Q: อนิจเจทุกขสัญญา คือ อะไร
A: สัญญา คือ ความหมายรู้ มีทั้งส่วนที่เป็นทุกข์ และส่วนที่เป็นมรรค  อนิจเจทุกขสัญญาสามารถมองได้หลายมุม คือ เอาทุกขสัญญาเป็นหลัก แล้วเห็นความไม่เที่ยงในทุกข์ นั้นคือ อนิจจสัญญา หรือในคุณสมบัติของความที่เป็นทุกข์ เราหมายเอาความหมายที่ทนได้ยากในทุกข์นั้น หมายเอาโดยความไม่เที่ยงของสภาวะนี้ คือ ทุกขสัญญา หรือมองความที่ไม่ใช่ตัวตน ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งอื่นเป็นอนัตตสัญญา ระหว่างอนิจจังกับทุกขังก็จะมีอนิจเจทุกขสัญญา ระหว่างทุกขังกับอนัตตาก็จะมีทุกเขอนัตตสัญญา อยู่ที่มุมมองว่าจะมองจากด้านไหน มองจากตรงไหนของกระบวนการ 
ในกระบวนการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป คือ ความไม่เที่ยงอยู่แล้ว และไม่ใช่ตัวของมันเอง ต้องอาศัยสิ่งอื่น เปลี่ยนแปลงตามสิ่งนั้น ๆ นี่คือ ทุกข์ การเห็นกระบวนการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปต้องเห็นทั้งก้อน เห็นแล้วก็จะเห็นอีก 3 ขั้นตอน คือ อนิจจังทุกขังอนัตตาไปด้วยในตัว การเข้าใจทั้งสายเกิดและสายดับ จึงจะสามารถเข้าใจว่าแม้กรรมเก่าก็ดับได้ จะเข้าใจแบบนี้ได้ก็ด้วยมรรค 8 

Q: ความเข้าใจที่ว่า ทุกอย่างเป็นกรรมเก่าถูก?
A: แทนที่จะพูดถึงความเที่ยงแท้แน่นอนของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ให้ทำความเห็นมาด้านที่ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งล้วนมีความไม่แน่นอน แม้กรรมเก่าก็ไม่เที่ยง ฝึกมาอย่างนี้ ไม่ใช่แค่ทุกข์เท่านั้นที่เราเห็น แม้สุขเราก็จะเห็นได้ว่าล้วนไม่เที่ยง 

Q: สัญญา 10 ประการที่อยู่ในส่วนแห่งมรรคมีอะไรบ้าง
A: อนิจจสัญญา, อนัตตสัญญา, อสุภสัญญา, อทีนวสัญญา, ปหานสัญญา, วิราคสัญญา, นิโรธสัญญา, สัพพโลเก อนภิรตสัญญา, สัพพสังขาเร อนิฏฐสัญญา และอานาปานสติ

Q: กรรมติดจรวดเป็นอย่างไร
A: กรรมติดจรวดมีแน่นอน คือ พอทำความดีแล้วความดีเกิดทันที พอทำความชั่วความชั่วเกิดขึ้นเดี๋ยวนั้น ไม่ต้องรอชาติหน้า ประเด็นคือ คุณรู้มั้ย ถ้าไม่มีสติก็จะไม่เห็น