00:00
1X
Sorry, no results.
Please try another keyword
- 2 จิตตวิเวก"…อย่าให้เป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าให้เป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ พึงปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์ทั้งหลาย ถ้าเผื่อว่าเราไม่สำรวมแล้ว จะมีความเพ่งเล็งคืออภิชฌา มีความโทมนัสคือความไม่ยินดีพอใจเกิดขึ้นได้…ให้การรับรู้ของเรามีสติตั้งไว้อยู่ตลอด " วิธีละความกำหนัดยินดีพอใจใน 3 ขั้นตอนนี้ เป็นเรื่องราวที่มาใน ภารทวาชสูตร โดยพระปิณโฑลภารทวาชะได้กล่าวบอกไว้กับพระเจ้าอุเทน ปรารภคำถามที่ว่า จะทำอย่างไรไม่ให้ราคะมาเสียดแทงจิตใจของเราเกิดความกำหนัดยินดีพอใจไปในเพศตรงข้าม? โดยมาเริ่มตั้งสติขึ้นก่อน การระลึกได้คือการดึงเบรคเอาไว้ก่อน แทนที่จะปล่อยจิตใจให้ไปตามความกำหนัดยินดีหรือความไม่พอใจใด ๆ ที่เกิดขึ้นทันที โดยให้ระลึกมาใน 3 ขั้นตอน 1) พิจารณาโดยตั้งเป็นนิมิตในการเห็นบุคคล แบ่งเป็นกลุ่มตามช่วงอายุ ถ้าผู้นั้นมีอายุมากกว่ามาก ให้พิจารณาโดยความเป็นพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ที่มีอุปการะแก่เรามาก่อน, อายุใกล้เคียงกัน ให้พิจารณาโดยความเป็นพี่น้อง, อายุน้อยกว่ามาก ให้พิจารณาโดยความเป็นลูกหลาน เมื่อระลึกนึกถึงไปอย่างนี้จิตใจของเราก็จะนุ่มนวลลงทันที ด้วยความดีที่เราระลึกได้ ความกำหนัดมันจะระงับลงไปได้ 2) เพราะด้วยความที่จิตมีธรรมชาติเป็นของโลเล ทำให้ลืมไป ระลึกในนิมิตไม่ได้ ทำให้กามราคะแทรกซึมเข้ามา เพราะด้วยความเป็นอนุพยัญชนะ (มาในรายละเอียด; ความสวยความหล่อ รูปร่างผิวพรรณดี อุปนิสัยวาจาดี แต่งตัวดี) จึงต้องมาแยกแยะอนุพยัญชนะ คือ การพิจารณาอสุภะ ให้เห็นความเป็นจริงในกายนี้ทั้งภายในและภายนอกว่า เป็นของไม่สวยงาม เป็นของไม่สะอาดสกปรกปฏิกูล เป็นของรังโรค ความกำหนัดมันจะระงับลงได้ ละไปได้ ทำให้การกระทำทางกายวาจาและใจ ยังอยู่ในขอบเขตของศีล[...]