Q: เหตุที่ต้องมีพระวินัย

A: หากมีการแสดงธรรมโดยพิสดาร มีคำสอนมาก รายละเอียดมาก สิกขาวินัยมาก คำสอนจะตั้งอยู่ได้นาน ศาสนาจะไม่เสื่อมเร็ว เปรียบดังดอกไม้ที่จัดเรียงไว้สวยงามแต่ไม่ได้ร้อยไว้ พอลมพัดมาก็กระจัดกระจาย แต่หากร้อยไว้ด้วยเชือก แล้วมีลมพัดมา ดอกไม้ก็สวยงามดังเดิมได้ การอยู่กันด้วยวินัยร้อยเรียงเอาไว้จะอยู่ด้วยกันเรียบร้อยได้ ตรงนี้จึงเป็นเรื่องราวที่ท่านบัญญัติไว้ เป็นความหมายว่าทำไม “ระเบียบวินัยเป็นแนวทางแห่งความสำเร็จ”

Q: การรับประเคน 5

A: 1. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย 2. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย 3. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย 4. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย 5. ของเขาให้ด้วยโยนให้ รับประเคนด้วยกาย หรือด้วยของเนื่องด้วยกาย

Q: การประเคน 5 ประการ

A: 1. อาหารที่นำมาให้ต้องไม่ใหญ่เกินไป พอยกได้ 2. ต้องเข้ามาใน “หัตถบาส” (เท่ากับช่วง 2 ศอก 1 คืบ) 3. น้อมเข้ามาถวาย 4. ผู้ประเคนจะเป็นเทวดา มนุษย์ สัตว์ก็ได้ 5. สิ่งที่รับประเคนนั้นด้วยกาย หรือ ด้วยของเนื่องด้วยกาย

Q: ทำไมพระไทยต้องใช้ของเนื่องด้วยกายเสมอกับผู้หญิง?

A: เพราะใน สิกขาบท สังฆาทิเสส หากสัมผัสแตะต้องกายหญิงด้วยจิตมีกำหนัด จะต้อง ”อาบัติสังฆาทิเสส” คือ อาบัติหนัก พระท่านจึงระวังมาก

Q: องค์แห่งการขาดประเคน

A: คนที่รับประเคนมาแล้ว ท่านตาย มรณภาพ ลาสิกขา อาบัติปาราชิก เปลี่ยนเพศจากชายเป็นหญิง ให้ไป สละไปโดยไม่มีเยื่อใย ถูกชิงหรือขโมยเอาไป

Q: ประเคนอาหารทั้งโต๊ะเลยได้หรือไม่?

A: ให้พิจารณา การประเคน 5 ประการ ควรประเคนทีละอย่าง และต้องอยู่ใน “หัตถบาส” เพื่อความเรียบร้อยและเป็นการให้ที่เคารพ / หากอาหารที่จะถวายอยู่ไกลเกินไป ไม่ควรให้พระหยิบให้โยมแล้วโยมประเคนให้พระอีกรูปหนึ่ง เพราะของที่หยิบให้โดยยังไม่ประเคน ไม่ถูกต้อง จะเป็น “อุคคหิตก์” คือ ไม่ควร รับมาแล้วก็ฉันไม่ได้ เพราะรับมาด้วยการไม่ควร

Q: “กาลิก” อาหารตามกำหนดเวลาของพระ

A: “ยาวกาลิก” คือ รับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้แค่เช้าถึงเที่ยง “ยามกาลิก” คือ รับแล้วเก็บไว้ฉันได้ถึงวันรุ่งขึ้น “สัตตาหกาลิก” คือ รับแล้วเก็บไว้ฉันได้ภายใน 7 วัน “ยาวชีวิก” คือ เก็บไว้ฉันเวลาป่วย/ฉันได้ตลอดไป