“อปริหานิยธรรม 7” คือ ข้อปฏิบัติหรือธรรมอันเป็นเหตุไม่ให้เกิดความเสื่อม ซึ่งมีหลายนัยยะ แต่ที่ได้ยกมานี้เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงลักษณะการการปกครองบ้านเมืองตามหลักอปริหานิยธรรมของเหล่ากษัตริย์ลิจฉวี แคว้นวัชชี เป็น “ราชอปริหานิยธรรม” ที่เมื่อประพฤติปฏิบัติตามแล้วจะทำให้เกิดความไม่เสื่อม เป็นธรรมะที่จะทำให้มีความสามัคคี มีความพร้อมเพรียงกัน เป็นธรรมะที่จะทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองท่าเดียว

Time Index

[02:00] เริ่มด้วยการทำจิตให้สงบ ฝึกปฏิบัติสมาธิ ถวายเป็นพระราชกุศลฯ ฝึกตั้งสติ ให้มาระลึกรู้ถึงลมหายใจอยู่ ณ ตำแหน่งเดียว

[06:02] แยกแยะความคิดนึกที่เป็นเรื่องอกุศลและกุศล…เมื่อเราคิดนึกตริตรึกไปในทางไหนมาก จิตเราก็น้อมไปในทางนั้น จิตเราน้อมไปในในทางไหน สิ่งนั้นมันก็เข้ามากลุ้มรุมห่อหุ้มจิตของเรา มีอำนาจเหนือจิตของเราได้

[12:02] จิตของเราจะไปทางกุศลได้ก็ด้วยรู้จักที่จะมีสติสัมปชัญญะ แบ่งสิ่งดีและไม่ได้ออก แล้วให้พิจารณาเห็นโทษในสิ่งที่ไม่ดีต่าง ๆ เหล่านั้น เราจะละได้ พิจารณาให้เห็นคุณประโยชน์ของสิ่งที่ดี ๆ ต่าง ๆ เหล่านั้น เราก็จะทำให้มันเกิดขึ้นในจิตใจของเราได้

[12:48] เจริญเมตตา

[15:50] พุทธภาษิต เรื่อง “ทรงมีจิตเป็นสมาธิดี” (ติกรรณสูตร)

[18:20] ใต้ร่มโพธิบท เรื่องของ “ราชอปริหานิยธรรม” เป็นข้อปฏิบัติหรือคุณธรรมในการปกครองชาติบ้านเมือง

[20:39] สมมุติขึ้นมาก็เพื่อเรียกอย่างใดอย่างหนึ่งให้เข้าใจตรงกัน

[24:57] วิธีรักษาเหตุปัจจัยให้มันดีอยู่ตลอดได้ ให้มันเกิดมีผลสืบเนื่องต่อไป เราจึงจะต้องมีอันธรรมอันเป็นเหตุไม่ให้เกิดความเสื่อม ยกตัวอย่างเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีเป็นผู้ปกครอง แคว้นวัชชี ที่ดำรงอยู่ในข้อปฏิบัติหรือธรรมที่เรียกว่า “อปริหานิยธรรม” ซึ่งจะทำให้บ้านเมืองมีแต่ความเจริญ ไม่เสื่อม

[29:05] อธิบายรายละเอียดข้อปฏิบัติทั้ง 7 ข้อ

[42:05] ความเจริญรุ่งเรืองที่เกิดจากการดำรงอยู่ใน “ราชอปริหานิยธรรม” สามารถป้องกันภัยที่จะมาจากภายนอกได้

[44:10] แต่ความเสื่อมจะมีได้ เกิดขึ้นจากภัยภายใน ด้วยการยุแยงทำให้แตกกัน ทำให้ไม่ไว้ใจกัน

[52:30] สรุป จะมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่อย่างต่อเนื่องได้ ก็ด้วยการดำรงอยู่ในธรรมอันเป็นเหตุไม่ให้เกิดความเสื่อม คือ อปริหานิยธรรม