ปฏิบัติธรรม เริ่มจากตั้งสติด้วยการระลึกถึงพุทโธ คือ ความตื่นความรู้ความเบิกบาน จากการไปตามอำนาจของผัสสะต่างๆ ที่จะให้สุขบ้างทุกข์บ้าง 
ความเข้าที่คลาดเคลื่อนว่า คนที่ปฏิบัติธรรม จะต้องละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่าง ต้องบวชหรือถ้ามีเงินทองมาก มีชื่อเสียง ตำแหน่ง จะทำให้การปฏิบัติเป็นไปไม่ได้
คนที่ร่ำรวย มีชื่อเสียง มีความสุข มีกามวัตถุมาก ไม่จำเป็นจะต้องมีกาม มีความกำหนัดยินดีพอใจในจิตใจที่มากตามไปด้วย แต่คนที่มีวัตถุกามมาก กลับมีกิเลสกามน้อย ก็มี ขณะเดียวกัน คนที่ไม่ได้จะมีวัตถุกามมาก มีน้อยกลับมีกิเลสกามมาก ก็มี
(3) ตัวอย่างคนมั่งมี เช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขา จิตตคฤหบดี ปุณณเศรษฐี มิคารเศรษฐี เมณฑกเศรษฐีฯ
ไม่ใช่มั่งมีแล้ว จะละกามไม่ได้ มีธรรมะไม่ได้ และไม่ใช่ว่ายากจนแล้ว จะละกามได้ เห็นทุกข์แล้ว จะพ้นทุกข์ บางทีก็ไม่แน่ ซึ่งการจะละกามได้ พ้นทุกข์ได้หรือไม่ มีลาภ/เสื่อมลาภ ยศ/เสื่อมยศ นินทา/สรรเสริญ สุข/ทุกข์ จะครอบงำจิตได้หรือไม่ เหตุปัจจัยอยู่ที่ว่า มีมรรคไหม ในที่นี้ยกเรื่องศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา

สรุป การที่จะละกาม ไม่ใช่ว่าจะต้องละสิ่งของข้าวของทุกสิ่งทุกอย่าง หรือการที่ไม่ได้มีสิ่งของข้าวของอะไรมาก แล้วคิดว่าจะละกามได้ นั่นคนละเรื่อง แต่จะละกามได้ ด้วยธรรมะที่เรามี ไม่ใช่ด้วยสิ่งของ แต่ละได้ด้วยเรื่องของมรรค ซึ่งในที่นี้ยกมาเริ่มจากศรัทธา ไปสุดจบอย่างสวยงามที่ปัญญา

#1u0101-3-190403