Q: จิตฟุ้งซ่านขณะเดินจงกรม ควรทำอย่างไร?

A: หากมีความคิดเข้ามา ให้ตั้งสติกำหนดจิตเดิน และทำต่อไปโดยไม่หยุดเดิน การปฎิบัติด้วยการเดินผัสสะจะมากกว่าการนั่ง หากเราฝืนทำต่อไปได้ สมาธิที่ได้จะอยู่ได้นาน

Q: ขณะนั่งสมาธิ เกิดมีอาการคัน ควรแก้ไขอย่างไร?

A: วิธีแก้มี 2 วิธี คือ 1. เอาจิตไปจดจ่อดูความเป็นตัวตน คือ เห็นทุกข์ในสิ่งนั้น เห็นความไม่เที่ยงในสิ่งนั้น (ทุกขาปฎิปทา) 2. ไม่เอาใจใปใส่ในมัน เข้าสมาธิให้ลึกลงไป (สุขาปฏิปทา) ทั้งนี้การจะวางได้เร็วหรือช้า อยู่ที่อินทรีย์ 5 หากอินทรีย์อ่อน จะวางได้ช้า หากอินทรีย์แก่กล้า จะวางได้เร็ว

Q: เมื่อเกิดมีปีติมากล้น จะปล่อยวางได้อย่างไร?

A: ใช้วิธีสุขาปฏิปทา หรือทุกขาปฏิปทา ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง เพื่อการปล่อยวางความปิติ ฝึกทำบ่อยๆ ปิติจะดับไป

Q: จำเป็นหรือไม่ ที่ต้องสวดมนต์เฉพาะหน้าพระพุทธรูป?

A: สามารถสวดมนต์ที่ไหนก็ได้

Q: เหตุใดฝึกทำสมาธิแล้วไม่ได้สมาธิ ได้แต่ความเพียร?

A: พละ 5 คือ กำลังของคนที่ศึกษาอยู่ (เสขะ) ประกอบด้วย 1. ศรัทธา 2. หิริ 3. โอตัปปะ 4. ความเพียร 5. ปัญญา ให้เราทำไปเรื่อยๆ เหมือนเราทำนา เราไม่สามารถกำหนดได้ว่าข้าวจะสุกวันไหน ผลผลิตได้เท่าไหร่ แต่จะมีเวลาที่เหมาะสม ตามเหตุตามปัจจัยของเขา ซึ่งคนที่ปฎิบัติธรรมในธรรมวินัยนี้ กิจที่ต้องทำ มี 3 อย่าง คือ การสมาทานการปฏิบัติในศีลอันยิ่ง การสมาทานการปฏิบัติในสมาธิอันยิ่ง การสมาทานการปฏิบัติในปัญญาอันยิ่ง

Q: นิพพานกับความตายคนละอย่างกัน?

A: นิพพานกับความตายคนละอย่างกัน/ในนิพพาน ไม่มีความเกิด ไม่มีความตาย ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงในนิพพาน นิพพานแปลว่า ความดับ ความเย็น/ความตายมีเหตุ คือ การเกิด แต่ในนิพพานไม่มีการเกิด จึงไม่มีการตาย ต้องเข้าใจเหตุผลของความเกิด ความตาย ให้ได้ ว่าคนที่ตาย ไม่ใช่ความตายดับ แต่ความตายเกิด (อุบัติ) ขึ้น จึงตาย

Q: ธรรมะข้อใดที่ทำให้ไม่ฝัน?

A: ฝันดีแบบกุศลธรรม คือ ฝันไม่เกี่ยวเนื่องด้วยกาม/วิธีแรก ท่านให้กำหนดสติสัมปชัญญะก่อนนอนว่า รู้สึกตัวเมื่อไหร่จะลุกขึ้นทันที และด้วยสติสัมปชัญญะ น้อมไปในการนอน ด้วยอาการอย่างนี้ว่า “เราผู้ที่นอนไปแล้ว ขออย่าให้ บาปอกุลศกรรมทั้งหลาย ติดตามเราผู้ที่นอนอยู่เลย” จะทำให้เวลาที่เรานอน ไม่ฝันร้าย ไม่ฝันเกี่ยวเนื่องด้วยกาม วิธีที่สอง การแผ่เมตตา อานิสงส์ คือ ไม่ฝันร้าย ตื่นแล้วมีความสุข

Q: จำเป็นต้องฆ่าเพื่อกิน ทำอย่างไรจึงจะให้บาปน้อยลง

A: อุปมารอยกรีดเปรียบเหมือนเจตนาที่เราทำลงไป หากเราทำด้วยเจตนาน้อย เปรียบเสมือน รอยกรีดบนน้ำ เจตนามาก เปรียบเสมือนรอยกรีดบนหิน