พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติคำว่า “อาหาร” ไว้ 4 อย่าง คือ ส่วนที่เป็นรูปอาศัย กพฬีการาหาร (คำข้าว), ส่วนที่เป็นนามอาศัย ผัสสะ มโนสัญเจตนา และวิญญาณ ซึ่งเป็นตัวอนุเคราะห์ให้ภูตสัตว์ทั้งหลายดำรงอยู่ตั้งได้อยู่ในภพนั้น ๆ

ได้อธิบายถึง “อาหาร 4” ในแต่ละหัวข้อโดยรายละเอียดไว้ ซึ่งการดำรงอยู่มีอยู่ของชีวิตอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถมีอยู่ตั้งอยู่ได้ มีการต่อเนื่อง ๆ ไหลสืบทอดกันมา ก็เพราะว่ามีอาหารต่าง ๆ เหล่านี้ 

“เปรียบเหมือนช่างย้อม หรือช่างเขียน, เมื่อมีน้ำย้อมคือครั่ง ขมิ้น คราม หรือสีแดงอ่อน ก็จะพึงเขียนรูปสตรี หรือรูปบุรุษ ลงที่แผ่นกระดาษ หรือฝาผนัง หรือผืนผ้า ซึ่งเกลี้ยงเกลา ได้ครบทุกส่วน,

อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น คือ ถ้ามีราคะ มีนันทิ มีตัณหา ในกพฬการาหารไซร้, วิญญาณ ก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ได้ เจริญ งอกงามอยู่ได้ ในกพฬีการาหารนั้น.วิญญาณที่ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ มีอยู่ ในที่ใด, การหยั่งลงแห่งนามรูป ก็มีอยู่ในที่นั้นการหยั่งลงแห่งนามรูป มีอยู่ ในที่ใด, ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ก็มีอยู่ในที่นั้น.ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย มีอยู่ ในที่ใด, การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น. การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป มีอยู่ ในที่ใด, ชาติชรามรณะต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น. ชาติชรามรณะต่อไป มีอยู่ ในที่ใด,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราเรียกที่นั้นว่า “เป็นที่มีโศก มีธุลี มีความคับแค้น” ดังนี้. ” …ปุตตมังสสูตร ว่าด้วย อาหาร  ๔  อย่าง

และไม่ว่าจะมีอาหารเพียงอันใดอันหนึ่งใน 4 อย่างนี้  ก็สามารถที่จะให้เกิดมีการปรุงแต่ง มีสังสารวัฏ มีความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ต่อไปได้ เพราะมันสร้างต่อเติมกันมาจากจุดนี้ จุดที่มีอาหาร มีความเพลิน มีความอยาก ทำให้อาหารนั้นมันไม่หมดสิ้นไป หามามีต่อ อะไรที่มันตั้งต่อจากนั้น วิญญาณมันก็ตั้งต่อกันไปได้ แทรกซึมลงไปตรงผัสสะด้วย มโนสัญเจตนาด้วย และวิญญาณด้วย  ทำให้เป็นอาหาร ทำให้เป็นวิิญญาณาหารต่อไปและต่อไป  โดยที่มันมีการเกี่ยวข้องกันทั้งหมดนี้ก็ด้วยความที่ต้องอาศัยตัณหา

ถ้ามีการตริตรึกนึกน้อมไปทางไหน จิตเราจะคล้อยไป ด้วยอาการอย่างนั้น ๆ จิตไปทางไหน ก็เหมือนกับเราให้วิญญาณาหารในสิ่งนั้น ๆ มันจะมีกำลังมาก เราจะตัดกำลังของอวิชชา ตัดกำลังของการปรุงแต่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ ต้องตัดที่อาหารของมัน ตัดตรงรอยต่อ ตัดตรงรอยเชื่อม ซึ่งจุดที่เชื่อมมันไว้ นี้คือตัณหา

เราจะตัดราคะ นันทิ ตัณหาในอาหารทั้ง 4 นี้ได้ จะต้องมี ความแม่นคือต้องมีสติตั้งเอาไว้ จดจ่อลงไป, มีความคมคือปัญญา พิจารณาเห็นตามความเป็นจริง และจะต้องมีกำลังคือมีสมาธิเป็นสมถะให้จิตเป็นอารมณ์อันเดียว …มีสติจดจ่อลงไปกับด้วยธรรมะ ใคร่ครวญมาให้เกิดปัญญาคมๆ เพื่อกำหนดรู้ ว่า 

ว่าด้วยลักษณะอาหารสี่ โดยอุปมา

กพฬีการาหาร /ราคะ (ความกำหนัดยินดี) พึงเห็นด้วยอุปมาเปรียบเหมือน สองสามีภรรยากินเนื้อบุตร 

ผัสสาหาร /เวทนาทั้งสาม พึงเห็นด้วยอุปมาเปรียบเหมือน แม่โคนมที่ปราศจากหนังห่อหุ้ม

มโนสัญเจตนาหาร /ตัณหาทั้งสาม พึงเห็นด้วยอุปมาเปรียบเหมือน หลุมถ่านเพลิงที่ร้อนแดง

วิิญญาณาหาร /นามรูป พึงเห็นด้วยอุปมาเปรียบเหมือน นักโทษถูกประหารที่ถูกแทงด้วยหอก 300 เล่ม

“รู้ด้วยปัญญา เห็นตามความเป็นจริงด้วยกำลังคือสมาธิ เราจะสามารถคลายความกำหนัด คลายความรักใคร่ยินดีพอใจ ละซึ่งตัณหาในวิญญาณคืออาหารนั้นได้”

และช่วงคลังพระสูตรในสัปดาห์เดียวกันนี้ จะได้ยก ปุตตมังสสูตร และ อัตถิราคสูตร ขึ้นมานำมาให้ได้ฟังเนื้อหาเต็ม ๆ กัน

แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท Ep.58