล้ว และกำจัดความคิดที่เป็นอกุศลออกไป ตั้งดำรงความคิดที่เป็นกุศลไว้ จะทำให้จิตไปตามทางคือ มรรค สามารถทำสมาธิ ปัญญาให้แจ้ง และบรรลุธรรมได้ พระสูตรเพิ่ม # สัจจวิภังคสูตร ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมตถาคตผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประกาศแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน อันสมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกยังไม่เคยประกาศ ได้แก่ การบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง[...]
- สิงคาลกสูตร สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร ในวันหนึ่ง "เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงเสด็จไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ได้ทอดพระเนตรเห็นสิงคาลกะ คหบดีบุตร เนื้อตัวเปียกชุ่มไปหมดกำลังไหว้ทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบน จึงทรงถามสิงคาลกคฤหบดีบุตรกำลังทำอะไร สิงคาลกคฤหบดีบุตรตอบว่ากำลังไหว้ทิศทั้ง ๖ คามคำสั่งเสียของบิดา ได้ทรงตรัสว่าสิ่งที่กระทำนั้นยังไม่ตรงตามคำสั่งเสียของบิดา และได้ทรงอธิบายตรัสกับคหบดีบุตรว่า อริยสาวกละกรรมกิเลส (กรรมเครื่องเศร้าหมอง) ๔ ประการ ได้แล้ว ไม่ทำบาปกรรมโดยเหตุ ๔ ประการ และไม่ข้องแวะอบายมุข (ทางเสื่อม) ๖ ประการ แห่งโภคะทั้งหลาย อริยสาวกนั้นเป็นผู้ปราศจากบาปกรรม ๑๔ ประการนี้แล้ว ชื่อว่าเป็นผู้ปิดป้องทิศ ๖ (หมายถึงปกปิดช่องว่างระหว่างตนกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง คือ มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา บุตรและภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง มิตรสหายเป็นทิศเบื้อง ทาสและกรรมกรเป็นทิศเบื้องล่าง สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน) ปฏิบัติเพื่อครองโลกทั้งสอง ทำให้เกิดความยินดีทั้งโลกนี้และโลกหน้า หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์[...]
- สูตร#1 อุโปสถสูตร พระพุทธเจ้าตรัสสอนนางวิสาขาผู้รักษาศีลอุโบสถที่บุพพารามเป็นประจำ เพื่อให้ทราบว่า อุโบสถศีลนั้นมีทั้งแบบที่ประเสริฐ คือ ความเป็นอริยะ มีความประเสริฐได้บุญอย่างแท้จริง และแบบที่ไม่ประเสริฐ คือ มีความงมงายไม่ถูกต้อง สูตร#2 อิธโลกสูตร พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนนางวิสาขา อธิบายถึงสุภาพสตรีที่จะอยู่ครองเรือนได้อย่างมีความสุข ไม่เกิดเป็นภัยได้กำไรในการอยู่ครองเรือน ประกอบด้วยธรรมของมาตุคามผู้ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกนี้มี 4 ประการ และธรรมที่เป็นไปเพื่อชัยชนะในโลกหน้ามี 4 ประการ มาตุคามที่ประกอบด้วยคุณธรรมเหล่านี้ ย่อมเข้าถึงเทวโลกประเภทมนาปกายิกา สูตร#3 อนุรุทธสูตร เทวดาเหล่ามนาปกายิกา (เทวดาชั้นนิมมานรดี) เข้าไปเรียนท่านพระอนุรุทธะว่า ตนครองความเป็นใหญ่มีอำนาจ 3 ด้าน นึกให้เป็นเสียง เป็นสี ให้มีสุขเช่นใด ก็ได้อย่างฉับพลัน ท่านจึงลองนึกให้เทวดาเหล่านั้นสำแดงตามที่ท่านนึก ก็เห็นเป็นความจริง จึงนำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระองค์จึงตรัสคุณสมบัติ 8 ประการ ที่ทำให้มาตุคามไปเกิดเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา
- # สักกปัญหสูตร ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยปัญจสิขะ คันธรรพบุตร และ พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ได้เข้าเผ้าพระผู้มีพระภาคในถ้ำอินทสาละ ที่ภูเขาเวทิยกะ ได้สนทนาธรรมกับพระผู้มีพระภาค ในเรื่องที่ท้าวสักกะจอมเทพได้ประจักษ์กับตนว่าผู้ที่เข้าถึงธรรมของพระพุทธเจ้าจะถึงความเป็นผู้วิเศษและบรรลุธรรม เช่นเดียวกับศากยธิดา ชาติที่เกิดเป็นมนุษย์เป็นสตรี หลังจากตายแล้วมาเกิดเป็นบุตรชายของตน และคนธรรพ์ 2 องค์ซึ่งเป็นภิกษุในพระพุทธเจ้ามาก่อน เมื่อถูกตักเตือน ระลึกถึงธรรมที่ตนได้ฟัง ได้สติ เห็นโทษของกาม ตัดกามสังโยชน์เสียได้ ก็ก้าวล่วงภพอันต่ำนั้น เข้าถึงกายอันเป็นพรหมปุโรหิต เหนือเทวดาชั้นดาวดึงส์ ท้าวสักกะจึงมาเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม ได้ทูลถามคำถามว่า มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ มีอะไรเป็นเครื่องผูกมัดใจไว้จึงทำให้ไม่มีความสุข ได้ทรงตรัสตอบว่าเพราะความริษยา และความตระหนี่ เป็นเครื่องผูกมัด และได้ทรงไล่เรียงต้นเหตุแห่งความความริษยา และความตระหนี่ เริ่มจาก อารมณ์อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก ความพอใจ และความวิตกส่วนแห่งสัญญาอันประกอบด้วยปปัญจธรรม ได้แก่ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา ได้ตรงตรัสว่าภิกษุผู้ปฏิบัติเพื่อความสำรวมในปาติโมกข์ 3 ประการ คือ กายสมาจาร วจีสมาจาร การแสวงหา ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ การสำรวมอินทรีย์ ได้แก่[...]
- สูตร#1 มหาสมัยสูตร การประชุมครั้งใหญ่ของเทวดาวาระหนึ่ง เพื่อมาเฝ้าพระพุทธเจ้าและชมปฏิปทาของภิกษุสงฆ์ จำนวน 500 รูป ซึ่งล้วนเป็นพระอรหันต์ เมื่อเทวดามาพร้อมกันแล้ว ได้มีเสนามารเข้ามาในที่ประชุมด้วยประสงค์ร้าย พระองค์ทรงรับสั่งให้พระสาวกระวังตัว ด้วยพุทธานุภาพ เสนามารไม่สามารถทำอะไรแก่พระสาวกได้ และได้กล่าวสรรเสริญพระสาวกของพระองค์ว่า เป็นผู้ชนะสงคราม ล่วงพ้นความหวาดกลัวแล้ว สูตร#2 สักกปัญหสูตร (พระสูตรเสริม)
- สูตร#1 พาหิติกสูตร ว่าด้วยการถวายผ้าพาหิติกา(ผ้าที่ทอจากต่างแคว้น) ท่านพระอานนท์แสดงแก่พระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์ผู้ครองแคว้นโกศล ที่ได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า พระพุทธเจ้าทรงประพฤติ ทางกาย วาจา ใจ ที่ผู้รู้ติเตียนหรือไม่ พระอานนท์ตอบว่าไม่ทรงประพฤติ และตรัสถามว่า ความประพฤติที่ผู้รู้ติเตียนและผู้รู้ไม่ติเตียนเป็นอย่างไร ท่านพระอานนท์ได้ตอบว่า ความประพฤติที่ผู้รู้ติเตียน คือ ความประพฤติที่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น หรือทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งทำให้อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม ทรงละอกุศลธรรมทุกอย่าง ทรงประกอบด้วยกุศลธรรมส่วนความประพฤติที่ผู้รู้ไม่ติเตียนมีนัยตรงข้ามกัน เมื่อท่านพระอานนท์แสดงจบ พระเจ้าปเสนทิโกศลเกิดความเลื่อมใสทรงถวายผ้าพาหิติกาเพื่อบูชาธรรมแก่พระอานนท์ ซึ่งท่านได้นำไปถวายพระพุทธเจ้า สูตร #2 กรรณกัตถลสูตร ทรงแสดงแก่พระเจ้าปเสนทิโกศล ขณะประทับอยู่ ณ กัณณกัตถละ อุทัญญานคร แคว้นโกศล เพื่อทรงสนทนาธรรม เรื่องสัพพัญญู เรื่องวรรณะ 4 เรื่องเทวดาและพรหม โดยได้ทรงพยากรณ์ความเป็นสัพพัญญู , ทรงตรัสถึงวรรณะ 4 จำพวกในสัมปรายภพไม่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับมีหรือไม่มีธรรม 5 ประการ และความเพียร เปรียบเหมือนสัตว์ที่ฝึกกับสัตว์ที่ไม่ได้ฝึก , ตรัสตอบเรื่องเทวดาและพรหมที่มีความเบียดเบียน มีทุกข์จึงจะมาเกิดในมนุษยโลก[...]
- สูตร 1 # เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ทรงแสดงธรรมบรรยายที่ควรเสพและที่ไม่ควรเสพ โดยพระพุทธเจ้าทรงยกหัวข้อขึ้น และท่านพระสารีบุตรเป็นอรรถกถาจารย์อธิบายแจกแจงในหัวข้อนั้น ตอนที่ 1 ทรงยกหลักธรรม 7 ประการที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ที่ควรเสพหมายถึงเสพแล้วทำให้กุศลธรรมเจริญขึ้น อกุศลธรรมเสื่อมไป ที่ไม่ควรเสพ มีนัยตรงข้ามกัน ตอนที่ 2 ทรงยกหัวข้ออายตนะ 12 ประการ ที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ตอนที่ 3 ทรงยกหัวข้อ จีวร บิณฑบาตร เสนาสนะ หมู่บ้าน นิคม นคร ชนบท และบุคคล รวม 8 ประการ ที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ซึ่งธรรมบรรยายที่ทรงแสดงมานี้ ถ้ากษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ ศูทร ตลอดจนเทวดา มาร พรหม และมนุษย์ทั้งหลายรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมบรรยายนี้ก็จะเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขตลอดกาล สูตร 2 # นาถกรณสูตรที่ 1 (ปฐมนาถสูตร)[...]
- สูตร 1 # พหุเวทนิยสูตร ว่าด้วยเวทนาหลายประเภท ทรงแสดงแก่ท่านพระอานนท์ ณ พระเชตวัน ทรงปรารภการสนทนาธรรมเรื่องเวทนา ระหว่างท่านพระอุทายี กับช่างไม้ปัญจกังคะ ซึ่งถกเถียงกันเรื่องเวทนาที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้มีกี่ประการ ท่านพระอานนท์ได้ยินดังนั้นแล้วจึงไปทูลถาม ได้ทรงตรัสว่า ทรงแสดงเวทนาไว้หลายประการ ขึ้นอยู่กับเหตุ ทรงยกสุขเวทนาขึ้นอธิบาย เริ่มด้วย กามสุขที่อาศัยกามคุณ 5 และสุขในรูปฌาน และอรูปฌาน สูตร 2 # วีมังสกสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน เพื่อให้ภิกษุผู้ไม่ได้เจโตปริยญาณ ทดลองตรวจสอบข้อปฏิบัติของพระองค์ เพื่อให้รู้ว่าพระองค์เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงหรือไม่ ต่อไปก็สามารถตรวจสอบตนเอง และผู้อื่นได้ ทรงอธิบายขยายความ และทรงเปิดโอกาสให้ภิกษุผู้ตรวจสอบทูลถามพระองค์ตามแนวทางการพิจารณาตรวจสอบนั้น ด้วยวิธีการดังกล่าวผู้นั้นก็จะมีศรัทธามั่นคงไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า สูตร 3 # อภัยราชกุมารสูตร ทรงแสดงแก่อภัยราชกุมาร ซึ่งรับอาสานิครนถ์มาโต้วาทะกับพระผู้มีพระภาค ณ เวฬุวัน ปรารภคำถามว่า มีบ้างไหมที่พระองค์ตรัสวาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ทรงตรัสว่าจะตอบส่วนเดียวไม่ได้ ทรงแสดงหลักเกณฑ์การตรัสวาจาของพระองค์ 6 ข้อ เมื่อทรงแสดงจบ อภัยราชกุมารแสดงตนเป็นอุบาสกตลอดชีวิต
- เกวัฎฎสูตร สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี เขตเมืองนาลันทา เกวัฏฏ์ คฤหบดีบุตร ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ขอให้พระผู้มีพระภาคให้ภิกษุสักรูปหนึ่งแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้ชาวเมืองนาลันทาชมเพื่อให้มีความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคมากยิ่งขึ้น พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสเทศนาว่า พระองค์มิได้สอนธรรมเพื่อให้ภิกษุแสดงปาฏิหาริย์แก่คฤหัสถ์ แล้วทรงชี้แจงว่า ทรงรู้แจ้งปาฏิหาริย์ 3 อย่างคือ (1) อิทธิปาฏิหาริย์ (การแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง) (2) อาเทสนาปาฏิหาริย์ (การทายใจผู้อื่นได้อย่างอัศจรรย์) (3) อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (การสั่งสอนได้อย่างอัศจรรย์) จากนั้นทรงแสดงอนุสาสนีปาฏิหาริย์ให้เกวัฏฏะฟัง คือทรงแสดงผลของศีล 3 ชั้น ผลของฌาน 4 และวิชชา 8 ในตอนท้ายทรงเล่าเรื่องภิกษุรูปหนึ่งต้องการทราบว่ามหาภูตรูป 4 ดับสนิทในที่ใด จึงเข้าสมาธิไปเที่ยวถามพวกเทวดาในเทวโลกทุกๆ ชั้นก็ไม่ได้รับคำตอบ จึงไปเที่ยวถามพวกเทพที่เป็นพรหมบริษัทในพรหมโลกจนได้เข้าพบท้าวมหาพรหมที่อ้างว่าเป็นผู้สร้างโลก ท้าวมหาพรหมได้บอกภิกษุรูปนั้นไปว่า ไม่มีใครรู้ นอกจากพระพุทธเจ้า ภิกษุรูปนั้นจึงกลับมาเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลถามข้อข้องใจนั้น พระองค์ตรัสตอบว่า ดับสนิทในจิตของพระอรหันต์
- สูตร 1 # จูฬโคสิงคสูตร พระผู้มีพระภาค เสด็จไปยังป่าโคสิงคสาลวัน ได้พบกับท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ ได้ทรงสอบถามถึงความเป็นอยู่ ท่านทั้ง 3 อยู่กันด้วยความสามัคคี มีเมตตาให้กันทั้งต่อหน้า และลับหลัง ทั้งทางกาย วาจา และใจ พยายามที่จะเก็บจิตของตนเองแล้วทำตามจิตของผู้อื่น จึงสามารถอยู่เป็นสุขได้ พระผู้มีพระภาคทรงยกย่องพระเถระทั้ง 3 รูป สูตร 2 # มหาโคสิงคสูตร พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่ป่าโคสิงคสาลวันพร้อมด้วยพระเถระผู้เป็นสาวกที่มีชื่อเสียงหลายรูป คือ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสปะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และพระเถระผู้เป็นพระสาวกที่มีชื่อเสียงรูปอื่นๆ ได้พากันหาท่านพระสารีบุตรเพื่อฟังธรรม แต่ละท่านมีทรรศนะเรื่องป่าโคสิงคสาลวันว่าป่าจะงามด้วยภิกษุเช่นไรตามที่พระสารีบุตรสอบถาม และพระผู้มีพระภาคได้รับรองทรรศนะของพระเถระทั้งหมดว่าเป็นผู้งามสง่าด้วยความเพียร อ่าน “จูฬโคสิงคสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ อ่าน “มหาโคสิงคสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔[...]
- สมัยที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ภิกษุชื่อว่าสาติมีทิฏฐิชั่วว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่าวิญญาณนี้ท่องเที่ยวไป แล่นไป” แม้เพื่อนภิกษุอื่นจะกล่าวตักเตือน ว่าพระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเช่นนั้น ก็ไม่เชื่อฟัง ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงตรัสสั่งให้เรียกตัวภิกษุชื่อสาติมาสอบถาม และชี้ให้เห็นว่าเป็นการกล่าวตู่พระองค์ เพราะพระองค์ตรัสอยู่โดยปริยายเป็นเอนกว่า วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย เว้นจากปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณย่อมไม่มี ภิกษุชื่อสาติก็นั่งก้มหน้าเก้อเขิน ถอนใจและได้ทรงตรัสถามความเข้าใจแก่เหล่าภิกษุ และแสดงธรรมในเรื่องต่างๆ ได้แก่ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งขันธ์ 5 ปฏิจจสมุปบาท (กระบวนการเกิด และกระบวนการดับ) พระธรรมคุณ พระพุทธคุณ สิกขาและสาชีพของภิกษุ การทำจิตให้บริสุทธิ์และความดับแห่งกองทุกข์ เป็นต้น
- สูตร#1 จูฬตัณหาสังขยสูตร ทรงแสดงแก่ท้าวสักกะ ณ บุพพาราม กรุงสาวัตถี เพื่อตอบปัญหาของท้าวสักกะ ที่ได้ทูลถามว่า กล่าวโดยย่อ ข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุจึงชื่อว่า ผู้หลุดพ้นด้วยธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ฯลฯ เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงตรัสตอบและอธิบายถึงข้อปฏิบัติ ที่ว่า “ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น “ ท้าวสักกะชื่นชมพระภาษิตและทูลลากลับ ขณะนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ นั่งฟังอยู่ไม่ไกล คิดว่า ท้าวสักกะจะไม่เข้าใจจริง จึงตามไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อถามว่า พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องความสิ้นตัณหาโดยย่อว่าอย่างไร ท้าวสักกะไม่ตอบ แต่ชวนไปชมเวชยันตปราสาท พระเถระจึงสำแดงฤทธิ์ให้เวชยันตปราสาทสั่นสะเทือน จึงยอมบอกตามที่ทรงได้ฟังมา พระเถระได้กลับมารายงานให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ และทรงยืนยันว่าได้ตรัสอย่างนั้นจริง สูตร#2 มหาตัณหาสังขยสูตร (ข้อ396-403) ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ เชตวัน โดยทรงปรารภความเห็นผิดของภิกษุชื่อสาติ ผู้เป็นบุตรชาวประมง ซึ่งมีความเห็นว่า “ วิญญาณนี้แลมิใช่อื่น ท่องเที่ยวไป แล่นไป” ซึ่งเป็นทิฏฐิที่ชั่ว แต่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า วิญญาณอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ถ้าไม่มีปัจจัย วิญญาณก็เกิดไม่ได้ แต่ภิกษุสาติไม่เชื่อ จึงทรงอาศัยเหตุนี้ กำราบท่านสาติ[...]
- พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ # 4 หลังจากตรัสรู้แล้วทรงอยู่ที่ตำบลอุรุเวลา ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ที่ต้นไทร มีเหตุการณ์ตามลำดับ ดังนี้ ทรงคิดหาที่พึ่งสำหรับพระองค์เอง ทรงมีความคิดว่า ธรรมใดที่ทรงตรัสรู้แล้ว พึงสักการะเคารพธรรมนั้น เข้าไปอาศัยธรรมนั้น ทรงถูกพวกพราหมณ์ตัดพ้อ ว่าไม่ทรงอภิวาท ไม่ลุกรับ พราหมณ์ผู้แก่ผู้เฒ่า ทรงอธิบายธรรมที่ทำให้คนเราเป็นเถระ มารทูลให้นิพพาน ทรงตรัสว่า จะไม่ปรินิพพาน จนกว่า สาวกของพระองค์จะเป็นผู้ฉลาด ฯลฯ และศาสนานี้ตั้งมั่น รุ่งเรือง แผ่ไพรศาล ฯลฯ ทรงท้อพระทัยในการแสดงธรรม จิตน้อมไปเพื่อการขวนขวายน้อย พรหมอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม เพราะสัตว์ที่มีธุลีในดวงตาแต่เล็กน้อยมีอยู่ ทรงเห็นสัตว์ดุจดอกบัว 3 เหล่า คือ จมอยู่ในน้ำ ตั้งอยู่เสมอพื้นน้ำ และโผล่ขึ้นพ้นน้ำ ทรงแสดงธรรม เพราะเห็นความจำเป็นของสัตว์บางพวก คือ พวกที่เมื่อได้เห็น และได้ฟังธรรมจึงเข้ามาสู่คลองแห่งกุศลธรรมทั้งหลายได้ ทรงเห็นลู่ทางที่จะช่วยเหลือปวงสัตว์ ซึ่งเป็นหนทางเครื่องไปทางเดียว เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน 4 ทรงระลึกหาผู้รับปฐมเทศนา คือ ปัญจวัคคีย์ ซึ่งอยู่ที่เมืองพาราณสี ทรงเสด็จพาราณสี[...]
- พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ #3 ปฏิบัติตามทางสายกลาง เมื่อทรงแน่พระทัยว่าไม่อาจตรัสรู้เพราะการทำทุกรกิริยา ทรงระลึกได้ว่า เมื่องานแรกนาแห่งพระบิดา ทรงนั่งอยู่ใต้ร่มไม้หว้า ทรงบรรลุปฐมฌาน นี่คงเป็นหนทางแห่งการตรัสรู้ จึงทรงหันหาทางสายกลาง กลับพระทัยฉันอาหารหยาบ เมื่อทรงฉันอาหารหยาบ ปัญจวัคคีย์ผู้คอยบำรุงอยู่พากันหน่ายหลีกไป ด้วยคิดว่าทรงเป็นคนมักมาก จากนั้นทรงเล่าเหตุการณ์ขณะทำความเพียรก่อนการตรัสรู้ คือ ทรงเกิดความรู้สึกว่า พึงทำวิตกให้เป็นสองส่วนและคอยควบคุม ได้ทรงทำลายความขลาดกลัว ทรงกลั้นจิตจากกามคุณในอดีต ทรงคิดค้นวิธีแห่งอิทธิบาท ทรงค้นห่วงโซ่แห่งทุกข์ ทรงเจริญอานาปานสติ ทรงแก้ปัญหาสมาธิเสื่อม ทรงพยายามในอธิเทวญาณทัศนะเป็นขั้นๆ ได้ทรงฝันครั้งสำคัญ (มหาสุบิน) 5 อย่าง และทรงอธิษฐานทำความเพียร ฟัง “พุทธประวัติ ตอนทรงทำทุกรกิริยา” Quote เราย่อมตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับด้วยการอธิษฐานจิตว่า “หนัง เอ็น กระดูก จงเหลืออยู่ เนื้อและเลือดในสรีระ จะเหือดแห้งไปก็ตามที ประโยชน์ใดอันบุคคลจะพึงบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น หากยังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จะหยุดความเพียรนี้เสียเป็นไม่มีเลย” / พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ บทอธิฐานเพื่อทำความเพียร
- พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ #2 เมื่อทรงบวชแล้ว ทรงแสวงหาว่า อะไรเป็นกุศล ทรงเสด็จสำนักอาฬารดาบส และอุทกดาบส เพื่อทรงประพฤติพรหมจรรย์ ทรงได้สมาบัติแปด แต่ทรงไม่พอใจ เบื่อจากธรรมนั้น เพราะธรรมนี้ไม่ได้เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน เป็นไปเพียงเพื่อเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเท่านั้น ไม่ทรงพอใจ จึงลาจากไป ทรงเสด็จต่อไปถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม และทรงตั้งความเพียร ณ ที่ตำบลนี้ โดยทรงประพฤติอัตตกิลมถานุโยค (วัตรของเดียรถีย์ อันประกอบด้วยองค์ 4) คือ การบำเพ็ญความเพียรเพื่อทรมานตนเอง และทำทุกรกิริยา อ่าน “ปาสราสิสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ อ่าน “มหาสีหนาทสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ อ่าน “โพธิราชกุมารสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕[...]
- พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ เรื่องเริ่มแต่การเกิดแห่งวงศ์สากยะ การก้าวลงสู่ครรภ์ การประสูติ ประกอบด้วยมหาปุริสลักขณะ 32 บุพกรรมของการได้มหาปุริสลักขณะ ความรู้สึกที่ถึงกับทำให้ออกผนวช และออกผนวชเมื่อพระชนม์ 29 ปี อ่าน “อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อ่าน “ลักขณสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
- สูตร# 1 โฆฏมุขสูตร [๔๑๒] เป็นเหตุการณ์ที่เกิดหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ท่านพระอุเทนะแสดงแก่โฆฏมุขะพราหมณ์ ซึ่งเข้าไปสนทนาธรรม ณ เขมิยอัมพวัน ปรารภเหตุที่โฆฏมุขะพราหมณ์ได้แสดงความเห็นของตนว่า การบวชอันชอบธรรมย่อมไม่มี ท่านพระอุเทนะได้แสดงบุคคล 4 จำพวกและบริษัท 2 จำพวกให้โฆฏมุขะพราหมณ์ฟัง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการบวชมีผล เพราะผู้ไม่ทำตนและผู้อื่นให้เดือดร้อนมีมากในนักบวช โฆฏมุขะพราหมณ์ได้ท่านพระอุเทนะเป็นกัลยาณมิตรให้เกิดความเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ และได้สร้างโรงฉันปัจจุบันเรียกว่า ‘โฆฏมุขี’ ถวายแก่สงฆ์เมืองปาตลีบุตร สูตร# 2 ฆฏิการสูตร [๒๘๒] เป็นสมัยที่พระพุทธเจ้าเกิดเป็นมานพชื่อโชติปาละ ซึ่งเป็นสมัยของพระกัสสปพุทธเจ้า มีกัลยาณมิตรเป็นช่างปั้นหม้อชื่อฆฏิการะ ที่ได้ชักชวนไปฟังธรรม ซึ่งตอนแรกนั้นโชติปาละไม่ยอมไป ต้องชวนถึง 3 ครั้ง และเมื่อฟังธรรมแล้วโชติปาละมานพได้ออกบวช ส่วนช่างหม้อจำเป็นต้องเลี้ยงมารดาผู้ชราและเสียจักษุ จึงไม่ได้ออกบวช พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
- อลคัททูปมสูตร พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ในครั้นนั้นอริฏฐภิกษุมีทิฏฐิชั่วเกิดขึ้นด้วยการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคว่า ได้รู้ทั่วถึงธรรม และธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายนั้นไม่สามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง ซึ่งเหล่าภิกษุอื่นได้ไปหาอริฏฐภิกษุด้วยความปรารถนาให้ละทิฏฐิชั่ว แต่ก็ไม่สำเร็จ อริฏฐภิกษุยังคงมีความเข้าใจผิดในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ เหล่าภิกษุอื่นได้กราบทูลความนี้ต่อพระผู้มีพระภาค ทรงได้รับสั่งเรียกอริฏฐภิกษุให้มาเข้าเฝ้า และได้ตรัสถามเนื้อความการกล่าวตู่ธรรมของพระผู้มีพระภาคนี้จากอริฏฐภิกษุ ซึ่งยอมรับว่าเป็นความจริง จึงได้ทรงอธิบายว่าการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยทิฏฐิที่ถือไว้ผิด ชื่อว่าทำลายตนเอง ชื่อว่าประสบสิ่งที่มิใช่บุญ ซึ่งจะเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนาน และได้รับสั่งเรียกเหล่าภิกษุเพื่ออธิบายว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่อริฏฐภิกษุจะเสพกามโดยปราศจากกาม ปราศจากกามสัญญา และปราศจากกามวิตก และได้ทรงแสดงว่าการเรียนธรรมนั้นให้พิจารณาไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมด้วยปัญญา ธรรมจึงประจักษ์ชัด รวมทั้งทรงแสดงธรรมเปรียบเทียบแพเพื่อการสลัดออกไม่ใช่เพื่อการยึดถือ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
- 4 คลังพระสูตรมหาสัจจกสูตร : พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่สัจจกะ นิครนถบุตร เป็นการสนทนาแบบถาม-ตอบ ในเรื่องของกายภาวนา และจิตตภาวนา ซึ่งนิครนถ์มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า กายภาวนานั้น หมายถึง การทำทุกรกิริยา และไม่เข้าใจเรื่องจิตตภาวนา จึงทรงอธิบายการเจริญภาวนาทั้ง 2 อย่าง ที่ถ้าเราทำได้แล้ว จะอยู่เหนือสุขและทุกข์ได้ แต่สัจจกนิครนถ์ ที่มีความสงสัยไม่ลงใจ พยายามที่จะคิดโต้แย้ง และกล่าวกระทบกระเทียบพระผู้มีพระภาค จึงทรงเล่าพุทธประวัติตอนบำเพ็ญสมาบัติ ในสำนักอาฬารดาบส และอุทกดาบส แม้ได้สุขของสมาธิขั้นลึกซึ้ง แต่ก็ไม่เผลอเพลินไปตามสุขเวทนานั้น และเมื่อบำเพ็ญทุกกรกิริยา ได้รับทุกขเวทนาอันหนักหน่วง แต่ทุกขเวทนานั้นก็ไม่อาจครอบงำจิตของพระองค์ได้ ทำให้สัจจกนิครนถ์มีความศรัทธา กล่าวสรรเสริญ และชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค อ่าน “มหาสัจจกสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณา Quote เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ[...]
- สูตร1 #อุปักกิเลสสูตร สืบเนื่องจากพวกภิกษุโกสัมพีเกิดความบาดหมางทะเลาะวิวาท พระผู้มีพระภาคทรงห้ามอยู่ 3 ครั้ง แต่ภิกษุไม่เชื่อฟัง จึงทรงเสด็จไปยังบ้านพาลกโลณการคาม ท่านพระภคุได้รับเสด็จ แล้วเสด็จต่อไปยังป่าปาจีนวังสทายวัน ซึ่งท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละพักอยู่ที่นั่น โดยอยู่กันด้วยความสามัคคี ได้ทรงสนทนาและตรัสถามถึงญาณทัสสนะของพระเถระทั้ง 3 รูป ที่ได้ทูลว่า สามารถจำแสงสว่างและเห็นรูปได้แต่ไม่นาน จึงตรัสเล่าเหตุการณ์การปฏิบัติของพระองค์ก่อนการตรัสรู้ ซึ่งทรงพบอุปสรรคเช่นนั้นเหมือนกัน แต่ทรงพิจารณาจนเห็นอุปกิเลส 11 ประการ ที่เป็นเหตุให้เป็นเช่นนั้น และเมื่อทรงละอุปกิเลสได้ จึงทรงเจริญสมาธิ 3 ประการได้ ญาณทัสสนะจึงเกิดขึ้นแก่พระองค์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สูตร2 #วัตถูปมสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ เชตวัน ซึ่งมีสุนทริกภารทวาชปริพาชกนั่งฟังอยู่ด้วย และทรงทราบว่าปริพาชกนี้เชื่อถือลัทธินหานสุทธิ คือเชื่อว่าความบริสุทธิ์มีได้เพราะการอาบน้ำลอยบาป จึงทรงแสดงธรรมให้เป็นไปตามอัธยาศัยของปริพาชกนี้ จึงทรงตรัสสอนปริพาชกนี้ว่า คนที่ทำกรรมชั่วไว้แล้ว ถึงจะไปอาบน้ำที่ไหนก็หาทำให้เกิดความสะอาดบริสุทธิ์ขึ้นมาได้ไม่ แล้วตรัสสอนการอาบน้ำในศาสนาของพระองค์ เมื่อตรัสจบ สุนทริกภารทวาชปริพาชกประกาศตนเป็นพุทธมามกะ ทูลขอบรรพชาอุปสมบทและได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในกาลต่อมา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒[...]
- สูตร 1 #ภยเภรวสูตร ทรงแสดงแก่ชาณุสโสณิพราหมณ์ ณ พระเชตวัน ทรงปรารภคำถามของพราหมณ์ว่า การอยู่เสนาสนะอยู่ลำบาก ทำให้สงบได้ยาก การอยู่โดดเดี่ยวก็หาความรื่นรมย์ได้ยาก ป่าทั้งหลายมักจะชักนำจิตของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิให้เกิดความหวาดหวั่นได้ ทรงอธิบายเหตุสะดุ้งกลัวการอยู่ในเสนาสนะป่า 16 ประการของสมณพราหมณ์พวกอื่น เปรียบเทียบกับเหตุไม่สะดุ้งกลัวการอยู่ในเสนาสนะป่าของพระองค์ และพระอริยะทั้งหลายซึ่งมีนัยตรงข้ามกัน และทรงอธิบายว่าขณะที่ยังไม่ได้ตรัสรู้ ทรงเลือกการอยู่เสนาสนะป่า และเมื่อความขลาดกลัวเกิดขึ้นในขณะที่ทรงอยู่ในอิริยาบถใดก็ทรงพิจารณาความขลาดกลัวให้หมดไปในอิริยาบถนั้น จะไม่ทรงเปลี่ยนอิริยาบถจนกว่าจะทรงกำจัดได้ แล้วทรงบำเพ็ญเพียรต่อไปจนได้ฌาน 4 และวิชชา 3 แม้หลังจากตรัสรู้แล้ว ก็ยังทรงอยู่เสนาสนะป่าเป็นประจำ เพราะทรงเห็นอำนาจประโยชน์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน 2) เพื่อการอนุเคราะห์คนรุ่นหลังให้ถือปฏิบัติตาม เมื่อทรงอธิบายจบลง ชาณุสโสณิพราหมณ์เกิดความเลื่อมใส ประกาศตนเป็นอุบาสก สูตร 2 #ชาณุสโสณิสูตร (อังคุตรนิกาย # 20) พราหมณ์เข้าเฝ้าและได้สนทนากันเรื่องวิชชา 3 ของพวกพราหมณ์ ทรงตรัสว่าผู้ได้วิชชา 3 ของพวกพราหมณ์เป็นอย่างหนึ่ง ผู้ได้วิชชา 3 ในอริยวินัยนี้เป็นอย่างหนึ่ง แล้วทรงแสดงในรายละเอียด สูตร 3[...]
- สูตร1 #คาวีอุปมาสูตร อุปมาด้วยแม่โค ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ทรงเปรียบเทียบภิกษุผู้โง่เขลากับแม่โคที่โง่เขลาและภิกษุผู้ฉลาดกับแม่โคที่ฉลาดว่า ภิกษุผู้โง่เขลาที่ไม่สามารถบรรลุปฐมฌานได้ ก็จะบรรลุทุติยฌานไม่ได้ เหมือนแม่โคโง่เขลาที่ไม่สามารถหากินบนภูเขาขรุขระในถิ่นตนได้ ก็จะไปหากินในที่ต่างถิ่นไม่ได้ ส่วนภิกษุผู้ฉลาดที่สามารถบรรลุปฐมฌานได้ ก็สามารถบรรลุณานขั้นสูงขึ้นไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธได้ เหมือนแม่โคฉลาดที่สามารถหากินบนภูเขาขรุขระในถิ่นตนได้ ก็สามารถไปหากินในที่ต่างถิ่นได้ องค์ธรรมในสูตรนี้ คือ อนุปุพพวิหาร 9 ประการ นอกจากนี้ยังทรงแสดงธรรมอื่น คือ อิทธิวิธญาณ ทิพพโสตะ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ไว้โดยละเอียด สูตร2 #ตปุสสสูตร ว่าด้วยตปุสสคหบดี ท่านพระอานนท์พาตปุสสคหบดีไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากราบทูลเรื่องที่คหบดีนั้นเล่าให้ฟังว่า พวกเขาเป็นคฤหัสถ์มีความยินดีรื่นรมย์บันเทิงในกาม เนกขัมมะ (การออกบวช) ปรากฎแก่พวกเขาเหมือนเหวใหญ่ จิตของภิกษุหนุ่มๆ ยินดีในเนกขัมมะ เมื่อพิจารณาเห็นว่าเนกขัมมะเป็นธรรมสงบ ภิกษุมีธรรมที่ต่างกับคฤหัสถ์ คือ เนกขัมมะ พระองค์ตรัสว่าข้อนั้นเป็นความจริง แม้พระองค์เองก่อนตรัสรู้ก็มีความดำริว่า เนกขัมมะเป็นความดี ความสุขเป็นความดี แต่จิตของพระองค์ก็ไม่น้อมไปในเนกขัมมะ เมื่อพิจารณาเห็นว่าเนกขัมมะเป็นธรรมสงบ จึงดำริว่า อะไรเป็นเหตุให้เป็นเช่นนั้น รู้ว่า เพราะยังไม่เห็นโทษในกาม และยังไม่ได้รับอานิสงส์ในเนกขัมมะ ถ้าได้เห็นโทษในกาม และได้รับอานิสงส์ในเนกขัมมะ[...]
- สูตร1 # อานาปานัสสติสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ซึ่งประกอบด้วยภิกษุผู้บวชใหม่ และพระเถระผู้มีชื่อเสียงหลายรูป พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ปราสาทของนางวิสาขาในบุพพาราม ในวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำ คืนดวงจันทร์เต็มดวง ในวันปวารณา พระผู้มีพระภาคทรงประทับนั่ง ณ ที่กลางแจ้ง มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ทรงตรวจดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่ และตรัสว่า ในหมู่ภิกษุนี้ มีภิกษุที่เป็นพระอริยเจ้า และภิกษุผู้ทำความเพียรในการเจริญหลักธรรมต่างๆอยู่ ได้ทรงแสดงหลักการเจริญ หลักธรรม 3 หมวด ที่เมื่อทำให้มากแล้ว มีผลมาก และมีอานิสงส์มาก คือ อานาปานสติ 16 ขั้น สติปัฏฐาน 4 และโพชฌงค์ 7 ตามลำดับ โดยที่สุดแล้วจึงทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สูตร2 # อานาปานสังยุต พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกับภิกษุเรื่องธรรมอันเป็นเอก ซึ่งคืออานาปานสติ หากทำให้มากแล้ว[...]
- สูตร1 # กายคตาสติสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ทรงปรารภคำกราบทูลของภิกษุ ผู้กำลังนั่งสนทนาเรื่องกายคตาสติที่ทรงตรัสไว้ว่า เมื่อภิกษุเจริญให้มากแล้ว จะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ได้ทรงอธิบายวิธีเจริญกายคตาสติให้ฟังโดยละเอียด ซึ่งมีทั้งหมด 18 วิธี และทรงแสดงอานิสงส์ของการเจริญไว้ 10 ประการ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สูตร2 # อานาปานสังยุต พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกับภิกษุเรื่องธรรมอันเป็นเอก ซึ่งคือการเจริญอานาปานสติ หากทำให้มากแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ได้ทรงแสดงถึงผลานิสงส์การเจริญอานาปานสติ และได้ตรัสถึงการเจริญอานาปานสติโดยเปรียบเหมือนมีกองดินใหญ่อยู่ที่หนทางใหญ่ 4 แพร่ง ถ้าเกวียนหรือรถผ่านมาในทิศใดย่อมกระทบกองดินนั้น ภิกษุก็เช่นกัน ดังนั้นจึงทรงให้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ เห็นจิตในจิตอยู่ และเห็นธรรมในธรรมอยู่ ย่อมจะกำจัดอกุศลธรรมอันลามกนั้นเสียได้ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
- โสณทัณฑสูตร ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโสณทัณฑะ ที่ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้สนทนาถึงคุณสมบัติของพราหมณ์ที่เชื่อกันว่ามี 5 ประการ แต่เมื่อตัดคุณสมบัติบางอย่างออกไปก็ยังพอจะเรียกว่าพราหมณ์ได้ แต่คุณสมบัติสองประการที่มิอาจตัดได้ นั่นคือ ศีลและปัญญา เพราะสองสิ่งนี้ช่วยชำระกันและกัน ต่อมาพระพุทธเจ้าได้ขยายความถึงคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นพราหมณ์ในธรรมวินัยนี้ คือ การที่ได้มาซึ่งศีล สมาธิ และปัญญา ตามลำดับ พราหมณ์ผู้ยิ่งใหญ่ยอมรับ และได้เข้าถึงความเป็นอุบาสก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
- สูตร#1 อัฏฐกนาครสูตร พระอานนท์แสดงธรรมโปรดทสมคฤหบดี ชาวเมืองอัฏฐกะ ณ เวฬุวคาม เขตกรุงเวสาลี โดยปรารภคำถามของทสมคฤหบดีที่ว่า "ธรรมอันเป็นเอก ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป ฯลฯ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว มีอยู่หรือไม่ เป็นอย่างไร?" พระอานนท์อธิบายถึงธรรมต่อไปนี้ คือ รูปฌาน 4 อัปปมัญญา 4 อรูปฌาน 3 และการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงและดับไปของธรรมนั้น ซึ่งเมื่อแสดงธรรมจบ ทสมคฤหบดีได้ชื่นชมยินดี กล่าวว่า ตนแสวงหาประตูอมตธรรมประตูเดียว แต่ได้พบถึง 11 ประตู โดยการฟังเท่านั้น เปรียบเหมือนคนแสวงหาแหล่งขุมทรัพย์แห่งเดียว แต่ได้พบแหล่งขุมทรัพย์ถึง 11 ขุม ทสมคฤหบดีทำการบูชาพระอานนท์ โดยได้ถวายอาหารอันประณีตด้วยมือของตนแก่เหล่าภิกษุสงฆ์ ได้ถวายผ้าไตรจีวรและสร้างวิหาร 500 หลังถวายแก่พระอานนท์ พระไตรปิฎกเล่มที่ 13 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 5 [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ สูตร#2 สาเลยยกสูตร ณ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อสาลา เหล่าพราหมณ์และคหบดีทั้งหลายได้ยินกิตติศัพท์ของพระพุทธเจ้า จึงพากันไปเข้าเฝ้าฯ[...]
- สูตร1 # อนุปุพพวิหารสูตร ว่าด้วยอนุปุพพวิหารสูตร คำว่า “อนุปุพพวิหารธรรม” หมายถึง ธรรมเครื่องอยู่ที่ต้องเข้าสมาบัติตามลำดับมี 9 ประการ คือ รูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4 และ สัญญาเวทยิตนิโรธ พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่า “กามทั้งหลายย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับกามทั้งหลายได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว” สูตร2 # อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร ว่าด้วยอนุปุพพวิหารสมาบัติมี 9 ประการ คือ รูปฌาน4 และอรูปฌาน 4 และ สัญญาเวทยิตนิโรธ โดยทรงแสดงธรรมถึงการดับของอนุปุพพวิหารสมาบัติ ตามลำดับ โดยทรงกล่าวยกย่องว่าบุคคลผู้เข้าถึงอนุปุพพวิหารสมาบัติทั้ง 9 ประการ ว่าเป็นผู้ที่ควรแสดงความอ่อนน้อมด้วยการกราบไหว้ เข้าไปนั่งใกล้ สูตร3 # นิพพานสูตร ว่าด้วยนิพพานเป็นสุข ซึ่งเป็นคำที่ท่านพระสารีบุตรกล่าวกับภิกษุทั้งหลาย ณ พระวิหารเวฬุวัน แต่ท่านพระอุทายีแย้งว่า “นิพพานไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร” ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “นิพพานไม่มีเวทนานั่นแหละเป็นสุข” แล้วได้แสดงกามคุณ 5[...]
- สูตร1 # จูฬธัมมสมาทานสูตร [468] ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน เพื่อให้ภิกษุทั้งหลายทราบว่าการสมาทานธรรมมี 4 ประการ หมายถึงการนำธรรมมาปฏิบัติ ซึ่งทรงอธิบายการสมาทานธรรม 4 ประการ โดยละเอียด และยกอุปมาโวหารประกอบ ทรงถือเอาความทุกข์และความสุขในขณะปฏิบัติ กับความทุกข์และความสุขที่เป็นผลแห่งการปฏิบัติเป็นหลักเกณฑ์ ที่สูงสุดคือความสุขในสุคติโลกสวรรค์ สูตร2 # มหาธัมมสมาทานสูตร [473] ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ตรัสไว้ว่าคนส่วนมากต้องการให้สิ่งที่ไม่พึงประสงค์เสื่อมสิ้นไป ต้องการให้สิ่งที่พึงประสงค์เจริญพอกพูน ทั้งที่หวังไว้อย่างนั้นแต่กลับไม่สมหวัง สิ่งที่ไม่ต้องการกลับเจริญพอกพูน สิ่งที่ต้องการกลับไม่มี ได้ทรงอธิบายโดยยกการสมาทานธรรม 4 ประการ ดังที่แสดงไว้ในจูฬธัมมสมาทานสูตร แต่ทรงแยกอธิบาย คือบุคคลผู้ไม่รู้จักการสมาทานธรรมตามความเป็นจริง ชื่อว่าตกอยู่ในอวิชชา ทำให้ไม่รู้ว่าสิ่งไหนควรเสพ สิ่งไหนไม่ควรเสพ ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา เป็นต้น เจริญขึ้น ธรรมที่น่าปรารถนา เป็นต้น เสื่อมไป แต่ถ้ารู้การสมาทานธรรมตามเป็นจริง ชื่อว่ามีวิชชา ก็จะเป็นเหตุให้รู้ว่าสิ่งไหนควรเสพ สิ่งไหนไม่ควรเสพ ทำให้ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา เป็นต้น เสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา เป็นต้น[...]
- สูตร1 # จูฬสุญญตสูตร สมัยที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ได้ทรงตรัสตอบคำถามของพระอานนท์ที่ทูลถามเรื่อง การทำจิตในใจให้ถึงความว่างเปล่า (สุญญตวิหารธรรม) ของพระผู้มีพระภาค ได้ทรงอธิบายและแสดงรายละเอียดในวิธีปฏิบัติสุญญตาวิหารธรรมไว้ 7 ขั้น จากต่ำไปสูง และทรงสรุปว่า ในอดีต อนาคต และปัจจุบัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเข้าสุญญตาผลสมาบัติก็จะเข้าสุญญตาอันบริสุทธิ์ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้น สูตร2 # มหาสุญญตสูตร สมัยที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงแสดงแก่ท่านพระอานนท์และภิกษุทั้งหลาย ทรงปรารภการอยู่คลุกคลีกันด้วยหมู่คณะของภิกษุหลายรูปในที่นั้น ซึ่งเป็นช่วงจีวรกาล ที่ภิกษุมาร่วมกันทำจีวร ทรงทอดพระเนตรเห็นเสนาสนะจำนวนมาก ทรงตำหนิว่าการที่ภิกษุพอใจในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะไม่ดีเลย ภิกษุผู้หลีกออกจากหมู่คณะไปอยู่ผู้เดียวเท่านั้น จึงจะได้รับความสุขจากความสงัด ความสงบ การตรัสรู้ และจะบรรลุเจโตวิมุตติได้ และพระองค์ก็อยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรมนั้น ได้ทรงอธิบายเหตุผลโดยละเอียด วิธีฝึก และวิธีอยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรม ซึ่งการมีสัมปชัญญะ และน้อมจิตไปในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นขั้นตอนแรกในการทำจิตให้ถึงความว่างได้ และทรงเน้นเรื่องการปฏิบัติกับพระองค์เหมือนกับมิตร อย่าปฏิบัติกับพระองค์เหมือนศัตรู
- สูตร1 # อุโปสถสูตร (การรักษาศีล 8) สมัยหนึ่ง นางวิสาขาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตาในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ได้รับสั่งทักนางวิสาขา ซึ่งได้ทูลตอบว่าจะรักษาอุโบสถ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า อุโบสถ 3 ประเภท ได้แก่ 1) โคปาลอุโบสถ (อุโบสถเยี่ยงคนเลี้ยงโค) เป็นการรักษาศีลไม่จริง 2) นิคัณฐอุโบสถ (อุโบสถเยี่ยงนิครนถ์) เป็นการกระทำอย่างพวกนักบวชนอกศาสนาที่เรียกว่านิครนถ์ ชักชวนสาวกให้ต้อนตีสัตว์ไปในทิศทางต่าง ๆ บ้างก็ชักชวนกันให้เมตตาสัตว์บางชนิด บ้างก็ให้ทารุณกับสัตว์บางชนิด บ้างก็ชักชวนให้สลัดผ้านุ่งห่มทุกชิ้นในวันอุโบสถ และ 3) อริยอุโบสถ (อุโบสถเยี่ยงอริยะ) เป็นการสมาทานรักษาอุโบสถของผู้ปรารภความเพียรคือ ทำจิตที่เศร้าหมองนั้นให้ ผ่องแผ้ว โดยระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เมื่อระลึกอย่างนี้จิตย่อมผ่องใส เกิดปีติปราโมทย์ ละกิเลสเครื่อง เศร้าหมองของจิต แล้วตรัสต่อไปว่า อริยอุโบสถนี้ที่บุคคลสมาทานรักษาแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแผ่ไพศาลมาก เปรียบเหมือน พระราชาเสวยราชสมบัติ และอธิปไตยในชนบทใหญ่ ๆ ทั้ง 16 แคว้น สมบูรณ์ด้วยรัตนะทั้ง 7[...]
- 4 คลังพระสูตรโลหิจจพราหมณ์ผู้มีทิฎฐิ คือ มีความเห็นผิดที่ไม่เห็นถูกต้อง หลังจากได้ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงการจำแนก แยกแยะประเภทของศาสดาที่ควรถูกทักท้วง 3 ประเภท และศาสดาที่ไม่สมควรถูกทักท้วง โดยได้ทรงแสดงให้เห็นว่าศาสดาที่สาวกได้บรรลุคุณธรรมอันวิเศษยอดเยี่ยมเป็นที่ประจักษ์นั้นไม่สมควรถูกทักท้วง ได้ทรงอธิบายการบรรลุคุณธรรมอันวิเศษต้องเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล การสำรวมอินทรีย์ ฌาณ และวิชชา(ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ) 8 ประการ ประกอบด้วย วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิญาณ อิทธิวิธญาณ ทิพยโสตญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพพจักขุญาณ และอาสวักขยญาณ เมื่อทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบแล้วโลหิจจพราหมณ์กราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
- 4 คลังพระสูตรสูตร 1 # โลหิจจสูตร สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ 500 รูป เสด็จถึงหมู่บ้านสาลวติกา ซึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทานให้โลหิจจพราหมณ์ครอบครอง โลหิจจพราหมณ์มีความเห็นผิดเกิดขึ้นว่า สมณะหรือพราหมณ์ผู้บรรลุกุศลธรรมแล้วไม่ควรสอนคนอื่น เพราะคนอื่นจะทำอะไรแก่อีกคนหนึ่งได้ การบอกแก่คนอื่น จัดว่าเป็นความโลภ ( ความอยากได้ ) เป็นบาป เปรียบเหมือนคนตัดเครื่องจองจำเก่าออกแล้ว กลับทำเครื่องจองจำใหม่ให้แก่ตัวเองอีก โลหิจจพราหมณ์ได้ข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึงตำบลบ้านชื่อสาลวติกา จึงใช้ช่างกัลบก ชื่อโรสิกะ ให้ไปกราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ให้มารับภัตตาหารในวันรุ่งขึ้นเมื่อเสด็จไปฉันเสร็จแล้ว ได้ทรงโต้ตอบกับโลหิจจพราหมณ์ถึงเรื่องความเห็นผิดนั้น ทรงเปรียบเทียบให้เห็นว่า โลหิจจพราหมณ์ซึ่งครอบครองตำบลบ้านสาลวติกาก็ตาม พระเจ้าปเสนทิโกศล ซึ่งทรงครอบครองแคว้นโกศลก็ตาม ถ้าบริโภคผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในดินแดนที่ปกครองแต่ผู้เดียว ไม่ยอมแบ่งปันให้ผู้อื่นอย่างนี้ จะเชื่อว่าทำอันตรายแก่ผู้ที่เป็นข้าทาสบริวาร ซึ่งโลหิจจพราหมณ์ยอมรับว่าเป็นการทำอันตรายแก่คนเหล่านั้น ทรงเปรียบเทียบว่า การกล่าวว่าผู้ครอบครองบริโภคผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นแต่ผู้เดียวไม่แบ่งปันแก่ใครเลย ก็เช่นเดียวกันการกล่าวว่า ผู้บรรลุกุศลธรรมไม่ควรบอกแก่ใคร ๆ ซึ่งเป็นการทำอันตรายเป็นการตั้งจิตเป็นศัตรูต่อผู้ที่ควรจะได้รับ และเป็นการมีความเห็นผิด แล้วทรงแสดงถึงศาสดาที่ควรถูกทักท้วง 3 ประเภท และศาสดาที่ไม่ควรถูกทักท้วง โลหิจจพราหมณ์กราทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต สูตร 2 # จุลศีล ได้ทรงแสดงภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล[...]
- สูตร1# ภิกษุชาวเมืองโกสัมพี (โกสัมพิยสูตร) สมัยที่พระผู้มีพระภาคประทับ ณ โฆสิตาราม ใกล้กรุงโกสัมพี ครั้งนั้นภิกษุในกรุงโกสัมพีทะเลาะวิวาทกัน บาดหมางกัน ทรงตรัสเรียกเหล่าภิกษุที่บาดหมาง และทะเลาะวิวาทกันมาเข้าเฝ้า โดยทรงแสดงสาราณิยธรรม ซึ่งเป็นธรรมให้ระลึกถึงกันมี 6 ประการ คือทำให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และได้ทรงตรัสถึงทิฏฐิอันประเสริฐ เพื่อความสิ้นทุกข์ โดยทรงอธิบายตั้งแต่ฌานที่ 1 ถึงญาณที่ 7 อันเป็นโลกกุตตระ ( ข้ามโลก )ไม่ทั่วไปแก่ปุถุชนทั้งหลาย ซึ่งทำให้ผู้ประกอบด้วยธรรม 7 ประการ เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยโสดาปัตติผล สูตร2# เหตุการณ์ในหมู่บ้านสามคาม (สามคามสูตร) สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หมู่บ้านสามคาม แคว้นสักกะ ครั้งนั้นนิครนถ์ นาฏบุตรได้ถึงแก่กรรมไม่นาน ได้เกิดการแตกกันของลัทธินิครณฐ์ เป็น 2 พวก เนื่องจากธรรมวินัยของเจ้าลัทธิที่ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่พึ่งอาศัย เป็นธรรมวินัยที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ และสาวกก็ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พระจุนทะเข้าไปหาพระอานนท์เล่าความให้ฟัง[...]
- สูตร1# เหตุสำเร็จความปรารถนา(สังขารูปปัตติสูตร) สมัยที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ทรงแสดงธรรมแก่พระภิกษุ เรื่องเหตุสำเร็จความปรารถนา(สังขารูปปัตติ) ว่าธรรม 5 ประการ ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ซึ่งเมื่อตั้งจิต อธิษฐานจิต เจริญจิต และเมื่อทำให้มากแล้ว จะเกิดในฐานะนั้น ๆ ได้ตามปรารถนา ตั้งแต่ความเป็นกษัตริย์มหาศาล คหบดีมหาศาล พราหมณ์มหาศาล จนถึงเทพ, พรหม ทั้งรูปพรหมและอรูปพรหม และในที่สุดถึงซึ่งอาสวะ(ไม่เกิดในภพไหนๆอีก) สูตร2# การจำแนกผู้ควรรับทาน (ทักขิณาวิภังคสูตร) สมัยที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม เขตนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พระนางมหาปชาบดีโคตมี นำคู่ผ้าใหม่ซึ่งทรงกรอด้ายเองไปถวายพระผู้มีพระภาค ขอให้ทรงรับเป็นการอนุเคราะห์ พระผู้มีพระภาคตรัสแนะให้ถวายในหมู่สงฆ์ ซึ่งเป็นการบูชาทั้งพระองค์และพระสงฆ์ แม้ว่าพระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงยืนยันขอถวายพระผู้มีพระภาคตามเดิมเป็นครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 แต่พระผู้มีพระภาคก็ทรงแนะนำตามเดิมแม้ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 พระอานนท์ได้กราบทูลให้พระผู้มีพระภาคทรงรับ โดยอ้างอุปการะคุณ ซึ่งพระนางมหาปชาบดีโคตมีเคยมีต่อพระผู้มีพระภาคในการที่ทรงเลี้ยงดู[...]
- ปาสาทิกสูตร#2 ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทในอัมพวันของพวกเจ้าศากยะนามว่า เวธัญญา แคว้นสักกะ พระอานนท์ได้นำพระจุนทะ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับและได้กราบทูลเรื่องการถึงแก่กรรมของนิครณฐ์นาฏบุตร (เจ้าลัทธิ) ภายหลังการถึงแก่กรรมไม่นาน เกิดการแตกกันของลัทธินิครณฐ์ เป็น 2 พวก ทำให้ธรรมวินัยของเจ้าลัทธิที่ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนำ ผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่พึ่งอาศัย พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่าธรรมวินัยของนิครนฐ์ ที่กล่าวไว้ไม่ดี ไม่นำพาให้พ้นทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมวินัยที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ และสาวกก็ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมทรงตรัสว่าองค์ประกอบที่สำคัญของศาสนา คือ ศาสดา หลักธรรม และสาวก มีส่วนสำคัญทำให้ศาสนามีความบริบูรณ์ครบถ้วน ได้รับคำสรรเสริญ และทรงกล่าวถึงพระธรรมคำสั่งสอนที่ทรงแสดงได้ควรต้องมีการตรวจสอบและสังคยา เพื่อความดำรงอยู่ได้นาน เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลกเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย รวมทั้งทรงตรัสสอนหลักการตอบคำถามที่ถูกต้องหากมีผู้ไม่เข้าใจ ไม่เห็นด้วย เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอุปวาณะมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
- ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทในอัมพวันของพวกเจ้าศากยะนามว่า เวธัญญา แคว้นสักกะ พระอานนท์ได้นำพระจุนทะ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ และได้กราบทูลเรื่องการถึงแก่กรรมของนิครณฐ์นาฏบุตร (เจ้าลัทธิ) ภายหลังการถึงแก่กรรมไม่นาน เกิดการแตกกันของลัทธินิครณฐ์ เป็น 2 พวก ทำให้ธรรมวินัยของเจ้าลัทธิที่ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่พึ่งอาศัย พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่าธรรมวินัยของนิครนฐ์ ที่กล่าวไว้ไม่ดี ไม่นำพาให้พ้นทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมวินัยที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ และสาวกก็ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ทรงตรัสว่าองค์ประกอบที่สำคัญของศาสนา คือ ศาสดา หลักธรรม และสาวก มีส่วนสำคัญทำให้ศาสนามีความบริบูรณ์ครบถ้วน ได้รับคำสรรเสริญ และทรงกล่าวถึงพระธรรมคำสั่งสอนที่ทรงแสดงได้ควรต้องมีการตรวจสอบและสังคยนา เพื่อความดำรงอยู่ได้นาน เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลกเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
- อัสสลายนสูตร ว่าด้วยการโต้วาทะระหว่างพระพุทธเจ้ากับอัสสลายนมาณพ ในเรื่องทิฎฐิความเชื่อของเหล่าพราหมณ์ทั้งหลายที่ว่า 1) พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐ วรรณะอื่นเลว 2) พราหมณ์เท่านั้น เป็นวรรณะขาว วรรณะอื่นดำ 3)พราหมณ์เท่านั้นย่อมบริสุทธิ์ คนที่มิใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ และ 4) พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตรพรหม เป็นโอรสพรหม เกิดแต่ปากของพรหม เกิดแต่พรหม อันพรหมนิรมิต เป็นทายาทของพรหม พระพุทธเจ้าทรงโต้กลับอัสสลายนมาณพ โดยยกถึง 1) การเกิดจากช่องคลอดเหมือนกัน 2) การสลับกลับไปมาระหว่างวรรณะเจ้าและทาส 3) แม้กษัตริย์..พราหมณ์..แพศย์..ศูทร..วรรณะ 4 ผู้มีปกติฆ่าสัตว์…มีความเห็นผิด เมื่อตายไป ก็พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ทั้งหมด 4) แม้กษัตริย์..พราหมณ์..แพศย์..ศูทร..วรรณะ 4 ผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์…มีความเห็นชอบ เมื่อตายไป ก็พึงเข้าถึง สุคติ โลกสวรรค์ทั้งหมด 5) แม้กษัตริย์..พราหมณ์..แพศย์..ศูทร..วรรณะ 4 ก็สามารถเจริญเมตตาจิต อันไม่มีเวรไม่มีความ เบียดเบียนได้ทั้งหมด 6) เปรียบเทียบมาณพสองคน ที่เป็นพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน คนหนึ่งเป็นคนศึกษาเล่าเรียน แต่เป็นคนทุศีล[...]
- สูตร1# จูฬปุณณมสูตร พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมาตา ในบุพพาราม กรุงสาวัตถี ประทับนั่ง ณ ที่แจ้ง ในคืนพระจันทร์เต็มดวงขึ้น 15 ค่ำ มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ทรงตรัสสอนภิกษุเรื่อง อสัตบุรุษ (คนชั่ว) และ สัตบุรุษ (คนดี) สูตร2# สัปปุริสสูตร พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี รับสั่งเรียกภิกษุเพื่อแสดงธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ สูตร3 #วาจาของสัตบุรษ อสัตบุรุษ และหญิงสะใภ้ใหม่ ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุว่าด้วยธรรม 4 ประการของคนดี ให้พึงรักษาความละอายใจและความกลัว เหมือนหญิงที่ออกเรือนใหม่ เข้าสู่ตระกูลสามี สูตร4 # ธัมมัญญสูตร ผู้รู้ธรรม หากรู้จักธรรม (ธัมมัญญู) 7 ประการ นี้ได้รับการสรรเสริญจากพระผู้มีพระภาคว่าเป็นผู้ควรได้รับการยกย่อง ควรเคารพ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
- พระผู้มีพระภาค ครั้นประทับอยู่ในนิคมเทวทหะ แคว้นสักกายะ ได้แสดงธรรมกับภิกษุว่า มีสมณพราหมณ์บางพวกมีความเห็นทุกข์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะกรรมในชาติก่อน จะหมดทุกข์ได้ต้องบำเพ็ญเพียรอย่างหนัก ตรัสว่าการเชื่ออย่างนั้นเป็นความเชื่ออย่างหลงงมงาย เพราะพิสูจน์ไม่ได้ ทรงแสดงวิธีที่ความพยายาม ความเพียรจะมีผล คือ ไม่ปล่อยตัวให้ทุกข์ครอบงำไม่สละสุขที่ถูกธรรม ไม่ติดอยู่ในสุขนั้น มีปัญญารู้เห็นตามเป็นจริง ก็จะคลายความกำหนัดยินดีเสียได้ ความทุกข์ก็จะหมดไปได้ ความพยายาม ความเพียร จึงชื่อว่ามีผล ทรงแสดงในที่สุดว่า พระคถาคตได้เสวยสุขเวทนาอันไม่มีอาสวะ (ตรงกันข้ามกับนิครนถ์ที่เสวยทุกขเวทนาอันหนัก) จึงได้รับการสรรเสริญ (ตรงกันข้ามกับการพวกสมณพราหมณ์ถูกติเตียน)
- สูตร#1 จูฬสาโรปมสูตร ทรงแสดงแก่พราหมณ์ชื่อปิงคลโกจฉะ ขณะประทับอยู่ ณ พระเชตวัน พราหมณ์ได้กราบทูลถามเรื่องสมณพราหมณ์ที่มีชื่อเสียงว่า ท่านเหล่านั้นรู้ยิ่งตามปฏิญญาของตนหรือไม่ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงตอบ ทรงตรัสแสดงธรรม อุปมานักบวชกับผู้แสวงหาแก่นไม้ เมื่อทรงแสดงธรรมจบ ปิงคลโกจฉพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต สูตร#2 จูฬโคสิงคสาลสูตร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ ในคราวที่เสด็จไปเยี่ยมที่ป่าโคสิงคสาลวัน ท่านอยู่กันด้วยความสามัคคี มีเมตตาให้กันทั้งต่อหน้า และลับหลัง ทั้งทางกาย วาจา และใจ พยายามที่จะเก็บจิตของตนเองแล้วทำตามจิตของผู้อื่น จึงสามารถอยู่เป็นสุขได้ พระผู้มีพระภาคทรงยกย่องพระเถระทั้ง 3 รูป
- สูตร#1 นิวาปสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ทรงตรัสว่า พรานเนื้อที่ปลูกหญ้าไว้ในทุ่งหญ้ามิได้หวังให้ฝูงเนื้อมากินเพื่อจะได้อายุยืน ผิวพรรณดี มีชีวิตอยู่นานแต่ปลูกไว้เพื่อล่อจับเนื้อ ทรงอธิบายว่า มีเนื้ออยู่ 4 ฝูง ฝูงเนื้อที่ 1-3 เป็นเนื้อที่ถูกพรานเนื้อ และบริวารจับได้ ส่วนฝูงเนื้อที 4 พรานเนื้อ และบริวารจับไม่ได้ อุปมาอุปไมยเปรียบเทียบนักบวช 4 ประเภทกับเนื้อ 4 ฝูง ซึ่งนักบวชประเภทที่ 1-3 นั้น ถูกมารทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบ ส่วนนักบวชประเภทที่ 4 งดเว้นจากการบริโภคกามได้เด็ดขาด และไม่ยึดติดอยู่กับทิฏฐิใด ๆ จึงเป็นผู้ข้ามพ้นโลกามิสได้ จึงพ้นจากเงื้อมมือมาร และทรงตรัสแสดงข้อปฏิบัติ คือ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 และสัญญาเวทยิตนิโรธ ที่มาร และบริษัทของมารมองไม่เห็น ข้ามพ้นตัณหาได้ สูตร#2 เทวาสุรสังคามสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่าด้วยสงครามระหว่างเทวดากับอสูร ที่รบกันถึง 3[...]
- สูตร#1 อากังเขยสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ เชตวัน ทรงตรัสเรื่อง ให้สำรวมในปาฏิโมกข์ (ศีลที่เป็นประธาน) เพียบพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร คือ ความสำรวมระวังในศีลทั้งปวง และไม่เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาอาชีวะที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ รวมถึงการรู้จักไปในที่อันควร เห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย ต่อจากนั้นได้ทรงแสดงว่า ถ้าภิกษุพึงหวังประการใดใน 17 ข้อนี้ เริ่มตั้งแต่ความหวังให้เป็นที่รักเคารพของเพื่อนพรหมจารีขึ้นไปจนถึงความหวังขั้นสูงสุด คือ การทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ คือ เป็นพระอรหันต์ ก็จงทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบความสงบจิตในภายใน หมั่นเจริญฌานประกอบด้วยวิปัสสนา และเพิ่มพูนเรือนว่าง (การเรียนกัมมัฏฐาน คือ สมถะ และวิปัสสนา) ข้อปฏิบัติที่แสดงในที่นี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา สูตร#2 สังขารูปปัตติสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ เชตวัน ทรงตรัสว่า การที่ภิกษุประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ซึ่งเมื่อเจริญและทำให้มากแล้ว เมื่อปราถนาจะไปเกิดในสิ่งที่ดี ๆ อย่างไร ให้ตั้งจิต[...]
- สูตร#1 พหุธาตุกสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ทรงตรัสว่า ภัย อุปัททวะ และอุปสรรคล้วนเกิดจากคนพาลมิใช่เกิดจากบัณฑิต เหมือนไฟที่ลุกไหม้จากเรือนไม้อ้อ ไหม้เรือนยอดที่มีประตูหน้าต่างปิดสนิทได้ฉะนั้น ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า ด้วยเหตุเท่าไร จึงสมควรเรียกว่าภิกษุผู้เป็นบัณฑิต ตรัสตอบว่า เพราะเป็นผู้ฉลาดในธาตุ เป็นผู้ฉลาดในอายตนะ เป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท และเป็นผู้ฉลาดในฐานะ อฐานะ จากนั้นทรงจำแนกธรรมเหล่านี้โดยละเอียด สูตร#2 สฬายตนวิภังคสูตร ว่าด้วยการจำแนกอายตนะ 6 ประการ ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะประทับอยู่พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี โดยมีพระประสงค์ให้ ภิกษุได้ศึกษาเรื่องอายตนะโดยละเอียดลึกซึ้ง ทรงตรัสอธิบาย เรื่อง อายตนะภายใน 6, อายตนะภายนอก 6, หมวดวิญญาณ 6, หมวดผัสสะ 6, มโนปวิจาร 18, สัตตบท 36 และสติปัฏฐาน 3
- สูตร#1 พรหมายุสูตร สมัยหนึ่งทรงเสด็จจาริกไปในแคว้นวิเทหะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ พราหมณ์ชื่อพรหมายุอาศัยอยู่ในกรุงมิถิลา เป็นคนชราอายุ 120 ปี เป็นพราหมณ์ผู้ใหญ่ เชี่ยวชาญไตรเวท รู้จักศาสตร์ ว่าด้วยคดีโลก และมหาปุริสลักษณะ ได้ยินกิตติศัพท์เกี่ยวกับพระผู้มีพระภาค จึงใช้อุตตรมาณพ (ผู้เป็นศิษย์) ให้ไปติดตามดูมหาปุริสลักษณะ และดูความเป็นไปของพระผู้มีพระภาคทุกอริยาบทตลอดเวลา 7 เดือน แล้วไปแจ้งให้พรหมายุพราหมณ์ทราบ พรหมายุพราหมณ์จึงได้เดินทางไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงป่ามะม่วงของพระเจ้ามฆเทพ เมื่อไปถึงได้ใช้อุตตรมาณพเข้าไปกราบทูลก่อน ด้วยถือว่าเป็นมารยาทที่จะเข้าไปเฝ้าต่อเมื่อได้รับอนุญาตหรือเชื้อเชิญ เมื่อมาณพไปเฝ้ากราบทูล และทรงเปิดโอกาสแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพิจารณาดูมหาปุริสลักษณะ ทรงเปิดโอกาสให้เห็นอย่างธรรมดา มี 2 ส่วนที่เห็นยาก คือ (1) พระคุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก (2) พระชิวหาใหญ่ พราหมณ์จึงขอดู ก็ทรงแสดงอิทธาภิสังขาร (แสดงโดยฤทธิ์) ให้เห็น เมื่อได้เห็นครบทั้งสามสิบสองประการแล้ว จึงทูลถามปัญหา เกี่ยวกับคุณธรรมของพราหมณ์ผู้รู้เวท ฯลฯ ทรงตอบ ทรงแสดงคุณธรรมเหล่านั้น พราหมณ์นั้นเกิดความเลื่อมใส จึงทรงแสดงอนุปุพพิกถา และเรื่องอริยสัจจ์ 4 พรหมายุพราหมณ์ได้บรรลุธรรมขั้นโสดาบัน จึงนิมนต์พระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ไปฉันในวันรุ่งขึ้น เมื่อเสด็จไปฉันแล้วพักอยู่ในแคว้นวิเทหะนั้นอีก 7[...]
- สูตร#1 อัจฉริยยัพภูตธัมมสูตร ทรงรับสั่งให้ท่านพระอานนท์แสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี หลังจากกลับจากบิณฑบาต และฉันภัตตาหารแล้ว ภิกษุจำนวนมาก นั่งสนทนากันที่หอประชุมว่า น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏที่พระผู้มีพระภาคทรงมีอานุภาพมาก ทรงสามารถระลึกถึงพระประวัติของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตได้แจ่มแจ้งทั้งหมด ท่านพระอานนท์ซึ่งร่วมอยู่ในที่ประชุมนั้น ก็ได้กล่าวเสริมว่า พระตถาคตทั้งหลายทรงเป็นผู้น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ และทรงประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ ครั้นสนทนาถึงตรงนี้ พระผู้มีพระภาคเสด็จมาสู่ที่ประชุมนั้น ตรัสถามว่า สนทนาเรื่องอะไร เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลให้ทรงทราบ จึงรับสั่งให้ท่านพระอานนท์อธิบายธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฎของพระองค์ให้ภิกษุเหล่านั้นฟัง เพื่อจดจำไว้ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลรายงานความน่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฎของพระองค์ 19 ประการที่ได้สดับรับฟังมาเฉพาะพระพักตร์ เมื่อกราบทูลจบ พระองค์ทรงเพิ่มประการที่ 20 ให้ รวมเป็นอัจฉริยัพภูตธรรม 20 ประการ และรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายจดจำไว้ สูตร#2 พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ตอน มหาปุริสลักษณะ 32 ประการ
- สูตร#1 ปัพพโตปมสูตร พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ตรัสถามถึงกิจที่พระราชาพึงขวนขวาย พระผู้มีพระภาคตรัสถามพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า เมื่อมหาภัยอันร้ายกาจที่ทำให้มนุษย์พินาศบังเกิดขึ้น อะไรที่พระองค์จะพึงทรงกระทำในภาวะแห่งมนุษย์ที่ได้แสนยาก พระเจ้าปเสนทิโกศลตอบว่า สิ่งที่ควรทำ คือ การประพฤติธรรม การประพฤติสม่ำเสมอ การสร้างกุศล การทำบุญ สูตร#2 ภยสูตร ว่าด้วยเรื่องภัยใหญ่ คือ ภัยที่ปุถุชนเรียกว่า อมาตาปุตติกภัย ได้แก่ ภัยจากไฟไหม้ใหญ่ ภัยจากน้ำท่วมใหญ่ และภัยจากโจรปล้นใหญ่ ซึ่งเป็นเหตุให้บุตรพลัดพรากจากมารดา แต่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภัยใหญ่ดังกล่าวยังเป็น สมาตาปุตติกภัย คือ ภัยที่ยังพอมีโอกาสให้บุตรพบกับมารดาได้บ้าง แต่ภัยใหญ่ต่อไปนี้ มารดา และบุตรไม่สามารถจะห้ามมิให้เกิดขึ้นแก่กันและกันได้เลย คือ ความแก่ ความเจ็บ และความตาย จึงตรัสเรียกว่า อมาตาปุตติกภัย หนทางที่จะให้ล่วงพ้นภัย 2 อย่างนี้ คือ อริยมรรคมีองค์ 8 สูตร#3 ฐานสูตร พระพุทธเจ้าตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่าด้วยฐานะที่ใคร ๆ ไม่พึงได้ มี 5 ประการ คือ[...]
- สูตร#1 ธาตุวิภังคสูตร ว่าด้วยการจำแนกธาตุ ทรงแสดงแก่ท่านปุกกุสาติผู้บวชอุทิศต่อพระองค์แต่ไม่เคยรู้จัก และไม่เคยเห็นพระองค์ เพื่อโปรดท่านให้เข้าถึงธรรม ขณะท่านพักอยู่ที่ศาลาของช่างหม้อชื่อ ภัคควะ เขตกรุงราชคฤห์ ทรงแสดงว่า บุรุษผู้มีธาตุ 6 มีผัสสายตนะ 6 มีมโนปวิจาร 18 มีอธิษฐานธรรม 4 บัณฑิตเรียกว่า มุนีผู้สงบ และทรงแสดงในรายละเอียด ผลจากการแสดงธรรมครั้งนี้ทำให้ท่านปุกกุสาติ ได้ทราบว่า ผู้ที่แสดงธรรมนั้น คือ พระพุทธเจ้าจึงกราบลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลขออภัยโทษที่เรียกพระองค์ด้วยวาทะว่า "ผู้มีอายุ" เมื่อพระองค์ทรงยกโทษให้ จึงขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา แต่ไม่มีบาตร และจีวร พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอุปสมบทให้ ท่านจึงไปเที่ยวแสวงหาบาตรและจีวร แต่ถูกแม่โคขวิดตายเสียก่อน เมื่อภิกษุทั้งหลายเข้าไปทูลถามถึงคติภพของท่าน พระองค์ตรัสว่าท่านปุกกุสาติเป็นพระอนาคามี ไปเกิดในพรหมโลกและจะนิพพานในโลกนั้น สูตร#2 ชาณุสโสณิพราหมณสูตร (สังยุตตนิกาย #19) ท่านพระอานนท์เห็นชาณุสโสณิพราหมณ์ขึ้นรถเทียมม้าขาว และตกแต่งส่วนต่างๆของรถด้วยสีขาว ออกจากกรุงสาวัตถี และมีคนชมว่ายานประเสริฐ จึงเข้าไปทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ในธรรมวินัยนี้สามารถบัญญัติยานอันประเสริฐได้หรือไม่ พระองค์ตรัสตอบว่า ได้ คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งเรียกว่า พรหมยานบ้าง[...]
- สูตร#1 โปตลิยสูตร ทรงแสดงแก่โปตลิยคหบดี ณ นิคมของชาวอังคุตตราปะชื่ออาปณะ แคว้นอังคุตตราปะ โดยทรงปรารภคำกล่าวของโปตลิยคหบดีเรื่องที่ได้ตัดขาดโวหารทุกอย่างแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามถึงการตัดขาดโวหารของเขา แล้วทรงแสดงธรรม 8 ประการที่เป็นไปเพื่อการตัดขาดโวหารในอริยวินัย ทรงอธิบายถึงโทษแห่งกาม (กามาทีนวกถา) 7 ประการ พร้อมทั้งการพิจารณาให้เห็นโทษแห่งกาม ซึ่งจะทำให้บรรลุฌาน 4 และวิชชา 3 เมื่อทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบลง โปตลิยคหบดีได้แสดงตนเป็นอุบาสกตลอดชีวิต สูตร#2 นิพเพธิกสูตร ว่าด้วยธรรมบรรยายที่เป็นเหตุชำแรกกิเลส คือ ทรงสอนให้ภิกษุทั้งหลายทราบสภาวธรรมต่าง ๆ รวม 6 ประการดังนี้ (1) กาม เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างกันแห่งกาม ความดับแห่งกาม ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกาม (2) เวทนา... (3) สัญญา... (4) อาสวะ... (5) กรรม... (6) ทุกข์... ทรงอธิบายขยายความแต่ละประการอย่างพิสดาร
- มาคัณฑิยสูตร ทรงแสดงแก่มาคัณฑิยปริพาชก ขณะประทับอยู่ที่โรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ในนิคมของชาวกุรุ ชื่อกัมมาสธัมมะ มาคัณฑิยปริพาชกเข้าไปขออาศัยโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร และเมื่อปริพาชกทราบว่าทรงประทับอยู่ก่อนแล้ว จึงกล่าวกับพราหมณ์ว่า การเห็นที่นอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอัปมงคล และกล่าวหาว่าพระองค์เป็นผู้ทำลายความเจริญ ทรงสดับการสนทนานั้นด้วยพระโสตธาตุอันเป็นทิพย์ จึงเสด็จกลับมายังโรงบูชาไฟ ทรงตรัสถามมาคัณฑิยปริพาชกเรื่องการสำรวมอินทรีย์ และทรงเล่าถึงเมื่อยังทรงเป็นคฤหัสถ์ เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ 5 ประการ ต่อมาทรงรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากกามทั้งหลาย ละตัณหาได้ บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ มีจิตสงบ เพราะได้รับสุขระดับสุขทิพย์ จากนั้นทรงยกอุปมาอุปไมยเปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนเป็นโรคเรื้อน เหมือนคนตาบอด ทรงตรัสว่า การที่มาคัณฑิยปริพาชกกล่าวว่า ร่างกายที่ไม่มีโรค เป็นความไม่มีโรค เป็นนิพพานนั้น เป็นการกล่าวโดยไม่มีจักษุอย่างที่พระอริยบุคคลมี มาคัณฑิยปริพาชกจึงกราบทูลให้ทรงแสดงธรรมเพื่อให้ตนไม่เป็นคนตาบอด ทรงตรัสแนะนำให้คบสัตบุรุษ ฟังธรรมจากท่านและปฏิบัติตาม เมื่อทรงแสดงธรรมจบ มาคัณฑิยปริพาชกจึงขออุปสมบท และต่อมาท่านพระมาคัณฑิยะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง
- สูตร#1 อปัณณกสูตร (พระสุตตันตปิฏก เล่มที่ 12 อังคุตตรนิกาย ข้อที่ 16) ว่าด้วยข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด 3 ประการ คือ การคุ้มครองทวารในอินทรีย์ 6 การรู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร และการประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ สูตร#2 อปัณณกสูตร (พระสุตตันตปิฏก เล่มที่ 12 อังคุตตรนิกาย ข้อที่ 119) ว่าด้วยข้อปฏิบัติที่ผิด และที่ไม่ผิด ได้แก่ วิบัติ 3 คือ สีลวิบัติ จิตตวิบัติ และทิฏฐิวิบัติ และสัมปทา 3 คือ สีลสัมปทา จิตตสัมปทา และทิฏฐิสัมปทา สูตร#3 อาเนญชสัปปายสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ นิคมของชาวกุรุ ชื่อกัมมาสธัมมะ โดยทรงปรารภกามทั้งหลาย ทั้งวัตถุกาม และกิเลสกามว่า จะเป็นอุปสรรคแก่การปฏิบัติธรรมของภิกษุเหล่านั้น จึงทรงสอนเรื่องปฏิปทาอันเป็นสัปปายะแก่สมาบัติทั้งหลาย มี อาเนญชสมาบัติเป็นต้น สูตร#4 อัคคิวัจฉะโคตรสูตร[...]
- สูตร#1 ทันตภูมิสูตร ทรงแสดงแก่สามเณรอจิรวตะ ขณะประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน เขตกรุงราชคฤห์ ทรงปรารภคำกราบทูลของสามเณรเรื่องที่ ชยเสนราชกุมาร (พระโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร) ไม่ทรงเชื่อว่าภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรอุทิศกายและใจอยู่ จะบรรลุเอกัคคตาจิต (สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว) ได้ พระผู้มีพระภาคตรัสกับสามเณรอจิรวตะว่า ชยเสนราชกุมารยังบริโภคกาม จักทรงรู้เห็นสภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียวได้อย่างไร เหมือนช้าง ม้า โค ที่ไม่ได้ฝึกก็ ไม่สำเร็จภูมิของสัตว์ที่ฝึกแล้ว เหมือนผู้ยืนอยู่ที่เชิงภูเขามองไม่เห็นสิ่งที่ผู้ยืนอยู่บนยอดภูเขามองเห็น แล้วทรงยกอุปมาขึ้นแสดง สูตร#2 ภูมิชสูตร ทรงแสดงแก่ท่านพระภูมิชะ ขณะประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน เขตกรุงราชคฤห์ โดยทรงปรารภคำกราบทูลของท่านพระภูมิชะ เรื่องวาทะของสมณพราหมณ์พวกหนึ่งที่ชยเสนราชกุมารนำมาตรัสถามท่าน ท่านพระภูมิชะกราบทูลว่า ราชกุมารมาตรัสถามท่านว่า พระผู้มีพระภาคทรงเห็นอย่างไรเกี่ยวกับวาทะของสมณพราหมณ์พวกหนึ่งที่ว่า บุคคลจะตั้งความหวัง ไม่ตั้งความหวัง ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวัง ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็จะไม่สามารถบรรลุผลอะไรได้เลย ท่านตอบราชกุมารไปว่า ท่านยังมิได้สดับรับฟังมาจากพระองค์โดยตรง แต่คิดว่าพระองค์คงจะตรัสตอบโดยใช้ “ความแยบคายและความไม่แยบคาย“ เป็นเครื่องตัดสิน ราชกุมารจึงตรัสว่า ถ้าพระองค์ตรัสตอบอย่างนั้น ก็จะทรงมีความรู้เหนือสมณพราหมณ์พวกอื่น พระผู้มีพระภาคตรัสรับรองว่า ท่านพระภูมิชะตอบถูกแล้ว[...]
- อปัณณกสูตร ทรงแสดงแก่พราหมณ์ และคหบดีชาวบ้านสาลา ทรงตรัสถามว่า มีศาสดาองค์ใดที่ท่านชอบใจ เป็นเหตุให้ได้ศรัทธาที่มีเหตุผลมีอยู่หรือไม่ ชาวบ้านสาลากราบทูลว่า ไม่มี จึงทรงแสดงอปัณณกธรรม เพื่อใช้เป็นหลักในการพิจารณาทิฏฐิ คือ ทรงยกทิฏฐิต่าง ๆ ขึ้นมาอธิบายเปรียบเทียบให้เห็นโทษและคุณอย่างชัดเจน แล้วทรงแนะนำวิธีปฏิบัติที่ไม่ผิด ซึ่งผู้ที่ปฏิบัติตามจะสามารถละอกุศลได้ และจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อจบเทศนา พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านสาลาได้แสดงตนเป็นอุบาสก ผู้ถึงไตรสรณะตลอดชีวิต
- สูตร#1 มหาลิสูตร ทรงแสดงแก่เจ้ามหาลิหรือเจ้าโอฏฐัทธลิจฉวี ขณะประทับอยู่ที่กูฎาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ในวันนั้น นอกจากคณะของเจ้ามหาลิแล้ว ยังมีคณะพราหมณทูตจากแคว้นโกศล และคณะพราหมณทูตจากแควันมคธมาเฝ้าด้วย เมื่อคณะพราหมณทูตทั้ง 2 คณะสนทนากับพระพุทธเจ้าเสร็จแล้วก็นั่งอยู่ในที่ประชุมนั้น ต่อจากนั้น เจ้ามหาลิได้ทูลถามปัญหาเรื่องตาทิพย์ หูทิพย์ เจ้ามหาลิกราบทูลว่า ท่านได้ทราบว่าเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ผู้มาปฏิบัติธรรมอยู่กับพระผู้มีพระภาคถึง 3 ปี ได้คุณวิเศษขั้นตาทิพย์เท่านั้น ยังไม่ได้หูทิพย์ จึงอยากจะทราบว่า ตาทิพย์ และหูทิพย์มีจริงหรือไม่ ตรัสตอบว่า มีจริง ซึ่งการได้ตาทิพย์ และหูทิพย์ขึ้นอยู่กับกำลังของสมาธิของแต่ละคน และทรงตรัสว่าภิกษุในพระศาสนานี้มาประพฤติพรหมจรรย์ไม่ใช่เพื่อให้ได้ตาทิพย์ และหูทิพย์เท่านั้น แต่ยังมีคุณวิเศษที่สูงกว่านี้อีกที่ภิกษุในพระศาสนานี้ควรทำให้เกิดมีขึ้นในตน คือ อริยผล 4 และ ข้อปฏิบัติเพื่อให้บรรลุคุณวิเศษเหล่านั้น คือ อริยมรรคมีองค์ 8 สูตร#2 มหาสีหนาทสูตร (ตอนที่ 2) ทรงตรัสว่า พระองค์ทรงบำเพ็ญพรหมจรรย์มีองค์ 4 มาแล้ว ทรงอธิบายวิธีบำเพ็ญพรหมจรรย์เหล่านี้โดยละเอียดพิสดาร แล้วทรงเล่าถึงการทดลองบำเพ็ญธรรมตามลัทธิที่มีอยู่ขณะนั้นโดยละเอียด ขณะที่ทรงตรัสเล่านั้น ท่านพระนาคสมาละซึ่งกำลังยืนถวายงานพัดพระผู้มีพระภาคอยู่ตลอดเวลา เมื่อทรงตรัสจบลง ได้กราบทูลว่า ท่านเกิดชนลุกชูชันขึ้น[...]
- มหาสีหนาทสูตร (ตอนที่ 1) ทรงแสดงแก่ท่านพระสารีบุตร ณ ราวป่านอกเมืองด้านทิศตะวันตกของกรุงเวสาลี แควันวัชชี ทรงปรารภคำกราบทูลของท่านพระสารีบุตรเรื่องโอรสของเจ้าลิจฉวีองค์หนึ่ง ชื่อสุนักขัตตะ กล่าวตู่พระองค์ในที่ชุมชน สุนักขัตตลิจฉวี ได้กล่าวว่า พระองค์ทรงไม่มีญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถวิเศษยิ่งกว่าธรรมดาของมนุษย์ แสดงธรรมตามที่นึกเดาเอา พิจารณาเอา ตามปฏิภาณของตน แต่ธรรมนั้นก็นำให้ผู้ที่ทำตามพ้นทุกข์ได้ ท่านพระสารีบุตรได้บิณฑบาตในกรุงเวสาลี ได้ทราบเรื่อง จึงนำความมากราบทูล ทรงตรัสว่า สุนักขัตตลิจฉวีกล่าวด้วยความโกรธ คิดว่าจะกล่าวโทษ แต่ที่กล่าวมา ก็เป็นการกล่าวคุณ แล้วทรงแสดงว่า สุนักขัตตะไม่รู้ซึ้งถึงพระพุทธคุณ 9 และพระญาณ หรือวิชชา 3 จากนั้นทรงแสดง กำลังของพระตถาคต 10 ประการโดยละเอียด ที่เป็นเหตุให้พระองค์ทรงปฏิญญาฐานะที่องอาจบันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัททั้งหลายได้ ทรงแสดงความเป็นผู้แกล้วกล้า (เวสารัชชญาณ) ของพระตถาคต 4 อย่าง, ทรงตรัสถึงบริษัท 8 จำพวก ที่ทรงเข้าสู่บริษัทเหล่านี้หลายร้อยหลายพันครั้ง โดยไม่ทรงรู้สึกสะทกสะท้าน และตรัสถึงกำเนิด 4 ชนิด และคติ 5 ประการ เพื่อทรงยืนยันว่า ทรงมีพระญาณหยั่งรู้เรื่องเหล่านี้โดยแจ่มแจ้งไม่ใช่ประมวลมาด้วยความตรึก
- สูตร#1 มหาโคปาลสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ เชตวัน ทรงปรารภความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระศาสนาของภิกษุ ทรงเปรียบเทียบ คนเลี้ยงโคผู้ไม่ฉลาดเปรียบกับภิกษุผู้ไม่ฉลาดเพราะขาดองค์คุณ 11 ประการ จะไม่เจริญงอกงามไพบูลย์ในพระศาสนานี้ และคนเลี้ยงโคผู้ฉลาดเปรียบกับภิกษุผู้ฉลาดเพราะมีองค์คุณ 11 ประการ จะเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระศาสนานี้ สูตร#2 จูฬโคปาลสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ริมฝั่งแม่น้ำคงคา เขตเมืองอุกกเจลา แคว้นวัชชี ปรารภเหตุการณ์ในอดีตเรื่องของคนเลี้ยงโคที่พาฝูงโคลงน้ำว่ายตัดกระแสน้ำ ตรัสเล่าเปรียบเทียบให้ฟัง 2 กรณี 1. คนเลี้ยงโคไม่ฉลาด ไม่พิจารณาฝั่งนี้ฝั่งโน้นให้ดีก่อน ตรงที่ต้อนฝูงโคลงแม่น้ำนั้นไม่ใช่ท่าข้าม ว่ายเข้าไปในวังวนของกระแสน้ำกลางแม่น้ำ ถึงแก่ความตายหมดทั้งฝูง 2. คนเลี้ยงโคผู้ฉลาด ต้อนฝูงโคไปสู่ที่หมาย ว่ายตัดกระแสน้ำถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดิภาพ เพราะตรงที่ข้ามเป็นท่าน้ำ ซึ่งพิจารณาโดยรอบคอบแล้ว จึงปล่อยโคข้ามไปตามลำดับ เปรียบเหมือนสมณะ หรือพราหมณ์ผู้ฉลาดเรื่องโลกนี้ และโลกหน้า รู้ทั่วถึงธรรมทั้งปวง สามารถชักนำผู้อื่นให้ได้รับความสุขพ้นทุกข์ทั้งปวงได้ สูตร#3 นาคสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่าด้วยองค์ของช้างต้น ซึ่งเป็นช้างควรแก่พระราชา จะต้องประกอบด้วยองค์ 4 ประการ จึงนับว่าเป็นพระราชพาหนะโดยแท้ เปรียบเทียบกับภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ[...]
- สูตร#1 จูฬอัสสปุรสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะประทับอยู่ในอัสสปุรนิคมของเจ้าชายชาวอังคะ แคว้นอังคะ โดยทรงปรารภเรื่องข้อปฏิบัติที่สมควรแก่สมณะ ซึ่งทรงแสดงต่อจากมหาอัสสปุรสูตร ทรงตรัสถึงภิกษุผู้ยังละกิเลสที่เป็นมลทิน เป็นโทษของสมณะ 12 ประการไม่ได้ ทรงเรียกว่า ผู้ไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่สมควรแก่สมณะ กิเลสที่เป็นมลทินแก่สมณะ คือ อภิชฌา พยาบาท ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความดีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความโอ้อวด มารยา ความปรารถนาที่เป็นบาป ความเห็นผิด และทรงกล่าวว่าการบรรพชาของภิกษุนั้นเหมือนฝักของอาวุธชื่อมตชะที่คมจัด และการเป็นสมณะไม่ได้วัดกันด้วยเครื่องแบบ และข้อวัตร แต่ทรงแสดงถึงภิกษุผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติชอบของสมณะ คือละมลทินทั้ง 12 ประการได้ พิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ พ้นจากบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ผู้เช่นนี้ ตรัสว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันชอบของสมณะ และผู้ที่ออกบวชจากสกุลไหนก็ตาม ทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ ตรัสว่า เป็นสมณะ เพราะสิ้นอาสวะ. สูตร#2 จูฬสีหนาทสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ทรงปรารภเหตุการณ์ในขณะนั้นว่า พระองค์ และภิกษุสงฆ์มีลาภสักการะเกิดขึ้นเป็นอันมาก แต่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกกลับเสื่อมลาภสักการะ[...]
- สูตร#1 มหาอัสสปุรสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะประทับอยู่ที่อัสสปุรนิคมของราชกุมารชาวอังคะ แคว้นอังคะ ชาวนิคมนั้นมีความศรัทธาในพระรัตนตรัยเป็นอย่างยิ่ง จึงทรงตรัสสอนภิกษุเรื่อง ธรรมที่ทำให้เป็นสมณะ และเป็นพราหมณ์ ได้แก่ (1) หิริโอตตัปปะ(ความละอายและความเกรงกลัวต่อความชั่ว) (2) กายสมาจารบริสุทธิ์ (3) วจีสมาจารบริสุทธิ์ (4) มโนสมาจารบริสุทธิ์ (5) อาชีวะบริสุทธิ์ (6) การสำรวมอินทรีย์ (7) การรู้จักประมาณในโภชนะ (8) ตื่นบำเพ็ญเพียรอย่างต่อเนื่อง (9) เจริญสติสัมปชัญญะ (10) ละนิวรณ์ 5 หลักธรรมนี้ ทรงแนะนำให้ภิกษุทั้งหลายประพฤติปฏิบัติตามลำดับขั้นตอน จากต่ำไปหาสูงที่ทรงเรียกว่า กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไป จนกระทั่งถึงสมาธิและปัญญา สูตร#2 มหาสกุลุทายิสูตร ตอน ธรรมเป็นเหตุให้ทำความเคารพประการอื่น ๆ คือ (1) ทรงมีอธิศีล (2) ทรงมีญาณทัสสนะ (3) ทรงมีอธิปัญญา (4) ทรงสามารถตรัสตอบปัญหาเรื่องอริยสัจ 4 ได้ (5) ทรงสามารถตรัสบอกข้อปฏิบัติที่ทำให้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญา และอภิญญาบารมี (อรหัตตผล) คือ[...]
- สูตร#1 วาเสฏฐสูตร ทรงแสดงแก่มาณพชื่อ วาเสฎฐะผู้เป็นศิษย์ของโปกชรสาติพราหมณ์ และภารทวาชะผู้เป็นศิษย์ของตารุกขพราหมณ์ ขณะประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคละใกล้หมู่บ้านชื่ออิจฉานังคละ มาณพทั้งสองได้สนทนากันเรื่องเหตุที่ทำให้ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ แต่ตกลงกันไม่ได้จึงเข้าไปทูลถามพระผู้มีพระภาค โดยวาเสฏฐมาณพเป็นผู้ทูลถามว่า บุคคลจะชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะชาติกำเนิด หรือเพราะกรรม ทรงตรัสอธิบายว่า ต้นไม้และสัตว์ต่าง ๆ แตกต่างกันไปตามกำเนิด แต่มนุษย์ไม่แตกต่างกันโดยกำเนิด การเรียกกันในหมู่มนุษย์เป็นการเรียกกันตามบัญญัติ มนุษย์จึงไมใช่พราหมณ์เพราะกำเนิด (ชาติตระกูล) แต่เป็นพราหมณ์เพราะกรรม จากนั้นได้ตรัสถึงคุณสมบัติอีกหลายประการของผู้เป็นพราหมณ์ในพระพุทธศาสนา และทรงตรัสว่า ตบะ พรหมจรรย์ สัญญมะ และทมะ เป็นคุณธรรมสูงสุดของพราหมณ์ แต่ถ้าบุคคลใด ถึงพร้อมด้วยวิชชา 3 เป็นผู้สงบ สิ้นภพใหม่แล้ว บุคคลนั้นเป็นทั้งพรหมและท้าวสักกะ เมื่อทรงแสดงธรรมจบมาณพทั้งสองแสดงตนเป็นอุบาสกจนตลอดชีวิต สูตร#2 เอสุการีสูตร ทรงแสดงแก่เอสุการีพราหมณ์ ณ เชตวัน เอสุการีทูลถามข้อบัญญัติเกี่ยวกับการบำเรอ 4 ประการของพวกพราหมณ์ และเกี่ยวกับทรัพย์ 4 ประการของพวกพราหมณ์ ทรงตรัสว่าเป็นการบัญญัติเอาเองโดยที่ชาวโลกไม่ยอมรับ เหมือนการบังคับคนยากจนให้กินเนื้ออาบยาพิษแล้วบังคับให้จ่ายค่าเนื้อ ทรงอธิบายต่อว่า บุคคลจะเป็นผู้ประเสริฐหรือเลวทรามไม่ใช่เพราะเกิดในตระกูลสูง ผิวพรรณดี มีโภคะมาก แต่อยู่ที่ศรัทธา[...]
- สูตร#1 อรณวิภังคสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะประทับอยู่พระเชตวัน กรุงสาวัตถี โดยมีพระประสงค์ให้ภิกษุเหล่านั้นปฏิบัติตามธรรมที่ไม่มีกิเลส เว้นธรรมที่มีกิเลส ทรงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งสุขในกาม อันทราม เป็นของชาวบ้านเป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตน) อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มัชฌิมาปฏิปทาที่ไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด 2 อย่างนั้น ที่ทรงได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน รู้จักการยกย่องและการตำหนิ ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงธรรมเท่านั้น พึงรู้การตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งความสุขภายใน สุขนี้เรียกว่า เนกขัมมสุข ไม่พึงกล่าวความลับ ไม่พึ่งกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า เมื่อไม่รีบร้อนจึงพูด เมื่อรีบร้อนไม่ควรพูด ไม่พึงยึดภาษาท้องถิ่น ไม่พึงละเลยคำพูดสามัญ (คำที่คนทั่วไปใช้พูดกัน) แล้วทรงยกตัวอย่าง กุลบุตรผู้มีนามว่าสุภูติ ได้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติเพื่อไม่มีกิเลสแล้ว สูตร#2 ธรรมทายาทสูตร[...]
- สูตร#1 สฬายตนวิภังคสูตร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะประทับอยู่พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี โดยมีพระประสงค์ให้ ภิกษุได้ศึกษาเรื่องอายตนะโดยละเอียดลึกซึ้ง ทรงตรัสอธิบาย เรื่อง อายตนะภายใน 6, อายตนะภายนอก 6, หมวดวิญญาณ 6, หมวดผัสสะ 6, มโนปวิจาร 18, สัตตบท 36 และสติปัฏฐาน 3 ซึ่งพระสูตรนี้ อยู่วรรคที่ 4 คือ วิภังควรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 14 พระสุตตันตปิฏก มัชฌิมนิกาย อุปปริปัณณาส เล่มที่ 6 ซึ่งมีชื่อพ้องกับพระสูตรที่ 7 ของวรรคที่ 5 คือสฬายตนวรรค ของเล่มนี้เหมือนกัน แต่มีเนื้อหาสาระแตกต่างกัน จึงควรนำมาศึกษาเปรียบเทียบกับพระสูตรนั้นด้วย จะช่วยให้เข้าใจเรื่องสฬายตนะดีขึ้นกว้างขวางขึ้น สูตร#2 มหาสฬายตนวิภังคสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ เชตวัน ทรงแสดงธรรมเนื่องด้วยอายตนะ 6 ที่สำคัญให้ฟัง และทรงแสดงผลของผู้ที่รู้เห็นตามความเป็นจริง อริยมรรคมีองค์ 8[...]
- สูตร#1 อินทริยภาวนาสูตร ทรงแสดงแก่อุตตรมาณพซึ่งเป็นศิษย์ของปาราสิริยพราหมณ์ ขณะประทับอยู่ ณ เวฬุวัน ในกัชชังคลานิคม ทรงปรารภคำกราบทูลของอุตตรมาณพเรื่องการเจริญอินทรีย์ของปาราสิริยพราหมณ์ ซึ่งปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวก คือ แสดงว่า อย่าดูรูปทางตา อย่าฟังเสียงทางหู ทรงตรัสว่า ผู้เจริญอินทรีย์ตามคำสอนของปาราสิริยพราหมณ์ จักเป็นคนตาบอด หูหนวก จากนั้นทรงเรียกพระอานนท์มาแล้ว ทรงแสดงเรื่องการเจริญอินทรีย์ตามหลักคำสอนของพระองค์ สูตร#2 ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร ทรงแสดงแก่ท่านพระสารีบุตร ขณะประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน เขตกรุงราชคฤห์ ทรงปรารภวิหารธรรมที่ทำให้พระสารีบุตรมีอินทรีย์ผ่องใส มีผิวพรรณบริสุทธิ์ผุดผ่อง ทรงแสดงว่า ภิกษุผู้ต้องการอยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรมนั้นต้องพิจารณาว่า ขณะกลับจากบิณฑบาต มีอกุศลธรรมที่อาศัยอายตนะภายในเกิดขึ้นแก่ตนหรือไม่ ถ้ามีให้พยายามละเสีย ถ้าไม่มี ให้ยินดีศึกษาในกุศลธรรมต่อไป นอกจากนี้ ผู้อยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรมควรพิจารณา กามคุณ 5 นิวรณ์ 5 และอุปาทานขันธ์ 5 เป็นต้น ทรงสรุปว่า ในอดีต อนาคต และปัจจุบัน ผู้พิจารณาเช่นนี้ จึงทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ได้ สูตร#3 สาเกตสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณป่าอัญชนวัน สถานที่พระราชทานอภัยแก่หมู่เนื้อ เขตเมืองสาเกต[...]
- สูตร#1 สฬายตนะวิภังคสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ เชตวัน ทรงแสดงธรรมเนื่องด้วยอายตนะ 6 ที่สำคัญให้ฟัง และทรงแสดงผลของผู้ที่รู้เห็นตามความเป็นจริง อริยมรรคมีองค์ 8 ย่อมเจริญขึ้น ธรรมเหล่าอื่นก็เจริญเต็มที่ด้วย สมถะ และวิปัสนาของเขาย่อมเคียงคู่กันไป จนสามารถกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้คือขันธ์ 5 ละธรรมที่ควรละ คือ อวิชชา และภวตัณหา เจริญธรรมที่ควรเจริญ คือ สมถะ และวิปัสสนา ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชา และวิมุตติ สูตร#2 นครวินทยสูตร ทรงแสดงแก่พราหมณ์ และคหบดีชาวบ้านนครวินทะ แควันโกศล ซึ่งพากันมาเฝ้าพระองค์เมื่อทราบว่าเสด็จมาที่หมู่บ้านนั้น โดยทรงประสงค์ให้ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสมณพราหมณ์ที่ควรสักการะ เคารพ นับถือบูชา กับสมณพราหมณ์ที่ไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ผลจากการแสดงธรรมครั้งนี้ ทำให้พราหมณ์ และคหบดีเหล่านั้น ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ แสดงตนเป็นอุบาสกตลอดชีวิต สูตร#3 มหาสมัยสูตร ว่าด้วยการประชุมครั้งใหญ่ของเทวดา ทรงแสดงแก่ภิกษุประมาณ 500 รูปขณะประทับอยู่ที่ป่ามหาวัน เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ซึ่งล้วนเป็นพระอรหันต์[...]
- ชนวสภสูตร ทรงแสดงแก่ท่านพระอานนท์ ณ ตำหนักอิฐในนาทิกคาม เขตแคว้นวัชชี เมื่อครั้งเสด็จจาริกแสดงธรรมครั้งสุดท้าย ทรงปรารภคำกราบทูลเลียบเคียงท่านพระอานนท์ เรื่องการที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์คติและอภิสัมปรายภพของพุทธบริษัทผู้ล่วงลับไปแล้ว เช่น ชาวบ้านนาทิกคาม แคว้นวัชชี ฯลฯ (ยกเว้นแคว้นมคธ) ทำให้พุทธบริษัทเหล่านั้นมีความยินดี เกิดปีติโสมนัส แต่การที่ไม่ทรงพยากรณ์พุทธบริษัทชาวมคธผู้ล่วงลับไปแล้วทำให้ดูเหมือนว่า แคว้นนี้ไม่มีพุทธบริษัท ทั้ง ๆ ที่มีเป็นจำนวนมาก การที่ทรงพยากรณ์จะทำให้พุทธบริษัทจำนวนมากในแคว้นนี้เกิดความเลื่อมใส และจะไปเกิดในสุคติภูมิต่อไป ด้วยเหตุนี้ จึงทรงตั้งพระทัยเพ่งพิจารณากำหนดจะทรงทราบคติและอภิสัมปรายภพของพุทธบริษัทชาวมคธผู้ล่วงลับไปแล้ว ก็ทรงทราบชัดตามที่ทรงปรารถนา เมื่อท่านพระอานนท์เข้าเฝ้าจึงตรัสเล่าเรื่องที่ทรงทราบให้ฟังว่า ชนวสภยักษ์ คือ อดีตพระเจ้าพิมพิสารมาเฝ้าพระองค์ กราบทูลให้ทรงทราบว่า ท่านไปเกิดเป็นยักษ์ชื่อชนวสภะในชั้นจาตุมหาราช ท่านบรรลุโสดาบันแล้ว และปรารถนาจะบรรลุเป็นพระสกทาคามีต่อไป โดยประพฤติธรรมคำสอนของพระองค์ตลอดมามิได้เว้น ซึ่งการมาเฝ้าครั้งนี้มาด้วยเหตุ 2 ประการ คือ (1) มาด้วยความเลื่อมใสและปรารถนาจะเข้าเฝ้า (2) มีเรื่องจะกราบทูลให้ทรงทราบคือเรื่องการประชุมของพวกเทพชั้นดาวดึงส์ ที่เทวธรรมสภา ซึ่งในครั้งนั้นท้าวมหาพรหมได้เสด็จมา กล่าวสรรเสริญพระรัตนตรัย แล้วทรงแสดงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงสอน รวม 4 เรื่อง และสนังกุมารพรหมทรงสรุปว่า มีชาวมคธผู้มีความเสื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ จำนวนมาก[...]
- อุปาลิวาทสูตร ทรงแสดงแก่นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสี และอุบาลีคหบดี ขณะประทับ ณ ปาวาริกัมพวัน เขตเมืองนาลันทา ในตอนต้น ทรงแสดงแก่นิครนถ์ทีฆตปัสสี ที่ได้เข้าไปสนทนาธรรมกับพระผู้มีพระภาค ทรงตั้งคำถาม ถามทีฆตปัสสีเรื่อง นิครนถ์ นาฏบุตร บัญญัติกรรมในการทำชั่ว ประพฤติชั่วไว้เท่าไร และอย่างไหนมีโทษมากกว่ากัน ทีฆตปัสสีทูลตอบว่า ไม่ได้บัญญัติเรื่องกรรมแต่บัญญัติทัณฑะ (อาญา) มี 3 อย่าง และกายทัณฑะมีโทษมากกว่า จากนั้นตปัสสี ได้ทูลย้อนถามว่า พระองค์บัญญัติทัณฑะในการทำชั่ว ประพฤติชั่วไว้เท่าไร และอย่างไหนมีโทษมากกว่ากัน ทรงตอบว่า ไม่ได้บัญญัติทัณฑะ แต่บัญญัติ กรรม มี 3 อย่าง และมโนกรรมมีโทษมากกว่า จากนั้นทีฆตปัสสี ได้นำเรื่องไปเล่าให้นิครนถ์ นาฏบุตร และนิครนถ์บริษัทฟัง ทุกคนเห็นว่าทีฆตปัสสีกล่าวถูกต้อง อุบาลีคหบดีจึงรับอาสานำเรื่องนั้นไปโต้วาทะกับพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงย้อนถามปัญหาอุบาลี 4 ข้อ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามปัญหาจบลง อุบาลีคหบดียอมรับว่า มโนกรรมมีโทษมากกว่าจริง และได้แสดงตนเป็นอุบาสกถึง 3 ครั้ง จากนั้นทรงแสดงอนุปุพพิกถา จนอุบาลีคหบดี บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน
- สูตร#1 เวขณสสูตร ทรงแสดงแก่ปริพาชกชื่อ เวขณสะ ขณะประทับอยู่ พระเชตวัน เขตกรุงสาวัตถี ทรงปรารภคำอุทานของเวขณสปริพาชก ซึ่งทำทีเปล่งอุทานในสำนักของพระองค์ให้ทรงได้ยินว่า “นี้เป็นวรรณะสูงสุด นี้เป็นวรรณะสูงสุด” ทรงตรัสถามความหมายของวรรณะสูงสุด แต่เขากราบทูลแต่คำเดิม จึงทรงตรัสว่า เวขณสะใช้คำพูดเลื่อนลอย เปรียบเหมือนชายหนุ่มที่รักหญิงงามแต่ไม่รู้ว่านางเป็นใคร ไม่รู้จักชื่อ ตระกูล ลักษณะและที่อยู่ ในที่สุดเวขณสปริพาชกยอมอธิบายว่า หมายถึง อัตตาที่ยั่งยืน หลังจากตายแล้วมีวรรณะเหมือนแก้วไพฑูรย์ ฯลฯ ส่องแสงสว่างเป็นประกาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงสิ่งที่ส่องสว่างกว่านั้น และแต่ละอย่างส่องแสงสว่างยิ่งกว่าวรรณะที่เขากล่าวถึง จากนั้นได้ตรัสกามคุณ 5 กามสุข และความสุขอันเลิศกว่ากามสุข มีเพียงพระอรหันตขีณาสพเท่านั้นที่จะรู้ได้ เวขณสะได้ฟังเช่นนั้นก็โกรธ กล่าวหาว่าทรงตรัสถึงพระอรหันตขีณาสพโดยไม่รู้จริง จึงทรงท้าทายให้เขาเข้ามาปฏิบัติ ตามคำสั่งสอนของพระองค์ ก็จะรู้เองเห็นเอง เวขณสปริพาชก จึงยอมแสดงตนเป็นอุบาสกตลอดชีวิต สูตร#2 จูฬสกุลุทายิสูตร ทรงแสดงแก่สกุลุทายีปริพาชก ณ อารามของปริพาชก เขตกรุงราชคฤห์ สกุลุทายีได้สนทนาธรรมกับพระผู้มีพระภาคถึงเรื่องนิครนถ์ นาฏบุตรซึ่งอ้างว่าตนเป็นสัพพัญญู เห็นสิ่งทั้งปวง แม้ขณะเดิน หยุด หลับ และตื่น แต่พอถูกถามปัญหาเรื่องการระลึกชาติในอดีตกลับเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง ทั้งแสดงอาการโกรธไม่พอใจ ด้วยเหตุนี้[...]
- ปาสราสิสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุจำนวน 500 รูป ณ อาศรมรัมมกพราหมณ์ เขตกรุงสาวัตถี เนื่องจากภิกษุเหล่านี้ได้เดินทางมาพบท่านพระอานนท์ เพื่อขอเข้าเฝ้าและฟังธรรม พระอานนท์จึงได้กราบทูลพระพุทธเจ้าให้เสด็จไปโปรดภิกษุเหล่านี้ เมื่อทรงเสด็จไปถึง ทรงได้ยินภิกษุกำลังสนทนาธรรมกันอยู่ ทรงประทับยืนรอจนภิกษุเหล่านั้นสนทนาธรรมจบลง จึงเสด็จเข้าไป ทรงตรัสถึงผู้มาประชุม มีกิจที่ควรทำ 2 ประการ คือ 1) การสนทนาธรรม 2) การเป็นผู้นิ่งอย่างพระอริยะ แล้วทรงปรารภการแสวงหามี 2 อย่าง คือ การแสวงหาที่ประเสริฐ และการแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ แล้วทรงอธิบาย ว่า การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ ได้แก่ การแสวงหากาม การแสวงหาที่ประเสริฐ ได้แก่ การแสวงหาทางเพื่อพ้นไปจากกาม บรรลุถึงพระนิพพาน สำหรับการแสวงหาที่ประเสริฐ ทรงยกการแสวงหาโมกขธรรมของพระองค์เองเป็นตัวอย่าง จึงทรงเล่าพุทธประวัติตอนต้น และทรงแสดงด้วยอุปมาโวหารเปรียบเทียบให้เห็นโทษของกามคุณ 5 ซึ่งถ้าไม่มีปัญญาสลัดออกจากกามคุณ 5 ได้ จะต้องถูกมารใจบาปทำอะไรๆ ได้ตามชอบใจเหมือนเนื้อป่าที่ติดบ่วง ถูกพรานเนื้อทำอะไรๆ ได้ตามชอบใจ แล้วทรงสอนวิธีสลัดออกจากกามคุณ 5 ด้วยการปฏิบัติสมถะ และวิปัสสนา
- สูตร#1 จูฬวัจฉโคตตสูตร ทรงแสดงแก่วัจฉโคตรปริพาชก ขณะประทับ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี ปรารภคำถามของวัจฉโคตรปริพาชกว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระสัพพัญญูเห็นธรรมทั้งปวง ยืนยันญาณทัสสนะในขณะ เดิน หยุด หลับและตื่น เป็นการกล่าวถูกต้องหรือไม่ ตรัสตอบว่าไม่ถูกต้อง เพราะทรงเป็นผู้มีวิชชา 3 แล้วทรงแสดงวิชชา 3 เพื่อให้วัจฉโคตรปริพาชกรู้ว่าลัทธิอื่น นอกจากพระพุทธศาสนาไม่มีใครเป็นสัพพัญญู สูตร#2 อัคคิวัจฉโคตตสูตร ทรงแสดงแก่วัจฉโคตรปริพาชก ณ พระเชตวัน ทรงปรารภคำถามของปริพาชกว่า พระองค์ทรงมีอันตคาหิกทิฏฐิ (ความเห็นสุดโต่ง) 10 ประการหรือไม่ ทรงตอบว่า ไม่มี แล้วทรงตรัสถึงโทษของทิฏฐิเหล่านั้น ซึ่งทรงกำจัดได้แล้ว และทรงหลุดพ้นจากการยึดมั่นทิฏฐิในเรื่องขันธ์ 5 ปริพาชกมีความเข้าใจ จนได้ประกาศตนเป็นอุบาสก สมาทานไตรสรณคมน์ สูตร#3 มหาวัจฉโคตตสูตร ทรงแสดงแก่วัจฉโคตรปริพาชกขณะประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน เขตกรุงราชคฤห์ ปริพาชกทูลขอให้พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมให้ฟัง ทรงแสดง อกุศลมูล 3 กุศลมูล 3 อกุศลกรรมบท 10[...]
- มหาสกุลุทายิสูตร ตอนที่ 2 ทรงตรัสว่า สาวกผู้ปฏิบัติเคร่งครัดในธรรม 5 ประการนี้ เทียบเท่าหรือยิ่งกว่าพระองค์มีอยู่ ถ้าถือธรรม 5 ประการนั้นเป็นเหตุ สาวกเหล่านั้นก็คงไม่เคารพพระองค์ แล้วทรงแสดงธรรม 5 ประการอื่นอีก คือ 1. ทรงมีอธิศีล 2. ทรงมีญาณทัสสนะ 3. ทรงมีอธิปัญญา 4. ทรงสามารถตรัสตอบปัญหาเรื่องอริยสัจ 4 ได้ 5. ทรงสามารถตรัสบอกข้อปฏิบัติที่ทำให้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญา และอภิญญาบารมี (อรหัตตผล) คือ โพธิปักขิยธรรม 37 วิโมกข์ 8 อภิภายตนะ 8 กสินายตนะ 10 ฌาน 4 และวิชชา 8
- มหาสกุลุทายิสูตร ตอนที่ 1 ทรงแสดงแก่สกุลุทายิปริพาชก ณ อารามของปริพาชก เขตกรุงราชคฤห์ พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังอารามของปริพาชก ขณะนั้น สกุลุทายีปริพาชกกำลังนั่งสนทนาดิรัจฉานกถาอยู่กับปริพาชกบริษัท ทูลเชิญให้พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ได้กราบทูลเรื่องที่สนทนากันว่า มีสมณพราหมณ์มาประชุมกันสนทนากันว่า บรรดาสมณพราหมณ์ผู้เป็น เจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นเจ้าลัทธิ ในที่ประชุมมีผู้ห็นว่า สมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าหมู่ 6 ท่านแรก เคยมีเรื่องที่สาวกแสดงความไม่เคารพมาแล้ว ส่วนท่านที่ 7 คือ พระสมณโคดม เมื่อแสดงธรรมจะไม่มีเสียงจามหรือเสียงไอของพระสาวกเลย ทำให้ผู้ต้องการฟังธรรมฟังได้เต็มที่ แม้สาวกผู้ลาสิกขาไปก็ยังกล่าวสรรเสริญ สาวกผู้เป็นอุบาสกก็พากันสมาทานประพฤติสิกขาบท 5 สาวกสักการะเคารพ นับถือ บูชาพระสมณโคดมอย่างนี้ และยังได้อาศัยพระสมณโคดมด้วย ทรงตรัสถามสกุลุทายีว่า เห็นธรรมกี่ประการ ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกของพระองค์แสดงความเคารพพระองค์เช่นนั้น เขากราบทูลว่า เห็นธรรม 5 ประการ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สาวกผู้ปฏิบัติเคร่งครัดในธรรม 5 ประการนี้เทียบเท่าหรือยิ่งกว่าพระองค์ มีอยู่ ถ้าถือธรรม 5 ประการนั้นเป็นเหตุ สาวกเหล่านั้นก็คงไม่เคารพพระองค์ แล้วทรงแสดงธรรม 5 ประการอื่นอีก
- มูลปริยายสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะประทับ ณ โคนไม้รังใหญ่ ในสุภควัน เขตเมืองอุกกัฏฐา ได้ทรงแสดงเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง (สัพพธัมมมูลปริยาย) มีใจความสำคัญแบ่งออกเป็น 8 ส่วน คือ เนื่องด้วยปุถุชน (คนที่ยังหนาไปด้วยกิเลส) 1 จำพวก เนื่องด้วยเสขะ 1 จำพวก เนื่องด้วยพระขีณาสพ (พระอรหันต์) 4 จำพวก และ เนื่องด้วยพระศาสดา 2 จำพวก คือ ⁃ ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมรู้ตามความจำถึงสิ่งต่างๆ แล้วยึดถือว่าเป็นของเรา เพราะไม่ได้กำหนดรู้ตามเป็นจริงซึ่งสิ่งนั้นๆ ⁃ ภิกษุผู้เป็นเสขะ รู้ยิ่งด้วยปัญญาซึ่งสิ่งต่างๆ การยึดถือว่าเป็นของเราเพราะสิ่งนั้น พระเสขะควรกำหนดรู้ได้ ⁃ ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ รู้ยิ่งด้วยปัญญาซึ่งสิ่งต่างๆ ย่อมไม่ถือว่าเป็นของเรา เพราะกำหนดสิ่งนั้นๆ แล้ว เพราะสิ้นราคะความกำหนัดยินดี เพราะสิ้นโทสะความคิดประทุษร้าย เพราะสิ้นโมหะความหลง ⁃ พระศาสดา รู้ยิ่งด้วยปัญญาซึ่งสิ่งต่างๆ ไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา เพราะกำหนดรู้ในสิ่งนั้นๆ แล้ว และเพราะสิ้นตัญหาด้วยประการทั้งปวง[...]
- สูตร#1 นฬกปานสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ หมู่บ้านนฬกปานะ ทรงปรารภกุลบุตรผู้มีชื่อเสียงจำนวนมากที่บวชด้วยศรัทธา ทรงตรัสถามกุลบุตรถึงความยินดีในพรหมจรรย์ และการออกบวชเพื่อกระทำที่สุดแห่งทุกข์ และตรัสถึงหน้าที่ที่ผู้บวชใหม่จะต้องประพฤติปฏิบัติ และได้ทรงพยากรณ์ถึงการบรรลุธรรมของเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จุดประสงค์เพื่อให้คนที่ได้ยินได้ฟังถึงบุคคลที่เขารู้จัก เคยร่วมพูดคุย คบหาสมาคม จะสามารถรู้ถึงศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ และปัญญาของบุคคลต่างๆ เหล่านั้น ทำให้น้อมจิตไปเพื่อศรัทธา เป็นต้น ทำให้มีความอยู่อย่างผาสุกได้ สูตร#2 ปุตตมังสสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงอาหาร 4 อย่าง เพื่อความดำรงอยู่ของสัตว์โลกที่เกิดมาแล้ว (ภูตสัตว์) หรือเพื่ออนุเคราะห์แก่เหล่าสัตว์ ผู้แสวงหาที่เกิด (สัมภเวสีสัตว์) และทรงยกอุปมาโดยลักษณะอาหาร 4 เพื่อให้อริยสาวกกำหนดรู้ได้ ราคะซึ่งเกิดจากกามคุณ 5 เวทนา 3 ประการ ตัณหา 3 ประการ และนามรูป จะกำหนดรู้ได้ด้วย เมื่อกำหนดรู้ได้แล้วจึงเป็นเหตุให้ไม่กลับมาสู่โลกนี้อีก
- สูตร#1 มหาราหุโลวาทสูตร ทรงแสดงแก่ท่านพระราหุล (สมัยยังเป็นสามเณร) เพื่อให้ท่านบรรเทาความพอใจและความกำหนัดเกี่ยวกับเรือนร่าง คือ ขันธ์ 5 ขณะนั้นทรงประทับอยู่พระเชตวัน เขตกรุงสาวัตถี ในตอนเช้าก่อนเสด็จออกบิณฑบาต ทรงแสดงวิธีการเจริญกัมมัฏฐานหลายอย่าง ทรงสอนให้พิจารณาขันธ์ 5 และการเจริญอานาปานสติให้มีผลมาก มีอานิสงส์มาก คือ ให้พิจารณาธาตุ 5 ให้เจริญภาวนาเสมอด้วยธาตุทั้ง 5 นั้น ให้เจริญภาวนา 6 อย่าง และให้เจริญอานาปานสติ 16 ชั้น สูตร#2 จูฬราหุโรวาทสูตร ทรงแสดงแก่ท่านพระราหุล ณ พระเชตวัน ทรงเห็นว่า ธรรมเครื่องบ่มวิมุตติของท่านพระราหุลแก่กล้าแล้ว ควรแสดงธรรมขั้นสูงขึ้นไป ทรงรับสั่งให้ท่านพระราหุลตามเสด็จเข้าไปในป่าอันธวัน ใกล้กรุงสาวัตถี ทรงสนทนาธรรมกับท่านพระราหุล โดยทรงอธิบายอายตนะภายในจับคู่กับอายตนะภายนอก และธรรมที่เกี่ยวข้องเป็นชุดๆ รวม 6 ชุด เมื่อจบการสนทนา ท่านพระราหุลได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
- "ปฏิจจสมุปบาท" คือ ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ วิหารเชตวัน ถึงความหมายในแต่ละข้อ อุปมาอุปไมย และความเกี่ยวเนื่องกับอริยสัจสี่
- สูตร#1 มหาทุกขขันธสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ทรงปรารภคำถามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ที่ภิกษุนำมากราบทูลให้ทรงทราบ า พระองค์ทรงบัญญัติคำสอนเหมือนที่พวกปริพาชกบัญญัติไว้เหมือนกัน คือ เรื่องการละกาม การละรูป และการละเวทนาทั้งหลาย คำสอนเหล่านี้ ผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร พระองค์จึงทรงตรัสสอนภิกษุในการตอบโต้วาทะของนักบวชพวกนั้นด้วยการตั้งคำถามย้อนกลับ ดังนี้ 1. อะไรเป็นเหตุแห่งกามทั้งหลาย อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการสลัดออกจากกามทั้งหลาย 2. อะไรเป็นคุณ โทษ และเป็นการสลัดออกจากรูปทั้งหลาย 3. อะไรเป็นคุณ โทษ และการสลัดออกจากเวทนาทั้งหลาย ทรงย้ำว่า คำถามเหล่านี้ นอกจากพระองค์และสาวกของพระองค์ ไม่มีผู้ใดสามารถตอบให้ถูกต้องสมบูรณ์ได้ สมณหรือพราหมณ์พวกใดก็ตามถ้าไม่รู้ชัดในคุณ โทษและการสลัดออก ตามความเป็นจริง ก็จะไม่มีทางรอบรู้ กาม รูปและเวทนาทั้งหลายได้เอง หรือชักชวนผู้อื่นให้รู้ได้และปฏิบัติตามจนรอบรู้ได้ สูตร#2 จูฬทุกขขันธสูตร ทรงแสดงแก่เจ้ามหานามะ ณ นิโครธาราม ทรงตอบข้อสงสัยในธรรมของเจ้ามหานามะ ที่กราบทูลว่า พระองค์ทรงรู้ทั่วถึงธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า โลภะ โทสะ โมหะ เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต แต่บางครั้ง ยังถูกโลภะบ้าง โทสะบ้าง[...]
- เกวัฏฏสูตร ทรงตรัสแก่เกวัฏฏบุตรคหบดีขณะประทับอยู่ในสวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี หรือที่เรียกว่า ปาวาริกัมพวัน เขตเมืองนาลันทา เกวัฏฎบุตรคหบดีเป็นพุทธศาสนิกชนผู้มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะให้ชาวนาลันทาหันมานับถือพระพุทธศาสนาโดยทั่วกัน จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลให้รับสั่งแก่ภิกษรูปใดรูปหนึ่งผู้ชำนาญทางการแสดงปาฏิหาริย์ไปแสดงปาฏิหาริย์ให้ชาวเมืองนั้นชม พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสเทศนาพระสูตรนี้ ทรงตรัสว่า พระองค์มิได้สอนธรรมเพื่อให้ภิกษุแสดงปาฏิหาริย์แก่คฤหัสถ์ แล้วทรงชี้แจงว่า ทรงรู้แจ้งปาฏิหาริย์ 3 อย่างคือ (1) อิทธิปาฏิหาริย์ (การแสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้อย่างน่าอัศจรรย์) (2) อาเทสนาปาฏิหาริย์ (การดักทายใจผู้อื่นได้อย่างน่าอัศจรรย์) (3) อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (การพร่ำสอนที่มีผลอย่างน่าอัศจรรย์) จากนั้นทรงแสดงอนุสาสนีปาฏิหาริย์ให้เกวัฏฏะฟัง คือทรงแสดงผลของศีล 3 ชั้น ผลของฌาน 4 และวิชชา 8 ในตอนท้ายทรงเล่าเรื่องภิกษุรูปหนึ่งต้องการทราบว่ามหาภูตรูป 4 ดับสนิทในที่ใด จึงเข้าสมาธิไปเที่ยวถามพวกเทวดาในเทวโลกทุกๆ ชั้นก็ไม่ได้รับคำตอบ จึงไปเที่ยวถามพวกเทพที่เป็นพรหมบริษัทในพรหมโลกจนได้เข้าพบท้าวมหาพรหมที่อ้างว่าเป็นผู้สร้างโลก ท้าวมหาพรหมได้บอกภิกษุรูปนั้นไปว่า ไม่มีใครรู้ นอกจากพระพุทธเจ้า ภิกษุรูปนั้นจึงกลับมาเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลถามข้อข้องใจนั้น พระองค์ตรัสตอบว่า ดับสนิทในจิตของพระอรหันต์
- โลหิจจสูตร ทรงตรัสแก่โลหิจจพราหมณ์เพื่อแก้ความเห็นผิด ขณะทรงแวะพักในหมู่บ้านสาลวติกา (หมู่บ้านที่มีต้นสาละเป็นรั้ว) แคว้นโกศล ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทานเป็นพรหมไทยให้โลหิจจพราหมณ์ปกครอง ทรงตรัสถามโลหิจจพราหมณ์ จริงหรือไม่ที่มีผู้กล่าวว่า โลหิจจพราหมณ์มีความเห็นชั่วร้ายว่า สมณะหรือพราหมณ์ควรบรรลุกุศลธรรม แต่ไม่ควรบอกแก่ผู้ใด เพราะไม่มีใครช่วยใครได้ ผู้ที่บอกถือว่ายังมีความโลภ เหมือนคนที่ตัดเครื่องจองจำเก่า แล้วสร้างเครื่องจองจำใหม่ขึ้นแทน ก็ถือว่ามีความโลภอย่างเดียวกัน ความโลภเป็นความชั่วร้าย จึงไม่ควรมีความโลภ โลหิจจพราหมณ์กราบทูลว่าจริง จึงทรงซักถาม ในกรณีที่โลหิจจพราหมณ์เป็นผู้ปกครองหมู่บ้านและกรณีพระเจ้าปเสนทิโกศลปกครองแคว้นโกศลและแคว้นกาสี ไล่เลียงให้โลหิจจพราหมณ์ตอบ จนจบลงที่ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีคติ 2 อย่าง คือ ตายแล้วไปเกิดในนรก หรือในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน แล้วทรงสรุปว่า ความเห็นที่ว่า สมณะหรือพราหมณ์ควรบรรลุกุศลธรรมแต่ไม่ควรบอกผู้ใดนั้น ก็ถือว่าไม่แบ่งผลประโยชน์แก่ผู้อื่นจัดเป็นมิจฉาทิฏฐิเช่นกัน จากนั้นทรงแสดงว่ามีศาสดาอยู่ 3 ประเภทที่สมควรถูกทักทัวง และศาสดาอีก 1 ประเภทที่ไม่สมควรถูกทักทัวง เมื่อตรัสจบ โลหิจจพราหมณ์ได้ประกาศตนเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยไปตลอดชีวิต
- จักกวัตติสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะประทับอยู่ที่เมืองมาตุลา แคว้นมคธ ทรงตรัสสอนให้พึ่งตน พึ่งธรรม โดยการเจริญสติปัฏฐาน 4 และให้ประพฤติธรรมอันเป็นที่โคจรที่สืบเนื่องมาจากบิดา เมื่อประพฤติข้อนี้ บุญกุศลจะเจริญยิ่งขึ้น มารจะขัดขวางมิได้ ทรงอธิบายว่า ผู้พึ่งตนพึ่งธรรมจะเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ โภคะ และพละ แล้วทรงตรัสเล่านิทานเกี่ยวกับพระเจ้าจักรพรรดิในอดีต 7 พระองค์ มีพระเจ้าทัฬหเนมิ เป็นต้น ผู้ประพฤติจักรวรรดิวัตรสืบทอดต่อๆ กันมาโดยลำดับ เมื่อกษัตราธิราชทรงประพฤติจักรวรรดิวัตรนี้โดยบริบูรณ์แล้ว แก้ว 7 ประการ ได้เกิดขึ้น ทำให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองอุดมสมบูรณ์ พระเจ้าจักรพรรดิ และประชาราษฎร์ผู้ประพฤติตามมีอายุยืนถึง 80,000 ปี มีวรรณะผ่องใส มีความสุข มีโภคะ และพละ แต่ยังมีกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกพระองค์หนึ่ง ซึ่งนับเป็นองค์ที่ 8 ไม่ทรงประพฤติจักรวรรดิวัตรสืบทอดจากพระชนก จึงไม่ทรงมีแก้ว 7 ประการ บ้านเมืองของพระองค์จึงไม่เจริญรุ่งเรือง ประชาราษฎร์ประสบความเดือดร้อน อดอยากต้องขโมยเขากิน อกุศลธรรมข้อ อทินนาทาน จึงเกิดขึ้น อายุ วรรณะ สุขะ โภคะ[...]
- ท่านพระสารีบุตรได้อธิบายไว้ถึงลักษณะของสัมมาทิฏฐิ ที่มีแม่แบบตามนัยยะของอริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ อริยมรรค) โดยอธิบายไล่เรียงมาตามลำดับในแต่ละอาการของหลักปฏิจจสมุปบาท และประเด็นที่เมื่อได้ฟังแล้วจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ก็คือแนวทางการอธิบายที่เพิ่มเติมขึ้นมาจากที่พระพุทธเจ้าได้ทรงอธิบายเอาไว้สุดจบที่อวิชชา โดยได้อธิบายต่อไปจนถึงอาสวะ ซึ่งทำให้มีความเห็นตรงโดยสัมมาทิฏฐิว่าอาสวะและอวิชชานั้นมีความเกี่ยวข้องกัน
- พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ #4 หลังจากตรัสรู้แล้วทรงอยู่ที่ตำบลอุรุเวลา ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ที่ต้นไทร มีเหตุการณ์ตามลำดับ ดังนี้ ทรงคิดหาที่พึ่งสำหรับพระองค์เอง ทรงมีความคิดว่า ธรรมใดที่ทรงตรัสรู้แล้ว พึงสักการะเคารพธรรมนั้น เข้าไปอาศัยธรรมนั้น ทรงถูกพวกพราหมณ์ตัดพ้อ ว่าไม่ทรงอภิวาท ไม่ลุกรับ พราหมณ์ผู้แก่ผู้เฒ่า ทรงอธิบายธรรมที่ทำให้คนเราเป็นเถระ มารทูลให้นิพพาน ทรงตรัสว่า จะไม่ปรินิพพาน จนกว่า สาวกของพระองค์จะเป็นผู้ฉลาด ฯลฯ และศาสนานี้ตั้งมั่น รุ่งเรือง แผ่ไพรศาล ฯลฯ ทรงท้อพระทัยในการแสดงธรรม จิตน้อมไปเพื่อการขวนขวายน้อย พรหมอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม เพราะสัตว์ที่มีธุลีในดวงตาแต่เล็กน้อยมีอยู่ ทรงเห็นสัตว์ดุจดอกบัว 3 เหล่า คือ จมอยู่ในน้ำ ตั้งอยู่เสมอพื้นน้ำ และโผล่ขึ้นพ้นน้ำ ทรงแสดงธรรม เพราะเห็นความจำเป็นของสัตว์บางพวก คือ พวกที่เมื่อได้เห็น และได้ฟังธรรมจึงเข้ามาสู่คลองแห่งกุศลธรรมทั้งหลายได้ ทรงเห็นลู่ทางที่จะช่วยเหลือปวงสัตว์ ซึ่งเป็นหนทางเครื่องไปทางเดียว เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน 4 ทรงระลึกหาผู้รับปฐมเทศนา คือ ปัญจวัคคีย์ ซึ่งอยู่ที่เมืองพาราณสี ทรงเสด็จพาราณสี พบอุปกาชีวก[...]
- สูตร#1 อังคุลิมาลสูตร พระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปโปรดโจรองคุลีมาลซึ่งเป็นมหาโจร ผู้โหดร้าย ตัดนิ้วมือคนที่ตนฆ่าแล้วร้อยเป็นพวงมาลัยสวมคอไว้ สมัยนั้น ทรงออกบิณฑบาต เมื่อโจรองคุลีมาลเห็นพระพุทธเจ้าคิดจะปลงพระชนม์ จึงถือดาบและธนูติดตามไปเบื้องหลัง ทรงบันดาลอิทธาภิสังขารมิให้โจรองคุลีมารตามไม่ทัน องคุลิมาลหยุดยืนและกล่าวว่า “หยุดก่อนสมณะ หยุดก่อนสมณะ” ทรงตรัสว่า “เราหยุดแล้ว องคุลิมาล ท่านต่างหากจงหยุด” โจรองคุลีมาลสงสัยว่า ทรงดำเนินอยู่ แต่กลับตรัสว่าหยุด จึงทูลถามสาเหตุที่ตรัสเช่นนั้น ทรงตรัสว่า ทรงวางอาชญาในสรรพสัตว์ได้แล้วจึงชื่อว่า หยุดแล้วตลอดกาล ส่วนโจรองคุลีมาลไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลายจึงชื่อว่า ไม่หยุด องคุลีมาลรู้ว่าทรงเสด็จมาอนุเคราะห์จึงทิ้งดาบและอาวุธ แล้วทูลขอบรรพชา ต่อมาได้หลีกออกไปอยู่ผู้เดียว บำเพ็ญเพียรจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ สูตร#2 ทีฆาวุวัตถุ ว่าด้วย ฑีฆาวุกุมาร พระเจ้าพรหมทัต แห่งนครพาราณสี ยกทัพไปตีพระเจ้าทีฆีติ ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่มีทรัพย์และกำลังพลน้อยกว่า จึงพามเหสีหนีออกมาด้วยการปลอมตัวเป็นปริพาชกแล้วเข้าไปอาศัยอยู่ที่บ้านช่างหม้อที่ชานเมืองแห่งหนึ่งในนครพาราณสี หลังจากนั้น พระมเหสีก็ได้ให้กำเนิดบุตรชายชื่อว่าทีฆาวุราชกุมาร พระเจ้าทีฆีติส่งบุตรชายไปไว้นอกเมือง ด้วยเกรงว่าหากพระเจ้าพรหมทัตรู้ จะสั่งประหารชีวิตทั้งสามพระองค์ ต่อมา พระเจ้าพรหมทัตจับพระเจ้าทีฆีติและภรรยาได้ ก็สั่งให้มัดประจานรอบเมืองแล้วประหารเสีย ทีฆาวุราชกุมารมาเห็นเข้า พระเจ้าทีฆีติกได้ตะโกนสั่งเสียบุตรว่า “พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาวอย่าเห็นแก่สั้น เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ระงับได้ด้วยการไม่จองเวร” ภายหลัง ทีฆาวุราชกุมารได้เป็นคนสนิทของพระเจ้าพรหมทัต และมีโอกาสที่จะสามารถฆ่าพระเจ้าพรหมทัตได้[...]
- พาลบัณฑิตสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ทรงตรัสลักษณะของคนพาล 3 ประการ คือ คิดแต่เรื่องชั่ว พูดแต่เรื่องชั่ว ทำแต่กรรมชั่ว คนพาลจึงได้รับทุกขโทมนัส 3 ประการ ในปัจจุบัน หลังจากตายไป จะไปเกิดในทุคติ วินิบาต นรก หรือไปเกิดในภูมิของสัตว์ดิรัจฉาน ส่วนลักษณะของบัณฑิต 3 ประการคือ คิดแต่เรื่องดี พูดแต่เรื่องดี ทำแต่กรรมดี จึงได้รับสุขโสมนัส 3 ประการ ในปัจจุบัน หลังจากตายไป ก็จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ซึ่งเป็นสถานที่น่าปรารถนา หรือถ้าไปเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเกิดในตระกูลสูง มีทรัพย์มาก มีรูปงามน่าดูน่าเลื่อมใส
- พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ #3 ปฏิบัติตามทางสายกลาง เมื่อทรงแน่พระทัยว่าไม่อาจตรัสรู้เพราะการทำทุกรกิริยา ทรงระลึกได้ว่า เมื่องานแรกนาแห่งพระบิดา ทรงนั่งอยู่ใต้ร่มไม้หว้า ทรงบรรลุปฐมฌาน นี่คงเป็นหนทางแห่งการตรัสรู้ จึงทรงหันหาทางสายกลาง กลับพระทัยฉันอาหารหยาบ เมื่อทรงฉันอาหารหยาบ ปัญจวัคคีย์ผู้คอยบำรุงอยู่พากันหน่ายหลีกไป ด้วยคิดว่าทรงเป็นคนมักมาก จากนั้นทรงเล่าเหตุการณ์ขณะทำความเพียรก่อนการตรัสรู้ คือ ทรงเกิดความรู้สึกว่า พึงทำวิตกให้เป็นสองส่วนและคอยควบคุม ได้ทรงทำลายความขลาดกลัว ทรงกลั้นจิตจากกามคุณในอดีต ทรงคิดค้นวิธีแห่งอิทธิบาท ทรงค้นห่วงโซ่แห่งทุกข์ ทรงเจริญอานาปานสติ ทรงแก้ปัญหาสมาธิเสื่อม ทรงพยายามในอธิเทวญาณทัศนะเป็นขั้นๆ ได้ทรงฝันครั้งสำคัญ (มหาสุบิน) 5 อย่าง และทรงอธิษฐานทำความเพียร
- พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ #2 เมื่อทรงบวชแล้ว ทรงแสวงหาว่า อะไรเป็นกุศล ทรงเสด็จสำนักอาฬารดาบส และอุทกดาบส เพื่อทรงประพฤติพรหมจรรย์ ทรงได้สมาบัติแปด แต่ทรงไม่พอใจ เบื่อจากธรรมนั้น เพราะธรรมนี้ไม่ได้เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ฯลฯ นิพพาน จึงทรงหลีกไป ทรงเสด็จต่อไปถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม และทรงตั้งความเพียร ณ ที่ตำบลนี้ โดยทรงประพฤติอัตตกิลมถานุโยค (วัตรของเดียรถีย์ อันประกอบด้วยองค์ 4) คือ การบำเพ็ญความเพียรเพื่อทรมานตนเอง และทำทุกรกิริยา
- พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ เรื่องเริ่มแต่การเกิดแห่งวงศ์สากยะ การก้าวลงสู่ครรภ์ การประสูติ ประกอบด้วยมหาปุริสลักขณะ 32 บุพกรรมของการได้มหาปุริสลักขณะ ความรู้สึกที่ถึงกับทำให้ออกผนวช และออกผนวชเมื่อพระชนม์ 29 ปี
- สูตร#1 ตอน ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา สูตร#2 ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ว่าด้วยการประกาศพระธรรมจักร ทรงแสดงแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ตรัสว่า ที่สุด 2 ประการ ที่บรรพชิตไม่ควรเสพ คือ กามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยค แล้วทรงแสดงมัชฌิมาปฏิทา คือ มรรคมีองค์ 8 ว่าควรเสพ ทรงแสดงอริยสัจ 4 ประการ และญาณทัสสนะมีวน 3 รอบ มี 12 อาการ ตรัสว่า ญาณทัสสนะของพระองค์ในเรื่องอริยสัจ 4 ประการนี้ หมดจดดีแล้วจึงทรงประกาศยืนยันการตรัสรู้ของพระองค์ เมื่อทรงแสดงจบลง ท่านพระโกณฑัญญะได้ธรรมจักษุ (ดวงตาเห็นธรรม) เป็นพระอริยบุคคลองค์แรกของโลก สูตร#3 อนัตตลักขณสูตร ว่าด้วยลักษณะแห่งอนัตตา ทรงแสดงแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ตรัสว่า ขันธ์ 5 เป็นอนัตตา เป็นไปเพื่ออาพาธ บังคับให้เป็นไปตามใจไม่ได้ และทรงสอนให้พิจารณาขันธ์ 5 ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง พระปัญจวัคคีย์ก็มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก[...]
- สูตร#1 จูฬสีหนาทสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ทรงปรารภเหตุการณ์ในขณะนั้นว่า พระองค์ และภิกษุสงฆ์มีลาภสักการะเกิดขึ้นเป็นอันมาก แต่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกกลับเสื่อมลาภสักการะ พากันร้องไห้คร่ำครวญไปตามท้องถนน พระองค์จึงตรัสสอนให้ภิกษุบันลือสีหนาทโดยชอบว่า สมณะที่ 1 ถึงที่ 4 (โสดาบันถึงอรหันต์) มีในพระศาสนานี้เท่านั้น จากนั้นทรงอธิบายว่า ถ้านักบวชลัทธิอื่นถามถึงเหตุผลที่กล่าวอย่างนี้ พึงอ้างธรรม 4 ประการ คือ ความเลื่อมใสในศาสดา ในพระธรรม บำเพ็ญศีลได้บริบูรณ์ และผู้ร่วมประพฤติธรรมทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตเป็นที่รักที่พอใจของเรา จากนั้นทรงแสดงเรื่องทิฏฐิ 2 ประการ ที่สมณะหรือพราหมณ์ยึดติด คือ ภวทิฏฐิ (หมายถึง สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง) วิภวทิฏฐิ (หมายถึงอุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ) และทรงแสดงอุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น) 4 อย่าง คือ กามุปาทาน (ความยึดมั่นในกาม) ทิฏฐุปาทาน (ทิฏฐิ) สีลัพพตุปาทาน (ศีล และวัตร) และอัตตวาทุปาทาน (วาทะว่าอัตตา) ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายมักอ้างว่า[...]
- สูตร#1 สมณมุณฑิกสูตร ทรงแสดงแก่ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ ณ พระเชตวัน ทรงปรารภข้อบัญญัติเรื่องคุณสมบัติของผู้เป็นสมณะของอุคคาหมานปริพาชก ซึ่งช่างไม้ปัญจกังคะนำเข้าไปกราบทูลให้ทรงทราบ อุคคาหมานะกล่าวถึงข้อบัญญัติของตนว่า บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการเป็นผู้มีกุศลเพียบพร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมขั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มีใครสู้วาทะได้ ธรรม 4 ประการ คือ ไม่ทำกรรมชั่วทางกาย ทางวาจา ไม่ดำริความดำริชั่ว และไม่ประกอบอาชีพชั่ว ทรงตรัสว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง เด็กอ่อนที่ไม่รู้จักกรรมชั่ว ไม่เคยทำกรรมชั่วก็จะกลายเป็นผู้มีกุศลเพียบพร้อม ทรงไม่ยอมรับการบัญญัติเช่นนั้น แล้วทรงแสดงเสขธรรม (ธรรมสำหรับผู้เป็นพระเสขะ) คือ ความรู้เรื่องศีล และความดำริ ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล พร้อมทั้งสมุฏฐานความดับและข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งศีลและดำริ และอเสขธรรม (ธรรมของพระอเสขะ) คือ อเสขธรรม 10 ประการ สูตร#2 โจทนาสูตร ท่านพระสารีบุตรแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้เป็นโจทก์ แสดงว่า ภิกษุผู้เป็นโจทก์ควรมีธรรม 5 ประการ เพื่อไม่ให้มีวิปปฏิสาร (ความเดือดร้อนใจ) แก่ทั้งผู้โจทก์ และผู้ถูกโจทก์ ธรรม 5 ประการได้แก่ กล่าวในกาลอันควร[...]
- กายคตาสติสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ทรงปรารภคำกราบทูลของภิกษุ ผู้กำลังนั่งสนทนาเรื่องกายคตาสติที่ทรงตรัสไว้ว่า เมื่อภิกษุเจริญให้มากแล้ว จะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก จึงทรงอธิบายวิธีเจริญกายคตาสติให้ฟังโดยละเอียด ซึ่งมีทั้งหมด 18 วิธี และทรงแสดงอานิสงส์ของการเจริญไว้ 10 ประการ
- สูตร#1 สุนักขัตตสูตร ทรงแสดงแก่เจ้าสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร ขณะประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ทรงปรารภคำถามเจ้าสุนักขัตตะ เรื่องการพยากรณ์อรหัตตผลของภิกษุจำนวนมากที่มาเฝ้าพระพุทธเจ้าว่า ภิกษุเหล่านั้นพยากรณ์อรหัตตผลถูกต้องตามความเป็นจริง หรือตามที่ตนเข้าใจเอาเองว่าได้บรรลุ ตรัสตอบว่ามีทั้งสองประเภท แต่ประเภทที่สำคัญผิดว่าได้บรรลุ ก็ทรงคิดว่าจักแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น ส่วนผู้ที่แต่งปัญหาเข้ามาถาม แม้ทรงคิดว่าจะแสดงธรรมแก่เขา ความคิดนั้นก็เป็นอย่างอื่น เมื่อสุนักขัตตะกราบทูลขอให้ทรงแสดงธรรมเพื่อภิกษุทั้งหลายจะได้ทรงจำไว้ จึงทรงแสดงเรื่องกามคุณ 5 และทรงแสดงฐานะที่เป็นไปได้ 7 ประการ โดยละเอียด และอุปมาอุปไมยประกอบ เมื่อทรงแสดงจบ เจ้าสุนักขัตตะเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า สูตร#2 ฉวิโสธนสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ เชตวัน เพื่อให้ภิกษุรู้จักหลักการตรวจสอบการพยากรณ์อรหัตตผล ว่าจะเป็นจริงหรือไม่ ตรัสว่า ถ้ามีเพื่อนภิกษุพยากรณ์อรหัตตผล ก็อย่าเพิ่งยินดี อย่าเพิ่งคัดค้าน แต่ควรตรวจสอบก่อน หลักการตรวจสอบมี 6 ข้อ คือ ให้สอบถามว่า รู้เห็นอย่างไรในโวหาร 4 รู้เห็นอย่างไรในขันธ์ 5 ที่ยึดถือ รู้เห็นอย่างไรในธาตุ 6 รู้เห็นอย่างไรในอายตนะ 12[...]
- สูตร#1 อานาปานสติสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ซึ่งประกอบด้วยภิกษุผู้บวชใหม่ และพระเถระผู้มีชื่อเสียงหลายรูป นั่งแวดล้อมพระองค์ ณ ที่กลางแจ้งใกล้ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา ในบุพพาราม กรุงสาวัตถี ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ อันเป็นวันครบ 4 เดือนแห่งฤดูฝน เป็นเดือนที่มีดอกโกมุท ทรงตรวจดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่ และตรัสว่า ในหมู่ภิกษุนี้ มีภิกษุที่เป็นพระอริยเจ้า และภิกษุผู้ทำความเพียรในการเจริญหลักธรรมต่างๆ อยู่ จึงได้ทรงแสดงหลักการเจริญ หลักธรรม 3 หมวดที่ทำให้ได้ผลมาก และมีอานิสงส์มาก คือ อานาปานสติ 16 ขั้น สติปัฏฐาน 4 และโพชฌงค์ 7 โดยลำดับแห่งเหตุและผล ที่ทำให้บรรลุผลคือวิชชา และวิมุตติได้สมบูรณ์ สูตร#2 อานาปานสังยุต และผลานิสงส์ 7 ประการ แห่งการเจริญอานาปานสติ
- มหาโควินทสูตร#2 พระเจ้าทิสัมบดีได้แต่งตั้งโชติปาลมานพให้ดำรงตำแหน่งแทนบิดาไว้ในตำแหน่งโควินทพราหมณ์ ได้ถวายคำปรึกษาอรรถคดี และจัดแจงการงานต่างๆ ได้เรียบร้อย จึงมีสมญาว่า โควินทะ ต่อมาเมื่อพระเจ้าทิสัมบดีสวรรคต เรณุราชกุมารผู้เป็นพระราชโอรส และเป็นพระสหายของโควินทะขึ้นเสวยราชย์ ก็ตรัสสั่งโควินทะให้แบ่งราชสมบัติออกเป็น 7 ส่วน ส่วนหนึ่งเพื่อพระองค์ อีก 6 ส่วนเพื่อกษัตริย์ราชกุมารอื่นๆ ที่เป็นพระสหายรัก โควินทะได้เป็นที่ปรึกษาแด่พระมหากษัตริย์ทั้งเจ็ดแคว้นนั้น ต่อมา มหาโควินทะมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปว่า มหาโควินทะสามารถมองเห็นพระพรหม สามารถสนทนาปราศรัยปรึกษากับพระพรหมได้ แต่ในความจริงท่านไม่เคยเห็นพระพรหม และไม่เคยสนทนาปราศรัยกับพระพรหม จึงคิดว่า จะไปหลีกเร้น เพ่งกรุณาฌานตลอด 4 เดือนในฤดูฝน ตามคำของพราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ว่า จะสามารถเห็น และสนทนาปราศรัยกับพระพรหมได้ จึงไปหลีกเร้นอยู่ตลอด 4 เดือน ก็ยังไม่เห็นพระพรหม จึงเกิดความระอา ท้อแท้ สนังกุมารพรหมทราบความคิด จึงมาปรากฏตัว ได้สนทนากัน และออกบวชประพฤติพรหมจรรย์เพื่อไปเกิดในพรหมโลกตามคำแนะนำของสนังกุมารพรหม ได้สั่งสอนธรรมแก่คนทั้งหลาย หลังจากถึงแก่มรณภาพไปเกิดในพรหมโลกเมื่อปัญจสิขะกราบทูลจบ ได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ทรงระลึกเรื่องนั้นได้หรือไม่ ทรงตรัสว่า ทรงระลึกได้ พระองค์เองได้เสวยพระชาติเป็นมหาโควินทพราหมณ์ในครั้งนั้น แต่ในครั้งนั้น ทรงชี้ทางแก่สาวกเพียงแค่ที่จะไปอยู่ร่วมกับพรหมได้ แต่ในชาตินี้ทรงแสดงมรรค 8 อันเป็นไปเพื่อพระนิพพาน
- มหาโควินทสูตร ตอนที่ 1 ทรงแสดงแก่ปัญจสิขะ คนธรรพบุตร ขณะประทับอยู่ภูเขาคิชกูฏ กรุงราชคฤห์ ทรงปรารภคำกราบทูลของปัญจสิขะ เรื่องการประชุมของพวกเทพชั้นดาวดึงส์ ณ เทวสภาชื่อสุธัมมา ในวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งมีท้าวสักกะจอมเทพเป็นประธาน ได้ตรัสสรรเสริญพระพุทธเจ้าว่า ทรงทำให้หมู่เทพเจริญเต็มที่ หมู่อสูรเสื่อมถอยลง และท้าวสักกะได้กล่าวสรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้า 8 ประการให้พวกเทพฟัง ต่อมาสนังกุมารพรหมได้มาปรากฏต่อเทพชั้นดาวดึงส์ ได้ตรัสเล่าเรื่องอดีตชาติของพระพุทธเจ้าที่เกิดมาเป็นพราหมณ์ ชื่อ มหาโควินทะ ซึ่งเป็นปุโรหิตของพระเจ้าเรณุ ทำหน้าที่ถวายคำปรึกษาอรรถคดีและสามารถจัดแจงการงานต่างๆ ได้เรียบร้อย จนคนทั้งหลายขนานนามว่า มหาโควินทพราหมณ์ ซึ่งต่อมาได้มีชื่อเสียงขจรไปว่า สามารถมองเห็นพระพรหมและสนทนาปราศรัยปรึกษาพระพรหมได้ แต่จริงๆทำไม่ได้ จึงมีความคิดว่าจะไปหลีกเร้น เพื่อที่จะให้เห็นพระพรหมได้ คุยได้ ซึ่งต้องใช้การเจริญกรุณาภาวนาตลอดฤดูฝน 4 เดือน ตามคำของพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้เป็นอาจารย์ และผู้เป็นปาจารย์
- สูตร#1 อัฏฐกนาครสูตร ท่านพระอานนท์แสดงแก่ทสมคหบดีชาวอัฏฐกนคร ณ เวฬุวคาม เขตกรุงเวสาลี ปรารภคำถามที่ทสมะเรียนถามพระอานนท์ว่า ธรรมอันเป็นเอกซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป ฯลฯ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว มีอยู่หรือไม่ ท่านพระอานนท์ตอบว่ามีอยู่ และอธิบายว่าได้แก่ธรรมต่อไปนี้ คือ รูปฌาน 4 อัปปมัญญา 4 อรูปฌาน 3 และให้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงและดับไปของธรรมนั้น เมื่อแสดงจบ ทสมคฤหบดีชื่นชมภาษิตของพระอานนท์ว่า ตนแสวงหาประตูอมตธรรมประตูเดียว แต่ได้พบถึง 11 ประตู เปรียบเหมือนคนแสวงหาแหล่งขุมทรัพย์แห่งเดียว แต่ได้พบแหล่งขุมทรัพย์ถึง 11 ขุม ทสมะได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์ และถวายอาหาร ถวายผ้าไตรพระอานนท์ และได้ให้สร้างวิหาร 500 หลังถวายพระอานนท์ สูตร#2 สาเลยยกสูตร ทรงแสดงแก่พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ณ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อสาลา เพื่อตอบปัญหาของพราหมณ์และคหบดี ซึ่งได้ยินกิตติศัพท์ของพระพุทธเจ้าได้พากันไปเฝ้ากราบทูลถามเหตุปัจจัย ที่ทำให้สัตว์บางพวกตายแล้วเข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก และสัตว์บางพวกตายแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ตรัสตอบว่า พวกที่เข้าถึงอบาย ฯลฯ[...]
- สูตร#1 นิวาปสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ทรงตรัสว่า พรานเนื้อที่ปลูกหญ้าไว้ในทุ่งหญ้ามิได้หวังให้ฝูงเนื้อมากินเพื่อจะได้อายุยืน ผิวพรรณดี มีชีวิตอยู่นานแต่ปลูกไว้เพื่อล่อจับเนื้อ ทรงอธิบายว่า มีเนื้ออยู่ 4 ฝูง ฝูงเนื้อที่ 1-3 เป็นเนื้อที่ถูกพรานเนื้อและบริวารจับได้ ส่วนฝูงเนื้อที 4 พรานเนื้อและบริวารจับไม่ได้ อุปมาอุปไมยเปรียบเทียบนักบวช 4 ประเภทกับเนื้อ 4 ฝูง ซึ่งนักบวชประเภทที่ 1-3 นั้น ถูกมารทำอะไรๆ ได้ตามใจชอบ ส่วนนักบวชประเภทที่ 4 งดเว้นจากการบริโภคกามได้เด็ดขาดและไม่ยึดติดอยู่กับทิฏฐิใดๆ จึงเป็นผู้ข้ามพ้นโลกามิสได้ จึงพ้นจากเงื้อมมือมาร และทรงตรัสแสดงข้อปฏิบัติ คือ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 และสัญญาเวทยิตนิโรธ ที่มาร และบริษัทของมารมองไม่เห็น ข้ามพ้นตัณหาได้ สูตร#2 เทวาสุรสังคามสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่าด้วยสงครามระหว่างเทวดากับอสูร ที่รบกันถึง 3 ครั้ง และพวกอสูรชนะทุกครั้ง พวกเทวดาที่พ่ายแพ้จึงหนีไปยังเทพบุรี พวกอสูรทำอะไรพวกเทวดาไม่ได้ ต่อมาเทวดากับอสูรรบกันอีก[...]
- สูตร#1 เวนาคปุรสูตร ทรงแสดงแก่พราหมณ์ และคหบดีชาวเวนาคปุระ แคว้นโกศล ทรงปรารภคำกราบทูลของพราหมณ์วัจฉโคตร ที่กล่าวสรรเสริญถึงอินทรีย์ที่ผ่องใส พระฉวีวรรณที่บริสุทธิ์ผุดผ่องของพระองค์เช่นนั้น การจะได้ที่นอนสูงใหญ่ คือ เตียงมีเท้าเกินประมาณ ฯลฯ เครื่องลาดมีหมอนข้าง ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบากแน่นอน ตรัสว่า ที่นอนสูงใหญ่ฯลฯบรรพชิตหาได้ยาก และถ้าได้มาก็ไม่สมควร แต่มีที่นอนสูง ที่นอนใหญ่ 3 อย่าง ที่ทรงได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก คือ ที่นอนฯลฯที่เป็นทิพย์ จากการได้ฌาณทั้ง 4 ที่นอน ฯลฯ ที่เป็นของพรหม จากการเจริญพรหมวิหาร ที่นอน ฯลฯ ที่เป็นของพระอริยะ จากการที่ละกิเลสได้เด็ดขาด เมื่อจบธรรมเทศนา พราหมณ์วัจฉโคตรทูลสรรเสริญและแสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต สูตร#2 เวขณสสูตร ทรงแสดงแก่ปริพาชกชื่อเวขณสะ ขณะประทับอยู่เชตวนาราม ได้เข้าไปเฝ้า ทูลเรื่อง “ วรรณะอันยอดเยี่ยม ” แต่ชี้ชัดลงไปไม่ได้ว่าวรรณะไหน เปรียบเหมือนชายคนหนึ่งปรารภถึงหญิงสาวอย่างนี้ว่า ‘เราปรารถนารักใคร่หญิงงามแห่งชนบทนี้’ แต่เมื่อถูกถามในรายละเอียดของหญิงนั้น กลับตอบว่า ไม่รู้จัก และได้ทรงเปรียบเทียบวรรณะเป็นคู่ให้เห็นว่ามีสิ่งที่เลิศกว่ากันเป็นชั้นๆ และตรัสอธิบายเรื่องของกาม[...]
- สูตร#1 พาหิติกสูตร ว่าด้วยการถวายผ้าพาหิติกา (ผ้าที่ทอจากต่างแคว้น) ท่านพระอานนท์แสดงแก่พระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์ผู้ครองแคว้นโกศล ที่ได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า พระพุทธเจ้าทรงประพฤติ ทางกาย วาจา ใจ ที่ผู้รู้ติเตียนหรือไม่ พระอานนท์ตอบว่าไม่ทรงประพฤติ และตรัสถามว่า ความประพฤติที่ผู้รู้ติเตียนและผู้รู้ไม่ติเตียนเป็นอย่างไร ท่านพระอานนท์ได้ตอบว่า ความประพฤติที่ผู้รู้ติเตียน คือ ความประพฤติที่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น หรือทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งทำให้อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม ทรงละอกุศลธรรมทุกอย่าง ทรงประกอบด้วยกุศลธรรมส่วนความประพฤติที่ผู้รู้ไม่ติเตียนมีนัยตรงข้ามกัน เมื่อท่านพระอานนท์แสดงจบ พระเจ้าปเสนทิโกศลเกิดความเลื่อมใสทรงถวายผ้าพาหิติกาเพื่อบูชาธรรมแก่พระอานนท์ ซึ่งท่านได้นำไปถวายพระพุทธเจ้า สูตร #2 กรรณกัตถลสูตร ทรงแสดงแก่พระเจ้าปเสนทิโกศล ขณะประทับอยู่ ณ กัณณกัตถละ อุทัญญานคร แคว้นโกศล เพื่อทรงสนทนาธรรม เรื่องสัพพัญญู เรื่องวรรณะ 4 เรื่องเทวดาและพรหม โดยได้ทรงพยากรณ์ความเป็นสัพพัญญู ทรงตรัสถึงวรรณะ 4 จำพวกในสัมปรายภพไม่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับมีหรือไม่มีธรรม 5 ประการ และความเพียร เปรียบเหมือนสัตว์ที่ฝึกกับสัตว์ที่ไม่ได้ฝึก ตรัสตอบเรื่องเทวดาและพรหมที่มีความเบียดเบียน มีทุกข์จึงจะมาเกิดในมนุษยโลก สูตร#3[...]
- สูตร#1 กันทรกสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะประทับอยู่ใกล้สระโบกขรณีชื่อคัคครา ทรงสนทนากับกันทรกปริพาชก และนายเปสสะ ปริพพาชกชื่อกันทรกะ กราบสรรเสริญว่า พระพุทธเจ้าทรงสามารถแนะนำภิกษุให้ปฏิบัติชอบได้ ทรงตรัสว่าเหตุที่ทำให้ภิกษุสงบ คือ พวกหนึ่งสงบเพราะเป็นอรหันตขีณาสพ พวกหนึ่งยังเป็นเสขบุคคลแต่สงบได้ เพราะเจริญสติปัฏฐาน 4 ประการ ซึ่งนายเปสสะก็เจริญสติปัฏฐานเช่นกัน ทรงตรัสถึงบุคคล 4 ประเภท ตรัสถามว่าชอบประเภทไหน นายเปสสะกราบทูลว่าชอบใจบุคคลประเภทที่ 4ให้เหตุผลแล้วทูลลากลับ จากนั้นได้ตรัสเรียกภิกษุมาแล้วทรงอธิบายบุคคล 4 ประเภทโดยละเอียด สูตร#2 ชีวกสูตร ทรงแสดงแก่หมอชีวกโกมารภัจ ขณะประทับอยู่สวนมะม่วง กรุงราชคฤห์ หมอชีวกเข้าไปเฝ้ากราบทูลถามว่า ตนได้ฟังมาว่า พระสมณโคดมทรงทราบอยู่ ก็เสวยเนื้อสัตว์ที่เขาฆ่าเจาะจงถวายนั้นเป็นความจริงหรือไม่ ตรัสตอบว่า ไม่ตรงกับความจริง ทรงแสดงหลักการพิจารณาเนื้อที่ควรฉันและไม่ควรฉัน ทรงตรัสว่า ผู้ฆ่าสัตว์อุทิศพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต ย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมากโดยฐานะ 5 ประการ เมื่อจบพระธรรมเทศนา หมอชีวกแสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
- มหาสุทัสสนสูตร #2 ทรงแสดงว่า พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงเห็นว่า ผลดีต่างๆ เหล่านั้นเกิดขึ้นเพราะผลแห่งกรรมดี คือ ทาน การให้ การฝึกจิต และการสำรวมจิต จึงทรงบำเพ็ญฌาน ได้บรรลุฌานที่ 1 ถึงฌานที่ 4 ทรงเจริญพรหมวิหาร 4 และทรงสั่งลดการเข้าเฝ้าให้น้อยลง เพื่อทรงมีเวลาอบรมทางจิตใจได้มากขึ้น เวลาล่วงไปหลายพันปี พระนางสุภัททา พระราชเทวีเป็นนางแก้ว ได้เสด็จมาเฝ้า ทรงเห็นว่าพระสวามีจะทรงสวรรคต จึงทรงขอร้องให้อยู่ต่อเพื่อเห็นแก่สมบัติ เห็นแก่ชีวิต แต่กลับตรัสตอบขอให้พระราชเทวีทรงขอร้องใหม่ในทางตรงกันข้าม เพราะการพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นของธรรมดา การตายของผู้มีความกังวล ห่วงใย เป็นทุกข์ และถูกติเตียน พระราชเทวีก็ทรงกรรเเสง แต่ทรงฝืนพระหฤทัย ขอร้องใหม่ ตามที่พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงแนะนำนั้น และต่อมาไม่นาน พระเจ้ามหาสุทัสสนะก็สวรรคต และเข้าถึงพรหมโลก พระพุทธเจ้าทรงสรุปว่าพระเจ้ามหาสุทัสสนะสมัยนั้น คือ พระองค์เอง และทรงชี้ให้เห็นสัจธรรมว่า แม้ทรงพรั่งพร้อมสมบูรณ์ด้วยสมบัตินานาประการ แต่ก็ทรงใช้สอยเพียงบางส่วนเท่านั้น และทรงตรัสว่า สังขารเหล่านั้นทั้งปวงล่วงลับดับไป ผันแปรไปแล้ว สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่ยั่งยืน สังขารทั้งหลาย ไม่น่ายินดี ข้อนี้จึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด[...]
- ทรงแสดงแก่ท่านพระอานนท์ ขณะประทับใต้ควงไม้สาละคู่ในวันปรินิพพาน เพื่อทรงอธิบายให้เข้าใจ เหตุที่พระองค์เสด็จมาปรินิพพานที่กรุงกุสินารา ทรงปรารภคำกราบทูลพระอานนท์ว่า อย่าได้ปรินิพพานที่กุสินารา ซึ่งเป็นเมืองเล็กนี้ ขอเสด็จไปในเมืองใหญ่ ทรงตรัสห้ามไม่ให้พูดอย่างนั้น แล้วทรงเล่าเรื่องในอดีตของกรุงกุสินารา เคยเป็นราชธานีของพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า มหาสุทัสสนะ ผู้ครอบครองมหาอาณาจักรอันกว้างใหญ่ไพศาล และมีกรุงกุสาวดี คือกรุงกุสินาราในบัดนี้เป็นเมืองหลวง มีประชากรหนาแน่น เจริญรุ่งเรืองมาก พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ทรงมีรัตนะหรือแก้ว 7 ประการ และทรงสมบูรณ์ด้วยพระฤทธิ์ (ความสำเร็จ 4 ประการ) นอกจากนี้ยังมีปราสาท ราชมนเทียร สระโบกขรณี และราชทรัพย์อื่นๆ อีกมาก ทรงเพียบพร้อมบริบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และทรัพย์สมบัติเหล่านี้ เพราะกรรมดีของพระองค์ คือ ทาน การข่มใจ และการสำรวม ทรงเจริญฌานสมาบัติ และพรหมวิหาร
- สูตร#1 จูฬธัมมสมาทานสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน เพื่อให้ภิกษุทราบว่าการสมาทานธรรมมี 4 แบบ ซึ่งการสมาทานธรรม หมายถึง การนำธรรมมาปฏิบัติ โดยทรงอธิบายแต่ละแบบโดยละเอียด และยกอุปมาโวหารประกอบ ทรงถือเอาความทุกข์และความสุขในขณะปฏิบัติ กับความทุกข์และความสุขที่เป็นผลแห่งการปฏิบัติเป็นเกณฑ์ เกณฑ์สูงสุด คือ ความสุขในสุคติโลกสวรรค์ สูตร#2 มหาธัมมสมาทานสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ทรงยกการสมาทานธรรม 4 แบบ ดังที่แสดงไว้ในจูฬธัมมสมาทานสูตร แต่ทรงแยกอธิบาย คือ บุคคลผู้ไม่รู้จักการสมาทานธรรมทั้ง 4 แบบตามความเป็นจริง ชื่อว่าตกอยู่ในอวิชชา ทำให้ไม่รู้ว่าสิ่งไหนควรเสพ สิ่งไหนไม่ควรเสพ ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา เป็นต้น เจริญขึ้น ธรรมที่น่าปรารถนา เป็นต้น เสื่อมไป แต่ถ้ารู้การสมาทานธรรมทั้ง 4 แบบตามเป็นจริง ชื่อว่ามีวิชชา ก็จะเป็นเหตุให้รู้ว่าสิ่งไหนควรเสพ สิ่งไหนไม่ควรเสพ ทำให้ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา เป็นต้น เสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา เป็นต้น เจริญขึ้น และทรงอธิบายการสมาทานธรรมทั้ง 4[...]
- สูตร#1 มหาโคปาลสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ เชตวัน ทรงปรารภความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระศาสนาของภิกษุทั้งหลาย ทรงเปรียบเทียบ คนเลี้ยงโคผู้ไม่ฉลาดเปรียบกับภิกษุผู้ไม่ฉลาดเพราะขาดองค์คุณ 11 ประการ จะไม่เจริญงอกงามไพบูลย์ในพระศาสนานี้ และคนเลี้ยงโคผู้ฉลาดเปรียบกับภิกษุผู้ฉลาดเพราะมีองค์คุณ 11 ประการ จะเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระศาสนานี้ สูตร#2 จูฬโคปาลสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ริมฝั่งแม่น้ำคงคา เขตเมืองอุกกเจลา แคว้นวัชชี ปรารภเหตุการณ์ในอดีตเรื่องของคนเลี้ยงโคที่พาฝูงโคลงน้ำว่ายตัดกระแสน้ำ ตรัสเล่าเปรียบเทียบให้ฟัง 2 กรณี 1. คนเลี้ยงโคไม่ฉลาด ไม่พิจารณาฝั่งนี้ฝั่งโน้นให้ดีก่อน ตรงที่ต้อนฝูงโคลงแม่น้ำนั้นไม่ใช่ท่าข้าม ว่ายเข้าไปในวังวนของกระแสน้ำกลางแม่น้ำ ถึงแก่ความตายหมดทั้งฝูง 2. คนเลี้ยงโคผู้ฉลาด ต้อนฝูงโคไปสู่ที่หมาย ว่ายตัดกระแสน้ำถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดิภาพ เพราะตรงที่ข้ามเป็นท่าน้ำ ซึ่งพิจารณาโดยรอบคอบแล้ว จึงปล่อยโคข้ามไปตามลำดับ เปรียบเหมือนสมณะหรือพราหมณ์ผู้ฉลาดเรื่องโลกนี้และโลกหน้า รู้ทั่วถึงธรรมทั้งปวง สามารถชักนำผู้อื่นให้ได้รับความสุขพ้นทุกข์ทั้งปวงได้ สูตร#3 นาคสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่าด้วยองค์ของช้างต้น ซึ่งเป็นช้างควรแก่พระราชา จะต้องประกอบด้วยองค์ 4 ประการ จึงนับว่าเป็นพระราชพาหนะโดยแท้ เปรียบเทียบกับภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย[...]
- 4 คลังพระสูตรสูตร#1 ปัพพโตปมสูตร พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ตรัสถามถึงกิจที่พระราชาพึงขวนขวาย พระผู้มีพระภาคตรัสถามพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า เมื่อมหาภัยอันร้ายกาจที่ทำให้มนุษย์พินาศบังเกิดขึ้น อะไรที่พระองค์จะพึงทรงกระทำในภาวะแห่งมนุษย์ที่ได้แสนยาก พระเจ้าปเสนทิโกศลตอบว่า สิ่งที่ควรทำคือการประพฤติธรรม การประพฤติสม่ำเสมอ การสร้างกุศล การทำบุญ สูตร#2 ภยสูตร ว่าด้วยเรื่องภัยใหญ่ คือ ภัยที่ปุถุชนเรียกว่า อมาตาปุตติกภัย ได้แก่ ภัยจากไฟไหม้ใหญ่ ภัยจากน้ำท่วมใหญ่ และภัยจากโจรปล้นใหญ่ ซึ่งเป็นเหตุให้บุตรพลัดพรากจากมารดา แต่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภัยใหญ่ดังกล่าวยังเป็น สมาตาปุตติกภัย คือ ภัยที่ยังพอมีโอกาสให้บุตรพบกับมารดาได้บ้าง แต่ภัยใหญ่ต่อไปนี้ มารดา และบุตรไม่สามารถจะห้ามมิให้เกิดขึ้นแก่กันและกันได้เลย คือ ความแก่ ความเจ็บ และความตาย จึงตรัสเรียกว่า อมาตาปุตติกภัย หนทางที่จะให้ล่วงพ้นภัย 2 อย่างนี้ คือ อริยมรรคมีองค์ 8 สูตร#3 ฐานสูตร พระพุทธเจ้าตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่าด้วยฐานะที่ใครๆ ไม่พึงได้ มี 5 ประการ คือ อย่าแก่ อย่าเจ็บไข้ อย่าตาย[...]
- มหาสัจจกสูตร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่สัจจกะ นิครนถบุตร เป็นการสนทนาแบบถาม-ตอบ ในเรื่องของกายภาวนา และจิตตภาวนา ซึ่งนิครนถ์มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า กายภาวนานั้น หมายถึง การทำทุกรกิริยา และไม่เข้าใจเรื่องจิตตภาวนา จึงทรงอธิบายการเจริญภาวนาทั้ง 2 อย่าง ที่ถ้าเราทำได้แล้ว จะอยู่เหนือสุขและทุกข์ได้ แต่สัจจกนิครนถ์ ที่มีความสงสัยไม่ลงใจ พยายามที่จะคิดโต้แย้ง และกล่าวกระทบกระเทียบพระองค์ จึงทรงเล่าพุทธประวัติตอนบำเพ็ญสมาบัติ ในสำนักอาฬารดาบส และอุทกดาบส แม้ได้สุขของสมาธิขั้นลึกซึ้ง แต่ก็ไม่เผลอเพลินไปตามสุขเวทนานั้น และเมื่อทำทุกรกิริยา ได้รับทุกขเวทนาอันหนักหน่วง ทุกขเวทนานั้นก็ไม่อาจครอบงำจิตของพระองค์ได้ ทำให้สัจจกนิครนถ์มีความศรัทธา กล่าวสรรเสริญพระองค์ ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้พระภาค
- สูตร#1 อนุปุพพวิหารสูตร ว่าด้วยอนุปุพพวิหารธรรม คำว่า "อนุปุพพวิหารธรรม"แปลว่า ธรรมเครื่องอยู่ที่ต้องเข้าสมาบัติตามลำดับ มี 9 ประการ คือ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 และสัญญาเวทยิตนิโรธ 1 สูตร#2 อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร ว่าด้วยอนุปุพพวิหารสมาบัติ มี 9 ประการ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 และสัญญาเวทยิตนิโรธ 1 คือ ทรงแสดงธรรมที่ดับไปในอนุปุพพวิหารสมาบัติแต่ละอย่าง และยกย่องบุคคลผู้ดับธรรมแต่ละอย่างได้ด้วยฌานนั้นๆ ว่า "เป็นผู้ควรนมัสการ ควรไหว้ และควรเข้าไปนั่งใกลั" สูตร#3 นิพพานสุขสูตร ว่าด้วยนิพพานเป็นสุข ซึ่งเป็นคำที่ท่านพระสารีบุตรกล่าว แต่ท่านพระอุทายีแย้งว่า "นิพพานไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร" ท่านพระสารีบุตรย้ำว่าเป็นได้ แล้วแสดงกามคุณ 5 และสุขโสมนัสที่อาศัยกามคุณ 5 เกิดขึ้นเรียกว่า กามสุข และแสดงว่า ในฌานสมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4[...]
- สูตร#1 คาวีอุปมาสูตร อุปมาด้วยแม่โค ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ทรงเปรียบเทียบภิกษุผู้โง่เขลากับแม่โคที่โง่เขลาและภิกษุผู้ฉลาดกับแม่โคที่ฉลาดว่า ภิกษุผู้โง่เขลาที่ไม่สามารถบรรลุปฐมฌานได้ ก็จะบรรลุทุติยฌานไม่ได้ เหมือนแม่โคโง่เขลาที่ไม่สามารถหากินบนภูเขาขรุขระในถิ่นตนได้ ก็จะไปหากินในที่ต่างถิ่นไม่ได้ ส่วนภิกษุผู้ฉลาดที่สามารถบรรลุปฐมฌานได้ ก็สามารถบรรลุณานขั้นสูงขึ้นไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธได้ เหมือนแม่โคฉลาดที่สามารถหากินบนภูเขาขรุขระในถิ่นตนได้ ก็สามารถไปหากินในที่ต่างถิ่นได้ องค์ธรรมในสูตรนี้ คือ อนุปุพพวิหาร 9 ประการ นอกจากนี้ยังทรงแสดงธรรมอื่น คือ อิทธิวิธญาณ ทิพพโสตะ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ไว้โดยละเอียด สูตร#2 ตปุสสสูตร ว่าด้วยตปุสสคหบดี ท่านพระอานนท์พาตปุสสคหบดีไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากราบทูลเรื่องที่คหบดีนั้นเล่าให้ฟังว่า พวกเขาเป็นคฤหัสถ์มีความยินดีรื่นรมย์บันเทิงในกาม เนกขัมมะ (การออกบวช) ปรากฎแก่พวกเขาเหมือนเหวใหญ่ จิตของภิกษุหนุ่มๆ ยินดีในเนกขัมมะ เมื่อพิจารณาเห็นว่าเนกขัมมะเป็นธรรมสงบ ภิกษุมีธรรมที่ต่างกับคฤหัสถ์ คือ เนกขัมมะ พระองค์ตรัสว่าข้อนั้นเป็นความจริง แม้พระองค์เองก่อนตรัสรู้ก็มีความดำริว่า เนกขัมมะเป็นความดี ความสุขเป็นความดี แต่จิตของพระองค์ก็ไม่น้อมไปในเนกขัมมะ เมื่อพิจารณาเห็นว่าเนกขัมมะเป็นธรรมสงบ จึงดำริว่า อะไรเป็นเหตุให้เป็นเช่นนั้น รู้ว่า เพราะยังไม่เห็นโทษในกาม และยังไม่ได้รับอานิสงส์ในเนกขัมมะ ถ้าได้เห็นโทษในกาม และได้รับอานิสงส์ในเนกขัมมะ[...]
- 4 คลังพระสูตรสูตร#1 พรหมนิมันตนิกสูตร ทรงตรัสเล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟัง ณ พระเชตวัน ทรงปรารภทิฏฐิชั่วของท้าวพกพรหม ทรงทราบด้วยพระทัยว่า ท้าวพกพรหมมีทิฏฐิชั่ว กล่าวสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง สิ่งที่ไม่ยั่งยืนว่ายั่งยืน เป็นต้น จึงทรงเสด็จขึ้นไปยังพรหมโลก และได้โต้วาทะกัน ขณะนั้น มารใจบาปได้เข้าสิงในพรหมปาริสัชชะองค์หนึ่งให้กล่าวห้ามมิให้พระองค์ว่ากล่าวท้าวพกพรหม พร้อมทั้งขู่สำทับ แต่ทรงรู้ทันว่าเป็นมาร พรหมและพรหมบริษัททั้งปวงตกอยู่ในอำนาจของมารแต่พระองค์มิได้อยู่ในอำนาจนั้น ได้ทรงสำแดงพุทธานุภาพไม่ให้พกพรหมหายตัวได้ แต่ทรงแสดงหายตัวให้ดู และมารได้เข้าสิงพรหมอีกองค์หนึ่งเพื่อห้ามไม่ให้พระองค์ทรงสอนธรรมแก่สาวก และขู่สำทับแต่ทรงตรัสว่า ทรงรู้จักมารดี พระองค์จะสอนหรือไม่สอนก็ไม่ทำให้พระองค์ดีขึ้นหรือเลวลงเพราะทรงตัดอาสวะได้ขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ สูตร#2 มารตัชชนียสูตร พระมหาโมคคัลลานะแสดงแก่มารที่เข้าสิงในท้องท่าน ขณะเดินจงกรม ณ เภสกฬาวัน สมัยนั้นพระมหาโมคคัลลานะจงกรมอยู่ ถูกมารเข้าไปในท้องในไส้ รู้สึกเหมือนมีของหนักอยู่ในท้อง จึงหยุดจงกรม กลับไปยังวิหาร นั่งพิจารณาแล้ว ทราบว่า มารใจบาปเข้าไปสิงอยู่ จึงเรียกให้มารออกมา เมื่อมารนั้นออกมาท่านจึงเทศน์สอน ได้ลำดับญาติระหว่างท่านกับมารตนนี้ให้ฟังว่า มารนี้เป็นลูกของน้องสาวและเล่าอดีตของท่านที่เคยเกิดเป็นทูสีมารได้เคยทำร้ายพระอริยสาวกต้องไปตกนรกถูกหลาวแทงหลายพันปี หลายหมื่นปี ท่านขอให้มารนั้นอย่าทำร้ายพระอริยสาวกเพราะจะส่งผลให้ไปตกนรกเหมือนที่ท่านได้รับมาแล้ว มารนั้นรู้สึกเสียใจ แล้วหายตัวไป
- สูตร#1 พหุเวทนิยสูตร ว่าด้วยเวทนาหลายประการ ทรงแสดงแก่ท่านพระอานนท์ ณ พระเชตวัน ทรงปรารภการสนทนาธรรมเรื่องเวทนา ระหว่างท่านพระอุทายี และช่างไม้ปัญจกังคะ ซึ่งตกลงกันไม่ได้ว่า เวทนามีเท่าไร ท่านพระอานนท์ได้ยินจึงไปทูลถาม ทรงตรัสว่า ทรงแสดงเวทนาไว้หลายประการ ขึ้นอยู่กับเหตุ ทรงยกสุขเวทนาขึ้นอธิบาย เริ่มด้วย กามสุขที่อาศัยกามคุณ 5 และสุขในรูปฌาน และอรูปฌาน สูตร#2 วีมังสกสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน เพื่อให้ภิกษุผู้ไม่ได้เจโตปริยญาณ ทดลองตรวจสอบข้อปฏิบัติของพระองค์ เพื่อให้รู้ว่าพระองค์เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงหรือไม่ ต่อไปก็สามารถตรวจสอบตนเอง และผู้อื่นได้ ทรงอธิบายขยายความ และทรงเปิดโอกาสให้ภิกษุผู้ตรวจสอบทูลถามพระองค์ตามแนวทางการพิจารณาตรวจสอบนั้น ด้วยวิธีการดังกล่าวผู้นั้นก็จะมีศรัทธามั่นคงไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า สูตร#3 อภัยราชกุมารสูตร ทรงแสดงแก่อภัยราชกุมาร ซึ่งรับอาสานิครนถ์มาโต้วาทะกับพระองค์ ณ เวฬุวัน ปรารภคำถามว่า มีบ้างไหมที่พระองค์ตรัสวาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ทรงตรัสว่าจะตอบส่วนเดียวไม่ได้ ทรงแสดงหลักเกณฑ์การตรัสวาจาของพระองค์ 6 ข้อ เมื่อทรงแสดงจบ อภัยราชกุมารแสดงตนเป็นอุบาสกตลอดชีวิต
- 4 คลังพระสูตรสูตร#1 นคโรปมสูตร ทรงแสดงคุณสมบัติของพระอริยสาวก 7 ประการ ที่ทำให้ละอกุศล เจริญกุศลได้ เปรียบเทียบกับเครื่องป้องกันนคร 7 อย่าง ที่ทำให้นครที่ตั้งอยู่ชายแดนปราศจากภัยอันตรายได้ และทรงแสดงฌาน 4 ประการ ที่เป็นคุณสมบัติภายในของอริยสาวกซึ่งทำให้บรรลุคุณพิเศษชั้นสูงได้ เปรียบเทียบกับคุณสมบัติภายในของนครชายแดน 4 ประการ ที่ทำให้ชาวเมืองอยู่ผาสุกสูตร #2 สัจจวิภังคสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะประทับ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงปรารภพระธรรมจักรที่ทรงแสดง ให้แก่ภิกษุเหล่านั้นฟังโดยย่อ ทรงแนะนำให้ภิกษุทั้งหลายคบหาท่านพระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ และทรงสรรเสริญท่านทั้งสองไว้ด้วย เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จเข้าสู่ที่ประทับ ท่านพระสารีบุตรจึงอธิบายขยายความให้ภิกษุทั้งหลายฟังต่อไป โดยอธิบายเรื่องอริยสัจ 4 โดยพิสดาร
- 4 คลังพระสูตรสูตร#1 ธาตุวิภังคสูตร ว่าด้วยการจำแนกธาตุ ทรงแสดงแก่ท่านปุกกุสาติผู้บวชอุทิศต่อพระองค์แต่ไม่เคยรู้จักและไม่เคยเห็นพระองค์ เพื่อโปรดท่านให้เข้าถึงธรรม ขณะท่านพักอยู่ที่ศาลาของช่างหม้อชื่อ ภัคควะ เขตกรุงราชคฤห์ ทรงแสดงว่า บุรุษผู้มีธาตุ 6 มีผัสสายตนะ 6 มีมโนปวิจาร 18 มีอธิษฐานธรรม 4 บัณฑิตเรียกว่า มุนีผู้สงบ และทรงแสดงในรายละเอียด ผลจากการแสดงธรรมครั้งนี้ทำให้ท่านปุกกุสาติ ได้ทราบว่า ผู้ที่แสดงธรรมนั้น คือพระพุทธเจ้าจึงกราบลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคแล้วกราบทูลขออภัยโทษที่เรียกพระองค์ด้วยวาทะว่า "ผู้มีอายุ" เมื่อพระองค์ทรงยกโทษให้ จึงขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา แต่ไม่มีบาตรและจีวรพระผู้มีพระภาคไม่ทรงอุปสมบทให้ ท่านจึงไปเที่ยวแสวงหาบาตรและจีวร แต่ถูกแม่โคขวิดตายเสียก่อน เมื่อภิกษุทั้งหลายเข้าไปทูลถามถึงคติภพของท่าน พระองค์ตรัสว่าท่านปุกกุสาติเป็นพระอนาคามี ไปเกิดในพรหมโลกและจะนิพพานในโลกนั้น สูตร#2 ชาณุสโสณิพราหมณสูตร (สังยุตตนิกาย #19) ท่านพระอานนท์เห็นชาณุสโสณิพราหมณ์ขึ้นรถเทียมม้าขาวและตกแต่งส่วนต่างๆของรถด้วยสีขาว ออกจากกรุงสาวัตถีและมีคนชมว่ายานประเสริฐ จึงเข้าไปทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ในธรรมวินัยนี้สามารถบัญญัติยานอันประเสริฐได้หรือไม่ พระองค์ตรัสตอบว่า ได้ คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งเรียกว่า พรหมยานบ้าง ธรรมยานบ้าง รถพิชัยสงครามบ้าง
- 4 คลังพระสูตรสูตร #1 จูฬหัตถิปโทปมสูตร ทรงแสดงแก่ชาณุสโสณิพราหมณ์ ณ เชตวัน เรื่องรอยของพระตถาคต 4 รอย ที่ปิโลติกปริพาชกใช้เป็นเครื่องพิสูจน์เหตุที่ตนเลื่อมใสอย่างยิ่งในพระพุทธเจ้า ทรงตรัสแก่ชาณุสโสณิพราหมณ์ว่า อุปมาด้วยรอยเท้าช้างของปิโลติกปริพาชกยังไม่สมบูรณ์ จึงทรงยกอุปมาขึ้นเพื่อไม่ให้ด่วนตัดสินว่า ช้างตัวนี้ใหญ่เพียงเพราะเห็นรอยเท้า แต่ทรงเน้นให้เห็นตัวจริง รอยของพระพุทธเจ้าก็ฉันนั้น แม้ภิกษุจะได้เห็นรอยทั้ง 4 รอยนี้ ก็ไม่ด่วนตัดสินว่า “พระผู้มีพระภาคเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี จนกว่าจะได้บรรลุอาสวักขยญาณด้วยตนเอง ฯลฯ จึงตัดสินใจดังกล่าว ตรัสจบ ชาณุสโสณิประกาศตนเป็นอุบาสก สูตร#2 ชาณุสโสณิสูตร (อังคุตตรนิกาย #24) พราหมณ์ทูลถามเรื่องทานว่า พวกตนได้ให้ทานอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว พวกเขาจะได้รับหรือไม่ พระองค์จึงตรัสเรื่องฐานะและอัฏฐานะของผู้จะได้รับส่วนกุศล คือผู้ไปเกิดในภูมิที่เป็นฐานะเท่านั้นจึงควรได้รับส่วนกุศล ซึ่งได้แก่ ปรทัตตูปชีวีเปรต (เปรตผู้ต้องอาศัยส่วนกุศลของผู้อื่นเป็นอยู่) ส่วนภูมิอื่นมีมนุสสภูมิ เป็นต้น เป็นภูมิที่ไม่ได้ส่วนกุศล เพราะต่างก็มีอาหารของตน ชื่อว่า อัฏฐานะ และทรงตรัสว่า อกุศลกรรมบถ 10 ประการ และกุศลกรรมบถ 10 ประการ เป็นเหตุจำแนกสัตว์ให้ไปเกิดในภูมิต่าง ๆ[...]
- สูตร#1 ภยเภรวสูตร ทรงแสดงแก่ชาณุสโสณิพราหมณ์ ณ พระเชตวัน ทรงปรารภคำถามของพราหมณ์ว่า การอยู่เสนาสนะอยู่ลำบาก ทำให้สงบได้ยาก การอยู่โดดเดี่ยวก็หาความรื่นรมย์ได้ยาก ป่าทั้งหลายมักจะชักนำจิตของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิให้เกิดความหวาดหวั่นได้ ทรงอธิบายเหตุสะดุ้งกลัวการอยู่ในเสนาสนะป่า 16 ประการของสมณพราหมณ์พวกอื่น เปรียบเทียบกับเหตุไม่สะดุ้งกลัวการอยู่ในเสนาสนะป่าของพระองค์ และพระอริยะทั้งหลายซึ่งมีนัยตรงข้ามกัน และทรงอธิบายว่าขณะที่ยังไม่ได้ตรัสรู้ ทรงเลือกการอยู่เสนาสนะป่า และเมื่อความขลาดกลัวเกิดขึ้นในขณะที่ทรงอยู่ในอิริยาบถใดก็ทรงพิจารณาความขลาดกลัวให้หมดไปในอิริยาบถนั้น จะไม่ทรงเปลี่ยนอิริยาบถจนกว่าจะทรงกำจัดได้ แล้วทรงบำเพ็ญเพียรต่อไปจนได้ฌาณ 4 และวิชชา 3 แม้หลังจากตรัสรู้แล้ว ก็ยังทรงอยู่เสนาสนะป่าเป็นประจำ เพราะทรงเห็นอำนาจประโยชน์ 2 ประการ 1) เพื่อการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน 2) เพื่อการอนุเคราะห์คนรุ่นหลังให้ถือปฏิบัติตาม เมื่อทรงอธิบายจบลง ซาณุสโสณิพราหมณ์เกิดความเลื่อมใส ประกาศตนเป็นอุบาสก สูตร#2 ชาณุสโสณิสูตร (อังคุตรนิกาย#20) พราหมณ์เข้าเฝ้า และได้สนทนากันเรื่อง วิชชา 3 ของพวกพราหมณ์ ทรงตรัสว่า ผู้ได้วิชชา 3 ของพวกพราหมณ์เป็นอย่างหนึ่ง ผู้ได้วิชชา 3 ในอริยวินัยเป็นอย่างหนึ่ง แล้วทรงแสดงในรายละเอียด สูตร #3 ชาณุสโสณิสูตร (สังยุตตนิกาย[...]
- 4 คลังพระสูตรสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมแก่ชาวถุลลโกฏฐิตนิคม แคว้นกุรุ ซึ่งรัฏฐปาลกุลบุตร เป็นบุตรของตระกูลชั้นสูงในนิคมนั้น ได้นั่งฟังอยู่ด้วย เกิดความศรัทธาขอบวช แต่ไม่ทรงอนุญาต จะต้องไปขออนุญาตบิดามารดาก่อน เมื่อไปขอถึง 3 ครั้ง บิดามารดาไม่อนุญาต แม้ท่านจะอดอาหารประท้วง และยอมสละชีวิตก็ยังไม่อนุญาต เพื่อนได้มาช่วยอ้อนวอนขออนุญาตให้บวช บิดามารดาจึงอนุญาตให้บวชได้ เมื่อบวชแล้วไม่นานได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ต่อมาได้กลับไปเยี่ยมบิดามารดา แต่บิดาของท่านจำท่านไม่ได้จึงไม่ได้รับภัตตาหารที่บ้าน ขณะนั้นทาสหญิงกำลังจะทิ้งขนมบูด ท่านได้ขอบิณฑบาตขนมนั้น และฉันขนมบูดนั้น ทาสหญิงนั้นจำท่านได้ จึงไปบอกมารดาของท่าน บิดาจึงมานิมนต์ท่านฉันภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น จัดเตรียมอาหารอย่างปราณีต และกองเงินกองทองเอาไว้เพื่อถวายพระรัฐปาละ พร้อมให้ภรรยาเก่าของท่านแต่งตัวให้สวยงาม แต่ท่านปฏิเสธที่จะรับและให้นำไปทิ้ง ให้บิดาถวายอาหารและท่านได้แสดงธรรม จากนั้น ได้นั่งพักกลางวันที่พระราชอุทยานมิคจีระของพระเจ้าโกรัพยะ เมื่อทรงทราบว่าท่านพระรัฎฐปาละอยู่ที่นี้จึงเสด็จมาเพื่อทรงเยี่ยม และสนทนาธรรม ได้ตรัสถามถึงเรื่องความเสื่อม 4 ประการ ที่คนบางพวกประสบแล้ว จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ซึ่งพระรัฎฐปาละนั้นไม่มีความเสื่อมเหล่านั้นเลย อะไรจึงเป็นเหตุให้ท่านออกบวช ท่านได้ตอบว่า เพราะท่านได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องธัมมุทเทส 4 ประการ เกิดศรัทธาแล้วจึงออกบวช และได้แสดงธัมมุทเทส 4 แก่พระเจ้าโกรัพยะ
- 4 คลังพระสูตรสันทกสูตร พระอานนท์แสดงแก่สันทกปริพาชกพร้อมกับปริพาชกประมาณ 500 คน ณ ถ้ำปิลักขะ เขตกรุงโกสัมพี เกี่ยวกับการประพฤติพรหมจรรย์ ท่านพระอานนท์ได้อ้างพระดำรัสที่ทรงแสดงลัทธิที่ไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์ 4 ลัทธิ และพรหมจรรย์ที่ไม่น่าไว้วางใจ 4 ประการ ซึ่งท่านผู้รู้ไม่ควรอยู่ประพฤติ เพราะจะไม่ได้รับกุศลธรรมที่ถูกต้อง และได้กล่าวถึงพรหมจรรย์ที่ควรประพฤติและมีผล คือ ฌาณ 4 วิชชา 3 และได้ตอบคำถามต่างๆของสันทกปริพาชก เมื่อแสดงธรรมจบสันทกะได้กล่าวสรรเสริญในธรรมวินัยนี้ ไม่มีการยกย่องธรรมของตน ไม่มีการติเตียนธรรมของผู้อื่น แสดงธรรมมีเหตุผล แต่มีผู้กำจัดกิเลสและกองทุกข์ได้มาก ส่วนพวกอาชีวกยกย่องแต่ตนและติเตียนคนอื่นกลับบัญญัติว่ามีผู้กำจัดกิเลสและกองทุกข์ได้เพียง 3 คน จากนั้นได้อนุญาตให้บริษัทของตนประพฤติพรหมจรรย์ตามพระผู้มีพระภาค
- สูตร#1 จูฬสุญญตสูตร ทรงแสดงแก่ท่านพระอานนท์ ณ บุพพาราม ทรงปรารภคำทูลถามของท่านพระอานนท์ เรื่องที่พระองค์ทรงอยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรมโดยมาก และได้ทรงอธิบายวิธีปฏิบัติสุญญตาวิหารธรรมไว้ถึง 7 ขั้น จากต่ำไปสูง และทรงสรุปว่า ในอดีต อนาคต และปัจจุบัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเข้าสุญญตาผลสมาบัติก็จะเข้าสุญญตาอันบริสุทธิ์ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้น สูตร#2 มหาสุญญตสูตร ทรงแสดงแก่ท่านพระอานนท์และภิกษุทั้งหลาย ณ นิโครธาราม ทรงปรารภการอยู่คลุกคลีกันด้วยหมู่คณะของภิกษุหลายรูปในที่นั้น ซึ่งเป็นช่วงจีวรกาล ที่ภิกษุมาร่วมกันทำจีวร ทรงทอดพระเนตรเห็นเสนาสนะจำนวนมาก ทรงตำหนิว่าการที่ภิกษุพอใจในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะไม่ดีเลย ภิกษุผู้หลีกออกจากหมู่คณะไปอยู่ผู้เดียวเท่านั้น จึงจะได้รับความสุขจากความสงัด จากความสงบ จากการตรัสรู้ และจะบรรลุเจโตวิมุตติได้ และพระองค์ก็อยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรมนั้น ได้ทรงอธิบายเหตุผลโดยละเอียด วิธีฝึก และวิธีอยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรม ซึ่งในการมีสัมปชัญญะ และน้อมจิตไปในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นขั้นตอนแรกในการทำจิตให้ถึงความว่างได้ และทรงเน้นเรื่องการปฏิบัติกับพระองค์เหมือนกับมิตร อย่าปฏิบัติกับพระองค์เหมือนศัตรู
- 4 คลังพระสูตรสูตร#1 ธรรมเจติยสูตร ว่าด้วยธรรมเจดีย์ (พระวาจาเคารพธรรม) เป็นเรื่องราวของพระเจ้าปเสนทิโกศลที่ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และกล่าวสรรเสริญพระธรรมวินัยนี้ เพราะทรงเห็นอำนาจประโยชน์ที่ประกอบขึ้นเพื่อเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ จึงได้กระทำการเคารพนอบน้อมเป็นอย่างยิ่งต่อสรีระของพระพุทธเจ้า และแสดงอาการฉันทมิตร สูตร#2 ฐานสูตร ว่าด้วยฐานะ 5 ประการที่ใครๆ ไม่พึงได้ ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ปรารภเรื่องราวของพระเจ้าปเสนทิโกศลที่ได้สูญเสียพระนางมัลลิกา ผู้เป็นที่รักยิ่งไป อันเป็นเหตุให้นำมาซึ่งความเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างมาก พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนสติ และสอนวิธีในการวางจิตใจเมื่อต้องสูญเสียสิ่งที่เป็นที่รักไป
- 4 คลังพระสูตรสูตร#1 สัพพาสวสังวรสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ถึงความสิ้นอาสวะทั้งปวงจะมีได้ เฉพาะผู้รู้ ผู้เห็นเท่านั้น ด้วยการพิจารณาโดยแยบคาย ทรงจำแนกอาสวะออกเป็น 7 ชนิด ตามเหตุเกิดและอุบายวิธีที่จะละให้หมดสิ้นไปได้ คือ อาสวะที่ต้องละด้วย 1. ทัสสนะ (ความเห็น) 2. การสังวร 3. การใช้สอย 4. การอดกลั้น 5. การเว้น 6. การบรรเทา 7. การเจริญ อาสวะเหล่านั้นเมื่อภิกษุละได้แล้วด้วยอุบายนั้นๆ อาสวะนั้นละได้เด็ดขาด สูตร#2 ธรรมทายาทสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ทรงปรารภลาภสักการะเป็นอันมากที่เกิดขึ้นแก่พระองค์ และภิกษุสงฆ์ในขณะนั้น จะเป็นเหตุให้ภิกษุบางพวกยึดติดในลาภสักการะเหล่านั้น จึงทรงสอนให้ภิกษุเป็นธรรมทายาทของพระองค์ ไม่ให้เป็นอามิสทายาท เพราะถ้าเป็นธรรมทายาท วิญญูชนจะยกย่องสรรเสริญ จากนั้นท่านพระสารีบุตรได้แสดงธรรมต่อถึงหนทางในการปฏิบัติธรรมเพื่อให้เกิดความสงัดขึ้นแก่ตน และอริยมรรคมีองค์ 8 สูตร#3 มฆเทวสูตร พระพุทธเจ้าทรงเล่าเรื่องของพระองค์เองที่เกิดมาในชาติก่อน เป็นสมัยที่พระองค์เกิดเป็นพระเจ้ามฆเทวะ ที่มีข้อปฏิบัติอันดี ที่ได้มอบเป็นมรดกไว้ให้รุ่นลูกหลานได้นำไปปฏิบัติ ที่เรียกว่าเป็นกัลยาณวัตร และได้เปรียบเทียบถึงวัตรอันงามที่ท่านทิ้งไว้เป็นมรดกในครั้งนี้คือ[...]
- สูตร#1 เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ปรารภธรรมที่ควรเสพและที่ไม่ควรเสพ โดยพระพุทธเจ้าทรงยกหัวข้อขึ้น และท่านพระสารีบุตรเป็นอรรถกถาจารย์อธิบายแจกแจงในหัวข้อนั้น ตอนที่ 1 ทรงยกหลักธรรม 7 ประการที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ที่ควรเสพหมายถึงเสพแล้วทำให้กุศลธรรมเจริญขึ้น อกุศลธรรมเสื่อมไป ที่ไม่ควรเสพ มีนัยตรงข้ามกัน ตอนที่ 2 ทรงยกหัวข้ออายตนะ 12 ประการ ที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ตอนที่ 3 ทรงยกหัวข้อ จีวร บิณฑบาตร เสนาสนะ หมู่บ้าน นิคม นคร ชนบท และบุคคล รวม 8 ประการ ที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ซึ่งธรรมบรรยายที่ทรงแสดงมานี้ ถ้ากษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ ศูทร ตลอดจนเทวดา มาร พรหม และมนุษย์ทั้งหลายรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมบรรยายนี้ก็จะเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขตลอดกาลนาน สูตร#2 นาถกรณสูตรที่ 1 (ปฐมนาถสูตร) และสูตรที่ 2 (ทุติยนาถสูตร) ต่างก็ว่าด้วยนาถกรณธรรม[...]
- 4 คลังพระสูตรสูตร#1 โคปกโมคคัลลานสูตร ท่านพระอานนท์แสดงแก่โคปกโมคคัลลานพราหมณ์ที่ทำหน้าที่ดูแลงานเกี่ยวกับปศุสัตว์ของพระเจ้าพิมพิสาร ในกรุงราชคฤห์ หลังพุทธปรินิพพานไม่นาน เพื่อตอบปัญหาเรื่องภิกษุเพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า เป็นการถามด้วยความห่วงใย ซึ่งต่อมามีวัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธมาสมทบและได้ถามถึงเรื่องฌาณ ซึ่งท่านพระอานนท์ได้ตอบให้เข้าใจชัดเจนตามลำดับว่า พระผู้มีพระภาคทรงสอนให้ภิกษุนับถือธรรมเท่านั้นเป็นที่พึ่ง และถ้าบุคคลใดมีธรรม 10 ประการนี้ สงฆ์ก็สักการะ เคารพ นับถือ บูชาบุคคลนั้น เรื่องฌาณกล่าวตอบว่า ฌาณที่ไม่ทรงสรรเสริญ ได้แก่ ฌาณที่ประกอบด้วยนิวรณ์ 5 ส่วนฌาณที่ทรงสรรเสริญ ได้แก่ ฌาณที่สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งสองต่างชื่นชมยินดีคำตอบของท่านพระอานนท์ สูตร#2 คณกโมคคัลลานสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่คณกโมคคัลลานพราหมณ์ ณ เชตวัน โดยตั้งประเด็นการสนทนาถึงการฝึก การปฏิบัติ ที่เป็นไปตามลำดับขั้น ซึ่งในศาสนาของพระองค์ก็มีการฝึกปฏิบัติไปตามลำดับขั้น เมื่อคณกโมคคัลลานพราหมณ์ฟังจบ ได้ประกาศตนเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะไปตลอดชีวิต
- 4 คลังพระสูตรพระสูตรว่าด้วยการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ที่ได้ทรงตรัสเล่าด้วยพระองค์เอง “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติ 3 อย่างนี้ ไม่พึงมีอยู่ในโลกแล้วไซร้ ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้นในโลก เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ก็ไม่ต้องรุ่งเรืองไปในโลก ธรรมชาติ 3 อย่าง นั้นคือ ความเกิด ความแก่ และความตาย”
- สิ่งดีงามต่างๆ ถ้าได้ไปอยู่ในมือของผู้ที่มีความเห็นที่ถูกต้อง เป็น “สัมมาทิฏฐิ” สิ่งนั้นจะเป็นไป “เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข เพื่อประโยชน์กับตนเอง และผู้อื่น” และในสิ่งดีงามที่มีอยู่เช่นเดิม ถ้าไปอยู่ในมือของผู้ที่มีความเห็นผิด เป็น “มิจฉาทิฏฐิ” สิ่งนั้นจะ “เป็นทุกข์ ไม่เกื้อกูล ไม่เป็นประโยชน์กับตนเอง และผู้อื่น” ปฏิสัมภิทาปัตตสูตร #ข้อ86 คือ ปฏิสัมภิทา4 ปัญญาแตกฉานใน อรรถ (เข้าใจความหมายได้หลายนัยยะ), ธรรม, นิรุตติ (เข้าใจภาษาได้ลึกซึ้ง), ปฏิภาณ (ไหวพริบถาม-ตอบปัญหา) และข้อ5 ขยัน ไม่เกียจคร้าน สีลวันตสูตร #ข้อ87 เป็นผู้มีความงามของศีล, เป็นพหูสูต เวลาบอกสอนมีข้อมูลพร้อม, พูดจาไพเราะ, มีสมาธิ, มีปัญญา ผู้ที่ประกอบด้วยธรรมใน #ข้อ86และ #ข้อ87นี้ “ย่อมเป็นที่รัก ที่น่าเคารพยกย่อง” เถรสูตร #ข้อ88 ธรรมที่ไม่เกื้อกูล ไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก คือ เป็นผู้บวชมานาน, มีชื่อเสียง ยศ บริวาร,[...]
- 4 คลังพระสูตรสุตร#1 เอสุการีสูตร ทรงแสดงแก่เอสุการีพราหมณ์ ณ เชตวัน เอสุการีทูลถามข้อบัญญัติเกี่ยวกับการบำเรอ 4 ประการของพวกพราหมณ์ และเกี่ยวกับทรัพย์ 4 ประการของพวกพราหมณ์ ทรงตรัสว่าเป็นการบัญญัติเอาเองโดยที่ชาวโลกไม่ยอมรับ เหมือนการบังคับคนยากจนให้กินเนื้ออาบยาพิษแล้วบังคับให้จ่ายค่าเนื้อ ทรงอธิบายต่อว่า บุคคลจะเป็นผู้ประเสริฐหรือเลวทรามไม่ใช่เพราะเกิดในตระกูลสูง ผิวพรรณดี มีโภคะมาก แต่อยู่ที่ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ในเรื่องของทรัพย์ทรงบัญญัติว่า ทรัพย์ของบุคคลคือ โลกุตตรธรรมอันเป็นอริยะ เพราะไม่ว่าบุคคลจะเกิดในตระกูลกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ก็สามารถออกบวช เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นต้น ได้เหมือนกัน เจริญเมตตาจิต อาบน้ำลอยละอองธุลีได้เหมือนกัน เมื่อเอาไม้มาสีให้เกิดเป็นไฟก็เป็นไฟเหมือนกัน เมื่อทรงแสดงจบเอสุการีพราหมณ์ได้แสดงตนเป็นอุบาสกตลอดชีวิตสูตร#2 มธุรสูตร ท่านพระมหากัจจานะแสดงแก่พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตร ณ ป่าคุนธาวัน ปรารภคำถามพระเจ้ามธุระ ที่ได้ตรัสถามเกี่ยวกับเรื่องการถือชั้นวรรณะของพวกพราหมณ์ ที่เชื่อว่าพวกพราหมณ์เท่านั้นที่เกิดจากโอษฐ์ เป็นบุตรและเป็นทายาทของพระพรหม จึงประเสริฐกว่าคนวรรณะอื่นๆ ซึ่งท่านพระมหากัจจานะตอบว่า เป็นเรื่องที่พวกพราหมณ์แต่งขึ้นเพื่อโฆษณาตัวเองว่าประเสริฐกว่าบริสุทธิ์กว่าวรรณอื่น และอธิบายให้เหตุผลตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนาว่า คนจะดีหรือเลวมิใช่เพราะชาติวรรณะแต่เพราะการกระทำของตนเอง เมื่อแสดงธรรมจบ พระเจ้ามธุระแสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
- 4 คลังพระสูตรสังคารวสูตร ทรงแสดงแก่สังคารวมานพขณะประทับอยู่ในสวนมะม่วงของพราหมณ์ชาวบ้านโตเทยยะ ปรารภนางพราหมณีชื่อธนัญชานีเป็นผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในพระรัตนตรัย หากนางทำอะไรพลาดพลั้งก็จะเปล่ง นะโม ฯ 3 ครั้ง ครั้งหนึ่งสังคารวมาณพซึ่งเป็นผู้รู้จบไตรเพทได้ยินเข้า จึงว่ากล่าวนางพราหมณีว่า ไม่เป็นมงคลที่ไปกล่าวสรรเสริญสมณะหัวโล้น นางจึงกล่าวว่าถ้าสังคารวมาณพได้รู้จักศีลและพระปัญญาของพระองค์ก็จะไม่กล่าวเช่นนี้ ต่อมาสังคารวมาณพทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาจึงได้เข้าไปสนทนาธรรม ได้ทูลถามว่า พระองค์จัดอยู่ในสมณพราหมณ์จำพวกไหน ทรงตรัสถึงความแตกต่างของสมณะและตอบว่าทรงอยู่ในพวกที่ 3 คือพวกปฏิญญาเพราะรู้ธรรมด้วยปัญญาในธรรมที่ไม่เคยฟังมาก่อน และทรงเล่าประวัติของพระองค์ จนถึงทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ และสังคารวมานพได้ทูลถามเรื่องเทวดาว่า มีจริงหรือไม่ ไม่เข้าใจว่าที่ตรัสถึงเทวดานั้นเพราะทรงทราบหรือเพราะคล่องปาก ตรัสตอบว่า ข้อที่ว่าเทวดามีนั้น รู้ได้โดยฐานะ ผู้รู้เท่านั้นที่จะรู้ได้ เพราะเรื่องเทวดาเป็นคำที่ชาวโลกสมมติกันด้วยศัพท์ชั้นสูงเมื่อตรัสจบ มาณพได้กราบทูลชมเชย และได้แสดงตนเป็นอุบสกจนตลอดชีวิต
- 4 คลังพระสูตร❝จังกีสูตร❞ เป็นการสนทนาธรรมระหว่างพระพุทธเจ้ากับกาปทิกมานพ มาพร้อมกับจังกีพราหมณ์พร้อมด้วยคณะ ณ ป่าไม้สาละชื่อเทววัน เป็นเด็กหนุ่มที่จังกีพราหมณ์ยกย่องว่า เป็นผู้มีความรู้คัมภีร์ต่างๆอย่างแตกฉาน เป็นพหูสูตรสามารถจะเจรจาโต้ตอบกับพระพุทธเจ้าได้ มานพได้ทูลถามว่าทรงคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับบทมนตร์โบราณของพวกพราหมณ์ ปฏิบัติอย่างไรจึงจะเป็นการรักษา เป็นการรู้ เป็นการบรรลุสัจจะ และธรรมที่ช่วยให้บรรลุสัจจะเป็นอย่างไร ทรงตรัสตอบแต่ละข้อตามลำดับ กาปทิกมานพเกิดความเลื่อมใสแสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
- สูตร#1 จูฬปุณณมสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ บุพพารา ขณะประทับนั่งกลางแจ้งในวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำ ทรงเห็นภิกษุนิ่งเงียบ จึงทรงตรัสถามปัญหา เพื่อทรงแสดงธรรมให้ฟัง ทรงแสดงธรรมเปรียบเทียบระหว่างสัตบุรุษและอสัตบุรุษ สูตร#2 สัปปุริสสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ทรงแสดงธรรม 26 ประการของอสัตบุรุษและสัตบุรุษ ซึ่งเป็นธรรมข้อเดียวกันแต่แตกต่างกันที่การพิจารณา สูตร#3 วาจาของสัตบุรุษ, อสัตบุรุษ และวาจาของสะใภ้ใหม่ เพื่อให้ภิกษุมีความละอาย มีความเกรงกลัวในพุทธบริษัททั้ง 4 เหมือนหญิงสะใภ้เมื่อแรกเข้าตะกูลสามี สูตร#4 ธัมมัญญสูตร ว่าด้วยผู้รู้ธรรม ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่าผู้ที่ประกอบด้วยธรรม 7 ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ และเป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
- สูตร#1 โฆฏมุขสูตร เป็นเหตุการณ์ที่เกิดหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ท่านพระอุเทนะแสดงแก่โฆฏมุขะพราหมณ์ ซึ่งเข้าไปสนทนาธรรม ณ เขมิยอัมพวัน ปรารภเหตุที่โฆฏมุขะพราหมณ์ได้แสดงความเห็นของตนว่า การบวชอันชอบธรรมย่อมไม่มี ท่านพระอุเทนะได้แสดงบุคคล 4 จำพวกและบริษัท 2 จำพวกให้โฆฏมุขะพราหมณ์ฟัง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการบวชมีผลเพราะผู้ไม่ทำตนและผู้อื่นให้เดือดร้อนมีมากในนักบวช โฆฏมุขะพราหมณ์ได้ท่านพระอุเทนะเป็นกัลยาณมิตรให้เกิดความเลื่อมใส ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ และได้สร้างโรงฉันถวายแก่สงฆ์เมืองปาตลีบุตร สูตร#2 ฆฏิการสูตร เป็นสมัยที่พระพุทธเจ้าเกิดเป็นมานพชื่อ โชติปาละซึ่งเป็นสมัยของพระกัสสปพุทธเจ้า มีกัลยาณมิตรเป็นช่างปั้นหม้อชื่อ ฆฏิการะที่ได้ชักชวนไปฟังธรรม ซึ่งตอนแรกนั้นโชติปาละไม่ยอมไป ต้องชวนถึง 3 ครั้ง และเมื่อฟังธรรมแล้วโชติปาละมานพได้ออกบวช ส่วนช่างหม้อจำเป็นต้องเลี้ยงมารดาผู้เสียจักษุและเป็นคนชราจึงมิได้ออกบวช.
- 4 คลังพระสูตรสูตร#1 มหาปุณณมสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ บุพพาราม ในวันอุโบสถ ขึ้น 15 ค่ำ ทรงประทานโอกาสให้ภิกษุถามปัญหาข้อธรรม ภิกษุได้ถามเกี่ยวกับอุปาทานขันธ์ 5 แล้วทรงตรัสตอบอย่างย่อๆ ทำให้ภิกษุที่ถามพอใจในคำตอบ แต่มีภิกษุรูปหนึ่งยังสงสัยในเรื่องขันธ์ 5 เป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้นกรรมที่ถูกอนัตตากระทำ จะถูกต้องอัตตาได้อย่างไร แต่ไม่กล้าถาม พระพุทธเจ้าทรงทราบความคิดของภิกษุนั้นด้วยใจ ทรงตรัสว่าเป็นโมฆะบุรุษ จึงทรงสอบถามความเข้าใจในธรรมนั้นกับภิกษุทั้งหลายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อตรัสจบมีภิกษุบรรลุเป็นพระอรหันต์จำนวน 60 รูป สูตร#2 มหาหัตถิปโทปมสูตร อุปมาว่าด้วยรอยเท้าช้างสูตรใหญ่ ท่านพระสารีบุตรแสดงแก่ภิกษุ ขณะพักอยู่เชตวัน ท่านได้อธิบายอริยสัจ 4 โดยเอานัยยะของธาตุทั้ง 4 มาเป็นตัวแปร แต่อธิบายรายละเอียดเฉพาะทุกขอริยสัจเท่านั้น และในตอนท้ายพระสูตรมีเรื่องของปฏิจจสมุปบาท อธิบายเพื่อให้ข้อธรรมทั้งหมดรวมลงในอริยสัจ 4 เหมือนรอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย รวมลงในรอยเท้าช้าง
- สูตร#1 อุปักกิเลสสูตร เกิดขึ้นสืบเนื่องจากพวกภิกษุโกสัมพีเกิดความบาดหมางทะเลาะวิวาท ทรงห้ามแต่ไม่เชื่อฟัง ได้ทรงตรัสพระคาถาเหตุการณ์นั้น แล้วทรงเสด็จไปยังบ้านพาลกโลณการคาม ท่านพระภคุได้รับเสด็จ แล้วเสด็จต่อไปยังป่าปาจีนวังสทายวัน ซึ่งท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละพักอยู่ที่นั่น ซึ่งอยู่กันด้วยความสามัคคี ได้ทรงสนทนาและตรัสถามถึงญาณทัสสนะของพระเถระทั้ง 3 รูป ที่ได้ทูลว่า สามารถจำแสงสว่างและเห็นรูปได้แต่ไม่นาน จึงตรัสเล่าการปฏิบัติของพระองค์ ซึ่งทรงพบอุปสรรคเช่นนั้นเหมือนกัน แต่ทรงพิจารณาจนเห็นอุปกิเลส 11 ประการ ที่เป็นเหตุให้เป็นเช่นนั้น และเมื่อทรงละอุปกิเลสได้ จึงทรงเจริญสมาธิ 3 ประการได้ ญาณทัสสนะจึงเกิดขึ้นแก่พระองค์ สูตร#2 วัตถูปมสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ เชตวัน ซึ่งมี สุนทริกภารทวาชปริพาชก นั่งฟังอยู่ด้วย และทรงทราบว่าปริพาชกนี้เชื่อถือลัทธินหานสุทธิ คือ เชื่อว่าความบริสุทธิ์มีได้เพราะการอาบน้ำลอยบาป จึงทรงแสดงธรรมให้เป็นไปตามอัธยาศัยของปริพาชกนี้ ซึ่งทรงตรัสสอนปริพาชกนี้ว่า คนที่ทำกรรมชั่วไว้แล้ว ถึงจะไปอาบน้ำที่ไหนก็หาทำให้เกิดความสะอาดบริสุทธิ์ขึ้นมาได้ไม่ แล้วตรัสสอนให้อาบน้ำในศาสนาของพระองค์ เมื่อตรัสจบ สุนทริกภารทวาชปริพาชกประกาศตนเป็นพุทธมามกะ ทูลขอบรรพชาอุปสมบทและได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในกาลต่อมา
- สูตร#1 โกสัมพิยสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ปรารภภิกษุชาวเมืองโกสัมพีผู้แตกสามัคคีกัน รับสั่งให้มาเฝ้าแล้วทรงซักถาม และทรงแนะนำให้ทำ พูด คิดต่อกันด้วยเมตตาจิต ทรงอธิบายสารณียธรรม 6 ประการ ที่ทำให้ระลึกถึงกัน เป็นที่รักเป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์ ไม่วิวาทกันพื่อความสามัคคี เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และข้อที่เป็นยอด คือ ทิฏฐิความเห็นอันประเส เริฐ ได้ทรงอธิบายในรายละเอียดของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ 7 อย่าง ย่อมประกอบด้วยโสดาปัตติผล สูตร#2 สามคามสูตร ทรงแสดงแก่ท่านพระอานนท์ และท่านสมณุทเทสจุนทะ ณ หมู่บ้านสามคามของชาวศากยะ แคว้นสักกะ ทรงปรารภคำกราบทูลของท่านพระอานนท์ ตามที่ท่านพระจุนทะเล่าให้ฟัง เรื่องการแตกสามัคคีถึงขั้นวิวาทกันของพวกนิครนถ์ หลังจากนิครนถ์นาฏบุตรดับขันธ์ไปไม่นาน เพราะพระธรรมวินัยที่นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ทำให้ท่านพระอานนท์ห่วงใยว่า หลังพุทธปรินิพพานอาจมีบุคคลอาศัยพระผู้มีพระภาคก่อการวิวาทขึ้นในสงฆ์ จึงทรงตรัสอธิบายถึงมูลเหตุแห่งการวิวาท 6 ประการ อธิกรณ์ 4 ประการ วิธีระงับอธิกรณ์ 7 ประการ และธรรมสำหรับป้องกันมิให้เกิดอธิกรณ์ (สารณียธรรม 6 ประการ)[...]
- 4 คลังพระสูตรสูตร#1 ปุณโณวาทสูตร ณ พระเชตวัน ท่านพระปุณณะต้องการหลีกออกไปอยู่ผู้เดียว จึงทูลขอให้แสดงโอวาทโดยย่อ ทรงแสดงว่า ผู้เพลิดเพลินในอายตนะภายนอก 6 ที่พึงรู้แจ้งทางอายตนะภายใน 6 ย่อมเกิดทุกข์ ผู้ไม่เพลิดเพลินจึงจะไม่เกิดทุกข์ ท่านพระปุณณะจะไปอยู่ที่สุนาปรันตชนบท จึงทรงตรัสว่า ชาวสุนาปรันตชนบทดุร้าย หยาบคาย ถ้าถูกด่าบริภาษหรือถูกทำร้ายจะทำอย่างไร ซึ่งคำตอบของท่านพระปุณณะนั้น พระพุทธเจ้าตรัสชื่นชมว่า พระปุณณะมีความข่มใจและความสงบใจ สามารถที่จะอยู่ได้ ซึ่งในระหว่างพรรษาที่ท่านพระปุณณะอยู่ที่สุนาปรันตชนบท ชาวบ้านได้มาแสดงตนเป็นอุบาสกอุบาสิกาจำนวนมาก และท่านได้บรรลุวิชชา 3 และต่อมาได้ปรินิพพาน สูตร #2 กุกกุรวติกสูตร ทรงแสดงแก่นายปุณณะ บุตรชาวโกลิยะที่ประพฤติเลียนแบบโค และชีเปลือยชื่อ เสนิยะ ผู้ประพฤติเลียนแบบสุนัข เพราะเข้าใจว่าการประพฤติเช่นนี้จะทำพ้นจากการที่จะไปเกิดเป็นโคหรือเป็นสุนัข ทั้งสองได้เข้าไปถามพระพุทธเจ้าว่า คติภพของพวกเขาจะเป็นอย่างไร ทรงตรัสว่า การประพฤติวัตรเลียนแบบโคและสุนัข เป็นมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไปจะมีผล 2 อย่างคือ เกิดในนรก และเกิดในสัตว์เดรัจฉาน จึงชทูลขอให้ทรงแสดงธรรมที่จะทำให้ละการประพฤติเลียนแบบนั้นได้ ทรงแสดงกรรม 4 ประการให้ฟังโดยละเอียดจนจบ นายปุณณะได้แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต ส่วนชีเปลือยเสนิยะ ได้ออกบวชและเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง สูตร#3 รถวีนีตสูตร[...]
- 4 คลังพระสูตรสูตร#1 อนังคณสูตร เป็นการสนทนาธรรมระหว่างท่านพระสารีบุตรกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ โดยท่านพระมหาโมคคัลลานะตั้งคำถาม อะไรเป็นปัจจัยให้บุคคลผู้มีกิเลสเพียงดังเนินเหมือนกัน แต่แตกต่างกัน และให้บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินเหมือนกัน แต่แตกต่างกัน ท่านพระสารีบุตรได้อธิบายขยายความ โดยยกบุคคล 4 ประเภทที่ปรากฏในโลกนี้ และอธิบายคำว่า กิเลสเพียงดังเนินนั้น เป็นชื่อของอิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศล โดยยกอุปมาอุปไมยเกี่ยวกับภาชนะสำริดที่ขัดสีเงางาม แต่ถ้าภายในนั้นบรรจุด้วยซากศพสิ่งของเน่าเปื่อยก็จะไม่งดงาม เปรียบเทียบให้เห็นส่วนต่างกับกิเลสในภายในที่เป็นดังเนิน ถ้ายังมีอยู่ในบุคคลใดแล้ว จะทำให้การประพฤติปฏิบัตินั้นไม่เจริญงอกงามขึ้นมา สูตร#2 อากังเขยยสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ทรงยกความหวัง 17 ประการ ซึ่งเป็นเรื่องที่คนทั่วไปหวังจะได้ มาตั้งเป็นจุดเริ่มแห่งการพัฒนาทางจิตของผู้หวัง ซึ่งความสมหวังไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ แต่ผู้หวังต้องลงมือปฏิบัติ โดยเริ่มจากการรักษา กาย วาจา ใจ อยู่หลีกเร้น มีศีลสมบูรณ์ หมั่นปฏิบัติธรรมที่ทำให้จิตสงบ หมั่นเจริญฌาณ และวิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งเป็นการพัฒนาทางจิต ทำปัญญาให้เกิดขึ้นได้
- 4 คลังพระสูตรสูตร#1 กกจูปมสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ เชตวัน ทรงปรารภความประพฤติของพระโมลิยผัคคุนะที่มักโกรธ และก่ออธิกรณ์ขึ้น เมื่อมีภิกษุบางรูปตำหนิภิกษุณี หรือตำหนิท่าน จึงทรงรับสั่งให้มาเฝ้า และทรงตรัสสอน ให้ละความโกรธให้เป็นผู้มีเมตตาจิต ไม่มีโทสะ และให้เป็นคนว่าง่าย ทรงยกกรณีนี้ตรัสสอนภิกษุทั้งหลาย และยกอุปมาขึ้นหลายประการ คือ ทรงตรัสเรื่องประโยชน์ของการฉันอาหารมื้อเดียว ตรัสเล่าเรื่องนางเวเทหิกา ที่บันดาลโทสะ ทรงสรุปว่า จะรู้ว่าภิกษุใดสงบเสงี่ยมหรือไม่ ก็ต่อเมื่อมีถ้อยคำที่ไม่น่าพอใจมากระทบ ทรงแนะนำอุบายระงับความโกรธ และโอวาทอุปมาด้วยเลื่อย ที่เมื่อโจรใช้เลื่อยตัดอวัยวะน้อยใหญ่แล้ว ให้อดกลั้น ไม่โกรธ แต่กลับมีเมตตาจิตต่อผู้นั้นได้ สูตร#2 วัมมิกสูตร ว่าด้วย ปริศนาจอมปลวก ทรงแสดงแก่พระกุมารกัสสปะ ณ เชตวัน ปรารภปัญหา 15 ข้อของเทวดา เนื่องด้วยเทวดาองค์หนึ่งเข้าไปหาท่านพระกุมารกัสสปะที่ป่าอันธวันเพื่อถามปริศนาธรรม 15 ข้อ และขอให้ท่านพระกุมารกัสสปะทูลถามปัญหา 15 ข้อนี้กับพระผู้มีพระภาค ซึ่งทรงตอบว่า จอมปลวก ได้แก่ กายของมนุษย์ พราหมณ์ที่สั่งให้ขุด คือ พระพุทธเจ้า สุเมธะ คือ ชื่อของพระเสขะ[...]
- 4 คลังพระสูตรสูตร#1 นฬกปานสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ หมู่บ้านนฬกปานะ ทรงปรารภกุลบุตรผู้มีชื่อเสียงจำนวนมากที่บวชด้วยศรัทธา ทรงตรัสถามกุลบุตรถึงความยินดีในพรหมจรรย์ และการออกบวชเพื่อกระทำที่สุดแห่งทุกข์ และตรัสถึงหน้าที่ที่ผู้บวชใหม่จะต้องประพฤติปฏิบัติ และได้ทรงพยากรณ์ถึงการบรรลุธรรมของเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จุดประสงค์เพื่อให้คนที่ได้ยินได้ฟังถึงบุคคลที่เขารู้จัก เคยร่วมพูดคุย คบหาสมาคม จะสามารถรู้ถึงศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ และปัญญาของบุคคลต่างๆ เหล่านั้น ทำให้น้อมจิตไปเพื่อศรัทธา เป็นต้น ทำให้มีความอยู่อย่างผาสุกได้ สูตร#2 ปุตตมังสสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงอาหาร 4 อย่าง เพื่อความดำรงอยู่ของสัตว์โลกที่เกิดมาแล้ว (ภูตสัตว์) หรือเพื่ออนุเคราะห์แก่เหล่าสัตว์ ผู้แสวงหาที่เกิด (สัมภเวสีสัตว์) และทรงยกอุปมาโดยลักษณะอาหาร 4 เพื่อให้อริยสาวกกำหนดรู้ได้ ราคะซึ่งเกิดจากกามคุณ 5 เวทนา 3 ประการ ตัณหา 3 ประการ และ นามรูป จะกำหนดรู้ได้ด้วย เมื่อกำหนดรู้ได้แล้วจึงเป็นเหตุให้ไม่กลับมาสู่โลกนี้อีก
- สูตร#1 จูฬมาลุงกยสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระมาลุงกยบุตร ณ พระเชตวัน ทรงปรารภเรื่อง ทิฏฐิ 10 ประการ พระมาลุงกยบุตรรู้สึกไม่พอใจ ที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบอัพยากตปัญหา 10 ประการ จึงเข้าไปถามอีกครั้งหนึ่ง แต่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงตอบปัญหาเหล่านี้ เพราะไม่มีประโยชน์ ไม่ได้ช่วยให้พ้นทุกข์ได้ แต่ปัญหาที่จะทรงตอบ คือ ปัญหาเรื่องอริยสัจ 4 เพราะมีประโยชน์ และจะช่วยให้พ้นทุกข์ได้ สูตร#2 มหามาลุงกยสูตร ทรงแสดงแก่พระมาลุงกยบุตรพร้อมกับภิกษุหลายรูป ทรงปรารภเรื่อง โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการ (เครื่องร้อยรัดที่ยึดจิตให้อยู่ในภพ) ทรงตรัสถามภิกษุเรื่อง สังโยชน์ 5 ประการ ท่านพระมาลุงกยบุตรมีคำตอบที่ถูกต้อง แต่บทพยัญชนะนั้นไม่แยบคาย จะทำให้อัญเดียรถีย์ปริพาชก นำเรื่องเด็กอ่อนที่นอนหงายมาโต้กลับได้ และ เพื่อปรับทิฏฐิของท่านมาลุงกยบุตรให้ละเอียดยิ่งขึ้นไป จึงทรงอธิบายขยายความถึงอุบายในการนำออก และข้อปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์ และทรงแสดงว่า รูปฌาณ 4 และอรูปฌาณ 4 เป็นมรรค และปฏิปทาที่ทำให้ละสังโยชน์ทั้ง 5 ประการได้
- พระพุทธเจ้าตรัสแก่โสณทัณฑพราหมณ์ ขณะประทับอยู่ที่ริมสระคัคครา เขตกรุงจัมปา ทรงปรารภเรื่อง คุณสมบัติของพราหมณ์ ทรงตรัสถามคุณสมบัติของพราหมณ์ 5 อย่าง ถ้าหากเว้นเสีย 1 อย่างแล้ว ผู้นั้นจะยังเป็นพราหมณ์อยู่ได้โดยชอบหรือไม่ โสณทัณฑะตอบว่าได้ ทรงถามโดยการตัดคุณสมบัติออกทีละอย่าง พวกพราหมณ์ที่มาด้วยกันพากันคัดค้าน การพูดตามเช่นนี้ทำให้เสียเปรียบ พราหมณ์โสณทัณฑะได้ยกตัวอย่างหลานของตน มีคุณสมบัติ 3 ข้อแรก แต่ยังทำผิดศีล พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อว่า คุณสมบัติ 2 อย่างนี้ คือ ศีลและปัญญา ถ้าตัดออกอีกสักอย่างหนึ่ง ควรตัดอย่างไหนได้ พราหมณ์โสณทัณฑะ ตอบว่า ตัดออกไม่ได้เลย คุณสมบัติ 2 อย่างนี้ต้องมีอยู่คู่กัน เพราะศีลช่วยชำระปัญญาให้บริสุทธิ์ ปัญญาก็ช่วยชำระศีลให้บริสุทธิ์ ปัญญามีแก่ผู้มีศีล ศีลมีแก่ผู้มีปัญญา และทรงอธิบายเรื่องศีลและปัญญา การประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย เมื่อทรงอธิบายจบ โสณทัณฑพราหมณ์ก็ประกาศตนเป็นอุบาสกขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
- 4 คลังพระสูตรพระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ท้าวสักกะ ขณะประทับอยู่ในถ้ำอินทสาละ ที่ภูเขาเวทิยกะ กรุงราชคฤห์ ท้าวสักกะได้ชวนเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ลงมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เหตุที่มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเห็นบุพนิมิตที่แสดงว่าถึงคราวจะต้องจุติ คือหมดอายุ โดยให้ปัญจสิจะคนธรรพ์เทพบุตรนำเสด็จ พร้อมเหล่าเทพเข้าเฝ้า ทรงกราบทูลเรื่องการปฏิบัติธรรม และผลของการปฏิบัติธรรมของโคปกเทพบุตร จึงเสด็จมาเพื่อจะฟังธรรมเช่นนั้นบ้าง และได้ทูลถามปัญหารวม 12 ข้อ เกี่ยวกับเรื่องความเป็นมาเป็นไปของการเบียดเบียนการทะเลาะกัน ไล่ไปจนถึงเรื่องของตัณหา พระพุทธเจ้าทรงตอบปัญหา เมื่อตรัสจบ ธรรมจักษุได้เกิดขึ้นแก่ท้าวสักกะ และเหล่าเทวดา ทำให้กลับเป็นท้าวสักกะหนุ่มอีกครั้ง
- พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะประทับอยู่นิคมชาวกุรุ ชื่อ กัมมาสธรรม ทรงปรารภพุทธบริษัทชาวกัมมาสธรรมนิคม แม้พวกทาสกรรมกร มีความสนใจในการเจริญสติปัฏฐานกันอย่างมาก จึงทรงยกหัวข้อขึ้นอธิบายในรายละเอียดของการเจริญสติ ความหมาย และการพิจารณากาย เวทนา จิต และธรรม และทรงแสดงอานิสงส์ของการเจริญสติปัฏฐานว่า บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ประการนี้ แม้เพียง 7 วัน เป็นอย่างน้อย ก็หวังได้ว่า จะมีผลในปัจจุบันอย่างใดอย่างหนึ่ง ในจำนวนผล 2 อย่าง คือ จะได้บรรลุอรหัตตผล หรือถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ จะบรรลุอนาคามิผล และทรงสรุปว่า สติปัฏฐาน 4 ประการนี้ เป็นทางสายเดียว เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงโสกะปริเทวะ เพื่อดับทุกข์ และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม (อริยมรรค) และเพื่อทำนิพพานให้แจ้ง
- พระพุทธเจ้าตรัสแก่มาณพ 2 คน คือ วาเสฏฐะ และภารัทวาชะ ขณะประทับอยู่ ณ อัมพวัน แคว้นโกศล ที่หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อมนสากฏะใกล้ฝั่งแม่น้ำอจิรวดี ปรารภเหตุที่มาณพทั้ง 2 ตกลงกันไม่ได้ว่าทางที่ไปสู่พรหมโลก ทางไหนเป็นทางตรง ซึ่งมาณพทั้ง 2 ต่างอ้างถึงพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทบอกไว้ จึงทูลขอพระพุทธเจ้าให้ทรงตัดสินว่าผู้ใดกล่าวถูก จึงทรงซักถาม ไล่เรียง ซึ่งพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทไม่เคยเห็นพรหม และทรงอธิบายสรุปให้ฟังว่า เป็นไปไม่ได้ว่าผู้ที่ไม่เคยเห็นพรหมจะบอกว่าทางนี้เป็นทางไปสู่พรหมโลก ซึ่งเป็นวาทะที่เลื่อนลอย และตรัสถึงคุณสมบัติของพรหมกับของพราหมณ์ที่ต่างกัน และเข้ากันไม่ได้ เมื่อตายแล้วจะอยู่ร่วมกับพรหมได้อย่างไร แต่พระองค์ทรงรู้จักพรหม และทางไปสู่พรหมโลก ทรงอธิบายวิธีการที่จะไปอยู่กับพรหม เริ่มตั้งแต่การประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย จนถึงการที่สามารถละนิวรณ์ได้ จนจิตเป็นสมาธิแล้ว และให้อยู่ในพรหมวิหาร 4 ซึ่งจะเป็นเครื่องที่ทำให้ไปอยู่กับพรหมได้ มาณพทั้ง 2 เกิดความเลื่อมใส ประกาศตัวเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
- มหานิทานสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เป็นต้นเหตุใหญ่ พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระอานนท์ ขณะประทับอยู่ ณ นิคมของชาวกุรุ ปรารภธรรมในหมวดธรรมที่ชื่อ ปฏิจจสมุปบาท เพื่อทรงแก้ความเข้าใจผิดของพระอานนท์ ที่กราบทูลว่า น่าแปลกที่ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมที่ลึกซึ้งสุดคาดคะเน แต่สำหรับท่านกลับเป็นธรรมง่าย ๆ พระพุทธเจ้าทรงห้ามมิให้พูดเช่นนี้ แล้วทรงอธิบายไล่เรียงในรายละเอียดให้ฟัง
- 4 คลังพระสูตรสูตร#1 จาตุมสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุประมาณ 500 รูป ขณะประทับอยู่ หมู่บ้านจาตุมา ทรงขับไล่ภิกษุที่ติดตามพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ เหตุเพราะภิกษุเหล่านั้นสนทนากับภิกษุเจ้าถิ่นเสียงดัง แต่พวกเจ้าศากยะและท้าวสหัมบดีพรหมเข้าเฝ้ากราบทูลให้ทรงอนุเคราะห์ภิกษุเหล่านั้น ทรงยกโทษให้ ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงพาภิกษุเข้าเฝ้า จากนั้นทรงแสดงภัย 4 ประการที่ผู้ลงน้ำจะพบ เปรียบเทียบผู้บวชในธรรมวินัยนี้ก็จะประสบภัย 4 ประการเช่นกัน โดยทรงประสงค์จะให้รู้มารยาทในการอยู่ร่วมกันและรู้จักระวังภัยของผู้บวชใหม่ 4 อย่างนี้ - ธรรมที่มีที่ตั้งอาศัย ปฏิจจสมุปบาทที่มี 24 อาการ สูตร#2 โคสิสสานิสูตร ท่านพระสารีบุตรแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเวฬุวัน โดยปรารภพระโคสิสสานิ ซึ่งเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร แต่มีมารยาททราม มีความประพฤติย่อหย่อน เห็นแก่ปัจจัย ท่านพระสารีบุตรได้แสดงข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร 18 ข้อ และเป็นข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้านด้วย
- 4 คลังพระสูตรสูตร#1 สัพพาสวสังวรสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ความสิ้นอาสวะทั้งปวงจะมีได้ เฉพาะผู้รู้ ผู้เห็นเท่านั้น ด้วยการพิจารณาโดยแยบคาย ทรงจำแนกอาสวะออกเป็น 7 ชนิด ตามเหตุเกิดและอุบายวิธีที่จะละให้หมดสิ้นไปได้ คือ อาสวะที่ต้องละด้วย 1. ทัสสนะ (ความเห็น) 2. การสังวร 3. การใช้สอย 4. การอดกลั้น 5. การเว้น 6. การบรรเทา 7. การเจริญ อาสวะเหล่านั้นเมื่อภิกษุละได้แล้วด้วยอุบายนั้น ๆ อาสวะนั้นละได้เด็ดขาด สูตร#2 ธรรมทายาทสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ทรงปรารภลาภสักการะเป็นอันมากที่เกิดขึ้นแก่พระองค์ และภิกษุสงฆ์ในขณะนั้น จะเป็นเหตุให้ภิกษุบางพวกยึดติดในลาภสักการะเหล่านั้น จึงทรงสอนให้ภิกษุเป็นธรรมทายาทของพระองค์ ไม่ให้เป็นอามิสทายาท เพราะถ้าเป็นธรรมทายาท วิญญูชนจะยกย่องสรรเสริญ จากนั้นท่านพระสารีบุตรได้แสดงธรรมต่อถึงหนทางในการปฏิบัติธรรมเพื่อให้เกิดความสงัดขึ้นแก่ตน และอริยมรรคมีองค์ 8
- ปาสาทิกสูตร#2 ในตอนนี้ทรงแสดงธรรมที่ควรสังคายนา โดยการทบทวน ให้เข้าใจถูกต้องตรงกัน ถ้าเข้าใจไม่ถูกต้อง ได้ทรงแสดงวิธีการที่จะอธิบายให้เข้าใจ ได้ทรงอธิบายอะไรคือสุข อะไรคือทุกข์ การพิจารณาใช้สอยปัจจัย 4 ให้ถูกต้อง และตอนท้ายของพระสูตรมีวิธีการตอบคำถามต่าง ๆ ที่จะพิจารณาอย่างไรว่าคำถามนั้นสมควรตอบหรือไม่สมควรตอบอย่างไร เป็นธรรมที่เมื่อฟังแล้วจะเกิดความเลื่อมใส มั่นใจในศาสนานี้แน่นอน
- ปาสาทิกสูตร#1 พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ท่านพระจุนทะ สมณุทเทส และท่านพระอานนท์ ณ ปราสาทในอัมพวัน โดยปรารภคำกราบทูลของท่านพระจุนทะและท่านพระอานนท์เรื่องการแตกความสามัคคีของพวกนิครนถ์แบ่งเป็น 2 ฝ่าย หลังนิครนถ์นาฏบุตร ศาสดาดับขันธ์ได้ไม่นานนัก เพราะธรรมวินัยที่นิครนถ์นาฏบุตรประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงว่าองค์ประกอบที่สำคัญของศาสนา ได้แก่ ศาสดา หลักธรรม และสาวก (นักบวช อุบาสก อุบาสิกา) มีส่วนสำคัญที่ทำให้ศาสนาสมบูรณ์ บริบูรณ์ ได้รับคำสรรเสริญ หลักธรรมและสาวกของพระองค์เป็นองค์ประกอบที่ดี พรหมจรรย์ของพระองค์จึงบริบูรณ์ครบถ้วน แพร่หลายกว้างขวาง และบรรลุถึงความเลิศด้วยลาภและความเลิศด้วยยศ และทรงแสดงธรรมที่ควรสังคยานา เหตุแห่งการอนุญาตปัจจัย และ สุขัลลิกานุโยค
- 4 คลังพระสูตรวิธีการที่จะประสบความสำเร็จในทุกด้านของชีวิต จะต้องประกอบด้วยคุณธรรม 5 อย่างนี้ สูตร#1 สังขารูปปัตติสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน มีประสงค์จะให้ภิกษุทราบว่า ธรรม 5 ประการ คือ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ที่เมื่อทำให้มาก เจริญให้มากแล้ว อธิษฐานจิตจะไปเกิดในภพภูมิใดก็จะสำเร็จได้ และถ้าจะประสงค์เป็นพระอรหันต์ก็สำเร็จได้ แล้วทรงแสดงวิธีปฏิบัติตามลำดับ โดยมีธรรม 5 ประการเป็นพื้นฐาน สูตร#2 ทักขิณาวิภังคสูตร ว่าด้วยการจำแนกทักษิณาทาน สูตร#3 อิฏฐสูตร ว่าด้วยธรรมที่น่าปรารถนา 5 ประการ
- สูตร#1 อุโปสถสูตร พระพุทธเจ้าตรัสสอนนางวิสาขาผู้รักษาศีลอุโบสถที่บุพพารามเป็นประจำ เพื่อให้ทราบว่า อุโบสถศีลนั้นมีทั้งแบบที่ประเสริฐ คือ ความเป็นอริยะ มีความประเสริฐได้บุญอย่างแท้จริง และแบบที่ไม่ประเสริฐ คือ มีความงมงายไม่ถูกต้อง สูตร#2 อิธโลกสูตร พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนนางวิสาขา อธิบายถึงสุภาพสตรีที่จะอยู่ครองเรือนได้อย่างมีความสุข ไม่เกิดเป็นภัยได้กำไรในการอยู่ครองเรือน ประกอบด้วยธรรมของมาตุคามผู้ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกนี้มี 4 ประการ และธรรมที่เป็นไปเพื่อชัยชนะในโลกหน้ามี 4 ประการ มาตุคามที่ประกอบด้วยคุณธรรมเหล่านี้ ย่อมเข้าถึงเทวโลกประเภทมนาปกายิกา สูตร#3 อนุรุทธสูตร เทวดาเหล่ามนาปกายิกา (เทวดาชั้นนิมมานรดี) เข้าไปเรียนท่านพระอนุรุทธะว่า ตนครองความเป็นใหญ่มีอำนาจ 3 ด้าน นึกให้เป็นเสียง เป็นสี ให้มีสุขเช่นใด ก็ได้อย่างฉับพลัน ท่านจึงลองนึกให้เทวดาเหล่านั้นสำแดงตามที่ท่านนึก ก็เห็นเป็นความจริง จึงนำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระองค์จึงตรัสคุณสมบัติ 8 ประการ ที่ทำให้มาตุคามไปเกิดเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา สูตร#4 วิสาขสูตร และนกุลมาตาสูตร มีเนื้อหาสาระขององค์ธรรมเหมือนในอนุรุทธสูตร ต่างกัน คือ วิสาขสูตร นางวิสาขามิคารมารดา เป็นผู้สดับ และนกุลมาตาสูตร นางนกุลมาตาคหปตานี เป็นผู้สดับ
- 4 คลังพระสูตรอลคัททูปมสูตร อุปมาเปรียบด้วยงูพิษ พระพุทธเจ้าแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ทรงปรารภทิฏฐิชั่วของพระอริฏฐะ ผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง ที่มีความเห็นผิดในเรื่องพระธรรมวินัย ทรงตรัสว่าธรรมที่ทรงสอนก่ออันตรายได้จริง ๆ จึงทรงสอน การเล่าเรียนธรรมด้วยปัญญา ถ้าเล่าเรียนถูกวิธีก็จะได้รับประโยชน์ เปรียบเหมือนคนจับงูพิษถูกวิธี ก็จะไม่ได้รับอันตรายจากงูพิษนั้น ทรงแสดงธรรมเพื่อให้สลัดออกมิใช่ให้ยึดถือ อุปมาด้วยแพ ที่คนเดินทางไกลใช้เดินทางข้ามห้วงน้ำใหญ่เพื่อหนีภัย เมื่อถึงฝั่งแล้วต้องทิ้งแพไว้ ไม่แบกไป ทรงแสดงทิฏฐิของปุถุชนเทียบกับอริยสาวก ตรัสตอบปัญหาเหตุที่ให้สะดุ้ง และเหตุให้ไม่สะดุ้ง ตรัสสอนเรื่องอนัตตลักษณะเพื่อให้ละความยึดมั่นว่ามีอัตตา และการละสังโยชน์
- 4 คลังพระสูตรสูตร#1 มหาตัณหาสังขยสูตร ทรงแสดงถึงต้นเหตุของปัญหาต่าง ๆ และความทุกข์ คือ ตัณหา อวิชชา และวิธีในการที่จะกำจัดออก ซึ่งอยู่ในเรื่องอริยสัจ 4 ได้ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ทรงปรารภความเห็นผิดของภิกษุชื่อ สาติ ผู้เป็นบุตรชาวประมง พระสาติมีความเห็นว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วิญญาณนี้แลมิใช่อื่น ท่องเที่ยวไป แล่นไป” ภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือนว่า พระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสเช่นนั้น สาติภิกษุไม่เชื่อ และยังยืนยันว่าตนรู้ทั่วถึงพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง เรื่องวิญญาณทรงแสดงไว้อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคทรงทราบ ทรงรับสั่งให้พระสาติมาเฝ้า และตรัสถามความจริง ทรงตำหนิพระสาติว่า เป็นโมฆะบุรุษ กล่าวตู่พระองค์ และเป็นผู้ติดอยู่ในข่าย คือ ตัณหา และได้ทรงแสดงเรื่องวิญญาณว่า “วิญญาณอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ถ้าไม่มีปัจจัยก็เกิดขึ้นไม่ได้” จากนั้นทรงสอบสวนความเข้าใจของภิกษุในเรื่องนี้ ได้ทรงแสดงหลักปฏิจจสมุปบาท และหลักธรรมอื่น ๆ อีก แต่ทรงมุ่งประเด็นไปสู่ความหลุดพ้น เพราะสิ้นตัณหา สูตร#2 จูฬตัณหาสังขยสูตร เป็นเรื่องย่อที่ทรงแสดงแก่ท้าวสักกะจอมเทพ ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ที่ได้ถามถึงต้นเหตุ และวิธีที่ปฏิบัติเพื่อความสิ้นตัณหาของภิกษุ พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น[...]
- 4 คลังพระสูตรมหาปทานสูตร#3 พระพุทธเจ้าทรงเล่าถึงตอนพระวิปัสสีโพธิสัตว์ตรัสรู้ ทรงแสดงธรรมแก่คู่พระอัครสาวก และมหาชน ซึ่งในการแสดงธรรมนั้น มีผู้บรรลุธรรมตามเป็นจำนวนหลายแสนคน และได้ทรงส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา ทรงดำริว่าเมื่อเวลาล่วงไปทุก ๆ 6 ปี ภิกษุทั้งหลายควรกลับมายังกรุงพันธุมดี เพื่อแสดงปาฏิโมกข์ ซึ่งท้าวมหาพรหมได้กราบทูลว่าจะหาวิธีให้ภิกษุกลับมา ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงไปหาเหล่าเทพชั้นสุทธาวาส และเหล่าเทพชั้นต่าง ๆ มีเทวดามากมายมาเข้าเฝ้า เทวดาได้เล่าเรื่องราวของพระพุทธเจ้าในสมัยนั้น ๆ ที่ตนประพฤติพรหมจรรย์ แล้วจึงมาเกิดในที่นี้ ๆ และทรงสรุปพระธรรมเทศนานี้ว่า เป็นเพราะพระองค์มีปัญญา ทราบได้เองถึงพระพุทธเจ้าในอดีต และเพราะเหล่าเทวดาบอกเรื่องนั้นให้ทราบ
- 4 คลังพระสูตรมหาปทานสูตร#2 ตอนการออกผนวช การตรัสรู้ และการแสดงธรรม เมื่อพระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้ทรงเห็นเทวทูตทั้ง 4 เป็นนิมิต ทรงเสด็จออกผนวช มหาชนทราบข่าวได้ออกบวชตามเสด็จ ต่อมาทรงหลีกออกจากหมู่อยู่เพียงลำพัง ประทับหลีกเร้นในที่สงัด ได้ทรงใคร่ครวญเรื่องปฏิจจสมุปบาทแล้วทรงบรรลุธรรม ท้าวมหาพรหมได้ทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม ทรงแสดงธรรมแก่คู่พระอัครสาวก และแก่มหาชน ซึ่งได้บรรลุธรรมตามที่ทรงตรัสรู้แจ้งนั้น ตามลำดับ
- มหาปทานสูตร พระประวัติของพระพุทธเจ้า 7 พระองค์ พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะประทับอยู่ ณ พระเชตวัน ทรงปรารภเรื่อง ปุพเพนิวาสญาณของพระองค์ โดยตรัสเล่าพระประวัติโดยสังเขปของพระพุทธเจ้าในอดีต 6 พระองค์ ที่มีในกัปนี้ และกัปก่อน ๆ และพระประวัติของพระองค์เอง แต่เนื่องจากภิกษุยังมีข้อสงสัยอยู่จึงได้เสด็จกลับมา และตรัสเล่าต่อ เฉพาะพระประวัติของพระวิปัสสีพุทธเจ้า ซึ่งในตอนที่ 1 นี้ เป็นตอนประสูติ ประกอบด้วยเรื่อง กฎธรรมดาของพระโพธิสัตว์ 16 ประการ ลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงมีเหมือนกัน และการเห็นเทวทูต
- 4 คลังพระสูตรสูตร#1 มหาโคสิงคสาลสูตร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่พระเถระที่มีชื่อเสียงหลายรูป มีท่านพระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ เป็นต้น ขณะประทับอยู่ที่ป่าโคสิงคสาลวัน ในช่วงท้ายฤดูฝน ท่านพระสารีบุตรได้ตั้งปัญหาขึ้นถามว่า “ป่าโคสิงคสาลวันจะพึงงามด้วยภิกษุเช่นไร” ท่านพระเถระทั้งหลาย ต่างแสดงทรรศนะของตน ที่มีคุณธรรมพิเศษนั้น ๆ ของตน และได้กราบทูลเรื่องทรรศนะต่าง ๆ ให้ทรงทราบ ทรงตรัสสรรเสริญ และทรงแสดงทรรศนะของพระองค์ว่า ป่าโคสิงคสาลวันจะพึงงามด้วยภิกษุในธรรมวินัยนี้ ที่มีความเพียรพยายามอย่างมุ่งมั่น ถ้ายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ สูตร#2 จูฬโคสิงคสาลสูตร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ ในคราวที่เสด็จไปเยี่ยมที่ป่าโคสิงคสาลวัน ท่านอยู่กันด้วยความสามัคคี มีเมตตาให้กันทั้งต่อหน้า และลับหลัง ทั้งทางกาย วาจา และใจ พยายามที่จะเก็บจิตของตนเองแล้วทำตามจิตของผู้อื่น จึงสามารถอยู่เป็นสุขได้ พระผู้มีพระภาคทรงยกย่องพระเถระทั้ง 3 รูป
- 4 คลังพระสูตรสูตร#1 คณกโมคคัลลานสูตร พระผู้มีพระภาคแสดงแก่พราหมณ์ชื่อโมคคัลลานะ เป็นนักบัญชี นักคำนวณ ทำหน้าที่ในการคำนวณ การทำบัญชี ได้เข้าไปสนทนาธรรมกับพระผู้มีพระภาคในบุพพาราม โดยตั้งประเด็นการสนทนาถึงการฝึก การปฏิบัติ ที่เป็นไปตามลำดับขั้นว่า ในทุกสาขาอาชีพจะมีการฝึก การปฏิบัติไปตามลำดับขั้น ในคำสอนของพระพุทธเจ้ามีลักษณะที่เป็นไปตามลำดับขั้นหรือไม่ ทรงตรัสตอบ ชี้แจงไล่เรียงไปจากศีล สมาธิ และ ปัญญา ซึ่งจะมีสาวกบางพวกที่บรรลุนิพพาน บางพวกไม่บรรลุ เพราะว่า พระองค์เป็นเพียงแค่ผู้บอกทางเท่านั้น เมื่อโมคคัลลานะพราหมณ์ฟังจบ ได้ประกาศตนเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะไปตลอดชีวิต สูตร#2 พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ เริ่มตั้งแต่ประสูติ จนถึงความคิดที่จะออกบวช
- 4 คลังพระสูตรสูตร#1 อิฏฐสูตร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่อนาถบิณฑิกคฤหบดี ว่าด้วยธรรมที่น่าปรารถนา 5 ประการ ที่หาได้ยากในโลก ที่จะได้ด้วยการกระทำ การปฏิบัติ และปฏิปทาที่ถูกต้อง ไม่ได้ด้วยการอ้อนวอนร้องขอ เพราะเหตุแห่งความปรารถนานั้น สูตร#2 จูฬกัมมวิภังคสูตร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่สุภมาณพ โตเทยยบุตร เพื่อทรงตอบปัญหาของ สุภมาณพ ว่าเหตุปัจจัยที่ทำให้มนุษย์เกิดมาทราม และประณีตต่างกัน เป็นเพราะมีข้อปฏิบัติ และปฏิปทาที่แตกต่างกัน สูตร#3 ทักขิณาวิภังคสูตร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่พระอานนท์ โดยปรารภการถวายทานของพระนางปชาบดีโคตมี โดยทรงแสดงทาน 2 ประเภท และความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา 4 ประการ และทรงยกย่องอานิสงส์ของการให้กับหมู่สงฆ์มีมากกว่าให้กับบุคคล
- 4 คลังพระสูตรสูตร#1 มหาสมัยสูตร การประชุมครั้งใหญ่ของเทวดาวาระหนึ่ง เพื่อมาเฝ้าพระพุทธเจ้า และชมปฏิปทาของภิกษุสงฆ์ จำนวน 500 รูป ซึ่งล้วนเป็นพระอรหันต์ เมื่อเทวดามาพร้อมกันแล้ว ได้มีเสนามารเข้ามาในที่ประชุมด้วยประสงค์ร้าย พระองค์ทรงรับสั่งให้พระสาวกระวังตัว ด้วยพุทธานุภาพ เสนามารไม่สามารถทำอะไรแก่พระสาวกได้ และได้กล่าวสรรเสริญพระสาวกของพระองค์ว่า เป็นผู้ชนะสงคราม ล่วงพ้นความหวาดกลัวแล้ว สูตร#2 มธุปิณฑิกสูตร ธรรมเทศนาอันไพเราะ ที่ท่านพระมหากัจจายนะได้อธิบายขยายความพุทธพจน์ของพระพุทธเจ้าที่ท่านได้ยกหัวข้อแสดงไว้แก่ภิกษุแต่ภิกษุไม่เข้าใจ โดยได้แจกแจงเป็นเรื่องอายตนะทั้ง 6 เมื่อใคร่ครวญด้วยปัญญาทำให้เกิดความเข้าใจในธรรมซึมซาบเข้าสู่จิตใจได้ สูตร#3 อินทรีย์ 5 พละ 5 ที่มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
- 4 คลังพระสูตรรวบรวมเรื่องราวที่มีมาในสังยุตตนิกาย กล่าวถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้มาเกิดเป็น นาค ครุฑ คนธรรพ์ และวลาหก และทำอย่างไรจึงจะคลายความเป็น นาค และครุฑ แล้วกลับมาเป็นมนุษย์หรือเทวดาได้ ซึ่งสัตว์และเทวดาทั้งหมดนี้ อยู่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา เพิ่มเติมด้วยเรื่อง ตระกูลพญางูอีก 4 ประเภท มาในอังคุตตรนิกาย ทรงแสดงว่า ถ้าภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยังตระกูลพญางูนี้ ก็จะไม่ถูกสรรพสัตว์รบกวน
- เทวทหสูตร: พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุ ขณะประทับอยู่ที่เทวทหะนิคม ทรงปรารภหลักคำสอนของพวกนิครนถ์ในเรื่องกรรมเก่า และการสิ้นกรรม ซึ่งพวกนิครนถ์เชื่อว่า กรรมเก่าให้ผลแน่นอนไม่มีข้อยกเว้น การหมดทุกข์จะมีได้ด้วยการบำเพ็ญเพียรอย่างแรงกล้า และการไม่ทำกรรมใหม่เพิ่มเติม ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด และทรงแสดงความเชื่อเรื่องกฏแห่งกรรม และผลแห่งความเพียร ตามหลักคำสอนในศาสนาพุทธ โดยทรงยกอุปมาอุปไมยเปรียบเทียบไว้ 3 อย่าง ที่เมื่อใคร่ครวญแล้วจะทำให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาในพระสูตรนี้ได้
- สูตร#1 วิตักกสัณฐานสูตร วิธีพิจารณาละวิตกฝ่ายอกุศล และตัวอย่างเปรียบเทียบ 5 ประการ ที่เมื่อละได้แล้ว จะทำให้จิตตั้งมั่น สงบ เกิดสมาธิขึ้น ตัดตัณหา ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ สูตร#2 เทวธาวิตักกสูตร วิธีแบ่งความคิด (วิตก) ออกเป็น 2 ประเภท คือ กุศลวิตก และอกุศลวิตก ด้วยการมีสติแยกแยะความคิดที่เป็นอกุศล ว่าเกิดขึ้นแล้ว และกำจัดความคิดที่เป็นอกุศลออกไป ตั้งดำรงความคิดที่เป็นกุศลไว้ จะทำให้จิตไปตามทาง คือ มรรค สามารถทำสมาธิ ปัญญาให้แจ้ง และบรรลุธรรมได้
- 4 คลังพระสูตรสามัญญผลสูตร ตอนที่ 3 สมาธิเป็นเหตุให้ได้ผลเป็นปัญญา ซึ่งในการแสดงธรรมเรื่องของพรหมจรรย์ตลอดสายแก่พระเจ้าอชาตศัตรู ทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูเกิดความเลื่อมใสทันที เพราะทรงเห็นผลประจักษ์ และโดยปกติแล้วจะต้องบรรลุธรรม แต่เนื่องจาก พระเจ้าอชาตศัตรูได้ทำอนันตริยกรรม (ปิตุฆาต) จึงทำให้ไม่มีดวงตาเห็นธรรม
- 4 คลังพระสูตรสามัญญผลสูตร ตอนที่ 2 พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระเจ้าอชาตศัตรู อธิบายถึงผลของการปฏิบัติในทางคำสอน ที่จะได้รับผลเป็นความสุข เห็นผลประจักษ์ในปัจจุบัน และสามารถปฏิบัติให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ก็จะให้ผลที่ประณีตกว่า ดีกว่าได้ ซึ่งศีล สมาธิ ปัญญานั้น เป็นผลของการปฏิบัติ โดยอาศัยเหตุที่เราสร้างขึ้นตามลำดับ เป็นขบวนการปฏิบัติที่จะให้ผลเป็นขั้น ๆ ดังที่ปรากฏในพระสูตรนี้
- 4 คลังพระสูตรสามัญญผลสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระเจ้าอชาตศัตรู ขณะประทับอยู่สวนมะม่วงของหมอชีวก ในตอนต้นพระเจ้าอชาตศัตรูได้เสด็จไปถามปัญหาเรื่องผลแห่งความเป็นสมณะจากพราหมณ์เจ้าลัทธิทั้ง 6 พราหมณ์เหล่านั้นได้ทูลอธิบายลัทธิของตนให้ทรงทราบ ซึ่งไม่ได้คำตอบตามที่ต้องการ หมอชีวกจึงได้ชักชวนพระเจ้าอชาตศัตรูไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคทรงตรัสตอบและแสดงให้เห็นประจักษ์ว่าการบวชในพระพุทธศาสนามีผลดีมากกว่าอย่างไร พระสูตรที่ 2 ว่าด้วยภูเขาเวปุลละ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า สังสารวัฏมีระยะยาวนานจนภูเขาเวปุลละได้มีชื่อเรียกหลายอย่างและเคยเป็นภูเขาที่สูงมากใช้เวลาขึ้นลงเป็นเวลาหลายวัน แต่ทุกวันนี้ภูเขาเตี้ยมากสามารถขึ้นลงได้ในวันเดียว พระสูตรที่ 3 ว่าด้วยภูเขาอิสิคิลิ หรือภูเขากลืนฤษี ทรงแสดงพระนามของพระปัจเจกพุทธเจ้า ที่เคยมาตรัสรู้และอาศัยในภูเขานี้ และไม่ได้เสด็จกลับออกไป จำนวน 500 องค์
- 4 คลังพระสูตรเป็น 2 พระสูตรที่นำมาเปรียบเทียบ เรื่องการพยากรณ์อรหัตตผลโดยชอบ การที่จะบรรลุคุณวิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถที่จะให้ผลเกิดขึ้นได้จากการปฏิบัติ ซึ่งผลนั้นสามารถตรวจสอบได้ พระสูตรแรก เจ้าสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร ทราบว่ามีภิกษุจำนวนมากมาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค และได้พยากรณ์อรหัตตผลของตน จึงทูลถามว่า ภิกษุเหล่านั้นพยากรณ์ถูกต้องตามความเป็นจริง หรือตามที่ตนเข้าใจเองว่าได้บรรลุ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบ และทรงแสดงธรรมให้ฟัง พระสูตรที่ 2 พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่ภิกษุ เพื่อให้รู้จักหลักการตรวจสอบการพยากรณ์อรหัตตผล เมื่อมีภิกษุพยากรณ์อรหัตตผลว่า จะเป็นจริงหรือไม่
- 4 คลังพระสูตรพระสูตรแรก เป็นเรื่องราวของเสลพราหมณ์กับเกณิยชฏิล ที่เสลพราหมณ์ ได้ยินบทว่า “พุทโธ” จากเกณิยชฏิล เกิดความสนใจจึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค และได้เห็นลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการตามมนต์ของพวกพราหมณ์ ได้สอบถามธัมม์ ได้ฟังธัมม์แล้วเกิดความเลื่อมใสขอบวชในวันนั้นเป็นพระภิกษุชื่อเสละพร้อมด้วยบริวาร ต่อมาได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พระสูตรที่ 2 ทรงแสดงแก่ภิกษุ ปรารภความคิดเห็นของภิกษุที่มีต่อพระองค์ และทรงอธิบายถึงวิธีการปฏิบัติที่เมื่อมีการขัดแย้งกันเกิดขึ้นในหมู่ภิกษุ ให้กำหนดเนื้อความให้ดี แล้วเข้าไปหาคนที่ว่าง่าย และทิฏฐิน้อยที่สุด ให้คิดว่าการลำบากจากการบอกเป็นเรื่องเล็กน้อย แล้วจึงบอกสอนชี้แจงอย่างมีเหตุผลโดยไม่ยกตนข่มผู้อื่น ทั้ง 2 พระสูตร แสดงถึงความมหัศจรรย์ในคำสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งคนที่มีศรัทธาถือรูปเป็นประมาณ กรณีของเสลพราหมณ์ หรือเหล่าภิกษุที่ถือธรรมเป็นประมาณ ในกินติสูตร ที่เมื่อเราศึกษาทำความเข้าใจแล้วนำมาปฏิบัติ น้อมเข้าสู่ใจเราก็จะมีความศรัทธา มีปัญญาที่จะทำให้ถึงนิพพานได้
- 4 คลังพระสูตรเป็นเรื่องราวของการนำกงล้อ คือ จักรอันประกอบด้วยธรรมอันประเสริฐที่ให้หมุนไป คือ การแสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตรและอนัตตลักขณสูตร เป็น 2 พระสูตรแรก ที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 มี ท่านโกณฑัญญะ เป็นหัวหน้า เพราะท่านเหล่านี้เป็นผู้มีธุลีในดวงตาแต่น้อย ซึ่งธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มีเนื้อหารายละเอียดที่ได้กล่าวถึงเรื่องอริยสัจ 4 ที่เมื่อท่านแสดงจบลง ท่านโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน และได้ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร ที่เจาะลึกเรื่องของทุกข์ ทำให้ภิกษุทั้ง 5 ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ เป็น 2 พระสูตรที่มีความสำคัญมาก คนที่มีปัญญา มีความเพียร จะสามารถทำความเข้าใจได้
- 4 คลังพระสูตรเป็นเรื่องราวของเด็กหนุ่มอายุ 16 ปี ชื่อ อัสสลายนมาณพ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ จบไตรเพท เป็นผู้ที่พราหมณ์ทั้งหลายยกย่อง จึงได้ชักชวนมาณพให้ไปเจรจาโต้ตอบกับพระพุทธเจ้า เนื่องจากพวกพราหมณ์ไม่พอใจในคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ทรงบัญญัติความบริสุทธิ์ที่ทั่วไปแก่วรรณะ 4 เพราะพวกพราหมณ์เชื่อว่า วรรณะพราหมณ์ประเสริฐที่สุด บริสุทธิ์ที่สุด พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสอธิบายเรื่องวรรณะ 4 จำพวก ที่ไม่ว่าจะวรรณะไหนก็สามารถที่จะทำดี หรือทำไม่ดีได้ และเรื่องของปัญญา ความรู้ คุณธรรม ที่ถ้าคุณธรรมดี ก็จะดีกว่าปัญญา ความรู้ หรือชาติกำเนิดโดยทรงซักถามให้ยอมรับในประเด็นต่าง ๆ และได้ทรงยกเรื่องในอดีต ที่ฤาษี 7 ตนมีความเห็นเช่นนี้ ก็ถูกอสิตเทวลฤาษีซักไซ้ไล่เลียงตอบไม่ได้ ได้แต่นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ซบเซา หมดปฏิภาณ เช่นกัน ในที่สุด อัสสลายนมาณพได้กราบทูลยกย่องพระผู้มีพระภาคและแสดงตนเป็นอุบาสกตลอดชีวิต
- 4 คลังพระสูตรพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแก่โพธิราชกุมาร ขณะประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน ในงานสมโภชปราสาทชื่อ โกกนุท ที่มีลักษณะเหมือนดอกบัวลอยน้ำ แล้วทรงเล่าพระประวัติของพระองค์ตั้งแต่ตอนที่บำเพ็ญความเพียรจนถึงตรัสรู้ธรรม จนกระทั่งไปถึงการประกาศสอนศาสนา จนคนบรรลุตามได้ เป็นความน่าอัศจรรย์ ที่มีพระพุทธเจ้า มีคำสอน คือ ธรรม ที่ถ้าเมื่อใครปฏิบัติตามด้วยความเพียร 5 ประการ ก็จะทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ได้ โดยใช้เวลาเพียง 7 ปี 7เดือน หรือแค่ 7วัน 7 คืน หรือสั่งสอนในเวลาเช้า บรรลุในเวลาเย็น สั่งสอนในเวลาเย็น บรรลุในเวลาเช้าได้ โพธิราชกุมารทูลสรรเสริญพระพุทธเจ้า และแสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
- 4 คลังพระสูตรเป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงเล่าเรื่องของพระองค์เองที่เกิดมาในชาติก่อน ๆ พระสูตรแรก เป็นสมัยที่พระองค์เกิดเป็นพระเจ้ามฆเทวะ ที่มีข้อปฏิบัติอันดี ที่เรียกว่าเป็นกัลยาณวัตร ที่ได้มอบเป็นมรดกไว้ให้รุ่นลูก รุ่นหลานได้นำไปปฏิบัติ และได้เปรียบเทียบถึงวัตรอันงามที่ท่านทิ้งไว้เป็นมรดกในครั้งนี้ที่ท่านเป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ อริยมรรคมีองค์ 8 พระสูตรที่ 2 เป็นสมัยที่พระองค์เกิดเป็นมานพชื่อ โชติปาล มีกัลยาณมิตรเป็นช่างปั้นหม้อชื่อ ฆฏิการ ที่ได้ชักชวนกันไปฟังธรรมในสมัยของพระพุทธเจ้ากัสสปะ เมื่อฟังธรรมแล้วโชติปาลมานพได้ออกบวช
- 4 คลังพระสูตรพระสูตรแรกเป็นเรื่องราวของปริพาชกที่ชื่อ สกุลุทายี ที่เมื่อฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วเกิดความเลื่อมใสขอพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะ ตัดสินใจจะออกบวชแต่หมู่คณะของท่านได้ห้ามเอาไว้ ท่านจึงไม่ได้ออกบวช มีเนื้อหาที่น่าสนใจ คือ ธรรมใดที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วทำให้สกุลุทายีเปลี่ยนแปลงความคิดจะออกบวชมาในคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ พระสูตรที่ 2 เป็นเรื่องการบรรลุธรรมของท่านพระสารีบุตร ที่ท่านเป็นผู้ถึงวสี (ความชำนาญ) และถึงบารมี (ความสำเร็จ)
- 4 คลังพระสูตรพระสูตรแรก ว่าด้วย ปริพาชกชื่ออุคคาหมานะ สมณมุณฑิกาบุตร เป็นเรื่องของนายช่างไม้ชื่อ ปัญจกังคะ ที่ฟังข้อธรรมจากปริพาชกแล้วไม่ได้ปักใจเชื่อ แต่ได้นำข้อธรรมที่สงสัยนั้นไปถามท่านผู้รู้ คือ พระพุทธเจ้า การนำคำถามไปสอบถามท่านผู้รู้ เป็นวิธีการที่จะทำให้เรามีความฉลาดขึ้น มีปัญญาเพิ่มขึ้น พระสูตรที่ 2 ว่าด้วย คุณสมบัติของภิกษุผู้เป็นโจทก์ โดยพระสารีบุตรแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่าจะวางจิตอย่างไรเมื่อเราเป็นผู้โจทคนอื่น หรือเมื่อถูกคนอื่นโจทก์
- 4 คลังพระสูตรเรื่องราวที่ท่านพระสารีบุตรได้เทศนาสั่งสอนไว้ในตอนนี้มี 4 พระสูตร พระสูตรแรก ท่านพระสารีบุตรแสดงธรรมให้ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีฟัง ก่อนที่จะทำกาลกิริยา แล้วไปเกิดในหมู่เทพชั้นดุสิต พระสูตรที่ 2 ว่าด้วยการจำแนกสัจจะ ที่ท่านพระสารีบุตรสามารถที่จะบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ 4 ได้โดยพิสดาร พระสูตรที่ 3 ว่าด้วยพระสารีบุตรถูกโจทย์โดยภิกษุรูปหนึ่งด้วยคำไม่จริง ประเด็นที่น่าสนใจ คือ การอุปมาอุปไมย 9 อย่าง เปรียบเทียบการวางจิตใจของเราเมื่อถูกโจทย์ด้วยคำไม่จริง พระสูตรที่ 4 ว่าด้วยการจำแนกปฏิสัมภิทา 4 อย่าง
- 4 คลังพระสูตรเป็นพระสูตรว่าด้วยพราหมณ์ชื่อธนัญชานิ ผู้ประพฤติมิชอบด้วยการเบียดบังพระราชา และเบียดเบียนประชาชน เมื่อท่านพระสารีบุตรทราบว่าธนัญชานิพราหมณ์เป็นผู้ประมาท ท่านได้ไปโปรดเตือนสติ และแสดงธรรมให้ฟังโดยยกธรรมขึ้นมาให้เห็นว่า ไม่ว่าจะด้วยเหตุเงื่อนไขปัจจัยใดในการดำเนินชีวิตก็ตาม ผู้ประพฤติธรรม และประพฤติสม่ำเสมอย่อมประเสริฐกว่าผู้ประพฤติอธรรมและประพฤติไม่สม่ำเสมอ และในตอนจบธนัญชานิพราหมณ์ตายไป สถิตย์ในสวรรค์ชั้นพรหม พระสูตรที่ 2 เป็นพระสูตรที่ท่านพระอานนท์ และสุสิมเทพบุตรกล่าวสรรเสริญท่านพระสารีบุตร
- 4 คลังพระสูตรพระสูตรอุปมาว่าด้วยรอยเท้าช้างสูตรใหญ่ เป็นพระสูตรที่ท่านพระสารีบุตรแสดงแก่ภิกษุ ขณะพักอยู่เชตวัน ท่านได้อธิบายอริยสัจ 4 โดยเอานัยยะของธาตุทั้ง 4 มาเป็นตัวแปร แต่อธิบายรายละเอียดเฉพาะทุกขอริยสัจเท่านั้น และในตอนท้ายพระสูตรมีเรื่องของปฏิจจสมุปบาท อธิบายเพื่อให้ข้อธรรมทั้งหมดรวมลงในอริยสัจ 4 เหมือนรอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย รวมลงในรอยเท้าช้าง และมีพระสูตรเพิ่มเติม คือ โกฏฐิกสูตร และปัญหาปุจฉสูตร ว่าด้วยเรื่องสิ่งที่คิดปรุงแต่ง และเครื่องเกาะเกี่ยว อุปมาด้วยโคดำและโคขาวที่ผูกติดด้วยเชือกเส้นเดียวกัน
- 4 คลังพระสูตรเป็นเรื่องราวที่ท่านพระสารีบุตรได้อธิบายถึงลักษณะของสัมมาทิฏฐิ โดยอธิบายไล่เรียงตามลำดับแต่ละอาการของปฏิจจสมุปบาท ตามนัยยะของอริยสัจ 4 จุดที่น่าสนใจ คือ ท่านพระสารีบุตรอธิบายเพิ่มเติมที่พระพุทธเจ้าท่านอธิบายไว้สุดจบที่อวิชชา ท่านได้อธิบายต่อถึงอาสวะ ซึ่งอาสวะและอวิชชานั้นมีความเกี่ยวข้องกัน
- 4 คลังพระสูตรตอนจบของ series ในพระสูตรที่ว่าด้วยหมวดธรรม 10 ประการ ในตอนนี้เป็นหมวด ธรรม 9 ประการ และ หมวดธรรม 10 ประการ และเพิ่มเติมหมวดธรรม 6 ประการ ที่ขาดอยู่ (ตอนที่ 1) ในหมวดที่ 9 และ 10 นี้ มีข้อธรรมที่น่าสนใจ ให้ลองนำไปพิจารณา คือ ธรรมที่เป็นฝ่ายเจริญและฝ่ายเสื่อม ซึ่งว่าด้วยเหตุผูกอาฆาต และอุบายเป็นเครื่องกำจัดอาฆาต ซึ่งในธรรมทั้งหมด 10 ประการนี้ หากเราพิจารณาตามหัวข้อที่ท่านได้ไล่เรียงมา ความแตกฉานในธรรมของเราจะมีมาก ด้วยการพิจารณาใคร่ครวญ แยกหมวดหมู่ให้สามารถนำไปใช้งาน สามารถนำไปปฏิบัติ โดยเฉพาะธรรมที่ควรละ ธรรมที่ควรทำให้เกิดขึ้น หรือธรรมที่มีอุปการะมาก ปฏิบัติตามแล้ว เราก็จะเป็นผู้ที่มีส่วนแห่งความเจริญ มีส่วนแห่งความรู้ยิ่ง รู้แจ้งเพิ่มขึ้นไป
- 4 คลังพระสูตรในตอนที่ 2 นี้ เป็นหัวข้อ ธรรม 7 ประการ และธรรม 8 ประการ ซึ่งมีส่วนที่เหมือนกันในสังคีติสูตร หรือบางข้อเป็นการขยายความมา เช่น ในธรรม 4 ข้อ ขยายออกมาได้ใน 8 ข้อเหล่านี้ ข้อที่น่าสังเกตุ คือ มีการจัดรวมหมวดหมู่ธรรมในอีกลักษณะหนึ่ง เป็นการเปรียบเทียบกันไป เช่น หัวข้อธรรมเป็นในฝ่ายเสื่อม จะตรงกันข้ามกับข้อธรรมที่เป็นฝ่ายคุณวิเศษ ส่วนหัวข้อธรรมที่แทงตลอดได้โดยยาก มีเนื้อหาที่ถ้าเราละได้แล้วจะดีขึ้นมา
- 4 คลังพระสูตรพระสูตรว่าด้วยธรรม 1 ถึง 10 ประการ ที่ท่านพระสารีบุตรแสดงแก่พระภิกษุ ขณะตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปพัก ณ ฝั่งสระโบกขรณีชื่อ คัคครา ใกล้กรุงจัมปา ประกอบด้วยหมวดธรรมตั้งขึ้นเป็นหลัก 10 หมวด ที่มีองค์ธรรม 1 ประการ ถึง 10 ประการเข้าประกอบ เริ่มตั้งแต่ข้อ 1 ธรรมที่มีอุปการะมาก จนถึงข้อ 10 ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง รวมธรรมทั้งหมดเกินกว่า 100 ข้อ เป็นความสวยงามอีกรูปแบบหนึ่งในการทำสังคายนา (ในที่นี้เป็น series มี 3 ตอน)
- 4 คลังพระสูตรเป็นตอนจบของพระสูตรนี้ มีเรื่องราวเพิ่มเติมของหมวดที่ 8 หมวดที่ 9 และหมวดที่ 10 ในหมวด 9 มีเนื้อหาที่สำคัญ คือ เรื่องของการละความผูกอาฆาต เรื่องการเข้าฌานสมาธิทั้ง 9 ขั้น ส่วนหมวดที่ 10 เรื่องธรรมอันเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยเจ้า ที่ตัดละองค์ 5 มีธรรมเป็นที่พึ่งอีก 4 ด้าน และรวบรวมหัวข้อต่าง ๆ ได้ 10 ประการ
- 4 คลังพระสูตรหมวดที่ 7 และ หมวดที่ 8 มีเรื่องราวที่น่าสนใจ คือ เรื่องของโพชฌงค์ บริขารแห่งสมาธิ 7 ประการ ส่วนหมวด 8 เป็นเรื่องการทำความเพียร มรรค 8 เหตุที่ทำให้เกิดความเกียจคร้าน และความขยัน ธรรมทั้งหลายเหล่านี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้โดยชอบแล้ว เราทำความเข้าใจให้สอดคล้องตรงกัน ไม่วิวาทกัน ไปในทางเดียวกัน จะเป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง รู้พร้อม นิพพานได้
- 4 คลังพระสูตรหมวดที่ 5 และหมวดที่ 6 มีเรื่องราวที่น่าสนใจในหมวดนี้ คือ เรื่องการพิจารณา อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา ซึ่งมีรายละเอียดอยู่ในหมวด 5 ตอนท้าย และในหมวดที่ 6 ที่กล่าวถึง ผัสสะ อายตนะต่าง ๆ ที่ละเอียดลึกซึ้ง และเรื่องสาราณียธรรม ธรรมที่เป็นเหตุให้ระลึกถึง เหตุแห่งการไม่วิวาทกัน ที่เมื่อฟังแล้วจะทำให้เกิดความรู้แตกฉาน เกิดเป็นสัมมาทิฏฐิขึ้นได้
- 4 คลังพระสูตรตอนที่ 2 เป็นหมวดที่ 4 และหมวดที่ 5 ซึ่งเรื่องราวในส่วนนี้จะซ้ำกันกับในอังคุตรนิกายหมวดต่าง ๆ และด้วยปัญญาของท่านพระสารีบุตร ท่านได้รวบรวมหัวข้อในบางจุดที่พระพุทธเจ้าตรัสแยกเป็นส่วน ๆ ให้เป็นหมวดหมู่ให้เกิดความเข้าใจได้
- 4 คลังพระสูตรเป็นเรื่องราวของการทำสังคยานาครั้งแรกต่อหน้าพระพุทธเจ้า โดยท่านพระสารีบุตร ซึ่งเป็นต้นแบบของการทำสังคยานาพระธรรมวินัยในสมัยต่อมา ที่ท่านได้รวบรวมธรรมหลายหมวดไว้ด้วยกัน เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดี ประกาศไว้ดี เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ จึงเป็นหน้าที่ของภิกษุทั้งหลายจะพร้อมกันเอามากล่าวทบทวน ประกาศสวดขึ้นพร้อมกัน เพื่อให้พรหมจรรย์ตั้งอยู่ได้นาน และเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลกสืบไป ตอนนี้เป็นตอนที่ 1 เป็นเนื้อหาตั้งแต่ต้นถึงหมวดที่ 4 และสามารถติดตามรับฟังเนื้อหาพระสูตรที่เหลือตอนต่อไปใน episode ต่อ ๆ ไป
- 4 คลังพระสูตรพระสูตรว่าด้วยการบันลือสีหนาถของพระสารีบุตร ที่ท่านพระสารีบุตร ประกาศสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้าที่มีมากมายมหาศาล และแจกแจงธรรมบรรยายไว้ในนัยยะต่าง ๆ ว่าทรงแสดงธรรมเป็นสวาขาตะธรรม เรื่องการบัญญัติบุคคล เรื่องคำสอน ปฏิปทา ฌาณสมาธิ และปัญญา คำสอนต่าง ๆ มีรายละเอียดน่าอัศจรรย์ ลึกซึ้ง ไม่มีสมณะ หรือพราหมณ์อื่นที่จะมีความรู้ยิ่งไปกว่าพระผู้มีพระภาคในทางพระสัมโพธิญาณฯ
- พระสูตรว่าด้วยต้นกำเนิดของโลก ทรงแสดงแก่สามเณรชื่อ วาเสฏฐะ และภารทวาชะ เป็นตอนที่ทรงชี้แจงให้เข้าใจถึงความเป็นมาของวรรณะ 4 ที่พวกพราหมณ์เข้าใจเรื่องระบบวรรณะผิดพลาดคลาดเคลื่อนไป ไม่รู้เรื่องความเป็นมาของวรรณะตามความเป็นจริง และทรงแสดงการกำเนิด หรือวิวัฒนาการของโลก ตั้งแต่ตอนต้นแห่งวิวัฏฏกัปที่โลกก่อตัวขึ้นใหม่ จนมีมนุษย์เกิดขึ้น และวิวัฒนาการของระบบสังคม เศรษฐกิจและการเมืองไว้อย่างน่าสนใจ และทรงสรุปเน้นย้ำในเรื่อง การประพฤติสุจริต ตรัสสอนให้เจริญโพธิปักขิยธรรม เป็นธรรมที่จะให้เกิดการบรรลุธรรม และหลุดพ้นได้
- พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่ภิกษุ ตรัสสอนให้ พึ่งตนพึ่งธรรม ไม่พึ่งสิ่งอื่น ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน 4 เพราะการพึ่งตนพึ่งธรรม ทำให้เจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ โภคะ และพละ และให้ประพฤติธรรมอันเป็นโคจรที่สืบเนื่องมาจากบิดา (พระองค์เอง) บุญกุศลจะเจริญยิ่งขึ้น มารจะขัดขวางไม่ได้ และได้ตรัสอธิบายถึง การที่จะมาเป็น และความเสื่อมไปของพระเจ้าจักรพรรดิ เหตุความเสื่อมไปของอายุขัยของมนุษย์ถึงสมัยหนึ่งที่มนุษย์มีอายุขัยแค่ 10 ปี จนกระทั่งถึงคราวที่มนุษย์กลับเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้ง มีอายุมากขึ้นอีก มีพระพุทธเจ้า นามว่า เมตไตรย เสด็จอุบัติขึ้นในโลก จะทรงสั่งสอนธรรมอย่างเดียวกับพระองค์ในบัดนี้
- เป็นตอนจบของพระสูตรนี้ เป็นตอนที่ปาฏิกบุตร หลอกลวงประชาชน ในลักษณะที่โอ้อวดว่าสามารถแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ได้มากกว่าพระพุทธเจ้าเป็นทวีคูณ แต่พอจะให้เกิดการพิสูจน์ ก็ไม่สามารถที่จะทำความชัดแจ้ง ให้ถึงการตรวจสอบที่ถูกต้องได้ ท่านเปรียบเหมือนสุนัขจิ้งจอกที่เห็นราชสีห์มีความสามารถ มีกำลัง มีการคำราม ตัวเองก็เอาอย่างบ้าง แต่ก็ไม่สามารถคำรามให้เสียงเป็นเหมือนอย่างราชสีห์ได้ เนื้อหาที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ เรื่องกำเนิดของโลก ที่ไม่ได้เกิดจากพรหม หรือพระพุทธเจ้าเป็นผู้สร้าง ที่ถ้ามีความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว จะไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้น ๆ รู้ถึงความดับ และไม่ดำเนินไปสู่ความเสื่อมได้นั่นเอง
- พระสูตรว่าด้วยนักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร ซึ่งเป็นนักบวชเปลือย 1 ใน 3 คน ที่ปรากฏในพระสูตรนี้ เป็นเรื่องราวที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่ ภัคควโคตรปริพาชก ทรงปรารภคำทูลถามเรื่อง เจ้าสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตรลาสิกขา จึงทรงเล่าสาเหตุที่ เจ้าสุนักขัตตะ ลาสิกขาโดยอ้างเหตุผล 2 ประการ คือ (1) ไม่ทรงแสดงปาฏิหาริย์ให้ดู (2) ไม่ทรงประกาศทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลก ซึ่งในตอนท้ายของพระสูตรได้ทรงตรัสเล่าเรื่องทฤษฏีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลก ในตอนนี้ เป็นตอนที่พระพุทธเจ้า ตรัสเล่าย้อน ตอนที่อบรมภิกษุสุนักขัตตะ ที่ไปเคารพนักบวชเปลือย 3 คน โดยปรารภว่าในเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์นั้น ทรงแสดงให้เจ้าสุนักขัตตะ ขณะนั้นยังเป็นภิกษุทำหน้าที่อุปัฏฐากพระองค์ ดูถึง 3 ครั้ง และเจ้าสุนักขัตตะก็ยอมรับว่าทรงแสดงแล้ว แต่ก็ยังมีความคิดผิดเพี้ยนไป
- 4 คลังพระสูตรพระสูตรแรก เป็นเรื่องราวที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่สัจจกะ นิครนถบุตร เป็นการสนทนาธรรมแบบถาม-ตอบเชิงโต้วาทะประคารม มีอุปมาอุปไมยประกอบ ด้วยลักษณะคำถามที่ชงแต่งมาเรียบร้อยแล้ว โดย สัจจกนิครนถ์หาข้อมูลจากพระอัสสชิ ถามว่า พระสมณโคดมแนะนำสาวกว่าอย่างไร และคำสอนส่วนใหญ่ว่าด้วยเรื่องอะไร ได้คำตอบแล้วรู้ถึงหลักการ คือ ความไม่เที่ยงของขันธ์ 5 จึงนำเรื่องนี้มาโต้วาทะกับพระองค์ พระสูตรที่ 2 พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่ ปริพาชกที่นามสกุล วัจฉะ โต้เถียงในเรื่องความเป็นสัพพัญญูของพระองค์
- 4 คลังพระสูตรพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่สัจจกะ นิครนถบุตร เป็นการสนทนาแบบถาม-ตอบ ในเรื่องของกายภาวนา และจิตตภาวนา ซึ่งนิครนถ์มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า กายภาวนานั้น หมายถึง การทำทุกรกิริยา และไม่เข้าใจเรื่องจิตตภาวนา จึงทรงอธิบายการเจริญภาวนาทั้ง 2 อย่าง ที่ถ้าเราทำได้แล้ว จะอยู่เหนือสุขและทุกข์ได้ แต่สัจจกนิครนถ์ ที่มีความสงสัยไม่ลงใจ พยายามที่จะคิดโต้แย้ง และกล่าวกระทบกระเทียบพระองค์ จึงทรงเล่าพุทธประวัติตอนบำเพ็ญสมาบัติ ในสำนักอาฬารดาบส และอุทกดาบส แม้ได้สุขของสมาธิขั้นลึกซึ้ง แต่ก็ไม่เผลอเพลินไปตามสุขเวทนานั้น และเมื่อทำทุกรกิริยา ได้รับทุกขเวทนาอันหนักหน่วง ทุกขเวทนานั้นก็ไม่อาจครอบงำจิตของพระองค์ได้ ทำให้สัจจกนิครนถ์มีความศรัทธา กล่าวสรรเสริญพระองค์ ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้พระภาค
- 4 คลังพระสูตรตอนที่ 3 พระสูตรนี้นอกจากชื่อ พรหมชาลสูตร (ข่ายแห่งพระสัพพัญญุตญาณอันประเสริฐ) ยังมีชื่ออื่นอีก 4 ชื่อ คือ อัตถชาลสูตร (ข่ายแห่งประโยชน์) ธัมมชาลสูตร (ข่ายแห่งธรรม) ทิฏฐิชาลสูตร (ข่ายแห่งทิฏฐิ) และสังคามวิชยสูตร (ตำราพิชัยสงคราม) ที่ผู้ฟังสูตรนี้จบแล้ว จะสามารถพิชิต เทวปุตตมาร ขันธมาร มัจจุมาร หรือกิเลสมารได้ พระผู้มีพระภาคทรงสรุปไว้ว่า ทิฏฐิเหล่านี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่ใช่ทางให้พ้นทุกข์ได้เลย แต่กลับทำให้ผู้ที่เชื่อถือ เพราะไม่รู้ตามความเป็นจริงถูกลัทธิเหล่านี้ ซึ่งเป็นดุจตาข่ายครอบคลุมเอาไว้ต้องประสบทุกข์ เปรียบเหมือนปลาที่ถูกแหครอบคลุมไว้ติดอยู่ในแหนี้ เมื่อผุดขึ้นก็ผุดอยู่ในแหนี้ มิอาจหลุดพ้นไปได้
- 4 คลังพระสูตรพรหมชาลสูตร หรือ ตำราพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยม ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแจกแจงทิฏฐิทั้ง 62 ไว้ดังนี้ว่า มีสมณพราหมณ์บางพวกประกาศวาทะแสดงลัทธิโดยปรารภขันธ์ส่วนอดีตซึ่งเรียกว่า ปุพพันตกัปปิกวาทะ มี 18 ลัทธิ และปรารภขันธ์ส่วนอนาคตและปัจจุบันซึ่งเรียกว่า อปรันตกัปปิกวาทะ อีก 44 ลัทธิ ซึ่งในตอนที่ 2 นี้เป็นความเห็นที่กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต และได้ทรงตรัสสรุปท้ายพระสูตรว่า พระองค์ทรงรู้แจ้งมูลเหตุแห่งทิฏฐิเหล่านี้ และทรงรู้ด้วยว่าผู้ที่ยึดถือทิฏฐิเหล่านี้มีคติและภพเบื้องหน้าเป็นอย่างไร พระองค์จึงไม่ทรงยึดมั่นถือมั่น เมื่อไม่ทรงยึดมั่นถือมั่นจึงทรงรู้แจ้งความเกิด ความดับ คุณ โทษแห่งเวทนา และอุบายวิธีที่ทำให้สลัดเวทนาออกไปได้ พระองค์จึงทรงหลุดพ้น
- 4 คลังพระสูตรพระผู้มีพระภาคตรัสแก่ภิกษุ ขณะทรงพักแรม ณ พระตำหนักหลวงในพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา โดยทรงปรารภคำติเตียนพระรัตนตรัยของปริพาชกชื่อสุปปิยะ และคำสรรเสริญพระรัตนตรัยของพรหมทัตตมาณพผู้เป็นศิษย์ ซึ่งมีถ้อยคำขัดแย้งกัน และกล่าวถึงปัญญาอันประเสริฐของพระองค์ จากนั้นทรงแสดงในเรื่องทิฏฐิไว้ 62 ทิฏฐิ ซึ่งครอบคลุมทิฏฐิ หรือลัทธิทั้งหมดที่แพร่หลายอยู่ในสมัยนั้น ทรงถือว่า ลัทธิเหล่านั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ ตอนที่ 1 เป็นความเห็นกำหนดขันธ์ส่วนอดีต และขันธ์ที่เป็นส่วนอนาคตบางส่วน ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสถึงสาเหตุที่คนทั้งหลายกล่าวสรรเสริญพระองค์ ทรงงดเว้นจากข้อห้ามในศีลทั้ง 3 ชั้น และทรงเป็นพระสัพพัญญุตญาณ
- 4 คลังพระสูตรฑีฆนขสูตร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่ฑีฆนขปริพาชก ซึ่งเป็นหลานของท่านพระสารีบุตร ได้ทรงอธิบายเกี่ยวกับความเห็นของเขาและของสมณพราหมณ์ที่มีอยู่ 3 จำพวก ที่มีความเห็นแตกต่างกัน ทำให้เกิดการทุ่มเถียงกัน ทำลายกัน และ เรื่องของเวทนา ที่มีการเกิดขึ้น ดับไป มีเหตุมีเงื่อนไขปัจจัยของมัน แล้วตรัสชี้โทษของการยึดถือและคุณของการปล่อยวาง ผลคือ ฑีฆนขปริพาชกได้เป็นพระโสดาบัน ส่วนท่านพระสารีบุตร ถวายงานพัดในที่นั้น ได้เป็นพระอรหันต์ อนุปทสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุ ทรงตรัสสรรเสริญท่านพระสารีบุตรให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า ท่านพระสารีบุตรมีความฉลาดล้ำ มีปัญญาเลิศ มากกว่าภิกษุอื่น สามารถเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทได้เพียงกึ่งเดือน เห็นแจ้งตามลำดับบท คือ บรรลุรูปฌาณ 4, อรูปฌาณ 4, สัญญาเวทยิตนิโรธ และความสิ้นอาสวะ
- พุทธประวัติที่เป็นเหตุการณ์สำคัญ 2 ครั้งที่เปลี่ยนแปลงในชีวิตของพระพุทธเจ้า คือ ในส่วนที่เป็นการออกบวช ท่านระลึกได้ว่าการเป็นเจ้าชายขึ้นครองราชย์ ไม่น่าจะเป็นทางที่ประสบความสำเร็จ เพราะความสุขความสำเร็จ จะได้มาโดยง่าย สบาย ๆ ไม่มี ความสุขความสำเร็จ ต้องได้มาด้วยความยากลำบาก และ การเปลี่ยนจากการทำทุกรกิริยามาเป็นตามทางสายกลาง ท่านระลึกได้ว่า ตอนเป็นเด็กนั่งสมาธิที่ใต้ต้นหว้าจิตรวมเป็นอันเดียว สมาธินั้นน่าจะเป็นหนทางแห่งการตรัสรู้ ซึ่งตรงนี้ท่านเรียกว่า “สตานุสารีวิญญานัง” คือ วิญญาณอันแล่นไปตามความระลึก คือ รู้สึกขึ้นได้ว่า ทางที่กำลังไปอยู่นั้นไม่น่าจะถูก แต่ทางที่ถูกควรเป็นอีกทางหนึ่ง
- 4 คลังพระสูตรเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับปริพาชก ชื่อ วัจฉโคตร ทั้งสูตรเล็กและสูตรใหญ่ ที่ได้สอบถามเรื่องคำสอน เรื่องการปฏิบัติจากพระพุทธเจ้าแล้ว เกิดการเปลี่ยนแปลงจิตใจตนเอง น้อมนำธรรมมาปฏิบัติ จนสามารถบรรลุธรรมขั้นสูงได้ เนื้อหาพระสูตร ในจูฬวัจฉโคตตสูตร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงวิชชา 3 เพื่อให้วัจฉโคตรปริพาชกรู้ว่า ลัทธิอื่นนอกจากพระพุทธศาสนาไม่มีใครเป็นสัพพัญญู ส่วนในมหาวัจฉโคตตสูตร ทรงแสดงจุดหมายของพระพุทธศาสนา หรือผลที่ผู้นับถือพระพุทธศาสนาจะได้รับ จนวัจฉโคตรปริพาชกตัดสินใจออกบวชในพระพุทธศาสนาได้บรรลุเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง
- 4 คลังพระสูตรเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้น ณ หมู่บ้านนฬกปานะ พระพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ถึงการบรรลุธรรมของเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จุดประสงค์เพื่อให้คนที่ได้ยินได้ฟังถึงบุคคลที่เขารู้จัก เคยร่วมพูดคุย คบหาสมาคม จะสามารถรู้ถึงศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ และปัญญาของบุคคลต่าง ๆ เหล่านั้น ทำให้น้อมจิตไปเพื่อศรัทธา เป็นต้น ทำให้มีความอยู่อย่างผาสุกได้ ในธรรมวินัยนี้ มีคุณวิเศษ มีสิ่งที่อัศจรรย์ใจ ให้กับบุคคลที่ประพฤติ ปฏิบัติตามไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใด ๆ ให้ได้รู้ซึ้งถึงข้างในจิตใจได้ และยังได้เพิ่มเติมเรื่องราว อาหาร 4 อย่าง และอุปมาที่เกี่ยวกับเรื่องอาหาร
- 4 คลังพระสูตรลฑุกิโกปมสูตร พระสูตรว่าด้วยนางนกมูลไถ เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าได้อบรมพระอุทายี โดยพระอุทายีนั้นได้ระลึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า ในการที่ให้พ้นจากภัย พ้นจากความเดือดร้อนหลายอย่าง ซึ่งท่านได้ยกอุปมาเปรียบเทียบส่วนเหมือนส่วนต่าง ระหว่างนางนกมูลไถกับช้างที่เจนสงคราม มีกำลังแตกต่างกัน หรือคหบดีที่ร่ำรวยกับยาจกเข็ญใจ เปรียบเทียบให้เห็นภาพว่า กำลังจิตของคนนั้น เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งถ้าอาศัยกำลังของบุคคล และ ความเพียรแล้วก็จะฝึกทำให้สำเร็จได้ จาตุมสูตร เป็นพระสูตร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่หมู่บ้านจาตุม ที่พระพุทธเจ้าอบรมตักเตือนกลุ่มภิกษุกลุ่มหนึ่ง ให้ข้อมูลไว้เปรียบเทียบกัน
- 4 คลังพระสูตร".. ปัญหาอะไรเล่าที่เราตอบ คือปัญหาที่ว่า ‘นี้คือทุกข์ นี้คือเหตุให้เกิดทุกข์ นี้คือความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์’ นี้เป็นปัญหาที่เราตอบ เพราะเหตุว่า..ปัญหาเหล่านั้น มีประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ ความระงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อมและนิพพาน เพราะเหตุนั้น เราจึงตอบปัญหาเหล่านั้น..” สองพระสูตรที่เกี่ยวกับท่านพระมาลุงกยบุตร ที่พระพุทธเจ้าเทศน์โปรดไว้ โดยจูฬมาลุงกยสูตร เป็นเรื่องที่ท่านมีความเห็นเกี่ยวกับปัญหา 10 ประการ ซึ่งเป็นทิฏฐิที่พระพุทธเจ้าไม่ตอบไม่พยากรณ์ เพราะไม่ได้จะทำให้พ้นจากความทุกข์ได้ ส่วนในมหามาลุงกยสูตร เกี่ยวกับเครื่องร้อยรัดหรือสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 อย่างที่เป็นเครื่องยึดจิตของเราให้ติดอยู่ในภพ ฟังแล้วจะพอเข้าใจได้ถึงสังโยชน์ เหตุเกิดให้เกิดสังโยชน์ การที่จะละสังโยชน์และข้อปฏิบัติที่จะให้ถึงการละสังโยชน์นั้นได้
- 4 คลังพระสูตรในเอพิโสดนี้ นำเสนอเรื่องราวของท่านพระราหุลในสองวาระที่พระพุทธเจ้าได้สอนท่านพระราหุล ในวัยที่ท่านเริ่มเป็นวัยรุ่นแล้ว แต่ยังเป็นสามเณรในมหาราหุโลวาทสูตร ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ให้พิจารณาธาตุทั้ง 5 ธาตุ 4 ดินน้ำไฟลม ว่าควรเห็นอย่างไร การเจริญพรหมวิหาร 4 และการเจริญอานาปานสติภาวนา ส่วนจูฬราหุโลวาทสูตรนั้น เป็นวาระที่พระราหุลมีอินทรีย์แก่กล้าแล้ว หลังจากบวชเป็นภิกษุ แต่ยังไม่ครบพรรษา จึงได้สอนถึงเรื่องความเป็นอนัตตา การเห็นตามความเป็นจริงในขันธ์ทั้ง 5 ในอายตนะทั้ง 6 และผัสสะต่าง ๆ ซึ่งในที่สุดท่านพระราหุลได้บรรลุเป็นพระอรหันต์หลังจากนั้นไม่นาน อุปมาที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องธาตุทั้ง 4 นี้ มีเรื่องประกอบที่ท่านพระสารีบุตรสอนเกี่ยวกับเรื่องอานาปานสติด้วย นอกจากนี้ในวันนี้ยังนำเสนอเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาทอีกสองสามเรื่องมาประกอบในฟังกันด้วย
- 4 คลังพระสูตรเอพิโสดนี้นำเสนอมหาโคสิงคสาลวันสูตรที่พระเถระที่มีความสามารถไล่มาตั้งแต่พระสารีบุตร พระมหาโมคัลลานะ พระมหากัสสปะ จนถึงพระอานนท์ ได้ไปอยู่ที่ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นคืนที่มีราตรีแจ่มกระจ่าง ดอกสาละบานสะพรั่ง บรรยากาศมีความรื่นรมย์ พระเถระหลายรูปจึงพูดคุยกันว่าควรอยู่ด้วยวิหารธรรมอย่างไร แล้วนำเรื่องราวไปเล่าให้พระพุทธเจ้าฟัง ส่วนจูฬโคสิงคสาลสูตร เป็นเรื่องที่ป่าโคสิงคสาลวันเหมือนกัน แต่ในอีกวาระหนึ่งมีพระอนุรุทธ พระนันทิยะ และพระกิมิละ อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขมีความสามัคคี เพราะมีเมตตาให้กันทั้งต่อหน้าและลับหลัง ทั้งทางกายวาจาและใจ พยายามเก็บจิตของตนเอง แล้วทำตามวาระจิตของผู้อื่น “..พร้อมเพรียงกัน ชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน ยังเป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยสายตาแห่งคนที่รักใคร่กันเป็นอยู่..” “..เหล่าสาวกที่อาศัยในพื้นที่ใด ๆ แล้วปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ พื้นที่นั้นสถานที่นั้นก็เป็นรมณียสถานขึ้นมาได้..”
- 4 คลังพระสูตรกกจูปทสูตร อุปมาด้วยเลื่อย เป็นพระสูตรที่ปรารภพระโมลิยผัคคุนะที่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายเกินเวลา ครั้นถูกภิกษุบางรูปติเตียน ท่านได้แสดงความขัดเคือง พระผู้มีพระภาคจึงทรงเรียกมาตักเตือน และให้โอวาทว่า "จิตของเราจักไม่แปรผัน เราจักไม่เปล่งวาจาชั่วหยาบ และจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์อยู่อย่างผู้มีเมตตาจิตไม่มีโทสะ เราจักแผ่เมตตาจิตไปให้บุคคลนั้นอยู่ และเราจักแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์..เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนไปยังสัตว์โลกทุกหมู่เหล่าอันเป็นอารมณ์ของเมตตาจิตนั้นอยู่" แม้ผู้อื่นจะพูดอย่างไรก็ตาม ทรงให้อุบายระงับความโกรธ คือ หนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ว่างเหมือนอากาศ เย็นเหมือนแม่น้ำ อ่อนโยนเหมือนกระสอบหนังแมว และอดกลั้นแม้อวัยวะจะถูกเลื่อย ส่วนวัมมิกสูตร ว่าด้วยปริศนาจอมปลวกนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ปัญหา 15 ข้อของพระกุมารกัสสปะ
- 4 คลังพระสูตรสัลเลขสูตร ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส กล่าวถึงอุปกิเลสอยู่หลายนัย โดยนำมาจากวัตถูปมสูตร ว่าด้วยอุปมาด้วยผ้า ที่เปรียบกับการนำผ้าที่สกปรก มาซักล้างให้สะอาดได้ เปรียบเหมือนการทำความสะอาดจิตของเรา ที่นัยแห่งจิตน้อมไปทางไหน จิตของเราจะน้อมไปทางนั้น ทางไม่ดีมีตรงไหน จะหลีกเลี่ยงจากความไม่ดีจากความชั่วได้ มีช่องทางหลีกเลี่ยงได้อยู่ มีความชั่วทางไหน ทางที่จะนำไปสู่ความดี เป็นกุศลธรรม ให้ถึงความดับเย็น ให้ถึงความเจริญมีอยู่ทางหนึ่งเสมอ ทางนี้คือทางที่ประกอบด้วยองค์อันประเสริฐ 8 อย่างนั่นเอง ทั้ง 2 พระสูตร มีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกัน ในส่วนที่เป็นอกุศลธรรม ที่แยกแยะแจกแจงไว้ ตามนัยของการขูดเกลาบ้างตามนัยของการทำความสะอาดบ้าง เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ซึ่งเมื่อเห็นตัวอย่างของการทำไม่ดี สิ่งนั้นสามารถนำมาพิจารณาใคร่ครวญโยนิโส จะทำความดีให้เกิดขึ้นได้
- 4 คลังพระสูตรในอานังคณสูตร ยกอุปมาอุปไมยเปรียบเทียบภาชนะสำริด ที่ใส่ซากศพกับกิเลสในใจที่เป็นดั่งเนิน ที่เมื่อยังมีในบุคคลผู้ใดแล้ว ก็จะทำให้การปฏิบัติไม่งอกงาม ส่วนในอังเขยยสูตร กล่าวถึงผลอานิสงส์ 17 อย่าง ที่จะเกิดขึ้นเมื่อเรารักษาการหลีกเร้น ศีล สมาธิ และปัญญา "บรรดาบุคคล ๔ ประเภทนั้น บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินและรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เราไม่มีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ พึงหวังข้อนี้ได้ คือเขาจักไม่มนสิการสุภนิมิต เพราะไม่มนสิการสุภนิมิตนั้น ราคะจักไม่ครอบงำจิต เขาจักเป็นผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน มีจิตไม่เศร้าหมองตายไป เปรียบเหมือนภาชนะสำริดที่เขานำมาจากร้านตลาด หรือจากตระกูลช่างทองเป็นของบริสุทธิ์ผ่องใส เจ้าของใช้สอยและขัดสีภาชนะสำริดนั้น ทั้งไม่เก็บมันไว้ในที่ที่มีฝุ่นละอองฉะนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ต่อมา ภาชนะสำริดนั้นพึงเป็นของบริสุทธิ์ผ่องใสยิ่งนัก”
- ในตอนนี้จะได้ฟัง "ปฏิจจสมุปบาท" ธรรมที่อาศัยกันและกันแล้วจึงเกิดขึ้น ธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสว่ามิใช่ของง่าย มีรายละเอียดที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง เราจะเห็นความเกี่ยวเนื่องกันของสิ่งต่าง ๆ ทั้งสายเกิดและสายดับ อิทัปปัจจยตา การอุปมาอุปไมย ทำไมอริยสัจ 4 คือ ปฏิจจสมุปบาท ตลอดจนความแตกต่างของปุถุชนกับอริยสาวก "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อะไรเล่า ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท! ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย. เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ; เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป; เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ; เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ; เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา; เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา; เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน; เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ; เพราะมีภพ[...]
- 4 คลังพระสูตร“ปัญญาต้องมีศีลช่วยชำระให้บริสุทธิ์ ศีลก็ต้องมีปัญญาช่วยชำระให้บริสุทธิ์ ปัญญาย่อมมีในที่ที่มีศีล ศีลย่อมมีในที่ที่มีปัญญา ปัญญาย่อมมีแก่ผู้มีศีล ศีลย่อมมีแก่ผู้มีปัญญา นักปราชญ์ยกย่องศีลและปัญญาว่า เป็นสิ่งล้ำเลิศในโลก” โสณทัณฑสูตร ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโสณทัณฑะที่ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้พูดคุยถึงคุณสมบัติของพราหมณ์ที่เชื่อกันว่ามี 5 ประการ แต่เมื่อตัดคุณสมบัติบางอย่างออกไปก็ยังพอจะเรียกว่าพราหมณ์ได้ แต่คุณสมบัติสองประการที่มิอาจตัดได้นั่นคือ ศีลและปัญญา เพราะสองสิ่งนี้ช่วยชำระกันและกัน ต่อมาพระพุทธเจ้าได้ขยายความถึงคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นพราหมณ์ในธรรมวินัยนี้ คือ การที่ได้มาซึ่งศีล สมาธิและปัญญา ตามลำดับ พราหมณ์ผู้ยิ่งใหญ่ยอมรับ และได้เข้าถึงความเป็นอุบาสก
- 4 คลังพระสูตร"ภิกษุทั้งหลาย หมู่ชนย่อมรู้จักเธอทั้งหลายว่า ‘สมณะ สมณะ’ ก็เธอทั้งหลายเมื่อเขาถามว่า ‘ท่านทั้งหลายเป็นอะไร’ ก็ปฏิญญาว่า ‘เราทั้งหลายเป็นสมณะ’ เมื่อเธอทั้งหลายนั้นผู้มีชื่ออย่างนี้ มีปฏิญญาอย่างนี้ ก็ควรสำเหนียกว่า ‘เราทั้งหลายจะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่สมควรแก่สมณะ เมื่อเราทั้งหลายปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ชื่อและปฏิญญานี้ของเราทั้งหลายก็จักเป็นความจริงแท้…’" มาในสองพระสูตร จูฬอัสสปุรสูตรเป็นการเปรียบการบวชว่าเป็นดั่งดาบสองคม ปฏิบัติตนอย่างไรให้เหมาะสมไม่ถูกมีดบาด พระสูตรนี้มีคำตอบ และในอานาปานสติสูตรอธิบายการเจริญสติในลมหายใจทั้ง 16 ขั้น ที่เมื่อทำแล้วจะก่อให้เกิดสติปัฏฐาน 4 และโพชฌงค์ 7 ก่อให้เกิดวิชชาและวิมุตในที่สุด
- 4 คลังพระสูตร"อัมพัฏฐะ ชนที่ยึดติดเพราะอ้างชาติ ยึดติดเพราะอ้างตระกูล ยึดติดเพราะอ้างความถือตัวหรือยึดติดอยู่กับอาวาหมงคลและวิวาหมงคล ชื่อว่ายัง อยู่ห่างไกลจากวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยม" ตอนที่ 2 ของอัมพัฏฐสูตร ในตอนนี้ได้ลงรายละเอียดการได้มาในขั้นสมาธิและปัญญา หรือการได้มาของวิชชาและจรณะ พร้อมทั้งทางแห่งความเสื่อมของวิชชาและจรณะ อย่างไรจึงจะสามารถนับตนเองได้ว่ามีวิชชาและจรณะ ตบท้ายด้วยการไปเฝ้าของโปกขรสาติพราหมณ์ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมมาตามลำดับจนถึงอริยสัจ 4 ทำให้พราหมณ์ถึงสรณะแสดงตนเป็นอุบาสก
- อัมพัฏฐสูตรตอนที่ 1 เมื่อโปกขสารติพราหมณ์ส่งอัมพัฏฐะไปพิสูจน์ลักษณะของพระพุทธเจ้า อัมพัฏฐะผู้ไม่มีความเคารพในพุทธองค์มีความหลงตัวยกเรื่องวรรณะเรื่องโครตว่าเหนือกว่า พระพุทธเจ้าทรงปราบด้วยการชี้ให้เห็นถึงที่มาของศากยโครตและหายนโคตรว่าใครเหนือกว่า อัมพัฏฐะยอมจำนนเพราะ ความกลัว และเพื่อให้อัมพัฏฐะคลายความถือดีที่ยังมีอยู่ จึงทรงตรัสถามเรื่องกษัตริย์และพราหมณ์ว่าใครสูงกว่ากัน สอนเรื่องความรู้ความประพฤติที่สำคัญกว่าชาติสกุล คือ การมีวิชชาและจรณะ การประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย ในตอนนี้จบลงที่จุลศีล และมัชฌิมศีล "กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่ชนผู้รังเกียจกันด้วยโคตร แต่ท่านผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและมนุษย์"
- 4 คลังพระสูตรมาในพระสูตรที่กล่าวเปรียบให้เห็นถึงความต่างของวรรณะและบุคคล ใน เวขณสสูตร เริ่มจากการที่ปริพาชกไม่สามารถแจกแจงความต่างของวรรณะได้ พระพุทธองค์จึงยกไล่มาตามลำดับ จนสุดท้ายเปรียบความสุขอันเป็นที่สุดของกาม นั่นคือการการหลุดพ้นจากอวิชชา ส่วนใน โฆฏมุขสูตร ท่านพระอุเทนะยกให้เห็นถึงความต่างของบุคคล 4 จำพวก และยังให้พราหมณ์ได้เห็นว่าการบวชอันชอบธรรมนั้นมีอยู่ เกิดศรัทธาที่หยั่งลงหมั่น "ดูกรพราหมณ์ บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือบริษัทพวกหนึ่ง ในโลกนี้ กำหนัดยินดีในแก้วมณีและกุณฑล ย่อมแสวงหาบุตรและภรรยา ทาสีและทาส นาและที่ดิน ทองและเงิน ส่วนบริษัทพวกหนึ่งในโลกนี้ ไม่กำหนัดยินดีในแก้วมณีและกุณฑล ละบุตรและภรรยา ทาสีและทาส นาและที่ดิน ทองและเงิน แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต"
- 4 คลังพระสูตร"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ที่ซึ่งมาร และบริวารของมารไปไม่ถึง เป็นอย่างไร?" มาใน 3 พระสูตรที่จะทำให้ทราบว่าสมาธินั้นสำคัญอย่างไร นิวาปสูตร อุปมาอุปไมยเปรียบด้วยเหยื่อล่อ เหยื่อในที่นี้ คือ กาม มารจะใช้กามมาเป็นเหยื่อเหมือนที่นายพรานวางกับดักกับกวางเนื้อทราย เราจะปลอดภัยในดินแดนที่มารไปไม่ถึง นั่นคือ สมาธิทั้ง 9 ระดับ เวนาคสูตร เป็นการยืนยันของพระพุทธเจ้าถึงการได้ความเป็นอยู่อันเป็นทิพย์ แม้จะฉันข้าวจากบิณฑบาตนั่งนอนบนกองฟางก็ตาม การหมั่นเจริญภาวนาในทุกระดับ คือ คำตอบ อุปักกิเลสสูตร การได้และการเสื่อมแห่งสมาธิพร้อมทั้งการแก้ไข
- 4 คลังพระสูตร"เดชอันใดถูกความเพียรย่ำยีแล้ว เกิดขึ้นด้วยความเพียรในเดชนั้น อาตมภาพไม่กล่าวว่าแตกต่างกัน คือวิมุตกับวิมุต" มาในสองพระสูตร พระสูตรแรกคือกรรณกัตถลสูตร ว่าด้วยการถามคำถาม 4 ข้อของพระเจ้าปเสนทิโกสลต่อพระพุทธเจ้า ที่น่าสนใจเป็นพิเศษ คือ การเท่ากันของวรรณะทั้ง 4 มีได้จริงเมื่อทำความเพียรจนถึงที่สุดของทุกข์ คือ วิมุตกับวิมุต ทรงอุปมาอุปไมยกับเปลวไฟจากไม้ที่ต่างชนิดกันแต่สีแสงของเปลวไฟไม่ต่างกัน ส่วนในปิยชาติกสูตร ทุกข์จะเกิดจากสิ่งอันเป็นที่รักได้อย่างไร พระพุทธเจ้ามีคำตอบให้ในพระสูตรนี้ "ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีของรักเป็นแดนเกิด"
- 4 คลังพระสูตรวันนี้มาในสองพระสูตรที่เกี่ยวกับการดลใจของมารให้มีทิฏฐิที่ไม่ถูกต้อง ในพระสูตรแรก พรหมนิมันตนิกสูตร เป็นพระสูตรเกี่ยวกับพกพรหมณ์ผู้มีทิฏฐิผิด คิดว่าภพที่ตัวเองอยู่นั้นเที่ยงแท้ หลงตนจนเกิดการท้าทายต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงให้เล่นซ่อนหา พรหมไม่สามารถหาพระพุทธเจ้าพบ แต่ก็ยังไม่ละทิฏฐิ โดยตลอดเหตุการณ์นั้นมีมารมาเป็นผู้ดลใจพรหมปาริสัชชะให้ทูลถามคำถามตลอดจนให้พระองค์เลิกสอนคำสอนนี้ ส่วนในมารตัชชนียสูตร เป็นเรื่องราวที่ท่านพระมหาโมคัลลานะถูกมารคุกคาม ท่านต้องการเตือนสติ จึงได้ยกตัวอย่างอดีตของท่านที่เคยเกิดเป็นทูสีมารแล้วไปดลใจผู้คนให้ด่าว่าและยกย่องพระพุทธเจ้ากกุสันธะและสาวก ผลแห่งการกระทำนั้นทำให้ไปเกิดในนรก "ก็คนพาลมาเข้ากองไฟที่กำลังลุกโชน ย่อมเดือดร้อนอยู่ว่า ไฟย่อมไม่คิดจะเผาเรา แต่เราย่อมเผาตนผู้เป็นคนพาลเอง ดูกรมาร ท่านเบียดเบียนพระตถาคตแล้วจักเผาตัวเอง ดังคนพาลที่ถูกไฟเผา ฉันนั้นเหมือนกัน "
- 4 คลังพระสูตร"เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่จะพึงละได้เพราะการเห็นมีอยู่ ที่จะพึงละได้เพราะการสังวรก็มี ที่จะพึงละได้เพราะเสพเฉพาะก็มี ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้นก็มี ที่จะพึงละได้เพราะเว้นรอบก็มี ที่จะพึงละได้เพราะบรรเทาก็มี ที่จะพึงละได้เพราะอบรมก็มี" สัพพาสวสังวรสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงต่อภิกษุถึงการสิ้นอาสวะโดยวิธีการทั้ง 7 คือ อาสวะที่พึงละได้ด้วยการเห็น, การสำรวมระวัง, การเสพเฉพาะ, การอดทน, การงดเว้น, การบรรเทา และการอบรม ธรรมทายาทสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้ ให้ภิกษุเป็นธรรมทายาทของพระองค์ อย่าได้เป็นอามิสทายาท จากนั้น พระสารีบุตรได้แสดงธรรมต่อถึงหนทางในการปฏิบัติธรรม เพื่อยังให้เกิดความสงัดขึ้นแก่ตน และอริยมรรคมีองค์ 8 อันเป็นหนทางแห่งการดับทุกข์
- 4 คลังพระสูตรพระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึกที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง แต่ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเพื่อประโยชน์ใด ธรรมนั้นย่อมดิ่งไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้ทำตาม
- “ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุปวารณาไว้ว่า ขอท่านจงว่ากล่าวข้าพเจ้า ๆ เป็นผู้ควรที่ท่านจะว่ากล่าวได้ แต่ภิกษุนั้นเป็นคนว่ายาก ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก เป็นผู้ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพื่อนพรหมจรรย์ต่างไม่สำคัญภิกษุนั้นว่า ควรว่ากล่าว ควรพร่ำสอน ทั้งไม่สำคัญว่า ควรถึงความไว้วางใจในบุคคลนั้นได้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายากเป็นไฉน?” ในตอนนี้เสนออนุมานสูตรที่ท่านพระมหาโมคัลลานะสอนภิกษุด้วยการปรารภเหตุของการเป็นผู้ว่ายากหรือผู้ว่าง่ายด้วยธรรมะ 16 ข้อ และจูฬตัณหาสังขยสูตรที่ท่านพระมหาโมคคัลลานะสนทนากับท้าวสักกะถึงธรรมที่ได้ฟังมาจากพระผู้มีพระภาคว่าด้วยข้อปฏิบัติที่ทำให้สิ้นตัณหา “ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวง ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความหน่าย พิจารณาเห็นความดับ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตัว และทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี”
- “เธออย่าพูดอย่างนั้น อานนท์ เธออย่าพูดอย่างนั้น อานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้ ลึกซึ้งสุดประมาณ และปรากฏเป็นของลึก ดูกรอานนท์ เพราะไม่รู้จริง เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมอันนี้ หมู่สัตว์นี้ จึงเกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจ ด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นผู้เกิดมาเหมือนหญ้ามุงกระต่าย และหญ้าปล้อง จึงไม่พ้นอุบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร” ว่าด้วยพระสูตรที่ว่าสิ่งที่เป็นต้นเหตุใหญ่ มหานิทานสูตร เป็นเรื่องราวที่พระพุทธเจ้าอธิบายกับท่านพระอานนท์ ปรารภธรรมะวนหมวดที่ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องราวที่ไล่เลียงมาในลักษณะที่น่าสนใจมาก ตั้งแต่เหตุของความทุกข์ จนไปถึงเรื่องของตัณหาและการแสวงหา เป็นการอธิบายในอีกรูปแบบหนึ่ง แล้วยังได้ตรัสถึงการบัญญัติว่าเป็นอัตตา, วิญญาณฐิติ 7, อายตนะ 2 และวิโมกข์ 8 ด้วย
- 4 คลังพระสูตร“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัย 4 อย่างนี้ เมื่อบุคคลกำลังลงน้ำ พึงหวังได้ ภัย 4 อย่างเป็นไฉน คือ ภัยเพราะคลื่น ภัย เพราะจระเข้ ภัยเพราะน้ำวน ภัยเพราะปลาร้าย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัย 4 อย่างนี้แล เมื่อบุคคล กำลังลงน้ำ พึงหวังได้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัย 4 อย่างนี้ก็ฉันนั้น เมื่อบุคคลบางคน ในโลกนี้ ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยนี้ พึงหวังได้ ภัย 4 อย่างเป็นไฉน คือ ภัยเพราะ คลื่น ภัยเพราะจระเข้ ภัยเพราะน้ำวน ภัยเพราะปลาร้าย” เป็นสองเรื่องราวที่มาในมัชฌนิกาย เรื่องแรก คือ จาตุมสูตร เป็นเรื่องราวที่อบรมพระภิกษุใหม่ที่ส่งเสียงอื้ออึง ทรงยกอุปมา 4 อย่างที่เป็นอันตรายต่อการประพฤติพรหมจรรย์ คือ ภัยจากคลื่นเป็นชื่อของความโกรธความคับแค้น ภัยจากจระเข้เป็นชื่อของความเป็นผู้เห็นแก่ปากท้อง ภัยจากน้ำวนเป็นชื่อแห่งกามคุณห้า ภัยจากปลาร้ายเป็นชื่อแห่งมาตุคาม ในเรื่องที่สองโคลิสสานิสูตร ว่าด้วยวัตรของผู้อยู่ป่า[...]
- 4 คลังพระสูตรมหาสาโรปมสูตร และจูฬสาโรปมสูตร เป็นอุปมาการประพฤติพรหมจรรย์กับแก่นไม้ ที่พระพุทธเจ้าได้อบรมภิกษุท้ั้งหลายว่าไม่ให้มีความดำริเต็มรอบ เพียงเพื่อการประพฤติปฏิบัติที่ได้ผลเล็ก ๆ น้อย ๆ เปรียบไว้เหมือนกับคนที่จะไปหาแก่นไม้ แต่ไปเจอใบ เจอต้น เจอสะเก็ดมัน ก็เอาแค่นั้นพอแล้ว มันมีที่ลึกซึ้งเข้าไปจนถึงแก่นอยู่
- 4 คลังพระสูตร"มหาทุกขักขันธสูตร" ปรารภเรื่องของเหล่าอัญญเดียรถีย์ที่ได้มากล่าวถึง อย่างไรจึงเป็นเรื่องของทุกข์ กาม และ รูป โดยพระพุทธเจ้าทรงตรัสจำแนกแจกแจงเกี่ยวกับเรื่องของความทุกข์ต่าง ๆ ไว้ถึง ทุกข์โทษของกามว่าเป็นอย่างไร ๆ ซึ่งได้เปรียบเทียบไว้กับ ลูกศร หัวฝี สุนัขแทะกระดูก ในเรื่องของรูป เกี่ยวกับเวทนา และในจูฬทุกขักขันธสูตร ตอนสุดท้ายของพระสูตรได้ยกถึงความสุขที่ยิ่งกว่าความสุข ที่ได้มาผ่านทางความสุขด้วย
- 4 คลังพระสูตร"สักกปัญหสูตร" ว่าด้วยปัญหาของท้าวสักกะ ปรารภท้าวสักกะจอมเทพได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยปัญจสิขคันธรรมพบุตรและเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์เพื่อฟังธรรมและทูลถามปัญหา ไล่เรียงมาโดยเริ่มจากเรื่องการจองเวรกัน ไปจนถึงความหลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา ดังนี้ เพราะมีอะไรเป็นเครื่องผูกมัดจึงยังคงมีเวร ถูกลงโทษ มีศัตรู ถูกเบียดเบียน ยังจองเวรกันอยู่ เมื่อมีอะไร อะไรจึงมี เมื่อไม่มีอะไร อะไรจึงไม่มี ในที่นี้ได้กล่าวถึง ความริษยาและความตระหนี่ อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก ฉันทะ และ วิตก ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติตามข้อปฏิบัติอันสมควรและดำเนินไปสู่ความดับแง่ต่างแห่งปปัญจสัญญา ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสำรวมในปาติโมกข์ ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์ สมณพราหมณ์ทั้งหมด มีวาทะ มีศีล มีฉันทะ มีอัชโฌสานะ (จุดหมาย) เป็นอย่างเดียวกันหรือไม่ สมณพราหมณ์ทั้งหมด มีความสำเร็จสูงสุด มีความเกษมจากโยคะสูงสุด มีการประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด (อริยมรรคมีองค์ 8) มีที่สุดอันสูงสุด (พระนิพพาน) หรือไม่ เพราะเหตุไร สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงไม่มีความสำเร็จสูงสุด ไม่มีความเกษมจากโยคะสูงสุด ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด ไม่มีที่สุดอันสูงสุด “จอมเทพ ภิกษุทั้งหลายผู้หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหาเท่านั้นจึงจะมีความสำเร็จสูงสุด มีความเกษมจากโยคะสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด” เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตอบปัญหา ถอนลูกศรคือความสงสัยออกจนหมดความแคลงใจแล้ว[...]
- 4 คลังพระสูตรโลหิจจสูตร ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโลหิจจะ ผู้ที่เกือบจะตกลงไปในหลุมลึก ซึ่งเป็นทางที่จะไปสู่นรก แต่ได้พระพุทธเจ้ามาช่วยฉุดขึ้นไว้เสียก่อน เพราะด้วยความเป็นผู้มีทิฏฐิผิดเพี้ยนไป พระพุทธองค์จึงทรงแก้ทิฏฐิความเห็นผิดนั้น โดยยกอุปมาอุปไมยกล่าวแสดงถึง ศาสดา 3 ประเภทที่สมควรถูกทักท้วงได้ และศาสดาที่สาวกได้บรรลุคุณวิเศษอันยอดเยี่ยม ไม่สมควรถูกทักท้วง เนื่องจากผลที่เกิดขึ้นจากการแสดงธรรมของศาสดานั้น ทำให้เกิดสิ่งที่เป็นสามัญผล ไล่เรียงไปตั้งแต่ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นเรื่องราวที่แสดงถึงการประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย โลหิจจพราหมณ์ เมื่อได้ฟังธรรมะและอุปมาอุปไมยต่าง ๆ จากพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ปรับทิฏฐิของตนให้มาอยู่ในสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นไปในทางเข้าสู่กระแสแห่งพระนิพพานได้
- 4 คลังพระสูตร"อลคัททูปมสูตร" อุปมาที่เปรียบด้วยกับงูพิษ ปรารภพระพุทธเจ้าได้ทรงติเตียนภิกษุอริฏฐะผู้เก้อยาก ที่มีความเห็นผิดในธรรมะของพระองค์ ทรงตรัสสอนไว้ถึง คนที่ต้องการจะไปจับงูพิษ ถ้าไม่เตรียมตัวให้ดี จับไม่ถูกวิธี อาจได้รับอันตรายถูกงูพิษนั้นกัดตายหรือปางตายได้ "..เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการงูพิษ เที่ยวเสาะแสวงหางูพิษ เขาพบงูพิษตัวใหญ่ จะพึงใช้ไม้ มีง่ามเหมือนขาแพะกดไว้แน่น ครั้นแล้วจึงจับที่คออย่างมั่นคง ถึงแม้งูพิษนั้นจะพึงรัดมือ แขน หรือที่อวัยวะน้อยใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่งของบุรุษนั้นด้วยขนดก็จริง ถึงอย่างนั้น เพราะการรัดนั้น เขาก็ไม่ตาย หรือได้รับทุกข์ปางตาย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาจับงูพิษไว้มั่นแล้ว แม้ฉันใด กุลบุตรบางพวกในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทานอิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ พวกเขาเหล่านั้นเล่าเรียนธรรมนั้นแล้วไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้นจึงประจักษ์ชัดแก่พวกเขา ผู้ไตร่ตรองเนื้อความด้วยปัญญา กุลบุตรเหล่านั้นเล่าเรียนธรรมมิใช่มุ่งจะข่มขู่ผู้อื่น และมิใช่มุ่งจะเปลื้องตนจากคำนินทาว่าร้าย ย่อมได้รับประโยชน์แห่งธรรมนั้น เหมือนที่เหล่ากุลบุตรเล่าเรียนธรรมได้รับ ธรรมเหล่านั้นที่พวกเขาเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวกเขาเรียนธรรมทั้งหลายมาดีแล้ว"
- 4 คลังพระสูตรในเอพิโสดนี้ ได้ยก 2 พระสูตร ขึ้นมา และทั้งสองเรื่องนี้ได้ปรารภเรื่องราวของพระเจ้าปเสนทิโกศล "ธรรมเจติยสูตร" พระสูตรว่าด้วยธรรมเจดีย์ เป็นเรื่องราวของพระเจ้าปเสนทิโกศลที่ได้กล่าวสรรเสริญพระธรรมวินัยนี้ เพราะทรงเห็นอำนาจประโยชน์ที่ประกอบขึ้นเพื่อเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ จึงได้กระทำการเคารพนอบน้อมเป็นอย่างยิ่งต่อสรีระของพระพุทธเจ้า และแสดงอาการฉันทมิตร "ฐานสูตร" ว่าด้วยฐานะ 5 ประการ ที่ควรพิจารณาเนือง ๆ เป็นเรื่องราวของพระเจ้าปเสนทิโกสลที่ได้สูญเสียพระนางมัลลิกา ผู้เป็นที่รักยิ่งไป อันเป็นเหตุให้นำมาซึ่งความเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างมาก พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนสติและสอนวิธีในการวางจิตใจเมื่อต้องสูญเสียสิ่งที่เป็นที่รักไป ทั้งนี้ ได้เพิ่มเติมในเรื่องของ ปฏิจจสมุปบาทที่มี 24 อาการ คือ ธรรมะอันมีที่เข้าไปตั้งอาศัย ยกขึ้นมาประกอบด้วย
- 4 คลังพระสูตร"มูลปริยายสูตร" ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง พระพุทธเจ้าทรงแสดงปริยายอันเป็นมูลของธรรมทั้งปวงแก่เหล่าภิกษุทั้งหลาย ณ โคนไม้พญารัง ในสุภควัน เมืองอุกกัฏฐา ซึ่งมีใจความสำคัญแบ่งออกเป็น 8 ส่วน กำหนดตามภูมิเนื่องด้วย ปุถุชน เสขบุคคล พระอรหันต์ 4 จำพวก ความเข้าใจในมูลเหตุของปริยายธรรมะต่าง ๆ ของพระตถาคต โดย 2 นัย ทั้งนี้ได้ยกเรื่องตาบอดคลำช้าง อาหารของอวิชชา อาหารของวิชชาและวิมุตติ ขึ้นมาประกอบเพิ่มเติม "ปุถุชน" ย่อมสำคัญพระนิพพานว่า เป็นของเรา…เพราะไม่ได้กำหนดรู้. "เสขบุคคล" ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน แต่อย่าสำคัญพระนิพพานว่า เป็นของเรา อย่ายินดีพระนิพพาน…เพราะควรกำหนดรู้. "พระอรหันต์" ย่อมไม่สำคัญพระนิพพานว่า เป็นของเรา…เพราะได้กำหนดรู้แล้ว และปราศจากซึ่งราคะ โทสะ โมหะ "พระตถาคต" ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพานว่า เป็นของเรา…เพราะทรงกำหนดรู้แล้ว และทรงทราบว่า ความเพลิดเพลินเป็นมูลแห่งทุกข์เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ต้องแก่ ต้องตาย เพราะเหตุนั้นแล…พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สำรอกตัณหา ดับตัณหา สละตัณหา สละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง.
- "สติปัฏฐานสูตร" พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้แก่ภิกษุทั้งหลาย ณ นิคมของชาวกุรุ ชื่อกัมมาสธัมมะ ถึงเรื่อง หนทางเครื่องไปอันเอกทางเดียวเพื่อความบริสุทธิ์หมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงเสียซึ่งโสกะและปริเทวะเพื่อความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อถึงทับซึ่งญายธรรม เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง หนทางนี้คือ "สติปัฏฐานสี่" จิตที่ประกอบไปด้วยความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ก็ให้น้อมไปเพื่อกำหนดพิจารณาตามฐานที่ตั้งแห่งสติ 4 อย่างนี้ ได้แก่ การพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย เห็นจิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม ซึ่งผลแห่งการเจริญสติปัฏฐานนี้ มีความเป็นพระอรหันต์ในปัจจุบัน หรือ พระอนาคามี เป็นสิ่งที่หวังได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S08E08 , S07E64 , S07E49 , ใต้ร่มโพธิบท S08E31 , คลังพระสูตร S09E07 , S08E46 , #สติ เล็กน้อยที่ให้ผลไม่น้อย
- 4 คลังพระสูตรในเอพิโสดนี้ เป็นตอนจบของมหาปรินิพพานสูตร หลังจากที่เหตุการณ์ดำเนินมาถึงสุภัททปริพาชกได้มาอ้อนวอนพระอานนท์ ขอเข้าเฝ้าฯ พระพุทธเจ้า จนสุดท้ายพระพุทธองค์ได้ทรงให้พระอานนท์อุปสมบทให้แก่ท่านสุภัททะ ภิกษุนี้ทำความเพียรไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตตผล และได้เป็น "ปัจฉิมสักขิสาวก" (สาวกองค์สุดท้ายผู้เป็นพยานการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า) จากนั้นได้ตรัสสั่งเสียแก่พระอานนท์ ได้ตรัสถามข้อสงสัยจากภิกษุทั้งหลาย และกล่าวปัจฉิมวาจา ดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงทำหน้าที่ให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาทเถิด นี้เป็นพระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต” แล้วเสด็จเข้าอนุปุพพวิหารสมาบัติทั้ง 9 โดยอนุโลมและปฏิโลม และจึงเสด็จดับขันธปรินิพพานเมื่อออกจากจตุตถฌาน ณ ที่นั้น ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวคาถาขึ้นพร้อมกับการเสด็จดับขันธปรินิพพาน ต่อจากนั้น จึงเป็นเรื่องราวของการบูชาพระพุทธสรีระ การถวายพระเพลิง และการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้แก่เหล่ากษัตริย์ทั้งหลาย เพื่อทำการสักการะบูชา การระลึกถึงคุณอันยิ่งใหญ่อันหาประมาณมิได้ต่อสรรพสัตว์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระพุทธเจ้า ผู้ทรงประกอบด้วยพระปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ ได้ทรงบำเพ็ญเพียรสั่งสมบารมีมาเพื่อการตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า ได้ประกาศพระสัจธรรมที่ทรงตรัสรู้นั้นไว้อย่างดีแล้ว ได้ประทานพุทธโอวาทแก่พุทธบริษัทไว้ตลอด 45 พรรษา ได้ทรงตรัสไว้ว่า “ธรรมและวินัยที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น จะเป็นศาสดาของท่านทั้งหลายเมื่อเราล่วงลับไป” นี้เป็น “พุทธธานุสสติ” ระลึกถึงเรื่องราวตรงนี้ ตั้งขึ้นไว้ในใจ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร S09E31
- ในเอพิโสดนี้ เหตุการณ์ได้ดำเนินมาถึงขณะที่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ที่สวนมะม่วงของนายจุนทกัมมารบุตร และได้เสวยภัตตาหารมื้อสุดท้ายที่บุตรนายช่างทองนี้นำมาถวาย หลังจากที่ได้ฉันสูกรมัททวะนั้นแล้ว ทรงเกิดอาพาธอย่างแรงกล้าประชวรลงพระโลหิต แต่ก็ยังเดินทางต่อเพื่อไปยังเมืองกุสินารา ระหว่างทางทรงกระหายน้ำ ได้ขอให้พระอานนท์ไปตักมาถวาย แต่เพราะกรรมเก่า จึงทำให้ไม่สามารถนำน้ำมาถวายได้ในครั้งแรก ในระหว่างประทับพัก ปุกกุสะมัลลบุตรได้เข้ามาถวายผ้าเนื้อละเอียดสีทอง และก่อนเสด็จข้ามแม่น้ำกกุธา ผิวกายของพระพุทธองค์ผ่องใสยิ่งนัก ซึ่งจะเกิดขึ้นใน 2 คราว คือในคืนที่จะตรัสรู้ และในคืนที่จะปรินิพพาน “…ฉะนั้น อานนท์ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจะเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมอยู่’ อานนท์ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล” เมื่อเสด็จมาถึงบริเวณควงไม้สาละคู่ ณ สวนป่าสาละ ทรงประทับสำเร็จสีหไสยาเป็นครั้งสุดท้าย ได้ตรัสถึงสังเวชนียสถาน 4 แห่ง ได้ตรัสตอบพระอานนท์ถึง วิธีปฏิบัติต่อสตรี ปฏิบัติต่อพระพุทธสรีระ และเหตุที่สร้างสถูปและเจดีย์ ได้ทรงประกาศความเป็นอัจฉริยะของพระอานนท์ เมื่อพระอานนท์ขอว่าอย่าได้ปรินิพพานในเมืองเล็ก ๆ เช่นนี้ จึงได้ทรงแสดงมหาสุทัสสนสูตร และให้พระอานนท์แจ้งข่าวการปรินิพพานแก่เหล่ามัลลกษัตริย์ และมหาปรินิพพานสูตร ตอนที่ 4 นี้ ก็จบลงตรงที่สุภัททปริพาชกได้มาอ้อนวอนพระอานนท์ ขอเข้าเฝ้าฯ พระพุทธเจ้า เพื่อทูลถามข้อสงสัย แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร[...]
- 4 คลังพระสูตร"มหาปรินิพพานสูตร" ในเอพิโสดนี้ เป็นเหตุการณ์ต่อมาหลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขารแล้ว ได้ตรัสแก่พระอานนท์ถึงเรื่องของบริษัท 8 อภิภายตนะ 8 วิโมกข์ 8 และได้ตรัสเล่าเรื่องของมาร ที่มาทูลให้ปรินิพพาน ซึ่งพระองค์ก็ได้ตรัสตอบแก่มารไปว่า "จงอย่ากังวล อีกไม่นานการปรินิพพานของตถาคตจะมี จากนี้ไปอีก 3 เดือน" พระอานนท์ได้มาทูลอ้อนวอนขอให้ทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ต่อไปถึง 3 ครั้ง แต่พระองค์ทรงปฏิเสธ เพราะการที่ตถาคตจะกลับคืนคำเพียงเพราะเหตุต้องการมีอายุอยู่ต่อไปนั้น ไม่เป็นสิ่งที่จะเป็นไปได้เลย และได้ทรงแสดงอานุภาพของอิทธิบาท 4 ประการอีกครั้ง เพื่อให้ทราบว่าเรื่องนี้เป็นความบกพร่องของพระอานนท์เองที่ไม่ได้อาราธนาให้พระองค์ทรงดำรงพระชนม์อยู่ต่อ แม้ทรงทำนิมิตที่ชัดแจ้งไว้ในหลายวาระ จากนั้นได้เสด็จไป ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวันทรงแสดง อภิญญาเทสิตธรรม หรือที่เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ (สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และอริยมรรคมีองค์ 8 ) และ สังเวชนียธรรม (ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช) แล้วทรงเตือนภิกษุทั้งหลายให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท หลังจากนั้นได้เสด็จออกจากกรุงเวสาลีไปยังภัณฑุคาม ทรงตรัสสอนถึงการไม่รู้แจ้งแทงตลอดธรรม[...]
- 4 คลังพระสูตร"มหาปรินิพพานสูตร" ในเอพิโสดนี้ เป็นเรื่องราวต่อ ในช่วงที่พระพุทธเจ้าได้กล่าวถึงการสร้างเมืองปาฏลีบุตร ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีเหล่าเทวดาสถิตย์อยู่มากควรแก่การบูชา เพื่อให้เทวดาเหล่านั้นได้อนุเคราะห์ตอบ และที่เมืองปาฏลีบุตรนี้ ผู้สร้างเมืองได้สร้างท่าน้ำและประตูในทิศที่พระพุทธเจ้าเสด็จออกจากเมือง โดยตั้งชื่อว่าพระโคดม จากนั้นได้เสด็จไปสู่เมืองโกฏิคาม ได้ทรงแสดงธรรมในเรื่องอริยสัจ 4 รวมถึงเรื่องของ ศีล สมาธิ ปัญญา แก่ชนทั้งหลาย และเมื่อต่อเสด็จถึงเมืองนาทิกคาม ที่นี่เอง พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงหลักธรรมชื่อว่า "แว่นธรรม" ซึ่งเป็นเครื่องมือให้อริยสาวกมีไว้เพื่อการพยากรณ์ตนด้วยตนได้ว่าเป็นผู้ที่ไปตามกระแสแล้ว จะไม่หวนกลับมาและจะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า จากนั้นเสด็จไปพัก ณ ป่ามะม่วงของนางอัมพปาลี ได้แสดงธรรมเรื่องสติสัมปชัญญะ ต่อจากนั้นได้เสด็จไปจำพรรษาสุดท้าย ณ เวฬุวคาม ทรงใช้ความเพียรเพื่อขับไล่อาการป่วย จนเสด็จมาถึงที่ปาวาลเจดีย์ในเวลากลางวัน ได้ทรงแสดงนิมิตโอภาส ตรัสบอกใบ้แก่พระอานนท์ว่าผู้ใดเจริญอิทธิบาท 4 ดีแล้ว ถ้าปรารถนามีอายุยืนก็จะอยู่ได้ แต่เพราะพระอานนท์ถูกมารดลใจ จึงมิได้อาราธนากราบทูลขอพระพุทธองค์ให้เจริญพระชนม์อยู่ต่อไปนานๆ หากแต่มารได้ช่องนี้จึงมาอาราธนาให้ปรินิพพาน จบมหาปรินิพพานสูตร ตอนที่ 2 ตรงเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าได้ปลงพระชนมายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ เมืองเวสาลี แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร S09E28 , #แว่นส่องธรรมกับบุพนิมิตแห่งมรรค
- 4 คลังพระสูตรใกล้ถึงวันวิสาขบูชา ในเอพิโสดนี้จึงนำเรื่องราวระหว่าง 18 เดือนก่อนการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งลำดับเหตุการณ์ช่วงแรกนี้ ขณะประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์ ได้กล่าวถึงเรื่องของ "อปริหานิยธรรม" (ธรรมที่มีแล้วประกอบแล้วจะมีแต่ความเจริญ ไม่มีความเสื่อมเลย) โดยนัยของการปกครองของพวกเจ้าแคว้นวัชชี และการอยู่ร่วมกันของหมู่ภิกษุ จากนั้นได้เสด็จไปปถึงเมืองนาลันทา ประทับอยู่ที่ปาวาริกัมพวัน ปรารภพระสารีบุตรบันลือสีหนาทในความหมายที่ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใส พระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ไม่เคยมี จักไม่มี และย่อมไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่น ซึ่งจะมีปัญญาในทางพระสัมโพธิญาณยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาค" และเสด็จต่อไปยังปาฏลิคาม ได้ตรัสสอนแก่ชาวเมืองในเรื่องของ ศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล มีโทษ 5 ประการ และศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล มีอานิสงส์ 5 ประการ ซึ่งลำดับเหตุการณ์ยังมีต่อในเอพิโสดหน้า
- 4 คลังพระสูตรสังขารูปปัตติสูตร ณ พระเชตวัน พระพุทธเจ้าตรัสแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงความเกิดขึ้นแห่งสังขารและการที่ผู้ประกอบด้วยความสมบูรณ์ของ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ที่เมื่อตั้งจิตอธิษฐานทำเหตุเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ทำให้มากเจริญให้มากแล้ว หากปรารถนาจะเกิดเป็นพระราชา มหาเศรษฐี เทวดา พรหม หรือแม้แต่การทำอาสวะให้สิ้นไป ก็สามารถทำตามความปรารถนานั้นให้สำเร็จได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlist : สมการชีวิต S01E01 , เข้าใจทำ (ธรรม) S08E13
- 4 คลังพระสูตรเราเที่ยวหาหนทางต่าง ๆ เพื่อแสวงหาทางดับไม่เหลือแห่งทุกข์ บ้างก็อ้อมไปอ้อมมา ไม่ถึงที่หมายสักที สุดท้ายต้องกลับมาที่ตัวเราเอง กลับมาที่เรื่องในกายในใจของเรา เราต้องมีการพึ่งตนพึ่งธรรม พระพุทธเจ้าตรัสกับเกวัฏฏ์ คฤหบดีบุตรไว้ใน เกวัฏฏสูตร กล่าวถึงเรื่องปาฏิหาริย์ 3 อย่าง ที่พระองค์ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว และการที่ภิกษุแสวงหาความดับของมหาภูตรูปเปรียบเทียบกับนกตีรทัสสี ปรารภชาวประมงออกทะเล จะจับนกตีรทัสสี (นกดูฝั่ง) ลงเรือไปด้วย เมื่อเขาหลงทาง ไม่เห็นฝั่ง ก็จะปล่อยนกบินขึ้นฟ้าไปหาดูว่า ฝั่งอยู่ตรงไหน ชาวประมงก็จะแล่นเรือไปตามทิศที่นกนั้นบินไป แต่หากนกไม่เห็นฝั่ง มันก็จะบินกลับมาที่เรืออีกนั่นเอง
- 4 คลังพระสูตร“ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ” นี้เป็นบางส่วนจาก อานาปานสติสูตร ปรารภในคืนวันอุโบสถ ณ ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขามิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เมืองสาวัตถี ภิกษุทั้งหลายทั้งที่เป็นพระอรหันต์ พระอนาคามี พระสกิคาทามี พระโสดาบัน และภิกษุผู้ที่ประกอบความเพียรในการเจริญสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8 อันประเสริฐ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อสุภสัญญา อนิจจสัญญา[...]
- เตวิชชสูตร ว่าด้วยเรื่องไตรเพท ณ หมู่บ้านมนสากฏะ แคว้นโกศล ปรารภวาเสฏฐะและภารทวาชมาณพได้สนทนากันถึงเรื่อง ทางและไม่ใช่ทางที่จะไปสู่ความเป็นผู้สหายกับพรหมได้ โดยคำกล่าวอ้างที่แตกต่างกันระหว่างของ โปกขรสาติพราหมณ์ กับ ตารุกขพราหมณ์ จึงเกิดการถกเถียงกัน เป็นเหตุให้พากันไปเข้าเฝ้าทูลถามฯ พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้อย่างน่าสนใจมาก จนมานพทั้งสองแสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต โดยเนื้อหาในพระสูตรนี้ แบ่งออกเป็น 2 เรื่องใหญ่ ๆ คือ ความเป็นวาทะที่เลื่อนลอยของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพท และวิธีการที่จะไปอยู่กับพรหม เป็นเรื่องราวเริ่มตั้งแต่การประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย จนถึงการที่สามารถละนิวรณ์ได้ จิตเป็นสมาธิแล้ว และให้ตั้งอยู่ใน พรหมวิหาร 4 ซึ่งจะเป็นเครื่องที่ทำให้ไปอยู่กับพรหมได้ เตวิชชสูตร ทรงแสดงทางไปพรหมโลก [๕๕๔] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร คนที่เติบโตมาในหมู่บ้านมนสากฏะนี้ เมื่อถูกถามถึงทางไปหมู่บ้านมนสากฏะที่เขาเพิ่งจะออกมา มีหรือที่เขาจะชักช้าหรือรีรออยู่” เขาทูลตอบว่า “ไม่ชักช้าหรือรีรอเลย ท่านพระโคดม เพราะเขาเติบโตมาในหมู่บ้านมนสากฏะ จึงรู้หนทางในหมู่บ้านได้เป็นอย่างดี” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วาเสฏฐะ ผู้ที่เติบโตมาในหมู่บ้านมนสากฏะ ถูกถามถึงทางไปหมู่บ้านนั้นก็ยังอาจจะชักช้าหรือรีรออยู่บ้าง แต่ (เรา) ตถาคตถูกถามถึงพรหมโลกหรือข้อปฏิบัติที่พาไปพรหมโลก จะไม่ชักช้าหรือรีรอเลย เพราะเรารู้จักพรหมโลกและข้อปฏิบัติที่พาไปพรหมโลก อีกทั้งรู้ว่า พรหมปฏิบัติอย่างไรจึงได้เข้าถึงพรหมโลก” … [๕๕๖]พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วาเสฏฐะ ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็น[...]
- 4 คลังพระสูตรมารตัชชนียสูตร ว่าด้วยการคุกคามมาร ปรารภพระมหาโมคคัลลานะถูกมารเบียดเบียนด้วยการเข้ามาอยู่ในท้องของท่าน ท่านจึงได้สั่งสอนมารด้วยการยกเรื่องราวในอดีตของพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ที่ได้ให้เทคนิคในการที่จะเอาชนะทั้ง คำด่าว่า และ คำชม ซึ่งมีวิธีการที่ต่างกัน โดยการเอาชนะคำด่าว่านั้น ก็ด้วยการเจริญพรหมวิหาร 4 ส่วนการที่จะเอาชนะคำชมได้นั้น ก็ด้วยการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
- 4 คลังพระสูตรคนที่เขาเห็นสาระที่จะหลีกออกจากเรือน เห็นว่าเขาได้ถูกต้องความทุกข์แล้ว เห็นว่าเขาเป็นผู้มีความแก่ ความตาย ความเกิดครอบงำแล้ว และต้องการที่จะหลุดพ้นจากความทุกข์ จีงออกบวชนั้น ได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่ต้องการแก่นไม้ สาระในการออกบวช ได้แก่ การถึงพร้อมด้วยศีล การทำความก้าวหน้าในสมาธิให้เกิดขึ้น มีญาณทัสสนะ มีเจโตวิมุติอันไม่กลับกำเริบทำให้เกิดขึ้นได้ ให้เอาแก่นที่เป็นเจโตวิมุติ โดยการพิจารณาเห็นถึงความไม่เที่ยงของสิ่งต่าง ๆ เมื่อเราพิจารณาเห็นไปแบบนี้แล้ว ก็จะเป็นผู้ที่จะรักษาศาสนา รักษาคำสอน ที่มีแต่แก่นล้วน ๆ ของพระพุทธเจ้าให้คงอยู่ได้ "แก่นจะอยู่ได้ต้องมีใบ ต้องสนับสนุนกันไปตามลำดับ และต้องรู้ว่าอะไรเป็นใบ กาบ เปลือก กะพี้ หรืออะไรเป็นแก่น ให้เราก็เอาตรงแก่นนั้น" แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร S08E04 , S08E03 , #สะเก็ด เปลือก กระพี้ แก่น
- 4 คลังพระสูตร"มหาลิสูตร" ปรารภเจ้าลิจฉวีชื่อมหาลิ ได้มาเข้าเฝ้าฯ พระพุทธเจ้า พร้อมหมู่คณะ แล้วตรัสถามในเรื่องของการเห็นรูปทิพย์ และการฟังเสียงทิพย์ พระพุทธเจ้าจึงตรัสแสดงถึง การประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย อันเป็นหนทางเป็นปฏิปทาที่ให้เกิดผล 4 อย่าง ที่ยิ่งไปกว่า หูทิพย์ ตาทิพย์ นั่นก็คือ ศีล สมาธิ และ ปัญญา เมื่อมีปัญญาในส่วนที่เป็นญาณทัสนะเกิดขึ้นแล้ว ก็จะสามารถรู้ชัดเห็นชัดได้ว่า กายกับใจ มันเป็นอย่างเดียวกัน หรือ มันเป็นคนละอย่างกันนั้น ขึ้นอยู่เหตุปัจจัย ที่ถ้าเมื่อเราปฏิบัติตามศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว จะมีความเข้าใจในหลักเหตุผลในข้อนี้ได้ มหาลิสูตร ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ[...]
- 4 คลังพระสูตรในเอพิโสดนี้ เป็นเหตุการณ์หลังจากที่ท้าวสหัมบดีพรหมได้ทูลอาราธนาให้พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ตนแลแก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาแต่เล็กน้อย พระพุทธองค์จึงได้เเสด็จสู่เมื่องพาราณสีเพื่อมาโปรดปัญจวัคคีย์ ด้วยการแสดงปฐมเทศนา "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" ซึ่งเป็นการประกาศธรรมจักรอันเป็นการหมุนกงล้อแห่งธรรมะที่ไม่มีใครต้านทานได้ แล้วตามต่อด้วย "อนัตตลักขณสูตร" จิตของเหล่าพระปัญจวัคคีย์ ก็พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น และในเวลาต่อมาไม่นาน ทรงแสดงอนุปทาพิกถาโปรดกุลบุตรชื่อ ยสะ ได้ดวงตาเห็นธรรม และเหล่าเพื่อนสหาย ที่เมื่อได้ฟังธรรม มีจิตอ่อนเหมาะ น้อมไปเพื่อพิจารณาในอริยสัจ 4 แล้ว ทั้งหมดก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ ซึ่งขณะนั้นรวมมีพระอรหันต์เกิดขึ้นแล้ว 61 รูป ในโลก พระพุทธองค์จึงมีพุทธบัญชาให้เหล่าภิกษุทั้ง 60 รูปแรก จาริกออกไปประกาศพระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์สุข และเกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย โดยไม่ให้ไปทางเดียวกันถึง 2 รูป ทรงให้ภิกษุแสดงธรรมอันงดงามในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์ บริสุทธิ์ เพื่อให้บุคคลผู้มีกิเลสในดวงตาแต่น้อยได้รู้ถึงธรรม เรื่องพ้นจากบ่วง [๓๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราพ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ แม้พวกเธอก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ พวกเธอจงเที่ยวจาริก เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก[...]
- 4 คลังพระสูตรเอพิโสดนี้ กล่าวถึงพระสูตรว่าด้วยเหตุการณ์การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และสหัมบดีพรหมได้มาทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม ก็ด้วยเป็นธรรมะที่มีความงดงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด เป็นธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสดีแล้ว มีความลึกซึ้งกินใจ รัดกุมรอบคอบไม่หละหลวม เราจึงควรฟังด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ พิจารณาใคร่ครวญโยนิโสมนสิการทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ เพื่อตกผลึกความคิด สามารถพัฒนาออกมาเป็นสัมมาทิฏฐิได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S08E06 , ใต้ร่มโพธิบท S07E48, คลังพระสูตร S09E09 , S08E60 , #การมาของท้าวสหัมบดีพรหม , #“คาถา”เปลี่ยนแปลงโลก , #อธิบายพระสูตร - เรื่องของการตรัสรู้
- 4 คลังพระสูตรพระพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้ฉลาดในการตัดกระแสแห่งมาร เปรียบเหมือนนายโคบาลที่ฉลาด พาวัวทั้งฝูงที่มีทั้งฉลาด แข็งแรงมากแข็งแรงน้อย ข้ามแม่น้ำไปยังฝั่งโน้น นั่นคือนิพพาน โดยปลอดภัย ซึ่งแม้แต่โคตัวสุดท้ายที่ไม่เคยเห็นนายโคบาลก็ยังไปถึงความสวัสดี เพราะปฏิบัติตามโคที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ก็เช่นเดียวกัน เราในปัจจุบันแม้ไม่เห็นพระพุทธเจ้า แต่ถ้าปฏิบัติดีตามรุ่นพี่ ๆ ก็สามารถถึงฝั่งโดยปลอดภัยได้ จึงได้ยก "มหาโคปาลสูตร" เปรียบเทียบถึงคุณลักษณะของคนเลี้ยงโคกับภิกษุในธรรมวินัยนี้ ที่ไม่เป็นเหตุและเป็นเหตุให้ถึงความเจริญ, "จูฬโคปาลสูตร" ว่าด้วยโคบาลที่ฉลาดและไม่ฉลาด และ "อริยปัญญาขันธ์" ว่าด้วยการประมวลพรหมจรรย์ตลอดสายส่วนที่เป็นปัญญาขันธ์ (บางส่วนจาก ชาลิยสูตร และ สุภสูตร) ขึ้นมาประกอบกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาได้กว้างขวางเพิ่มขึ้น“…โลกนี้และโลกหน้าเราผู้รู้อยู่ ประกาศดีแล้ว เราเป็นผู้ตรัสรู้เอง ทราบชัดซึ่งสรรพโลก ทั้งที่เป็นโลกอันมารถึงได้ ทั้งที่เป็นโลกอันมารถึงไม่ได้ ด้วยความรู้ยิ่ง จึงได้เปิดอริยมรรค อันเป็นประตูแห่งอมตะ เพื่อให้ถึงนิพพาน อันเป็นแดนเกษม กระแสแห่งมารอันลามก เราตัดแล้ว กำจัดแล้ว ทำให้ปราศจากความฮึกเหิมขึ้นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้มากด้วยปราโมทย์ ปรารถนาถึงธรรมอันเป็นแดนเกษมเถิด” …จูฬโคปาลสูตร แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท S08E18 , คลังพระสูตร S09E06
- 4 คลังพระสูตรฉันโนวาทสูตร ปรารภท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะ ได้ให้โอวาทแก่พระฉันนะ ที่กำลังนอนเจ็บป่วยจนไม่สามารถอดทนต่อเวทนานั้นได้ เลยฆ่าตัวตาย ซึ่งท่านพระฉันนะก็ได้บรรลุพระอรหันต์ไม่ก่อนและหลังความตาย โดยท่านได้พิจารณาเห็นความดับไปในอายตนะทั้ง 6 เมื่อเห็นตามความเป็นจริงในความเป็นของไม่เที่ยงแล้ว ความกำหนัดจะคลายลงไป กายใจก็ไม่เร่าร้อนไปตามสิ่งนั้น ได้ยก สฬายตนวิภังคสูตร ว่าด้วยการแจกแจงอายตนะ 6 ขึ้นมาประกอบเพิ่มเติม เพื่อขยายความเข้าใจให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ฉันโนวาทสูตร [๗๕๑] เมื่อท่านพระฉันนะกล่าวแล้วอย่างนี้ ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าว กะท่านพระฉันนะดังนี้ว่า ดูกรท่านฉันนะ เพราะฉะนั้นแล ท่านควรใส่ใจคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคนั้นไว้ตลอดกาลเนืองนิตย์แม้ดังนี้ว่า "บุคคลผู้อันตัณหาและทิฐิ อาศัยอยู่แล้ว ย่อมมีความหวั่นไหว สำหรับผู้ไม่มีตัณหาและทิฐิอาศัย ย่อมไม่มี ความหวั่นไหว เมื่อไม่มีความหวั่นไหว ก็มีความสงบ เมื่อมีความสงบ ก็ไม่มี ตัณหาตัวน้อมไปสู่ภพ เมื่อไม่มีตัณหาตัวน้อมไปสู่ภพ ก็ไม่มีการมาเกิด ไปเกิด เมื่อไม่มีการมาเกิดไปเกิด ก็ไม่มีจุติและอุปบัติ เมื่อไม่มีจุติและอุปบัติ ก็ไม่มี โลกนี้ ไม่มีโลกหน้า ไม่มีระหว่างกลางทั้งสองโลก นี่แหละที่สุดแห่งทุกข์" ครั้น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะ กล่าวสอนท่านพระฉันนะด้วยโอวาท นี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะ หลีกไป ฯ ความเจ็บป่วยเป็นเทวทูต[...]
- 4 คลังพระสูตรจากทั้ง 2 พระสูตรนี้ สามารถใช้อ้างอิงเป็นกรณีศึกษาได้ โดยกล่าวถึงว่า หากเรามีความรู้ ความเข้าใจในคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ไม่แจ่มแจ้งหรือไม่ตรงกัน ซึ่งอาจจะเกิดจากความคลาดเคลื่อนในอรรถะหรือบทพยัญชนะก็ตาม จึงจำเป็นต้องกลับมาที่ตัวแม่บทก่อน โดยมี พุทโธ ธัมโม สังโฆ เป็นที่ตั้ง มีความเคารพยำเกรง เห็นพ้องลงร่วมกันในธรรมะของพระพุทธเจ้าที่กล่าวไว้ดีแล้ว ค่อยทำการวิเคราะห์ไปตามบทพยัญชนะ พิจารณาตามเหตุตามปัจจัย จะทำให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีกันในหมู่คณะได้ พหุเวทนิยสูตร ณ พระเชตวัน ปรารภเหตุช่างไม้ชื่อ ปัญจังคะ กับ พระอุทายี กล่าวไม่ตรงกันในข้อว่า พระพุทธองค์ตรัสในเรื่องของเวทนาไว้กี่อย่าง โดยพระอุทายีกล่าวว่ามี 3 อย่าง คือ สุข ทุกข์ ไม่ทุกข์ไม่สุข.แต่ช่างไม้ฯ กล่าวว่ามี 2 อย่าง คือ สุข กับ ทุกข์ ส่วนไม่ทุกข์ไม่สุขนั้น พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ในสุขอันประณีต ทั้งสองฝ่ายจึงไม่สามารถจะตกลงกันได้ เมื่อพระอานนท์ได้ฟังข้อสนทนาของทั้งสองฝ่าย จึงนำความไปกราบทูลฯ พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์ได้ทรงแสดงในเรื่องของเวทนาไว้โดยปริยายหลายแง่หลายอย่าง มีอยู่ ผู้ที่ไม่ยินยอมรับรองคำที่กล่าวดี พูดดี ของกันและกันในธรรมะที่ทรงแสดงแล้วโดยปริยาย ก็หวังได้ว่าจะบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกัน[...]
- 4 คลังพระสูตรความต่างกันของเจโตวิมุติ มาใน อนุรุทธสูตร (๑๒๗) ปรารภช่างไม้ชื่อ ปัญจกังคะได้อาราธนาให้ท่านไปฉันที่บ้านของตนแล้วถามปัญหาในเรื่อง เจโตวิมุติที่หาประมาณมิได้ และ เจโตวิมุติที่เป็นมหัคคตะ ซึ่งพระอนุรุทธะได้ย้อนถามช่างไม้ว่า เข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร ช่างไม้ตอบว่าเขาเข้าใจว่าธรรมะ 2 ประการนี้มีความหมายเป็นอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น พระอนุรุทธะจึงได้อธิบายให้เขาเข้าใจโดยถูกต้องว่า ความจริงธรรมะ 2 ประการนี้ ต่างกันทั้งความหมายและพยัญชนะ และในการสนทนาธรรมครั้งนี้ ท่านยังกล่าวถึงเหตุ 4 อย่าง ที่ทำให้เมื่อตายแล้วไปเกิดในหมู่เทวดาเพิ่มเติมให้ด้วย พระอภิยะ กัจจานะ ซึ่งรับนิมนต์ไปฉันด้วยกัน ก็ได้ซักถามต่อไปให้ลึกซึ้งขึ้นในเรื่อง คุณธรรมที่เป็นเหตุให้เทวดามีรัศมีต่างกัน พระอนุรุทธะได้ยืนยันว่าที่ท่านทราบโดยละเอียดอย่างนี้ ๆ เพราะท่านเคยอยู่ร่วม เคยเจรจาร่วม เคยสนทนาร่วมกับเทวดาเหล่านั้นมาแล้ว อนุรุทธสูตร (๑๒๗) [๔๒๒] อ. ดูกรคฤหบดี ธรรม ๒ ข้อนี้ คือ เจโตวิมุติที่หาประมาณมิได้ และเจโตวิมุติที่เป็นมหัคคตะ ต่างกันทั้งอรรถและพยัญชนะ ท่านพึงทราบประการที่ต่างกันนั้นโดยปริยายดังต่อไปนี้ ดูกรคฤหบดี ก็ เจโตวิมุติที่หาประมาณมิได้ เป็นไฉน ดูกรคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีใจสหรคตด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่[...]
- 4 คลังพระสูตร"มหาสุญญตสูตร" พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้ไว้ เนื่องจากการที่พระองค์เสด็จไปยังวิหารของเจ้ากาลเขมกะ ศากยะ ได้ทอดพระนตรเห็นมีเสนาสนะที่แต่งตั้งไว้มากด้วยกัน และทราบว่าที่นี่มีภิกษุอยู่มาก จึงปรารภเหตุนี้แสดงธรรมกับพระอานนท์ถึงการที่พระภิกษุไม่ควรไปคลุกคลีอยู่เป็นหมู่คณะใหญ่ ได้ตรัสไว้ถึง โทษของการคลุกคลี และ ในเรื่องของ สุญญตา การทำจิตให้ว่างจากความเกาะเกี่ยว รวมถึงการมีสัมปชัญญะ (สมฺปชาโน) คือ การรู้ตัวรอบคอบ ในอิริยาบถต่าง ๆ ที่จะทำให้จิตไม่ไหลไปตามอกุศลธรรมทั้งหลาย ทำให้เกิดฌานสมาธิ และทำให้ สุญญตสมาบัติภายใน เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้พระองค์ทรงยกในเรื่องของ กามคุณ 5, อุปาทานขันธ์ 5, อุปัททวะของอาจารย์ ศิษย์ และผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ฯ พร้อมทั้งวิธีพึงปฏิบัติต่อพระศาสดาด้วยความเป็นมิตร ขึ้นมาแสดงให้ได้ฟังเพิ่มเติมกันอีกด้วย [๓๔๖] ดูกรอานนท์ ก็วิหารธรรมอันตถาคตตรัสรู้ในที่นั้นๆ นี้แล คือ ตถาคตบรรลุสุญญตสมาบัติภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่ ดูกรอานนท์ ถ้าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์เข้าไปหาตถาคตผู้มีโชค อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ในที่นั้น ๆ ตถาคตย่อมมีจิตน้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก[...]
- 4 คลังพระสูตร"จูฬสุญญตสูตร" ว่าด้วยสุญญตา สุญญตวิหารธรรม ธรรมที่เป็นเครื่องอยู่ของพระพุทธเจ้า คือ การทำในใจให้ถึงความว่าง (อากาสานัญจายตนะ) ซึ่งเป็นเรื่องของสมาธิที่ประณีตยิ่ง ๆ ขึ้นไปตามลำดับขั้น ตั้งแต่รูปฌานไปจนถึงอรูปฌาน และ "อนุปทสูตร" ว่าด้วยธรรมตามลำดับบท อะไรเกิดอะไรดับไป อะไรดับไปอะไรเกิดขึ้น เห็นความมี เห็นความไม่มี เห็นความไม่ยินดี เห็นความไม่ยินร้าย เป็นไปตามลำดับขั้น
- 4 คลังพระสูตร"เวรัญชกสูตร" ว่าด้วยเหตุปัจจัยให้เข้าถึงสุคติ เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ณ วัดพระเชตวัน เมืองสาวัตถี ปรารภพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวเมืองเวรัญชา ที่ได้มาเข้าเฝ้าฯ ทูลถามคำถามที่ว่า "อะไรเป็นเหตุปัจจัยที่นำไปสุคติและทุคติ" พระพุทธเจ้าจึงได้แสดงธรรมเทศนาในเรื่องของธรรมะที่ถ้าไม่ประพฤติไม่ปฏิบัติโดยเรียบร้อย ก็จะทำให้ไปนรก ไปทุคติ และธรรมะที่เมื่อประพฤติปฏิบัติโดยเรียบร้อย ก็จะทำให้ไปสู่สุคติโลกสวรรค์ ซึ่งแยกแยะแบ่งออกได้ 2 หมวด คือ อกุศลกรรมบถ 10 และ กุศลกรรมบถ 10 และในอีก 3 ส่วน ที่เป็นเรื่องของความประพฤติทางกาย วาจา และใจ ทั้งนี้พระพุทธองค์ยังได้กล่าวรับรองถึง ผลแห่งความประพฤติเรียบร้อย ในรายละเอียดไว้ด้วยว่าเป็นเช่นไร “ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม พึงหวังว่า ขอเราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะ เพราะรู้ยิ่งเองแล้ว เข้าถึงอยู่ในชาตินี้เถิด ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ บุคคลนั้นพึงทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะ เพราะรู้ยิ่งเองแล้ว เข้าถึงอยู่ใน ชาตินี้[...]
- 4 คลังพระสูตรเท้าความจากเอพิโสดที่แล้ว ในเรื่องของการฆ่าสัตว์เพื่อนำมามาบูชายัญนั้นไม่ประโยชน์ กลับแต่จะเป็นการสร้างบาปเพิ่มขึ้น จึงได้กล่าวถึงยัญญสัมปทา 3 บริวาร 16 และในเอพิโสดนี้พระพุทธเจ้าได้ตรัสตอบกูฏทันตพราหมณ์ถึงเรื่องการบูชายัญอย่างอื่นที่ไม่เป็นไปเพื่อการเบียดเบียนชีวิต ที่ใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมีอานิสงส์มากกว่า นั่นคือ การให้ทานแก่ผู้มีศีลอยู่เป็นนิตย์, การสร้างวิหารสำหรับสงฆ์, การถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ, ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล สมาทานตั้งอยู่ใน 3 ขั้น (จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล), ออกบวชตามโอกาส และการบำเพ็ญสมาธิภาวนาวิปัสสนาญาณ (วิชชา 8 ) เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาอย่างนี้แล้ว กูฏทันตพราหมณ์เกิดความเสื่อมใส แสดงตนเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จากนั้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่กูฏทันตพราหมณ์ และเมื่อทรงทราบความที่พราหมณ์นั้นมีจิตอันควร อ่อนเหมาะ ปราศจากนิวรณ์แล้ว จึงยกอริยสัจจ 4 ขึ้นแสดงต่อ พอจบพระธรรมเทศนา กูฏทันตพราหมณ์ได้บรรลุโสดาปัตติผล ดูกรพราหมณ์ พระอรหันต์ก็ดี ท่านที่บรรลุอรหัตมัคก็ดี ย่อมไม่เข้าไปสู่ยัญเช่นนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในยัญนั้นปรากฏว่า มีการประหารด้วยท่อนไม้บ้าง จับไสคอกันบ้าง ฉะนั้น พระอรหันต์ก็ดี ท่านที่บรรลุอรหัตมัคก็ดี ย่อมไม่เข้าไปสู่ยัญเช่นนั้น ดูกรพราหมณ์[...]
- 4 คลังพระสูตร"กูฏทันตสูตร" ปรารภกูฎทันตพราหมณ์ประสงค์จะบูชามหายัญ ที่ต้องทำการฆ่าสัตว์เป็นจำนวนมาก แต่เมื่อได้ทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับ ณ สวนอัมพลัฏฐิกา ใกล้ที่พักของตน จึงได้ไปเข้าเฝ้าฯ พร้อมคณะพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านขานุมัตต์หมู่ใหญ่ เพื่อทูลถามในเรื่องของยัญสมบัติ 3 ประการ ซึ่งมีบริวาร 16 พระพุทธเจ้าได้ยกเรื่องการบูชามหายัญของพระเจ้ามหาวิชิตราชที่เป็นไปตามธรรม เพื่อจะเป็นประโยชน์และความสุขแก่พระองค์ไปตลอดกาลนาน ซึ่งมีพราหมณ์ปุโรหิตผู้มากด้วยปัญญา (นั่นคือ พระโพธิสัตว์ในอดีตชาติ) เป็นผู้คอยชี้แจงแนะนำวิธีการบูชามหายัญ โดยแสดงถึง ชนผู้เห็นชอบตามพระราชดำริ 4 จำพวก, พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงประกอบด้วยองค์ 8 ประการ, พราหมณ์ปุโรหิตประกอบด้วยองค์ 4 ประการ รวมเรียก "ยัญญสัมปทา 3 อย่าง มีบริวาร 16" หลังจากได้ฟังจบแล้ว เหล่าพราหมณ์ทั้งหลายก็ส่งเสียงอื้ออึงว่า โอ ยัญ โอ ยัญสมบัติ มีเพียงกูฏทันตพราหมณ์ที่นั่งนิ่งอยู่ เพราะเกิดความสงสัยขึ้นว่า ยังมียัญอย่างอื่นอีกหรือไม่หนอ ที่ใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมีอานิสงส์มากกว่ายัญที่ได้กล่าวมาข้างต้น มารับฟังตอนจบของพระสูตรได้ในเอพิโสดต่อไป แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่: #อัคคิสูตรที่ 2 ว่าด้วยเรื่องไฟ 7 กอง
- 4 คลังพระสูตรในบทสวด อิ ติ ปิโสฯ ที่เราสวดกันจนคุ้นเคย มีบทที่ว่า วิชชาจรณสัมปันโน แปลว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ อันเป็นผู้ทรงความรู้และปฏิบัติตามความรู้นั้นด้วย ในเอพิโสดนี้จึงได้ยกพระสูตรขึ้นมาอธิบายกันในเรื่องของ วิชชา 3 และ จรณะ 15 ให้ได้ฟังกัน "เสขปฏิปทาสูตร"ว่าด้วยผู้มีเสขปฏิปทา ปรารภเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ได้นิมนต์พระพุทธเจ้าให้ทรงบริโภคสัณฐาคารใหม่ เพื่อเป็นปฐมฤกษ์ที่สัณฐาคารนั้นเพิ่งสร้างเสร็จ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่พวกเจ้าศากยะฯ ซึ่งในวาระนั้นพระพุทธองค์จึงทรงให้พระอานนท์แสดงธรรมแทน อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ชื่อว่าเป็นผู้มีเสขปฏิปทา เพราะถึงพร้อมด้วยคุณธรรมเหล่านี้คือ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล, เป็นคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย, เป็นรู้ประมาณในโภชนะ, เป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่น, เป็นผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม 7, เป็นผู้ได้ฌาน 4 อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก เปรียบเหมือนลูกไก่เจาะเปลือกไข่ออก แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต S01E21 ,เข้าใจทำ (ธรรม) S08E05 , S08E01 , ใต้ร่มโพธิบท S07E44 , S07E40 ,ตามใจท่าน S10E02
- 4 คลังพระสูตรในเอพิโสดนี้ ได้นำ 2 พระสูตร ว่าด้วยเรื่องความสิ้นตัณหา มาให้ได้รับฟังกัน พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ใน มหาตัณหาสังขยสูตร (สูตรใหญ่) ปรารภทิฏฐิของสาติภิกษุบุตรชาวประมง ที่กล่าวตู่พระพุทธองค์ มีความเห็นผิดไปว่า 'เรารู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้ นั่นแลมิใช่อื่น ท่องเที่ยวไป แล่นไป' และ จูฬตัณหาสังขยสูตร (สูตรเล็ก) ปรารภท้าวสักกะที่มาเข้าเฝ้าฯ เพื่อทูลถามถึง ข้อปฏิบัติอย่างไร ที่จะทำให้สิ้นตัณหา ที่จะทำให้หลุดพ้นได้ …รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่ยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ไม่ขัดเคือง ในธรรมารมณ์ที่น่าชัง ย่อมเป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ทราบชัดถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรม ตามความเป็นจริง เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ ติดใจเวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายจึงดับไป เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทาน จึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ[...]
- 4 คลังพระสูตร"มหาสติปัฏฐานสูตร" (สูตรใหญ่) เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่าด้วยเรื่องของการเจริญสติปัฏฐาน (ฐานที่ตั้งแห่งสติ) โดยสามารถแบ่งเนื้อหาออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ภาคอุทเทส เป็นการนำเสนอภาพรวมของมหาสติปัฏฐาน 4 , ภาคนิเทศ มีเนื้อหาจำแนกแจกแจงอธิบายรายละเอียดถึงวิธีการนำสติปัฏฐาน 4 ไปปฏิบัติทั้งในส่วนของฐานกาย เวทนา จิต และธรรม และ ภาคอานิสงส์ เป็นบทสรุปที่ยืนยันถึงผลแห่งการปฏิบัติตามสติปัฏฐาน 4 ที่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม และเพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน เป็นเรื่องที่เมื่อได้ฟังแล้ว พิจารณาใคร่ครวญจดจ่อลงไป จะเห็นว่าแม้แต่ในสิ่งที่เป็นอกุศลธรรม เช่น นิวรณ์เครื่องกางกั้น เครื่องร้อยรัดคือสังโยชน์ หรือแม้แต่ตัณหา ท่านได้กำหนดบทพยัญชนะไว้อย่างรัดกุมมาก ที่เมื่อเราฟังไปจนถึงจุดนั้น ๆ ให้เพ่งดูดี ๆ ว่าตรงไหนมันเกิด ตรงไหนมันดับ รู้เหตุเกิดแล้วจะให้ดับได้อย่างไร ตั้งใจฟังให้ดีแล้ว นี้จะเป็นประโยชน์ได้อย่างมากทีเดียว [๔๐๕] ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเดียว เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน ทางนี้คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ เราอาศัยทางเดียวนี้แล้ว จึงกล่าวคำดังพรรณนามาฉะนี้”…มหาสติปัฏฐานสูตรที่[...]
- 4 คลังพระสูตรสืบเนื่องจากเอพิโสดที่แล้วได้นำเสนอ "สุภสูตร" ที่ว่าด้วยเรื่องของอริยขันธ์ 3 ซึ่งปรารภเรื่องของสุภมานพบุตรของโตเทยยพราหมณ์ แห่งเมืองสาววัตถี ซึ่งสุภมานพนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมโปรดในหลายวาระ จึงจะได้นำเสนอเรื่องราวเพิ่มเติมในส่วนของพระสูตรไว้ในช่วงคลังพระสูตรนี้ และในส่วนของอรรถกถาสุภสูตรไว้ในช่วงนิทานพรรณนา ในเอพิโสดนี้เป็นเหตุการณ์ที่มาในมัชฌิมนิกาย พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมโปรดสุภมานพ ที่ได้มาเข้าเฝ้าฯ เพื่อทูลถามปัญหาที่ว่า คฤหัสถ์เท่านั้นเป็นผู้ยินดีกุศลธรรมเครื่องนำออกไปจากทุกข์ บรรพชิตไม่เป็น ผู้ยินดีกุศลธรรมเครื่องนำออกไปจากทุกข์ ในเรื่องนี้ ท่านพระโคดมตรัสว่าอย่างไร? พระพุทธองค์ทรงแสดงแยกแยะแจกแจงให้เห็นถึงความเป็นผู้ยินดีกุศลธรรมเครื่องนำออกไปจากทุกข์ เพราะเหตุแห่งอธิกรณ์คือการปฏิบัติชอบ ในเรื่องของ ฐานะการงานของคฤหัสถ์และบรรพชิต, บัญญัติธรรม 5 ประการ (ที่พวกพราหมณ์บัญญัติเปรียบเทียบกับคำสอนในธรรมวินัยนี้) และทางเพื่อความเป็นสหายของพรหม และในที่นี้เรายังจะได้เห็นถึงพุทธลีลาในบอกสอนของพระพุทธองค์อีกด้วย [๗๒๘] ดูกรมาณพ ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยินดีกุศล เรากล่าวว่าเป็นบริขารของจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน. ดูกรมาณพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้พูดจริง เธอรู้สึกว่า เราเป็นผู้พูดจริง ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์ประกอบด้วยธรรม ความปราโมทย์อันประกอบด้วยกุศลนี้ เรากล่าวว่าเป็นบริขารของจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน. ดูกรมาณพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียร …[...]
- 4 คลังพระสูตร"สุภสูตร" ว่าด้วยเรื่องอริยขันธ์ 3 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ปรารภสุภมาณพโตเทยยบุตรได้ให้คนไปนิมนต์พระอานนท์ให้สงเคราะห์ไปเยี่ยมตนถึงที่อยู่ และขอโอกาสถามปัญหาว่า 'ในฐานะที่พระอานนท์ เป็นอุปัฏฐากใกล้ชิดพระพุทธเจ้ามานาน พระพุทธองค์ได้ตรัสสรรเสริญคุณแห่งธรรมเหล่าใด และทรงยังชักชวนประชุมชนนี้ ให้สมาทาน ตั้งอยู่ ดำรงอยู่ในธรรมเหล่าใด' พระอานนท์ตอบว่า พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญและชักชวนประชุมชนให้ตั้งอยู่ในกองศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นอริยะ และได้อธิบายถึงอริยศีลขันธ์ อริยสมาธิขันธ์ และอริยปัญญาขันธ์โดยรายละเอียดไปตามลำดับ เมื่อแสดงธรรมจบ สุภมาณพโตเทยยบุตร ได้สรรเสริญและแสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต. เปรียบเหมือนสระน้ำใสสะอาดไม่ขุ่นมัวบนยอดภูเขา คนตาดียืนที่ขอบสระนั้น เห็นหอยโข่งและหอยกาบ ก้อนกรวดและก้อนหินหรือฝูงปลากำลังแหวกว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง ในสระนั้น ก็คิดอย่างนี้ว่า ‘สระน้ำนี้ใสสะอาดไม่ขุ่นมัว หอยโข่งและหอย กาบ ก้อนกรวดและก้อนหิน และฝูงปลาเหล่านี้กำลังแหวกว่ายอยู่ก็มี หยุดอยู่ก็มีในสระนั้น’ ฉันใด เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย[...]
- 4 คลังพระสูตรยก 2 พระสูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนนางวิสาขาไว้ใน อุโปสถสูตร ว่าด้วยเรื่องของอริยอุโบสถ จะรักษาศีล 8 อย่างไรให้ถูกต้องและได้ผลมาก และ อิธโลกสูตร ว่าด้วยธรรมะข้อปฏิบัติของหญิงผู้ออกเรือนที่ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกหน้า ซึ่งได้เคยกล่าวไว้กับพระอนุรุทธ ปรารภเทวดาเหล่ามนาปกายิกา นอกจากจะตรัสสอนโดยตรงแก่นางวิสาขาแล้ว ยังได้ตรัสสอนนางนกุลมาตา ในเนื้อความเดียวกันอีกด้วย (อ้างอิงใน วิสาขสูตร | นกุลมาตาสูตร ) อุโปสถสูตร "บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์ ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงงดเว้นเมถุน อันเป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ ไม่พึงบริโภคโภชนะในเวลาวิกาลในกลางคืน ไม่พึงทัดทรงดอกไม้ ไม่พึงลูบไล้ของหอม และพึงนอนบนเตียง บนพื้น หรือบนที่ซึ่งเขาปูลาด บัณฑิตทั้งหลายกล่าวอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แลว่า อันพระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดทุกข์ทรงประกาศไว้ พระจันทร์ พระอาทิตย์ ทั้งสองที่น่าดู ส่องแสง โคจรไปทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด และพระจันทร์ พระอาทิตย์นั้น กำจัดความมืดไปในอากาศ ทำให้ทิศรุ่งโรจน์ ส่องแสงอยู่ในนภากาศ ทั่วสถานที่มีประมาณเท่าใด ทรัพย์ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์[...]
- 4 คลังพระสูตรในเอพิโสดนี้ ได้ยกเรื่องราวของเหล่าอุบาสกผู้เลิศมาให้รับฟังถึง 4 พระสูตรด้วยกัน โดยมีเนื้อหาประเด็นที่น่าสนใจ สามารถศึกษาทำความเข้าใจตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงมีการพิจารณาธรรมในเรื่องเหล่านี้ไว้อย่างไร จูฬทุกขักขันธสูตร ว่าด้วยกองทุกข์ | ณ นิโครธาราม ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ พระพุทธเจ้าตรัสแสดงธรรมแก่เจ้ามหานามศากยะ ผู้ทูลถามถึงว่า ธรรมชื่ออะไรที่ยังทรงละไม่ได้เด็ดขาดในภายใน เป็นเหตุให้ โลภะ โทสะ โมหะ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต ยังครอบงำจิตไว้ได้เป็นครั้งคราว [๒๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหานาม ธรรมนั้นนั่นแล ท่านยังละไม่ได้เด็ดขาดในภายใน อันเป็นเหตุให้ โลภธรรมก็ดี โทสธรรมก็ดี โมหธรรมก็ดี ยังครอบงำจิตของท่านไว้ได้เป็นครั้งคราว ดูกรมหานาม ก็ธรรมนั้นจักเป็นอันท่านละได้เด็ดขาดในภายในแล้ว ท่านก็ไม่พึงอยู่ครองเรือน ไม่พึงบริโภคกาม แต่เพราะท่านละธรรมเช่นนั้นยังไม่ได้เด็ดขาดในภายใน ฉะนั้น ท่านจึงยังอยู่ครองเรือน ยังบริโภคกาม. [๒๑๑] ดูกรมหานาม ถ้าแม้ว่า อริยสาวกเล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามเป็นจริงว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ แต่อริยสาวกนั้นเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ยังไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เธอจะยังเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามไม่ได้ก่อน แต่เมื่อใด อริยสาวกได้เล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ[...]
- 4 คลังพระสูตรได้นำ 5 เรื่องราวของอุบาสกผู้ประกอบด้วยคุณธรรมอันเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงคุณงามความดี เพื่อให้ได้ใคร่ครวญพิจารณาตามไป ตกผลึกทางความคิดออกมาเป็นสัมมาทิฏฐิได้ จึงยกพระสูตรเหล่านี้ขึ้นมาให้ได้รับฟังกัน อุคคสูตรที่ 1 ปรารภเรื่องราวของ "อุคคคฤหบดี ชาวเมืองเวสาลี" ผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา 8 ประการ และยังได้รับการยกย่องในตำแหน่งเอตทัคคะในฝ่ายผู้ให้ของเจริญจิต อุคคสูตรที่ 2* ปรารภเรื่องราวของ "อุคคตคฤหบดี ชาวบ้านหัตถิคาม" ผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา 8 ประการ และยังได้รับการยกย่องในตำแหน่งเอตทัคคะในฝ่ายผู้อุปัฏฐากภิกษุสงฆ์ ทั้งอุบาสกทั้งสองคนนี้ประกอบด้วยคุณธรรมที่ใกล้เคียงคล้าย ๆ กัน โดยมีจิตประกอบด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในครั้งแรกที่เห็นพระพุทธเจ้า และมีอยู่อย่างสม่ำเสมอ เป็นผู้เคารพในพระธรรม ไม่ยินดีในการครองเรือน สามารถมีจาคะ สละทรัพย์ในสิ่งที่ควรสละได้ และที่สำคัญแสดงให้เห็นถึงความอ่อนน้อมต่อเพศบรรพชิตด้วยความเคารพ ด้วยมีจิตเสมอกัน ธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา 8 ประการ ประกอบด้วย 1) เมื่อได้เห็นพระพุทธเจ้าเพียงครั้งแรกก็เกิดความเลื่อมใสในทันที 2) เมื่อเกิดความเลื่อมใสแล้ว เข้าไปฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า เกิดปัญญาเห็นตามความ จริงนั้น 3) .เมื่อท่านบรรลุธรรมแล้ว ท่านมีภรรยา 4 คน ได้บอกกับภรรยาทั้งหลายว่า ใครจะไปอยู่กับใครก็ได้ ภรรยาคนที่หนึ่งกล่าวขอให้มอบตนกับชายอื่น ก็ไม่เกิดความเสียใจเลย [...]
- 4 คลังพระสูตรเรื่องราวใน 3 พระสูตรที่ยกขึ้นมานี้ เมื่อนำมาประกอบกันแล้ว จะให้เห็นถึงเหตุปัจจัยที่เมื่อเราทำ เราสร้างแล้ว สามารถที่จะทำให้คนเราไปในที่ ๆ แตกต่างกันได้ ดังนั้นเมื่อทำความเข้าใจใคร่ครวญในเนื้อหาอย่างลึกซึ้งแล้วจะทำให้เราทราบถึงปฏิปทาวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง "อิฏฐสูตร" ธรรมะ 5 ประการ (อายุ วรรณะ สุขะ ยศ สวรรค์) อันเป็นที่น่ารักน่าใคร่หาได้ยากในโลก จะไม่ได้ด้วยการอ้อนวอนด้วยการขอร้อง แต่ต้องได้ด้วยการกระทำ มีปฏิปทามีวิธีการมีวิธีทำ มีการปฏิบัติที่ถูกต้อง ชนผู้ปรารถนาอายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สวรรค์ ความเกิดในตระกูลสูง และความเพลินใจ พึงทำความไม่ประมาทให้มากยิ่งขึ้น บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท ในการทำบุญ บัณฑิตผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ ผู้มีปัญญา ท่านเรียกว่าบัณฑิต เพราะบรรลุถึงประโยชน์ทั้งสองนั้น ฯ จึงยก "จูฬกัมมวิภังคสูตร" มาประกอบ เป็นเรื่องราวที่พระพุทธเจ้าทรงได้ตรัสตอบปัญหาแก่สุภมานพ โตเทยบุตร ว่าด้วยเรื่องกฎแห่งกรรมที่ทำให้คนแตกต่างกัน ซึ่งมีเหตุปัจจัยอะไรที่ทำให้มี ที่ทำให้เป็น ในธรรมะ 5 ประการข้างต้น[...]
- 4 คลังพระสูตรรวมพระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องของจิตตคฤหบดี สังยุตตนิกาย ได้แก่ สังโยชนสูตร, ปฐมอิสิทัตตสูตร, ทุติยอิสิทัตตสูตร, มหกปาฏิหาริยสูตร, ฐมกามภูสูตร, ทุติยกามภูสูตร, โคทัตตสูตร และคิลานทัสสนสูตร คิลานทัสสนสูตร “เพราะฉะนั้นแล พวกท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘พวกเราจักถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้ เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ จักถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ จักถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้เป็นผู้ควรแก่ ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ อนึ่ง[...]
- 4 คลังพระสูตรพระสารีบุตรได้ให้โอวาทแก่อนาถบิณฑิกเศรษฐีถึง สิ่งที่จะยังเวทนาให้สงบระงับได้โดยพลัน ในช่วงที่กำลังป่วยหนักได้รับทุกข์มาก พระอานนท์ได้เล่าเหตุการณ์ถวายพระพุทธเจ้า พระองค์จึงทรงตรัสว่า ท่านสารีบุตรเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก ได้จำแนกโสตาปัตติยังคะ 4 ด้วยอาการ 10 อย่าง ทำให้อนาถบิณฑกเศรษฐีที่เมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้วเกิดปีติอย่างยิ่ง ก่อนจะทำกาละไปจุติเป็นเทพบุตรบนสวรรค์ชั้นดุสิต นอกจากนี้ได้ยกพระสูตรที่เกี่ยวข้องขึ้นมาอธิบายประกอบกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจกว้างขวางมากขึ้น ได้แก่ ทุสีลยสูตรที่ 2 (กลัวความตายเพราะไม่มีธรรม 4 ประการ), อนาถปิณฑิโกวาทสูตร และปีติสูตร "ผู้ใดมีศรัทธา ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในพระตถาคต มีศีลอันงาม ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สรรเสริญแล้ว มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นอันตรง บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อ ะลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบตามซึ่งศรัทธา ศีล ความเลื่อมใสและความเห็นธรรม"…ทุสีลยสูตรที่ 1
- 4 คลังพระสูตรเรื่องราวของกุลบุตรตระกูลชั้นสูงในถุลลโกฏฐิตนิคมชื่อ "รัฏฐปาละ" เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า มีความยินดีปรารถนาที่จะรู้ทั่วถึงในธรรมะ จึงได้ตัดสินใจออกบวช แม้บิดามารดาจะไม่อนุญาตก็ตาม แต่ด้วยศรัทธาอันแรงกล้ายอมอดอาหาร ด้วยความกลัวที่บุตรชายจะตาย บิดามารดาจึงยินยอมให้บวชได้ และหลังจากได้บวชแล้ว ก็หลีกเร้นออกไปอยู่รูปเดียว ไม่ประมาท ทำความเพียร ไม่นานก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ในคราวต่อมา พระรัฐปาลเถระได้แสดงธรรมแก่พระเจ้าโกรัพยะถึง ความเสื่อม 4 (ความเสื่อมเพราะชรา, ความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้, ความเสื่อมจากทรัพย์สมบัติ, ความเสื่อมจากญาติ) และ ธัมมุทเทส 4 อันเป็นเหตุที่ทำให้ตัดสินใจออกบวชโดยมีใจความบางส่วนดังนี้ "โลกอันชรานำไปไม่ยั่งยืน, โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน, โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป, โลกบกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา…ดูกรมหาบพิตร ธัมมุทเทส ๔ ข้อนี้แล พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต" และได้กล่าวอีกต่อไปว่า “อาตมาเห็นผู้คนที่มีทรัพย์ในโลก ได้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแล้ว ไม่ยอมให้ใคร เพราะความหลง ได้ทรัพย์แล้ว เก็บสะสมไว้ และปรารถนากามคุณยิ่ง ๆ[...]
- "จักกวัตติสูตร" ว่าด้วยเรื่องของพระเจ้าจักรพรรดิ พระสูตรนี้ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ตรัสสอนให้เป็นผู้ที่พึ่งตนพึ่งธรรม ไม่พึ่งสิ่งอื่น เพราะการพึ่งตนพึ่งธรรมทำให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ โภคะ และพละ ทำให้มารขัดขวางความเจริญไม่ได้ โดยทรงเล่าถึงเหตุที่ทำให้โลกถึงความแตกไปเสื่อมไป ซึ่งก่อนหน้านั้นก็เคยเจริญมาก่อน ร. พระพุทธเจ้าข้า ก็จักกวัตติวัตรอันประเสริฐนั้น เป็นไฉน ฯ ราช. ดูกรพ่อ ถ้าเช่นนั้น พ่อจงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม ทำความเคารพธรรม นับถือธรรม บูชาธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธงชัย มีธรรมเป็นยอด มีธรรมเป็นใหญ่ จงจัดการรักษาป้องกันและคุ้มครองอันเป็นธรรม ในชนภายใน ในหมู่พล ในพวกกษัตริย์ผู้เป็นอนุยนต์ ในพวกพราหมณ์และ คฤหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบททั้งหลาย ในพวกสมณพราหมณ์ ในเหล่าเนื้อและนก ดูกรพ่อ การอธรรมอย่าให้มีได้ในแว่นแคว้นของพ่อเลย ดูกรพ่อ อนึ่ง บุคคลเหล่าใดในแว่นแคว้นของพ่อ ไม่มีทรัพย์ พ่อพึงให้ทรัพย์แก่บุคคลเหล่านั้นด้วย ดูกรพ่อ อนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่าใด ในแว่นแคว้นของพ่อ งดเว้นจากความเมาและความประมาท ตั้งมั่นอยู่ในขันติและโสรัจจะ ฝึกตนแต่ผู้เดียว สงบ ตนแต่ผู้เดียว ให้ตนดับกิเลสอยู่แต่ผู้เดียว[...]
- 4 คลังพระสูตร"มหาอัสสปุรสูตร" เป็นเหตุการณ์ขณะที่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่อัสสปุรนิคมในอังคชนบท ปรารภความนับถือของเหล่าชาวเมืองนั้นแล้วทรงประกอบภิกษุสงฆ์ไว้ให้มีความเคารพในบิณฑบาต จึงได้ได้ตรัสเทศน์สอนแก่เหล่าภิกษุทั้งหลายให้ดำรงตนอยู่ใน "ธรรมเพื่อความเป็นสมณพราหมณ์" มีความประพฤติเหมาะสมกับที่คฤหัสถ์ทั้งหลายเคารพนับถือยกย่องว่าเป็นสมณะ โดยมีเนื้อหากล่าวถึง ธรรมทำความเป็นสมณพราหมณ์, ว่าด้วยการละนิวรณ์ 5, ว่าด้วยฌาน 4, ว่าด้วยวิชชา 3 และว่าด้วยสมัญญาแห่งภิกษุ "ภิกษุทั้งหลาย! มหาชนเขารู้จักพวกเธอทั้งหลายว่า เป็นสมณะ เป็นสมณะ ดังนี้ ถึงเธอทั้งหลายเล่า เมื่อถูกเขาถามว่า พวกเธอทั้งหลายเป็นอะไร พวกเธอทั้งหลายก็ปฏิญญาตัวเองว่า เราเป็นสมณะ ดังนี้ เมื่อเธอทั้งหลายมีชื่อว่าเป็นสมณะ และปฏิญญาตัวเองว่าเป็นสมณะอยู่อย่างนี้แล้ว พวกเธอพึงสำเหนียกใจดังนี้ว่า ธรรมะเหล่าใดที่ทำให้เราเป็นสมณะ ที่ทำให้เราเป็นพราหมณ์ คือผู้ลอยบาป เราจะประพฤติถือเอาด้วยดีซึ่งธรรมเหล่านั้น ด้วยการปฏิบัติของเราอย่างนี้ สมัญญาว่าสมณะของพวกเราก็จะเป็นจริง และคำปฏิญญาว่าสมณะของพวกเรา ก็จะสมจริง อนึ่ง! การใช้สอยบริโภคจีวร บิณฑบาตร เสนาสนะ และคีลนปัจจัยเภสัชบริขารของทายกเหล่าใด การบำเพ็ญทานอันของทายกเหล่านั้น จะมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่ และการบรรพชาของเราเองก็จะไม่เป็นหมัน แต่จะมีผลมีกำไรแก่เราโดยแท้ ดังนี้ พวกเธอทั้งหลาย! พึงสำเหนียกใจอย่างนี้…มหาอัสสปุรสูตร
- 4 คลังพระสูตรพระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอนุรุทธะไว้ใน "อุปักกิเลสสูตร" กล่าวถึงถึง อุปกิเลส 11 อย่าง (อุปสรรคเครื่องขวางที่ทำให้จิตไม่รวมเป็นสมาธิ) อันประกอบด้วย วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, ความสะดุ้งหวาดเสียว, ความตื่นเต้นที่มากเกินไป, ความคะนองอยาก, ปรารภความเพียรจัดเกินไป, ปรารภความเพียรย่อหย่อนเกินไป, ความกระสันอยาก, การส่งใจไปในสิ่งต่าง ๆ มากไป และการเพ่งต่อรูปทั้งหลายมากเกินไป ซึ่งทั้งหมดนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีผลต่อการทำสมาธิ การทำสมาธิที่ปราศจากอุปกิเลสนั้นจัดเป็นสัมมาสมาธิ พระพุทธเจ้าได้อธิบายไว้ใน "ปัญจังคิกสูตร" ถึง การเจริญสัมมาสมาธิอันเป็นอริยะที่ประกอบด้วยองค์ 5 ประการ โดยได้ยกอุปมาขึ้นมาอธิบายและรับรองว่า "เมื่อเจริญสัมมาสมาธิอันยิ่งแล้วจะทำให้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันยิ่งในธรรมนั้น ๆ ได้" นอกจากนี้ได้ยก "จูฬเวทัลลสูตร" ขึ้นมาประกอบเพิ่มเติม ปรารภวิสาขอุบาสกได้มาสอบถามปัญหาธรรมจากพระธรรมทินนาเถรี จนเกิดความแจ่มแจ้งในธรรม ว่าด้วยเรื่องของอุปทานขันธ์ทั้ง 5 และ อริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งนี้เป็นการการสนทนาธรรมระหว่างกัลยาณมิตร ที่ไม่ว่าจะเป็นภิกษุ ภิกษณี หรือฆราวาสก็ตาม ก็สามารถทำให้เกิดปีติขึ้นได้ เพราะเมื่อมีปีติแล้ว จิตย่อมรวมเป็นสมาธิได้ง่าย และทำให้เกิดปัญญาแตกฉานในธรรมะยิ่ง ๆ ขึ้นไป แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists:[...]
- 4 คลังพระสูตรได้ปรารภคฤหบดีหนุ่มชื่อ “ตปุสสะ” ที่ยังมีความคิดนึกไปในเรื่องของกาม ได้มาถามกับพระอานนท์ถึงเรื่องการทำสมาธินี้ว่าจะทำอย่างไรต่อไป ทั้งสองจึงพากันไปเข้าเฝ้าทูลถามพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงแสดง อนุปุพพวิหาร 9 ว่าด้วยการเข้าออกสมาธิทั้ง 9 ขั้นที่ประณีตไล่ต่อกันขึ้นไปโดยลำดับ ได้แก่ 1) ปฐมฌาน 2) ทุติยฌาน 3) ตติยฌาน 4) จตุตถฌาน 5) อากาสานัญจายตนะ 6) วิญญาณัญจายตนะ 7) อากิญจัญญายตนะ 8) เนวสัญญานาสัญญายตนะ และ 9) สัญญาเวทยิตนิโรธ เหล่านี้คือ วิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่ของจิต 9 ลำดับ อนุปุพพนิโรธ 9 (ความดับไปตามลำดับ) คือ 1. อามิสสัญญาหรือกามสัญญาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป 2. วิตกวิจารของผู้เข้าทุติยฌานดับไป 3. ปีติของผู้เข้าตติยฌานดับไป 4. ลมอัสสาส ปัสสาสะ (ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก) ของผู้เข้าจตุตถฌานดับไป 5. รูปสัญญาของผู้เข้าอากาสานัญจายตนฌานดับไป 6.[...]
- 4 คลังพระสูตรนำเสนอเรื่องราวของ ภิกษุ 2 รูป ที่มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมาก คือ พระเสละ และ พระมหากัปปินะ "ดูก่อนพราหมณ์! สิ่งที่เราควรรู้ยิ่ง เรารู้ยิ่งแล้ว สิ่งที่ควรเจริญ เราเจริญแล้ว สิ่งที่ควรละ เราละได้แล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นพระพุทธเจ้า พราหมณ์เอ๋ย! ท่านจงกำจัดความเคลือบแคลงในเรา จงน้อมใจเชื่อเถิด การได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเนือง ๆ เป็นการเกิดขึ้นได้ยาก ความปรากฎแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเนือง ๆ เป็นการหาได้ยากในโลก"…เสลสูตร ทรงโปรดเสลพราหมณ์ (พระเกียรติคุณของพระพุทธเจ้า) เสลพราหมณ์เป็นผู้เชี่ยวชาญในพระเวท เมื่อทราบข่าวการเสด็จมาของพระพุทธเจ้าจากเกณิยชฏิลก็เกิดความเลื่อมใส พาหมู่มาณพไปเข้าเฝ้าฯ พร้อมพิจารณาดูพระพุทธลักษณะเห็นต้องตามมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ แล้วได้กราบทูลโต้ตอบกับพระพุทธองค์ โดยทรงตรัสตอบถึงความที่ พระองค์ทรงเป็นธรรมราชา ทรงประกาศธรรมจักร อันเป็นจักรที่ใคร ๆ คัดค้านหรือหมุนกลับ (ปฏิวัติ) ไม่ได้ เมื่อถูกถามถึงแม่ทัพธรรม ก็ทรงชี้ไปยังพระสารีบุตร และได้ทรงแสดงธรรมแก่เสลพราหมณ์พร้อมทั้งเหล่าบริษัท และทั้งหมดก็ได้ขอบรรพชาอุปสมบท "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั่นแลมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก แต่เธอไม่ได้สมาบัติที่ เธอไม่เคยเข้าง่ายนัก เธอกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น[...]
- 4 คลังพระสูตรพระพุทธเจ้าทรงแสดง ธาตุวิภังคสูตร ว่าด้วยการจำแนกธาตุ แก่พระเจ้าปุกกุสาติ มีใจความว่า "คนเรานี้มี ธาตุ 6, มีผัสสายตนะ (แดนเกิดแห่งผัสสะ) 6, มีมโนปวิจาร (ความนึกหน่วงทางใจ) 18, มีอธิษฐานธรรม (ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ) 4อันเป็นธรรมที่ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจึงเรียกเขาว่า ‘มุนีผู้สงบแล้ว’ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาแต่ทางสงบเท่านั้นนี้เป็นอุทเทสแห่งธาตุวิภังค์ 6 ประการ" ด้วยพุทธลีลาการแสดงธรรมแจกแจงโดยรายละเอียดในแต่ละหัวข้อ ๆ ว่า "เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น" พระเจ้าปุกกุสาติเมื่อได้ฟังแล้ว มีความชื่นชมยินดีจึงขอบวช แต่ในระหว่างที่เที่ยวหาบาตรและจีวรอยู่ ก็ถูกแม่โคขวิดตาย ด้วยเหตุแห่งบุรพกรรมในอดีตชาติของท่าน พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตรเป็นบัณฑิต ได้บรรลุธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว และเธอไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรมเพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 สิ้นไป ปุกกุสาติกุลบุตร จึงเป็นโอปปาติกเทพ จะนิพพานในโลกนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก” แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท Ep.60
- 4 คลังพระสูตร"คลังพระสูตร" เสนอเรื่องราวของพระเถระ 2 รูป โดยเรื่องแรกเป็นเรื่องของพระพักกุลเถระใน "พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร" เป็นพระเถระที่บวชมาตลอด 80 ปีโดยที่ท่านไม่เคยเกิดกามสัญญาใดๆ เลย …ครั้งหนึ่ง พระพักกุลเถระ พักอาศัยยู่ที่เวฬุวัน เมืองราชคฤห์ มีอเจลกัสสปะได้ถามพระเถระว่า "ตลอด 80 ปี ที่บวชมาท่านเสพเมถุนธรรมกี่ครั้ง" พระเถระจึงตอบแก่อเจลกัสสปะปริพาชกโดยละเอียด เรื่องที่ 2 เป็นเรื่องราวของพระนันทกะใน "นันทโกวาทสูตร" …กล่าวถึงเหตุการณ์ ณ พระวิหารเชตวันที่พระนันทกะได้ให้โอวาทแก่ภิกษุณีถึงความไม่เที่ยงของอายตนภายใน 6 ภายนอก 6 เหล่านั้นล้วนไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ได้เปรียบเทียบว่าเนื้อข้างในนั้นเป็นอายตนะภายใน ส่วนหนังข้างนอกเป็นอายตนะภายนอก 6 เนื้อล่ำในระหว่างเอ็นในระหว่างเครื่องผูกในระหว่างนั้นเป็นชื่อของนันทิราคะ มีดแล่โคเป็นปัญญาซึ่งใช้เถือแล่คว้านกิเลสในระหว่างสัญโญชน์เครื่องผูก …และ โพชฌงค์ 7 จะทำให้เราแยกอายตนะภายนอก – ภายใน และเครื่องผูกออกจากกันได้ และไม่เกิดการกลับกำเริบได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ขุดเพชรในพระไตรปิฏก Ep.31 , คลังพระสูตร Ep.5
- 4 คลังพระสูตรสืบเนื่องจากในช่วงเข้าใจทำ (ธรรม) และ ใต้ร่มโพธิบทของสัปดาห์นี้ได้กล่าวถึงเนื้อหาในรายละเอียดของเรื่องอริยสัจ 4 และ อาหาร 4 ไว้ จึงยก 2 พระสูตรหลักที่เกี่ยวข้องขึ้นมาประกอบเพื่อให้ได้ฟังบทพยัญชนะกัน "กีฏาคิริสูตร" ว่าด้วยเหตุการณ์ในกีฏาคีรีนิคม พระพุทธเจ้าตรัสสอนแก่เหล่าภิกษุถึงเรื่องของ คุณของการฉันอาหารน้อย, ความเจริญและความเสื่อมของกุศลธรรม/อกุศลธรรมในเวทนา 3, กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทและบุคคล 7 จำพวก ได้แก่ 1.อุภโตภาควิมุต 2. ปัญญาวิมุต 3. กายสักขี 4. ทิฏฐิปัตตะ 5. สัทธาวิมุต 6. ธัมมานุสารี 7. สัทธานุสารี) ตั้งแต่กายสักขีถึงสัทธานุสารีนั้น เป็นพระอริยบุคคลที่ยังไม่ถึงขั้นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าจึงยังทรงตรัสสอนให้ทำการด้วยความไม่ประมาท ส่วน อุภโตภาควิมุต และ ปัญญาวิมุต ท่านไม่ได้ตรัสสอน เพราะเป็นพระอรหันต์ผู้ทำกิจด้วยความไม่ประมาทอยู่แล้ว, การตั้งอยู่ในอรหัตตผลได้ด้วยการศึกษา การกระทำ การปฎิบัติ โดยลำดับ การดำรงอยู่ในอรหัตตผล [๑๘๓] ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวการบรรลุอรหัตตผลด้วยขั้นเดียวเท่านั้น แต่การบรรลุอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการบำเพ็ญสิกขาโดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญกิริยาโดยลำดับ[...]
- 4 คลังพระสูตรสื่บเนื่องมาจากในตอนที่แล้ว หลังจากพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงปฐมเทศนาที่มีชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์แล้ว ทำให้พระโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุเป็นโสดาบันด้วยเห็นว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา." จากนั้นได้ทรงแสดง อนัตตลักขณสูตร ซึ่งกล่าวถึง ความเป็นอนัตตาในขันธ์ 5 มีใจความว่า "สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาพึงตามเห็นด้วยปัญญาอันชอบในสิ่งนั้นตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา’ ก็อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป เบื่อหน่ายแม้ในเวทนา เบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร และเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะความคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมเกิดญาณหยั่งรู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ เธอย่อมรู้ชัดว่า ‘การเกิดสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่ออาการเป็นอย่างนี้ไม่ได้มีอีก” เหล่าปัญจวัคคีย์ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ในกาลต่อมา ได้ทรงแสดงธรรมเทศนาที่ชื่อว่า "อนุปุพพิกถา (ทาน ศีล เรื่องของสวรรค์ โทษของกาม และอานิสงส์ในการหลีกออกจากกาม) และอริยสัจ 4" โปรดแด่ ยสกุลบุตร บุตรเศรษฐีผู้เกิดความเบื่อหน่าย เดินออกจากเรือนพร่ำบ่นไปตลอดทางว่า "ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ" จนเมื่อพระพุทธเจ้าทรงแผ่ญาณเพื่อตรวจดูเวไนยสัตว์ผู้ที่พอจะบรรลุได้ พบยสกุลบุตรที่กำลังเดินมาใกล้[...]
- 4 คลังพระสูตรสืบเนื่องในเดือน อาสาฬหะ ซึ่งมีความสำคัญในการที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คืือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เอาไว้ จึงจะได้นำเรื่องราวตั้งแต่วันวิสาขะมาจนถึงวันอาสาฬหบูชา เป็นช่วงเวลา 2 เดือนหลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วมาจนถึงการแสดงธรรมแก่ปัญจวัคคีย์ โดยนำเสนอในหัวข้อเรื่อง "ความให้เป็นไป คือ หมุนซึ่งกงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม"…อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตตะนัง คัดบางส่วนมาจาก…ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ …ข้อนี้แลเป็น ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหาภวตัณหา วิภวตัณหา. …ข้อนี้แลเป็น ทุกขนิโรธอริยสัจคือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน. …ดูข้อนี้แลเป็น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ… …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา[...]
- 4 คลังพระสูตรยก 2 พระสูตร ปรารภท่านพระมหาโกฏฐิตะและพระสารีบุตรได้พูดคุยสนทนาธรรมกันแบบเวทัลละ (การถามตอบที่ให้เกิดความรู้และความพอใจแล้วซักถามยิ่ง ๆ ขึ้นไป) ซึ่งเป็นความงดงามในการสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติของพระมหาสาวกทั้งสองรูปนี้ผู้มีความฉลาดล้ำ…เมื่อคนที่มีปัญญา 2 คนคุยกัน เราต้องยิ่งจดจ่อให้ดี มหาเวทัลลสูตร ว่าด้วยเรื่อง ปัญญากับวิญญาณ, เวทนา สัญญา และวิญญาณ, ประโยชน์แห่งปัญญาและเหตุเกิดสัมมาทิฏฐิ, ภพและฌาน, อินทรีย์ 5 และปัจจัยเจโตวิมุตติ นฬกลาปิยสูตร ว่าด้วยเรื่อง ปัจจัยให้มีชราและมรณะ พระมหาโกฏฐิตะได้ยกเรื่องนี้ขึ้นถาม พระสารีบุตรได้ตอบพร้อมยกอุปมากำไม้อ้อ 2 กำ ขึ้นอธิบายอย่างแยบคาย พระมหาโกฏฐิตเถระจึงได้กล่าวแสดงชื่นชมยินดีในสุภาษิตของท่านพระสารีบุตรใน 36 เรื่องนี้ "ถ้า ภิกษุแสดงธรรม เพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชราและมรณะ ชาติ ภพ อุปาทาน ตัณหา เวทนา ผัสสะ สฬายตนะ นามรูป วิญญาณ สังขาร อวิชชา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก ถ้า ภิกษุปฏิบัติ เพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชราและมรณะ[...]
- 4 คลังพระสูตร"มาคัณฑิยสูตร" เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมในเรื่องรสอร่อยและโทษของกาม อุบายเครื่องนำออกจากกาม แก่มาคัณฑิยะปริพาชก โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้ จิตของเรานี้ มันหลอกเราอยู่ หลอกให้เราเข้าไปยึดถือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตัวตน ความยึดถือนี้คือ อุปาทาน สิ่งที่หลอกเราอยู่นั้นคือ อวิชชา จิตที่มีอวิชชาฝังอยู่ ก็หลอกเรานั่นเอง สิ่งที่เป็นความไม่มีโรคไม่ใช่สุขภาพดี แต่สิ่งที่ไม่มีโรคนั้นก็คือการปราศจากาม จะเห็นความไม่มีโรคได้ เข้าถึงนิพพานคือความดับเป็นขั้น ๆ ได้ ต้องเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 "…ท่านควรคบสัตบุรุษ เพราะเมื่อใดท่านคบสัตบุรุษ เมื่อนั้นท่านจักได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ เมื่อท่านได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ท่านจักปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อท่านปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ท่านจักรู้เอง เห็นเองว่า โรค ฝี ลูกศร คือ อันนี้ โรค ฝี ลูกศร จะดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ เพราะอุปาทานของเรานั้นดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์[...]
- 4 คลังพระสูตรสืบเนื่องมาจากในรายการ ช่วงตามใจท่าน Ep.47 ที่ได้กล่าวถึงในเรื่องของการแจกแจงกรรมที่มาใน มหากัมมวิภังคสูตร จึงได้ยก 2 พระสูตรนี้ขึ้นมาเพื่ออธิบายขยายความเพิ่มเติม ทำให้มีความรู้ความเข้าใจมีความกว้างขวางมากยิ่งขึ้น จูฬกัมมวิภังคสูตร เป็นพระสูตร (เล็ก) ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่สุภมานพโตเทยบุตร เพื่อตอบปัญหาในเรื่องเหตุที่ทำให้สัตว์มีอายุสั้น มีอายุยืน, มีโรคมาก มีโรคน้อย เป็นต้น และสัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวหรือปราณีตต่างกัน มีรายละเอียดดังนี้ เหตุที่ทำให้อายุสั้น เพราะฆ่าสัตว์, เหตุที่ทำให้อายุยืน เพราะไม่ฆ่าสัตว์ เหตุที่ทำให้มีโรคมาก เพราะเบียดเบียนสัตว์, เหตุที่ทำให้มีโรคน้อย เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์ เหตุที่ทำให้มีผิวพรรณทราม เพราะเป็นผู้มักโกรธ, เหตุที่ทำให้ผิวพรรณผ่องใส เพราะเป็นผู้ไม่โกรธ เหตุที่ทำให้มีศักดาน้อย เพราะมีใจริษยา, เหตุที่ทำให้มีศักดามาก เพราะมีใจไม่ริษยา เหตุที่ทำให้เป็นคนยากจน เพราะเป็นคนตระหนี่ ไม่เคยบริจาค, เหตุให้เป็นคนร่ำรวย เพราะเป็นคนมีน้ำใจ รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น เหตุที่ทำให้เกิดในตระกูลต่ำ เพราะเป็นคนไม่มีสัมมาคารวะ, เหตุที่ทำให้เกิดในตระกูลสูง เพราะเป็นคนมีสัมมาคารวะอ่อนน้อมถ่อมตน เหตุที่ทำให้เกิดเป็นคนโง่เขลา มีปัญญาทราม เพราะเป็นคนไม่ใฝ่ศึกษา[...]
- 4 คลังพระสูตร“ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ๆ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ? อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้”…สัมมาทิฏฐิสูตร สืบเนื่องมาจากในรายการ ช่วงตามใจท่าน Ep.46 ที่ได้กล่าวถึงในเรื่องของ "สัมมาทิฏฐิ" จึงยก 2 พระสูตรนี้ขึ้นมา เพื่ออธิบายขยายเพิ่มเติม มหาจัตตารีสกสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงสัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุมีองค์ประกอบ คือ ความที่จิตเป็นอารมณ์อันเดียว ประกอบแล้วด้วยองค์ 7 คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และในบรรดาองค์ทั้ง 7 สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน (องค์นำ) ซึ่งแต่ละอย่างจะมีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน จนกระทั่งทำให้เกิดเป็น สัมมาญาญะ คือความรู้ชอบ และ สัมมาวิมุติ คือความหลุดพ้น และได้ทรงแสดงธรรม 40 อย่าง แบ่งออกเป็นฝ่ายกุศล 20 ฝ่ายอกุศล 20 ชื่อธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ สมณะหรือพราหมณ์ที่จะติเตียนคัดค้านธรรมบรรยายนี้ ย่อมถึงความน่าตำหนิ สัมมาทิฏฐิสูตร เป็นพระสูตรที่พระสารีบุตรกล่าวอธิบายถึง[...]
- 4 คลังพระสูตรมาถึงตอนจบของ ปายาสิราชัญญสูตร ที่สุดท้ายแล้วพระเจ้าปายาสิก็ยอมละมิจฉาทิฎฐิ ด้วยการยกอุปมาอุปไมยของพระกุมารกัสสปะใน 4 ข้อขึ้นมาปรับแก้ทิฏฐิมานะที่ไม่ยอมเปลี่ยนความเห็นผิดนั้นเพียงเพราะกลัวคนอื่นจะมาติเตียน หลังจากที่ตั้งไว้ในความเห็นที่ถูกต้องและขอถึงความเป็นอุบาสกแล้ว พระเจ้าปายาสิจึงได้ตรัสถามถึงวิธีการบูชามหายัญ พระกุมารกัสสปะกล่าวให้เห็นถึงความดีที่ควรต้องกระทำ ซึ่งนั่นคือ "การบูชาด้วยการให้ทาน" ในจุดที่พระเจ้าปายาสิได้สั่งให้อุตตรมานพเป็นผู้จัดการให้ทาน จะเห็นถึงลักษณะวิธีการให้ทานนั้นจะมีผลมีอานิสงส์ที่ต่างกัน ยืนยันผลของทานได้จากการที่พระควัมปติได้พบกับเทพบุตรปายาสิที่วิมานชื่อเสรีสกะอันว่างเปล่า…ถ้าให้ทานด้วยความศรัทธา ด้วยความเคารพ ด้วยอ่อนน้อม เป็นทานให้ด้วยมือตน ให้ของที่ไม่เป็นเดน ระลึกถึงผลของทานให้ถูกต้อง นี้เป็นทานที่ดีมาก เป็นสัปปุริสทาน เป็นทานของสัตบุรุษ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร Ep.48 และ Ep.47
- 4 คลังพระสูตรจากตอนที่ 1 แม้พระกุมารกัสสปะได้ยกอุปมาต่าง ๆ มาปรับแก้ทิฏฐิความเห็นของพระเจ้าปายาสิ แต่พระองค์ก็ทรงไม่ยอมละความเห็นผิดนั้น กลับยกวิธีการทดลองหาชีวะ (จิต) ที่ไม่แยบคายขึ้นมาโต้ใน อีก 4 ข้อ พระกุมารกัสสปะก็ได้ยกอุปมาขึ้นมาแก้อีก จนพระเจ้าปายาสิจำนนด้วยเหตุผล ไม่อาจหาอะไรมาแย้งได้ แต่ด้วยพระองค์กลัวคนจะเยาะเย้ยว่าตนโง่เขลา จำต้องยึดถือในมิจฉาทิฎฐินั้นต่อไป พระกุมารกัสสปะจึงได้ยกอุปมา 4 ข้อมาชี้แจง และขอให้ทรงละมิจฉาทิฏฐินั้นเสีย เพราะนั้นไม่เป็นประโยชน์แก่ใครเลย กลับจะต้องประสบความเสื่อม แล้วยังทำให้ผู้ดำเนินตามประสบความพินาศด้วย ในที่สุดพระเจ้าปายาสิจะยอมละทิฏฐิที่ไม่ดีนั้นได้หรือไม่ ติดตามได้ในตอนต่อไป แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร ใน Ep.47
- 4 คลังพระสูตรเป็นเรื่องราวในตอนต้นที่มาใน "ปายาสิราชัญญสูตร" กล่าวถึง พระเจ้าปายาสิผู้ที่มีทิฏฐิชนิดที่จะไม่สามารถสลัดตนเองออกจากทุกข์ได้ ด้วยความเห็นผิดไปว่า โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของสัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี พระกุมารกัปปะจึงได้ยกอุปมาอุปไมยขึ้นมาเปรียบเทียบปรับแก้ทิฏฐินั้นให้ แม้อย่างนั้นพระเจ้าปายาสิก็ยังไม่ลงใจเชื่อ ยังมีมานะ ถือเอาความเห็นผิดของตนต่อไป พระกุมารกัสสปะจะสามารถปรับทิฏฐิความเห็นของพระเจ้าปายาสิ จากมิจฉาทิฏฐิให้กลับมามีสัมมาทิฏฐิได้อย่างไร? ติดตามกันได้ในคลังพระสูตรตอนหน้า
- 4 คลังพระสูตรความทุกข์จริง ๆไม่มี เป็นของสมมุติเอา จะมีความทุกข์ได้ต้องอาศัยเหตุเกิด ความจริงที่เราปฏิเสธไม่ได้เลย คือ ความที่ถ้ามันไม่เที่ยง มีความเปลี่ยนแปลงจากอย่างนี้เป็นอย่างอื่นได้ ความไม่เที่ยงนั้น คือ สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก ความทนอยู่ได้ยากเรียกว่าทุกข์ "ทุกข์" แปลว่า สิ่งที่ทนอยู่ได้ยากในสภาวะใดสภาวะหนึ่ง สภาวะใดสภาวะหนึ่ง มันจึงต้องมีเหตุของมันเกิด เหตุของมัน คือ สมุทัย สาวไป ๆ จะไปจบกันอยู่ที่ตัณหา ถ้าเราเข้าใจเรื่องความทุกข์อย่างถูกต้องว่า นี่เป็นทุกข์ไม่ใช่สุข ตัณหาเป็นเหตุของทุกข์ ไม่ใช่เครื่องมือที่จะให้เรามีความสำเร็จ มรรคเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเรามีความเข้าใจที่ถูกต้องเต็มที่แล้ว เหมือนกับเราสร้างพื้นฐานไว้ดี ทำชั้นที่ 1 แล้วก็ทำชั้นที่ 2 ขึ้นไป จะทำให้การตรัสรู้ธรรม ความเข้าใจธรรมะของเรามีขึ้นได้
- 4 คลังพระสูตรภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติ ๓ อย่างนี้ ไม่พึงมีอยู่ในโลกแล้วไซร้ ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้นในโลก เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ก็ไม่ต้องรุ่งเรืองไปในโลก ธรรมชาติ ๓ อย่าง นั้นคือ ความเกิด ความแก่ และความตาย “โธ่เอ๋ย ความแก่อันชั่วช้าเอ๋ย ความแก่อันทำความน่าเกลียดเอ๋ย กายที่น่าพอใจ บัดนี้ ก็ถูกความแก่ย่ำยีหมดแล้ว แม้ใครจะมีชีวิตอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี ทุกคนก็ยังมีความตายเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ความตายไม่ยกเว้นให้แก่ใคร ๆ มันย่ำยีหมดทุกคน” Time Index [00:56] ธรรมชาติ 3 ประการ ที่ทำให้พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นบนโลก [07:21] มหาปุริสลักขณะ 32 ประการ [15:15] ทรงออกผนวช และบำเพ็ญทุกรกิริยา [21:50] หนทางแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า [24:00] การตั้งความเพียรอันไม่ถอยกลับ และพระมหาสุบิน 5 อย่าง [42:46] ช่วงเวลาใกล้การปรินิพพาน [46:51] พรรษาสุดท้ายของพระพุทธเจ้า และการอาพาธของพระองค์[...]
- 4 คลังพระสูตรพระพุทธเจ้าทรงตรัสกับโปตลิยคฤหบดี ถึงเรื่องธรรม 8 ประการ ที่เป็นไปเพื่อการตัดขาดซึ่งโวหาร และอุปมาถึงโทษของกาม 7 ข้อ หลังจากที่โปตลิยคฤหบดี ฟังพระสูตรนี้แล้ว ก็สรรเสริญพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า และประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต กาม เป็นสิ่งที่มีโทษมาก มีความคับแค้นมาก เป็นสิ่งที่ควรจะหลีกเลี่ยง ให้มาเจริญความสุขที่เป็นไปในภายใน ทำสมาธิ ทำปัญญาให้เกิดขึ้น ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุติ เป็นสิ่งที่แสดง บ่งบอก ถึงความเป็นผู้สงบ ความเป็นสมณะในธรรมวินัยนี้ ในเรื่องของความศรัทธา ความเคารพ ความตั้งมั่น เราประดิษฐานให้ดี ตั้งไว้ให้ถูก แล้วเราจะมีความเจริญ ความงอกงาม ความเพิ่มพูนในธรรมในใจของเราได้ Time Index [00:43] โปตลิยคหบดี [05:13] เครื่องตัดโวหาร 8 ประการ [14:18] อุปมากาม 7 ข้อ [28:56] โปตลิยคหบดีแสดงตนเป็นอุบาสก [34:47] อธิบายเนื้อหาโปตลิยสูตร
- 4 คลังพระสูตรสัมมาอาชีวะมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ประกอบด้วยอาสวะ และ สัมมาอาชีวะแบบอริยะ หากมีการเลี้ยงชีวิตดีอยู่สม่ำเสมอ รายจ่ายก็จะไม่ท่วมรายรับ จะไม่เกิดความฝืดเคืองในการใช้จ่ายทรัพย์ Time Index [03:42] สัมมาอาชีวะในทางอริยะเป็นอย่างไร [05:59] การเลี้ยงชีพชอบทำให้เกิดความสันโดษ [09:38] การดำรงชีพชอบในทิศทั้ง 6 ของฆราวาส [25:10] การดำรงชีพในชั้นต่างๆ ของฆราวาส [34:50] การเป็นผู้เลี้ยงชีวิตดีอย่างสม่ำเสมอ [42:50] การเลี้ยงชีพชอบตามหลักอริยวงศ์
- 4 คลังพระสูตรอากังเขยยสูตร อากังเขยยะ แปลว่า ความปรารถนา , ความจำนง การที่เราจะสมปรารถนาตามคำหวังโดยธรรมได้เมื่อเราทำตามด้วยศีล ในผล 17 อย่างที่หวังไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง วัตถูปมสูตร อุปกิเลส 16 อย่างที่ทำให้เกิดความเศร้าหมองของจิต ประกอบด้วย อภิชฌาวิสมโลภะ [ละโมบไม่สม่ำเสมอ คือ ความเพ่งเล็ง], พยาบาท [ปองร้ายเขา], โกธะ [โกรธ], อุปนาหะ [ผูกโกรธไว้], มักขะ [ลบหลู่คุณท่าน], ปลาสะ [ยกตนเทียบเท่า], อิสสา [ริษยา], มัจฉริยะ [ตระหนี่], มายา [มารยา], สาเฐยยะ [โอ้อวด], ถัมภะ [หัวดื้อ], สารัมภะ [แข่งดี], มานะ [ถือตัว], อติมานะ [ดูหมิ่นท่าน], มทะ [มัวเมา], ปมาทะ [เลินเล่อ] Time Index [00:19] พระสูตรอากังเขยสูตร – ข้อที่พึงหวังได้[...]
- 4 คลังพระสูตรมหาสัจจกสูตร สัจจกนิครนถ์ทูลถามปัญหาว่าด้วยกายภาวนาและจิตตภาวนา พระพุทธองค์จึงทรงตรัสสอนในเรื่องเวทนา, อุปมา 3 ข้อ, ความต่างกันในการบำเพ็ญทุกกรกิริยา, การบรรลุวิชชาที่ 2 และความเป็นผู้หลงและไม่หลง เมื่อสัจจกนิครนถ์ได้ฟังธรรมอันน่าอัศจรรย์ ที่ไม่เคยฟังมาก่อน ได้กล่าวสรรเสริญชื่อชมพระผู้มีพระภาค Time Index [00:17] สัจจกนิครนถ์ทูลถามปัญหา ว่าด้วยกายภาวนาและจิตตภาวนา [12:05] ทรงชี้แจงเรื่องเวทนา [17:16] อุปมา ๓ ข้อ [18:47] ความต่างกันในการบำเพ็ญทุกกรกิริยา [25:48] ตรัสความเป็นผู้หลงและไม่หลง [26:54] สัจจกนิครนถ์สรรเสริญพระผู้มีพระภาค [32:26] อธิบายเนื้อหาทั้งหมดใน “มหาสัจจกสูตร” [58:10] สรุป กายภาวนา กับ จิตภาวนา ไม่สามารถแยกภาวนาได้ เพราะกายภาวนาในที่นี้คือ วิปัสสนา ส่วนจิตภาวนาคือ สมถะ ที่ต้องภาวนาควบคู่กันไปทั้งกาย-จิตและไม่เอาทั้งสุขและทุกข์
- 4 คลังพระสูตรอรณวิภังคสูตร คำว่า อรณ (อะ ระ ณะ) คือการไม่มีกิเลส ไม่มีข้าศึก ก็มาจากคำเดียวกับอรหันต์ คือผู้ไม่มีกิเลส ไกลจากกิเลส ส่วนคำว่า วิภังค คือ การแยกแยะแจกแจง มาจากคำว่าผู้มีพระภาค ที่มีหน้าที่จำแนกแจกแจงแบ่งภาค เรื่อง อรณวิภังคสูตร คือ เรื่องที่พระพุทธเจ้าแบ่งแยกธรรมออกเป็น 8 อย่าง โดย 8 อย่างนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ดี (สิ่งที่ควรทำ) ส่วนที่ไม่ดี (สิ่งที่ควรละ) สามารถจำแนกได้ดังนี้ สิ่งที่ดีที่ควรทำ คือ 1. ไม่เพียรแสวงหาซึ่งกามสุข 2. ไม่เพียรทรมานตน 3. อริยมรรคมีองค์แปด(มีอยู่ส่วนเดียว คือ ส่วนที่ควรทำ) 4. ไม่ยกยอ ไม่ตำหนิใคร แต่พึงแสดงธรรมเท่านั้น 5. ประกอบความสุขที่เป็น เนกขัมมสุข 6. พูดในสิ่งที่เป็นจริง มีประโยชน์ทั้งต่อหน้าและลับหลังผู้อื่น 7.[...]
- 4 คลังพระสูตรการทานอาหารมื้อเดียวทำให้เป็นผู้มีโรคน้อย ร่างกายสดชื่น ท้องอิ่มแน่นเกินไป ทำให้กุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อม ผู้ไม่ทำตามสิกขาอย่างดี จะถูกพระพุทธเจ้าติเตียน เหล่าภิกษุ หรือ แม้แต่เหล่าเทวดาก็ติเตียน คุณสมบัติของม้าอาชาไนย ซึ่งเป็นยอดม้าประกอบด้วยคุณสมบัติ 10 ข้อ ใน ภัททาลิสูตร ท่านพระภ้ททาลิเป็นตัวอย่างให้เห็นว่าแม้พระพุทธเจ้าเมตตาบอกสอน ก็ไม่สนใจจำไม่ได้ก็ไม่สามารถทำให้บริบูรณ์ในสิกขาได้ ก็ทำให้เกิดการอ่อนแอ ท้อแท้ ท้อถอย ในพระสูตรนี้เสนอเกี่ยวกับที่พระพุทธเจ้าชี้แนะบอกกสอนว่า การฉันอาหารเพียงมื้อเดียวแล้วลุกขึ้นโดยไม่ฉันอีกนั้นมีคุณมาก ทำให้เบากาย ไม่เมาอาหาร แล้วพระภัททาลิได้แสดงความอุตสาหะว่าไม่สามารถทำได้ เพราะสมัยก่อนเกิดเป็นกาหลายชาติ กินทั้งวัน กินอยู่เรื่อย พระภัททาลิก็เอาแต่ปฏิเสธว่าทำตามสิกขาบทไม่ได้ พระพุทธเจ้าจึงชี้ให้เห็นโทษจากการไม่ทำตามสิกขา ถ้าหากพระพุทธเจ้าชี้ให้ไปทางไหน บุคคลผู้มีศรัทธามีความรักยิ่งในพระพุทธองค์จะก้าวตามทางมรรค ตามสิกขาบทที่ท่านได้บอกสอนบัญญัติไว้…ส่วนใครก็ตามที่ไม่สามารถทำตามสิกขาบทได้ก็จะถูกติเตียนได้ เหมือนกรณีของท่านพระภัททาลิที่ได้ถูกพระพุทธเจ้า หมู่ภิกษุ และเทวดาคอยติเตียน
- 4 คลังพระสูตรพระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ภัททาลิสูตร ถึง คุณแห่งการฉันอาหารหนเดียว ว่า ย่อมรู้สึกคุณ คือความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กายเบา มีกำลัง และอยู่สำราญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายจงมา จงฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียวเถิด ด้วยว่าเมื่อเธอทั้งหลายฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว จักรู้สึกคุณคือความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กายเบา มีกำลัง และอยู่สำราญ.
- 4 คลังพระสูตรฆฏิการสูตร เป็นเรื่องราวของนายช่างหม้อชื่อ “ฆฏิการะ” ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นในสมัยพระพุทธเจ้าสมณโคดม แต่เป็นสมัยพระพุทธเจ้ากัสสปะ นายฆฏิการะมีความสำคัญอย่างมากเพราะเป็นยอดอุปัฏฐาก และมีเพื่อนชื่อโชติปาละมานพคือพระพุทธเจ้าของเรา สมัยเป็นเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ นายฆฏิการะได้เป็น “อนาคามี” เพราะมีความเห็นที่ถูกต้องในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่มีความสงสัยในอริยสัจ 4 ฆฏิการะเห็นว่า นายโชติปาละ ผู้เป็นเพื่อน เป็นคนฉลาดแต่มีศรัทธาคลาดเคลื่อน ถ้าได้ฟังธรรมแล้วจะมีความเข้าใจที่ถูกต้องได้ จึงชักชวนกันไปฟังธรรมของพระพุทธเจ้ากัสสปะ แต่กว่าจะชวนไปได้ก็ต้องชวนถึง 3 ครั้ง โชติปาละมานพถึงจะยอมไปฟังธรรมของพระพุทธเจ้ากัสสปะ และ โชติปาละมานพก็สามารถปรับทิฐิความเห็นของตนให้ถูกต้องได้ และตัดสินใจออกบวช ส่วนนายช่างหม้อก็คอยอุปัฏฐากดูแลพระเจ้าพระสงฆ์ ในพระพุทธเจ้ากัสสปะ นายฆฏิการะจะออกไปหาของในป่าแต่เช้า ก่อนออกไปก็จะตระเตรียมอาหารให้พ่อแม่ที่แก่ตาบอดไว้ในกระเช้า ครั้งที่พระพุทธเจ้ากัสสปะมาที่เรือนถามหานายฆฏิการะ พ่อแม่ของนายฆฏิการะทราบว่าพระพุทธเจ้ากัสสปะมาบิณฑบาตรก็นำอาหารนั้นถวาย และเมื่อนายช่างหม้อกลับมา เห็นว่าพ่อแม่ไม่ได้กินอาหาร แล้วทราบว่าพระพุทธเจ้ากัสสปะเสด็จมาและรับอาหารของตนไป ก็เกิดความปีติดีใจอย่างยิ่ง ด้วยความรักเคารพศรัทธาในพระพุุทธเจ้ากัสสปะ จิตใจแบบนี้เป็นจิตใจที่ไม่ขาดแคลน ไม่มีความอัตคัดตระหนี่ใด ๆ เลย จิตที่มีปีติสุขตลอดเวลาที่ได้ดูแลพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นกับนายช่างหม้อตลอด 3 เดือน และรักษาศีล 10 ไม่รับทองและเงิน ใช้วิธีแลกเปลี่ยนสินค้ากันแทนการรับเงิน คือ เอาหม้อแลกกับผลไม้ ถั่ว งา และข้าว[...]
- 4 คลังพระสูตรกว่าที่พระพุทธเจ้าของเราจะมาเป็นพระพุทธเจ้าได้ต้องบำเพ็ญเพียรตบะมาถึง 4 อสงไขย กับอีกแสนมหากัปป์ และเป็นช่วงที่ได้รับการพยากรณ์ว่าจะสำเร็จเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ก็ต้องบำเพ็ญบารมีมาก่อนหน้านี้อีก 20 อสงไขยจึงจะได้รับการพยากรณ์ การเป็นพระพุทธเจ้า ไม่ใช่จะมีขึ้นมาเอง ต้องอาศัยการใช้เวลานาน ใช้ความอดทนอย่างสูง ใช้ปัญญา ทาน ศีล และทุกอย่าง ใช้ความลำบาก มากในการได้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กว่าจะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นเป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ ให้รีบเร่งทำความเพียร เพราะความตายมันไม่แน่ไม่นอน บางทีนอนไปคืนนี้อาจจะไม่ลุกแล้วก็ได้ การเป็นพระพุทธเจ้า ไม่ใช่จะมีขึ้นมาเอง ต้องมีการเตรียมความพร้อมอย่างมาก กว่าที่เราจะสวดกันได้ว่า อิติปิโส ภะคะวา ฯ นั่นคือคุณของพระพุทธเจ้าหรือพุทธคุณ สิ่งที่ต้องการอธิบายคือ คำว่า “อิติปิ” เป็นภาษาบาลี แปลว่า แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ จึงทำให้สำเร็จเป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ จึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ…และเพราะเหตุอย่างนี้ ๆ จึงเป็นครูผู้สอนของมนุษย์และเทวดาทั้งหลายฯ
- 4 คลังพระสูตรพระพุทธเจ้าทรงตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย เกี่ยวกับเรื่องการบำเพ็ญบุญบารมีของพระองค์ในอดีตชาติ เพื่อสั่งสมบารมีเป็นพระพุทธเจ้าตั้งแต่เป็นโชติปาลมานพ, พระเจ้ามหาสุทัศน์, พระเวสสันดร, ช่างทำรถของพระเจ้าปเจตน, อกิตติดาบส ฯ
- 4 คลังพระสูตรมาณพเหล่าใดอันเทวทูตตักเตือนแล้วยังประมาทอยู่ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน สัตว์บุรุษเหล่าใด อันเทวทูตตักเตือนแล้ว ไม่ประมาทในอริยธรรมในกาลไหน ๆ ไม่ยึดมั่นถือมั่นจึงหลุดพ้นในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งความเกิดและความตาย พระพุทธเจ้าตรัสแก่ภิกษุเทวทูตที่พญายมจะถามผู้ตกอบายทุคติวินิบบาตเกี่ยวเทวทูต ว่าเคยเห็นหรือไม่ บุคคลที่ประมาทไม่เคยทำความดีทางกาย วาจา ใจ พญายมก็จะสั่งให้นายนิรยบาลพาไปลงโทษ
- 4 คลังพระสูตรเทวธาวิตักกสูตร กล่าวถึง การที่พระพุทธเจ้าแยกความวิตกออกเป็น 2 ส่วน คือ ทรงแยกกามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก นี้ออกเป็นส่วนหนึ่ง และแยกเนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตก นี้ออกเป็นส่วนที่ 2 และทรงกล่าวถึงทางที่ปลอดภัยและไม่ปลอดภัย “จิตตริตรึกนึกไปในเรื่องใดมาก จิตเราก็จะน้อมเอนเอียงไปในเรื่องนั้น ๆ” จำคำนี้ไว้ให้ขึ้นใจเลย เรื่องดี ๆ ก็เป็นอย่างนี้ ท่านผู้ฟังที่ฟังธรรมอยู่เรื่อย อ่านหนังสือธรรมะอยู่เรื่อย คิดใคร่ครวญเรื่องธรรมอยู่บ่อย ๆ จิตก็จะน้อมไปด้วยอาการอย่างนั้น ๆ จะมีความเมตตา มีความเอื้อเฟื้อ มีความใจเย็น มีความซื่อสัตย์ มีความโอบอ้อมอารีจะอยู่ในใจของคนที่ตริตรึกในเรื่องที่เป็นไปในเรื่องกุศลธรรมอยู่เรื่อย ๆ เราเสพสื่ออะไรเราต้องดูให้ดี เราคบกับเพื่อนแบบไหนเราพิจารณาให้ชอบ เราดูข้อมูลอะไรก็ตามคิดเรื่องอะไรก็ตามให้เป็นไปในทางกุศลธรรม
- 4 คลังพระสูตรพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า “ขอเธอจงเป็นธรรมทายาทของเราเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทของเราเลย” การเป็น “ธรรมทายาท” ทั้งพระศาสดาและสาวกก็จะไม่ถูกวิญญูชนติเตียน เมื่อสาวกทั้งหลายศึกษาความสงัดตามพระศาสดา สาวกทั้งหลายเหล่านั้นจะไม่เป็นผู้มักมาก ไม่เป็นผู้ย่อหย่อนทอดธุระ ไม่เป็นผู้ท้อถอย ความโกรธและความผูกโกรธ ความลบหลู่และความตี ความริษยา-ความตระหนี่ ความเจ้าเล่ห์โอ้อวด ความหัวดื้อแข่งดี ความถือตัวดูหมิ่น ความเมาความเลินเล่อ เป็นธรรมลามก การเดินทางตามมรรค 8 เป็นทางสายกลางที่ทำให้ละธรรมลามกไปถึงการตรัสรู้ รู้ยิ่งรู้พร้อมมรรคผลนิพพานได้
- 4 คลังพระสูตรสัมมาทิฐิ คือ ความเห็นที่จะทำให้เกิดความสงบระงับของกิเลสที่อยู่ในใจ พระพุทธเจ้าของเรามีความพยายามอย่างมากที่หาหนทางที่จะนำไปสู่ความเกษมแก่คนจำนวนมาก สนังกุมารพรหม คือ พระนิยตโพธิสัตว์ที่ได้รับการพยากรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ครั้งหนึ่งสนังกุมารพรหม (พรหมมีอายุขัยยืนยาวนาน) ได้มีโอกาสพบพระพุทธเจ้าของเราสมัยที่เป็นพราหมณ์ มหาโควินทพราหมณ์ถามสนังกุมารพรหมว่าจะทำอย่างไร ธรรมะอะไรจะให้เข้าถึงพรหมโลกอันเป็นอมตะได้ กลิ่นชั่วร้ายที่สนังกุมารพรหมกล่าวถึง มี 14 อย่างคือ ความโกรธ, พูดเท็จ, ฉ้อโกง, ประทุษร้ายมิตร, ตระหนี่, ดูหมิ่น, ริษยา, ปรารถนาลามก, ลังเลเคลือบแคลง, การเบียดเบียนผู้อื่น, ความโลภอยากได้, ความคิดประทุษร้าย, ความมัวเมา, และความหลง เมื่อมีแล้วจะต้องลงไปอบาย อริยมรรคมีองค์ 8 คือ ทางเพื่อให้ถึงความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด รู้ยิ่งรู้พร้อม เพื่อนิพพาน ใน มหาโควินทสูตร เป็นเรื่องของพระพุทธเจ้าที่ชาติหนึ่งเคยเกิดเป็น มหาโควินทพราหมณ์ และทำหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยม ได้มีการเล่าเรื่องราวครั้งก่อน ๆ ของพระองค์โดยสนังกุมารพรหมว่า พระพุทธเจ้ามีความเป็นไปอย่างไรในแต่ละชาติ เรื่องราวเหล่านี้เริ่มต้นที่วันออกพรรษาว่า มีการประชุมของเหล่าเทวดา รวมถึงเหล่าเทวดาจตุมหาราชิกาเข้าประชุมในวันนั้นด้วย เวลาที่ผู้คนรักษาศีลไปวัด ปฏิบัติธรรม บูชาพระด้วยดอกไม้ ก็จะมีคนที่เก็บดอกไม้ไป นั่นก็คือ “คนธรรพ์”[...]
- 4 คลังพระสูตรมหาโควินทสูตร เป็นตอนที่สนังกุมารพรหมได้กล่าวถึง ท่านมหาโควินทฯ ที่เป็นพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ว่าท่านมหาโควินทฯ มีความเป็นมาอย่างไรบ้าง เพราะเหตุใดท่านมหาโควินทฯ จึงได้ออกบวช และเมื่อตายไปก็ไปจุติบนพรหมโลก พระพุทธเจ้าตรัสกับปัญจะสิกขะถึงพรหมจรรย์เพื่อความเบื่อหน่ายในโลก นั่นคือ มรรค 8 ที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัดและตรัสรู้เพื่อนิพพาน
- 4 คลังพระสูตรมหาโควินทสูตร เป็นพระสูตรที่ปรารภเหล่าเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ที่นั่งประชุมกันในสุธรรมาสภา ท้าวสักกะจอมเทพทรงยกพระคุณตามที่มีจริง 8 ประการของพระผู้มีพระภาคขึ้นแสดงแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ ประกอบด้วย 1) ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลกฯ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย 2) พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสดีแล้วฯ 3) ทรงบัญญัติไว้ดีแล้วว่านี้กุศล มีโทษ/ไม่มีโทษ ควรเสพ/ไม่ควรเสพ เลว/ประณีตส่วนเทียบธรรมดำและธรรมขาว 4) ทรงบัญญัตินิพพานคามินีปฏิปทา 5) ทรงเป็นผู้ยินดีอยู่พระองค์เดียว 6) ทรงปราศจากความเมาเสวยพระกระยาหาร 7) ทรงตรัสอย่างใดทำอย่างนั้น ทำอย่างใดตรัสอย่างนั้น และ 8) ทรงข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความคลางแคลง มีความดำริถึงที่สุด Time index [05.22] พระคุณตามความเป็นจริง 8 ประการ [18.25] เรื่องสนังกุมารพรหม [28.52] อธิบายพระสูตรช่วงที่ 1 “พระคุณตามความเป็นจริง 8 ประการ” [36.28] ท้าวสักกะเทวราช กล่าวสุนทรพจน์ว่า “..ที่เหล่าพวกเทพมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาได้ เพราะพระผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน..” เพราะมีความดีของพระตถาคตและความดีของพระธรรม [47.06] มรรคกับนิพพาน ทางที่ให้ไปถึง คือ มรรคกับนิพพาน มันเชื่อมกันอย่างดี [50.22] พระพุทธเจ้าหมดสิ้นความสงสัย (วิจิกิจฉา) รู้หมดทุกอย่าง รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
- 4 คลังพระสูตรพระพุทธเจ้าเป็นครูผู้สอนของเทวดา และ มนุษย์ทั้งหลาย พระเจ้าพิมพิสารไปเกิดเป็น ชนวสภยักษ์ (บริวารของท้าวเวสสุวรรณ) มีคุณธรรมขั้นสกทาคามี เสียงของพรหมมีคุณสมบัติ 8 อย่าง คือ แจ่มใส, ชัดเจน, นุ่มนวล, น่าฟัง, เสียงกลมกล่อม, เสียงไม่แตกพร่า, มีความลึกซึ้ง , ไม่แตกพร่า สนังกุมารพรหม คือ โพธิสัตว์ที่ได้รับการพยากรณ์แล้วว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าในกาลข้างหน้า ชาวมคธมีคติที่ไปเป็นโสดาบันอยู่บนสวรรค์ถึง 2,400,000
- 4 คลังพระสูตรชนวสภสูตร พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์หมู่บ้านชาวนาทิกคามว่ามีคติที่ไปอย่างไร พระอานนท์จึงสงสัยว่าเหตุใดพระองค์ไม่ทรงพยากรณ์ชาวมคธผู้เคยบำรุงพระรัตนตรัยที่ล่วงลับเหล่านั้น ชนวสยักษ์มีความเกี่ยวพันกับพระเจ้าพิมพิสารอย่างไร การเจริญอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย ฉันทสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจากฉันทะและความเพียรสร้างสรรค์), วิริยสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่เกิดจากวิริยะและความเพียรสร้างสรรค์), จิตตสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่เกิดจากจิตตะและความเพียรสร้างสรรค์), วิมังสาสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่เกิดจากวิมังสาและความเพียรสร้างสรรค์)
- 4 คลังพระสูตรสิ่งทั้งปวงที่อาศัยเหตุปัจจัยในการเกิด ย่อมมีการปรุงแต่งและมีความเป็นอนัตตาด้วยกันทั้งสิ้น พระเจ้าจักรพรรดิเป็นได้ด้วยการทำบุญกุศลในปางก่อน และมีรัตนะ 7 ประการเป็นของคู่บารมี "สังขารทั้งหลายมันไม่เที่ยง มีความเปลี่ยนแปลงตามเหตุปัจจัยและการอาศัยเหตุปัจจัย ปรุงแต่งขึ้นมาก็เป็นความไม่เที่ยง มีความเป็นอนัตตา ไม่ว่าจะเป็นของใหญ่ – เล็ก ของแข็ง – เหลว นามหรือรูป เกิดขึ้นทางกาย วาจา หรือทางใจ จะในที่ใกล้หรือที่ไกล ของหยาบ กลาง ละเอียด หรือ ประณีตล้วนปรุงแต่งโดยอาศัยเหตุปัจจัยด้วยกันทั้งสิ้น สิ่งที่มีความไม่เที่ยงเราไม่สามารถที่จะเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ย่อมทำไม่ได้เพราะถ้าเราไปยึดถือก็จะเกิดปัญหากับตัวเองทันที อย่างเราจะไม่หาแก่นไม้ในต้นกล้วยก็ย่อมที่จะหาไม่เจอ เพราะมันไม่มี ฉะนั้นจะหาสาระแก่นสารในของที่ไม่เที่ยงย่อมหาไม่ได้" ใน มหาสุทัสสนสูตร กล่าวถึงพระเจ้ามหาสุทัสน์ เป็นตอนที่พระพุทธเจ้ากำลังประทับสีหไสยาสน์ ณ ต้นสาละคู่ (เป็นการนอนครั้งสุดท้ายจะไม่ลุกขึ้น) เมื่อนอนแล้วก็ได้เล่าเนื้อความเรื่องพระเจ้ามหาสุทัสน์ มีเมืองที่เป็นราชธานีชื่อเมืองกุสาวดีซึ่งเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่มาก พระพุทธเจ้าได้ปรารภถึงคทาชายนายหนึ่ง ชายคนนี้เกิดอยู่ในสมัยพระพุทธเจ้ากัสสปะ ชายคนนี้หาเลี้ยงชีพด้วยการหาของป่า มีครั้งหนึ่งเข้าป่าไปพบพระรูปหนึ่งก็เกิดเลื่อมใสก็เข้าไปกราบและสร้างสิ่งปลูกสร้างให้ท่านอยู่เป็นที่เป็นทาง พอพระรูปนี้ไปออกบิณฑบาตร ชายคนนี้ก็ขนไม้ ดินเหนียว เพื่อก่อเป็นบรรณศาลามีที่นั่ง มีกำแพง ทำทางจงกรมอย่างดี พอพระรูปนั้นกลับมาเห็นทางจงกรมเห็นบรรณศาลาที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างดี เมื่อพิจารณาว่าสามารถใช้ได้ไม่เกินฐานะของสมณะ ชายคนนั้นก็ดีใจ และกราบนิมนต์ให้พระเถระไปรับภัตตาหารที่บ้านของเขา และได้ขุดสระขึ้นใบหนึ่ง[...]
- 4 คลังพระสูตรมหาสุทัสสนสูตร เป็นพระสูตรที่เกิดในช่วงที่พระพุทธเจ้าใกล้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานที่ เขตกรุงกุสินารา อันเป็นเมืองเล็ก พระพุทธเจ้าเล่าถึงความยิ่งใหญ่ของนครแห่งนี้ที่เคยยิ่งใหญ่ มีพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า “มหาสุทัสสนะ” กำแพงเมืองของพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์นี้มีถึง 7 ชั้น แต่ละชั้นแบ่งเป็นกำแพงทอง กำแพงแก้วผลึก กำแพงแก้วโกเมน กำแพงบุษราคัม ฯ พระมหาสุทัสสนผู้ยิ่งใหญ่ก็คือ พระพุทธเจ้า ,พระนคร 84,000 มีเมืองกุสาวดีราชธานีเป็นเมืองเอก พระพุทธเจ้าทรงตรัสพระคาถาสำคัญไว้ดังนี้ว่า “สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา บังเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป การเข้าไประงับสังขาร เหล่านั้นเสียได้เป็นความสุข”
- 4 คลังพระสูตรใน จูฬราหุโลวาทสูตร (๑๒๕) , มหาราหุโลวาทสูตร , จูฬราหุโลวาทสูตร (๗๙๕) ทั้ง 3 พระสูตรนี้ได้กล่าวถึงตอนที่พระพุทธเจ้าเทศน์สอนท่านราหุลตั้งแต่ยังเป็นสามเณรน้อย จนถึงกระทั่งตอน บรรลุธรรมสิ้นอาสวะเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้เห็นโทษภัยของการไม่สำรวมในคำพูดแก่พระราหุล , ชี้แนะแนวทางให้พิจารณาเห็นความไม่สวยงามในรูป พิจารณาให้ละเอียดถึงความเป็นธาตุ 5 (ดิน น้ำ ไฟ ลม และ อากาสธาตุ), อานาปานสติ ฯ ณ ที่ป่าอัมพลัฏฐิกา ในนครสาวัตถี “พ่อสอนลูก” คือ พระพุทธเจ้าสอนท่านพระราหุล มีเทวดาร่วมกันเข้าไปฟังด้วยติวเข้มกันอยู่ด้วยคำถามนี้รวม 90 รอบ ถามในหมวดธรรมะอายตนะภายในทั้ง 6, อายตนะภายนอกทั้ง 6, วิญญาณทั้ง 6, ผัสสะทั้ง 6, สัญญา, เวทนา, สังขาร, วิญญาณ, ขันธ์ 5 ร่วมกับอายตนะ 6 ทั้งภายในภายนอก ว่ามันเที่ยงไหม? จนพระราหุลเบื่อหน่ายละอาสวะทั้งหมดในที่นั่น
- 4 คลังพระสูตรคนที่มีการได้เงินทอง ชื่อเสียง เกียรติยศ เรื่องดี ๆ ในชีวิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นการได้ลาภมาแล้วนั่นคือบุญของเรา นั่นคือดีแล้ว อย่าให้เสื่อมฉิบหาย ถอยหลังลง อย่าให้มันดึงเราลงต่ำ สิ่งที่เป็นตัวดึงให้เราลงต่ำอยู่ในลาภสักการะก็คือความกำหนัด ความพอใจยินดีในการได้ในสิ่งนั้นแม้ว่าสิ่งนั้นจะมีค่าน้อยก็ตาม การข้องนั้น คือ นันทิราคะที่ทำให้เกิดความพินาศด้วยตัณหาราคะ แล้วถ้ามันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะพบแต่ความฉิบหายแน่นอน ตัณหาเป็นสิ่งไม่ดี แม้แต่การทำดีที่เป็นกุศลธรรมถ้าไม่ระวังให้ดีก็มีตัณหาเข้าไปติดได้ ลาภสักการะและชื่อเสียงสรรเสริญเยินยอ เปรียบเหมือนสุนัขขี้เรื้อน, เต่าติดชนัก, ปลากลืนเบ็ด,ตัวกังสฬกะซึ่งกินคูถ สายเส้นที่ทำให้ติดในตัณหาได้ คือ นันทิราคะที่ทำให้เกิดความพอใจในลาภสักการะ เหมือนพรานที่ปลูกผักเพื่อวางเหยื่อให้กวางมากิน เหมือนเราที่เกิดมาในโลกที่เป็นภพแห่งกามที่มีความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่เป็นเหยื่อล่อของนายพรานซึ่งคือมารผู้ใจบาปทำให้เราเสื่อมถอยในความดี กลายเป็นคนถอยคนถ่อยเสื่อมลงเพราะกับดักของมาร แล้วถ้าเรายิ่งไม่เห็นทุกข์โทษที่ซ่อนอยู่เราก็จะเพลิน หลงติดกับดักของมาร ให้มีสติแน่วแน่ในสามัญญผล ในการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบให้ตั้งความเพียรเต็มที่ ให้มีเป้าหมายในชีวิตที่ไม่ใช่ชื่อเสียงเงินทองเกียรติยศ แต่ให้หวังในการทำความดีเล็งไปที่สามัญญผลที่จะได้และจะไม่เป็นภัยอันตรายห่อหุ้มจิตได้ เราจะพ้นภัยในวัฏฏะได้ก็ด้วยการมีความเพียรให้มีการทำจริงแน่วแน่จริง
- 4 คลังพระสูตรผู้หากเราเบื่อในการฟังธรรมะ ขอให้อดทน เพราะการอดทนฟังธรรมไปเรื่อย ๆ จะทำให้จิตของเราเป็นสมาธิ และจะเข้าใจแตกฉานในธรรมะมากขึ้น การฟังธรรมด้วยความมึนตึง ไม่เข้าใจ ไม่ลงใจ จะทำให้การประพฤติปฏิบัติเกิดขึ้นได้ยากและก้าวหน้าได้ยาก สันทกสูตร มีธรรมะประการสำคัญอยู่ 3 หมวดซึ่งเป็นเรื่องของการประพฤติพรหมจรรย์ทั้งสิ้น ทั้ง 3 หมวดนี้ ได้แก่อะไรบ้าง? พระพุทธเจ้าผู้เป็นสัพพัญญูรู้หมดในทุกสิ่งทุกอย่าง และปฏิญญาความรู้นั้นเฉพาะเวลาที่ท่านไปตรวจสอบเท่านั้น นอกจากนี้ พระพุทธเจ้าจะใช้สัพพัญญูของท่านบอกสอนเฉพาะเรื่องดับทุกข์ สันทกสูตร เป็นเรื่องราวระหว่างสันทกปริพาชกกับท่านพระอานนท์ ณ เมืองโกสัมพีซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของพุทธคยา (สถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้) มีวัดสำคัญคือวัดโฆสิตาราม สร้างโดยโฆสกเศรษฐี ที่เมืองนั้นมีถ้ำอยู่แห่งหนึ่งที่มักจะถูกน้ำท่วมฤดูฝน แต่เมื่อหมดฤดูฝนก็สามารถเข้าไปอาศัยพักร้อนได้ พวกปริพาชกกลุ่มหนึ่งรวมถึงสันทกปริพาชกด้วยก็ได้เข้าไปพักในถ้ำแห่งนี้ เวลาน้ำมันเซาะเข้าไปในถ้ำก็เกิดโพรงขึ้นมา ชาวบ้านก็เข้าไปทำอุโมงค์ทำพื้นและผนังเอาไว้อย่างดี ทีนี้เมื่อข่าวแพร่ออกไปท่านพระอานนท์จึงชวนเพื่อนพระภิกษุไปดูถ้ำแห่งนี้เพื่อไปดูความไม่เที่ยงของสถานที่แห่งนั้น เมื่อสันทกปริพาชกและเพื่อนซึ่งกำลังพูดเรื่องติรัจฉานกถา เห็นท่านพระอานนท์และหมู่บริษัทก็ได้เชื้อเชิญเข้ามาและทักทายกันพอที่ระลึกถึงกันแล้ว สันทกปริพาชกจึงถามท่านพระอานนท์ว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องอะไรบ้าง พระอานนท์จึงแจกแจงว่าประกาศธรรมไว้ 3 หมวด (ในพระสูตรนี้) ซึ่งเป็นเรื่องของการประพฤติพรหมจรรย์ทั้งสิ้น
- 4 คลังพระสูตรสันทกสูตร เป็นเรื่องราวที่สันทกปริพาชกได้ฟังธรรมเทศนาจากท่านพระอานนท์จนเกิดความแจ่มแจ้ง ชื่นชมยินดีในธรรมะของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระอานนท์ได้อธิบายด้วยอุปมาถึงการสิ้นอาสวะ เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ ว่ารู้ได้เช่นไรว่าได้สิ้นอาสวะหมดแล้ว สภาวะ 7 กอง ที่ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ไม่มีผู้เนรมิตร ประกอบด้วย ธาตุดิน ,ธาตุน้ำ ,ธาตุไฟ ,ธาตุลม , กองสุข , กองทุกข์ และ กองชีวะ
- 4 คลังพระสูตรเราต้องมีความเคารพในธรรมะ มีความยำเกรงในธรรมะในผู้สอนคือพระพุทธเจ้า…ไม่ควรย่อหย่อน – เกียจคร้าน เพราะจะทำให้ความเข้าใจของเรามีความกว้างขวาง นี้เป็นเรื่องราวของปริพาชกชื่อ “สกุลุทายี” (อุทายี) ที่ได้ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้า มีใน 2 วาระ วาระแรกคือ มหาสกุลุทายิสูตร…เป็นรายละเอียดที่ว่าทำไมสาวกถึงได้ให้ความเคารพ บูชาในพระพุทธเจ้า ส่วนเนื้อหาส่วนที่ 2 อยู่ในจูฬสกุลุทายิสูตรเป็นพระสูตรที่ที่สั้นกว่า มีเนื้อหาเกี่ยวกับขันธ์ในอดีตทั้งเบื้องต้นเบื้องปลาย ซึ่งการที่พระพุทธเจ้าเทศน์โปรดสกุลุทายีก็ทำให้เขาเกิดศรัทธาอยากออกบวช
- 4 คลังพระสูตรมหาสกุลุทายิสูตร…กล่าวถึงธรรมอันเป็นเหตุทำให้เกิดความเคารพ 5 ประการ ประกอบด้วย ศีล, การรู้เห็นตามจริง, อธิปัญญา, อริยสัจ 4 และสติปัฏฐาน 4 และธรรมอันเป็นเครื่องส่งเสริมให้เกิดความเคารพ ได้แก่ สัมปทาน 4, อิทธิบาท 4, อินทรีย์ 5, พละ 5 ฯ "…ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สงัด และทรงกล่าวสรรเสริญความสงัด’ สาวกทั้งหลายของเราผู้ที่ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือเสนาสนะอันสงัดคือป่าชัฏอยู่ ย่อมมาประชุมท่ามกลางสงฆ์เฉพาะเวลาสวดปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือนก็คงจะไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วอาศัยเราอยู่โดยธรรมนี้"
- 4 คลังพระสูตรปาสราสิ (ปา-สะ-รา-สิ) หมายถึง บ่วงดักสัตว์, บ่วงดักกวางเนื้อทราย ซึ่งถ้าเป็นพระไตรปิฎกในฉบับภาษาอังกฤษก็ใช้ชื่อว่า “การแสวงหาที่ประเสริฐ” หรือ “อริยปริเยสนา” การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐในพระสูตรนี้แยกออกมาเป็น 6 ส่วน มีเรื่องของการเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความเศร้าหมอง การที่คนเราไปแสวงหาที่ไม่ประเสริฐเพราะอำนาจความลุ่มหลงในทรัพย์สิน เงิน ทอง เกียรติยศ ชื่อเสีียง ลาภสักการะ เมื่อมีการแสวงหาก็มีการได้ เมื่อมีการได้ก็ปลงใจรัก พอปลงใจรักก็มีความลุ่มหลงมัวเมา เมื่อลุ่มหลงมัวเมาก็มีความกำหนัด และเริ่มเกิดความเศร้าหมอง การไปมัวเมาลุ่มหลงในสิ่งที่ทำให้เกิด แก่ เจ็บ ตายอาจทำให้สุข แต่เป็นสุขที่ทำให้เศร้าหมองเราจึงต้องตั้งสติไว้ให้ดี เมื่อเรามีสติและทราบชัดถึงโทษของความเกิด แก่ เจ็บ ตายก็แสวงทางไม่ให้เกิดไม่เจ็บไม่ตายซึ่ง “นิพพาน” จัดเป็นการแสวงหาที่ประเสริฐ เพราะเป็นทางทีี่ทำไม่ให้เกิด แก่ เจ็บ ตายอีก ส่วนที่ 2 ของพระสูตรนี้คือ กับดักของนายพราน คือคนที่ต่อให้บวชเข้ามาแล้วแต่ยังชุ่มอยู่ด้วยกามลุ่มหลงความสุขทางหู ทางตาก็ยังได้ชืื่อว่าแสวงหาสิ่งที่ไม่ประเสริฐยังตกอยู่ในบ่วงของมาร เราจะพ้นบ่วงของมารได้ก็ด้วยสมาบัติทั้ง 9 ขั้น ซึ่งถ้าใครมีสมาบัติทั้งหมดนี้ ขึ้นชื่อว่าทำให้มารตาบอด[...]
- 4 คลังพระสูตรเสวิตัพพสูตร/เสวิสูตร ว่าด้วยบุคคลที่ควรคบ พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยมีจุดประสงค์เพื่อความก้าวหน้าในธรรมะวินัยนี้ คือ มีการพัฒนาขึ้น มีการที่จะปรับปรุงไปในทางที่ดีขึ้นได้ ถ้าเราจะให้ศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งเป็นองค์แห่งมรรคของเราให้เจริญขึ้นได้ อย่าไปคบคนที่มีศีล สมาธิ และปัญญาต่ำกว่า แต่ให้คบคนที่มีอย่างน้อยเสมอกับเรา หรือสูงกว่า จะคบคนที่มีศีล สมาธิสูงกว่าได้ ควรมีการสักการะเคารพมาก่อน แล้วจึงค่อยเสพคบด้วย เพราะว่าต้องมีการเมตตาอนุเคราะห์กันด้วยใจอันงามตรงนี้ จะมีเมตตา มีความอนุเคราะห์กันได้ ต้องมีจิตใจที่อ่อนนุ่ม นุ่มนวล นอบน้อม พระพุทธเจ้าได้เปรียบเทียบไว้ใน ชิคุจฉิตัพพสูตร ว่าด้วยบุคคลที่ควรรังเกียจ ไม่ควรคบด้วยเลย ศีล สมาธิ ปัญญา ก็คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งการเสพคบกับทั้งบุคคลหรือข้อปฏิบัติเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่จะทำให้ ศีล สมาธิ ปัญญาของเราดีขึ้น จะสามารถทำให้เกิดผลเป็นความสุขที่เกษมขึ้นมาได้
- 4 คลังพระสูตรภยเภรวสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เป็นภัยและน่าหวาดกลัว…ชาณุโสณีพราหมณ์กราบทูลถามพระพุทธเจ้าด้วยความสงสัยว่า เพื่อนคนหนึ่งของเขาได้มาบวชในคำสอนนีี้ เมื่อตอนที่เป็นคนอยู่ครองเรือน มีความเป็นอยู่หรูหรา ฟู่ฟ่า ฟุ่มเฟือย แต่พอบวชแล้วก็ต้องอยู่ป่าอยู่ในที่สงัด เลยสงสัยว่าจะอยู่กันได้อย่างไร เพราะการอยู่ในป่าอันสงัดเป็นเรื่องที่อยู่ได้ยาก ป่าเหมือนประหนึ่งจะนำใจของคนที่ไม่ได้มีสมาธิกระชากหลุดไปได้ พระพุทธเจ้าตรัสเหตุแห่งความกลัวมีทั้งหมด 16 อย่างนี้ จัดเป็นอกุศลธรรมที่ควรละ บุคคลเมื่อมีอกุศล 16 อย่างเกิดขึ้น จะทำให้อยู่ในที่สงัด ป่าเปลี่ยวได้ยากและลำบาก จึงต้องรักษากาย วาจา ใจ ให้มีความบริสุทธิ์จึงจะสามารถขจัดอกุศลธรรม 16 อย่างเหล่านี้ได้ ความกลัวที่ปราศจากเหตุผล เราต้องหามันให้เจอและกำจัดมันออกด้วยกำลังของสมาธิและปัญญา
- 4 คลังพระสูตรเพราะกามเป็นเหตุ เป็นเครื่องก่อ จึงเวียนเข้าไปหาทุกข์อยู่เรื่อยเพราะกาม ไม่ว่าคนรวย คนจน คนขยัน คนขี้เกียจต้องเกี่ยวข้องและทุกข์เพราะกามทั้งสิ้น เนื่องจากทุกคนต่างมีขันธ์ 5 เป็นกองทุกข์ที่ทำให้เกิดกาม กามมีรสอร่อยมีคุณน้อย มีโทษมาก กาม คือ กับดักที่มารวางกับดักเราไว้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นเพียงกับดักเป็นของลวงโลก มรรค 8 จึงเป็นอุบายเครื่องนำออกจากกาม และ เมื่อปฏิบััติตามมรรค 8 เราจะเข้าใจขันธ์ 5 อย่างแท้จริง ผู้ที่เข้าใจขันธ์ 5 พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นผู้มองการไกล เพราะจะทำให้เราได้เปรียบในการดำเนินชีวิต เห็นสุขหรือทุกข์ได้อย่างถูกต้องว่ามันเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สามารถอยู่เหนือสุข เหนือทุกข์ได้
- 4 คลังพระสูตรมหาทุกขักขันธสูตร ว่าด้วยกองทุกข์ใหญ่ กามคุณ 5 เป็นเหตุแห่งทุกข์ เป็นเหตุแห่งการเบียดเบียน, บุคคลผู้มองเห็นคุณและโทษของกามด้วยปัญญาอันชอบจะไม่ถูกกามเคี้ยวกิน, เราควรกำหนดรู้ในโทษของรูป และ เวทนา แล้วทำการถ่ายถอนในรูป – เวทนานั้นได้ จูฬทุกขักขันธสูตร ว่าด้วยกองทุกข์ ว่าด้วยกองทุกข์ ว่าด้วยโทษของกามทั้งหลาย, ทรงปรารภพวกนิครนถ์ที่ถือการยืนเป็นวัตร, ทรงปรารภถึงผู้อยู่สบายดีกว่า
- 4 คลังพระสูตรอนาถปิณฑิโกวาทสูตร…เป็นโอวาทที่ท่านพระสารีบุตรให้ไว้กับท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีในตอนท้าย ๆ ของชีวิต (ซึ่งมีพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์ไปเยี่ยมขณะที่ท่านป่วยหนัก)…ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นผู้ที่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาและเป็นเลิศในการให้ทานอย่างมาก มีจิตใจที่มีคุณธรรมในเรื่องศีล ในเรื่องทานอยู่แล้ว แต่การภาวนาที่จะให้เห็นการเกิดขึ้นการดับไปของสิ่งต่าง ๆ ยังไม่เคยได้ฟัง พระสารีบุตรให้พิจารณาให้เห็นผัสสะต่าง ๆ นั้นไม่ใช่ของตน ไม่ให้ยึดถือในตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจซึ่งเป็นอายตนะภายใน นอกจากนี้ยังพูดถึงอายตนะภายนอกรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อย่าไปยึดถือในสิ่งเหล่านั้น วิญญาณที่อาศัยสิ่งเหล่านั้นก็จะไม่มี จะสามารถเหนือจากการครอบงำเหล่านั้นได้ ใน สัจจวิภังคสูตร…พระพุทธเจ้าทรงเปรียบท่านพระสารีบุตรเป็นผู้ให้กำเนิด ท่านพระโมคคัลลานะเป็นผู้บำรุงเลี้ยงทารก เป็นบุคคลที่น่าคบ… พระพุทธเจ้าตรัสพระสูตรนี้ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน … เป็นสถานที่หมุนธรรมจักรครั้งแรกเมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จเข้าทีี่ประทับท่านพระสารีบุตรก็นำเรื่องที่พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมจักรกัปปวัตนสูตรให้ภิกษุในที่นั้นได้ฟังอีกครั้ง … การที่พระสารีบุตรกลับมาที่ตัวแม่บทเป็นการทำเป็นตัวอย่างแบบนี้จะทำให้คำสอนไม่สูญหายไป ทำให้คำสอนตั้งอยู่ได้กาลนาน
- 4 คลังพระสูตรเอสุการีสูตร เอสุการีพราหมณ์ตรัสถามพระพุทธเจ้าว่าทรงแบ่งการบำเรอในแต่ละวรรณะไว้อย่างไร พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า "เมื่อบุคคลบำเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบำเรอ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญาย่อมเจริญ สิ่งนั้นเรากล่าวว่าพึงบำเรอ" และยังได้กล่าวถึง ทรัพย์ 4 อย่าง, คนจะดีหรือชั่วมิใช่เพราะวรรณะ บุคคลแม้จะมาจากวรรณะที่ต่างกัน เมื่อออกบวชก็สามารถบรรลุธรรมพ้นทุกข์ได้หมด
- 4 คลังพระสูตร"ความคิดเรื่องทางโลกนั้นมีมากไม่จบไม่สิ้น ในทางคำสอนของพระพุทธเจ้าท่านบอกว่าอย่าไปคิด แต่ให้คิดมาในทางอริยสัจ 4 " เรื่องราวนี้มาใน อุทุมพริกสูตร นิโครธปริพาชกตรัสถามเรื่องการบำเพ็ญตบะ ว่าบำเพ็ญอย่างไรจึงเรียกว่าบริสุทธิ์ และ อย่างไรเรียกว่าไม่บริสุทธิ์ พระพุทธเจ้าทรงอธิบายว่า “ตปัสสีวัตร” (การบำเพ็ญตบะเพื่อทรมานตัวเอง) เช่นการไม่นุ่งผ้า การให้ตัวเองอยู่ในที่ร้อนๆ การไม่กินอาหารที่เขานิมนต์ การนอนการเดินบนหนาม ฯ ทั้งหมดนี้คือการทรมานตัวเองให้ลำบาก หาความทุกข์มาทับถมตัวเอง เป็นการบำเพ็ญตบะที่ไม่บริสุทธิ์เป็นอุปกิเลส มี 16 อย่าง (1.มีดำริเต็มรอบ 2. มีการยกตนข่มคนอื่น 3.มีความเมาในการบำเพ็ญ 4.ดำริในลาภสักการะ 5. ข่มคนอื่นในลาภสักการะที่ตนได้ 6.มัวเมาในลาภสักการะที่ตนได้ 7. กำหนัดยินดีในลาภสักการะ 8. ความใคร่ในสักการะ 9. รุกรานสมณะในลัทธิอื่น 10. ริษยาอยากได้ในปัจจัยของผู้อื่น 11.นั่งในที่ที่ให้ผู้อื่นว่าตนเป็นผู้มีความเพียรในการทำตบะ 12.มีความตระหนี่ 13. เสพโทษอันปกปิดบางอย่าง ล้างบาปด้วยทุกรกิริยา 14. เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงธรรมอยู่ ก็ไม่ผ่อนตามปริยายซึ่งควรจะผ่อนตาม 15.เป็นผู้มักโกรธมักผูกโกรธ 16. มีความลบหลู่ ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ โอ้อวด[...]
- 4 คลังพระสูตรอุทุมพริกสูตร พระพุทธเจ้าตรัสกับนิโครธปริพาชกในเรื่องของ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้ เป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร 4 ประการ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ใช้ผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ , ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ , ไม่พูดเท็จ ไม่ใช้ผู้อื่นให้พูดเท็จ ,ไม่เสพกามคุณ ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเสพกามคุณ ผู้มีตบะยกตนข่มผู้อื่น ยึดมั่นถือมั่นในลาภสักการะที่เขาให้ ยินดีในคำสรรเสริญ เป็นผู้มักโกรธผู้ผูกโกรธ มัวเมาในลาภสักการะสรรเสริญ อุปกิเลสย่อมถึงผู้มีตบะนั้น กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้รู้ ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา มีชาติตรง …ปฏิบัติตามคำสอน จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยม เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน
- 4 คลังพระสูตรสืบเนื่องมาจาก “มหาสีหนาทสูตร” ปรารภภิกษุที่เพิ่งลาสิกขาไปด้วยความไม่ชอบใจ ขัดใจ ท้อถอยและมากล่าวตู่ ต่อว่าพระพุทธเจ้าต่าง ๆ นานา มีชื่อว่า “สุนักขัตตลิจฉวีบุตร” พระพุทธเจ้าจึงทำการบันลือสีหนาทแก่ท่านพระสารีบุตรฟัง ซึ่งในที่นั้นมีภิกษุชื่อ นาคสมาละ ร่วมฟังอยู่ด้วยก็ถึงกับขนลุกซู่เมื่อได้ยินพระพุทธเจ้าบันลือสีหนาท พระพุทธเจ้าจึงให้ชื่อธรรมปริยายนี้ว่า “โลมหังสนปริยาย” บุคคลผู้มักโกรธ พระพุทธเจ้าตรัสว่าไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ หรือ เสพคบ, หากเรามีความคิดที่เป็นมิจฉาทิฐิก็จะทำให้เกิดมิจฉาสมาธิตามมา และให้เรามีความมั่นใจในพระพุทธเจ้า ปฏิบัติให้ดี ปฏิบัติให้ดีมากยิ่งขึ้น อะไรที่เป็นทิฐิไม่ดีก็ให้เราสละคืน ไม่ให้ด่างพร้อย ให้ขจัดความคิดคำพูดที่ไม่ดีนั้นเสีย เพราะทำให้ไปทางไม่ดี ถ้าทำให้ดีแล้วจะมีนิพพานเป็นที่ไปได้ นิพพานนั้นเปรียบเหมือนที่ราบลุ่ม มีความเกษมมีความปลอดภัยมีความเย็นมีความสบาย
- 4 คลังพระสูตรพระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึกที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง แต่ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเพื่อประโยชน์ใด ธรรมนั้นย่อมดิ่งไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้ทำตาม มหาสีหนาทสูตร กล่าวถึงเรื่องของสุนักขัตตลิจฉวีบุตรที่มากล่าวตู่ – ไม่เป็นธรรมแก่พระพุทธเจ้าว่า พระองค์ทรงปราศจากญาณทัสสนะอันวิเศษของอริยะ ด้วยความที่เขาเป็นบุรุษเปล่า เป็นผู้มักโกรธ พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสกับพระสารีบุตรถึง กำลังของตถาคต 10 ประการ ย่อมปฏิญาณฐานะแห่งผู้องอาจย่อมบันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป ด้วยกำลังเหล่านั้น, ตถาคตเป็นผู้แกล้วกล้าประกอบเวสารัชชธรรม 4, บริษัท 8, กำเนิด 4, คติ 5, อุปมาการเห็นคติของบุคคล,พรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์ 4, ปฏิปทามิใช่ทางตรัสรู้, วาทะและทิฏฐิ
- 4 คลังพระสูตรกายของเรามีข้อดีที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ สุขโสมนัสใดอาศัยกายนี้แล้ว ความสุขนั้นเรียกว่า “รสอร่อย” อย่างเราไปเที่ยวต่างประเทศ ต่างจังหวัด ดูนกดูไม้ เราเห็นได้ ได้กินอาหารอร่อยๆ ได้สัมผัสอากาศ ทั้งหมดนี้ก็เพราะ “กาย” เป็นความสุขที่ได้จากกายนี้ แต่เมื่อเทียบกับทุกข์ที่ได้จากกายนี้ กลับต่างกันราวฟ้ากับเหว โทษของกายมีมากมหาศาล กายนี้มีอาพาธต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ตั้งแต่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง กายนี้ไม่ใช่ของเรา เป็นเพียงที่ประชุมลงของธาตุทั้ง 4 อาศัยมารดาบิดาและข้าวสุกขนมสดเพียงเท่านั้น เราพึงพิจารณากายแยกเนื้อ หนัง เอ็น กระดูก ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ อากาศธาตุ ออกจากกันจะสามารถตัด – ละ ความยึดถือในกายนี้ได้
- 4 คลังพระสูตรอัมพลิฏฐิกราหุโลวาทสูตร…พระพุทธเจ้าอุปมาความเป็นสมณะกับน้ำในขัน เพื่อให้สามเณรราหุลเห็นว่าการพูดเท็จเพื่อให้เกิดความตลก ทำให้ความเป็นสมณะลดลงไปเหมือนน้ำในขันที่เหลือไม่กี่หยด ช้างศึกที่มีงางอนงามเมื่อต่อสู้ในสงครามก็จะสู้อย่างไม่มีอะไรจะเสีย เปรียบเหมือนคนพูดชั่ว – ทำชั่ว เมื่อทำไปได้ครั้งหนึ่ง ความชั่วอื่น ๆ ก็จะตามมา พระพุทธเจ้าทรงอุปมาที่แว่นส่องที่ไว้ตรวจดูกรรมของตน ว่าได้เบียดเบียนผู้อื่นและเบียดเบียนตนหรือไม่ ถ้าได้กระทำการเบียดเบียนผู้อื่นและตนเองก็ให้เปิดเผยความผิดนั้นและสำรวมระวังต่อไป มหาราหุโลวาทสูตร พระพุทธเจ้าเทศน์สอนพระราหุลให้เห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณไม่มีความเป็นตัวตนไม่ใช่ของเรา รวมถึงธาตุทั้ง 5 และท่านพระสารีบุตรยังได้ชี้แนะสามเณรราหุลในเรื่องของอานาปานสติ นอกจาก อัมพลิฏฐิกราหุโลวาทสูตร แล้ว ยังได้รวบรวมพระสูตรหลัก ๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงเทศน์สอนพระราหุลในวาระที่แตกต่างกัน ได้แก่ มหาราหุโลวาทสูตร และ จูฬราหุโลวาทสูตร อีกด้วย
- 4 คลังพระสูตรนันทโกวาทสูตร เป็นพระสูตรที่กล่าวถึงการที่ท่านพระนันทกะไปเทศน์สอนภิกษุณี ในเรื่องความไม่เที่ยงเหมือนกับที่สอนท่านพระราหุล โดยยกเรื่องผัสสะ ความคิดความรู้สึกหรืออย่างใดอย่างหนึ่งว่ามันไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรแล้วหรือที่จะเห็นว่านั่นเป็นตัวตนของเรา เป็นของเรา, สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ? สิ่งที่เป็นการเปลี่ยนแปลงนั่นคือ “สภาวะ” มีการปรุงแต่งตัวมันเองและสิ่งอื่นๆ สภาวะที่ไม่มีความคงทน – ทนอยู่ไม่ได้มีความเป็นทุกข์ อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น มีความไม่เที่ยง…เป็นทุกขลักษณะไม่ใช่ทุกขเวทนา เปรียบเหมือนเนื้อข้างในนั้นเป็นอายตนะภายใน ส่วนหนังข้างนอกเป็นอายตนะภายนอก 6 เนื้อล่ำในระหว่างเอ็น ในระหว่างเครื่องผูก คำว่า "ในระหว่าง" นั้นเป็นชื่อของนันทิราคะ มีดแล่โคเป็น "ปัญญา" ซึ่งใช้เถือแล่คว้านกิเลสในระหว่างสัญโญชน์เครื่องผูกออก โพชฌงค์ 7 จึงทำให้เราสามารถแยกอายตนะภายนอก – ภายใน และเครื่องผูกออกจากกันได้ และไม่เกิดการกลับกำเริบขึ้นอีก
- 4 คลังพระสูตรพระพุทธเจ้าทรงอุปมาธรรมะวินัยนี้เป็นเหมือนต้นไม้ ซึ่งมีทั้งกิ่ง เปลือก กระพี้ และแก่น ว่ามีสิ่งที่ลึกซึ้งมากกว่าที่เราเห็นภายนอกมาก หากเราติดอยู่ที่ลาภสักการะ ปัจจัย 4 เสียงเยินยอก็ทำให้เราไม่สามารถเข้าใจไปถึงแก่นได้ และ ทำให้ฉันทะ คือ ความพอใจในการปฏิบัติให้ลดลง เกิดความท้อแท้ ย่อหย่อนขึ้นมา กิ่งใบ เปรียบเหมือนศีล, เปลือก เปรียบเหมือนสมาธิ, กระพี้เป็นปัญญา และแก่นไม้ คือวิมุตติอันไม่กลับกำเริบ หากเรามีศีล มีสมาธิ จะทำให้เราเดินตามมรรค 8 ได้ เพราะทั้ง 2 อย่างคือองค์ของมรรคและทำให้เรามีความมั่นใจมีกำลังใจ ไม่ท้อแท้ท้อถอยในการปฏิบัติเข้าถึงแก่นแท้ของธรรมะได้ ต้นไม้จะสูงใหญ่ตระหง่านสวยงาม ไม่ได้อาศัยแค่ส่วนใดส่วนหนึ่งของต้น แต่อาศัยกิ่งใบ เปลือก และแก่นไม้ให้ตั้งตรงอยู่ได้ เช่นเดียวกับการปฏิบัติที่ต้องอาศัย ศีล สมาธิ ปัญญา ทำให้เกิดวิมุตติ
- 4 คลังพระสูตรมหาสาโรปมสูตร…"ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออินทรีย์สังวรมีอยู่ ศีลก็ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย เมื่อศีลมีอยู่ สัมมาสมาธิก็ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ การรู้เห็นตามที่เป็นจริงก็ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย เมื่อการรู้เห็นตามที่เป็นจริงมีอยู่ ความหน่ายและคลายกำหนัดก็ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย เมื่อมีความหน่ายและความคลายกำหนัดอยู่ วิมุตติญานทัสสนะก็ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย คือเปรียบเหมือนต้นไม้ เมื่อสมบรูณ์ด้วยกิ่งและใบแล้ว สะเก็ดเปลือกนอกก็บริบรูณ์ เปลือกชั้นในก็บริบรูณ์ กระพี้ก็บริบรูณ์ แก่นก็บริบรูณ์ ข้อนี้ฉันใด เมื่ออินทรีย์สังวรมีอยู่ ศีลก็ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย เมื่อศีลมีอยู่ สัมมาสมาธิก็ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ การรู้เห็นตามที่เป็นจริง ก็ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย เมื่อรู้เห็นตามที่เป็นจริงมีอยู่ ความหน่ายและความคลายกำหนัด ก็ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย เมื่อมีความหน่ายและคลายกำหนัด วิมุตติญานทัสสนะก็ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ฉันนั้นเหมือนกันแล"
- 4 คลังพระสูตรศีลอันเป็นกุศลย่อมยังอรหัตผลให้บริบูรณ์ แม้เพียงเล็กน้อยก็มีผล มีอานิสงส์มาก ศีล คือ ความเป็นไปปกติ เป็นไปเพื่อความไม่ร้อนใจ ความเป็นปกติของฆราวาสก็คือ ศีล 5 ส่วนนักบวชหรือผู้ประพฤติพรหมจรรย์ก็มีตั้งแต่ศีล 8 ขึ้นไปเป็นปกติ กลิ่นของศีลนั้นหอมขจรและหอมทวนลม อย่างที่กลิ่นหอมของดอกไม้ทิพย์อื่น ๆ ไม่อาจทำได้ หากถือศีล 5 ได้อย่างดี อย่างละเอียดบริบูรณ์แล้ว ศีลก็จะทำให้เราสามารถละ วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรมาส และ สักกายทิฐิได้ ซึ่งนั่นถือเป็นคุณสมบัติของโสดาบัน เมื่อเรารักษาศีล ศีลก็จะรักษาเรา…คนจะดูงามได้ก็เพราะศีล พระพุทธเจ้าเปรียบว่าศีลเป็นดังวรรณะ คนไม่มีศีลอยู่ด้วยกันก็เหมือนซากศพอยู่ด้วยกัน คนมีศีลก็เหมือนเทวดาอาศัยอยู่ด้วยกัน
- 4 คลังพระสูตรกิมัตถิยสูตร ว่าด้วยเรื่องกองศีลอันบริสุทธิ์ของภิกษุประกอบด้วย จุลศีล, มัชฌิมศีล, มหาศีล โดยจำแนกออกเป็นข้อ ๆ ศีล มีอานิสงส์มากมีคุณอย่างใหญ่ ผู้ที่่รักษาศีลจะไม่มีความร้อนใจ มีความระงับทางกายและใจเป็นไปเพื่อนิพพิทาและวิมุตติญาณทัสสนะ บุคคลผู้มีศีลบริบูรณ์ย่อมมีปีติ มีปราโมทย์ มีกายสงบระงับได้โดยไม่ลำบาก ไม่ต้องทำการขอ