ความคืบคลานของตัณหา ความยึดถือของอุปาทาน มันเนียน ๆ ว่าชั้นทำได้ นั่นชั้นทำ ความเป็นตัวตนจึงเกิดขึ้น จะเข้าใจว่า ไม่ใช่ตัวเราได้ ตอนที่มีสติอยู่ในกาย ควรจะรู้สึกถึงในกายในทุกขณะ โดยเห็นอย่างถูกต้องว่า กายนี้มีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้ เป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่เป็นตัวตน เป็นอนัตตา จะเข้าได้ ตอนที่มีสติเท่านั้น

มรรค 8 จะเป็นสังขตธรรม เป็นการปรุงแต่งที่ทำให้การปรุงแต่งนั้นจางคลายไป น้อยลงดับลงไปได้ ทางที่จะออกจากอุปาทาน คือ ความยึดถือนี้ คือ การปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8

Time Index

[08:20] อุปาทาน 4 อย่างและทางออกจากอุปาทาน

[09:48] พระสูตร

[15:40] ยึด คือ อุปาทานอยู่ในส่วนของสมุทัย ต่างกับ เป็นที่พึ่ง คือ สรณะ ซึ่งอยู่ในส่วนของมรรค

[17:33] กามุปาทาน

[20:33] ทิฏฐุปาทาน

[23:38] สีลัพพตุปาทาน

[25:49] อัตตวาทุปาทาน

[26:59] ความเห็นที่เป็นมิจฉา คือ ไม่ทำให้เกิดการสลัดออก ปลดแอก ทำกิเลสให้ลดลง

[28:36] วิธีละคือความเข้าใจในเรื่องของอริยสัจ 4

[30:57] ผลของอุปาทานจะทำให้เกิดเป็นสภาวะ คือ ภพ

[33:46] ที่ว่าลงต่ำหรือขึ้นสูง ไม่ต้องรอชาติหน้า สมมุติว่าเราไม่ได้ปฏิบัติตามมรรค 8 ทำชั่วทำผิดทำบาป ด่าคน คิดนึกบ้าบอ ฟุ้งซ่านวุ่นวาย นั่นเหมือนตกนรกทั้งเป็น

[36:46] ปิดอบายได้

[38:46] ไม่ใช่ตัวตน ควรจะเข้าใจอย่างไร

[44:58] สัมมาสติ คือ ระลึกถึงในลักษณะที่ทำให้มิจฉาทิฏฐิ และตัณหาตั้งอยู่ไม่ได้  ไม่เป็นไปในทางกาม พยาบาทและเบียดเบียน ตนเองและผู้อื่น ต้องประกอบด้วยความเพียรที่ไม่มากเกินไป ไม่หย่อนเกินไป มีสัมมาวาจา ไม่ด่าไม่ว่า ไม่พูดติเตียน พูดโกหก คำหยาบ มีการดำเนินชีวิตอาชีวะที่ดี เป็นอริยมรรคมีองค์ 8