“…นี้แลเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน เป็นเหตุทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อคติ และอุบัติยังมีอยู่”

ในอัตตานุวาทสูตรประเด็นที่น่าสนใจ คือ เราต้องรู้จักเตือนตนด้วยตน จึงจะมีคุณสมบัติที่จะอยู่คนเดียวได้ อูมิภยสูตร ภัยสี่ประการที่ผู้จะข้ามฝั่งแห่งภพต้องพบ คลื่น คือ ความคับแค้นใจจากคำตักเตือน จระเข้ คือ ลิ้น น้ำวน คือ กาม ปลาร้าย คือ เพศตรงข้าม ปฐม/ทุติยนานากรณสูตร คือ ความแตกต่างในจุดที่ไประหว่างปุถุชนกับอริยบุคคล ที่ถึงแม้ได้ฌานสมาธิในขั้นเดียวกัน ปุถุชนผู้ติดในสมาธิเมื่อหมดอายุจากพรหมก็ยังอาจไปทุคติได้ ส่วนอริยบุคคลจะปรินิพพานในชั้นนั้น นั่นเพราะเห็นความไม่เที่ยงในขันธ์ทั้ง 5 ปฐม/ทุติยตถาคตอัจฉริยสูตร ความอัศจรรย์ของการปรากฏขึ้นของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่การก้าวลงสู่ครรภ์ ประสูติ ตรัสรู้ และประกาศธรรมจักร รวมถึงการยอมเงี่ยโสตลงฟังธรรมจากบุคคลที่ยังยินดีในกาม ติดมานะ ยินดีในความไม่สงบ มืดบอดด้วยอวิชชา อานันทอัจฉริยสูตรและจักวัตติอัจฉริยสูตร กล่าวถึงคุณสมบัติพระอานนท์ผู้เป็นที่รักแห่งมหาชน จบภยวรรค (ข้อที่125-126จะพูดในตอนถัดไป)