“พอเราปฏิบัติไป ๆ ปัญญาเรามากขึ้น บางทีรู้สึกว่าศรัทธาเรามันอ่อน ไม่ได้เป็น next level เหมือนอยู่กับที่ เพราะงั้นจะให้ไปต่อได้ ศรัทธาจะเป็นตัวที่ก้าวกระโดดขึ้นไปได้ให้เพิ่มไปได้ ถ้าคุณมีปัญญาสูง คุณใช้ปัญญาไปในทางเพิ่มศรัทธาได้ มันปรับกันได้ “

Q: พราหมณ์ให้ผ้าผืนเดียวแล้วไม่เปลือยหรือ

A: เป็นเรื่องของเอกสาฏกพราหมณ์ที่สละผ้าคลุมที่มีผืนเดียว ไม่ใช่ผ้านุ่งจึงไม่เปลือย เขาข้ามความตระหนี่หรือความอายไปได้ แสดงว่าต้องเห็นอะไรที่ยิ่งไปกว่า ประเด็นคือ ต่อให้ผ้าผืนนั้นเป็นผืนสุดท้าย แล้วคุณจะให้ได้มั้ย สามารถให้สิ่งที่รักเพื่อสิ่งที่เรารักเหมือนโพธิสัตว์ได้หรือไม่

Q: การมีเพื่อนสองมีนัยยะอย่างไร การมีความคิดนึกไปเองใช่เป็นเพื่อนสอง?

A: ถ้าดูเฉพาะคำศัพท์ก็เป็นไปในทางดี เช่น กัลยาณมิตร แต่ถ้าดูจากบริบทที่พระพุทธเจ้าสอนภิกษุ เพื่อนสอง คือ ตัณหา ส่วนการคิดนึกอาจจะไม่ใช่ตัณหา ความคิดเป็นวิตกวิจารณ์ แต่อุปาทานในความคิดนั้นต่างหาก คือ ตัณหา

Q: ศรัทธากับสัมมาทิฏฐิ อะไรมาก่อนกัน

A: อยู่ที่เป็นประเภทไหน ถ้าเป็นสัทธาวิมุต สัทธานุสารี อันนี้ศรัทธามาก่อน ถ้าเป็นกายสักขี ทิฏฐิปัตตะ หรือธัมมานุสารี อันนี้สัมมาทิฏฐิมาก่อน ทั้งนี้ต้องมีทั้งสองอย่างประกอบกันจึงจะไม่หลุดจากทาง เพราะถ้าศรัทธามากกว่าปัญญาจะกลายเป็นงมงายยึดติด ถ้าปัญญามากกว่าสติมากกว่าศรัทธาก็จะกลายเป็นยกตนข่มท่านตีตัวเสมอท่าน ให้ปรับให้ดีจะทำให้อินทรีย์แก่กล้าบรรลุธรรมได้ ในอริยมรรคพระพุทธเจ้าจะให้สัมมาทิฏฐินำ แต่ในไตรสิกขาจะให้ศีลที่มาจากศรัทธานำ เป็นการยากที่จะพยากรณ์ว่าบุคคลประเภทไหนดีกว่ากัน 

Q: เจริญฉันทะอย่างไรไม่ให้ burn out

A: คนที่ burn out มีทั้งเพียรย่อหย่อน และที่มากเกินพอดี การเจริญอิทธิบาทสี่ต้องมีธรรมเครื่องปรุงแต่ง อาศัยสมาธิ และธรรมทั้งสี่เป็นประธานกิจ สมาธิจะเป็นตัวปรับเป็นอาหารหล่อเลี้ยงทำให้รักษาสิ่งที่ได้แล้วไว้อยู่ได้ 

Q: ตั้งทิฏฐิไว้ต่างกันก็มีที่มาต่างกันจริงหรือ และสามารถปรับเปลี่ยนทิฏฐิเดิมได้หรือไม่

A: ความปรารถนาทุกอย่างปรับเปลี่ยนได้ ที่ทำมาตอนนี้ดีอยู่แล้ว ต่อให้รู้หรือไม่รู้ทิฏฐิที่ตั้งไว้แต่เดิม ก็ควรเดินตามมรรค ฝึกให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

Q: การรับมือ fake news ตามแบบพุทธะ

A: ไม่ว่าจะเป็น news หรือ fake news ก็ควรรับมือด้วยโยนิโสมนสิการ จะมีโยนิโสมนสิการได้ก็ต้องเริ่มด้วยสติ