บุคคลทำกรรมใดไว้ย่อมต้องได้รับผลของกรรมนั้นไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมไม่ดี
อรรถกถาที่ยกมาครั้งนี้กล่าวถึงเรื่องของ “กรรม” โดยยกเรื่องของพระติสสเถระผู้มีกายเน่า และ นายสุมนมาลาการ นายช่างดอกไม้ที่ยอมถวายชีวิตเพื่อพระพุทธเจ้า ทั้งสองทำกรรมอย่างไรบ้าง ?

ยกนิทานธรรมบท 2 เรื่องขึ้นมาเป็นเรื่องของ “กรรม” โดยเรื่องแรกเป็นเรื่องของพระติสสะเถระผู้มีกายเน่า ด้วยโรคแผลพุพองได้รับความทรมานเพราะกรรมที่เคยทำมา จนภิกษุอีก 2 รูปต้องเข้ามาช่วยดูแลแต่ก็ดูแลไม่ไหวจนพระพุทธเจ้าต้องลงมาดูแลพระติสสสะเถระด้วยพระองค์เองและทรงเทศน์ให้ฟังจนพระติสสะบรรลุธรรม … ส่วนเรื่องที่ 2 เป็นเรื่องของนายช่างดอกไม้ที่มีจิตใจดี เขาจึงตั้งชื่อว่า “สุมน” คือผู้มีจิตใจดี จิตใจงดงาม …นายช่างร้อยดอกไม้ของพระเจ้าพิมพิสารจะต้องนำดอกไม้มาถวายพระราชาทุกวัน แต่วันนั้นเห็นพระพุทธเจ้าและเกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าโดยไม่เกรงกลัวต่ออาญายอมสละชีิวิตตรงนั้น เพราะตั้งใจจะถวายดอกไม้เป็นพุทธบูชาแก่พระพุทธเจ้า ซึ่งการเอาชีวิตเข้าแลกเพื่อกระทำสิ่งนี้ให้ได้ (การยอมตายเพื่อความดีเพื่อรักษาศีล) บุญที่เกิดจากการตั้งมั่นอย่างแรงกล้านี้ทำให้มีบุญบารมีอย่างมาก