“จิตใจของโพธิสัตว์” หมายถึง จิตใจแบบเต็มเปี่ยม ใหญ่หลวง และกว้างขวาง ให้ของที่ดีและให้มากเกินกว่าที่ขอโดยไม่มีความเสียดาย อีกทั้งให้ด้วยความนอบน้อมด้วย

การให้ในสิ่งที่ตนรักเพื่อสิ่งที่ตนรัก นั่นคือ “โพธิญาณ” ซึ่งสามารถช่วยคนได้มาก ทำความดีได้สูง เป็นการเอาความดีที่ตนมีอยู่สละออกเพื่อให้เกิดความดียิ่งกว่า ทำให้จิตใจสูงขึ้นและบุญเกิดขึ้นทันที

คำถาม (1) : ควรหรือไม่ที่จะแนะนำให้โสดาบันตั้งความปรารถนาว่า ชาติต่อไปที่เหลือ ขอได้เกิดเป็นมนุษย์?

คำตอบ (1) : การสร้างบารมีหรือบำเพ็ญบารมีเพื่อให้บรรลุธรรมในแต่ละขั้นนั้น จะต้องประกอบด้วยความบริสุทธิ์และความบริบูรณ์ของมรรค กล่าวคือจะต้องมีการปฏิบัติที่ถูกต้อง(ความบริสุทธิ์) และการปฏิบัติด้วยความเพียรที่เข้มข้นและเหมาะสม(ความบริบูรณ์) ในความเป็นพุทโธนั้นๆ เพื่อสะสมความดีในรูปแบบต่างๆที่เป็นบารมี เพื่อให้เกิดการสร้างกุศลธรรมที่เพิ่มขึ้นและทำให้อกุศลธรรมลดลง

คำถาม (2) : คำกล่าวที่ว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ได้ดีหมายถึงอะไร ซึ่งในที่นี้ผู้ถามเข้าใจว่า “ได้ดี” หมายถึง กุศลกรรมเพิ่มแต่กิเลสลดลง ใช่หรือไม่?

คำตอบ (2) : ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า พระองค์หมายเอามรรคแปด ไม่ใช่ขันธ์ห้า ดังนั้นเราจึงต้องแยกแยะให้ถูกต้องระหว่าง “กุศลหรืออกุศล”(จัดอยู่ในมรรค) แต่ “สุขเวทนาหรือทุกขเวทนา”(จัดอยู่ในทุกข์) กล่าวคือ ไม่ว่าจะเกิดสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาก็ตามแล้ว เราไม่ลุ่มหลงเพลิดเพลิน แต่มีความอดทน มองเห็นความไม่เที่ยง เกิดอุเบกขา ถือว่าความดีและบุญเกิดขึ้นแล้ว เราได้สร้างกุศลกรรมให้เพิ่มขึ้นด้วย

คำถาม (3) : การชักจูงให้คนทำความดี ในบางครั้งควรหรือไม่ที่ใช้ความอยากแบบตัณหาในการชักจูงให้ทำความดี?

คำตอบ (3) : อาจจะมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนระหว่างเรื่องของความอยากกับความเพียร เพราะการปฏิบัติตามมรรคเพื่อละตัณหา ซึ่งทำให้ทุกข์ลดลงแน่นอน

“การเจริญฉันทะเพื่อละฉันทะ” ธรรมทั้งหลายมีฉันทะเป็นมูลราก ดังนั้นต้องมีการตั้งฉันทะไว้ให้ถูก เพื่อให้ละตัณหา ทุกข์ลดลง แต่มรรคเพิ่มขึ้น เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม ความดับเย็นคือเข้าสู่กระแสพระนิพพานในที่สุด