Q: ความหมายและบริบทของ ชา-ติ
A: ชาติ คือ การเกิด การกำเนิดโดยยิ่ง การก้าวลงสู่ครรภ์ การปรากฏโดยอายตนะ หรือเกิดในบริบทอื่น ๆเกิดซ้อนเกิดแล้วแต่จะกำหนดอย่างไร ไม่มีบริบทหน้าหลังลำดับความเป็นมาเหมือนกับปัญญา เพราะปัญญาเป็นส่วนแห่งมรรค แต่ชาติเป็นส่วนแห่งทุกข์หน้าที่ก็คือ ทุกข์ให้ยอมรับ ส่วนมรรคทำให้เจริญมีความอุบัติขึ้นแห่งปัญญา ชาตินี้ดับได้โดยความยึดถือที่ดับไป “ความตายไม่ใช่ชาติ ความเกิดขึ้นของชาติ ความดับไปของความตาย ความดับไปของชาติ ความเกิดขึ้นของความตาย ไม่ใช่ชาติของความตาย ความดับไปของความเกิดไม่ใช่ความตายของชาติ”

Q: งานใหญ่ควรเลือกคนขยันแต่โง่ หรือเลือกคนฉลาดแต่ขี้เกียจ
A: เลือกทั้งสอง เพราะเป็นงานใหญ่ หน้าที่ของผู้นำ คือ ให้ทำงานตามกำลังที่เหมาะสม

Q: รูปแบบเขียนปฏิจจสมุปบาทมีกี่ชนิด
A: ให้กลับมาที่จุดที่เล็กที่สุด คือ “เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ” ใช้หลักการนี้ในการเข้าไปจับกับทุกสิ่งจะเกิดปัญญาได้

Q: ดับอวิชชาทำอย่างไร
A: ดับอวิชชาได้ต้องมีวิชชาเกิดขึ้น วิชชาเกิดตรงที่เห็นความไม่เที่ยง จะเห็นได้จิตต้องมีโพชฌงค์ 7 อย่างใดอย่างหนึ่ง จะมีโพชฌงค์ได้ก็ต้องอาศัยสติปัฏฐาน 4 สติจะมีได้ก็จากอนุสติ 10

Q: กำหนดสิ่งที่ไม่รู้ว่าเกิดจากอะไรว่าอวิชชาได้?
A: พระพุทธเจ้าบัญญัติว่าอวิชชามีอยู่ ซึ่งแต่ก่อนมีพระพุทธเจ้าเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอวิชชามีอยู่ เมื่อรู้แล้วค่อยไปทำให้รู้ในสิ่งที่ไม่รู้ให้รู้ขึ้นมา ทำวิชชาให้เกิดด้วยการปฏิบัติตามมรรค 8 แล้วอวิชชาจะดับไป

Q: บารมีมีกี่อย่าง
A: ตามพุทธพจน์มี 10 บารมี 30 นั้นมาจากคัมภีร์พุทธวงศ์ แต่ทั้งนี้อย่าเพิ่งปฏิเสธควรแยกทำความเข้าใจ

Q: อโหสิกรรมอย่างไรให้ถูกต้อง
A: อโหสิกรรม คือ กรรมที่ได้กระทำแล้ว พระพุทธเจ้าใช้คำว่า ผูกเวร เราจะมีอคติจนผูกเวรไปในกรรมที่ทำไปแล้วหรือไม่ ในส่วนตัวเราจิตเรา เราก็ฝึกเอา ใช้พรหมวิหารปฏิบัติตามมรรค 8 ส่วนจิตคนอื่นเราควบคุมไม่ได้ก็ให้อดทนเอา จะสิ้นกรรมต่อกันได้เมื่อมรรค 8 บริบรูณ์