Q: ผักที่เป็นพืชคาม ต้อง “กัปปิยะ”?

A: กัปปิยะ คือ ของที่ควรให้เหมาะสม หากพืชที่จะโตงอกต่อได้หรือมีเมล็ด ต้องทำกัปปิยะ โดยวิธีทำกัปปิยะ คือ การนำเมล็ดออก บิออก เอาไฟลน เอาส้อมจิ้ม

Q: เนื้อประเภทใดที่พระฉันไม่ได้

A: 1. เนื้อสัตว์ 10 ประเภทนี้ คือ เนื้อมนุษย์, เนื้อเสือเหลือง, เนื้อช้าง, เนื้อม้า, เนื้อสุนัข, เนื้องู, เนื้อสิงโต, เนื้อเสือโคร่ง, เนื้อหมี, เนื้อเสือดาว 2. เนื้อดิบ 3. เนื้อที่สงสัย ที่ได้ยิน รู้หรือเห็น ว่าฆ่าเจาะจงเพื่อท่าน

Q: ถวายยาเสพติด เช่น บุหรี่ กัญชา แก่พระได้รึไม่?

A: ไม่ควรถวาย

Q: น้ำประเภทใดที่ไม่ควรนำมาถวายพระ?

A: น้ำที่มีตัวสัตว์อยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่มหรือน้ำใช้ ไม่ควรนำมาถวาย

Q: การถวายอาหารพระที่พำนักอยู่ในป่า

A: ต้องแจ้งท่านล่วงหน้าก่อนจึงจะเหมาะสม

Q: การถวายผ้าอาบน้ำฝน

A: ผ้าอาบน้ำฝน ถวายได้ในฤดูฝน พระสงฆ์สามารถรับถวายได้ ก่อนเข้าพรรษา 1 เดือน หลังฤดูฝนถวายไม่ได้

Q: การถวายเครื่องนุ่งห่มสำหรับกันหนาว

A: ท่านมีอนุบัญญัติว่า พระไม่ควรนุ่งห่มเหมือนคฤหัสถ์ ทั้งนี้ กรณีที่หนาวมาก ควรจะทำให้เหมาะสมกับที่พระสงฆ์จะใส่ได้ ไม่ควรใช้เหมือนคฤหัสถ์ แต่ควรใช้ชนิดอื่น ที่ไม่เหมือนกันแทน

Q: สถานที่ ที่ไม่ควรนิมนต์พระสงฆ์ไป?

A: โรงสุรา ที่ขายเหล้า ที่มีสัตว์ดุร้าย ที่ค้าประเวณี ที่มีของโสโครก

Q: ไม่ควรถวายของเล่นแก่พระ

A: เช่น เรือเล็กๆ รถ ไพ่ หมากรุก รวมถึง การพนันที่แบ่งเป็นฝ่ายๆ เล่นกีฬา ดูฟุตบอล ไม่ควรถวาย ไม่ควรชวนเล่น

Q: พระควรจะเกี่ยวข้องสตรีอย่างไร?

A: ในหมวดธรรมะ อย่ามอง อย่าพูดด้วย ถ้าจำเป็นต้องพูดด้วยให้พูดอย่างมีสติ อย่าเข้าใกล้ ในหมวดพระวินัย ถ้าถูกกายหรือถูกของที่ติดกับตัว เช่น ซ้องผม ด้วยจิตอันกำหนัด จะเป็นอาบัติ จัดเป็น “วัตถุอนามาส” คือ วัตถุอันภิกษุไม่ควรจับต้อง