ได้นำ 5 เรื่องราวของอุบาสกผู้ประกอบด้วยคุณธรรมอันเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงคุณงามความดี เพื่อให้ได้ใคร่ครวญพิจารณาตามไป ตกผลึกทางความคิดออกมาเป็นสัมมาทิฏฐิได้ จึงยกพระสูตรเหล่านี้ขึ้นมาให้ได้รับฟังกัน

อุคคสูตรที่ 1 ปรารภเรื่องราวของ “อุคคคฤหบดี ชาวเมืองเวสาลี” ผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา 8 ประการ และยังได้รับการยกย่องในตำแหน่งเอตทัคคะในฝ่ายผู้ให้ของเจริญจิต

อุคคสูตรที่ 2* ปรารภเรื่องราวของ “อุคคตคฤหบดี ชาวบ้านหัตถิคาม” ผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา 8 ประการ และยังได้รับการยกย่องในตำแหน่งเอตทัคคะในฝ่ายผู้อุปัฏฐากภิกษุสงฆ์

ทั้งอุบาสกทั้งสองคนนี้ประกอบด้วยคุณธรรมที่ใกล้เคียงคล้าย ๆ กัน โดยมีจิตประกอบด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในครั้งแรกที่เห็นพระพุทธเจ้า และมีอยู่อย่างสม่ำเสมอ เป็นผู้เคารพในพระธรรม ไม่ยินดีในการครองเรือน สามารถมีจาคะ สละทรัพย์ในสิ่งที่ควรสละได้ และที่สำคัญแสดงให้เห็นถึงความอ่อนน้อมต่อเพศบรรพชิตด้วยความเคารพ ด้วยมีจิตเสมอกัน

ธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา 8 ประการ ประกอบด้วย

1) เมื่อได้เห็นพระพุทธเจ้าเพียงครั้งแรกก็เกิดความเลื่อมใสในทันที

2) เมื่อเกิดความเลื่อมใสแล้ว เข้าไปฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า เกิดปัญญาเห็นตามความ

จริงนั้น

3) .เมื่อท่านบรรลุธรรมแล้ว ท่านมีภรรยา 4 คน ได้บอกกับภรรยาทั้งหลายว่า ใครจะไปอยู่กับใครก็ได้ ภรรยาคนที่หนึ่งกล่าวขอให้มอบตนกับชายอื่น ก็ไม่เกิดความเสียใจเลย 

4) ท่านมีทรัพย์ มีโภคทรัพย์ ทรัพย์นั้น ท่านก็แจกจ่ายไปทั่วกับผู้มีศีล 

5) เมื่อเข้าไปหาภิษุรูปใด ก็ไปหาด้วยความเคารพ | *หากภิกษุรูปใดแสดงธรรม ท่านก็ฟังโดยเคารพ และถ้าภิกษุนั้นไม่แสดงธรรม ตัวท่านเองก็แสดงธรรมโดยเคารพให้ภิกษุนั้นฟังอีกเช่นกัน

6) หากภิกษุรูปใดแสดงธรรม ท่านก็ฟังโดยเคารพ และถ้าภิกษุนั้นไม่แสดงธรรม ตัวท่านเองก็แสดงธรรมโดยเคารพให้ภิกษุนั้นฟังอีกเช่นกัน | *เทวดาทั้งหลายเข้ามาหาแล้วกล่าวกับท่านว่า ภิกษุรูปนี้ บรรลุธรรมแล้ว มีคุณธรรม แต่ภิกษุรูปนี้ทุศีล ไม่ดี ท่านก็ไม่มีจิตที่คิดเลยว่า จะถวายทาน กับภิกษุรูปนี้น้อย รูปนี้มาก ที่แท้ก็มีจิตเสมอกันหมด

7) ท่านไม่เกิดโลภะ หรือมีความฟูใจที่เมื่อมีเทวดามาสนทนากับท่านเลย

8) ท่านรู้ว่าท่านดับกิเลสที่เป็นสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แล้ว ถึงความเป็นพระอนาคามี

หัตถกสูตร, หัตถกสูตรที่ ๑ และ หัตถกสูตรที่ ๒ พระพุทธเจ้าตรัสปรารภให้จดจำ “หัตถกอุบาสก” ชาวเมืองอาฬวี ไว้ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่อัศจรรย์อันไม่เคยมีมา 7 ประการและ 8 ประการ ดังนี้ คือ คือเป็นผู้มีศรัทธา, มีศีล, มีหิริ, มีโอตตัปปะ, เป็นพหูสูต, มีจาคะ และมีปัญญา และมีเพิ่มเติมในข้อ 8 ในความที่เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และนอกจากนี้ยังได้รับการยกย่องในตำแหน่งเอตทัคคะในฝ่ายผู้สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ 4 (ทาน, ปิยวาจา, อัตถจริยา และสมานัตตตา)

“ดูกรกุมาร คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น ถูกความเร่าร้อนอันเกิดแต่โทสะ ฯลฯ เกิดแต่โมหะใดแผดเผาอยู่ จึงอยู่เป็นทุกข์ โทสะ โมหะนั้น ตถาคตละได้เด็ดขาดแล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มีไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น เราจึงอยู่เป็นสุข ฯ พราหมณ์ผู้ดับกิเลสได้แล้ว อยู่สบายทุกเมื่อแล ผู้ใดไม่ติดอยู่ในกาม ผู้นั้นเป็นผู้เยือกเย็นหมดอุปธิ ตัดธรรมชาติเครื่องมาข้องเสียทุกอย่าง ปราบปรามความกระวนกระวายในหทัยได้ เข้าไปสงบแล้ว ถึงความสงบใจอยู่สบาย ฯ”…หัตถกสูตร

มหานามสูตร เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะได้ตรัสถามปัญหากับพระพุทธเจ้าถึงเหตุที่ทำให้บุคคลถึงความเป็นอุบาสกผู้มีศีล, เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นฯ และเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่นฯ

“ดูกรมหานาม เมื่อใดแล อุบาสกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๑ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล ๑ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ และ ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยจาคะ ๑ ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อเห็นภิกษุ และชักชวนผู้อื่นในการเห็นภิกษุ ๑ ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อฟังสัทธรรม และชักชวนผู้อื่นในการฟังสัทธรรม ๑ ตนเองเป็นผู้ทรงจำธรรมที่ตนฟังแล้ว และชักชวนผู้อื่นเพื่อการ ทรงจำธรรม ๑ ตนเองเป็นผู้พิจารณาอรรถแห่งธรรมที่ตนฟังแล้ว และชักชวนผู้อื่นในการพิจารณาอรรถแห่งธรรม ๑ ตนเองรู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรมแล้วปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม และชักชวนผู้อื่นในการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ฯ”…มหานามสูตร

โคธาสูตร เจ้าศากยะพระนามว่า โคธา และ มหานามะ ได้สนทนาถกเถียงกันในเรื่องปัญหาเกี่ยวกับความที่บุคคลผู้เป็นพระโสดาบันจะประกอบด้วยคุณธรรม 3 ข้อ หรือ 4 ข้อ จึงได้นำความนั้นมาตรัสถามกับพระพุทธเจ้า 

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความบังเกิดแห่งเหตุเฉพาะบางประการ พึงบังเกิด ขึ้นได้ในธรรมวินัยนี้ คือ ฝ่ายหนึ่งเป็นพระผู้มีพระภาค (ตรัส) และฝ่ายหนึ่งเป็นภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ อุบาสกทั้งหลาย และอุบาสิกาทั้งหลาย โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ (กล่าว) ฝ่ายใด พระผู้มีพระภาคตรัส หม่อมฉันพึงเป็นฝ่ายนั้น ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำหม่อมฉันว่า เป็นผู้เลื่อมใสอย่างนี้.”…โคธาสูตร

แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ขุดเพชรในพระไตรปิฎก S02E04