เมื่อต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตชีวิตอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่าเพิ่งตกใจ ให้ตั้งสติเอาไว้ก่อนเลย ทำจิตให้มั่นคง อย่าไหลไปตามกระแสของข่าวสาร แต่ให้ติดตามหาข้อมูลด้วยปัญญาให้ดี เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ และทำความเข้าใจในวิกฤตที่เกิดขึ้นนั้นว่าย่อมมีความเปลี่ยนแปลง ชีวิตของเราไม่เหมือนเดิมแน่ เราจึงต้องยอมรับ และมีการปรับเปลี่ยนจากจุดที่เป็นอยู่ (แม้ในจุดที่ตกต่ำ) ให้ไปในทางที่ดีขึ้นได้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสถึง “วุฒิธรรม 4” คือ ธรรมะแห่งความเจริญงอกงาม

เวลาที่เราเจอผัสสะเรื่องราวต่าง ๆ มากระทบ ในที่นี้คือ “ธรรมเครื่องปรุงแต่ง” เช่น เป้าหมายที่เราตั้งเอาไว้บ้าง หรือวิกฤตชีวิตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบ้าง ซึ่งถ้าเพื่อว่าเราเจริญอิทธิบาท 4 ได้ไม่ถูก เราจะมีความเครียดแน่นอน เราจะไม่เครียด จะสลายความเครียดไปได้ เราจึงต้องเจริญอิทธิบาท 4 ให้ถูก ด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง และสมาธิที่อาศัยฉันทะฯ เป็นหลักเป็นประธาน เพราะเวลาผัสสะมันมากระทบถูกจิตเราแล้ว ถ้าจิตเราไม่มีสมาธิ จิตเราจะแตกได้ จิตเราจะเครียดได้

หลักธรรมที่จะนำไปสู่การพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น โดยพิจารณาใน 2 เรื่อง คือ ความดี (กุศลธรรม) และความไม่ดี (อกุศลธรรม) ว่ามีเกิดขึ้นในตัวเราหรือไม่ มันเพิ่มขึ้นหรือมันลดลง เพราะถ้าความดียังไม่มี เราสามารถที่จะทำให้มันเกิดขึ้นได้ไหม หรือถ้าความไม่ดีมีเกิดขึ้น เราสามารถละมันได้ไหม

การทำบุญให้ทานนั้น จะได้ผลบุญมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขปัจจัยของจิตทั้งของผู้ให้และผู้รับ ใน 3 วาระ ที่ผู้ให้มีจิตศรัทธาเสื่อมใสก่อนให้ ระหว่างให้ และหลังให้ และส่วนผู้รับที่เป็นผู้ที่กำลังทำความเพียรเผากิเลสอยู่ มีกิเลสเบาบาง จนกระทั่งหมดไปสิ้นไป ไกลจากกิเลส