หากคิดใคร่ครวญด้วยปัญญาชัดเจนโดยชอบตามวิญญูชนแล้ว จะพบว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งในโลกนี้ ที่เมื่อเรายึดถือแล้ว จะเป็นผู้หาโทษไม่ได้”นั้นไม่มี  นั่นหมายถึงว่า ไม่มีสิ่งใดเลยในโลกนี้ ที่เป็น “อัตตา ตัวตน” แต่ในทางตรงกันข้ามกัน มันเป็น “อนัตตา” เพราะต้องอาศัยสิ่งอื่นมาปรุงแต่ง ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสัจจะความจริงที่เราต้องเข้าใจว่า “ไม่ควรยึดถือว่าเป็นตัวเรา ของเรา”

Q1: ในวรรคที่กล่าวถึง “ฆราวาสธรรม” ชุดที่ (1) สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ กับ ชุดที่ (2) สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ เพราะเหตุใดจึงต้องใช้คำไม่เหมือนกัน

เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับฉันทลักษณ์ ซึ่งเป็นข้อกำหนด ระเบียบถ้อยคำที่ทำให้เกิดความลงรับ คล้องจองกันของคำอ่าน เพื่อให้เกิดความไพเราะ ความสวยงามทางด้านภาษา แต่มีความหมายที่ไม่แตกต่างกัน

Q2: ได้อ่าน “กสิภารทวาชสูตร” แล้วไม่เข้าใจว่า ทำไมพระพุทธเจ้าจึงไม่รับข้าวปายาสของพราหมณ์ที่เขาถวายหลังจากพระองค์ตอบเรื่องแอกและไถ ในเมื่อพราหมณ์ก็ถวายด้วยความเคารพ และข้าวนี้ก็ไม่มีใครทานได้นอกจากพระองค์และสาวก เพราะเหตุใดจึงให้เททิ้ง ในบางที่มีคนว่าพระองค์ยังคงไปโปรดซ้ำ ไปบิณฑบาตได้เลย

เพราะพระพุทธเจ้าไม่ทรงรับอาหารหรืออามิสทานที่เกิดจากการกระทำที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง หรือเป็นมิจฉาทิฏฐิ

Q3:ทุกสิ่งอย่างทั้งหมดในโลกนี้ มีอะไรที่เป็นอัตตาหรือไม่ ถ้ามีสิ่งนั้นคืออะไร

 ไม่มีสิ่งใดในโลกนี้ที่เป็นอัตตาตัวตน

Q4: ต้องการทราบวิธีแก้ไขและข้อปฏิบัติเพื่อให้กำลังของกามราคะลดลง เพราะเมื่อเห็นเพศตรงข้ามแล้วมีกามราคะเกิดขื้น

ราคะ โทสะ โมหะ เป็นอุปกิเลสของจิต สามารถครอบงำจิตได้เป็นครั้งคราว หากเราปฏิบัติฌานสมาธิให้ลึกซึ้งยิ่ง ๆ ขึ้นไป เห็นคุณของเนกขัมมะและฌานสมาธิ แต่เห็นโทษที่เกิดจากกาม จะสามารถละได้เด็ดขาด กิเลสจะไม่มีทางกลับกำเริบได้ ทั้งยังสามารถออกบวชได้ หลีกออกจากกามได้ และมีปิติสุขภายในได้เช่นกัน

แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร S09E03