“…ความเครียดมันเกิดขึ้นได้ในทุกกรณี มีอยู่ อันนี้เป็นธรรมดา แต่สิ่งที่เราต้องควบคุมให้ได้ คือ จิตของเรา ว่าพอมีความเครียดเกิดขึ้นแล้ว คุณให้จิตคุณไปอยู่ตรงที่มันสบายใจได้มั๊ย? อย่าให้ไปอยู่ตรงที่มันเครียด เหมือนกับว่า ความปวดเวทนามีเกิดอยู่ในร่างกาย คุณจะต้องรู้สึกหรือปรับจิตอย่างไรให้จิตของเรา ไปตั้งอยู่ในจุดที่มันไม่รู้สึกถึงเวทนานั้น หรือแยกกันออกไป ซึ่งการฝึกสมาธิช่วยได้ อาจจะแยกกันไม่ได้ 100% แต่ว่าอย่างน้อยก็ห่างกันได้บ้าง ยังพอหาช่องที่มีความสุขได้บ้าง เหมือนหยดน้ำกับใบบัว อันนี้เราต้องฝึกจิตของเรา ซึ่งมันไม่ยาก เพียงฝึกตั้งสติไว้ในช่วงเวลาที่เราเดินทางไปที่ทำงาน วันละ 5 – 15 นาที ฝึกตอนเช้า ตอนค่ำ ระหว่างเดินทาง หรือระหว่างหลังกินข้าว ในช่วงเวลาไหนก็ได้ มันจะช่วยให้จิตใจของเรามีกำลังตลอดเวลา แล้วเราก็จะคลายความเครียดได้ ถึงเวลาตกอยู่สถานการณ์เครียดครัดแล้ว ก็สามารถตัดสินใจได้ดี จิตใจแจ่มใสใส่ความรักใส่ความเพียรลงไปในการงานที่เราทำได้”     

ในเอพิโสดนี้ จึงได้มาสนทนาถามตอบในประเด็นคำถามจากท่านผู้ฟังที่ว่า ถือเป็นการผิดจากหลักคำสอนหรือไม่ ที่หมอจะต้องรักษาคนไข้ โดยเฉพาะคนไข้ระยะสุดท้าย ในเมื่อเราไม่ควรยึดติดกับร่างกาย และได้รวบรวมประเด็นในเรื่องของการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นวิธีการหลีกเลี่ยงไม่ร่วมวงนินทาในที่ทำงาน วิธีกำจัดความขี้เกียจในการทำงานออกไป หน้าที่ของเจ้านายและลูกน้องที่พึงมีต่อกัน  การปรับมุมมองต่อการทำงาน ฝึกจิตให้ไม่เครียดในการทำงาน  และธรรมะเพื่อความสามัคคี 

#63-1u48