ทักษะอะไร ที่เมื่อเราอยู่ร่วมกับผู้อื่นแล้ว จะเป็นเหตุให้ เป็น “ที่รัก ที่น่าพอใจ ที่น่าเคารพ และยกย่อง”

ข้อที่ 81-85 นี้ ว่าด้วยธรรมของ พระเถระ” เป็นข้อปฏิบัติของความเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ในแต่ละข้อ จะประกอบด้วยธรรม 5 ประการ คือ ธรรม” ที่จะเป็นเหตุให้ “ไม่เป็นที่รัก ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเคารพยกย่อง” และในทางตรงกันข้ามกัน ธรรม” ที่จะเป็นเหตุให้ “เป็นที่รัก ที่น่าพอใจ น่าเคารพและยกย่อง”

รชนียสูตร #ข้อ81 กำหนัด ขัดเคือง หลง โกธร มัวเมา ให้มาพิจารณาถึงความไม่เที่ยงในสิ่งต่างๆ รู้เห็นตามจริงในอริยสัจ 4 เอาโลกธรรม 8 มาพิจารณา จะไม่กำหนัด ขัดเคือง หลง โกธร มัวเมาได้

วีตราคสูตร #ข้อ82 ใน 3 ข้อแรก (ราคะ โทสะ โมหะ) ความหมายเหมือนกันกับ #ข้อ81 ที่แตกต่างกันออกมา คือ “เป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน” คือ การไปด้อยค่า หรือคุณธรรมของบุคคลอื่น และ “เป็นผู้ตีเสมอ” คือ ยกคุณของตัวเองให้เสมอเขา ดีกว่าเขา

กุหกสูตร #ข้อ83 เป็นผู้หลอกลวง พูดป้อยอ ผู้ทำนิมิต พูดบีบบังคับ แสวงหาลาภด้วยลาภ คือ พูดหรือแสดงอาการเพื่อให้เกิดความเลื่อมใส หวังลาภสักการะ ชื่อเสียง

อัสสัทธสูตร #ข้อ84 เป็นผู้ไม่มีศรัทธา หิริ โอตตัปปะ เกียจคร้าน มีปัญญาทราม ตรงกันข้ามกัน คือ ให้เชื่อมั่น กลัวละอายต่อบาป มีความเพียร โยนิโสมนสิการ จะสอดคล้องกับธรรมของเสขพละ 5

อักขมสูตร #ข้อ85 เป็นผู้ไม่อดทนต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ให้เป็นผู้อดทนต่อผัสสะนั้นๆ เพื่อไม่ให้มีอกุศลธรรมเกิดขึ้นมา ความอดทนเป็นทักษะที่ฝึกฝนกันได้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต เถรวรรค