เจริญอานาปานสติไว้ที่ลมหายใจ, สติคือการแยกแยะ แยกแยะผัสสะที่เข้ามากระทบ เป็นไปเพื่อการล้างกิเลสออก

เพราะจิตหวั่นไหวขึ้น-ลง เสวยอารมณ์สุข-ทุกข์ ผ่านทางผัสสะที่มากระทบ, เราจึงต้องมีการจัดระเบียบในช่องทางใจด้วย “สติ”, ผลที่ได้คือ “ความละเอียด”

หรือ การปรุงแต่งทางกายและจิตระงับ, เปรียบเหมือน ช่างทองล้างแล้วล้างอีก จนกว่าจะได้ทองคำ,

“สติ วิญญาณ จิต กิเลส” ละเอียดลง ให้รู้เท่าทัน, เพื่อป้องกันการกลับกำเริบของกิเลส หรือการเผลอสติ เพราะจิตยังมี “อวิชชา”

ข้อปฏิบัติที่ละเอียดลงคือปฏิบัติตามทางมรรคมีองค์แปดจะค่อย ๆ กำจัด อาสวะกิเลส จากกิเลสอย่างหยาบจนถึงกิเลสอย่างละเอียด

ทำซ้ำ ทำย้ำ สับให้ละเอียดจนไม่เหลือเงา ไม่เหลือรากของอวิชชา ให้เห็นตามความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ ความเป็นอนัตตา ซ้ำๆ ย้ำๆ สับลงไป มันจะเกิดความเบื่อหน่าย คือ “นิพพิทา”

ใช้ “ปัญญา เห็นตามความเป็นจริง เห็นความไม่เที่ยง เห็นการปรุงแต่ง” แม้จิตก็ไม่เที่ยง แล้ว “วาง” ซะ จิตเราจะพ้น คือ วิมุตติ เป็นจิตที่หลุดพ้นแล้ว เป็นจิตที่ยินดี ร่าเริงไม่หวาดสะดุ้งสะเทือน ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนนั้นเทียว.