“ดีอยู่ แล้วกลับมาเป็นไม่ดี ก็ได้ ไม่ดีอยู่ แล้วกลับมาดี ก็เป็นไปได้เหมือนกัน อยู่ที่เหตุปัจจัยเงื่อนไขที่เราสร้างขึ้น”

ในอัฏฐังคิกสูตรและทสมัคคสูตรยังคงอยู่ในหัวข้อสัตบุรุษ และยิ่งกว่ากับอสัตบุรุษ และยิ่งกว่า อัฏฐังคิกสูตร ก็คือ มรรค 8 ส่วนทสมัคคสูตร คือ มรรค 8 สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ เรียกว่าสัมมัตตะ10 ปฐปาปธัมมสูตร และทุติยปาปธัมมสูตร เปลี่ยนจากสัตบุรุษอสัตบุรุษมาเป็นคนดีคนชั่ว ไส้ในเหมือนสองข้อข้างต้น ตติยปาปธัมมสูตร และจตุตถปาปธัมมสูตร เป็นเรื่องของผู้มีธรรมะอันชั่ว และธรรมะอันดี จบสัปปุริสวรรค

เริ่มโสภณวรรค หมวดว่าด้วยผู้ทำบริษัทให้งาม ปริสาสูตร : บริษัทจะงามหรือถูกประทุษร้ายก็มาจากพุทธบริษัท ประทุษร้าย คือ การทำศรัทธาให้ตกไป ควรมีกัลยาณธรรม ต่อจากนี้ไป เป็นพระสูตรแบ่งบุคคลที่จะเป็นผู้ที่ถูกนำไปฝังในนรกหรือผู้ที่ถูกนำไปประดิษฐานบนสวรรค์ โดยแบ่งตามเนื้อหาด้านในที่ต่างกัน ทิฏฐิสูตรแบ่งตามกาย วาจา ใจ และทิฏฐิ ในอกตัญญุตาสูตรยังคงพิจารณาตามกาย วาจา ใจแต่เปลี่ยนทิฏฐิเป็นกตัญญู หรืออกตัญญูแทน ในปาณาติปาตีสูตรเอาศีล 4 มาจับ ปฐมมัคคสูตร และทุติยมัคคสูตรเอามรรค 8 มาแบ่งเป็นสองส่วน ปฐมโวหารปถสูตร และทุติยโวหารปถสูตร คือ การรับรู้ผ่านตาหูจมูกลิ้นกายใจแล้วบอกไปตามจริงหรือกล่าวเท็จ อหิริกสูตรเอาศีล ศรัทธา หิริ โอตัปปะ มาจับ และในทุสสีลสูตรเปลี่ยนจากหิริโอตัปปะเป็นเกียจคร้าน และปัญญาทราม จบโสภณวรรค

(จตุกกนิบาต : สัปปุริสวรรค ข้อที่ 205 – 210 และโสภณวรรค ข้อที่ 211 – 220)