“สติไม่ใช่สมาธิ”

Q: นั่งสมาธิแล้วยังคิดเรื่องกามบ้างไม่กามบ้าง อย่างนี้คือหลุดจากสมาธิ?
A: สมาธิยังไม่เกิด ในขั้นที่ 1 นั้นยังมีความคิดอยู่แต่ไม่ใช่เรื่องกาม ขั้นที่ 2 จิตจึงจะรวมเป็นเอก มีปิติ สุขจากความสงบระงับ ถ้ายังแยกแยะไม่ออกว่าความคิดไหนดีหรือไม่ดี แสดงว่าสติยังมีกำลังไม่พอ สมาธิจึงมีเพียงเล็กน้อย ให้ฝึกทำไปเรื่อย ๆ ไม่บังคับ แต่ต้องควบคุม ฝืนฝึกจิต ในขั้นต้นเป็นเพียงผู้สังเกตุการณ์เฉย ๆ รับรู้แต่ไม่ตามไป และไม่ลืมลม สติจะมีกำลังขึ้นมา พอถึงจุดนึงสมาธิจะเกิดขึ้น

Q: ความสุขในสมาธิเป็นอย่างไร
A: เป็นสิ่งที่อธิบายได้ยาก ต้องรู้ได้ด้วยตนเอง สติจะเป็นตัวแยกแยะ รักษาระเบียบได้สมาธิจะก็ได้มาเป็นขั้นเป็นตอนก้าวหน้าตามลำดับ แต่สุขเวทนาเป็นแค่ทางผ่าน สิ่งที่ต้องการนั้นคือปัญญา

Q: การเพลินในภายในกับภวังค์ต่างกันอย่างไร
A: เพลินในภายใน คือ การสยบอยู่ในภายใน เป็นความเพลินในปิติสุขจากสมาธิ ภวังค์ คือ การที่สมาธิมีกำลังมากคล้ายหลับแต่ไม่หลับ เหมือนกันตรงที่ไม่มีสติไม่ก่อปัญญา แก้ไขโดยมีสติระลึกรู้ เห็นนิมิต ปรับเพิ่มความเพียรเพื่อละอกุศลเพิ่มกุศล เห็นความไม่เที่ยง

Q: ไม่สามารถแยกแยะการพิจารณากับความฟุ้งซ่าน
A: ถ้าแยกแยะไม่ได้นั่นคือฟุ้งซ่าน ควรเริ่มจากการฝึกสติโดยทำศีลให้ละเอียด รู้ประมาณในการบริโภค สำรวมอินทรีย์ อยู่ในธรรมอันเป็นเครื่องตื่น สันโดษ 

Q: “ประโยชน์จะงดงามต่อเมื่อประสบความสำเร็จ” นำมาใช้ในชีวิตได้อย่างไร
A: นำมาใช้ได้ทุกอย่างในชีวิต สำเร็จแล้วจึงจะเห็นประโยชน์เช่นสมาธินี้ดีอย่างนี้ จะรู้ได้เมื่อทำได้แล้ว เป็นต้น