ไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจทั้งที่ดีและย่ำแย่นั้น หลักธรรมที่ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและการทำมาหากิน สามารถแบ่งออกเป็นหัวข้อหลัก ๆ ดังนี้

1.ต้องลงมือทำหรือปฏิบัติตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อความสุข ความดี และประโยชน์เกื้อกูลอยู่ในปัจจุบัน มีโดยควรแก่ฐานะที่ควรจะเป็นได้ ตามหลักธรรม อุฏฐานสัมปทา, อารักขสัมปทา, กัลยาณมิตตตา, สมชีวิตา 

2.ต้องลงมือทำหรือปฏิบัติตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อความสุข ความดี และประโยชน์เกื้อกูลในเวลาต่อๆ ไป มีโดยควรแก่ฐานะที่ควรจะเป็นได้ ตามหลักธรรม คือ เป็นผู้ที่มีศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า, เป็นผู้ที่มีศีล รักษาศีล, เป็นผู้ที่มีจาคะ คือ มีการสละออก การให้ การบริจาค, เป็นผู้ที่มีปัญญาที่จะละความเกิดดับ ละความยึดถือ เห็นโทษในสิ่งที่เป็นอกุศลธรรม

3.ต้องหลีกเลี่ยงอบายมุข หรือที่ตั้งแห่งความประมาท ซึ่งถือเป็นการอุดรูรั่วในการใช้จ่าย สามารถแบ่งออกได้ดังนี้ การดื่มน้ำเมา, การเที่ยวไปในตรอกต่าง ๆ ในกลางคืน อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทและเกิดโทษหากทำบ่อย ๆ, การเที่ยวดูมหรสพ อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทและเกิดโทษหากทำบ่อย ๆ, การพนัน อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทและเกิดโทษหากทำบ่อย ๆ, การคบคนชั่วเป็นมิตร อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทและเกิดโทษหากทำบ่อยๆ, ความเกียจคร้าน อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทและเกิดโทษหากทำบ่อยๆ 

4.ต้องรู้จักการแบ่งจ่ายทรัพย์ใน 4 หน้าที่ ในเงินทองที่ได้มาด้วยความชอบธรรม โดยที่สามารถปรับสัดส่วนได้ตามความเหมาะสม อันได้แก่ บำรุงเลี้ยงให้ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นสุขทั้งในทางเศรษฐกิจและในครัวเรือน โดยครอบคลุมไปยังผู้คนที่เกี่ยวข้องกับเราในทิศทั้งหก, ปิดกั้นอันตรายจากไฟ น้ำ พระราชา โจร หรือทายาทอันไม่เป็นที่รักใคร่ รวมถึงการรักษาทรัพย์ เช่น การจ่ายภาษี การทำประกันภัย, การทำพลีกรรม หมายถึง ภาษีหรือการบูชาเครื่องสังเวย เป็นการให้เปล่าหรือการให้โดยไม่หวังคืน มีอยู่ด้วยกัน 5 ลักษณะ (ญาติพลี, อิตถิพลี, ปุพพเปตพลี, ราชพลี, เทวตาพลี), 
การตั้งไว้ซึ่งทักษิณาทาน หมายถึง ให้เพื่อหวังเอาบุญ ให้กับสมณะพราหมณ์ที่มีความดีงาม เป็นเนื้อนาบุญ เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

5.ปฏิบัติตนตามหลักคุณธรรม 3 ประการเพื่อที่จะเป็นฆราวาสชั้นเลิศยิ่งขึ้นไป เป็นอริยสาวกที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องเปรียบได้กับหัวเนยใส ซึ่งเป็นยอดของรสจากโค กล่าวคือ สามารถบริโภคผลิตภัณฑ์จากวัว โดยที่วัวไม่ตายหรือไม่ถูกเบียดเบียนมากนัก ได้แก่ อุฏฐานสัมปทา, สมชีวิตา และมีปัญญา คือ ไม่กำหนัดยึดถือ ติดยึดในโภคทรัพย์นั้น