“สมยวิมุต” เป็นความพ้นชั่วคราว ถ้าสร้างเหตุดีมีวิมุตติเกิดขึ้นได้ ถ้าสร้างเหตุเงื่อนไขปัจจัยไม่ดี วิมุตติก็เสื่อมไปได้

ทบทวน #ข้อ144 เมื่อพิจารณาเห็นสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล และอาศัยอุเบกขาเห็นความไม่เที่ยง จะละราคะ โทสะ และโมหะได้

นิรยสูตร #ข้อ145 ผู้ที่ผิดศีล 5 เป็นเหตุให้ไปตกนรก และผู้ที่รักษาศีล 5 ได้ เหมือนได้รับเชิญให้ไปอยู่บนสวรรค์

มิตตสูตร #ข้อ146 ผู้ที่ไม่ควรคบและควรคบด้วย คือ ชอบใช้หรือไม่ใช้ให้ผู้อื่นทำงาน ชอบก่ออธิกรณ์ทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อพระเถระหรือไม่ ชอบหรือไม่ชอบไปสถานที่ไม่ควรไปอยู่เรื่อย และสามารถพูดให้เกิดกำลังใจในการปฏิบัติได้หรือไม่

อสัปปุริสทานสูตร #ข้อ147 เปรียบเทียบการให้ทานของคนดีและคนไม่ดี ซึ่งคนดีจะให้โดยเคารพ อ่อนน้อม ให้ด้วยมือตนเอง ให้ของดีๆ และเห็นอานิสงส์ของการให้

สัปปุริสทานสูตร #ข้อ148 การให้ทานของผู้ที่ให้ด้วยศรัทธา โดยเคารพ ให้ตามกาลอันควร มีจิตอนุเคราะห์ และให้โดยไม่กระทบตนและผู้อื่น ซึ่งมีอานิสงส์ของการให้ที่เหมือนกัน และต่างกันไป

ปฐมสมยวิมุตตสูตร #ข้อ149 เปรียบเทียบธรรมของผู้มีจิตหลุดพ้นชั่วคราวกับพระอรหันต์ คือ ความชอบหรือไม่ชอบในการงาน การพูดคุย การนอน คลุกคลีด้วยหมู่ พิจารณาหรือไม่พิจารณาเห็นกิเลสที่หลุดออก

ทุติยสมยวิมุตตสูตร #ข้อ150 เหมือน #ข้อ149 แตกต่างกันประการที่ 4 คือ สำรวมหรือไม่สำรวมอินทรีย์ และประการที่ 5 คือ รู้จักหรือไม่รู้จักประมาณในการบริโภค

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ติกัณฑกีวรรค