00:00
1X
Sorry, no results.
Please try another keyword
- 2 จิตตวิเวกเจริญธัมมานุสสติในอริยสัจสี่ | มีปัญญารู้ชัดถึงกิจที่ควรทำในอริยสัจทั้งสี่ข้อที่แตกต่างกัน ซึ่งทุกข์ต้องกำหนดรู้, ตัณหาต้องละ, นิโรธต้องเป็นสิ่งที่ทำให้แจ้ง และมรรคต้องทำให้เจริญ ปัญญาที่เราต้องแจกแจงพิจารณาใคร่ครวญต่อไปก็คือ เราทำให้มันได้แล้วหรือยัง ในแต่ละขั้น ในแต่ละข้อ ในแต่ละจุด ในแต่ละประเด็น นี้คือ การเจริญธัมมานุสสติ โดยใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญลงมาในธรรมะให้เห็นตามความเป็นจริงในหัวข้ออริยสัจ 4 ดังนี้ ทุกขอริยสัจ: กล่าวโดยย่อ กองขันธ์ 5 อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ (อุปาทาน) เป็นทุกข์ จะกำหนดรู้ได้ก็ต้องมีปัญญามีอภิญญา (ความรู้ที่ยิ่งไปกว่า) ทุกขสมุทยอริยสัจ: เพราะมีตัณหาจึงมีอุปาทาน ตัณหาเป็นตัวเชื่อมระหว่างขันธ์ 5 และอุปาทานความยึดถือ มีอวิชชาเป็นเครื่องปกปิดเอาไว้…ตัณหามีอยู่ในสิ่งใด สิ่งนั้นจึงจะเป็นความทุกข์ของเราได้ ตัณหานี้ใด อันเป็นเครื่องที่ทำให้มีการเกิดภพใหม่ (การเกิิดใหม่) ซึ่งประกอบอยู่ด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิน มักเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ตัณหาจึงเป็นเหตุเกิดของความทุกข์ จึงต้องละ ทุกขนิโรธอริยสัจ: ต้องทำให้แจ้งถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ซึ่งทุกข์กับสมุทัยมันต้องอาศัยกันจึงตั้งอยู่ได้ เมื่อความจางคลาย ความลดลง ๆ ไป จนถึงความดับไปไม่เหลือของตัณหาแล้ว สิ่งนั้นก็จะไม่ได้เป็นความทุกข์ของเรา…วิญญาณคือการรับรู้ยังมีอยู่ ก็รับรู้เรื่องราวตรงนั้น แต่ตัณหาจะไม่คืบคลานต่อไป เราก็จะไม่ได้มีความทุกข์ในสิ่งนั้น จึงเห็นนิพพานได้เลยในปัจจุบัน[...]