คำถามแรก เรื่องอุปาทานกับการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน อุปาทานมี 4 ชนิด คือ กามุปาทานความพึงพอใจในทางตาหูจมูกลิ้นกาย, ทิฏฐุปาทานการยึดติดในความคิด (ทางใจ), สีลัพพตุปาทานการยึดมั่นในศีลและพรต ในโสดาบันสีลัพพตปรามาสละได้หมด แต่สีลัพพตุปาทานยังละไม่หมด ความยึดถือในกุศลก็ไม่นับว่าดี เพราะความยึดถือจะนำสิ่งที่ไม่ดีอื่นตามมา สรณะกับยึดถือจึงต่างกัน และอัตตวาทุปาทานยึดถือว่าวาทะนั้นเป็นของตน เกิดความเป็นสภาวะขึ้นมา อุปาทานต้องละทิ้ง จะละได้ต้องเริ่มจากการเห็นตามจริงในขันธ์ 5 เกิดหน่าย คลายกำหนัด การปล่อยวางต้องเป็นตามกระบวนการนี้ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นโมหะ ที่ต้องทำความเข้าใจให้ดี คือ เราไม่ได้ละขันธ์ 5 แต่ละอุปาทานในขันธ์ 5 การจะเห็นตามจริงได้จิตต้องเป็นสมาธิ ในชีวิตประจำวันให้มีสติตั้งไว้จะวางความยึดถือในความเพลินนั้น ๆ ได้ 

ในคำถามที่ 2 ธัมมมานุธัมมปฏิบัติคืออะไร คือ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นธรรมที่ควรทำให้เจริญ ทำมาดีแล้วให้ทำต่อไป ที่ยังปฏิบัติไม่ได้มีอยู่ 3 นัยยะ คือ ปฏิบัติตามคำสอนที่เกินพอดี, ปฏิบัติยังไม่ถึงได้ผลของมัน และข้อสุดท้ายดีเป็นบางเวลา 

ในคำถามสุดท้าย อุเบกขาวางอย่างไรให้พอดี อุเบกขา คือ ความวางเฉย ต้องมีอยู่ตลอด แต่อุเบกขาอย่างเดียวจิตจะไม่อ่อนเหมาะเพื่อการสิ้นอาสวะได้ ต้องผสมกับเมตตาจึงจะสมดุลเป็นธัมมานุธัมมปฏิบัติ พรหมวิหาร 4 ต้องมีสติควบคุมทั้งหมดจึงจะพอเหมาะ