00:00
1X
Sorry, no results.
Please try another keyword
- 2 จิตตวิเวก“เวทนาสุ เวทนานุปัสสี วิหรติ” ไม่ใช่ว่าให้อยู่กับเวทนานี้เท่านั้น แต่ต้องมองลึกทะลุลงไปในเวทนาที่เรามี ไม่ว่าจะเป็น อทุกขมสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ สุขเวทนา นั่นคือ การที่มองลึกลงไป เหมือนกับเราแยกตัวออกมา เหมือนการแยกออกมามองในลักษณะของบุคคลที่ 3 (เห็นเวทนาในเวทนา) ถ้าแยกได้คือได้สติ แต่ถ้าแยกไม่ได้ก็ได้ความเพลิน ในที่นี้จึงให้มีการรู้แบบมีสติ (ระลึกรู้) มีสัมปชัญญะ (กำหนดรู้ รู้รออบคอบ) และมีปฏิสังเวที (รู้พร้อมเฉพาะ , ความรู้ที่สมบูรณ์) สุขาปฏิปทาและทุกขาปฏิปทาล้วนต้องมีเวทนาเป็นเหตุ การเข้าสมาธิให้ลึกยิ่ง ๆ ขึ้นไป เป็นสุขาปฏิปทา ส่วนทุกขาปฏิปทา พิจารณามองให้เห็นความไม่เที่ยง ไม่จดจ่ออยู่ในทุกขเวทนานั้น เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องอาศัยผัสสะจึงเกิดขึ้น (ผัสสะมีเวทนาเป็นผล เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ) เมื่อเห็นเหตุ ปัญญาจึงเกิดและรู้ชัดว่า เวทนาไม่เที่ยง เห็นไตรลักษณ์ในเวทนา เวทนาเป็นอนัตตา ไม่มีค่าควรยึดถือ ปล่อยมันไป เราจะอยู่เหนือเวทนาได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ(ธรรม) S07E49 , #การเห็นเวทนาในเวทนาเมื่อเจ็บไข้ , #ฝึกสติ[...]