ผีมีจริงไหม? มีกี่ประเภท? เรื่องผีในสมัยพุทธกาล และถ้าเจอผีควรทำอย่างไร?

…ในที่นี้ไม่ได้อยู่ที่ว่าสิ่งที่เรียกว่าผีนั้นมีอยู่จริงหรือไม่? แต่ประเด็นมันอยู่ตรงความกลัวที่เกิดขึ้นจากการปรุงแต่งไปว่าเสียงนั้นคือผี แต่จริง ๆ แล้วมันคือกบ ตรงนี้สำคัญ กลัวมากจนทำอะไรไม่ถูก จิตใจไม่สงบ มีแต่ความกลัวและความหวาดหวั่น จิตใจแบบนี้ถ้าเป็นอะไรตาย จิตสุดท้ายที่ถ้าระลึกถึงเรื่องที่ไม่ดีจะเป็นไปในมิจฉาทิฏฐิ ต่อให้ได้สะสมบุญมาในชาตินั้นมากเพียงใดก็ตาม ก็ไปตกนรกได้ทันที มันเป็นไปได้

“บุญคือชื่อของความสุข” ได้จากการให้ทานไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม ผลที่ได้รับนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย คือ 3 อย่างของผู้ให้ (ก่อนให้มีศรัทธาน้อมไป, ระหว่างให้มีศรัทธาเลื่อมใส และหลังให้มีศรัทธาปลื้มใจ) และ 3 อย่างของผู้รับ (เป็นผู้หมดราคะ โทสะ และโมหะแล้ว หรือกำลังปฏิบัติเพื่อขูดเกลาให้กิเลสหมดไป)

ส่วนที่เป็นผีจริง ๆ ปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่มี และก็ไม่ใช่ว่าถ้าเราดวงไม่ดีแล้วจึงจะเจอ แต่มันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันมา เป็นเครื่องหมายคือนิมิตที่บอกว่า เราต้องทำความดีอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้กับสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น เพราะฉะนั้นอันดับแรกอย่าตกใจ อย่ากลัวผี แต่ให้เกรงกลัวต่อบาป (โอตตัปปะ) เราจะนึกถึงบุญได้ ถ้ากลัวหรือตกใจแล้ว จะเผลอสติ ระลึกอะไรไม่ได้ ต้องพยายามรักษาสติสัมปชัญญะ นึกพุทโธ เจริญเมตตา แผ่เมตตาอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้บุคคลหรือสิ่งอะไรที่เราไม่รู้ จะเป็นการดี

แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท Ep.55  , นิทานพรรณา Ep.13    

#1u0119-1-190805