อะไรคือ”วัด” ในบริบทนี้ คือ สถานที่ที่สงัด ที่สงบ ไม่ได้มีเสียงอึกทึกครึกโครมมาก เป็นที่ ๆ จะอยู่หลีกเร้นได้ เหมาะกับการประพฤติปฏิบัติให้ดีได้ จึงถ้าเราสามารถทำบ้านให้มีลักษณะตามเกณฑ์ที่เป็นวัดได้ แล้วปฏิบัติตนให้เหมือนเวลาไปวัดด้วยการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เช่น ทำทานด้วยการหยอดกระปุกออมเงินไว้ ตั้งจิตอธิษฐาน แล้วให้บุคคลอื่นนำไปทำให้แทน หรือมีการรักษาศีล มีการเจริญสติอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ หรือบางทีก็นิมนต์พระไปที่บ้านบ้าง เพื่อเป็นการพบเห็นสมณะผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จะได้มีการกราบไหว้บูชาบุคคลที่ควรกราบไหว้บูชา และให้มีการฟังธรรม 

“เพราะฉะนั้น แค่ตั้งจิตระลึกถึงศีลเนี่ย บู้ม!!! เลย จิตใจเราแบบ จะสบายขึ้นมาทันที จุดนั้นมันก็คือเป็นวัดที่บ้านเราแล้ว ทีนี้ วัดที่มันลึกซึ้งขึ้นไป คือ วัดให้อยู่ในใจเรา ให้ในใจของเราเนี่ย มีวัดอยู่ข้างในใจ คือ มีจุดที่มันจะสงบ มีจุดที่มันจะไม่วุ่นวายใจ มีจุดที่มันจะเย็นอยู่ได้ นี่คือให้สร้างวัดที่บ้าน ให้สร้างวัดที่อยู่ในใจ นี้สำคัญ”

ในเอพิโสดนี้ จึงได้นำคำถามจากท่านผู้ฟัง และประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจมาสนทนากัน ไม่ว่าจะด้วยเรื่องของ…
การจัดงานศพสวดอภิธรรมหลายคืน แล้วยังบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย แต่วิญญาณผู้ตายได้มาสิงร่างหลานสาว บอกว่าอดอยากหิวโหย ไม่มีอะไรจะกิน แล้วบุญที่ได้ทำไปนั้นทำไมไปไม่ถึงผู้ตาย 
เรื่องของการกรวดน้ำ 
การทำบุญด้วยความรีบร้อนจะได้บุญหรือไม่? 
การชอบไปทำบุญไหว้พระคนเดียวโดยไม่ชวนใคร เป็นการเห็นแก่ตัวหรือไม่?    
โยมผู้หญิง ที่บังเอิญมือไปสัมผัสกับพระขณะรับของ จะบาปมั๊ย?    
เรื่องของการสมาทานศีลก่อนนอน
มีผู้สูงอายุในบ้านที่ไม่สามารถเดินทางไปทำบุญที่วัดได้ แต่อยากให้ท่านได้มีบุญกุศล ที่จะทำให้มีอายุที่ยืนและมีสิ่งดี ๆ ในชีวิต ในฐานะลูกหลาน ควรจะทำอย่างไร        
เมื่อผู้สูงอายุในบ้านมักจู้จี้ ขี้บ่น จึงได้บ่นว่าท่านกลับ เมื่อมาสำนึกได้ก็รู้สึกผิด จะมีวิธีแก้ไขอย่างไร

#2032-1u0243