ฝึกจิตโดยใช้ลมหายใจเป็นเครื่องมือ เอาลมหายใจตั้งขึ้นไว้ เอาจิตมารับรู้ สติเกิดขึ้นทันที สติ จิต ลมหายใจอยู่ด้วยกัน สติที่เกิดขึ้นจะทำให้จิตนุ่มนวลลงละเอียดลง มีความแจ่มใสขึ้น จิตที่ละเอียดจะเห็นได้ว่าในช่องทางคือใจนี้มีหลายอย่าง ทั้งสัญญา วิญญาณ ธรรมารมณ์ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน แยกแยะออกมาด้วยอำนาจของสติ แยกแยะแล้วจะเห็นความที่มันพ้นจากกัน นั่นคือวิมุตติ วิมุตติจึงเกิดขึ้นอันเป็นผลของสติที่ตั้งเอาไว้

เมื่อตั้งสติเอาไว้ได้ มีผัสสะมากระทบให้ตั้งจิตเปรียบดั่งดิน อากาศ น้ำ และแผ่นหนัง ตั้งสติไว้กับเมตตาแผ่สวนกระแสไป ด้วยจิตที่ละเอียดเราจะแยกแยะได้ สิ่งนั้นจะไม่เข้ามาในจิตของเรา กิเลสอกุศลจะเข้ามาเกาะจิตที่ละเอียดไม่ได้ จะไกลกันแยกกันไป

Time Index

[03.06] เริ่มต้นการปฏิบัติ โดยการระลึกรู้อยู่กับลมหายใจที่ปริมุขขัง 

[09.15] มโนสังขารกับธรรมารมณ์ละเอียดเหมือนกัน แต่เป็นคนละอย่างกัน ไม่เหมือนกัน

[14.52] พอมาอยู่กับลมหายใจ จะแยกแยะออกว่า ความคิดไม่ใช่จิต การรับรู้ไม่ใช่ความคิดเป็นวิญญาณ การรับรู้กับสิ่งที่ไปรับรู้คนละอย่างกัน สัญญาไม่ใช่ตัวเรา เป็นขันธ์5 มีเหตุมีปัจจัย

[16.11] สัญญากับวิญญาณไม่ใช่ตัวเดียวกัน ถ้าจิตละเอียดจะแยกแยะได้ ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ก็แยกออกเป็น 2 ส่วน คือฝ่ายกุศลธรรมและฝ่ายอกุศลธรรม

[19.33] จิตละเอียดเล็กลง ๆ แจ่มใสขึ้น ๆ เข้มข้นมากยิ่งขึ้น ทำให้ชัดเจนแยกแยะได้ว่าในช่องทางคือใจมีหลายอย่าง แยกแยะออกด้วย สติ บุคคลที่มีสัมมาสติแล้ว สัมมาสมาธิจะเกิดขึ้นได้

[25.45] วิธีละอกุศล จะละได้ต้องมีปัญญาเห็นโทษของมัน

[30.19] พิจารณาตั้งจิตเปรียบเหมือนแผ่นดิน อากาศ ผืนน้ำ แผ่นหนัง

[41.21] จิตที่ละเอียด กิเลสอกุศลเกาะไม่ได้ เกาะไม่ได้ก็ไกลกัน

[43.48] อ่านพระสูตร