“ร่างกายที่ต้องแม้คอยประคบประหงม ดูแลรักษา แล้วก็ถามว่าตัวเราในนี้ก็ไม่มีแล้ว คุณอยู่เพื่ออะไร กายนี้ คุณมีไว้ทำอะไร”

ตั้งสติไว้ที่พุทโธ แล้วจึงเริ่มพิจารณากายทั้งภายนอกและภายใน ว่า ล้วนไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงได้  หากายนี้ไม่เจอ กายนี้ไม่ใช่ของเรา ไม่มีค่าอะไร ไม่ควรค่าแก่การยึดถือ เมื่อเข้าใจตรงนี้แล้ว ก็ยังต้องระวังจิตจะไปยึดถือกายผ่านทางวิญญาณ ซึ่งถ้าสามารถเข้าใจใน 2 ประเด็นนี้แล้ว จะเห็นตามจริงว่าขันธ์ 5 นี้ยึดถือไม่ได้ เป็นอนัตตา

สิ่งเหล่านี้จะเข้าใจได้ เมื่อจิตเป็นสมาธิ เมื่อไม่ยึดถือ จิตจะเบาสบาย สว่าง มีความพ้น นั่นคือจิตประภัสสร แต่ความพ้นนี้จะกลับกำเริบได้ถ้าไม่รู้จักอวิชชาในจิตประภัสสรนั้น ดังนั้นแม้จิตที่ประภัสสรก็ต้องปล่อยวาง เพราะมีคุณสมบัติของความเป็นอนัตตา