วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน วันเดียวกัน สิ่งสำคัญที่เราควรระลึกถึง คือ มรดกที่ท่านมอบไว้ให้ คือ คำสอน ระลึกถึงการเกิดขึ้นของพุทโธ ระลึกว่าสิ่งใดที่ควรเกิดขึ้นในใจเรา ที่เป็นกุศล เป็นความดี สิ่งใดที่ควรตายไปจากเรา คือ อกุศล ความไม่ดี

Q: เกร็ดความรู้ งานตัดหวาย+ผูกพัทธสีมา

A: โบสถ์ จัดอยู่ในรูปแบบของเสนาสนะ ในด้านสถาปัตยกรรม จะหยาบหรือละเอียดได้ทั้งหมด/เสนาสนะทางพระวินัยบัญญัติไว้ว่า ถ้าทำเพื่อตัวเอง ไม่เกิน 50 ตร.ว. ไม่ต้องแสดงเขตที่ แต่หากมีกิจอื่นที่ต้องทำมากขึ้นต้องมีการแสดงเขตที่ ต้องมีการสวดถอน เพราะหากก่อนหน้านี้เคยมีเสนาสนะ แล้วเราไม่สวนถอน การใช้พื้นที่นี้จะถือว่าเป็น “โมฆะ” จึงต้องมีการสวดถอนเพื่อประกาศเพื่อเป็นเขตสีมา จำเป็นต้องผูกสีมา ซึ่งในรัชสมัยนี้จะมีการทำ “วิสุงคามสีมา” นิยมใช้เครื่องหมายที่กำหนดเขต คือ “ลูกนิมิต” แล้วมีใบเสมาปักไว้ด้านบนเพื่อแสดงว่าด้านล่างมีลูกนิมิต

Q: สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนที่คิดได้รู้สึกได้ว่าเป็นตัวตนคือสิ่งใด?/สิ่งที่ถูกหลอกว่าเป็นตัวตน คือสิ่งใด?

A: จิต/ขันธ์ 5/การที่เรารู้สึกว่ามันเป็นตัวตนของเรานั่นคือจิต จิตไปยึดถือขันธ์ 5 ในความเป็นตัวตน ถูกหลอกว่าขันธ์ 5 เป็นตัวตน จิตก็เข้าไปยึดถือขันธ์ 5 ในความเป็นตัวตน สองสิ่งนี้อาศัยกันเกิด เพราะฉะนั้นเราจึงควรพิจารณาเห็นว่า จิต และขันธ์ 5 เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน

Q: เมื่อไหร่จิตคิดได้ รู้สึกได้ แบบเป็นตัวตน และเมื่อไหร่จิตถูกหลอกว่าเป็นตัวตน

A: คิดได้ รู้สึกได้ นั่นคือมีอวิชชามาครอบงำ ในขณะที่ถูกหลอกด้วย อุปาทาน ทั้ง 2 อย่างถูกหลอกด้วยอวิชชาอยู่แล้ว ด้วยอวิชชา เป็นอาหารของตัณหา เพราะมีตัณหาจึงมีอุปาทาน คือ ความยึดถือลงไปในขันธ์ 5 จิตจึงไปถูกหลอกให้ยึดถือขันธ์ 5 ถูกหลอกด้วยอวิชชา อวิชชาเป็นตัวหลอกให้เข้าใจผิด

Q: สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน คิดได้ รู้สึกได้ ว่าไม่ใช่ตัวตนตลอดเวลาคือสิ่งใด?

A: ปัญญา

Q: นอกจากจิตแล้ว สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน ที่คิดได้ รู้สึกได้ คือสิ่งใด?

A: อะไรที่คิดได้ เราเรียกสิ่งนั้นว่า “จิต”

Q: กำไลหยกตกแตกกับการพิจาณาความไม่เที่ยง?

A: เราต้องมีสติ เข้าใจสถานการณ์ ไม่หวั่นไหวไปตามสิ่งต่างๆ จะดีไม่ดีก็อยู่ที่ กาย วาจา ใจ กำไลจะแตกหรือไม่มันก็ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย หากมีเหตุปัจจัยที่ทำให้มันแตก มันก็แตก