นันทโกวาทสูตร เป็นพระสูตรที่กล่าวถึงการที่ท่านพระนันทกะไปเทศน์สอนภิกษุณี ในเรื่องความไม่เที่ยงเหมือนกับที่สอนท่านพระราหุล โดยยกเรื่องผัสสะ ความคิดความรู้สึกหรืออย่างใดอย่างหนึ่งว่ามันไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรแล้วหรือที่จะเห็นว่านั่นเป็นตัวตนของเรา เป็นของเรา, สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ? สิ่งที่เป็นการเปลี่ยนแปลงนั่นคือ “สภาวะ” มีการปรุงแต่งตัวมันเองและสิ่งอื่นๆ สภาวะที่ไม่มีความคงทน – ทนอยู่ไม่ได้มีความเป็นทุกข์ อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น มีความไม่เที่ยง…เป็นทุกขลักษณะไม่ใช่ทุกขเวทนา

เปรียบเหมือนเนื้อข้างในนั้นเป็นอายตนะภายใน ส่วนหนังข้างนอกเป็นอายตนะภายนอก 6 เนื้อล่ำในระหว่างเอ็น ในระหว่างเครื่องผูก คำว่า “ในระหว่าง” นั้นเป็นชื่อของนันทิราคะ มีดแล่โคเป็น “ปัญญา” ซึ่งใช้เถือแล่คว้านกิเลสในระหว่างสัญโญชน์เครื่องผูกออก

โพชฌงค์ 7 จึงทำให้เราสามารถแยกอายตนะภายนอก – ภายใน และเครื่องผูกออกจากกันได้ และไม่เกิดการกลับกำเริบขึ้นอีก