คำสอนของพระพุทธเจ้านั้นมีความลึกซึ้ง มีในหลายนัยยะ เราจึงต้องมีการพิจารณาโดยแยบคาย ยิ่งมีรายละเอียดมาก ก็ยิ่งต้องแยบคายรัดกุมถ้วนถี่รอบคอบให้มาก พระพุทธเจ้าทรงตรัสเปรียบเทียบ “การกระทำที่ไม่แยบคายและการกระทำที่แยบคาย” เอาไว้ในภูมิชสูตร
อย่าดีแต่ปาก ดีแต่พูด แต่ให้เข้าใจถึงมีความแยบคายอะไรในพิธีกรรมนั้น ๆ ถ้าเราไม่แยบคายแล้ว เราจะไม่สามารถเข้าถึงธรรมะได้เลย
ให้จิตใจเราตั้งขึ้นให้ดี ให้เป็นกุศล ให้เข้าใจถูกต้อง เริ่มจากสัมมาทิฏฐิไปจนถึงสัมมาสมาธิ ความเพียรในพิธีกรรมนั้นจะไม่ไร้ผล

“ความลึ่กซึ่ง ความแยบคายไม่ได้อยู่ว่าเสียงคุณได้ยินวาจาภาษาอะไร หรือว่าจุดธูปเทียน หรือว่าพนมมือหรือว่าอะไร นั้นเป็นแค่ภายนอก กาย วาจา แต่ที่สำคัญให้มีความแยบคาย นั่นคือ ภายใน ในใจของเราของเราตั้งจิตไว้อย่างไร ถ้าตั้งจิตไว้ด้วยความเป็นอกุศลพิธีกรรมอะไรที่มันศักดิ์สิทธิ์มาก ๆ มันก็เป็นอกุศลหมด มันก็ไม่ถูกหมด ไม่ดีหมด ใช้ไม่ได้ ไม่ได้เรื่องหมด แต่่ถ้าจิตของเราเป็นกุศล จะไปอยู่ในพิธีกรรมใด ๆ ก็ตาม ศาสนาใดก็ตาม ที่ไหนก็ตาม เป็นมงคลหมด ถ้าจิตใจเราดี จิตใจเราเข้าถึง จิตใจเรารู้ให้มันถูกต้อง ความเพียรการปฏิบัติพิธีกรรมนั้นจะไม่ไร้ผล”